หุ้นที่วิ่งรอบใหญ่ มักมีกราฟสวยนี่เป็นวิธีมองและคัดหุ้นที่เรียบง่ายมาก
หุ้นที่วิ่งรอบใหญ่ มักมีกราฟสวย
สวยยังไง?
1) ราคาทำจุดสูงสุดใหม่
2) ราคาเรียงตัวขึ้นสวย
3) ราคาวิ่งเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 10-20-50 วันที่เฉียงชันขึ้นตาม
4) ราคาพักตัวและเด้งจากเส้นค่าเฉลี่ย 10-20-50 ตามความเหมาะสมของมัน
ดูแค่นี้พอ จำภาพนี้ให้ขึ้นใจ
งานของคุณก็คือ เปิดหาหุ้นที่มีหน้าตาแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่เจอก็อยู่เฉยๆ
เคล็ดลับ: ควรเทรด(และสแกน)ทั้งตลาด อเมริกา, จีน, ยุโรป คุณจะมีโอกาสเห็นหุ้นทรงแบบนี้มากขึ้น
ไอเดียชุมชน
ช่วงเวลาที่ดีมาก ในการหาหุ้นฮ่องกง+จีน ลงทุนหลังจากที่ราคาพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้หุ้นจีนกับฮ่องกงมีการพักตัวทั้งกระดาน
และนี่ก็คือช่วงเวลาที่น่าสนใจและจับตามองดูเป็นอย่างมาก มีหุ้นเติบโตหลายตัวที่พักตัวได้ดีโดยเฉพาะการยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยที่มีนัยยะสำคัญอย่าง 50 วัน
ปล. คุณสามารถไปเปิดบัญชีที่หลักทรัพย์ pi ได้นะครับ แต่ต้องรีบทำหน่อยนะ เพราะที่นี่กว่าจะเปิดบัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ต้องใช้เวลาถึง 1 เดือนด้วยกัน(ผมเจอกับตัวมาแล้ว)
ฝึกอ่านกราฟภาพรวมของแผนใหญ่คู่ก็จะตีกรอบเอาไว้ประมาณนี้ก่อนแล้วค่อยไปย่อหาจุดเช่าที่เล็กลงทำแบบเดิมๆแต่เขาเลือกว่าจะเทรดคู่ไหนก็ต้องเลือกเอารูปแบบกราฟทั้งหมดมันก็มีความคล้ายคลึงกันความแตกต่างกันอาจจะมีบ้างเล็กน้อยนั่นก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของแต่ละกราฟแต่ละเจ้าตลาดที่เขาจะทำรูปแบบกราฟขึ้นมาแต่ภาพรวมใหญ่ๆนั้นก็คือไม่พ้นการวิเคราะห์ครับแต่ภาพเดิมๆที่เราวิเคราะห์นั่นแหละครับผิดบ้างเล็กๆน้อยๆก็มีเป็นเรื่องธรรมดา
ฝึกอ่านกราฟคู่เงินมันวิ่งน้อยถ้าจะเก็บก็ต้องเก็บทำเฟรมใหญ่ๆหน่อยแล้วก็ถือยาวๆหน่อยแต่ถ้าจะเก็บทำเตรียมที่เล็กๆก็แนะนำออกรถไซส์ใหญ่ๆหน่อยแล้วก็เบิ้ลไม้ก็ได้เก็บสั้นๆ 50.30 จุด 100 จุดก็ปิดได้แล้วแต่ถ้าจะถือยาวๆก็ดู h1 ก็พอแต่ถ้าเกิดอยากจะเข้าสั้นๆก็หาจุดเข้าที่เล็กลงกว่านั้นก็คือย่อลงไปจนถึง m1 เลยก็ได้ต้องไล่หาจุดเข้าเอาลองสังเกตดูครับ
ฝึกอ่านกราฟไม่ได้วิเคราะห์คู่เงินมาดูนานเลยลองวิเคราะห์บ้าง
สำหรับวันนี้จะมาเล่าจากประสบการณ์ตัวเองจริงๆ
เรื่องของการวิเคราะห์กราฟนี่แหละครับคือก่อนหน้าเป็นอะไรที่เครียดมากแล้วก็ไม่รู้จะไปทางไหนเราไม่รู้เลยว่าแต่ละวันมันจะเป็นยังไงแล้วมันจะต้องทำอะไรก่อนและหลังสิ่งสำคัญมันคืออะไร
ผมจำแนกองค์ประกอบไว้อยู่สัก 3 อย่าง
อันที่ 1 คือเรื่องของความรู้ความเข้าใจการฝึกทักษะบ่อยๆทำซ้ำๆ
อันที่ 2 ก็คือเรื่องของการควบคุมสติ สติเราควรต้องมีตลอดเวลาไม่อย่างนั้นสติแตกได้
คุยกับตัวเองอยู่เสมอและคุยกับตัวเองว่าอะไรจำเป็นอะไรไม่จำเป็นเราควรจะต้องเข้าใจตัวเอง
