Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ติดตามสัญญาณบวก
บรรยากาศการซื้อขายชะลอตัว เนื่องจากตลาดถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดใกล้แตะ 20 เปอร์เซ็นต์ (เข็มแรก) ดัชนีตลาดปิดที่ 1,545.10 จุด ลดลง 7.26 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.95 หมื่นล้านบาท สถาบันภายในประเทศและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม ตลาดปิดบวกในกรอบแคบๆ หลังตัวเลขยอดขายบ้านต่ำกว่าประมาณการ ขณะที่นักลงทุนเฝ้าติดตามผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะประกาศผลประกอบการในสัปดาห์นี้ รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก และภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือแนวต้านของเส้น MMA2 ที่ 1,574 จุด (จากเดิม 1,580 จุด)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping (ใช้ราคาปิดเป็นตัววิเคราะห์)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic กลับท่เป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง อย่างไรก็ดี ในภาวะตลาดหมี (Bear Market) การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI อาจเป็นแบบสามยอด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,556 – 1,565 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,537 – 1,529 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity