ไอเดียชุมชน
[CASE STUDY หาหุ้นปันผล] กอง REIT กับผลตอบแทนไม่ธรรมดาสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับสินทรัพย์การเงินชนิดหนึ่งนะครับ ที่สร้างผลตอบแทนได้จากทั้งเงินปันผลที่จ่ายอย่างสม่ำเสมอ และส่วนต่างราคาซึ่งราคาเหมือนกับหุ้น แต่ไม่ผันผวนมากเท่าหุ้นกันครับ
สินทรัพย์นี้คือกอง REIT นั่นเองครับ ซึ่งกอง REIT จะมี Business Model เป็นการรับค่าเช่าจากผู้เช่า และเอาค่าเช่านั้นมาจ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเราๆ นั่นเอง
โดยทั่วไปแล้วกอง REIT ส่วนมากจะเป็นกองของ "ห้างสรรพสินค้า" . "คลังสินค้า" , "โรงแรม" , "อาคารสำนักงาน"
ทั้งนี้เองเจ้าของจะเป็นคนที่ไปเก็บค่าเช่าจากคนที่มาใช้บริการครับ เช่นหากกอง REIT เป็นห้างสรรพสินค้า รายได้ก็ได้มาจากค่าเช่ารายเดือนของห้างร้านในนั้น
กอง REIT เองมี 2 แบบ คือแบบซื้อสิทธิ์ขายอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นของตัวเอง(Freehold) กับซื้อกรรมสิทธิ์ระยะยาว (Leasehold)
ในเคสนี้ผมจะพูดถึงเรื่องกอง Reit ที่สามารถเป็นหุ้นเด้งได้ยาวๆ และจ่ายเงินปันผลให้เราได้ตลอด นอกจากนี้ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงไปที่สินทรัพย์อื่นๆ ได้ด้วย
คุณสมบัติหลักๆ คือ
- กองนั้นต้องมีความสามารถในการดึงดูดผู้เช่าให้มาใช้บริการเขาได้ตลอด
- สามารถปรับค่าเช่าตามเงินเฟ้อได้
- ความสามารถที่โดดเด่นคือการ "ฆ่าเงินเฟ้อ" ได้ครับ จากการปรับค่าเช่า และมูลค่าที่ดินที่ปรับสูงขึ้นได้เสมอ
- หากกองเป็นแบบ Leasehold ความขยันของเจ้าของเป็นสิ่งสำคัญ หากกองมีการขาย Asset เข้ากอง Reit ตลอด การที่กองนั้นราคาจะขึ้นไปตามความคาดหวังของอนาคตก็มี สามารถทำกำไรแบบส่วนต่างราคาหรือ Capital Gain ได้ไม่ยากนัก
ข้อเสียที่ร้ายแรงของกอง REIT ก็มีครับ นั่นคือ
- สภาพคล่องของกองอาจจะมีน้อยมากจนอาจเข้าออกได้ยาก
- การที่ราคาไม่ไปไหนอาจมีความเสี่ยง หากราคาเปิด Gap ลงมาจนทำให้เราเสียเงินทางบัญชี
- เงินปันผลอาจไม่การันตีจ่ายได้ตลอดได้ จากการที่มีปัญหาเฉพาะที่ครับ เช่นกองนั้นอาจเกิดไฟไหม้ทำให้ไม่สามารถเก็บค่าเช่าได้ หรือแม้แต่ COVID ที่อาจทำให้ผู้เช่าไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้จากการต้อง Lock Down
ผมหวังว่าไอเดียนี้จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนได้ และได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์นี้ที่ดีนะครัย
[แกะหุ้นเด้ง pt.1] หาจุดซื้อรันเทรน กับ Rightmove หุ้น 10 เด้ง
- วีดีโอนี้พูดถึง Technical จุดซื้อ/ขาย 75% และพูดเกริ่นถึงบริษัท 25%
- บริษัทนี้คือบริษัทแข็งแกร่ง Market Share สูง 80% อัตราการทำกำไรมากกว่า 30%
- แม้บริษัทจะดูตันๆ ในเรื่องของความสำเร็จ จากประสิทธิภาพแต่ก็เป็นหุ้นหลายเด้งได้ จากสภาพแวดล้อมที่เติบโตได้จนเป็นหุ้น 10 เด้ง
- กำไรที่ได้แต่ละรอบสั้นนั้นได้ราว 1x% และจะนิ่งๆ และก็จะขึ้นใหม่เป็นขั้นบรรได แต่หากถือยาวจะได้กำไรเป็นเด้งได้ไม่ยาก (แต่ก็ขึ้นกับบริบทเวลาด้วย)
- Breakout รับมือได้ดีที่สุดกับบริษัทจำพวกที่กำไรโตตลอดเวลา
-------------------------------
สำหรับเนื้อหาจะมี 2พาร์ทด้วยกัน โดยพาร์ทนี้จะเน้นในเรื่อง Technical อย่างเดียวนะครับ จากนั้นอีกพาร์ทจะเป็นเรื่องของการเงินและธุรกิจล้วนๆ
และโพสนี้ผมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือหลักการเลือกหุ้นลงทุน ตามมาด้วยจุดซื้อที่ได้ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหุ้นนี้/บริษัทนี้
Rightmove เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายบ้าน และมีเว็ปไซต์โปรโมทบ้านเหล่านั้นอยู่ โดยครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% ตามมาด้วยอัตราการทำกำไรที่น่าประทับใจอยู่ระดับมากกว่า 30%
นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีการเติบโตต่อรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยสูงกว่าอัตราการเติบโตของประเทศอย่างอังกฤษกว่าที่ 2.xx% กว่ามาก
ต่อมาคือเรื่องของอัตราการทำกำไรต่อส่วนของเจ้าของ(ROE) ที่ทำได้อยู่ในระดับที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องบอกว่าประทับใจ
ปัจจัยทั้งหลายนี้ ชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนสายไหนก็ย่อมอยากได้บริษัทนี้เป็นเจ้าของแน่นอนครับ ดังนั้นหากบริษัทไม่มีพื้นฐานเปลี่ยนไปมากนัก อย่างไรก็ต้องมีคนซื้อกลับมาไม่ทางมดก็ทางหนึ่งครับ
ในวีดีโอนี้หลักๆ แล้วหลักกรซื้อที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด คือการ "Breakout" ครับ คือราคาเบรคขึ้นไปเมื่อไรหลายครั้งราคาจะไม่ค่อยกลับมาที่เดิมนัก
และการซื้อตอนย่อราคามาที่เส้นค่าเฉลี่ย 20 สัปดาห์ก็สามารถทำได้ และคุณก็สามารถใช้ประกอบกับ Relative Strength ได้เช่นกัน หากบริษัทแข็งกว่าตลาดจุดนั้นก็อาจเป็นจุกซื้อได้ตลอดได้
นอกจากเรื่องของ Breakout แล้ว เราสามารถมาผสานการใช้กับทรง VCP หรือ Cup with Handle ได้เช่นกันครับ โดยช่วงที่เขาจะ Break High ตรงจุดนี้นับเป็นจุกซื้อที่ทำให้เรารู้นิสัยครับว่าได้ผล
แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือบางช่วงมีการพักตัวที่อาจนานเกินไปซึ่งหากท่านไม่ใช่นักลงทุนที่รอรวยนานได้ ตรงนี้อาจทำให้ทุนพี่ๆ เพื่อนๆ จมลงได้ครับ
แต่ก็สามารถแก้ทางได้โดยหาเครื่องไม้เครื่องมืออย่าง Option มาหากระแสเงินสดจากบริษัทนี้ได้เช่นกัน
บริษัทนี้จากที่ผมได้กล่าวแล้วคงไม่พ้นเรื่องหุ้น "แข็งแกร่ง" ตามตำราของคุณปีเตอร์ ลินซ์เลยครับ นั่นคือเป็นหุ้นที่มี Market Share แข็งแกร่ง(เช่นเคสนี้มากกว่า 80%) กอปรด้วยตัวเลขการเงินที่อัศจรรย์ ไม่ว่าใครในตลาดต่างก็อยากเป็นเจ้าของ
ดังนั้นแล้วพอหุ้นขึ้นไป หุ้นมักไปได้ไม่มากครับ นั่นคือขึ้นไปสักราว 1x% แต่แม้จะขึ้นระดับนี้แล้วการจะย่อลงไปจุดต่ำเดิมนั้นไม่ค่อยมีมาก จากการที่กำไรบริษัทแข็งแกร่งไม่มีทีท่าลงมาต่ำกว่าเดิมเลย
แม้ราคาจะเพิ่มขึ้นสั้นๆ แต่หากเราถือนานมากยิ่งขึ้นให้บริษัทได้เฉิดฉายแล้วกำไรที่คุณจะได้ก็สามารถไปได้มากกว่าเด้งได้ไม่ยากเลยครับ
และหากคุณมองว่ากำไรได้น้อยและมีบางช่วงออกข้างนาน การใช้ประโยชน์จาก Option ในการหากระแสเงินสดหรือหาโอกาสจากหุ้นนี้ก็ทำได้เช่นกัน
เนื่องจากบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เพียงพอจะมีเครื่องมือทางการเงินหลากหลาย
#Elliottwave กฎ และ แนวทางการนับคลื่น Diagonal Triangle Diagonal Triangle
Diagonal Triangle(สามเหลี่ยมมุมทแยง) จัดเป็นหนึ่งในรูปแบบคลื่น Motive wave แต่ไม่ใช่ Impulse wave เนื่องจากคลื่นลูกที่สี่ของ Diagonal มีจุดสิ้นสุดภายในคลื่นลูกที่หนึ่ง รูปแบบ Diagonal นั้นมีตำแหน่งการเกิดขึ้นของรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมักจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเทรนของแนวโน้มใหญ่ และช่วงปลาย ของการสิ้นสุดของแนวโน้ม ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้ในคลื่น A ของ Zigzag และ C ของ Corrective wave
Diagonal Triangle แบ่งได้ 2 ประเภทตามของตำแหน่งที่ ปรากฏ ของคลื่น ได้แก่ Leading Diagonal และ Ending Diagonal
Rules
diagonal แบ่งออกเป็นห้าคลื่นเสมอ
ending diagonal จะปรากฏเป็นคลื่น 5 ของแรงกระตุ้นหรือคลื่น C ของ zigzag หรือ flat.