อันที่ 3 ก็คือการสรุปผลของการเทรดนำมาพัฒนาต่อยอดรูปแบบการเทรดเดิมๆของเราให้มันคมยิ่งขึ้นเพื่อที่จะหาจุดเข้าที่แม่นๆเข้าแล้วไม่ให้โดนรากมากเกินไป
สำหรับวันนี้ก็มาลองวิเคราะห์คู่เงินดูโดยขอลบ indicator ออกให้หมดนะครับไม่ใส่แล้วนะครับมันลบเอาที่เห็นตามภาพนี้เลย
บางคนเห็นภาพใหญ่นี้ก็คิดว่ามันคือขาลง
แต่บางคนอาจจะมองว่านี่คือ side way และเป็นไซด์เวย์ขนาดเล็กและก็ขนาดใหญ่
ส่วนตัวนั้นจะมองแค่ราคาของปัจจุบันนั่นคือเดือนมีนาคมเลยส่วนจะย้อนกลับไปข้างหลังด้านซ้ายนั้นก็คือเป็นรอยทางของกราฟที่จะไปถึงนั่นก็คืออะไรแนวรับแนวต้านสำคัญที่กราฟมันจะไปถึงแล้วมันมีโอกาสที่จะชนแล้วเด้งหรือชนแล้วทะลุซึ่งข้างในของไทม์เฟรมเล็กๆนั้นมันจะเป็นตัวกำหนดว่ากราฟควรจะพุ่งขึ้นหรือจะชนแล้วดีดกับตัวลองสังเกตดูเดี๋ยวจะลองย่อในทางเฟรมที่เล็กลงและหาจุดเช่าของคู่เงินดูครับ
ฝึกอ่านกราฟภาพนี้เห็นแล้วก็น่าจะจับหลักได้แล้วมั้งครับถ้าจับได้แล้วก็ลองเอาไปฝึกดูแล้วกันหาแนวทางของตัวเองดูแล้วกันเนาะส่วนผมเองก็ยังฝึกอยู่เหมือนกันก็ยังแพ้อยู่เหมือนกันไม่เคยชนะเลย
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์วันนี้ก็ไม่มีอะไรแค่เพียงต้องการอยากให้ทุกคนจับหลักของตัวเองให้เจอแล้วก็ฝึกแนวทางของตัวเองไปตลอดแค่นั้นแหละระวังเรื่องของสติเราด้วยแหละถ้าเราไม่มีสติไม่ยึดมั่นในความเชื่อมั่นของตัวเองมัวแต่ไปเกาะติดคนนู้นคนนี้เนี่ยบอกเลยนะครับมันไม่สำเร็จเลยไม่มีทางไม่ทำอาชีพอื่นดีกว่าประมาณนั้นแหละลองดูแล้วกันเดี๋ยวจะลองย่อหาจุดเข้าที่เล็กลงกว่านี้อีกหน่อย
ฝึกอ่านกราฟจากมุมมองภาพนี้ก็ขีดๆเขียนมาให้เห็นตามภาพนี้ล่ะครับอาจจะดูรกๆหน่อยแต่ก็ลองแกะดูทำความเข้าใจดูคือทุกวันกราฟมันต้องวิเคราะห์ทุกวันมันไม่ใช่ว่าวิเคราะห์ไว้เป็นเดือนๆหรือเป็นสัปดาห์แล้วเอามาใช้ได้หมดมันไม่ใช่ในแต่ละวันมันขยับเปลี่ยนไปเรื่อยๆถ้าคนเทรดในวันก็จะต้องหาจุดเข้าใหม่ทุกๆวันกราฟมันไม่ได้ไปตามนั้นได้เสมอไปหรอกเพราะว่าTFมันใหญ่ก่อนที่มันจะไปถึงจุดที่เราเห็น ณ ปัจจุบันน่ะ
มันก็ขึ้นๆลงๆเราถ้ามีทุนน้อยยังไงก็โดน SL แต่ถ้าเราหาจุดเข้าที่ดีเราก็เก็บสั้นๆเข้าไปเรื่อยๆไม่ต้องไปรันเทรนส่วนคำพูดในข้อความตรงไหนที่สงสัยอะไรก็หาดูใน google เอานะครับไม่มีอะไรจะต้องอธิบายมากจากในรูป google อาจจะเห็นว่ามันเป็นอีกมุมมองหนึ่งซึ่งผมมองอีกแบบหนึ่งมันก็ไม่เหมือนกันบางทีมันก็ขึ้นไปเลยบางทีมันก็ side way แล้วมันก็ลงเลยมันไม่มีอะไรถูกต้องหรอกมันเป็นภาพที่เราจับหลักได้ให้รู้แค่นั้นเองว่ามันคืออะไรแต่พอถึงหน้างานจริงๆเราก็ต้องมีรูปแบบของเราเองนั่นแหละ
