ไอเดียชุมชน
การใช้้ EMA เส้นค่าเฉลี่ยในการหา จุดซื้อ/จุดขาย Level: Beginnerเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)
เราสามารถใช้เส้น MA (ผมเลือกใช้ EMA: Moving Average Exponential) เพียง 2 เส้น นั้นคือ EMA5 (เส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน) และ EMA25 (เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน) ในหาจุดซื้อจุดขายได้ดังนี้
หาก EMA5 ตัดขึ้น เส้น EMA25 (แท่งเทียนอยู่ เหนือเส้น EMA25 ) เป็นแนวโน้ม "ขาขึ้น" จุดตัดที่เกิดขึ้นอาจพิจารณาว่าเป็น "จุดเข้าซื้อ"
หาก EMA5 ตัดลงเส้น EMA25 (แท่งเทียนอยู่ ใต้เส้น EMA25 ) เป็นแนวโน้ม "ขาลง" จุดตัดที่เกิดขึ้นอาจพิจารณาว่าเป็น "จุดขาย" ก็ได้
บันทึกราคาทองคำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการเฝ้าดูกราฟมาตลอดปีวันนี้ทองวิ่งควายกระจาย และใกล้จะเข้าไปทดสอบ High เดิม 9 ปีที่แล้ว ( high ปี 2011 ) ที่ราคาแถวๆ 1923
ก็เลยคิดว่า ต้องบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการนั่งดูกราฟ มาตลอดปีกว่ามาหน่อย
ว่า ที่ผ่านมา การตกรถของเรา มันได้สอนให้เรารู้อะไรบ้าง
จะได้เก็บไว้ให้ตัวเองและคนอื่นอ่านได้ครับ
==============
The trend is your friend! อย่า สวน เทรน
==============
สัญญาณเทคนิค
==============
* ทอง ทำทรงขาขึ้น โดยมีสัญญาณ "ซื้อ" ระดับกราฟ สัปดาห์ แรงๆ สองช่วงด้วยกัน นั่นก็คือ
1) สัญญาณ Action Zone Weekly ( MACD > 0 ) = Buy ช่วง Jan 2019
2) สัญญาณ Break out แนวต้าน 6 ปี = Buy ช่วง June 2019
และหลังจากนั้น มันก็ไม่ลงอีกเลย นอกจากช่วง covid ที่มีการย่อแรงตามทุกๆ ตลาด แต่หลังจากนั้นก็กลับขึ้นไปต่อ
==============
สิ่งที่เห็นในตลาด
==============
1) พวก เล่นสั้น ขยันซอย บาดเจ็บหนัก จากการ short สวนเทรนใหญ่ แล้วไม่ยอมแพ้
--------------------
* ข้อนี้ ต้องยกขึ้นมาเอาไว้ให้เป็นข้อแรกเลย เพราะ น่าจะเป็นบทเรียนให้กับสายเล่นสั้นกันหลายๆ คน
* เพราะปกติ ท่ามาตรฐานของสายเล่นสั้น ก็คือว่า นั่งจ้อง TF เล็ก หาแนวรับแนวต้านให้เจอ แล้วก็ Long แนวรับ Short แนวต้าน เพื่อจะกินกำไรคำเล็กๆ ถี่ๆ ไปเรื่อยๆ โดยใช้ indicator มาประกอบ อะไรก็ตามแต่สูตรของแต่ละคน
* แต่วิธีนี้ มันจะมีข้อเสียตรงการ "Short แนวต้าน" นี่แหละ เพราะว่า... ถ้าเทรนใหญ่ มันยังเป็น "ขาขึ้น" การไปเปิดหน้า short ก็เท่ากับการ "เทรดสวนเทรนใหญ่"
* แล้วดูยังไงว่าเทรนใหญ่เป็นขาขึ้น? ก็มีวิธีดูเยอะแยะ เช่น ใช้ MACD > 0 ระดับ Daily หรือ Weekly