leading diagonal จะปรากฏเป็นคลื่น 1 ของแรงกระตุ้นหรือคลื่น A ของซิกแซกเสมอ
คลื่น 1, 2, 3, 4 และ 5 ของ ending diagonal, และคลื่นที่ 2 และ 4 ของ leading diagonal, แบ่งออกเป็นซิกแซกเสมอ
คลื่น 2 ไม่เคยไปไกลกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น 1
คลื่น 3 มักจะไปไกลกว่าจุดสิ้นสุดของคลื่น 1
คลื่น 4 ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 2
คลื่น 4 จะสิ้นสุดภายในอาณาเขตราคาของคลื่น 1 เสมอ*
จาก เส้นที่เชื่อมปลายคลื่น 2 และ 4 จะบรรจบกันเข้าหา (ใน contracting ) หรือแยกจาก (ใน expandingจะขยายออก) เส้นที่เชื่อมต่อปลายคลื่นที่ 1 และ 3
ใน leading diagonal,คลื่น 5 จะสิ้นสุดหลังสิ้นสุดคลื่น 3 เสมอ
ใน contracting คลื่น 3 จะสั้นกว่าคลื่น 1 เสมอ คลื่น 4 สั้นกว่าคลื่น 2 เสมอ และคลื่น 5 สั้นกว่าคลื่น 3 เสมอ
ใน expanding คลื่น 3 มักจะยาวกว่าคลื่น 1 เสมอ คลื่น 4 มักจะยาวกว่าคลื่น 2 เสมอ และคลื่น 5 มักจะยาวกว่าคลื่น 3 เสมอ
ใน expanding คลื่น 5 จะสิ้นสุดหลังจากสิ้นสุดคลื่น 3 เสมอ
Guidelines
คลื่นที่ 2 และ 4 แต่ละคลื่นมักจะย้อนกลับ .618 ถึง .786 ของคลื่นก่อนหน้า
คลื่นที่ 1, 3 และ 5 ของ leading diagonal มักจะแบ่งออกเป็นซิกแซก แต่บางครั้งก็ดูเหมือนจะเป็น impulses.
ภายใน impulse ถ้าคลื่น 1 เป็น diagonal คลื่น 3 มีแนวโน้มที่จะขยายออกไป
ภายใน impulse คลื่น 5 ไม่น่าจะเป็น diagonal หากคลื่น 3ไม่ขยาย
ใน contracting คลื่น 5 มักจะสิ้นสุดหลังจุดสิ้นสุดคลื่น 3 (บ้างครังอาจเกิดความล้มเหลวในการทำเช่นนั้นเรียกว่า truncation )
ใน contracting คลื่น 5 มักจะสิ้นสุดที่หรือเกินเส้นที่เชื่อมปลายคลื่นที่ 1 และ 3 เล็กน้อย (การสิ้นสุดเหนือเส้นนั้นเรียกว่าการ throw-over)
ใน expanding คลื่น 5 มักจะจบลงเล็กน้อยก่อนถึงเส้นที่เชื่อมปลายคลื่นที่ 1 และ 3
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน BizModel และกราฟ pt.2
- ธุรกิจ Costco เป็นห้างขายส่งคล้ายๆ Makro ของเรา แต่มีสินค้าไซส์ยัก และอาหารราคาถูก
- กำไรแบบ Recurring Income ของบริษัทผ่าน Membership Fees เป็น Keyman ในการที่ทำให้บริาัทเติบโตไปพร้อมกับยอดขาย
- การที่ราคาหุ้นขึ้นเกิดจากหลัก Twin Engine คือ PE ขยายตัวจากความคาดหวังดีจากตลาด และ กำไรสุทธิที่เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
- ราคาหุ้นจะมีค่าเป็นเท่าไรเกิดจากสมการ Price = PE * EPS
(Twin Engine คือหลักการที่ PE ขยายตัว และ EPS เติบโตนั่นเอง)
- ปัจจุบัน Costco มีรายได้จาก Membership ที่ราวๆ 4 billions เทียบเท่ากับหุ้นที่ราคา 9 เหรียญ หากเราถือหุ้นที่ราคา 9 เหรียญจากเมื่อ 30 ปีที่แล้วจนถึงวันนี้ได้ ก็นับว่าคุณได้สินทรัพย์ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 9% มาครองเลย
=================================
ถ้านึกถึงห้างขายส่งบ้านเราต้อง MAKRO แต่ถ้านึกถึงห้างขายส่งระดับโลก COSTCO คือบริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ด้านนี้เลยครับ
COSTCO เป็นห้างค้าส่งสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1986 และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นมานานกว่าครึ่งชีวิตของคนหนึ่งคนเลย
และมักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในหนังสือการลงทุนหลายเล่ม เพราะนี่คือหนึ่งในหุ้นที่มีธุรกิจใช้ได้ ผลกำไรเติบโต ราคาหุ้นจึงสะท้อนมูลค่าที่ซ่อนอยู่นี้ด้วยราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนอื่น ผมขออธิบายก่อนนะครับ ว่า Costco นอกจากธุรกิจจะเป็นธุรกิจห้างค้าหลีกแล้ว รายได้อีกส่วนที่เป็นตัวช่วย Costco มาหลายต่อหลายครั้งเพื่อให้บริษัทยังอยู่ยั่งยืนได้ นั่นคือรายได้จาก membership fee ครับ
โดยบัตร Member นี้เอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสินค้าภายในห้าง ส่วนรถปั๊ม ประกัน ตั๋วเครื่องบิน เสื้อถ้า รถยนต์ อาหารและยา และอื่นๆๆ อีกมากที่อาจกล่าวไม่ถึง
ตรงส่วนนี้เราอาจพิจารณาได้ว่าบัตรเมมเบอร์ของ Costco นั้นมี Networking Effect ที่แข็งแกร่งมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะสเกลการถ้าปลีกของเครือ Costco อยู่แล้ว ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าระดับประเทศ (ที่มีขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของโลก) จนสามารถเจรจาของส่วนลดเพื่อมาจุนเจือชาว Member ได้
โดยสัดส่วน Membership Fee นี้เปรียบได้กับกระแสเงินสดที่ทาง Costco ได้มาไม่ต่างจาก Subscription รายปีเลยครับ โดยแต่ละปี Costco เองมีรายได้จากตรงนี้เติบโตกว่า 9% CAGR ต่อเนื่องกันกว่า 30 ปี
=====================================================
เทียบตั้งแต่ปี 1993
CostCo มี Membership Revenue อยู่ที่ 309 ล้านเหรียญ
และปี 2022 ล่าสุดมีรายได้ส่วนนี้กว่า 4,224 ล้านเหรียญทีเดียว]
โดยปัจจุบัน ณ ราคา 502 เหรียญนี้ Cosco มี Market Cap ที่ 222 Billion
หากท่านใดมีหุ้น Costco ที่ Market Cap 4 billions หรือที่ราคา 9 เหรียญ ท่านอาจได้กระแสเงินสดฟรีๆ จากมูลค่า รายได้ส่วนของ Membership เปล่าๆ (เป็นอีกหนึ่งมุมมองของการถือยาวครับ)
=====================================================
สิ่งที่ช่วยผลักดันให้ราคาของ Costco ไปได้ไกล ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากร้านค้าปลีกที่เติบโตตลอดเวลาตาม GDP ของประเทศนั้นๆ
และ Business Model ของ Costco เองก็เป็นธุรกิจกิน Spread Margin แคบๆ จากการซื้อมาขายไป และเพิ่มลูกลเ่นให้กับสินค้าตัวเองผ่านการออกแบบ "ผลิตภัณฑ์ไซส์ยักษ์" ที่นอกจากประหยัดแล้วยังน่าตื่นตาตื่นใจด้วย
ยังไม่นับว่า Costco เองมีเชนร้านอาหารราคาย่อมเยาว์ถึงขนาดที่ชักจูงให้คนมาทานอาหารในราคาไม่กี่เหรียญ และไม่ขึ้นราคามากว่าทศวรรษอีกด้วย
ทั้งนี้แล้วการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้บริโภคลูกค้านั้นทำให้มีผู้สมัครสมาชิกกับ Costco เพิ่มขึ้นตลอดทุกๆ ที โดยอัตราส่วนของรายได้จาก Membership Fees ต่อด้วย Operating Income นั้นสูงกว่า 50% ทีเดียวครับ กล่าวคือลำพังแค่รายได้จากค่าสมาชิกก็ทำให้ประเมินกำไรคร่าวๆ ของ Costco ได้แล้ว....และนี่แหละที่ทำให้นายตลาดชอบใจอย่างมาก
