[ดักรายใหญ่VI]สร้างแนวรับ/ต้านทางพื้นฐาน ด้วย PE และเงินปันผลวันนี้ผมจะมาพูดถึงที่มาของสูตรที่ได้ใช้ในอินดิเคเตอร์ใน Trading View กันนะครับ
(โดยอินดิเคเตอร์นี้ชื่อว่า DDM เพื่อแสดงแนวรับแนวต้านสำหรับสายพื้นฐานนะครับ สามารถดูสคริปสูตรได้ที่ด้านล่างคำอธิบายนี้ได้เลยครับ)
หลักๆ คือเพื่อต้องการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างง่ายไว้ดูว่าแนวที่ควรซื้อแบบสวนกระแสอย่าง VI ควรซื้อประมาณโซนสะสมบริเวณไหนดี และใช้ประกอบการดูโซนการทำ Price Pattern ด้วย
หลักการคือเราจะใช้การกำหนดค่า PE ผ่านการตั้งค่า Dividend Payout ไว้คงที่(ที่ 40%) และปรับตัวเลข % Dividend Yield ตามที่เราต้องการ (2,3,4,6 เท่าไรก็ได้ตามที่เราอยากตั้งครับ)
ดั่งแนวรับและแนวต้าน โดยจะเป็นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DDM นั่นเองครับ
สูตรมูลฐานที่เราจูดคือ Dividend Yield% = DPS / Price
และจะปรับมาเป็น PE = %Dividend Payout/%dividend Yield กันนะครับ
โดยท่านสามารถฟังการอธิบายเต็มๆ ได้ผ่านทางวีดีโอนี้นะครับ และมีตัวอย่างประกอบด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยสำหรับการลงทุนโดยใช้อินดิเคเตอร์ต้นทางนะครับ
สำหรับวิธีการดักทางรายใหญ่ VI เราก็อาศัยดูเงินปันผลได้เลยครับ ว่าระดับไหนตามแบบ Price Pattern ที่จะจูงใจรายใหญ่ให้ซื้อหุ้นตัวนี้หรือตัวนั้น โดยอาจจะดูแนวโน้มเส้นแนวรับแนวต้านนี้ครั้นอดีตย้อนหลังก็ได้ครับ ว่าเขาเคยมีแนวที่แข็งๆ ตรงไหนเป็นต้นครับ
ทั้งนี้ท่านใดสนใจเกี่ยวกับการลงทุนแบบสวนกระแส สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ ลงทุนหุ้นแบบจอห์น เนฟฟ์ ได้นะครับผม
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
เป้าหมายในเทรด ...ต้องรู้จักแยกแยะเทรดแบบมีเป้าหมาย กับเทรดแบบเพ้อฝัน มันต่างกัน
มีเป้าหมายแล้ว ...จะสำเร็จได้ ก็ต้องรู้จักแยกแยะให้เป็น
1.เป้าหมายที่เป็นไปได้ และสามารถทำได้
2.เป้าหมายที่เป็นไปได้ แต่ยังไม่สามารถทำได้
ต้องรู้จักความพอดี
- ถ้าโฟกัสข้อ 1 มากเกินไป ก็จะไม่พัฒนา
- ถ้าโฟกัสข้อ 2 มากเกินไป ก็จะเป็นการมโนเพ้อฝัน
***เป้าหมายที่มีเวลาเข้ามาบีบด้วย อาจจะส่งผลให้การตัดสินใจนั้นไม่เป็นกลาง
เรียนเทรดแบบท่องจำ ...แล้วนำไปเทรดการศึกษาเกี่ยวกับการเทรด สำหรับ OhManLan นั้น
คือเพื่อพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ …ไม่ใช่ท่องจำแล้วนำไปเทรด
ฟุตบอลไม่ได้เล่นแผนเดียวหรือกลยุทธ์เดียวตลอดทั้งเกม
แต่ละแผน แต่ละกลยุทธ์ จะใช้ได้ดีในบางสถานการณ์
…ไม่มีกลยุทธ์ไหน แผนไหน ที่จะใช้ได้ดีในทุกสถานการณ์
ต้องรู้จักการพลิกแพลง และเล่นไปตามสถานการณ์ ...การเทรดก็เช่นกัน
-------- -------- --------
ตัวฉุดรั้งศักยภาพของนักเทรด
คือพยายาม Copy คนอื่น แล้วเอาวิธีการของคนอื่นมาเป็นตัวกำหนดเพื่อวัดมาตรฐานของตนเอง
แทนที่จะเป็นผลลัพธ์ แต่กลับไปให้น้ำหนักที่วิธีการ ต้องลาก Fibo แบบนี้ถึงจะถูก ...ถ้าตีเส้นแบบนี้ผิดนะ
ในการเทรด ...ใครกัน! เป็นคนกำหนดว่าสิ่งนั้นถูกหรือสิ่งนี้ผิด?