* หรือจะดูพวก EMA 18 หรือ EMA 100 ก็ได้ ถ้าราคายังวิ่งอยู่เหนือ 2 EMA นี้ มันก็ยังคงเป็นขาขึ้นอยู่ดี
* กลับมาเรื่องสาย short แนวต้าน -- ท่านี้ มันจะทำกำไรให้กับสายเล่นสั้นได้ในช่วงระยะเวลานึง โดยเฉพาะช่วงที่กราฟ sideway ในกรอบ
* แต่เมื่อไหร่ที่กราฟมีการ ทะลุกรอบ โดยเฉพาะการ "ทะลุขึ้น ตามเทรนใหญ่ของมัน" ท่ามาตรฐานของสาย short ที่คนเขาสอนๆ กันก็คือ "ถัวไม้ เบิ้ล lot ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ (คง) หลุด"
* ซึ่งเท่าที่เห็น ส่วนใหญ่ก็ไม่หลุดนะ แถมโดนลากต่อกันยับด้วย 555
แนวทางแก้ไข
* อย่าไป short สวนเทรน ให้ดูเทรนใหญ่เป็นหลัก ถ้าเป็นขาขึ้น ก็ให้เล่นแต่ฝั่ง long only อย่าไป short
* เลิกเล่นสั้น แล้วไปถือ spot ยาวๆ แทน
2) เคส ตกรถ แล้วไม่กล้าเข้า
------------------
* เคสนี้เกิดขึ้นกับตัวผมเอง จริงๆ ผมเคยวิเคราะห์ราคาทองเอาไว้นานแล้ว หลักๆ ก็ช่วงที่มัน Break out แนวต้าน 6 ปีขึ้นมาตอนปี 2019 น่ะแหละ ว่า มันมีแนวโน้มไปต่อสูง น่าสนใจ
* แต่เพราะคิดว่า การซื้อทอง มันต้องใช้เงินเยอะ แถมกำไรก็ดูแล้วไม่มากเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับ Bitcoin ก็เลยไม่ได้แบ่งเงินไปซื้อทองไว้บ้างเลย ตรงนี้ ก็เป็นข้อผิดพลาดระดับ Mindset
* ส่วนพอจะเข้ากลางทาง ก็ไม่กล้าเข้าอีก เพราะว่า เห็นกราฟมันเกิด bearish divergence ในระดับภาพใหญ่ มันก็ควรที่จะต้องระวังจริงๆ น่ะแหละ
* สุดท้าย ก็เลยพบกันครึ่งทาง โดยการโอนเงินเล็กๆ ไปเปิดพอร์ต cent ของโบรคฟอเร็ก แล้วก็ซื้อด้วยไม้เล็กๆ แล้วก็ทิ้งกันไว้ยาวๆ สิ้นเรื่อง 5555
* พอเรามีไม้แบบนี้ เราก็สบายใจ ไม่รู้สึกตกรถเท่าไหร่ ถึงแม้ว่า มันจะไม่ได้กำไรเยอะอะไร แต่ก็ถือว่า ให้ตัวเองได้เรียนรู้ และอยู่กับตลาดครับ
แนวทางแก้ไข
* รอบหน้า ถ้าเห็นทรงสินทรัพย์ใดๆ ที่มีการ Break out แนวต้านใหญ่ หรือสัญญาณ buy ระดับ Weekly ก็อย่าพลาดเหมือนทองอีกก็แล้วกัน
* ตอนนี้ ที่เห็นก็มี BTC ที่ยังต้องรอการ Break out กรอบใหญ่ ตรงราคา 10500 ขึ้นไปให้ได้ ไม่งั้น ก็ไม่ไปไหน
* หรือจะใช้วิธีทยอยซื้อเก็บทุกเดือน ไปก็ได้
3 ) หลายๆ คนพยายามเดา ว่า ราคาจะไปถึงไหน หรือ มันจะลงแล้ว เพราะเหตุผลหนึ่งสองสาม
--------------------
* เคสนี้น่าจะเป็นท่ามาตรฐานของกูรูหลายๆ คน เพราะการเดาไปเรื่อย เวลาถูก ก็สามารถเก็บมาโม้หาประโยชน์ในเรื่องอื่นๆ ได้ 555