โดยคุณสมบัติจากการประเมินกำไรขาดทุนได้ง่ายแล้ว การที่บริษัทมีการบริหารงานจนทำให้นะดับ Net Margin ดีได้ยิ่งขึ้นๆ พร้อมด้วยการบริหารโดยมี ROIC ในระดับ 1x% ยิ่งขึ้นไป จะทำให้นายตลาด "มอบตัวคูณ" ให้บริษัทนี้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
โดยราคาหุ้นเองถูกผลักดันด้วย 2 ปัจจัย นั่นคือ Price = PE * EPS
หากบริษัทบริหารจัดการได้ดี ธุรกิจดำเนินไดีดี ตัว EPS จะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น
ส่วนตัว PE หากบริษัทนั้นมีโมเดลที่แข็งแกร่ง มี Moat ที่สมบูรณ์ รายได้เติบโต (กอปรกับการมีค่า Bond Yield ที่ต่ำ) บริษัทนั้นก็จะเทรดที่ค่า PE ที่สูงยิ่งขึ้น
หลักการนี้คือหลักการ Twin Engine ที่ทำให้หุ้นนั้นสามารถกลายเป็นหุ้นเด้งได้นั่นเองครับ
ซึ่ง CostCo เองนับว่าเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน โดยได้ลมส่งจากรายได้ที่โตขึ้นจากการขยายสาขาและ GDP ที่โต กับโมเดลธุรกิจที่ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะ Membership ทำให้ Costco มีกำไรเติบโตตลอด
จากนั้นนายตลาดก็เริ่มเห็นแววในบริษัทนี้ เลยให้ PE หรือแม้กระทั่ง P/S ที่สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวนี้เข้าหุ้นเด้งตามตำรา Twin Engine ในที่สุด
====================================================
หลักการหาจังหวะซื้อขาย หากใช้ Fundamental อาจใช้เส้น Asset Line ในการจับจังหวะเข้าซื้ได้ครับ แต่ต้องมั่นใจว่าหุ้นตัวนี้ตลาดชอบแน่ๆ พื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน รายได้และกำไรมีโอกาสโตได้ อย่างน้อยก็เชิงอนุกรม
ต่อมาคือการซื้อโดยใช้ PE Forward ผ่านเส้น Value Line อันเป็นแนวรับแนวต้านทางพื้นฐาน หากราคามาลงสู่แนวรับนี้ และประกอบกับกราฟทำทรง VCP Cup with Handle พร้อมทั้งมี Risk to Reward ที่ท่ารับไหวก็อาจพิจารณาซื้อได้
ไม่สายเกินไป หากซื้อหุ้นนี้ที่ Market Cap 1xx,xxx Milliion เพราะว่าเขาอาจไปได้ไกลกว่านั้นได้
(พร้อมดูโมเมนตัมจากยอดขายและผลการดำเนินงาน รวมถึงดูกระแสจากผู้บริโภคด้วย ว่าบริษัทยังคงส่งมอบคุณค่าแก่ผู้ถือหุ้นดั่งเดิมไหม)
====================================================
สามารถอ่านไอเดียการลงทุนอื่นๆ ได้นะครับจากหน้า Profile ของผม
#Elliottwave กฎ และ แนวทางการนับคลื่น ImpulsiveImpulse wave(5-3-5-3-5)
คลื่น Impulse คือคลื่น Motive ที่พบเจอได้บ่อยที่สุด ในบรรดา คลื่น Motive ด้วยกัน ลักษณะอันเด่นชัดนอกจากกฎโครงสร้างพื้นฐาน คือ คลื่น 4 จะไม่เข้าสู่อาณาเขตของคลื่น 1 แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม นอกจากนั้นคลื่น 3 ต้องเป็น Impulse wave เสมอ กฎโครงสร้างของ Impulse wave ได้แก่
Rules
Impulse แบ่งออกเป็นห้าคลื่นเสมอ
คลื่น 1 แบ่งย่อยเป็น impulse หรือ (ไม่บ่อย) ที่จะเป็น leading diagonal.
คลื่น 3 แบ่งย่อยเป็น impulse เสมอ
คลื่น 5 แบ่งย่อยเป็น impulse หรือ ending diagonal เสมอ
คลื่น 2 แบ่งย่อยออกเป็น zigzag, flat หรือ combination.เสมอ*2
คลื่น 4 แบ่งย่อยออกเป็น zigzag, flat, triangle หรือ combination.*2
คลื่น 2 ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดเริ่มต้นของคลื่น 1
คลื่น 3 จะเคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 1 เสมอ
คลื่น 3 ไม่เคยเป็นคลื่นที่สั้นที่สุด
คลื่น 4 ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 1
คลื่น 1, 3 และ 5 ไม่เคยขยายพร้อมกันทั้งหมด*1
Note *1 ดูเนื้อหาในส่วนคลื่นขยาย
*2 ดูเนื้อหาใน Corrective wave
Guidelines
คลื่น 4 มักจะเป็นรูปแบบการแก้ไขที่แตกต่างจากคลื่น 2 เกือบทุกครั้ง หมายถึงการสลับ Sharp และ Side way
คลื่น 2 มักจะเป็น zigzag หรือ zigzag combination.
คลื่น 4 มักจะเป็น flat, triangle or flat combination.
บางครั้งคลื่น 5 จะไม่เคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 3 ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่าการตัดปลาย(truncation).
คลื่น 5 มักจะสิ้นสุดลงเมื่อบรรจบกันหรือเกินเส้นที่ลากจากปลายคลื่น 3 เล็กน้อยซึ่งขนานกับเส้นที่เชื่อมปลายคลื่น 2 และ 4 เล็กน้อย
จุดศูนย์กลางของคลื่น 3 มักจะมีความลาดชันที่สุดของช่วงเวลาที่เท่ากันภายในแรงกระตุ้นหลัก ยกเว้นว่าบางครั้งช่วงต้นของคลื่น 1 ("การเริ่มต้น") จะชันกว่า
คลื่น 1, 3 หรือ 5 มักจะถูกขยายออกไป (ส่วนขยายอาจปรากฏว่า "ยืดออก" เนื่องจากคลื่นแก้ไขมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับคลื่นแรงกระตุ้น มันอาจยาวกว่าอย่างมากและมีการแบ่งย่อยที่ใหญ่กว่าคลื่นที่ไม่ขยาย)
บ่อยครั้ง คลื่นย่อยที่ขยายออกมาจะเป็นตัวเลขเดียวกัน (1, 3 หรือ 5) ตัวอย่างเช่นหากคลื่น 3 ขยาย หากมีการขยายภายในอีกก็มักจะเป็นคลื่นย่อยลูกที่สามของ คลื่น 3
ไม่บ่อยนักที่คลื่นย่อยสองคลื่นจะขยาย แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคลื่น 3 และ 5 ทั้งคู่ที่จะขยายเมื่อคลื่นย่อยเป็นระดับ Cycle หรือระดับ Supercycle และภายในคลื่นลูกที่ห้าที่สูงกว่าหนึ่งองศา
คลื่น 1 เป็นคลื่นที่มีโอกาสขยายน้อยที่สุด
เมื่อคลื่น 3 ถูกขยาย คลื่นที่ 1 และ 5 มักจะความเท่ากันหรือตามอัตราส่วน Fibonacci
เมื่อคลื่น 5 ถูกขยาย มักจะเป็นสัดส่วนฟีโบนักชีกับการเดินทางสุทธิของคลื่น 1 ถึง 3
เมื่อคลื่น 1 ถูกขยายออกไป มันมักจะอยู่ในสัดส่วนฟีโบนักชีกับการเดินทางสุทธิของคลื่น 3 ถึง 5
โดยทั่วไป Wave 4 จะสิ้นสุดเมื่ออยู่ในช่วงราคาของ subwave iv ของ Wave 3
คลื่น 4 มักจะแบ่ง Impulse ทั้งหมดออกเป็นสัดส่วนฟีโบนักชีในเวลาแและราคา
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน CANSLIM และ VCP pt.1แก่นแท้จากหุ้นเด้งตัวนี้
-การย่อระดับ 1x% เป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ นับเป็นเรื่องที่ปกติ
การย่อลงมาแบบหลักๆ อยู่ที่ราว 3x%
-จุดซื้อที่ทรงประสิทธิภาพจะมาจากจุดที่แข็งกว่าตลาด
หรือ Relative Strength มากกว่า 0
-การย่อลงต่อละครั้งหากไม่หลุดราคาเฉลี่ยนับว่าสามารถรันเทรนด์ต่อได้
-การที่ราคาหุ้นตกหนักๆ โดยหลัก มี 3 ปัจจัย (ซึ่งการตกนี้ไม่ต่ำกว่า 50%)
1. การลงจากเศรษฐกิจเอง เช่น COVID-19 , Subprime
2. การลงจากอุตสาหกรรม เช่น รอบสินค้าโภคภัณฑ์ , การออกกฎบัตรบางอย่างจากภาครัฐที่ทำให้ราคาไม่ไปไหน
3. การลงจากตัวบริษัทเอง เช่น ความสามารถในการแข่งขัน ปราการและคูคลองเริ่มเสื่อมสลาย (แบบนี้อันตรายที่สุด)
.
