New Market Breadth Momentum Cycle MarketBreadth Momemtum Cycle For Set50
เครื่องมือนี้ จะบอก สภาวะตลาดหุ้น โดยใช้เงือนไข นับจำนวนหุ้น ของ Macd โดยแบ่งออกเป็น 4 เงื่อนไข
Blue = เริมเข้าสู่ ตลาดขาขึ้น หรือ ออกข้าง
Green = เข้าสู่ขาขึ้น
Orange = เริ่มเข้าสู่ตลาดขาลง หรือ ออกข้าง
Red = เข้าสู่ตลาดขาลง
เราสามารถ bias เทรน เล่น Tfex S50 ได้ดียิ่งขึ้น
การวิเคราะห์แนวโน้ม
การกำหนด CHoCH ใน LTF- กรณีที่ราคาปรับตัวขึ้นไปแตะ OB ใน HTF ได้ เราถึงจะปรับตำแหน่ง CHoCH ใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าเทรดได้ไวขึ้น
- กรณีที่ราคาไม่ได้มีการแตะ OB ใน HTF แล้วปรับตัวลงเลย เราจะใช้สวิง Low ล่างสุดที่ส่งราคาขึ้นไปทำ HH ได้สำเร็จ ในการกำหนดเป็นตำแหน่ง CHoCH เพื่อลดการเกิด Noise ของราคา
หมายเหตุ : สำหรับการเปลี่ยนจาก Bearish ไปเป็น Bullish ก็แค่กลับด้านกัน
INVERTED YIELD CURVE ภาวะถดถอย! ในพันธบัตรสหรัฐอเมริกาสัญญาณเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอย!
Inverted Yield Curve คือ “ภาวะผิดปกติ” เกิดขึ้นเมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้นสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุยาว
Chart ในอดีตได้เกิด Inverted Yield Curve มาแล้วหลายครั้ง จากหลากหลายสาเหตุ แต่แทบทุกครั้งในอดีตหลังเกิด Inverted Yield Curve จะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย สะท้อนให้เห็นได้ด้วยการถดถอยของอัตราผลตอบแทนตามภาพ
แต่ Inverted Yield Curve ในปี 2022-2023 ครั้งนี้ อาจไม่เหมือนกับครั้งที่ผ่านๆ มา เพราะเศรษฐกิจโลกได้ถดถอยงรุนแรงไปแล้วในเหตุการณ์ COVID-19 ทำให้ลงไปสร้างจุดต่ำสุดเกือบถึง 0% และหลังจากนั้น FEDใส่คันเร่งปรับดอกเบี้ย ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับขึ้นรวดเร็วและรุนแรง ระดับที่ทำให้ Chart แสดงการจบแนวโน้มของขาลง และได้ผ่านการทำจุดต่ำสุดของอัตราผลตอบแทนไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ภาวะผิดปกติของ Invertd Yield Curve ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดการถดถอย แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังจากนี้ อาจไม่รุนแรงถึงระดับการเกิดจุดต่ำสุดใหม่ได้(New Low) และอาจจะเป็นเพียงแค่การพักเพิ่มสร้างแนวโน้มใหม่ในอนาคตแทน
**ยกเว้นเกิดปัจจัยลบใหม่ที่ใหญ่และรุนแรงกับเศรฐกิจโลกขึ้นอีกครั้ง
มนุษย์กราฟ | Humangraphy
การหาจุด Entry Buyหลังจากราคาเข้า POI Zone การหาจุด entry โดยใช้ TF ที่เล็กลงมา
จุดที่ 1 ไม่ใช่จุด entry เพราะไม่มี LQ ( Liquidity )
จุดที่ 2 ไม่ใช่ เพราะ หลังจากเบรกทำ H แล้วลงมากิน LQ แต่ไม่เบรก H ขึ้นไป แต่เบรก Low ลงมาแทน
จุดที่ 3 ราคามีโอกาสขึ้นมากที่สุด เพราะ หลังจากเบรกทำ H แล้วลงมากิน LQ และเบรก H ขึ้นไป
BTC 1D 15/01/2023ทดสอบความเข้าใจ การใช้ SMC (กราฟ DAY วันที่ 15/1/2023 14.12 )
มองจากภาพใหญ่กราฟ Day จุดราคา 21,480 US มีโอกาสเป็น inducement
ดังนั้นราคาต้องไปเกิน 21,480 US ก่อนจึงจะลงมาโดยเป้าหมายจะอยู่ที่ LL เดิม
แต่ถ้าราคาสามารถขึ้นไปเหนือ 25,211 US หรือ HH เดิม จะถือเป็น CHoch เทรนเปลี่ยนเป็น UP trend
ETH Channel Line: Break เทรน ยืนยันการเปลี่ยนแนวโน้มเป็น UptrendETHUSDT ราคาข้ามกรอบ Channel ลง ยืนยันการผ่านด้วยแท่งเทียนเขียวยาว บอกเราว่าภาพระยะกลางมีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้นแล้ว
Channel Line (สีส้ม) เป็นหนึ่งในเครื่องมือคลาสสิค ที่นักเทรดใช้ช่วยในการอ่านแนวโน้ม Channel Line บอกเราได้ว่าราคาที่เคลื่อนเป็นทิศทางขึ้นหรือลงนั้นยังเป็นทิศทางเดิมอยู่มั้ย
เนื่องจากการเคลื่อนของราคาไม่ได้เคลื่อนตัวขึ้นหรือลงเป็นเส้นตรง มักจะมีการพักตัวระหว่างเทรนให้เราสับสนกับทิศทางอยู่เสมอ เช่นใน Downtrend ก็จะมีการเด้งขึ้นอยู่ แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าการเด้งนั้นเป็นการพักเพื่อลงต่อ หรือเด้งขึ้นไปเปลี่ยนแนวโน้มเป็น Uptrend.. Channel Line สามารถบอกเราได้!
Channel Line คือ การวางกรอบของทิศทางด้วยเส้นตรงที่ขนานกัน 2 เส้น หากราคายังเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ Channel Line จะยังถือว่าราคายังอยู่ในแนวโน้มนั้น ในทางตรงกันข้ามกันหากราคาเบรกกรอบสวนทิศทาง ก็จะแปลว่าทิศทางเดิมนั้นได้สิ้นสุด แนวโน้มได้ถูกเปลี่ยนแปลงทิศทางเปลี่ยนแล้ว
วิธีการวาง Channel Line มีหลักการง่ายว่า เมื่อราคาเกิดเป็นทิศทาง Low ต่ำลง High ต่ำลง เป็น Downtrend สีสัมตามภาพตัวอย่าง เราจะวางเส้นกรอบบนด้วย High 2 จุด หลักก่ารง่ายๆ วางเส้นแล้วห้ามมีส่วนของราคาทะลุขึ้นออกมานอกเส้น เพราะเราต้องการให้เส้นเทรนนี้เป็นกรอบของเทรน... ส่วนเส้นคู่ขนานอีกเส้นเราจะมาสร้างกรอบล่างโดยการลากมาวางไว้ที่ Low ที่เคยเป็นแนวรับเดิมที่พึ่งหลุดลงไป
เพียงเท่านี้ เทรดเดอร์ก็จะสามารถใช้ Channel Line เป็นตัวสร้างกรอบของทิศทาง และเทรดไปตามแนวโน้มนั้นได้แล้ว
***การลงทุนมีความเสี่ยง จำกัดความเสี่ยงด้วยความรู้
มนุษย์กราฟ | Humangraphy
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากตลาดขาลง ปี 2022เหลืออีกแค่ สองวัน ก็หมดปี 2022 กันแล้ว ผมก็เลยแวะมาสรุป บทเรียน ที่ผมได้เรียนรู้ จากการเห็นคนอื่น และ ทำด้วยตัวเอง เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจ/อุทาหรณ์ ให้กับเหล่าเทรดเดอร์ในอนาคต ได้เรียนรู้กันไปครับ
1) ได้เงินมาเยอะแค่ไหน ตอนตลาดดีๆ ก็ไม่สำคัญเท่าการรักษาเงินก้อนนั้นไว้ตอนตลาดแย่ๆ