ฝึกวิเคราะห์เพื่อหาจุดเข้าซื้อให้แม่นยำยิ่งๆขึ้นจากการวิเคราะห์ก่อนหน้าก็ย่อลงมาใน time frame ที่เล็กลงก็ตามภาพนี้เลยครับก็เห็นแบบนี้แหละแล้วจะไปแบบไหนต่อดีล่ะถ้าเป็น indicator คำถามต่อมาว่าแล้วขา a b c มันจะไปแบบไหนล่ะส่วนตัวไม่สามารถคาดเดาได้จริงๆมันก็เป็นส่วนหนึ่งในการให้เราเห็นรอยทางแต่ความเป็นจริงแล้วถึงแม้จะนับคบขา 5 จริงเป็นไปได้ไหมว่ามันก็ยังสามารถทะลุขึ้นต่อได้นั่นก็คือมันจะเป็นรูปแบบใดใน collection flat
สรุปก็ไม่มีอะไรมากครับแค่ต้องการอยากจะให้เห็นภาพเอามาเปรียบเทียบกันซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์ของตัวเราเองมันอาจจะไม่ได้ตรงกันกับ indicator 100% หรอกแต่มันเป็นส่วนหนึ่งในการเอามาเป็นมุมมองแค่นั้นเองถ้าจะเทรดแนะนำให้ฝึกรูปแบบที่ตัวเองเข้าใจแล้วก็กำหนดภาพนั้นไว้เสมอแล้วก็ลองเอาภาพที่เราเห็นนั่นน่ะมาลองใช้ในการเทรดดูสุดท้ายไปๆมาๆมันจะกลายเป็นว่าเราจะไม่ได้ใช้เครื่องมืออะไรในการอ้างอิงเลยอาจจะใช้มากแค่มองเพื่อให้เราเห็นภาพได้ง่ายขึ้นแต่ไม่ใช่ว่าเอามาใช้เป็นร้อยเปอร์เซ็นต์แบบนั้นลองสังเกตดูแล้วกันครับเดี๋ยวจะลองย่อลงไปในไทม์เฟรมที่เล็กลงกว่านี้อีกหน่อยนึง
ฝึกวิเคราะห์เพื่อหาจุดเข้าซื้อให้แม่นยำยิ่งๆขึ้นย่อจาก time frame ใหญ่มาเช่าที่เล็กลงก็ได้เห็นว่าอินดิเคเตอร์ที่เราใช้เขาสามารถนับครบ 5 ขาและสุดทางของกราฟเลยคำถามต่อมาว่าแล้วเขาจะไปทิศทางไหนต่อขา a b c จะเป็น ABC ในรูปแบบไหนขึ้นหรือลงแล้วเราจะไปตามดูอะไรนั่นคือการหารอยทางซึ่งในแต่ละคนที่ร่ำเรียนมานั้นจะมีรูปแบบและเทคนิคแตกต่างกันไปก็ต้องลองศึกษาลองทดลองดูแต่ส่วนตัวนั้นแค่ทำเอามาให้ดูเฉยๆแต่ไม่ได้ใช้งานเพราะจริงๆแล้วอยู่กับหน้ากราฟจริงๆเลยแค่นั้นแหละ
ซึ่งส่วนตัวมองภาพก็มองแค่ด้านขวาที่ราคาปัจจุบันแล้วก็กำหนดกรอบในการเทรดแค่นั้นเลยซึ่งในขณะนี้ก็มี 2 กรอบที่จะให้เทรดซึ่งการเทรดนั้นก็จะมีทั้ง follow by แล้วก็เทรดแบบกลับตัว
ฝึกอ่านกราฟจากการวิเคราะห์ก่อนหน้าก็เลยลองย่อหาจุดเช่าในทำเฟรมที่เล็กลงใน h1 ก็เป็นไปตามภาพที่เห็นเลยครับสิ่งที่มองดูก็คือสามารถเข้าซื้อได้ทั้ง 2 ฝั่งเลยแต่ก็อย่างที่เห็นนั่นแหละคือมันมีโอกาสเสมอที่จะทะลุฝั่งใดฝั่งหนึ่งได้ส่วนอินดิเคเตอร์ด้านซ้ายตามโปรแกรมให้มาก็ย่อลงมาก็เหมือนเดิมฝั่งขวาเขาวิเคราะห์ไม่ได้สุดท้ายไม่รู้มันจะสร้างขึ้นมาทำไมสร้างแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะให้เราทำอะไรมีกากบาทอยู่ 4 จุดนั้นกากบาทไว้ทำอะไรเราก็ไม่เข้าใจความหมายของมันสรุปว่าใครร่ำเรียนมาแบบใดใช้วิชาอะไรในการวิเคราะห์ก็ลองดูลองทำดูถนัดใช้งานอะไรก็ลองดู
ส่วนถ้าจะเป็นการนับขาของ อีเรทเวฟณขณะนี้ก็ไม่น่าจะนับอะไรได้แล้วต้องไปนับด้วยตนเองเพราะว่าระบบเขานับได้ถึงแค่ตรงนั้นคือขาที่ 5 ขาสุดท้ายแล้วจะไปต่อยังไงไอ้นี่คือสิ่งที่เราจะต้องศึกษาแต่ส่วนตัวไม่ขอนำมาใช้เพราะว่าไม่สามารถนับคลื่นอิเลียตเวฟได้เพราะว่าไม่มีความสามารถจริงๆแต่เหตุผลที่ทำขึ้นมาให้ดูก็คืออยากให้เห็นเป็นตัวอย่างเฉยๆว่าถ้าเกิดเราใส่ indicator ลงไปนั้นมันจะเห็นอะไรบ้างส่วนตัวนั้นจะหาจุดเช่าในแท่งของเดือนปัจจุบันเลยส่วนที่ผ่านมาแล้วนั้นเป็นแค่รอยทางในอดีตเท่านั้นก็ไม่ได้เอามาใส่ใจอะไรมากสรุปว่าเดี๋ยวจะย่อเข้าไปหาจุดเช่าในทางเฟรมที่เล็กลงครับผม