สำหรับ OhManLan การนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้วิเคราะห์เพื่อออกแบบกลยุทธ์ …มันไม่มีถูก …ไม่มีผิด
คนที่บอกว่าทำแบบนั้นผิด วิเคราะห์แบบนี้ถึงจะถูก มันก็แค่เป็นสิ่งที่เขาไม่เห็นด้วยเท่านั้นเอง
OhManLan เชื่อว่าจุดประสงค์ของการเทรดเกือบร้อยละ 99.99 คือ เทรดเพื่อเอาเงิน …ไม่ได้เทรดเพื่อถูก หรือผิด
…ประเด็นคือทำยังไงก็ได้ วิเคราะห์ยังไงก็ได้ ใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ …ท้ายที่สุด ดูกันที่ว่าทำเงินได้หรือไม่
ทำเงินไม่ได้ มันก็ห่วย มันก็ผิด ...ถ้าทำเงินได้ มันก็ถูก มันก็ดี
กับดักความสับสนของนักเทรด คือ ลืมจุดประสงค์หลักของการเข้ามาเทรด
กลยุทธ์การเทรดที่ดีที่สุด คือ กลยุทธ์ที่เหมาะกับเรา และทำเงินได้ …หามันให้เจอ
แต่ละคนมีสภาพแวดล้อมชีวิตไม่เหมือนกัน บางกลยุทธ์มันอาจจะเหมาะกับคนอื่น แต่ไม่ได้เหมาะกับเรา
เทรด "เจ๊ง" เพราะรีบเป็น "เทพ"…ลองดูก่อน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ก่อน จะได้รู้ว่าขาดตกบกพร่องตรงไหน ต้องแก้ไขจุดไหนบ้าง ถ้าอยู่รอดได้จริง ค่อยเป็นเทพ
2 เทพ ที่อย่าพึ่งรีบเป็น
1.)เทพอุปกรณ์ …อุปกรณ์ไม่ต้องเทพ โต๊ะเก้าอี้ไม่ต้องดีเด่น สเปคคอมไม่ต้องเวอร์วังอลังการ …ขอแค่ปลอดภัยก็พอ
2.)เทพเงินทุน … ตัวอย่าง ถ้ามีเงิน 1 ล้านบาท ก็แบ่งเงินมาเทรดสัก 1 - 3 หมื่นบาท …แล้วค่อย ๆ ประเมินผลลัพธ์ไปแต่ละรอบการเทรด // ถ้าผลลัพธ์ออกมาดี ก็ค่อย ๆ เพิ่มเงินทุนเข้าไป ประสบการณ์มากขึ้น เข้าใจตลาดมากขึ้น การแก้ไขปัญหาและการวางแผนก็จะดีขึ้น // แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่รอดแล้ว ถอยดีกว่า ไม่เอาแล้ว ใส่เงินเข้าไปรอบละ 1 หมื่นบาท ขาดทุนยับ 10 รอบ ตลอด 1 ปี ก็ยังมีเงินเหลืออีกเยอะเลยที่จะออกไปเริ่มต้นใหม่
...ลึก ๆ แล้วก็คือประมาทนั้นแหละ ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ยังเก็บเกี่ยวไม่มากพอ
แต่เงินทุนหมดแล้ว ไปต่อไม่ได้ …ก็เลยมองตลาดในแง่ร้าย และถ้าถึงขั้นชีวิตพัง ก็อาจจะฆ่าตัวตาย
มีความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์ อยู่ไหนก็เทรดได้ มีเงินเท่าไหร่ก็ทำกำไรได้
// ถ้าไร้ซึ่งสิ่งเหล่านี้แล้ว ต่อให้มีเงินมากแค่ไหน ก็ทำกำไรไม่ได้
พยากรณ์กราฟราคาพยากรณ์อากาศไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน 100%
ความหมายของ พยากรณ์ คือ?