* เคสเดาจะเกิดกับสายนับเวฟแล้วมา bet -- ซึ่งจริงๆ แล้ว ที่ผมเข้าใจ การนับเวฟ เราควรเอามาใช้ประเมิน "ความน่าจะเป็น" เพื่อวางแผนรับมือกับการเคลื่อนที่ของราคาในหลายๆ scenario -- ไม่ใช่ว่า นับแล้วบอกว่ามันต้องลง แล้วก็ไปจัดหนักจัดเต็ม
* แต่มันจะเป็นปัญหาก็คือว่า พอเราเดาไปแล้ว เราก็จะติด Bias จากการเดา/ทำนาย ราคาของเรา จนบางที ทำให้เรารีบร้อน take action ไปหน่อย
* เช่น เราเดาว่า มันน่าจะลงแล้ว แล้วเราก็ไปเปิด short สวนเทรน พอมันไม่ลงจริง เราก็ขี้แตก
* หรือบอกว่า มันน่าจะไปถึงแค่ตรงนี้ แล้วน่าจะจบรอบ ทำให้เราไปปิด position ที่เปิดมานานทิ้งหมด พอมันไปต่อ ก็เสียดายอีก
แนวทางแก้ไข
* อย่าไปเดา รันเทรนไปเรื่อยๆ จนกว่ากราฟจะเสียทรง แล้วค่อยว่ากันจะดีที่สุด
* นับเวฟได้ แต่อย่าเอามา bet หรือ bet ได้แต่ต้องมี SL ที่ชัดเจน เช่น break high ก็ต้องหนี อย่าดื้อ อย่าถัว
สรุปวิธีเล่นทอง ง่ายๆ
-----------------------
1) ดูเทรนใหญ่ให้ออก ว่าเป็นขาขึ้น หรือขาลง ( Weekly จะดีที่สุด )
2) ซื้อแล้วก็ถือยาว หรือจะ DCA ทุกเดือนไปเรื่อยๆ ก็ได้ จนกว่า Weekly จะเสียทรงขาขึ้น
3) ทนรวยนั่งทับมือให้ได้ อย่ารีบไปตกใจขาย ตามข่าว หรือกูรูคนอื่นบอก หรือคิดไปเอง จากการดูกราฟ ( เช่น bearish divergence มาแล้ว ขายดีกว่า )
4) อย่าไปพยายามเล่นสั้น เพราะต้องอัด leverage .. เวลาเสียทีมันไม่คุ้มกับที่ได้ ( นอกจากคุณจะเทพจัด )
แถมท้าย : เวลาวิเคราะห์จากกราฟที่มันเกิดขึ้นไปแล้ว มันก็ง่ายแบบนี้แหละ 55 แต่ว่า ก็ควรทำนะครับ เพราะเวลาที่เราเห็น pattern คล้ายๆ ทอง กับสินทรัพย์อื่นๆ เราจะได้ไม่ตกรถ หรือขายหมูกัน เหมือนกับที่เราเคยเจอกับทอง
live and learn ครับ
การใช้ Time Frame D/Week/Month คู่กับ MACD ในการจับจังหวะซื้อขายคลิปนี้เหมาะกับ "มือใหม่"
การใช้ Time Frame D/Week/Month คู่กับ MACD ในการจับจังหวะซื้อขาย
การเลือกหุ้นสำหรับมือใหม่ควรเลือก "ห้นขาขึ้น" เท่านั้น
เว้นแต่ กรณีลงทุนระยะกลาง (ถือ 2-3 ปี) หรือ ระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) กรณีลงทุนระยะสั้น 1-12 เดือน ควรเลือก "หุ้นขาขึ้น" เท่านั้น
ลำดับแรก พิจารณาจาก (Time Frame: TF)
ดูกราฟเดือน (Month TF) : ควรอยู่ในทรงขาขึ้น (ยก High ยก Low)
ดูกราฟรายสัปดาห์ (Week TF) : ควรอยู่ในทรงขาขึ้น แม้ว่าจะมี "การย่อตัว" ลงมาบ้าง แต่ภาพรวมยังเป็นขาขึ้น (ไม่หลุดจากเส้น Trend Line)
ดูกราฟรายวัน (Day TF) : ราคาอาจมีการแกว่งตัว เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง จุดสำคัญคือใช้ เส้นแนวโน้ม เข้าช่วย // หากราคา "ไม่หลุดเส้นแนวโน้ม" ก็ยังสามารถ "ถือ" หุ้นต่อไปได้ // ถ้าราคา "หลุด" เส้นแนวโน้มขาขึ้น ให้ใช้ MACD ในการช่วยตัดสินใจ