ฝึกอ่านกราฟจากการวิเคราะห์ก่อนหน้าก็เลยลองย่อหาจุดเช่าในทำเฟรมที่เล็กลงใน h1 ก็เป็นไปตามภาพที่เห็นเลยครับสิ่งที่มองดูก็คือสามารถเข้าซื้อได้ทั้ง 2 ฝั่งเลยแต่ก็อย่างที่เห็นนั่นแหละคือมันมีโอกาสเสมอที่จะทะลุฝั่งใดฝั่งหนึ่งได้ส่วนอินดิเคเตอร์ด้านซ้ายตามโปรแกรมให้มาก็ย่อลงมาก็เหมือนเดิมฝั่งขวาเขาวิเคราะห์ไม่ได้สุดท้ายแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะให้เราทำอะไรต่อไปแล้วมีกากบาทอยู่ 4 จุดนั้นกากบาทไว้ทำอะไรเราก็ไม่เข้าใจความหมายของมันสรุปว่าใครร่ำเรียนมาแบบใดใช้วิชาอะไรในการวิเคราะห์ก็ลองดูลองทำดูถนัดใช้งานอะไรก็ลองดู
ฝึกอ่านกราฟสำหรับการมองกราฟในวันนี้ก็อยากให้มองเป็น 2 แบบนะครับก็คือการถอดอินดิเคเตอร์ออกแล้วก็ให้มองเป็นกราฟเปล่าตามที่ขีดขีดเขียนลงไปเลยนี่แหละครับเห็นแบบนี้แหละส่วนการที่ตีเส้นเทนไลน์นั้นก็ไม่จำเป็นจะต้องกำหนดเลยว่าจะต้องตีที่ปลายไส้หรือเนื้อเทียนหรืออะไรช่างมันไม่ต้องสนใจเห็นจากภาพก็ตีไปเลยตีห่างๆก็ได้ไม่เป็นไรไม่ได้ผิดอะไรก็ตีให้แค่อะไรครับ คำตอบคือ ให้รู้ว่ามันเป็นภาพแบบไหน ซึ่งมุมมองก็เลยอยากจะเอามาให้ดูเฉยๆว่าถ้ามองน่ะมันมองได้หลายรูปแบบมากไม่ว่าจะเป็นมองแบบไซด์เวย์มองเป็นรูปแบบขาขึ้นมองเป็นรูปแบบขาลงมันขึ้นอยู่กับตัวเราเลยว่าเราจะเทรดอย่างไรซึ่งในมุมมองที่เห็นในส่วนตัวก็คือเห็นในตามภาพนี้เลยก็คือสามารถเทรดได้ทั้ง 2 ทางและในณขณะนี้มันอยู่กึ่งกลางราคามีการบีบตัวของราคาฉะนั้นกราฟไม่สามารถเข้าออเดอร์ได้ทั้ง 2 ฝั่งแต่มีเงื่อนไขว่าไม่สามารถเข้าได้ในช่วงทำเฟรมใหญ่ๆแต่ถ้าเป็นทำเฟรมที่เล็กๆเนี่ยมันก็มีจุดเข้าของมันอยู่ซึ่งเราก็ต้องหาจุดเข้าให้ได้แล้วเราก็ต้องหารูปแบบซ้ำๆเดิมๆของเราให้ได้ซึ่งวิธีการมองของผมฝั่งขวาผมเห็นหมดแล้วว่าจะเข้าอย่างไรแต่แค่เอามาเปรียบเทียบกับ indicator ที่โปรแกรมให้มานั้นเขามีการวิเคราะห์ได้ฝั่งซ้ายได้แค่นั้นจริงๆแต่เขาไปต่อไม่ได้และเขายังมีกากบาทเอาไว้ให้อีก 2 จุดนั้นคือให้เป็นตัวสังเกตซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าให้สังเกตอะไรซึ่งผมก็ไม่เคยใช้แต่ถ้ามาดูณขณะนี้คือมันย่อตัวลงมามี Clean traffic ทางขวาแล้วนั่นแสดงว่าไอ้ทางซ้ายที่มันกากบาทมันก็ใช้ไม่ได้มันก็เป็นเหตุให้พิสูจน์ว่า indicator ก็ไม่ได้บอกอะไรเราได้ทั้งหมดสิ่งที่บอกเราได้ทั้งหมดนั่นคือรูปแบบซ้ำซ้ำเดิมเดิมของเราที่เราเคยทำเงินได้ที่เราเคยใช้ในการฝึกหารูปแบบของเราแค่นั้นเอง
ส่วนอินดิเคเตอร์ที่ใช้นั้นก็คือ
Elliott Wave ลองดูแล้วกันครับสำหรับวันนี้ก็คิดว่าถ้าจะเทรดก็คือการย่อเข้าในทำเฟรมที่เล็กลงแล้วหาจุดเข้าและการเก็บจุดนั้นก็เก็บได้น้อยมากโดยธรรมชาติของกราฟ bitcoin นั้นส่วนใหญ่จะเจอการดีดตัวช่วงวันอาทิตย์ตอนเย็นๆ หรือไม่ก็ชอบลักหลับเราแล้วไปเฉลยตอนเช้าวันจันทร์ให้เราเสียดายเสมอๆ
คิดว่าเย็นๆนี้ก็น่าจะเห็นอะไรมากขึ้นแหละเพราะฉะนั้นถ้าจะเทรดbuyก็ต้องรอให้ย่อลงมาก่อนแล้วค่อยบายถ้าจะเซลล์ก็รอให้ยกขึ้นไปแล้วค่อยเซลล์ดีกว่าลองสังเกตหารูปแบบดูครับ
อ่านกราฟไม่เก่งก็กำไร ด้วยสูตร Money Management อ่านกราฟไม่เก่งก็กำไร ด้วยสูตร
Money Management
👰 กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับบทความๆดีๆที่มีให้อ่านกันไม่รู้จักเบื่อ มาครับวันนี้แอดพาทุกท่านไปคำนวนตัวเลขเพื่อใช้ในการเทรดกันฮะ ไม่สับสนวุ่นวาย ไม่ยากเกินไปแน่นอน รับรองได้ มาครับตามมาดูมาอ่านกันดีกว่า ว่ามันใช้ยังไง และดีอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
👯💆 ส่วนใหญ่แล้ว เทรดเดอร์หน้าใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ การวางแผนคำนวนทุนกำไรเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเทรดแค่ได้กำไรก็จบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันยากมาก เพราะการเทรดมีทั้งได้กำไรและขาดทุน การคำนวน MM (Money Management) จึงจัดว่าสำคัญ
👯💆เพราะเราไม่สามารถ เทรดแล้วทำกำไรได้ทุกครั้ง เราจะต้องมองการเทรดให้เป็นเกมในระยะยาว การรักษาเงินทุนของเราจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องเลือกเข้าเทรดในจุดที่ใช่และมีการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง และสิ่งที่ต้องรู้ในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน มีดังนี้
ขั้นตอนในการทำ Money Management
1. การอ่านและวิเคราะห์กราฟจากเครื่องมืออินดิเคเตอร์ เพื่อดูทิศทางในการเข้าออเดอร์ เช่น ดู EMA ,BB FIBO, CHANNEL เป็นต้น
2. คำนวนน R:R (Reward to Risk Ratio) คือความคุ้มค่าในการลงทุนแต่ละครั้ง เป็นการคำนวณเปรียบเทียบระหว่างกำไรที่เราจะได้รับมา หารกับผลขาดทุนที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม้นั้นออกมาแพ้ การคำนวณค่า R:R คือเอาระยะกำไรหรือ TP มาหารด้วยระยะขาดทุนหรือระยะ SL
โดยทั่วไป R:R ควรจะต้องมากกว่า 2 ขึ้นไปถึงจะถือว่าคุ้มค่า แต่ว่าค่านี้ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะถ้าหากเราที่ใช้กลยุทธ์ที่มี %Win Ratio สูง ๆ ค่า R:R ของเราก็อาจจะปรับลดลงได้
3. Win Rate เปอร์เซ็นโอกาสในการชนะของแผนการลงทุน ค่า Win rate จะได้มาจากการเก็บสถิติของคุณด้วยเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งที่คุณใช้อยู่ ซึ่งคำนวณจากจำนวนครั้งที่คุณชนะหารด้วยจำนวนการเทรดทุกไม้ของคุณ
- เพราะโดยทั่วไป % Win Rate ของคนที่ใช้กลยุทธ์เทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) จะอยู่ประมาณ 40% +/- เท่านั้น (เทรด 10 ครั้ง = ชนะ 4 ครั้ง / แพ้ 6 ครั้ง)
4. Correlation การกระจายความเสี่ยง เราจะไม่เทรดในคู่เงินที่มีแนวโน้มหรือทิศทางไปในทางเดียวกันหลายๆคู่ ยกตัวอย่างการเทรด คู่ EUR และ GBP ซึ่ง 2 สกุลเงินนี้อยู่ในตลาดยุโรปทั้งคู่ ถ้าเราเทรดชนะเราก็จะได้กำไร 2 เท่า แต่ถ้าเราเทรดแพ้เราก็จะขาดทุนเป็น 2 เท่าเช่นเดียวกัน
5. Position sizing การออก lot ให้เหมาะสมกับเงินทุน การคำนวณ Position sizing นี้มีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน
- fixed fractional หรือว่าการออกไม้ด้วยเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่เท่ากันทุกไม้ ข้อดีก็คือถ้าเกิดเราแพ้ติดต่อกันหลายๆไม้ จำนวนเงินที่เราจะออกไม้จะค่อยๆน้อยลงแต่ในขณะเดียวกันถ้าเผื่อเราชนะติดต่อกันหลายๆไม้ เราจะสามารถออก lot ด้วยขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆทำให้เราได้กำไรทบต้นขึ้นไปอีก
- Fixed sizing คือการออก lot โดยการใช้จำนวนเงินหรือว่าระยะ TP SL เท่ากันทุกไม้ไม่ว่าพอร์ตเราจะโตขึ้นหรือว่าเล็กลง ข้อดีของการใช้วิธีนี้คืออัตราการเติบโตของพอร์ตเราจะมีแรงเหวี่ยงที่น้อยกว่า แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือว่าเราจะมี draw down ที่สูงกว่าถ้าเผื่อเรา SL ติดกันหลายๆไม้
- Fixed fractional sizing โดยวิธีนี้จะทำการออก lot ในจำนวนไม้เท่าๆกัน มีการปรับเปลี่ยนการออกไม้ของเราเมื่อพอร์ตเราโตขึ้นหรือว่าเล็กลงถึงค่าที่เรากำหนดไว้เป็นขั้นบันได
6. Expectancy คือค่ากำไรที่เราคาดหวังจากระบบเทรด ซึ่งค่านี้จะบ่งบอกว่าระบบเทรดของคุณที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีโอกาสได้กำไรหรือขาดทุนมากกว่ากัน โดยเราจะต้องเก็บข้อมูลจากสถิติที่เราเทรดจริงหรือว่าจากที่เรา Back Test ก็ได้ในจำนวนที่มากพอเพื่อมาคำนวณหาค่าค่านี้
7. Recovery Rate คือโอกาสที่จะกู้พอร์ตให้กลับมาเท่าทุน ซึ่งถ้าเกิดว่าเราเทรดแพ้หลายๆไม้ติดต่อกัน โอกาสที่เราจะสามารถนำเงินกลับมาเท่าทุน จะเริ่มยากขึ้นไปเรื่อยๆ
8. Capital Management คือการจัดสรรเงินทุนให้เหมาะสมและถูกต้อง ข้อนี้สำคัญมากเพราะถ้าเราไม่รู้หรือคำนวณไม่เป็น สุดท้ายเมื่อเรามีเงินทุนไม่พอเราก็จะมีโอกาสที่จะล้างพอร์ตได้ในระยะยา การคำนวณคือ เราจะต้องเอา minimum ในการออกไม้ อยู่ที่ 0.01 เอาค่านี้มาคูณกับระยะ SL ที่เราจะเข้า
👽👽👽เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ Money Management แม้ว่าจะต้องเสียเวลานิดๆหน่อยๆในการคำนวน แต่เชื่อเถอะครับ มันดีจริงๆ แถมมันยังช่วยให้เราตัดสินใจในการเทรดได้มากขึ้นอีกด้วย เทรดครั้งนึงคุ้มไม่คุ้มอยู่ตรงนี้แหละ ใครบ้างจะอยากขาดทุน แต่ถ้าขาดทุนแล้วต้องกู้กำไรกลับคืนมา นี่ต่างหากที่สำคัญสุดๆ ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะฮะ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ฝึกการเทรดไว้เยอะๆแล้วเราจะเก่งเอง แอดเอาใจช่วยทุกท่านให้เทรดได้เงินสะสมเยอะๆครับ
การตั้ง Take Profit อย่างแม่นยำในการเทรด Forexในการเทรด Forex หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดที่นักเทรดต้องให้ความสำคัญคือการตั้ง Take Profit (TP) หรือจุดทำกำไรที่เหมาะสม เพราะการตั้ง TP อย่างแม่นยำสามารถช่วยให้คุณล็อกกำไร ลดความเสี่ยง และทำให้แผนการเทรดของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักแนวทางการตั้ง TP ที่เหมาะสมและแม่นยำเพื่อให้สามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
1. ทำความเข้าใจแนวคิดของ Take Profit
TP คือระดับราคาที่นักเทรดตั้งไว้เพื่อปิดออเดอร์โดยอัตโนมัติเมื่อราคาถึงจุดที่กำหนด ซึ่งช่วยให้สามารถรักษากำไรได้โดยไม่ต้องเฝ้ากราฟตลอดเวลา หากตั้ง TP ไว้ใกล้เกินไป อาจทำให้พลาดโอกาสในการทำกำไรสูงสุด แต่หากตั้งไกลเกินไป ราคาก็อาจไม่ถึง TP และเกิดการกลับตัวก่อน
2. วิธีการตั้ง Take Profit อย่างแม่นยำ
2.1 ใช้แนวรับและแนวต้าน (Support & Resistance)
แนวรับและแนวต้านเป็นจุดที่ราคามักจะมีการกลับตัวหรือติดแนวนี้ การตั้ง TP ใกล้บริเวณแนวต้าน (ในกรณี Buy) หรือใกล้แนวรับ (ในกรณี Sell) จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ราคาถึงเป้าหมายก่อนที่จะเกิดการกลับตัว
2.2 ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average – MA)
MA เป็นอินดิเคเตอร์ที่ช่วยระบุแนวโน้มและแนวรับแนวต้านที่เคลื่อนที่ หากราคามีแนวโน้มเป็นขาขึ้น การตั้ง TP ใกล้เส้น MA ที่สำคัญ เช่น EMA 50, EMA 100 หรือ EMA 200 อาจช่วยเพิ่มความแม่นยำ
2.3 ใช้ Fibonacci Retracement และ Extension
Fibonacci เป็นเครื่องมือที่ช่วยคาดการณ์แนวโน้มราคาและจุดกลับตัว โดยสามารถใช้ Fibonacci Extension เพื่อกำหนด TP ในจุดที่มีโอกาสเกิดการกลับตัว เช่น ระดับ 1.618 หรือ 2.618
2.4 ใช้ Risk-Reward Ratio (RRR)
การตั้ง TP ควรสัมพันธ์กับ Stop Loss (SL) เช่น หากคุณตั้ง SL ไว้ 50 pips ควรตั้ง TP อย่างน้อย 100 pips เพื่อให้ได้ RRR 1:2 หรือมากกว่า ซึ่งช่วยให้แม้ชนะการเทรดเพียงครึ่งหนึ่งก็ยังมีกำไร
2.5 ใช้ Price Action และแท่งเทียนกลับตัว
การสังเกตรูปแบบแท่งเทียน เช่น Pin Bar, Engulfing, Doji บริเวณแนวรับแนวต้าน สามารถช่วยบอกจุดที่ราคามีโอกาสกลับตัว ทำให้สามารถตั้ง TP ได้อย่างแม่นยำ
3. ตัวอย่างการตั้ง Take Profit ในสถานการณ์จริง
ตัวอย่างที่ 1: การใช้แนวต้านเป็น TP
คู่เงิน: EUR/USD
จุดเข้า: 1.1000 (Buy)
แนวต้านสำคัญ: 1.1050
TP ที่เหมาะสม: 1.1045 (ตั้งก่อนแนวต้านเล็กน้อยเพื่อเพิ่มโอกาสปิดกำไร)
ตัวอย่างที่ 2: การใช้ Fibonacci Extension
คู่เงิน: GBP/USD
จุดเข้า: 1.2500 (Buy)
Fibonacci Extension 1.618 ที่ระดับ: 1.2650
TP ที่เหมาะสม: 1.2645 (ตั้งก่อนถึงจุด Fibonacci เพื่อเพิ่มโอกาสปิดกำไร)
4. ข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยงในการตั้ง TP
ตั้ง TP ไกลเกินไปจนราคามีโอกาสกลับตัวก่อน
ไม่วิเคราะห์แนวรับแนวต้านก่อนตั้ง TP
ตั้ง TP เท่ากับ SL (RRR 1:1) ซึ่งทำให้โอกาสขาดทุนและกำไรเท่ากัน ไม่เกิดความได้เปรียบ
เปลี่ยน TP กลางทางโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน
5. สรุปแนวทางการตั้ง TP อย่างแม่นยำ
✅ ใช้แนวรับแนวต้านเป็นแนวทางกำหนด TP ✅ ใช้เครื่องมืออย่าง MA, Fibonacci, และ Price Action เพื่อเพิ่มความแม่นยำ ✅ ตั้ง TP ให้สัมพันธ์กับ SL ด้วย RRR ที่เหมาะสม ✅ หลีกเลี่ยงการตั้ง TP ไกลหรือใกล้เกินไปโดยไม่มีเหตุผล ✅ ใช้การทดสอบย้อนหลัง (Backtest) และติดตามผลการตั้ง TP เพื่อนำมาปรับปรุง
การตั้ง Take Profit อย่างแม่นยำจะช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอและลดโอกาสสูญเสียจากการเทรด Forex การฝึกฝนและการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องจะทำให้คุณพัฒนากลยุทธ์ TP ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เข้าลักษณะของ Wedge pop?Oliver Kell ให้นิยาม wedge pop ไว้ว่า
- เป็นการเคลื่อนที่ของราคากลับขึ้นไปผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) ในที่นี้คือเส้น 21 วัน
- มันเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า แนวโน้มกำลังจะกลับตัวเป็นขาขึ้น
- เรามักจะเห็น หุ้นขยายตัวขึ้น (Expand Higher) จากนั้นหดตัวเล็กน้อยและเริ่มสร้างฐานแนวรับใหม่ (Higher Low)
- เส้นค่าเฉลี่ยมักจะช่วยจับจังหวะของจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นได้ค่อนข้างดี
Inside bar วันที่สอง = Volatility contraction patternถือเป็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้น หลังจากที่ราคาแกว่งรุนแรง ความผันผวนสูง หลังจากนั้นราคาก็แกว่งแคบลง แถมอยู่ในกรอบของวันก่อนหน้านี้ นี่แหละที่อาจารย์โอ๋ Oliver Kell เรียกว่าเป็นลักษณะของ volatility contraction pattern ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สื่อว่า supply หมดไปจากตลาด
ความน่าสนใจ คือจากนี้ ว่า demand จะเอาขึ้นหรือเปล่า? เท่านั้นแหละ
Wick playดู 3 แท่งเทียนล่าสุดนะครับ
นี่คือลักษณะของ Wick play ตามที่อาจารย์โอ๋ Oliver Kell ได้ตั้งชื่อไว้ มันเป็นลักษณะของการต่อสู้ระหว่าง demand กับ supply การที่ราคาทิ้งไส้ถือว่า supply กำลังได้เปรียบ แต่วันต่อมาราคาเปิดสูงขึ้นและยืนได้สูงกว่าเดิมแต่มันก็ยังทิ้งไส้ข้างบนอยู่ สื่อเหมือนกับว่าซัพพลายกำลังได้เปรียบแต่ราคาก็ทำจุดสูงสุดใหม่ได้
ลักษณะนี้ถือว่าแท้จริงแล้วดีมานกำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบและด้านราคาขึ้นไป