ทาย, ทำนาย หรือการคาดการณ์โดยอาศัยหลักวิชาการ
แล้วพยากรณ์เพื่ออะไร?
ก็เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อม เช่น ข่าวการพยากรณ์อากาศบอกว่า ...พรุ่งนี้ฝนมีโอกาสตก เมื่อข่าวออกมาแบบนี้จำเป็นจำต้องกางร่มกันฝนตั้งแต่ตอนนี้ไหม? ก็ไม่ต้องใช่หรือไม่? แต่สิ่งที่ทำคือเตรียมร่มกันฝนไว้เมื่อถึงเวลาค่อยใช้ แต่ถ้าหากถึงวันพรุ่งนี้แล้วฝนไม่ตกล่ะ จำเป็นต้องกางร่มกันฝนไหม? ก็ไม่ต้องใช่หรือไม่?
จับใจความดูดี ๆ แล้วพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
...พยากรณ์เพื่อคาดการณ์อนาคต แต่กระทำตามปัจจุบัน
พยากรณ์อากาศคาดว่าฝนจะตกในวันพรุ่งนี้ ซึ่งไม่หมายความว่าฝนจะตกแน่ ๆ 100%
ดังนั้นก็เตรียมร่มกันฝนไว้ // ถ้าฝนตก ก็กางร่มกันฝน // ถ้าฝนไม่ตก ก็ไม่ต้องใช้ร่มกันฝน
นี่แหละคือจุดที่ Trader มักจะพลาดกัน คือ เอาตัวเองไปผูกติดกับการคาดการณ์อนาคตแล้วกระทำตามนั้น
วิเคราะห์กราฟเราเห็นว่ามันมีโอกาสขึ้นไปถึงเท่านั้นเท่านี้ แต่ปัจจุบันแนวโน้มยังเป็นขาลง ดังนั้นก็ต้องกระทำตามปัจจุบัน (เทรดสวนแนวโน้ม = เจ๊ง)
BTCUSD แนวทางการช้อนไม่ให้ช้อนหัก (สัญญาณการเปลี่ยนเทรน)มองหาจุดสูงสุดที่สูงกว่าก่อนหน้า (HH) และจุดเข้าต้องหลุดจุดสูงสุดนั้นมาก่อนถึงเข้า ยิ่งจุดสูงสุดนั้น (HH) เจอในทามเฟมใหญ่ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะกลับตัวแน่นอน ส่วนจะขึ้นสูงมากแค่ไหนนั้นส่วนตัวจะดูทามเฟมที่เจอและใช้ fibo ในการช่วยตัดสินใจตำแหน่งที่จะขึ้นถึงโดยประมาณ 1.272, 1.618 หรือใช้ในจุดย่อแรกก่อนขึ้นโดยจุดสำคัญ 3.618,4.236 เป็นต้น
แน่นอนว่าทุกคนก็อยากเข้าจุดต่ำสุดเพื่อที่จะได้กำไรมากที่สุด แต่ผลเสียคือถ้าหากถูกแนวรับ-ต้านแล้วราคาทะลุไปต่อเหมือน BTC ก็จะทำให้ติดดอยแบบกู่ไม่กลับ เทคนิคผมที่จะแก้อารมณ์อยากเข้าตรงแนวรับ-ต้านเลยก็คือผมจะเข้าไม้เล็กๆไว้ ต่อให้เสียผมก็ไม่เสียดายอะไรเพราะมันแค่เข้าลองเชิงเฉยๆ ไม้ใหญ่ๆผมจะเข้าตามเทคนิคที่ให้ไปครับ
BTC รอตามภาพเลยเพราะยังมีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นต่อแต่ราคาไม่ควรลงต่ำเกิน 90% ของเทรนก่อนหน้าเพราะจะทำให้เป็น จุดต่ำสุดที่ต่ำกว่าก่อนหน้า (LL)
นี่เป็นเพียงพื้นฐานในการดูกราฟถ้าจะให้ดีต้องศึกษารูปแบบการกลับตัวเพิ่มเช่น Price Action Pattern ลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ
วิธีการใช้อัตราส่วนทางการเงินเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นอัตราส่วนทางการเงินช่วยคุณในการประเมินบริษัท อัตราส่วนทางการเงินส่วนใหญ่จะแสดงให้คุณเห็นว่า คุณจ่ายเงินจำนวนเท่าใดสำหรับส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจ ให้เรายกตัวอย่าง 2-3 ตัวอย่าง:
Price-to-Sales Ratio = มูลค่าตลาด / ยอดขาย