-การลงจากตัวเศรษฐกิจ หากบริษัทแข็งแกร่งจากการมีปราการและคูคลองแข็งแกร่ง ตลาดย่อมรับรู้ อย่างน้อยก็จากผลประกอบการที่หากไม่ลดลง และรายงานจากฝ่ายบริหารแจ้งออกมาไม่มีรอยฟกช้ำจากเศรษฐกิจ นายตลาดก็ตอบรับอย่างสดใส
-การลงจากอุตสาหกรรม ราคาหุ้นอาจจะไม่ขึ้นมาในทันที อาจต้องให้เวลากับเขา ในการปรับทัพรวมพลสู้ศึก ในเชิงรูปธรรม อาจขยายตลาดไปที่อื่น, คุยกับ Supplier เพื่อปรับราคาให้มี Margin ที่ดีขึ้น และคงคุณภาพสินค้า
หรือในกรณีที่สดใสที่สุด คือรอเมฆหมอกแห่งความโชคร้ายให้ผ่านไปเลย
-การลงจากตัวบริษัทเอง ยากที่สุดในการพิจารณา ต้องติดตามกระบวนการบริหารบริษัทอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูคุณภาพในสินค้าและบริการ
แก่นแท้คือดูว่า Core Value ที่เขมอบให้แก่ลูกค้าและสังคม
กับการทำกำไร ยังพอไปทางเดียวกันได้ไหม
-สิ่งที่ต้องการสื่อคือหุ้นหลายเด้งมักมีการลงแรงๆ เสมอ ไม่ว่าจากตัวเขาเอง ตัวอุตสาหกรรม หรือจากเศรษฐกิจ แก่นแท้คือการถือให้ยาวและมองให้ขาดว่าบริษัทจะผ่านไปได้ไหม เป็นสำคัญ
-การฟอร์มตัวแบบ Cup with Handle จากที่ดูมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 bars week หรือราว 200 วัน ก่อนพุ่งขึ้นไป
การรันเทรนด์เพื่อให้ได้กำไรเด้ง อาจต้องอาศัยเวลา
เราควรมีหลังบ้านที่แข็งแกร่ง มีรายได้หลายทางเพียงพอที่จะคลายกังวลกับการลงทุนในบริษัทนี้ได้
เราอาจใช้อรรถประโยชน์จาก Stock Option ช่วยได้ หากหุ้นนั้นมีบริการ Short Call หรือ Short Put เพื่อหากระแสเงินสดจากช่วง Sideway หากินกับ Volatile
(อาจจะซับซ้อน แต่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้นะครับ)
-จุดกลับตัวของกราฟ บางทีอาจใช้รูปแบบแท่งเทียนพิจารณาได้
เช่นรูปแบบ Hammer ที่ทำหางยาวมาก เสมือนการปฏิเสธการลงของราคา
-จุดกลับตัวอาจใช้ Relative Strength ช่วยได้
หากราคาหุ้นแข็งกว่าตลาด เราอาจเริ่มกลับมามองหุ้นนี้ได้ครับ
BTCUSD : ระวัง! เตรียมเลือกทางเร็วๆ นี้ ลองดูจากปี 2018 ได้..เอาพฤติกรรมราคาของ Bitcoin ในปี 2018 มาให้ลองศึกษากันครับ
โดยปี 2018 คือตลาดหมีที่โหดร้ายยิ่งกว่าตอนนี้เยอะ โดยเฉพาะหลังจากวันที่มันถล่มหลุด 6k แล้วลงไปถึง 3k .. ณ ตอนนั้น ตลาดสิ้นหวังกันถึงขีดสุดครับ ผมเองก็สิ้นหวังเหมือนกัน แถมขาดทุนยับๆ ด้วย
มาลองเทียบกันดูนะครับ
#June
- 2018 ราคาลงมาย่ำ bottom 6k เอาจริงๆ ก็ตั้งแต่ ก.พ. 2018 นะ แต่ การลงมาย่ำแล้วอยู่แถวนี้เลยก็คือตอน ช่วงหลังเดือน June 2018 เป็นต้นมา
- 2022 ซึ่งก็คล้ายกันกับในปีนี้ นั่นก็คือ ราคาหลุดแนวรับ 30k ลงมา แล้วไหลยาวลงมาถึง 17700 แล้วเด้งกลับ หลังจากนั้นก็มีการย่ำทดสอบแนวรับโซนนี้หลายครั้งมากเช่นกัน
#July-#Sep
- 2018 ในสองเดือนนี้ จะเห็นได้ว่า หลังจากนั้น ราคามีการเด้งกลับแรง แล้วก็ลงมาย่ำฐานอีกรอบ แล้วหลังจากนั้นก็เด้งใหม่อีกที
- 2022 ซึ่ง ถ้าเทียบกันกับในปีนี้ก็วิ่งเหมือนกันอีก โดยแต่ละรอบก็คือการประกาศเลข CPI นั่นเองครับ ( ตอน 2018 ผมยังไม่ได้ดูข้อมูลหลายด้าน ก็เลยไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงเด้ง )
#Oct
- 2018 เดือนนี้เป็นเดือนที่ตลาดออกข้างกันไปนิ่งๆ แทบจะที่สุด แต่ระหว่างทางก็มีการ "สะบัด" ขึ้นลง แรงๆ อยู่เรื่อยๆ เช่นกันครับ โดยช่วงนี้ ณ ตอนนั้น ผมจำได้ว่า ผมยังคึกๆ จะเทรดอยู่ และใช้ leverage หนักมาก เพราะราคามันแกว่งน้อย ก็เลยต้องอัดหนัก เพื่อที่จะได้กำไรไวๆ
- 2022 เดือนนี้ตลาดก็ออกข้างไปนิ่งๆ ไม่มีทะลุกรอบบนล่างของ ATR เลยเช่นกัน คล้ายกับปี 2018 และ หลายๆ คนที่ไปพยายามเล่นช่วงนี้ก็จะเจอ whipsaw loss เมาหมัดกันไป เหมือนผมสมัยก่อนเด๊ะ 55
#Nov
- 2018 เดือนแห่งหายนะครับ ตอนนั้นทุกคนมองเหมือนกันหมดว่า "6k เอาอยู่ เพราะมันคือทุนขุด ไม่ลงไปต่ำกว่านี้หรอก" ผมก็เคยมองแบบนั้นนะ แต่พอมันหลุด มันก็หลุด และมันลงเละยับเลยด้วย ตอนนั้น sentiment ตลาดแย่มาก ทุกคนมองลงกันหมด ไม่มีใครมองขึ้นเลยแม้แต่คนเดียว ใครไปสวน รีบรับมีด ก็เละ ยับ สุดท้าย ถึงไปหยุดที่ 3200 ทำเอาหลายๆ คนหมดตัว
- 2022 รอดูว่ากราฟจะเฉลยมาอย่างไรนะครับ แต่ทรงออกข้าง นิ่งๆ แบบนี้ ผมบอกเลย ถ้ามันทะลุทางไหน คุณต้องหนีให้ทัน เพราะมันมีโอกาสสูงมากๆ ที่มันจะวิ่งไปต่อทางที่มันเลือกอีกไกลครับ ใครไปสวน ก็จะมาหมดตัวกันในจังหวะนี้แหละ
#ส่งท้าย
แวะมาฝากมุมมองกันไว้ จากคนที่เคยเจ๊งบ๊ง หมดตัว มาแล้ว 2018 มาเตือนด้วยความหวังดี ไม่ได้มีเจตนามาขัดลาภพวกท่านแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่อยากให้ใครต้องมาหมดตัวเหมือนผมสมัยก่อนแค่นั้นเองครับ
ทำไมเราต้องตั้ง Stop Loss ทุกครั้งStop Loss คืออะไร
Stop Loss คือ คำสั่งขายสินทรัพย์ทางการเงินเมื่อถึงราคาหรือเงื่อนไขที่กำหนด วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขาดทุนอย่างหนักจากการเทรด โดยเฉพาะการเทรดบนตราสารอนุพันธ์อย่าง CFD (Contract for Differences) ที่เทรดเดอร์สามารถใช้ Leverage ที่สูง ๆ ได้
การตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss จะเปรียบเสมือนคุณออกคำสั่งล่วงหน้าไว้กับโบรกเกอร์ที่คุณใช้บบริการ หลังจากนั้นโบรกเกอร์จะทำตามคำสั่ง Stop Loss ที่คุณวางไว้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดคอมพิวเตอร์หรือเชื่อมต่อบัญชีเทรดของคุณอยู่ก็ตาม ซึ่งถ้าหากคุณไม่มีเวลาติดตามสถานะการซื้อขายของคุณตลอด การตั้งค่า Stop Loss เอาไว้จะปกป้องเงินทุนของคุณจากการกระชากอย่างรุนแรงของราคา โดยเฉพาะในตลาด Forex ได้
เหตุผลที่ต้องตั้ง Stop Loss .
- เพื่อหยุดการขาดทุนอย่างหนัก เพราะไม่มีใครรู้อนาคตของตลาด
- การเทรด CFD ไม่สามารถคิดแบบ "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" ได้ เพราะหากคุณใช้ Leverage ที่เกินขนาด การที่คุณไม่ขายจะทำให้มีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดของพอร์ตได้
- การตั้งค่า Stop Loss ทำให้เทรดเดอร์ต้องวางแผนการเทรดมาก่อน ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากในการเทรดระยะยาว เทรดเดอร์ต้องรู้ตั้งแต่ก่อนเข้าเทรดว่า ถ้าโดน Stop Loss จะเสียเงินเท่าไหร่ และต้องยอมรับการเสียเงินให้ได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าเทรด
- Stop Loss จะทำให้คุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น การโดน Stop Loss คือสัญญาณให้คุณพักหรือหยุดเทรด
- Stop Loss ทำให้คุณโฟกัสแต่ละการเทรด ซึ่งทำให้คุณพัฒนาความแม่นยำในการเข้าเทรดได้ เช่น สมมติคุณเทรดด้วยกลยุทธิ์การเทรด Forex แบบ Breakout แล้วคุณโดน Stop Loss บ่อยมาก นั่นอาจหมายความว่า คุณตั้ง Stop Loss แคบเกินไป หรือคุณอาจจะเข้าเทรดในจุดที่ไม่เหมาะสม (ราคาไปไกลแล้ว) ในจุดนี้ Stop Loss จะเป็นตัวช่วยเตือนสติและระลึกถึงจุดที่คุณเข้าเทรด
หวังว่าคุณจะรู้จักตนเองในตลาด ไม่มีใครรู้อนาคตว่าตลาดจะเคลื่อนที่ไปทิศทางไหน เราไม่สามารถควบคุมตลาดได้ เเต่คุณสามาถรควบคุมความเสี่ยงได้
[CaseStudy หาหุ้นลงทุน] การเลือกหุ้นปันผลที่มีคุณภาพเหนือกาลเวลาสวัสดีครับ สำหรับหลักการในวันนี้ผมอยากมานำเสนอการหาหุ้นที่เรียกได้ว่าเป็นหุ้นที่อาจเป็นปันผลให้เราประดับพอร์ตในการกระจายความเสี่ยง และหาโอกาสท่ามกลางตลาดลงกันนะครับ
และปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าตอนนี้เป็นช่วงที่ตลาดขาลงและเป็นช่วงที่ลงทนเพื่อ Runtrend ก็นับว่าลำบากพอสมควร
ผมเลยใช้เวลานี้ไปกับการศึกษาขุดหาบริษัทดีๆ ที่ตอนนี้อาจมีตำหนิบ้าง แต่อาจกลับมาได้อาจจะดีกว่าก็ได้ครับ เป็นการใช้เวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
โดยผมจะมีการอ้างอิงหนังสือที่ผมได้ตกตะกอนได้หลักๆ คือ 2 เล่มนี้ครับ นั่นคือเล่ม One Up on Wall Street กับ Warren Buffett Ways
โดยหลักการที่ผมอยากถ่ายทอดจะเป็นเรื่องของ
1) การหาบริษัทจากสิ่งรอบตัว การดูสิ่งแวดล้อมว่าเทรนด์อะไรที่มีอนาคต ซึ่งได้มาจากเล่ม One Up on Wall Street ของคุณปีเตอร์ ลินซ์ ครับ
2) การคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพแบบเล่ม Warren Buffett Ways รวมถึงหยิบหลักการเรื่องของปราการและคูคลองมาใช้ในการเลือก
โดยหลักการนี้ผมจะมาพูดในวีดีโอนี้กันครับ และขอมาแนะนำหุ้นหมวดหนึ่งที่มี Moat ที่อยากจะนำเสนอไม่มีในไทยได้รู้จักด้วยครับ เผื่อเป็นโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุนในต่างประเทศครับผม
ท้ายสุดนี้มี Key Takeaway ที่ผมตกตะกอนได้เกี่ยวกับบริษัทที่ตลาดมองว่ามีคุณภาพ ซึ่งมีหลักๆ ประมาณ 7 ข้อ ดังนี้ครับ
1)เป็นบริษัทมี Profit Margin สูง
2)บริษัทมี Free Cash Flow ตลอด
3)นอกจากมี Free Cash Flow สูงแล้ว มีการลง Capex ในระดับไม่มากนัก (อาจจะไม่เกิน 35% ของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน)
4)บริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนมีอัตราที่สูง
5)พึงระลึกไว้ ว่าหุ้นปันผลดีๆ คือบริษัทที่มี Recurring Income อย่างสม่ำเสมอ
5.5) และจำดีมากหาก Income ส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้นเหนือกว่าอัตราการเพิ่มของ GDP กับ Inflation
6)จากข้อที่ 5 Recurring Income ล้วนมาจากการมี Recurring Revenue ที่มีศักยภาพ กล่าวคือสินค้าหรือการบริการของบริษัทต้องเป็นที่ต้องการตลอด และอาจมีเพิ่มขึ้นบ้าง
7)จากข้อที่ 6 Recurring Revenue จะดีมากที่สุดหากว่าไม่มีคู่แข่งหรือสินค้าสับเปลี่ยนมาตัดกำลัง คงดีไม่น้อยหากเราซื้อหุ้นที่ดูผูกขาด แต่ก็สามารถวางตัวให้ไม่มีข้อครหาได้ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารแล้วครับ ว่าวางตัวและดำเนินนโยบายสร้างภาพลักษณ์อย่างไร
สำหรับสิ่งที่ผมตกตะกอนและอยากฝากฝังทุกคนไว้ก็มีเพียงเท่านี้ หวังว่าวีดีโอและเนื้อหานี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากทุกคนชอบผมก็ดีใจและฝากร้ investing ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกคนด้วยนะครับ ที่นี่เราจะรวมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลนักลงทุนไว้ในที่เดียว เพื่อเสริมศักยภาพสังคมการลงทนต่อๆ ไปครับ
โชคดีรักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy ครับผม
[Hybrid Study:John Neff] แก่นการลงทุนหุ้นวงจร เพือถือรันหลายเด้งสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมาขอ Tribute หลักการลงทุนของคุณ John Neff ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในสายผสมนี้กันนะครับ
และเนื่องในโอกาสที่วันที่ 19 กันยานี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณ John Neff และคุณ John Neff เองก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง นับว่า 1 ในตำนานแห่งโลกการลงทุนของเราได้จากเราแล้วอีกหนึ่งราย แต่ว่าหลักการของคุณ John Neff จะยังคงอยู่ในจิตใจของนักลงทุนสาย Value ทุกท่าน
สำหรับผมแล้ว การระลึกถึงและ"ให้เกียรติ" หลักการของใครก็ตาม คือการใช้หลักการนั้นเป็นพื้นฐานอ้างอิงเพื่อให้หลักการนั้นเป็นที่พูดถึง และขัดเกลาให้ทันต่อโลกมากขึ้น ผมชอบหลักการของคุณ John Neff มาก จึงเป็นเหตุให้เขียนอินดิเคเตอร์ DDM ขึ้นมาด้วย
และสิ่งที่ผมได้ทำในวันนี้ก็คือการทำให้หลักการของคุณ John Neff ยังคงมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยก็ปรับประยุกต์ใช้ในรูปแบบกราฟผ่าน Trading View ซึ่งโค้ดอินดิเคเตอร์นี้ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณ John Neff อย่างแท้จริง
หลักการลงทุนนี้ผมใช้กับการอาศัยซื้อหุ้น(โดยเฉพาะหมวดวงจร : Commodities) ในจุดที่ PE ต่ำอย่างสวนตลาด แต่หลักการที่เราจะได้มาที่ PE ต่ำนั้น ย่อมเกิดจากการปรับ ตัว E หรือ EPS จากสมมการ PE = Price / EPS , โดยผมจะ Predict ค่า EPS ผ่านตัวรายได้ในแบบที่ควรจะเป็น