- ที่ยกให้ข้อนี้ขึ้นเป็นข้อแรก เพราะหลังจากผมคิดไปคิดมา ก็พบว่า ข้อนี้มันสำคัญสุดจริงๆ
- เพราะปีที่แล้ว ( 2021 ) เราจะเห็น success stories มากมายก่ายกองจากหลายๆ คน เช่น เปลี่ยนเงินสองแสนเป็นห้าสิบล้าน บางคนก็พอร์ตโตเป็นหลายร้อยล้าน วัยรุ่นหลายๆ คนก็ได้จับเงินหกหลักเจ็ดหลักกันถ้วนหน้า
- หลักๆ ที่ไปลองศึกษาแนวทางของคนเหล่านี้มา ก็คือ การ “All-in ไปเรื่อยๆ” เช่น จากเงินสองแสนไป all-in จนได้มาเป็น ห้าแสน … จากห้าแสนก็ all-in เป็น หนึ่งล้าน.. จากหนึ่งล้านก็ all-in เป็นสามล้าน.. วนๆ ไป และคนเหล่านี้ก็จะ “ไม่มีการคัทลอสด้วย เพราะเชื่อว่า ถ้าของดี เดี๋ยวมันก็แค่ย่อแล้วไปต่อ”
- ในช่วงตลาดดีๆ การทำแบบนี้มันจะให้ผลตอบแทนที่ดีมากๆ และพอร์ตก็จะโตเร็วมากๆ ด้วยเช่นกัน … แต่ก็นั่นแหละ ท่านี้มันมีปัญหาซ่อนอยู่ตอน “ตลาดขาลง”
- เพราะเมื่อไหร่ที่ตลาดเริ่มกลับตัว เป็นขาลง ถ้าคุณยังไปใช้ท่า all-in อยู่ ไม้สุดท้ายที่คุณไปเข้า คุณก็จะไปเข้าที่ “ยอดดอย” พอดี และพอคุณไม่มีแผนคัทลอส ก็จะทำให้การขาดทุน เริ่มลุกลามไปเรื่อยๆ
- จากขาดทุน 10% ก็กลายเป็น 20% กลายเป็น 50% รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็น 99%.. ได้มา 100 ล้าน ก็อาจจะเหลือแค่ 1-2 ล้าน
- หลายๆ คนก็จะชอบบอกว่า “โอ้ย ก็ยังมีกำไรอยู่เลย เพราะฉันลงไปแค่ 5 แสน ตอนนี้ก็ยังเหลือตั้ง 2 ล้าน มันก็ตั้ง 4 เด้งอยู่นา” … แหม แต่พี่จะไม่สะทกสะท้านกับกำไรทิพย์ 98 ล้านที่หายไปเลยเหรอครับ เป็นผม ผมเครียดนะครับ 555
- สุดท้าย ก็เหมือนเราต้องมาเริ่มกันใหม่หมด เดินไปข้างหน้า 100 ก้าว แล้วถอยหลังมา 98 ก้าว แบบนั้นก็เหมือนเหนื่อยฟรีครับ
- ดังนั้น การ “รักษากำไร” ที่ได้มาตอนตลาดดีๆ มันถึงสำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการ cash out ออกมาพักเป็นเงินสดนอกตลาดบ้าง หรือเอาไป diversify ลงทุนในสิ่งอื่นๆ บ้างเพื่อกระจายความเสี่ยง หรือถ้าตลาดโดยรวมเป็นขาลงก็ถือเงินสดทั้งหมดเลยก็ยังได้
- แต่ก็นั่นแหละ ถ้าคนเหล่านี้มีแผนรักษากำไร เขาก็คงจะไม่ all-in ทุกเม็ดตั้งแต่แรกอยู่ดีครับ พูดง่ายๆ ก็คือ เริ่มมาก็ติดกระดุมผิดเม็ดแล้วนั่นเอง..
- ปล. สำหรับสาย Maximalist เก็บยาวบน Time Horizon 200 ปี อันนี้เขาก้าวข้ามกำไร/ขาดทุน ทุกสิ่งอย่างไปหมดแล้ว ดังนั้น เราก็จะไม่ต้องไปสนใจเขาครับ ปล่อยเขาดำเนินแผนของเขาไป 555
2) ระบบอย่าง Trend Following บน Timeframe Daily+Weekly ช่วยป้องกันไม่ให้เราขาดทุนหนักได้
- สำหรับปีนี้ ระบบ Trend Following อย่าง Action Zone ( หรือ MACD ตัดศูนย์ ) เราเจอ false sig บน TF Daily กันกระจาย แต่ถ้าดูบน TF Weekly คือ ไม่มีสัญญาณซื้อเลยตลอดทั้งปี
- แต่ถ้าเราเข้าไปดูผลการเทรดจริงๆ ก็จะเห็นว่า ใน TF Daily เราขาดทุนไปจริงๆ ราวๆ -8% จาก false sig ทั้งหมดประมาณ 6 ครั้ง บนความเสี่ยง 2% Risk per trade
- ส่วน TF Weekly ก็คือ ไม่มีการเทรดเกิดขึ้นเลยสักครั้งเดียวในปีนี้..
- ถ้าเทียบกับ Benchmark การ Buy & Hold BTC ตอนเริ่มปี 2022 ก็จะพบการขาดทุนถึง -65% และถ้า DCA ก็จะขาดทุนถึง -33% นั่นเอง ยังไม่นับพวกสาย all-in จากข้อ 1 ที่โดนกันไปราวๆ -80% ถึง -99% อีกนะครับ
- ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การที่เราจะสามารถ “รักษากำไร” ที่ได้มาตอนตลาดดีๆ ได้ สิ่งที่เราต้องมีก็คือ “ระบบการเทรด” ที่จะช่วยบอกเราว่า เมื่อไหร่ ที่เราควรถือเงินสด เมื่อไหร่ ควรกลับเข้ามาลงทุน และ “Money Management” ที่จะช่วยลดความเสี่ยงโดยรวม จากการ diversify กำไรออกไปไว้ที่อื่นที่เสี่ยงน้อยกว่าบ้างครับ
- เทียบง่ายๆ ก็คือ เหมือนเราก้าวไปข้างหน้า 100 ก้าว แล้วเราถอยหลังมาแค่ 8 ก้าวแล้วก็หยุด เวลาที่เราจะเริ่มเดินใหม่ เราก็เริ่มเดินที่ก้าวที่ 92 นะครับ มันต่างกับคนที่ต้องถอยมา 98 ก้าวแล้วต้องเริ่มเดินที่ก้าวที่ 2 เยอะมากๆ เลยนะครับ 555
3) พยายามคิดถึงความเสี่ยงให้รอบด้าน ถ้าท่าไหนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินเยอะ หรือทั้งหมด..ก็อย่าเอาเงินเยอะเข้าไปเล่น
- ช่วงตลาดดีๆ หลายๆ คนจะชอบลืมมองข้อนี้กันไป เอาง่ายๆ ก็ตัวอย่างของเคส all-in ไปเรื่อยๆ ในข้อแรก มันก็มีความเสี่ยงมากมายที่เราจะเสียตังทั้งหมดไป ไม่ว่าจะเป็น product ที่เราไปลงมันโดน rug pull หรือการไม่มีแผนคัท ก็จะทำให้เราติดดอยและขาดทุนหนัก เป็นต้น
- ยังไม่นับเคสที่นอกเหนือความคาดหมาย เช่น FTX หรือ Zipmex หรือ Exchange อื่นๆ ล่มสลายอีก
- แถมเคสคริปโตทั่วไปอีก ที่หลายๆ คนกระโจนเข้ามากันแบบไม่มีความรู้ สุดท้ายพอเห็นว่าได้กำไรง่ายๆ ก็หอบเงินก้อนใหญ่มาลงกัน บางคนหนักกว่านั้นก็ไปกู้มาลงทุน… พอตลาดเป็นขาลงก็เจ๊งกันถ้วนหน้า
- เอาจริงๆ ข้อนี้มันก็เหมือนกับการทำธุรกิจแหละ เช่น บางคนก็เอาเงินเก็บทั้งชีวิตมาลงทุนทำอะไรบางอย่าง แล้วพอเจ๊ง ชีวิตก็เดือดร้อนไปเลย ต้องกู้หนี้ยืมสิน ติดวังวนหนี้กันไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่
- สุดท้าย ก่อนเราจะลงทุนทำอะไรก็ตาม ให้คิดถึงความเสี่ยงก่อนเสมอ เอาง่ายๆ ให้คิดใน worst-case scenario ไปเลยว่า ถ้าเงินก้อนนี้หายหมด ชีวิตเราจะไม่เดือดร้อนนะ ชีวิตเรายังไปต่อได้นะ ถ้าดูแล้วสิ่งที่เราจะลง มันต้องใช้เงินเยอะ มากกว่าที่เราจะยอมเสียได้ ก็อย่าไปทำมันเลยครับ ลองเริ่มจากเล็กๆ ดูก่อน พอเรามีประสบการณ์ มีสกิล ก็ค่อยๆ ขยายไปก็ได้ครับ
4) การลงทุนอะไรที่ too good to be true จงอยู่ให้ห่าง
- ปีที่ผ่านมา เราเห็นการล่มสลายของสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินความจริงกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็น..
* สารพัด DeFi ที่เคยให้ผลตอบแทนสูงถึงระดับ 100%++ APY … สุดท้ายก็เจ๊งกันหมด
* Anchor Protocol ที่ให้ผลตอบแทน 20% ต่อปี … สุดท้ายเจ๊งสนิท
* ZipLock ที่ให้ผลตอบแทนดี .. สุดท้ายก็เจ๊ง
* การขุดเหรียญสารพัด สามเดือนคืนทุน.. สุดท้ายก็ขุดไม่คุ้ม
* สารพัดแชร์ลูกโซ่ …ที่สุดท้ายก็ปิดตัวหนีกันไปหมด
- ทุกอย่างที่ว่ามาข้างบน จะเอาเลขผลตอบแทนที่ดีๆ เวอร์ๆ มาล่อกันทั้งนั้น แต่ถ้าเราแค่ “เอ๊ะ??” สักหน่อย เราก็จะฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า.. มันเป็นไปได้ไงวะ? เราก็จะไม่ยุ่งกับพวกนี้เองครับ
5) จงเชื่อกราฟ อย่าไปเชื่อกูรู
- ในทุกขาขึ้น และขาลง จะมีกูรูมาทำนายเสมอ และแต่ละคน ก็จะเต็มไปด้วย Bias ของตัวเอง ทำนายถูก ก็ออกมาเคลม ทำนายผิด ก็… ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ทำนายใหม่ไปเรื่อยๆ
- สิ่งที่เราควรทำ ก็คือ อย่าไปฟังนักทำนายเหล่านี้มาก เพราะ ไม่มีใครรู้อนาคตได้จริงสักคนหรอก มั่วกันทั้งนั้นแหละ
- สิ่งที่จะบอกเราได้แน่ๆ ก็คือกราฟครับ พยายามดูให้เป็น ดูให้ออก ว่า กราฟแบบไหนที่เป็นทรงขาขึ้น กราฟแบบไหนที่เป็นทรงขาลง แล้วเราก็ take action ตามแผนไป
- ขาขึ้น ก็ทยอยเข้าตลาด ขาลง ก็ทยอยถือเงินสด แค่นี้เองครับ … มันเหมือนง่ายนะ แต่ทำโคตรยากเลยล่ะ
6) เมื่อสื่อพูดถึงสิ่งใดมากๆ… ให้ระวังจุดจบของสิ่งนั้นๆ
- ไม่ว่าจะเป็นจุดจบของขาขึ้น หรือจุดจบของขาลง .. มีวิธีดูง่ายๆ ดังนี้
- ถ้าสื่อพูดถึงแต่ข่าวดี เอากูรูสายมองขึ้นมาออกเยอะๆ ทำนายราคากันไปเท่านั้นเท่านี้ = ตลาดมีโอกาสจบรอบสูง ให้ลงทุนด้วยความระมัดระวัง ให้ดึงกำไรออกมากอดไว้บ้าง และเตรียมพร้อมเมื่อกราฟบอกให้เราหนี
- ถ้าสื่อพูดถึงแต่ข่าวร้าย เอากูรูสายมองลงมาทำนายวิกฤตกันไปเรื่อยๆ ซึนามิมาแน่ ปีหน้าเผาจริง = ตลาดมีโอกาสกลับตัวสูง ให้ทำการบ้าน หาหุ้น หาสินทรัพย์รอไว้ และเตรียมพร้อมจะซื้อเมื่อกราฟบอกให้เราเข้า
- แค่นี้เองครับ
7) อยู่ในเกมของตัวเอง อย่าไปเทียบอะไรกับคนอื่นเขามาก ทุกคนมีช่วงขึ้นและลงที่ต่างกัน
- ข้อนี้สำคัญมากๆ เช่นกัน เพราะบางทีเกมของเรา มันยังไม่มา แต่ของคนอื่นเขามาไปแล้ว พอเขาได้ตังเขาก็จะมาอวดกำไร พอเราเห็นกำไรเราก็จะเริ่มไขว้เขว และอาจจะกระโดดไปเข้าเล่นในสิ่งนั้นๆ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้เตรียมตัว ไม่ได้ทำการบ้านอะไรมาเลย สุดท้าย ก็อาจจะโดนเล่นได้ครับ
- ดังนั้น ถ้าเราทำการบ้านในสิ่งใดๆ อยู่แล้ว และเรารอให้เกิด “สัญญาณ” อยู่ ก็ต้องอย่าวอกแวก ร้อนรน คันมือ ก็แค่ นั่งเฉยๆ รอทำตามแผนของเราไปครับ
ข้างล่างเป็น list ที่ผมคิดๆ เขียนๆ ไว้ตอนแรก แต่ไม่ได้หยิบมาอธิบายต่อ ก็แปะมาให้ลองเก็บไปคิดกันดูเองครับ
ถ้าคุณได้เงินมาเร็วๆ ง่ายๆ จากการลงทุนแบบไม่สนความเสี่ยง คุณก็จะคืนกำไรที่ได้มากลับไปให้ตลาดอย่างรวดเร็วเช่นกัน ตัวอย่างก็เช่นพวกชาว DeFi, GameFi 2021
สิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่รอดในตลาด ก็คือการรักษากำไรที่ได้มาเอาไว้ช่วงตลาดดีๆ ไม่ให้คืนไปตอนตลาดแย่ๆ
ตอนตลาดดีๆ กลยุทธกะโหลกกะลาแค่ไหน ถ้าไม่สวนเทรน ยังไงก็ได้ตัง แต่ตอนตลาดแย่ๆ ถ้าคุณไม่มีหลักการควบคุมความเสี่ยงที่ดี ยังไงก็หมดตัว
กลยุทธที่ทำแล้วได้ตังง่ายๆ ตอนตลาดดีๆ เช่น เห็นลงหนักๆ ก็ไปช้อนแบบจัดหนักจัดเต็ม พอเด้งก็ขาย … จะทำให้คุณหมดตัวตอนตลาดกลับมาเป็นขาลง
ตลาดไม่เคยขาดกูรู ตอนตลาดวิ่งแรงๆ ก็จะมีกูรูบอกเป้าว่าจะขึ้นไปเท่านั้นเท่านี้ พอตลาดลงหนักๆ ก็จะมีกูรูบอกเป้าว่าจะลงไปเท่านั้นเท่านี้ .. แต่ คนที่จะบอกว่าอนาคตจะไปทางไหน คือ Mr.Market เท่านั้น ไม่ใช่กูรู ดังนั้น จงเชื่อตลาด
สำหรับคนที่ทำตามระบบ Consecutive Losses เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น จงวางแผนความเสี่ยง Risk per trade ให้ดี ที่จะไม่ทำให้พอร์ตเราพัง หรือเสียหายหนัก ตอนเจอ consecutive losses หลายๆ ทีติดกัน
ตลาดจะ Top ตอนทุกคนมองขึ้น ข่าวดีออกมารัวๆ กูรูเต็มตลาด เสมอ และ ตลาดจะ Bottom ตอนทุกคนมองลง ข่าวร้ายออกมารัวๆ กูรูหายหมด เสมอ
เมื่อคุณอยากอวดกำไรลงเฟส ลงเพจ ให้ทุกคนรู้ เมื่อนั้น มักจะเป็นจังหวะตลาด Top เสมอ
อย่ากู้เงิน เอาเงินร้อน มาเทรด เด็ดขาด
ถ้ามีกำไร ต้องมีแผนเก็บกำไรเสมอ อย่าปล่อยให้ตัวเองเห็นกำไรละลายหายไปต่อหน้าต่อตาเด็ดขาด
กำไรที่ได้มาจากข้อที่แล้ว ควรเก็บออกมากอดนอกสนามเลย อย่าเอาไป reinvest พร่ำเพรื่อ
อะไรที่ได้ตังง่ายๆ โดยไม่ต้องทำอะไร แค่ฝากเงินไว้เฉยๆ.. มันไม่มีจริง
ความเชื่อ มันน่ากลัว เพราะมันจะมาทำให้เราเชื่อจนไม่ยอมตัดสินใจ take action ที่ดี
การเข้ามาเทรด คือการทำให้ wealth ของเรางอกเงย เพื่อที่เราจะได้มีชีวิตที่มีคุณภาพดีขึ้น ไม่ใช่การเข้ามาเพื่อพิสูจน์ความเชื่ออันสุดโต่งของเราเอง
อะไรที่มีขึ้น ก็ย่อมจะมีลง อะไรที่ลงก็ย่อมจะมีขึ้น.. จงเตรียมพร้อมและวางแผนรับมือความเปลี่ยนแปลงเสมอ
มือใหม่เข้าตลาดมา ยังไงต้องเจ๊งอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติ แต่ที่จะไม่ปกติคือ เข้ามาเจ๊งแล้วไม่ได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดนั้นๆ เลย
เพราะ ถ้าคุณเรียนรู้จากความผิดพลาด โอกาสที่คุณจะได้ตังในขาขึ้นรอบหน้าก็จะมีสูงขึ้น
การเทรดให้น้อยลงในตลาดขาลง นอกจากจะช่วยไม่ให้เราเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังช่วยให้เรารักษาสภาพจิตใจไม่ให้ถดถอยด้วย เพราะในการเทรด สภาพจิตใจของเรา สำคัญมากๆ ถ้าใจพัง มันจะทำให้เราไม่กล้าตัดสินใจ หรือ ไปตัดสินใจทำอะไรที่จะทำให้พอร์ตพังมากยิ่งขึ้น ( เช่น เทรดแก้แค้น )
กลยุทธใดๆ ถ้ามันทำซ้ำอีกไม่ได้ ก็ไม่ใช่กลยุทธที่ดี เราก็แค่โชคดีต่างหาก
การทำตามกลยุทธอย่างมีวินัย มันช่วยให้เราไม่มีวันติดดอยหนัก และไม่มีวันตกรถ 100%
การถือเงินสดในช่วงตลาดขาลง จะทำให้เราได้เปรียบคนอื่นๆ เพราะเราจะมีเงินเอาไว้ซื้อของราคาถูก หลังจากมันเริ่มกลับตัวแล้ว
ตลาดขาลงที่ยาวนาน จะทำให้เราเริ่มหมดไฟ ท้อ และเลิกสนใจตลาดไป แต่อยากจะบอกว่า มันคือโอกาสที่ดีต่างหาก ดังนั้น จงอย่างทิ้งตลาด และเตรียมความพร้อมที่จะกลับเข้ามาเสมอ เพราะถ้าคุณไม่อยู่กับตลาดตลอด คุณจะไปรู้ตัวอีกทีตอนตลาดกลับเป็นขาขึ้นเรียบร้อยแล้ว..และแน่นอน ก็อาจจะมีโอกาสติดดอยใหม่เหมือนเดิมนั่นเอง 555
ช่วงตลาดดีๆ อะไรก็ดูดี ช่วงตลาดแย่ๆ อะไรก็พร้อมพังเสมอ ดังนั้น ถ้าได้ตังมาเยอะช่วงตลาดดีๆ ตอนตลาดเริ่มหัวทิ่ม ก็ต้อง cash out ออกมาก่อน
จงเป็นคนขี้ระแวง ถ้าเริ่มได้กลิ่นตุๆ ให้วิ่งหนีทันที อย่ามัวรอดูก่อน เพราะอาจจะช้าเกินไป
-- ส่งท้าย --
สุดท้ายนี้ ปี 2022 ก็น่าจะให้บทเรียนกับทุกคนที่เข้ามาตลาดกัน ไม่มากก็น้อย ตัวผมเองก็ได้ ตอกย้ำ บทเรียน ที่เคยตกผลึกมาก่อนหน้านี้ ว่า ... เออ ไอ้ที่เราคิดมา มันถูกแล้วล่ะ จงทำสิ่งเหล่านี้ต่อไป
ส่วนใครที่เจ๊งหนักในปีนี้ แต่อยากจะเอาดีทางด้านการเทรดนี้จริงๆ ก็ขอให้อย่ายอมแพ้นะครับ เพราะจากที่ผมอ่านและฟังเทรดเดอร์ไทยและฝรั่งมาหลายท่าน บอกได้เลยว่า ทุกคน ต้องผ่านจุดนี้กันมาทั้งนั้น ... จุดที่เจ๊ง หมดตัว และไม่ยอมแพ้ ฮึด ลุกขึ้นมาสู้ต่อ ผมเองก็เคยผ่านมาเช่นกัน.. และ ในปีนี้ ผมก็รอดมาได้ โดยแทบไม่เสียหายหนักเลย
จงเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และก้าวต่อไปครับ เพราะ ข้อผิดพลาด คือ ครูที่ดีที่สุด ของเราครับ..
[แกะหุ้นเด้ง pt.1] หาจุดซื้อรันเทรน กับ Evolution หุ้น 100 เด้ง - วีดีโอนี้พูดถึง Technical จุดซื้อ/ขาย 75% และพูดเกริ่นถึงบริษัท 25%
- บริษัท Evolution AB เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมใหม่อย่างอุตสาหกรรม pนันออนไลน์ ซึ่งมีอัตราการเติบโตของกำไรมากกว่า 2 หลักมาโดยตลอด
- นอกจากการเติบโตของกำไรแล้ว ในขาของด้านการบริหารนั้นบริษัทก็สามารถบริหารจนได้อัตรากำไรในระดับที่ดีมากๆ โดยสะท้อนมาที่ตัวเลขการเงินอย่างอัตรากำไรสุทธิ ที่บริษัทสามารถทำได้มากกว่า 30-40% ซึ่งเป็นระดับที่น้อยบริษัทจะสามารถทำได้
- กำไรจากการเทรดที่ได้แต่ละรอบสั้นนั้น สามารถทำได้มากกว่า 2x%
แต่ว่าเวลาที่หุ้นลง บริษัทจะมี Downside จาก ATH มากกว่า 30% เลย ดังนั้นแล้ว ใครซื้อแบบ FOMO อาจต้องระวังจุดนี้
- Breakout รับมือได้ดีที่สุดกับบริษัทจำพวกที่กำไรโตตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรวางจุด Stoploss ให้ดีๆ เพราะว่าเวลาโดนคืนสามารถโดนคืนได้ในระดับ 3x% ได้ และหากเข้าช้าไปควรกำหนด Postition Size ที่เพียงพอต่อการถือทนด้วยครับ
-------------------------------
สำหรับเนื้อหาจะมี 2 พาร์ทด้วยกัน โดยพาร์ทนี้จะเน้นในเรื่อง Technical อย่างเดียวนะครับ จากนั้นอีกพาร์ทจะเป็นเรื่องของการเงินและธุรกิจล้วนๆ
และโพสนี้ผมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือหลักการเลือกหุ้นลงทุน ตามมาด้วยจุดซื้อที่พอทำได้ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหุ้นนี้/บริษัทนี้
---------------------------------
1. หลักการเลือกหุ้น
สำหรับระบบคัดเลือกหุ้นของบริษัทนี้ โดยหลักแล้วมาจากการเลือกบบริษัทที่มีกำไรเติบโตก่อนครับ โดยถ้ากำไรเติบโตเป็น 2 หลัก เหนือกว่าตัวเลข GDP สักราว 5 เท่า นายตลาดจะชอบบริษัทแบบนี้มาก
นอกจากกำไรเติบโตแล้ว การใช้ตัวกรองอย่าง PEG Raio มาช่วย จะทำให้เราเลือกหุ้นได้คมมากขึ้นครับ โดย PEG Ratio ที่ต่ำกว่า 1 จะเป็นตัวบอกว่าบริษัทนี้มีความน่าสนใจ
-------------------------------------
2. จุดซื้อหุ้นตัวนี้
สำหรับผมแล้ว ผมให้เรื่องของ Value Line ครับ โดยในกรณีนี้บริษัท Evolution ถูกเทรดอยู่ที่เส้นแดงมาโดยตลอดเลย หากเราตั้งสมมติฐานว่าซื้อหุ้นในจุดที่บริษัทมีราคาต่ำกว่าเส้น และนำมาขายบริเวณที่อยู่เหนือเส้น Value Line ก็นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ
ต่อมาคือการเทรดเมื่อหุ้นวิ่งตัดขึ้นเส้นค่าเฉลี่ย 50 weeks หรือแม้แต่ 20 วัน เพื่อที่หลีกเลี่ยงอาการ FOMO หลังหุ้นตัวนั้นเด้งขึ้นอย่างร้อนแรง
และที่สำคัญคือบริษัทที่เป็นหุ้นเติบโต ในกรณีที่เขาเติบโตด้วยพื้นฐานอย่างแข็งแรง ส่วนมากราคาของบริษัทจะไม่มาเทรดที่จุดเดิมได้บ่อยๆ ครับ การที่เราซื้อขายหลังราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวเพื่อรันเทรนด์อาจช่วยให้เราได้เปรียบมากขึ้น
และอย่างสุดท้าย การเทรดโดยใช้หน้าเทรด Breakout ในหุ้นเติลโต โดยเหตุผลหลักจะคล้ายๆ กับการเทรดตอนหุ้นตัดขึ้นเส้นค่าเฉลี่ย โดยหากบริษัทเติบโตไปแบบเรื่อยๆ อย่างบริษัท การ Breakout จึงเป็นหน้าเทรดที่สามารถปรับประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเทรดแบบScalper ภายในวันอาศัยความผันผวนตอนช่วงประกาศผลประกอบการ หรือแม้แต่การซื้อเป็นไม้สุดท้ายหลังจากที่เรา MM ไม้ก่อนหน้านี้มาแล้ว
-------------------------------
3. สิ่งที่ได้จากหุ้นตัวนี้
บริษัทที่มีการเติบโตของกำไรอย่างสม่ำเสมอ และทำได้ดีกว่าที่ตลาดคาดมักเป็นหุ้นที่ไปได้ไกล(จากสมการ Price = PE * EPS) ไม่ว่าจะจากการปรับค่า PE ของตลาดหรือ EPS ที่เติบโตได้ด้วยตัวเอง
การเทรดโดยให้ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เป็นจุดที่ปลอดภัยจากการไม่โดนสะบัดหรือเขย่าตอนซื้อแนวจุดสูงสุดใหม่
หุ้นเติบโตมักมีการ Pullback 3x% เป็นเรื่องปกติมาก ถ้าจะให้ดี อย่าซื้อตอน ATH เว้นแต่ว่าเราจะลงทุนแบบ Day Trade/Scalper แบบจบในวัน
Case Study ; MPL & QM Pattern & FakeoutCase Study ; MPL & QM Pattern & Fakeout
📊 รูปแบบ Type : SELL SETUP
****************************
⛔️ คำเตือน : เป็นเพียงเนื้อหาสำหรับกรณีศึกษาเท่านั้น ทั้งหมดล้วนต้องใช้เวลาและประสบการณ์จริงของแต่ละท่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่าสูงสุด โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล
****************************
● MPL หรือชื่อเต็ม Maximum Pain Level
● MPL ตามตัวอย่างหรือโครงสร้างในภาพนั้น จริงๆ แล้วก็เป็นหนึ่งในรูปแบบของ Supply and Demand Zone ( SND ) ซึ่งรูปแบบของ MPL ในภาพนั้น ก็เป็นรูปแบบที่ก่อเกิดขึ้นในโครงสร้างของ QM Pattern(QML) ด้วยเช่นกัน จึงทำให้น่าสนใจ
● ทั้ง QML และ MPL ก็นับว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของ SND เช่นกัน และมักจะมีรูปแบบเส้น SNR (QML) หรือ SND ZONE ที่เกิดการทับซ้อนกันอยู่ จึงมีนัยะและความน่าสนใจที่มากขึ้น
● MPL ที่ผมมองว่าเป็น RBD ตามในภาพ เนื่องจากว่า การเคลื่อนที่ของกลุ่ม Base Balance Zone หรือ Sideway เล็กๆ นั้น อาจจะก่อเกิดแนวต้านเล็กๆ หรือ Resistance Fakeout หรือเกิดเป็น Mini QM เล็กๆ ก่อนก็เป็นได้ และหลังจากนั้นราคาอาจจะตีทะลุกรอบขึ้นไป เหนือระดับ QML ซึ่งช่วงนี้จะเกิดการพุ่งของ IMB ขึ้นไปเล็กน้อยคือ Rally(R) และพักฐาน Base(B) และจากนั้นเกิดแรงขาย Drop(D) ลงมา ซึ่งหลังจากการ Drop ลงมานี้ จะเกิดแท่งเทียนกลืนกิน Bearish Engulfing ก็เป็นได้
● ณ โซน MPL ( RBD ) ในโซนนี้นั่นเองที่จิตวิทยานักเทรดส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่ามีโอกาสเข้า Sell ได้ จึงนับเป็นโซนที่ใช้ตัดสินใจเข้าที่ MPL & QML (Decision Point = DP)
***************************
✅ วิธีการเข้าออเดอร์
● เมื่อตลาดเกิดโครงสร้าง QM Pattern แสดงถึงการอ่อนกำลังขาขึ้น Loss Momentum Up กำลังส่งจะเริ่มลดลง และมีโอกาสเกิด Momentum กลับทิศลง ดังนั้นเมื่อเจอโครงสร้างนี้ ให้สังเกตุหาเส้น SNR Key Level ก็คือ QML (Left Shoulder)
● ตีกรอบครอบโซนของ QML ด้วยก็ได้/หรือจะละไว้ในฐานที่เข้าใจก็ได้ เพราะเรามอง QML เป็นเส้นหลักแล้ว และจากนั้นจะต้องมองหา Base ที่เกิดตรงข้ามกับ QML ZONE นั่นก็คือ MPL เนื่องจากตรงนี้ หากว่าตลาดเกิดแรง Drop ลงมาจริงๆ ตามภาพตัวอย่าง จะเป็น MPL Supply Zone ที่น่าสนใจมาก เนื่องจากกลืนกินแรงซื้อ Clean up Significant Demand ได้และหากราคาทำ Lower Low ด้วยการทำลายโครงสร้าง BMS (Break Market Structure) ได้อีก จะยิ่งมีนัยะและบ่งบอกถึง Momentum Down ที่แข็งแกร่ง ในด้านกลับทิศลง ก็ให้ตีกรอบครอบ SND ZONE ของ MPL ได้เลย
● ตั้งออเดอร์ Sell Limit (Pending Order) ที่ระดับ MPL Supply Zone
● SL ตั้งเหนือ Swing Higher High(HH)
● TP แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ TP1 ตั้งที่ระดับ Swing Low ของไหล่ซ้าย หรือแนวรับไหล่ซ้ายของ QML และ TP2 ตั้งที่ระดับ Swing Lower Low ของโครงสร้างหลัก QM Pattern ซึ่งเป็นขา Swing Under (HL -> LL) ของรูปแบบ QM
*******************************
⚠️ MM บริหารเงินทุนต่อแผนยอมแพ้ไม่เกิน DD 2-5% และทุกแผนต้องทำ Position Sizing เสมอ
THE MARKET STRUCTURETHE MARKET STRUCTURE (ขั้นพื้นฐาน เบื้องต้น) 📊 Sell Setup 📊 เป็นกรณีศึกษา Case Study Only
● ที่ต้องบอกว่าเบื้องต้น ก็เพราะว่าโครงสร้างตลาดนี้เป็นไปในแบบฉบับที่ผมปรับจูนนิดหน่อย อาจจะไม่เปะ ไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100%
.
แต่คิดว่า สำหรับคนที่ต้องการศึกษาไว้ น่าจะเป็นไกด์นำทิศทาง ในการมองภาพรวมของตลาดได้
.
และทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาพฤติกรรมพื้นฐาน ทั้งคลื่นและโครงสร้าง ให้แตกฉาน จนเกิดเป็น ปสก. และทักษะส่วนตัว ถึงขั้นชำนาญ แตกฉานแล้วเท่านั้น ถึงจะเข้าใจว่า โครงสร้างทั้งหมด ก็เป็นเพียงไกด์นำทางเท่านั้น เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว นักเทรดจะเริ่มปรับประยุกต์ใช้ และยืดหยุ่นเทคนิค เป็นการปรับมุมมองตามอารมณ์ของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ
.
เพื่อให้รู้จังหวะในช่วงเวลานั้นๆ ว่าจะหลีกเลี่ยง จะฟอลโล่ตาม หรือเข้าปะทะร่างกาย
.
จากแผนภาพ เป็นการวางแผน 2 ชั้น ในระดับ Supply Zone ทั้ง 2 โซนนะครับ การเทรดควรวางแผนมากกว่า 1 แผนเสมอและควรทำ Position Sizing คำนวณล็อตและ MM ทุกๆ แผนนะครับ
#อย่าได้จดจำหรือยึดติดกับคำย่อมากมายนัก
#เน้นศึกษาและนำส่วนจำเป็นมาใช้ก็พอ
#เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางกรณีศึกษาเท่านั้น
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน BizModel และกราฟ pt.2
- ธุรกิจ Costco เป็นห้างขายส่งคล้ายๆ Makro ของเรา แต่มีสินค้าไซส์ยัก และอาหารราคาถูก
- กำไรแบบ Recurring Income ของบริษัทผ่าน Membership Fees เป็น Keyman ในการที่ทำให้บริาัทเติบโตไปพร้อมกับยอดขาย
- การที่ราคาหุ้นขึ้นเกิดจากหลัก Twin Engine คือ PE ขยายตัวจากความคาดหวังดีจากตลาด และ กำไรสุทธิที่เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
- ราคาหุ้นจะมีค่าเป็นเท่าไรเกิดจากสมการ Price = PE * EPS
(Twin Engine คือหลักการที่ PE ขยายตัว และ EPS เติบโตนั่นเอง)
- ปัจจุบัน Costco มีรายได้จาก Membership ที่ราวๆ 4 billions เทียบเท่ากับหุ้นที่ราคา 9 เหรียญ หากเราถือหุ้นที่ราคา 9 เหรียญจากเมื่อ 30 ปีที่แล้วจนถึงวันนี้ได้ ก็นับว่าคุณได้สินทรัพย์ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 9% มาครองเลย
=================================
ถ้านึกถึงห้างขายส่งบ้านเราต้อง MAKRO แต่ถ้านึกถึงห้างขายส่งระดับโลก COSTCO คือบริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ด้านนี้เลยครับ
COSTCO เป็นห้างค้าส่งสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1986 และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นมานานกว่าครึ่งชีวิตของคนหนึ่งคนเลย
และมักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในหนังสือการลงทุนหลายเล่ม เพราะนี่คือหนึ่งในหุ้นที่มีธุรกิจใช้ได้ ผลกำไรเติบโต ราคาหุ้นจึงสะท้อนมูลค่าที่ซ่อนอยู่นี้ด้วยราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนอื่น ผมขออธิบายก่อนนะครับ ว่า Costco นอกจากธุรกิจจะเป็นธุรกิจห้างค้าหลีกแล้ว รายได้อีกส่วนที่เป็นตัวช่วย Costco มาหลายต่อหลายครั้งเพื่อให้บริษัทยังอยู่ยั่งยืนได้ นั่นคือรายได้จาก membership fee ครับ