Price-to-Sales Ratio หรือ PS ratio จะบอกคุณว่าบริษัทมีราคาแพงมากเท่าไรเมื่อเทียบกับยอดขายทั้งหมด มีการคำนวณทำได้สองวิธี: หารมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทด้วยรายได้ หรือหารราคาหุ้นปัจจุบันด้วยรายได้ต่อหุ้น เนื่องจากอัตราส่วนนี้คำนวณด้วยข้อมูลราคาจริง คุณจึงสามารถดูข้อมูลแบบเรียลไทม์บนแผนภูมิได้ตามตัวอย่างด้านบนนี้
หากบริษัทมีมูลค่าตามราคาตลาด 10 พันล้านดอลลาร์ และรายรับ 1 พันล้านดอลลาร์ นั่นหมายถึง PS ratio คือ 10 คุณกำลังจ่ายเงิน 10 ดอลลาร์สำหรับยอดขายทุกๆ 1 ดอลลาร์ คุณสามารถทำอัตราส่วนเช่นนี้ได้กับทุกด้านของบริษัท ตัวอย่างเช่น PE ratio หรือ Price-To-Earnings ratio จะวัดมูลค่าตามราคาตลาด / รายได้ ข้อมูลนี้จะบอกคุณว่าคุณต้องจ่ายเงินเท่าไรสำหรับรายได้ทุกๆ 1 ดอลลาร์
โปรดทราบว่าอัตราส่วนทางการเงินนั้นไม่สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้มันยังไม่ใช่คำแนะนำในการซื้อหรือขาย แต่มันเป็นวิธีลัดในการประเมินบริษัทอย่างรวดเร็ว เปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของบริษัท และศึกษาบริษัทนั้นเทียบกับบริษัทอื่น คุณต้องจำไว้ว่าตัวชี้วัดทางการเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วด้วยรายงานรายได้เพียงครั้งเดียว ความคาดหวังในอนาคตของบริษัทก็มีความสำคัญเช่นกัน บริษัทอย่าง Apple อาจมี PE ratio สูง แต่ถ้าพวกเขากำลังสร้างและเพิ่มรายได้ในอนาคต PE ratio ของพวกเขาอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
โปรดจำไว้ว่า อัตราส่วนทางการเงินและตัวชี้วัดทางการเงินโดยทั่วไปจะแสดงภาพพื้นฐานของธุรกิจและศักยภาพในการสร้างรายได้ นี่เป็นแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นใช้งานมัน:
1. อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินบน TradingView ในศูนย์ช่วยเหลือของเรา
2. คุณยังสามารถ เขียนโค้ดกลยุทธ์หรืออินดิเคเตอร์ของคุณเองโดยใช้ข้อมูลทางการเงินนี้
3. นอกจากนี้เรายังได้สร้างห้องสมุดในศูนย์ช่วยเหลือของเรา เพื่อให้คุณสามารถ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทุกตัวชี้วัดทางด้านการเงิน
ต่อไปนี้คืออัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจว่ามันมีการคำนวณอย่างไร:
PE Ratio = มูลค่าตลาด / รายได้
PB Ratio = มูลค่าตลาด / มูลค่ากิจการตามบัญชีของหุ้น
PEG Ratio = PE / การเติบโตของรายได้
Quick Ratio = (เงินสด + รายการเทียบเท่าเงินสด + ลูกหนี้หมุนเวียน + เงินลงทุนระยะสั้น) / หนี้สินหมุนเวียน
Dividend Yield = เงินปันผลต่อหุ้น / ราคา
EV Multiple = มูลค่าองค์กร / กำไรก่อนจะหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
ในการเข้าถึงอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมดที่มีให้คุณใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่มการเงินที่อยู่ด้านบนสุดของแผนภูมิของคุณ จากที่นี่ คุณสามารถเลือกเมตริกทางการเงินและศึกษาตลาดต่างๆ ในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นได้
ที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้น คุณสามารถรวมการศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิค และการวิเคราะห์พื้นฐานได้ในเวลาเดียวกัน หมายความว่าคุณสามารถประเมินด้านพื้นฐานของธุรกิจรวมถึงรายได้และการประเมินมูลค่าในขณะที่ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาและวางแผนการเทรด
โปรดแบ่งปันฟีดแบคและความคิดเห็นของคุณด้านล่างนี้! ขอบคุณสำหรับการอ่าน
[DRT] หุ้นโคตร Value เงินปันผลพอใช้ได้ ความสามารถทำกำไรก็เยี่ยมDRT นับว่าเป็นบริษัทที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการนิยามคำว่า หุ้นแบบเน้นคุณค่าหรือแบบ VI มากครับ เนื่องจากหากมองงบดูดีๆ แล้ว นับว่าเป็นหุ้นที่ยอดขายเขาเข้าสู่จุดอิ่มตัวแล้วกอปรกับอัตราเงินปันผลที่จ่ายได้สมน้ำสมเนื้อ เหมาะแก่นักลงทุนที่ต้องการเซฟๆ เลยครับ
กอปรกับปัจจุบันนี้เขาได้พักฐานมานานแสนนานแล้ว และทำท่าว่าจะเบรคโซนที่เขาพักตัวด้วยเลยขอมาแนะนำเพื่อนๆ ณ ที่นี้
จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อหลายปีที่แล้วหุ้นตัวนี้เคยเทรดที่ระดับเส้น Dividend Valuation โดยเทรดอยู่ในระดับเส้นสีเหลือง ซึ่งตอนนี้ราคา Market Cap ปัจจุบันเขายังมีการเทรดต่ำกว่าระดับเส้นสีเหลืองอีกด้วย
ทั้งหลายนี้นับว่าเป็นจุดที่ไม่เลวครับ หากใครต้องการลงทุนหรือเก็งกำไร อาจเป็นตัวเลือกที่ผมว่าใช้ได้อยู่ครับ
ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะครับ
[SAWAD]ภายใต้พื้นฐานกำไรที่เติบโต มีเรื่องน่ากังวลอะไรหรือไม่?!!
สำหรับ SAWAD นับว่าเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่ผมมักอารมณ์องุ่นเปรี้ยวทุกครั้งเลยครับ เวลาเห็นเขาทำราคาที่สูงขึ้น กอปรกับความกลัวเรื่องของ NPL ผมเลยกลัวอย่างบอกไม่ถูกเลยครับ จรพบกับความผิดพลาดที่ไม่ได้ลงทุนในตัวพวกเขา
แต่ตอนนี้ถ้าเราลบอคติฝังตาลง เราพบอะไรบ้างจากอินดิเคเตอร์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิกับราคาหุ้นกัน โดยผ่านอินดิเคเตอรตัวเดิมของผมอย่าง Yield Valuation นี้ครับ
SAWAD นับว่าเป็นหุ้นที่อยู่ในหมวดของ Growth อย่างแท้จริงครับ จากการดูการเติบโตของสินทรัพย์(เส้นส้ม) ของเขา จากหนังสือพ่อรวยสอนลูกก็อย่างที่ว่าครับ สินทรัพย์คือสิ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้เรา การมีสินทรัพย์มากขึ้นก็เสมือนกับการเพิ่มที่มาของรายได้แบบนี้นั่นเองครับ
แต่กระนั้นแล้วสินทรัพย์ที่เพิ่มมขึ้นของ SAWAD นี้ เขาเพิ่มขึ้นในหมวดของหนี้สินนั่นเอง ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องปกติครับ เพราะว่า SAWAD ทำธุรกิจการเงิน หนี้สินของหมวดนี้ก็คือปริมาณเงินที่เราปล่อยสินเชื่อไปแน่นอนครับ
ว่ากันตามตรงในความเห็นของผมเอง ประเทศไทยเรามีระบบการเงินที่ Conservative มากนะครับ จากการที่แบงก์ของเราไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควรจนมาถึงการไม่กล้าปล่อยสินเชื่อจนเรามีทุนสำรองของประเทศเราอยู่สูงมาก การไม่กล้าทำอะไรแบบนี้ทำให้ประเทศเรามี Opportunity Cost สูงมาก สังเกตได้จากการที่นายกพูดเลยครับ ที่ว่าทำไม่เราถึงแพ้เวียดนาม ทั้งที่เรามีทุนสำรอง(งบดุลของประเทศ) ที่แข็งแกร่งมาก พูดง่ายๆ คือเราอาจจะล้มได้ยากนั่นเองครับ
กลับมาที่เรื่องของ SAWAD ด้วยความที่ธุรกิจการธนาคารของเราไม่ค่อยได้ปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย นั่นเลยเป็นช่องทางให้กับธุรกิจ Nonbank อย่างพวก SAWAD และ MTC ได้มาทำหน้าที่นี้แทนพวกเขา เมื่อ Demand(ผู้ต้องการเงินรายย่อย) มีอยู่อย่างมหาศาล การเติบโตก็มหาศาลอีก และ Supply ที่กล้าทำตอนนั้นเองก็มีอยู่ไม่มาก Supply น้อย (MTC SAWAD) ดังนั้นแล้วหุ้นทังสองตัวนี้เลยโตเอาๆ จากความกลัว ความกังวลของหุ้นกลุ่มธนาคารนั่นเอง แต่เอาเถิดท่านอย่าเศร้ากับอุตสาหกรรมการเงินไทยเลย เพราะปัจจุบันนี้ภาครัฐก็ได้ส่งแบงก์ออมสินมาสู้ๆ พวกธุรกิจนี้แล้วครับ
การมาของออมสินเอง ทำให้เราอาจต้องกังวลมากขึ้นกับการลงทุนหุ้น SAWAD ครับ ว่าเขาจะมีโอกาสไปต่อได้หรือไม่ การแข่งขันนั้นดีตรงที่เราอาจจะได้พบนวัตกรรมใหม่ๆ และทางออกให้ผู้บริโภคที่สร้างสรรค์มากขึ้นจากการแย่งชิงตลาด แต่กระนั้นแล้วการลงทุนอย่างนักลงทุนเราคงต้องทำการบ้านหนักขึ้นครับ
แล้ว SAWAD ตอนนี้มีอะไร เรามาดูเส้น Yield Valuation ที่โปรแกรมสังเคราะห์มาครับ ว่าหากอนาคตคน "ให้ค่า" แก่ตัว SAWAD มากกว่าสมัยก่อน การที่เขาจะก้าวไกลเข้าสู่เส้นสีแดงนั้นก็อาจเป็นไปได้นั่นเองครับ เพราะว่ากำไรของเขาเติบโตตลอดเวลาเลย ตรงส่วนนี้ก็อยู่กับความคิดเห็นของรายย่อยอย่างเราแล้วครับ ว่าในฐานะผู้ถือหุ้นท่านจะเป็นลมใต้ปีกให้แก่ผู้บริหาร หรือทางผู้บริหารเขาจะทำอะไรได้บ้าง (ผมก็เพิ่งรู้ว่าที่ต่างประเทศนักลงทุนรายย่อยอย่างเราก็สามารถเสนอแผนธุรกิจให้แก่บริษัทได้เหมือนกันครับ หากเราเห็นศักยภาพของเขา)
ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบผมก็ดีใจนะครับ
[CK] ณ ระดับแนวรับที่สำคัญ ภายใต้ราคานี้เขามีอะไรอยู่กันนะ!!???หุ้น CK นับว่าเป็น 1 ในหุ้นที่ทำรับเหมาก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของไทยซึ่งมีรายหลักๆ อยู่ 3 ราย อันได้แก่ STEC ITD CK
โดยหากมองแบบลึกๆ แล้ว หุ้นหมวดนี้เขามีวัฎจักรรายได้ที่ล้อตามการลงทุนของภาครัฐเลยครับ หากภาครัฐมีการลงทุนใหญ่ๆ สำคัญๆ คงไม่พ้นทั้ง 3 ตัวนี้ที่จะได้หน้าเหนือเค๊กเป็นแน่แท้ กอปรกับอาจมีการแข่งขันจากประเทศมหามิตรอย่างจีนในการที่เขามาเข้าประมูลควบคู่กับกลุ่ม CP ด้วยครับ
นอกจาก CK จะทำหน้าที่หลักเป็นรับเหมาก่อสร้างแล้ว เราก็ต้องไม่ลืมเลย ว่า CK ก็ได้ทำหน้าที่เป็นคุณแม่ที่ให้กำเนิดลูกๆ ที่สำคัญทั้งสิ้น 3 คนอันได้แก่ CKP TTW BEM ด้วย ซึ่งทั้ง 3 หุ้นนี้สังกัดอยู่ในหุ้นหมวด SET100 ด้วยกันทั้งสิ้นครับ
ซึ่งก็เข้ามาสู่ประเด็นที่ผมผูกไว้ที่หัวข้อเรื่องกันนะครับ ว่าที่ราคา 15 บาทแนวสำคัญนี้ มันมีอะไรแฝงอยู่กันแน่ นั่นคือเรื่องของเงินลงทุนในบริษัทลูกนั่นเองครับ ซึ่งที่ราคานี้นั้น Market Cap เทียบเท่ากับเงินลงทุนในบริษัทลูกเลย เรียกได้ว่าได้ซื้อธุรกิจรับเหมาที่ใหญ่ที่สุดแล้วก็ได้ของแถมเป็นลูกๆ ที่ทำกิจการเงินสดนั่นเองครับ (ไม่ว่าจะรับเงินค่าไฟจาก กฟผ เอย รับเงินค่าประปาเอย รับเงินจากคนที่สัญจรทางด่วนเอย)
ยาวหน่อยแต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะครับ
[APCO] หุ้น Value จ๋า พร้อมงบอันแข็งแกร่งที่ไม่ยอมลง แม้ราคาแพง?สวัสดีปีใหม่มิตรสหายทาง Trading View ทุกท่านนะครับ
พอดีช่วงปีใหม่นี้ผมเองก็ว่างไม่ได้ออกไปไหนเนื่องจากเรื่องของไวรัสโควิดตามที่ท่านได้พบเจอกัน ผมเลยได้มาสอดส่องดูหุ้นรับปีใหม่ถือเป็นการวางแผนประจำปีไปด้วยนั่นเองครับ
แล้วทีนี้ผมก็เจอหุ้นตัวนึงเข้าที่มีความเป็น Value จ๋าๆ มีงบที่แข็งแกร่งมาก และมีกิจการที่ทำนุบำรุงซ่อมแซมเครื่องจักรทางการเงินของบริษัทได้ดีเสมอ มีอัตราการทำกำไรที่สูงมาก แต่อนิจจาที่เขาอาจหมดสิ้นสภาพความเป็นหุ้นเติบโตไปแล้ว
เป็นภาพสะท้อนกรายๆ ว่าหุ้นที่เคย Growth แล้วเป็นหุ้น Value เดี่ยวๆ มันเป็นแบบนี้นี่เอง
วันนี้ผมเลยอยากทำวีดีโอสั้นๆ มาอธิบายเกี่ยวกับหุ้น Value จ๋าๆ งบการเงินแข็งๆ นั้นเป็นอย่างไรให้ชมกันครับ โดยจะอธิบายอย่างกระชับไม่กินเวลาท่านมาก พอเป็นกระษัย ขนาดท่านจิบกาแฟแก้วหนึ่งแล้วยังอุ่นๆ อยู่ก็ได้สาระพอดี
หวังว่า Case Study ของ APCO นี้ จะช่วยเป็นไอเดียในการเลือกสรรค์หุ้นเข้าพอร์ตในอนาคตของใครไม่มากก็น้อยนะครับ ที่สำคัญคือขอให้ทุกคนมีวิจารณญาณในการลงทุนเสมอนะครับ
หวังว่าทุกท่านจะชอบใจไม่มากก็น้อย สามารถส่ง Feed Back หรือ Comment มาได้เสมอนะครับ ผมตามอ่านและนำมาปรับปรุงเสมอ
สวัสดีปีใหม่ครับ
[THANI] ความสวยงามของหุ้นที่กำไรโตแบบตามธรรมชาติ (Organic)
วันนี้ผมมีไอเดียการผนวกนำเอาเรื่องผลประกอบการ ผลกำไรสุทธิมาทำ Valuation เพื่อให้แสดงค่าราคาในการเข้าซื้อขายหุ้นให้ดูกันครับ
จากรูปนี้เส้นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง แสดงค่าการนำตัวเลขผลประกอบการหรือ EPS มาคูณด้วย ค่าอัตราการจ่ายปันผล แล้วหารด้วยอัตราการจ่ายปันผลอีกที (Price = EPS * Dividend_Payout/Dividend_Yield)
ซึ่งราคาหุ้นที่จะได้นี้ จะกำหนดได้จากเปอร์เซ็นเงินปันผลที่ท่านต้องการเลย ซึ่งในที่นี้ผมตั้งค่าเงินปันผลไว้ที่ 5% ส่วน Payout ผมตั้งคงที่ไว้ท่ 40% ครับ
จากนั้นก็ปล่อยให้โค้ดของเราแสดงค่ากันไป