และนำรายได้นั้นมาจับคุณด้วยอัตราส่วน Net Margin ในระดับ Base Case-Best Case ซึ่งค่าตัวเลขของ Net Margin นี้เราจะได้มาจากการทำ Research หุ้นในหมวด Commodities ย้อนหลังนะครับ
และจะตั้งตัวเลขพวกนี้เสมือนเป็นตุ๊กตาเฉยๆ เพื่อให้เราหาค่า EPS ให้ได้
ในการตั้งค่า Net Margin นี้ ผมจะมีการตั้งเป็นหลายค่ามากๆ และค่าที่ต่ำที่สุดก็คือ 1% มาจากสมมติฐานที่ว่าปกติหุ้น Commodities ตอนจะจบรอบราคาเขาจะลงมาแรงมากๆ จากราคาสินค้าอ้างอิงตกต่ำไม่ว่าจะเหล็ก น้ำมัน เคมี แร่ธาตุต่างๆ
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วส่วนมากบริษัทจะมีผลขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ดี หรือจากรายได้จากการขายสินค้าลดลง จนแบกรับต้นทุนคงที่ไม่ได้ ทั้งหลายนี้เองจึงทำให้ตัว PE ของบริษัท “ติดลบ” หรือก็คือคำนวณไม่ได้ หรือแม้แต่ PE พุ่งสูงขึ้นเป็นหลัก “ร้อยเท่า” จากการที่ EPS นั้นแกร่งนั่นเอง
การที่ผมตั้ง Net Margin ที่ 1% นี้ก็เพื่อเป็น “บาร์อย่างต่ำๆ” ที่บริษัทสมควรทำได้ เมื่อเราได้ NPM ที่ 1% มาได้แล้ว เราก็จับ 1% มาคูณกับตัวเลขรายได้ครับ(ตรงส่วนนี้บางคนอาจใช้รายได้เมื่อปีที่แล้ว หรือว่ารายได้เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง แล้วแต่สไตล์แต่ละคนเลยครับ)
เมื่อนำ Revenue * NPM แล้วเราก็จะได้ “กำไรสุทธิ” จากนั้นก็นำมาหารด้วยจำนวนหุ้น ทีนี้เราก็ได้ EPS อันเป็นพระเอกของเราแล้ว
จากนั้นเราก็นำ EPS มาเพื่อที่จับคูณด้วย PE อย่างที่ควรจะเป็น โดยเคสนี้ผมจะให้ที่ PE = 6-8 ตรงส่วนนี้หากใคร Conservative มากๆ อาจใช้ที่ PE 5 ไปเลยก็ได้ โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า “ใครกันล่ะ จะไม่อยากได้หุ้น PE 5 เท่า หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลหลัก 10% ต่อปี ณ ระดับราคาฐานต่ำนี้”
ในตอนนี้เราก็ได้ราคาหุ้นแล้ว ผมก็ให้แสดงค่าเป็นเหมือนเส้นแนวรับแนวต้านที่จะอัพเดตทุกๆ ปีนะครับ จากการที่ข้อมูลการเงินจะมีอัพเดตใหม่ทุกปี ตรงเส้นแนวรับ/แนวต้าน พวกนี้เสมือนกับเป็น “แนวรับเชิงพื้นฐาน” นั่นเองครับ
หุ้นใดก็ตามที่ลงมาเทสที่เส้นนี้ และมีการทำแท่งเทียนกลับตัว หรือมีการพักตัวตรงนี้เราอาจพิจารณาเอาเขามาใส่ลิสเพื่อรอวันให้เกิด Catalyst ให้ราคาขึ้นไปกันนะครับ จากนั้นก็รับเทรนไปเรื่อยๆ
หรือหากท่านใดเป็นสายHardcore อาจนำหุ้นนั้นไปวางหลักทรัพย์ค้ำประดันในการขอบัญชี Margin มาต่อเงินอีกรอบก็แล้วแต่สไตล์ท่านเลยครับ
หวังว่าแนวทางนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกคนนะครับ โชคดี รักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy นะครับผม
[Deep Value Scanner] หาหุ้นโคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลายและดักVI แสกนหาหุ้น Deep Value โคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลาย
สำหรับหลักการนี้ต้องขอขอบคุณ คุณเบนจามิน เกรแฮม ผู้เขียนตำรา Security Analysis และหนังสือ The Intelligent Investor และเป็นผู้ริเริ่มการลงทุนแบบ Value Investing แบบ Cigarette Butt ด้วยนะครับ
เทคนิคของ Deep Value กับเทคนิคหุ้นการลงทุนแบบ Cigarette Butt นี้ไม่ต่างกันมากเลย นั่นคือการซื้อหุ้นในมูลค่าที่น้อยกว่าทรัพย์สินส่วนของทุนบริษัท
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเลข 2 ตัวในการแสกนก่อนนะครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจหลักการแสกนนี้ นั่นคือ
1 . Net Debt ซึ่งมีสูตรคือ Cash – (Short Term Debt + Long Term Debt)
2. Enterprise Value มีสูตรคือ (Market Cap + Debt )- Cash
โดยทั้งสองตัวเลขนี้ หากมีค่าติดลบก็หมายความว่าผ่านเกณฑ์แล้วครับ หลักการคือเราจะซื้อบริษัท ณ “ราคา” ที่น้อยกว่าเงินสดสุทธิหักลบหนี้สินของบริษัทนั่นเองครับ
สำหรับข้อดีข้อเสียของหลักการนี้มีดังนี้ครับ
ข้อดี
- เราสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
- สามารถ Unlock Value ได้ ผ่านการเข้าไปถือหุ้น แล้วใช้สิทธิโหวตกดดันให้ผู้บริหารขายทอดกิจการ เพื่อนำเงินสดมาจ่ายสู่ผู้ถือหุ้นได้
- หากมูลค่าทางบัญชีสะท้อนความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับการที่เราซื้อหุ้นโดยมีส่วนลด มีความสมเหตุสมผลในการลงทุนในเชิงทฤษฎี
(มีหลักยึดในการลงทุนชัดเจน)
- สิ่งที่เราต้องทำ มีเพียงอย่างเดียวคือการรอให้มูลค่าปลดล็อค สายกราฟคือหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ
เช่นมีการสะสมพอสมควรแล้ว รวมถึงทำท่า Breakout อาจพิจารณาวางกลยุทธ์ได้
ข้อเสียและจุดอ่อน
- หากบัญชีมีการตกแต่งขึ้น อาจเป็นอุปสรรคได้ในการรับรู้มูลค่าที่แท้จริง
- ราคามักไม่ค่อยมีการขึ้นลงมาก หากไม่มีปัจจัยมาขับมูลค่า
เช่น การ Take Over , การขายสินทรัพย์ , การจ่ายเงินปันผลออกมา (ในกรณีที่บริษัทมีแต่เงินสดพร้อมจ่าย)
- ราคาหุ้นถูก ณ ตอนนี้ ไม่การันตีว่าจะราคาถูกตลอดไป
เช่นกรณีผู้บริหารใช้กลฉ้อฉล อย่างการนำเงินสดไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ ซึ่งบริษัทอื่นๆ ที่ว่านี้อาจเป็น Shell Company ที่ผู้บริหารคนนั้นถือหุ้น
แล้วตั้งใจทำให้เกิดผลขาดทุน จนต้อง Whiteout ธุรกิจออกไปเกิดความสูญเสียทางบัญชีบริษัทเป็นต้น
[Case Study] วิเคราะห์หุ้นทุกมิติ และสอนใช้ Relative Strength สำหรับวีดีโอนี้ผมจะมานำเสนอการใช้ Relative Strength ประยุกต์กับทรงกราฟ รวมถึงการดูปัจจัยผลักดันบริษัท รวมถึงการหาเหลี่ยมเพื่อการลงทุนนะครับ
โดยเนื้อหาในครั้งนี้ทุกท่านหากได้อ่านคำประกอบนี้ก็เพียงพอได้รับสารที่ผมต้องการสื่อในวีดีโอนี้แล้วครับผม
แต่ก่อนอื่นเรามาคุยภาษาเดียวกันก่อนนะครับ
- บริษัทที่นำเสนอนี้เป็นเพียง 1 ใน Case Study ที่น่าสนใจ
- ผมปรับราคาบริษัทเป็นหน่วย CHF เพื่อป้องกันการชี้นำราคาหุ้น
- วีดีโอนี้มี Ref ที่สำคัญราวๆ 3 แหล่งนะครับ และทาง Trading View ไม่ให้เราโพสลิงค์ไปด้านนอก ขอให้ทุกท่านโปรดวางใจ ว่าทุกอย่างที่ผมได้นำเสนอไปนี้มีเอกสารตัวเลขอ้างอิงครับ
====================================================