โดยบัตร Member นี้เอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสินค้าภายในห้าง ส่วนรถปั๊ม ประกัน ตั๋วเครื่องบิน เสื้อถ้า รถยนต์ อาหารและยา และอื่นๆๆ อีกมากที่อาจกล่าวไม่ถึง
ตรงส่วนนี้เราอาจพิจารณาได้ว่าบัตรเมมเบอร์ของ Costco นั้นมี Networking Effect ที่แข็งแกร่งมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะสเกลการถ้าปลีกของเครือ Costco อยู่แล้ว ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าระดับประเทศ (ที่มีขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของโลก) จนสามารถเจรจาของส่วนลดเพื่อมาจุนเจือชาว Member ได้
โดยสัดส่วน Membership Fee นี้เปรียบได้กับกระแสเงินสดที่ทาง Costco ได้มาไม่ต่างจาก Subscription รายปีเลยครับ โดยแต่ละปี Costco เองมีรายได้จากตรงนี้เติบโตกว่า 9% CAGR ต่อเนื่องกันกว่า 30 ปี
=====================================================
เทียบตั้งแต่ปี 1993
CostCo มี Membership Revenue อยู่ที่ 309 ล้านเหรียญ
และปี 2022 ล่าสุดมีรายได้ส่วนนี้กว่า 4,224 ล้านเหรียญทีเดียว]
โดยปัจจุบัน ณ ราคา 502 เหรียญนี้ Cosco มี Market Cap ที่ 222 Billion
หากท่านใดมีหุ้น Costco ที่ Market Cap 4 billions หรือที่ราคา 9 เหรียญ ท่านอาจได้กระแสเงินสดฟรีๆ จากมูลค่า รายได้ส่วนของ Membership เปล่าๆ (เป็นอีกหนึ่งมุมมองของการถือยาวครับ)
=====================================================
สิ่งที่ช่วยผลักดันให้ราคาของ Costco ไปได้ไกล ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากร้านค้าปลีกที่เติบโตตลอดเวลาตาม GDP ของประเทศนั้นๆ
และ Business Model ของ Costco เองก็เป็นธุรกิจกิน Spread Margin แคบๆ จากการซื้อมาขายไป และเพิ่มลูกลเ่นให้กับสินค้าตัวเองผ่านการออกแบบ "ผลิตภัณฑ์ไซส์ยักษ์" ที่นอกจากประหยัดแล้วยังน่าตื่นตาตื่นใจด้วย
ยังไม่นับว่า Costco เองมีเชนร้านอาหารราคาย่อมเยาว์ถึงขนาดที่ชักจูงให้คนมาทานอาหารในราคาไม่กี่เหรียญ และไม่ขึ้นราคามากว่าทศวรรษอีกด้วย
ทั้งนี้แล้วการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้บริโภคลูกค้านั้นทำให้มีผู้สมัครสมาชิกกับ Costco เพิ่มขึ้นตลอดทุกๆ ที โดยอัตราส่วนของรายได้จาก Membership Fees ต่อด้วย Operating Income นั้นสูงกว่า 50% ทีเดียวครับ กล่าวคือลำพังแค่รายได้จากค่าสมาชิกก็ทำให้ประเมินกำไรคร่าวๆ ของ Costco ได้แล้ว....และนี่แหละที่ทำให้นายตลาดชอบใจอย่างมาก
โดยคุณสมบัติจากการประเมินกำไรขาดทุนได้ง่ายแล้ว การที่บริษัทมีการบริหารงานจนทำให้นะดับ Net Margin ดีได้ยิ่งขึ้นๆ พร้อมด้วยการบริหารโดยมี ROIC ในระดับ 1x% ยิ่งขึ้นไป จะทำให้นายตลาด "มอบตัวคูณ" ให้บริษัทนี้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
โดยราคาหุ้นเองถูกผลักดันด้วย 2 ปัจจัย นั่นคือ Price = PE * EPS
หากบริษัทบริหารจัดการได้ดี ธุรกิจดำเนินไดีดี ตัว EPS จะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น
ส่วนตัว PE หากบริษัทนั้นมีโมเดลที่แข็งแกร่ง มี Moat ที่สมบูรณ์ รายได้เติบโต (กอปรกับการมีค่า Bond Yield ที่ต่ำ) บริษัทนั้นก็จะเทรดที่ค่า PE ที่สูงยิ่งขึ้น
หลักการนี้คือหลักการ Twin Engine ที่ทำให้หุ้นนั้นสามารถกลายเป็นหุ้นเด้งได้นั่นเองครับ
ซึ่ง CostCo เองนับว่าเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน โดยได้ลมส่งจากรายได้ที่โตขึ้นจากการขยายสาขาและ GDP ที่โต กับโมเดลธุรกิจที่ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะ Membership ทำให้ Costco มีกำไรเติบโตตลอด
จากนั้นนายตลาดก็เริ่มเห็นแววในบริษัทนี้ เลยให้ PE หรือแม้กระทั่ง P/S ที่สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวนี้เข้าหุ้นเด้งตามตำรา Twin Engine ในที่สุด
====================================================
หลักการหาจังหวะซื้อขาย หากใช้ Fundamental อาจใช้เส้น Asset Line ในการจับจังหวะเข้าซื้ได้ครับ แต่ต้องมั่นใจว่าหุ้นตัวนี้ตลาดชอบแน่ๆ พื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน รายได้และกำไรมีโอกาสโตได้ อย่างน้อยก็เชิงอนุกรม
ต่อมาคือการซื้อโดยใช้ PE Forward ผ่านเส้น Value Line อันเป็นแนวรับแนวต้านทางพื้นฐาน หากราคามาลงสู่แนวรับนี้ และประกอบกับกราฟทำทรง VCP Cup with Handle พร้อมทั้งมี Risk to Reward ที่ท่ารับไหวก็อาจพิจารณาซื้อได้
ไม่สายเกินไป หากซื้อหุ้นนี้ที่ Market Cap 1xx,xxx Milliion เพราะว่าเขาอาจไปได้ไกลกว่านั้นได้
(พร้อมดูโมเมนตัมจากยอดขายและผลการดำเนินงาน รวมถึงดูกระแสจากผู้บริโภคด้วย ว่าบริษัทยังคงส่งมอบคุณค่าแก่ผู้ถือหุ้นดั่งเดิมไหม)
====================================================
สามารถอ่านไอเดียการลงทุนอื่นๆ ได้นะครับจากหน้า Profile ของผม
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน CANSLIM และ VCP pt.1แก่นแท้จากหุ้นเด้งตัวนี้
-การย่อระดับ 1x% เป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ นับเป็นเรื่องที่ปกติ
การย่อลงมาแบบหลักๆ อยู่ที่ราว 3x%
-จุดซื้อที่ทรงประสิทธิภาพจะมาจากจุดที่แข็งกว่าตลาด
หรือ Relative Strength มากกว่า 0
-การย่อลงต่อละครั้งหากไม่หลุดราคาเฉลี่ยนับว่าสามารถรันเทรนด์ต่อได้
-การที่ราคาหุ้นตกหนักๆ โดยหลัก มี 3 ปัจจัย (ซึ่งการตกนี้ไม่ต่ำกว่า 50%)
1. การลงจากเศรษฐกิจเอง เช่น COVID-19 , Subprime
2. การลงจากอุตสาหกรรม เช่น รอบสินค้าโภคภัณฑ์ , การออกกฎบัตรบางอย่างจากภาครัฐที่ทำให้ราคาไม่ไปไหน
3. การลงจากตัวบริษัทเอง เช่น ความสามารถในการแข่งขัน ปราการและคูคลองเริ่มเสื่อมสลาย (แบบนี้อันตรายที่สุด)
.
-การลงจากตัวเศรษฐกิจ หากบริษัทแข็งแกร่งจากการมีปราการและคูคลองแข็งแกร่ง ตลาดย่อมรับรู้ อย่างน้อยก็จากผลประกอบการที่หากไม่ลดลง และรายงานจากฝ่ายบริหารแจ้งออกมาไม่มีรอยฟกช้ำจากเศรษฐกิจ นายตลาดก็ตอบรับอย่างสดใส
-การลงจากอุตสาหกรรม ราคาหุ้นอาจจะไม่ขึ้นมาในทันที อาจต้องให้เวลากับเขา ในการปรับทัพรวมพลสู้ศึก ในเชิงรูปธรรม อาจขยายตลาดไปที่อื่น, คุยกับ Supplier เพื่อปรับราคาให้มี Margin ที่ดีขึ้น และคงคุณภาพสินค้า
หรือในกรณีที่สดใสที่สุด คือรอเมฆหมอกแห่งความโชคร้ายให้ผ่านไปเลย
-การลงจากตัวบริษัทเอง ยากที่สุดในการพิจารณา ต้องติดตามกระบวนการบริหารบริษัทอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูคุณภาพในสินค้าและบริการ
แก่นแท้คือดูว่า Core Value ที่เขมอบให้แก่ลูกค้าและสังคม
กับการทำกำไร ยังพอไปทางเดียวกันได้ไหม
-สิ่งที่ต้องการสื่อคือหุ้นหลายเด้งมักมีการลงแรงๆ เสมอ ไม่ว่าจากตัวเขาเอง ตัวอุตสาหกรรม หรือจากเศรษฐกิจ แก่นแท้คือการถือให้ยาวและมองให้ขาดว่าบริษัทจะผ่านไปได้ไหม เป็นสำคัญ
-การฟอร์มตัวแบบ Cup with Handle จากที่ดูมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 bars week หรือราว 200 วัน ก่อนพุ่งขึ้นไป
การรันเทรนด์เพื่อให้ได้กำไรเด้ง อาจต้องอาศัยเวลา
เราควรมีหลังบ้านที่แข็งแกร่ง มีรายได้หลายทางเพียงพอที่จะคลายกังวลกับการลงทุนในบริษัทนี้ได้
เราอาจใช้อรรถประโยชน์จาก Stock Option ช่วยได้ หากหุ้นนั้นมีบริการ Short Call หรือ Short Put เพื่อหากระแสเงินสดจากช่วง Sideway หากินกับ Volatile
(อาจจะซับซ้อน แต่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้นะครับ)
-จุดกลับตัวของกราฟ บางทีอาจใช้รูปแบบแท่งเทียนพิจารณาได้
เช่นรูปแบบ Hammer ที่ทำหางยาวมาก เสมือนการปฏิเสธการลงของราคา
-จุดกลับตัวอาจใช้ Relative Strength ช่วยได้
หากราคาหุ้นแข็งกว่าตลาด เราอาจเริ่มกลับมามองหุ้นนี้ได้ครับ
BTCUSD : ระวัง! เตรียมเลือกทางเร็วๆ นี้ ลองดูจากปี 2018 ได้..เอาพฤติกรรมราคาของ Bitcoin ในปี 2018 มาให้ลองศึกษากันครับ
โดยปี 2018 คือตลาดหมีที่โหดร้ายยิ่งกว่าตอนนี้เยอะ โดยเฉพาะหลังจากวันที่มันถล่มหลุด 6k แล้วลงไปถึง 3k .. ณ ตอนนั้น ตลาดสิ้นหวังกันถึงขีดสุดครับ ผมเองก็สิ้นหวังเหมือนกัน แถมขาดทุนยับๆ ด้วย
มาลองเทียบกันดูนะครับ
#June
- 2018 ราคาลงมาย่ำ bottom 6k เอาจริงๆ ก็ตั้งแต่ ก.พ. 2018 นะ แต่ การลงมาย่ำแล้วอยู่แถวนี้เลยก็คือตอน ช่วงหลังเดือน June 2018 เป็นต้นมา
- 2022 ซึ่งก็คล้ายกันกับในปีนี้ นั่นก็คือ ราคาหลุดแนวรับ 30k ลงมา แล้วไหลยาวลงมาถึง 17700 แล้วเด้งกลับ หลังจากนั้นก็มีการย่ำทดสอบแนวรับโซนนี้หลายครั้งมากเช่นกัน
#July-#Sep
- 2018 ในสองเดือนนี้ จะเห็นได้ว่า หลังจากนั้น ราคามีการเด้งกลับแรง แล้วก็ลงมาย่ำฐานอีกรอบ แล้วหลังจากนั้นก็เด้งใหม่อีกที
- 2022 ซึ่ง ถ้าเทียบกันกับในปีนี้ก็วิ่งเหมือนกันอีก โดยแต่ละรอบก็คือการประกาศเลข CPI นั่นเองครับ ( ตอน 2018 ผมยังไม่ได้ดูข้อมูลหลายด้าน ก็เลยไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงเด้ง )
#Oct
- 2018 เดือนนี้เป็นเดือนที่ตลาดออกข้างกันไปนิ่งๆ แทบจะที่สุด แต่ระหว่างทางก็มีการ "สะบัด" ขึ้นลง แรงๆ อยู่เรื่อยๆ เช่นกันครับ โดยช่วงนี้ ณ ตอนนั้น ผมจำได้ว่า ผมยังคึกๆ จะเทรดอยู่ และใช้ leverage หนักมาก เพราะราคามันแกว่งน้อย ก็เลยต้องอัดหนัก เพื่อที่จะได้กำไรไวๆ
- 2022 เดือนนี้ตลาดก็ออกข้างไปนิ่งๆ ไม่มีทะลุกรอบบนล่างของ ATR เลยเช่นกัน คล้ายกับปี 2018 และ หลายๆ คนที่ไปพยายามเล่นช่วงนี้ก็จะเจอ whipsaw loss เมาหมัดกันไป เหมือนผมสมัยก่อนเด๊ะ 55
#Nov
- 2018 เดือนแห่งหายนะครับ ตอนนั้นทุกคนมองเหมือนกันหมดว่า "6k เอาอยู่ เพราะมันคือทุนขุด ไม่ลงไปต่ำกว่านี้หรอก" ผมก็เคยมองแบบนั้นนะ แต่พอมันหลุด มันก็หลุด และมันลงเละยับเลยด้วย ตอนนั้น sentiment ตลาดแย่มาก ทุกคนมองลงกันหมด ไม่มีใครมองขึ้นเลยแม้แต่คนเดียว ใครไปสวน รีบรับมีด ก็เละ ยับ สุดท้าย ถึงไปหยุดที่ 3200 ทำเอาหลายๆ คนหมดตัว
- 2022 รอดูว่ากราฟจะเฉลยมาอย่างไรนะครับ แต่ทรงออกข้าง นิ่งๆ แบบนี้ ผมบอกเลย ถ้ามันทะลุทางไหน คุณต้องหนีให้ทัน เพราะมันมีโอกาสสูงมากๆ ที่มันจะวิ่งไปต่อทางที่มันเลือกอีกไกลครับ ใครไปสวน ก็จะมาหมดตัวกันในจังหวะนี้แหละ
#ส่งท้าย
แวะมาฝากมุมมองกันไว้ จากคนที่เคยเจ๊งบ๊ง หมดตัว มาแล้ว 2018 มาเตือนด้วยความหวังดี ไม่ได้มีเจตนามาขัดลาภพวกท่านแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่อยากให้ใครต้องมาหมดตัวเหมือนผมสมัยก่อนแค่นั้นเองครับ
[Deep Value Scanner] หาหุ้นโคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลายและดักVI แสกนหาหุ้น Deep Value โคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลาย
สำหรับหลักการนี้ต้องขอขอบคุณ คุณเบนจามิน เกรแฮม ผู้เขียนตำรา Security Analysis และหนังสือ The Intelligent Investor และเป็นผู้ริเริ่มการลงทุนแบบ Value Investing แบบ Cigarette Butt ด้วยนะครับ
เทคนิคของ Deep Value กับเทคนิคหุ้นการลงทุนแบบ Cigarette Butt นี้ไม่ต่างกันมากเลย นั่นคือการซื้อหุ้นในมูลค่าที่น้อยกว่าทรัพย์สินส่วนของทุนบริษัท
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเลข 2 ตัวในการแสกนก่อนนะครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจหลักการแสกนนี้ นั่นคือ
1 . Net Debt ซึ่งมีสูตรคือ Cash – (Short Term Debt + Long Term Debt)
2. Enterprise Value มีสูตรคือ (Market Cap + Debt )- Cash
โดยทั้งสองตัวเลขนี้ หากมีค่าติดลบก็หมายความว่าผ่านเกณฑ์แล้วครับ หลักการคือเราจะซื้อบริษัท ณ “ราคา” ที่น้อยกว่าเงินสดสุทธิหักลบหนี้สินของบริษัทนั่นเองครับ
สำหรับข้อดีข้อเสียของหลักการนี้มีดังนี้ครับ
ข้อดี
- เราสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
- สามารถ Unlock Value ได้ ผ่านการเข้าไปถือหุ้น แล้วใช้สิทธิโหวตกดดันให้ผู้บริหารขายทอดกิจการ เพื่อนำเงินสดมาจ่ายสู่ผู้ถือหุ้นได้
- หากมูลค่าทางบัญชีสะท้อนความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับการที่เราซื้อหุ้นโดยมีส่วนลด มีความสมเหตุสมผลในการลงทุนในเชิงทฤษฎี
(มีหลักยึดในการลงทุนชัดเจน)