หากแท่งกราฟ MACD ยัง "เขียว" อยู่ ก็สามารถถือหุ้นต่อไปได้ หากเกิด "Dead Cross" ควรขายหุ้นออกมาก่อน
หากแท่งกราฟ MACD "แดง" ไม่ควรเข้าซื้อ จนกระทั่งเห็นสัญญาณ "Golden Cross" เส้นน้ำเงิน ตัด เส้นสีแดงขึ้นไป ก็เป็น สัญญาณเข้าซื้อ
หากแท่งเทียน "หลุด" เส้นแนวโน้ม ออกข้างหรือไซด์เวย์ ควร "ขาย" หุ้นออกมาเพื่อดูสถานการณ์ก่อน
การใช้เส้น Trend Line หา "จุดซื้อ" และ "จุดขาย"การใช้เส้น Trend LIne ในการจับจังหวะ ซื้อ/ขาย มักจะใช้ในช่วงที่มีแนวโน้ม "ชัดเจน" เช่น Up Trend หรือ Down Trend ไม่เหมาะกับ ไซด์เวย์
ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น หากราคาหุ้นทะลุเส้นแนวโน้มขาขึ้น ถือเป็น "จุดขาย" // Break เส้น Trend Line ขาขึ้น
ในช่วงแนวโน้มขาลง หากราคาหุ้น ทะลุเส้นแนวโน้มขาลง ถือเป็น "จุดซื้อ" // Break เส้น Trend Line ขาลง
การใช้เครื่องมือ "การวาด" ต่างๆ และการตั้ง Alertคลิปนี้จะแนะนำวิธีการใช้งานเครื่่องมือ "การวาด" ต่างๆ ที่สำคัญๆ ได้แก่ เส้น Trend Line เส้นแนวนอน (ไว้ตีแนวรับ แนวต้าน)
รวมถึงการตั้งค่า Alert เตือน เมื่อราคาหุ้นถึงระดับราคาที่มีนัยยะสำคัญ เช่น ราคาหุ้นสูงลดลงมาจาก 27.50 เหลือ 25.50 ช่วยส่ง Alert มาด้วย
โดยสามารถตั้งได้หลายแบบ 1. แบบ Pop Up ข้อความหน้าจอคอมฯ / มือถือ 2. ส่งอีเมลเตือน และอื่นๆ
สำหรับ Alert นั้นจะอธิบายเพิ่มเติมในคลิปถัดๆ ไปครับ
การใช้เส้น RSI ในการหา จุดซื้อ และ จุดขายการใช้เส้น RSI ในการหา จุดซื้อ และ จุดขาย
เส้น RSI สามารถนำมาใช้จับจังหวะการเข้าซื้อหุ้นได้โดยให้สังเกต 2 ตำแหน่งที่สำคัญคือ เมื่อเส้น RSI เข้าใกล้หรือต่ำกว่าเส้น 30 จะเกิดภาวะ OverSold (แพนิคเซลล์ / ขายแบบเทกระจาด) ซึ่งสามารถระบุเป็นจุด "เข้าซื้อ" ได้
ขณะเดียวกัน หากเส้น RSI อยู่เหนือเส้น 70 จะเกิดภาวะ OverBought (เข้าเขต ซื้อมากเกินไป เพราะกลัวตกรถ) ก็สามารถเป็น "จุดขายทำกำไร" ได้เช่นกัน
รู้จักกับ แท่งเทียน Candle Stickรู้จักกับ แท่งเทียน Candle Stick
แท่งเทียน 1 แท่ง แสดงถึง "ราคาเปิด" และ "ราคาปิด" ในระหว่างวัน
แท่งเทียน "สีแดง" ราคาเปิด "สูงกว่า" ราคาปิด
แท่งเทียน "สีเขียว" ราคาปิด "สูงกว่า" ราคาเปิด
แท่งเทียนแต่ละแท่ง จะนำมาเรียงต่อกันจนเกิดรูปแบบ "กราฟ"
ฟอร์มตัวเป็น "ขาขึ้น Up Trend" และ "ขาลง Down Trend " หรือ ออกข้าง (Side Way)
ไส้เทียน จะบอก "ราคาต่ำสุดของวัน" และ "ราคาสูงสุดของวัน"