จากกราฟนะครับ เราจะเห็นว่าตัว Relative Strength นี้มีการหดตัวเข้าสู่ 0 อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือเมื่อเทียบหุ้นตัวนี้กับตลาดแล้ว หุ้นตัวนี้มีความแข็งแกร่งกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ และหากมองให้ไกลกว่านั้น เราอาจตั้งคำถามได้ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่หุ้นตัวนี้จะเป็นหุ้นที่แข็งกว่าตลาดสัดวันหนึ่ง" ซึ่งหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั้นก็คือหุ้นที่มีค่า RS > 1 นั่นเองครับ
จากปัจจัยจากกราฟที่แสดงให้เห็นว่าเขาทำ Sideway มาเนิ่นนาน และเริ่มมีการเปลี่ยนไป เรามาดูกันที่ปัจจัยขับเคลื่อนภายในบริษัทอันเป็นต้นสายธารของหุ้นตัวนี้กันครับ
สำหรับบริษัทที่เราพูดถึงนี้ก็คือ BAFS บริษัทผู้จำหน่ายเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องบินนั่นเอง (และขอชี้แจงเพิ่มเติมจาก Oppday บริษัทนี้เปรียบเสมือนกับ "เด็กปั๊ม" นะครับ เขามีหน้าที่บริการบรรจุเชื้อเพลิง ดังนั้นแล้วราคาน้ำมันไม่มีผลจ่อบริษัทเลยครับ)
สิ่งที่ผมได้นำเสนอนี้มีปัจจัยผลักดันคือจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เริ่มบินสะพัดมากยิ่งขึ้น โดยหากเราได้ดูงบกำไรขาดทุนสุทธิแล้ว เราจะพบว่าตัวเลขในส่วนของ EBITDA กับค่าเสื่อมเริ่มมีการหักล้าง และเริ่มเท่าทุนแล้ว
และจากการที่ผมได้ไปฟัง Oppday ย้อนหลังก็ได้ทราบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวตอนนี้เองก็ Breakeven ต่อการทำกำไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งหลายทั้งมวลนี้ นำมาสู่ทรงกราฟครับที่จากแต่ดั้งเดิมบริษัทได้มีการทำ Sideway มากว่า 2 ขวบปี อาจมีแนวโน้มที่บริษัทจะเปลี่ยนแนวโน้มไปก็ได้ ไม่ขึ้นก็ลง
โดยจุดตัดของเทรนนี้จะอยู่ที่ราวๆ เดือนมกราคา จากการตีเส้นเทรนด์ไลน์ขากด และเทรนด์ไลด์ขาขึ้น หลังจากที่พูดถึงเรื่องปัจจัยด้านเวลาที่อัดตัวพร้อมผลักดันหุ้นแล้ว เรามาดูในมิติของมูลค่ากันบ้างดีกว่าครับ
จากเครื่องมือ 2 ตัวนั่นคือ DDM และ Double Dividend Discount Model ได้แสดงให้เราเห็นว่า แต่ก่อนเดิม "ตลาด" เคยให้มูลค่าบริษัทนี้ "มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ของบริษัท" ต่อเนื่องหลายปี
และในปัจจุบัน บริษัทเองกลับมีการเทรดในระดับที่ต่ำกว่าเส้นแนวต้านที่แสดงนี้เสียอีก ดังนั้นหากเราตั้งสมมติฐานว่าราคาหุ้นจะ Mean Reversion ก็เป็นไปได้
ทั้งนี้แล้วจากข้อมูลที่เรามี อาจช่วยให้พี่ๆ เพื่อนๆ ใช้ในการวางแผนการเทรดได้นะครับ ผมว่าการที่เราวิเคราะห์ได้หลากหลายมิตินี้จะช่วยให้เราลงทุนได้อย่างมั่นใจได้มากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องแลกเข้ามาที่สาหัสเช่นกัน นั่นคือ "เราไม่อาจรู้เลย ว่าเรื่องอะไรที่เรารู้นั้นเป็น NOISE" หรือ "สิ่งก่อกวนในการลงทุน" ได้ กล่าวคือหากเรารู้สิ่งใดมากแล้ว สิ่งนั้นอาจบดบังทรรศนวิสัยในระยะยาวของเราก็เป็นได้
แต่กระนั้นแล้ว เราทุกคนในหมวดของเทรดเดอร์ก็ยังโชคดีครับที่เรายังสามารถยอมแพ้ได้ หากแผนที่เราวางไว้ไม่เป็นไปตามที่วาง ผ่านการยอมรับตัวเองและ Cutloss ทิ้งไป
ทั้งหลายนี้ผมวาดหวังว่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนแก้ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ฝากหนังสือและ investing-in-th ไว้ด้วยนะครับผม เราจะรวบรวมหนังสือที่อยู่ในจักรวาลการลงทุนไว้ให้ทุกท่านในที่เดียวเป็นร้านหนังสือเพื่อการลงทุน เพื่อการ Empowerment สังคมการลงทุนอย่างแท้จริง
ขอให้ทุกท่านโชคดี สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยครับผม
การเทรดระยะสั้นและช่วงเวลาตลาดเปิดการเทรดระยะสั้นและช่วงเวลาตลาดเปิด มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มของราคา เราควรเทรดจังหวะช่วงเวลาตลาดแต่ละประเทศเปิดปิด หรือช่วงประกาศตัวเลขสำคัญ หรือถ้าเทรดรายตัวก็ควรจะเป็นช่วงที่มีข่าวที่มีผลกระทบต่อเหรียยนั้น ๆ เวลเาทรดจะทำให้การเทรดมีความแม่นยำมากกว่านอกช่วงเวลาเหล่านี้
2022 : ปีแห่งการเชือดทั้ง Short และ Long ( 27/8/2022 )ปี 2022 ที่ผ่านมา ตั้งแต่ต้นปี จนถึงตอนนี้ จากการนั่งส่อง Price Action แล้ว ผมบอกเลยว่า ตลาด โคตรจะโหดร้าย โดยเฉพาะคนที่ Overtrade หรือ ใช้ Leverage ในการเล่นคริปโต ก็จะโดนกันไปไม่น้อย
เพราะจากรูปที่ผมแปะช่องข้อความให้ดู ก็จะเห็นว่า ไม่ว่าคุณจะเล่นฝั่ง short หรือ ฝั่ง long สุดท้าย ถ้าคุณ "คัทไม่เป็น" คุณก็จะโดนลากจนพอร์ตแตกอยู่ดีครับ
โดยเราพอจะสรุปได้ว่า
1) คนที่เล่นฝั่ง Long
- พอร์ตแตกเพราะไปคิดว่า "น่าจะลงมาแค่นี้แหละ ไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว" แล้วก็ไปจัดหนักจัดเต็มหลาย x ด้วยเงินที่มีทั้งหมดกัน
- พอเริ่มติดก็ไม่ยอมแพ้ ไปถัวสู้ ไปเติมเงิน เพราะยังไปติดกับภาพจำตอนปี 2021 ที่ตลาดยังเป็นขาขึ้นว่า "แค่ย่อ เดี๋ยวก็เด้ง"
- สุดท้าย ก็โดนทุบหลุด low รัวๆ ถ้าใครถัว สุดท้ายก็จะพอร์ตแตกกันยับๆ อยู่ดีในท้ายที่สุด เพราะ มันลงมามากกว่า -50% คุณเล่น safe สุดแค่ 2x ยังไงก็ตายครับ
- ตอนนี้ ผมก็ยังเชื่อว่า หลายๆ คน ที่ยังมีเงินเติม ยังไม่ยอมแพ้ และคิดว่า 20k น่าจะ "เอาอยู่" เพราะมันเป็นยอดเก่าของปี 2017 และมโนกันไปว่า นี่คือราคาทุนขุด มันไม่ลงไปมากกว่านี้หรอก
- ปัญหาคือ ถ้ามันลงไปอีกขา ...ก็พอร์ตแตกกันอยู่ดี
2) คนที่เล่นฝั่ง Short
- เอาจริงๆ คนที่เล่นฝั่ง short จากกราฟ จะเห็นได้ว่า มีหลายๆ ช่วงที่กราฟรูดแรง น้ำตกมา คนพวกนี้ก็จะได้กำไรกันเยอะมาก
- แต่ปัญหาของฝั่ง short ก็คือ ตอนกำไรอ่ะ แม่งกำไรนิดเดียว เพราะยังไงกำไรพื้นฐานของด้าน short จะไม่มีวันเกิน -99.99% ( ถ้าใช้ leverage ก็ค่อยคูณเพิ่มกันไป )
- แต่ตอนมันลากกลับเนี่ย ฝั่ง short จะแตกกันเร็วมาก.. เพราะเวลากราฟขึ้น % มันจะขึ้นแรงกว่าตอนลงเสมอ
- ทีนี้ พวกที่เล่นฝั่ง short แล้วได้ตังกันง่ายๆ เวลาโดนลาก ก็มักจะ "ไม่ยอมแพ้" เพราะ.. ที่ผ่านมา ตอนกราฟดีด ถ้าคุณถัวสู้ สักพัก คุณจะมีโอกาสกลับมาได้กำไร ( ถ้าพอร์ตไม่แตกไปซะก่อน )
- ทำให้ หลายๆ คน เสพติดท่านี้ และ "ไม่ยอมแพ้" เวลาโดนลากกันเสมอ พอใกล้จะล้างก็เติมเงินฮีลพอร์ตไปเรื่อยๆ
- ปัญหาคือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเงินไว้ฮีลพอร์ตได้ตลอด สุดท้าย ก็จะมีคนที่โดนลากจนเงินหมดแล้วพอร์ตแตกอยู่เรื่อยๆ อยู่ดี..