- สิ่งที่เราต้องทำ มีเพียงอย่างเดียวคือการรอให้มูลค่าปลดล็อค สายกราฟคือหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ
เช่นมีการสะสมพอสมควรแล้ว รวมถึงทำท่า Breakout อาจพิจารณาวางกลยุทธ์ได้
ข้อเสียและจุดอ่อน
- หากบัญชีมีการตกแต่งขึ้น อาจเป็นอุปสรรคได้ในการรับรู้มูลค่าที่แท้จริง
- ราคามักไม่ค่อยมีการขึ้นลงมาก หากไม่มีปัจจัยมาขับมูลค่า
เช่น การ Take Over , การขายสินทรัพย์ , การจ่ายเงินปันผลออกมา (ในกรณีที่บริษัทมีแต่เงินสดพร้อมจ่าย)
- ราคาหุ้นถูก ณ ตอนนี้ ไม่การันตีว่าจะราคาถูกตลอดไป
เช่นกรณีผู้บริหารใช้กลฉ้อฉล อย่างการนำเงินสดไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ ซึ่งบริษัทอื่นๆ ที่ว่านี้อาจเป็น Shell Company ที่ผู้บริหารคนนั้นถือหุ้น
แล้วตั้งใจทำให้เกิดผลขาดทุน จนต้อง Whiteout ธุรกิจออกไปเกิดความสูญเสียทางบัญชีบริษัทเป็นต้น
การเทรดระยะสั้นและช่วงเวลาตลาดเปิดการเทรดระยะสั้นและช่วงเวลาตลาดเปิด มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มของราคา เราควรเทรดจังหวะช่วงเวลาตลาดแต่ละประเทศเปิดปิด หรือช่วงประกาศตัวเลขสำคัญ หรือถ้าเทรดรายตัวก็ควรจะเป็นช่วงที่มีข่าวที่มีผลกระทบต่อเหรียยนั้น ๆ เวลเาทรดจะทำให้การเทรดมีความแม่นยำมากกว่านอกช่วงเวลาเหล่านี้
2022 : ปีแห่งการเชือดทั้ง Short และ Long ( 27/8/2022 )ปี 2022 ที่ผ่านมา ตั้งแต่ต้นปี จนถึงตอนนี้ จากการนั่งส่อง Price Action แล้ว ผมบอกเลยว่า ตลาด โคตรจะโหดร้าย โดยเฉพาะคนที่ Overtrade หรือ ใช้ Leverage ในการเล่นคริปโต ก็จะโดนกันไปไม่น้อย
เพราะจากรูปที่ผมแปะช่องข้อความให้ดู ก็จะเห็นว่า ไม่ว่าคุณจะเล่นฝั่ง short หรือ ฝั่ง long สุดท้าย ถ้าคุณ "คัทไม่เป็น" คุณก็จะโดนลากจนพอร์ตแตกอยู่ดีครับ
โดยเราพอจะสรุปได้ว่า
1) คนที่เล่นฝั่ง Long
- พอร์ตแตกเพราะไปคิดว่า "น่าจะลงมาแค่นี้แหละ ไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว" แล้วก็ไปจัดหนักจัดเต็มหลาย x ด้วยเงินที่มีทั้งหมดกัน
- พอเริ่มติดก็ไม่ยอมแพ้ ไปถัวสู้ ไปเติมเงิน เพราะยังไปติดกับภาพจำตอนปี 2021 ที่ตลาดยังเป็นขาขึ้นว่า "แค่ย่อ เดี๋ยวก็เด้ง"
- สุดท้าย ก็โดนทุบหลุด low รัวๆ ถ้าใครถัว สุดท้ายก็จะพอร์ตแตกกันยับๆ อยู่ดีในท้ายที่สุด เพราะ มันลงมามากกว่า -50% คุณเล่น safe สุดแค่ 2x ยังไงก็ตายครับ
- ตอนนี้ ผมก็ยังเชื่อว่า หลายๆ คน ที่ยังมีเงินเติม ยังไม่ยอมแพ้ และคิดว่า 20k น่าจะ "เอาอยู่" เพราะมันเป็นยอดเก่าของปี 2017 และมโนกันไปว่า นี่คือราคาทุนขุด มันไม่ลงไปมากกว่านี้หรอก
- ปัญหาคือ ถ้ามันลงไปอีกขา ...ก็พอร์ตแตกกันอยู่ดี
2) คนที่เล่นฝั่ง Short
- เอาจริงๆ คนที่เล่นฝั่ง short จากกราฟ จะเห็นได้ว่า มีหลายๆ ช่วงที่กราฟรูดแรง น้ำตกมา คนพวกนี้ก็จะได้กำไรกันเยอะมาก
- แต่ปัญหาของฝั่ง short ก็คือ ตอนกำไรอ่ะ แม่งกำไรนิดเดียว เพราะยังไงกำไรพื้นฐานของด้าน short จะไม่มีวันเกิน -99.99% ( ถ้าใช้ leverage ก็ค่อยคูณเพิ่มกันไป )
- แต่ตอนมันลากกลับเนี่ย ฝั่ง short จะแตกกันเร็วมาก.. เพราะเวลากราฟขึ้น % มันจะขึ้นแรงกว่าตอนลงเสมอ
- ทีนี้ พวกที่เล่นฝั่ง short แล้วได้ตังกันง่ายๆ เวลาโดนลาก ก็มักจะ "ไม่ยอมแพ้" เพราะ.. ที่ผ่านมา ตอนกราฟดีด ถ้าคุณถัวสู้ สักพัก คุณจะมีโอกาสกลับมาได้กำไร ( ถ้าพอร์ตไม่แตกไปซะก่อน )
- ทำให้ หลายๆ คน เสพติดท่านี้ และ "ไม่ยอมแพ้" เวลาโดนลากกันเสมอ พอใกล้จะล้างก็เติมเงินฮีลพอร์ตไปเรื่อยๆ
- ปัญหาคือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเงินไว้ฮีลพอร์ตได้ตลอด สุดท้าย ก็จะมีคนที่โดนลากจนเงินหมดแล้วพอร์ตแตกอยู่เรื่อยๆ อยู่ดี..
- ยิ่งถ้าไปเล่น Cross Mode 20x กับ altcoins หลายๆ ตัว รอบล่าสุด ก็น่าจะโดนกันไปหมดตัวแน่นอน เพราะ ETH ขึ้นมาถึง +100% จาก Bottom ช่วงเดือน มิ.ย. ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเล่นกี่ x พอร์ตคุณก็จะแตกหมดอยู่ดีครับ ( ยกเว้นมีตังเติม ฮีลพอร์ต ไปเรื่อยๆ นะ 55 )
สรุปว่า
- ตลาด มันโหดร้าย มันจะไม่ปราณีใคร แถมยึดเงินคืนจากมือใหม่ไปหมดด้วย ลงๆ ให้มือใหม่สาย short ตายใจ แล้วก็ลากกลับจนแตก เสร็จแล้วก็ลงต่อ แม่งโคตรน่าเจ็บใจที่สุดแล้วล่ะ 555
- ไอ้การเล่น short เนี่ย มันไม่ง่าย โดยเฉพาะมือใหม่ ที่ยังต้องเที่ยวคอยไปพึ่ง signal จากกูรูต่างๆ ซึ่งผมจะแนะนำทุกคนเสมอว่า ถ้าคุณยังไม่สามารถวางแผนเองได้ .. จงอย่าเข้ามาเล่น short เพราะสุดท้าย คุณจะเจ๊งอยู่ดี
- เอาจริงๆ Price Action ทรงแบบนี้ มันไม่ใช่ไม่เคยมีมานะ มันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2018-2019-2020-2021 แล้วครับ
- 2018 : ลากเดือนทุบเดือน ตายทั้งฝั่ง short และฝั่ง long
- 2019 ต้นปี : ลากโหดสัสจาก 3200 ไป 14000 ใครที่ short แล้วสู้ จะสู้แค่ไหนก็พอร์ตแตก
- 2019 ปลายปี : เหี่ยวๆ อยู่ดีๆ ลากกลับสองวัน +40% ใครที่ short แล้วรอดูว่าจะทำไงดี ก็พอร์ตแตกหมด
- 2020 ต้นปี : ขึ้นจาก 6500 ไป 10000 แล้วย่อลงมา 8000 สายนับเวฟบอกว่า นี่แหละเวฟ 1-2 ใหญ่ สรุปแล้วร่วงไป 3600 ก็เจ๊งกันหมด
- 2020 ปลายปี : ขึ้นจาก 10000 ไป 20000 พวกนับเวฟ ขึ้น B ลง C แน่นอน ก็เจ๊งกันหมด เพราะหลังจากนั้นขึ้นไปถึง 65000
- 2021 ต้นปี : ขึ้นเรื่อยๆ กูรูบอกว่าจะไป 100k แน่นอน ก็เลยไปจัดหนักจัดเต็มที่ยอด สรุปแล้วลงจาก 65k มาถึง 30k ก็เจ๊งกันหมด
- 2021 ปลายปี : ดีดกลับงงๆ พวก short บอกว่า ขึ้น B ลง C ลึกแน่นอน กลายเป็นว่า ดีดจาก 30k ไป 69k ใคร short ไว้ก็เจ๊งกันหมด
ถ้าให้ผมแนะนำ คุณจะรอดในตลาดนี้ได้ มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ข้อเองครับ
1) เลือกเล่นแค่ฝั่งมองขึ้นเท่านั้น อย่าไปเล่น short เพราะเราจะลดความเสี่ยงลงไปเลยถึง 50% ( เล่นน้อยลง = เสี่ยงน้อยลง )
2) เล่นแค่ spot และ เล่นด้วยเงินไม่ถึง 100% ของพอร์ต ( Position Sizing ที่เหมาะสม )
3) มี ระบบ Trend Following ที่ backtest แล้วระยะยาวมีกำไร แล้วทำตามมันไปเรื่อยๆ อย่างมีวินัย
4) มี Stop Loss ที่ชัดเจน ตั้งแต่ก่อนเข้าซื้อ และเมื่อชน Stop ต้องหนีอย่างไม่มีข้อต่อรอง
5) เลือกเล่นแค่เหรียญหลักๆ อย่าง BTC, ETH, BNB อย่าไปเล่น shitcoins
- เอาแค่ 5 ข้อนี้ ถ้าคุณทำได้ โอกาสที่คุณจะอยู่รอดในตลาดก็จะเยอะขึ้นมากๆ แล้วครับ ส่วนจะอยู่ได้นานแค่ไหน ก็แล้วแต่ความตั้งใจของแต่ละคนแล้วล่ะ