- ยิ่งถ้าไปเล่น Cross Mode 20x กับ altcoins หลายๆ ตัว รอบล่าสุด ก็น่าจะโดนกันไปหมดตัวแน่นอน เพราะ ETH ขึ้นมาถึง +100% จาก Bottom ช่วงเดือน มิ.ย. ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเล่นกี่ x พอร์ตคุณก็จะแตกหมดอยู่ดีครับ ( ยกเว้นมีตังเติม ฮีลพอร์ต ไปเรื่อยๆ นะ 55 )
สรุปว่า
- ตลาด มันโหดร้าย มันจะไม่ปราณีใคร แถมยึดเงินคืนจากมือใหม่ไปหมดด้วย ลงๆ ให้มือใหม่สาย short ตายใจ แล้วก็ลากกลับจนแตก เสร็จแล้วก็ลงต่อ แม่งโคตรน่าเจ็บใจที่สุดแล้วล่ะ 555
- ไอ้การเล่น short เนี่ย มันไม่ง่าย โดยเฉพาะมือใหม่ ที่ยังต้องเที่ยวคอยไปพึ่ง signal จากกูรูต่างๆ ซึ่งผมจะแนะนำทุกคนเสมอว่า ถ้าคุณยังไม่สามารถวางแผนเองได้ .. จงอย่าเข้ามาเล่น short เพราะสุดท้าย คุณจะเจ๊งอยู่ดี
- เอาจริงๆ Price Action ทรงแบบนี้ มันไม่ใช่ไม่เคยมีมานะ มันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2018-2019-2020-2021 แล้วครับ
- 2018 : ลากเดือนทุบเดือน ตายทั้งฝั่ง short และฝั่ง long
- 2019 ต้นปี : ลากโหดสัสจาก 3200 ไป 14000 ใครที่ short แล้วสู้ จะสู้แค่ไหนก็พอร์ตแตก
- 2019 ปลายปี : เหี่ยวๆ อยู่ดีๆ ลากกลับสองวัน +40% ใครที่ short แล้วรอดูว่าจะทำไงดี ก็พอร์ตแตกหมด
- 2020 ต้นปี : ขึ้นจาก 6500 ไป 10000 แล้วย่อลงมา 8000 สายนับเวฟบอกว่า นี่แหละเวฟ 1-2 ใหญ่ สรุปแล้วร่วงไป 3600 ก็เจ๊งกันหมด
- 2020 ปลายปี : ขึ้นจาก 10000 ไป 20000 พวกนับเวฟ ขึ้น B ลง C แน่นอน ก็เจ๊งกันหมด เพราะหลังจากนั้นขึ้นไปถึง 65000
- 2021 ต้นปี : ขึ้นเรื่อยๆ กูรูบอกว่าจะไป 100k แน่นอน ก็เลยไปจัดหนักจัดเต็มที่ยอด สรุปแล้วลงจาก 65k มาถึง 30k ก็เจ๊งกันหมด
- 2021 ปลายปี : ดีดกลับงงๆ พวก short บอกว่า ขึ้น B ลง C ลึกแน่นอน กลายเป็นว่า ดีดจาก 30k ไป 69k ใคร short ไว้ก็เจ๊งกันหมด
ถ้าให้ผมแนะนำ คุณจะรอดในตลาดนี้ได้ มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ข้อเองครับ
1) เลือกเล่นแค่ฝั่งมองขึ้นเท่านั้น อย่าไปเล่น short เพราะเราจะลดความเสี่ยงลงไปเลยถึง 50% ( เล่นน้อยลง = เสี่ยงน้อยลง )
2) เล่นแค่ spot และ เล่นด้วยเงินไม่ถึง 100% ของพอร์ต ( Position Sizing ที่เหมาะสม )
3) มี ระบบ Trend Following ที่ backtest แล้วระยะยาวมีกำไร แล้วทำตามมันไปเรื่อยๆ อย่างมีวินัย
4) มี Stop Loss ที่ชัดเจน ตั้งแต่ก่อนเข้าซื้อ และเมื่อชน Stop ต้องหนีอย่างไม่มีข้อต่อรอง
5) เลือกเล่นแค่เหรียญหลักๆ อย่าง BTC, ETH, BNB อย่าไปเล่น shitcoins
- เอาแค่ 5 ข้อนี้ ถ้าคุณทำได้ โอกาสที่คุณจะอยู่รอดในตลาดก็จะเยอะขึ้นมากๆ แล้วครับ ส่วนจะอยู่ได้นานแค่ไหน ก็แล้วแต่ความตั้งใจของแต่ละคนแล้วล่ะ
#Elliottwave #พื้นฐาน #Basicการรู้ว่าเมื่อไรที่เราผิด สำคัญกว่าการรู้ว่าเมื่อไรที่เราถูก
ในการเคลื่อนที่ของแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ราคาจะไม่เกิดการทับซ้อนกัน และจะไม่ย้อนกลับเกินจุดเริ่มต้นของคลื่นก่อนหน้าในระดับเดียวกัน ก่อให้เกิดกฎสำคัญของ Elliott wave ในการนับคลื่นที่เป็นแนวโน้มในรูปแบบ Impulse ที่ไม่สามารถละเมิดได้ หากละเมิดกฎเหล่านี้การนับคลื่นเราจะผิดทันที
1 คลื่นสองไม่สามารถย้อนกลับได้มากกว่า 100% ของคลื่นหนึ่ง
2 เทียบระหว่างคลื่นหนึ่ง คลื่นสาม คลื่นห้า คลื่นสามต้องไม่ใช่คลื่นที่สั้นที่สุด
3 คลื่นสี่จะไม่มีจุดสิ้นสุดภายในอาณาเขตของคลื่นหนึ่ง
PoB ตัวอย่าง Truncate Fifthตัวอย่าง Truncate Fifth หรือ 5th Wave Failure จากหนังสือ Elliott wave principle ของ Frost and Prechter
Dow Jone ในช่าง 1960-1963 เกิดการพักตัวลงขา C ลง 5 คลื่นในรูปแบบ Bearish Truncate Fifth หรือเวฟ 5 สั้น สั้นระดับที่ไม่สามารถผ่านปลายเวฟ 3 ไปได้ ทำให้บางตำรารูปแบบนี้ถูกเรียกว่า 5th Wave Failure
Bearish Truncate Fifth คือพฤติกรรมของราคาที่เวฟ 5 ไม่สามารถทำ New Low ได้ บงบอก Supply ของปลายชุดคลื่นนี้อ่อนแรงมากแล้ว อาการหลังการจบชุดคลื่น Truncate Fifth หรือ 5th Wave Failure จึงเป็นลักษณะของการดีดตัวอย่างรุนแรง เพราะแทบไม่มีแรงต้านจาก Supply เหลืออยู่แล้ว
มนุษย์กราฟ | Humangraphy
หลักการ Supply and Demand โดย (RTM) Supply and Demand โดย Readthemarket (RTM)
เนื้องหาของ RTM เกี่ยวกับ Supply Demand นั้นเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
-การอ่านราคา (Price Reading)
-การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
-แนวรับแนวต้านหน้าตาเป็นยังไง (What do support & Resistance look like?)
-Support and Resistance Breakout
สำหรับเนื้อหาของ Price Action จะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
Past
-Supply and Demand
-Support and Resistance
-PAZ- Price Action Zones
-Caps on Price – RBD/DBR
-Flg Limits – DBD/RBR
-Fail to Return – FTR
Approach
-Compression
-3 Drive
Reaction
-Engulf
-Quasimodo
-Diamond
-The CanCan
เนื้อหาทั้งหมดแหวกทุกแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Price Action ที่เคยมีเผยแพร่ในอดีต และมีการนำไปใช้และประสบความสำเร็จจำนวนมาก สำหรับเนื้อหาที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Quasimodo
ลองเอาศัพท์เล่านี้ ไปค้นหา ศึกษาใน Google ดูครับ
[ดักรายใหญ่VI]สร้างแนวรับ/ต้านทางพื้นฐาน ด้วย PE และเงินปันผลวันนี้ผมจะมาพูดถึงที่มาของสูตรที่ได้ใช้ในอินดิเคเตอร์ใน Trading View กันนะครับ
(โดยอินดิเคเตอร์นี้ชื่อว่า DDM เพื่อแสดงแนวรับแนวต้านสำหรับสายพื้นฐานนะครับ สามารถดูสคริปสูตรได้ที่ด้านล่างคำอธิบายนี้ได้เลยครับ)
หลักๆ คือเพื่อต้องการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างง่ายไว้ดูว่าแนวที่ควรซื้อแบบสวนกระแสอย่าง VI ควรซื้อประมาณโซนสะสมบริเวณไหนดี และใช้ประกอบการดูโซนการทำ Price Pattern ด้วย
หลักการคือเราจะใช้การกำหนดค่า PE ผ่านการตั้งค่า Dividend Payout ไว้คงที่(ที่ 40%) และปรับตัวเลข % Dividend Yield ตามที่เราต้องการ (2,3,4,6 เท่าไรก็ได้ตามที่เราอยากตั้งครับ)
ดั่งแนวรับและแนวต้าน โดยจะเป็นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DDM นั่นเองครับ
สูตรมูลฐานที่เราจูดคือ Dividend Yield% = DPS / Price
และจะปรับมาเป็น PE = %Dividend Payout/%dividend Yield กันนะครับ
โดยท่านสามารถฟังการอธิบายเต็มๆ ได้ผ่านทางวีดีโอนี้นะครับ และมีตัวอย่างประกอบด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยสำหรับการลงทุนโดยใช้อินดิเคเตอร์ต้นทางนะครับ
สำหรับวิธีการดักทางรายใหญ่ VI เราก็อาศัยดูเงินปันผลได้เลยครับ ว่าระดับไหนตามแบบ Price Pattern ที่จะจูงใจรายใหญ่ให้ซื้อหุ้นตัวนี้หรือตัวนั้น โดยอาจจะดูแนวโน้มเส้นแนวรับแนวต้านนี้ครั้นอดีตย้อนหลังก็ได้ครับ ว่าเขาเคยมีแนวที่แข็งๆ ตรงไหนเป็นต้นครับ
ทั้งนี้ท่านใดสนใจเกี่ยวกับการลงทุนแบบสวนกระแส สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ ลงทุนหุ้นแบบจอห์น เนฟฟ์ ได้นะครับผม