สิ่งที่น่าวิเศษใจ คือการที่เส้นเขียวของเราขึ้นไปเป็นขั้นบันไดแบบคงที่เรื่อยๆ นั่นเอง เสมือนว่าราคาเขาขึ้นไปตามพื้นฐานด้วยตัวของเขาเอง
ผมเชื่อว่าภาพนี้คงเป็นตัวบอกได้ดีเลย ว่าเหตุใดราคาหุ้นจึงมีขึ้นมีลง เหตุผลที่แจ่มแจ้งแน่ชัดก็เพราะว่า หุ้นตัวนั้นมีการเติบโตด้วยตัวของเขาเอง เขาสร้างคุณค่าตัวของเขาด้วยตัวเองนั่นเองครับ
สำหรับจุดเข้าซื้อ ผมแนะนำให้ผนวกเอาศาสตร์ด้าน Technical ในส่วนของ Price Pattern เข้ามาเสริมด้วยจะดีมากครับ หากราคามาแตะแนวรับทางพื้นฐานปุ๊ปจุดนั้นนับว่าเป็นจุดที่ไม่เลวเลยในการซื้อ แถมเราจะได้ราคา ณ ตำแหน่งเงินปันผลที่เราต้องการด้วย เป็นการรับรู้ความเสี่ยงและผลรางวัลที่เราจะได้รับในแต่ละครั้งเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ท่านอาจใช้แนวรับทางพื้นฐานนี้เป็นจุดเข้าซื้อในจุดที่คนอื่นกลัวได้ ดั่งคำของบัฟเฟตต์ที่ว่า "จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว"
บทความประกอบนี้อาจจะยาวเสียหน่อย เพราะผมเพิ่งได้สมัครสมาชิก Trading View รายไป พอเห็นความงดงามของโค้ดที่เราเขียนแล้วอดนำมาเล่ามาแชร์สู่กันฟังไม่ได้เลยครับ
ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะ ขอบคุณครับ
วิธีติดตามผลกำไรสุทธิและรับทราบเมื่อบริษัทรายงานฤดูกาลแห่งการประกาศผลกำไรกำลังดำเนินไปอยู่และ บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกบางบริษัทจะมีประกาศรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ Apple, Microsoft, Amazon, Visa และ Shopify ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะเตือนทุกคนว่าการติดตามประกาศผลกำไรนั้นง่ายเพียงใด หากคุณเป็นเทรดเดอร์หรือนักลงทุนคุณไม่อยากติดกับโดยรายงานที่คุณไม่รู้ คุณต้องเตรียมพร้อมและคู่มือนี้จะแสดงวิธีการให้ดูว่าต้องทำอย่างไร
ปฏิทินรายได้ของ TradingView ( ลิงค์ ) แสดงบริษัทที่กำหนดรายงานในวันนี้, พรุ่งนี้, สัปดาห์นี้ และสัปดาห์หน้า คุณยังสามารถจัดเรียงรายงานแต่ละรายงานตามวันที่หรือปัจจัยพื้นฐานเช่น Market Cap, การคาดการณ์รายได้ และ EPS Surprise ปฏิทินรายได้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดวิธีหนึ่งในการดูว่าบริษัทไหนรายงานรายได้และเมื่อใด
เคล็ดลับ: บุ๊กมาร์กปฏิทินรายได้ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มันหายไป - ( ลิงค์ )
เครื่องมือที่มีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งสำหรับการติดตามรายงานบริษัท คือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าไอคอนรายได้ (E) แสดงบนชาร์ตของคุณ คุณสามารถทำได้โดยไปที่การตั้งค่าชาร์ตของคุณ เลือกเหตุการณ์ จากนั้นเลือกช่องที่ระบุว่า "แสดงรายได้บนชาร์ต" ชาร์ตในตัวอย่างนี้คือ Apple และไอคอน E แต่ละไอคอนแสดงรายงานประจำไตรมาส นอกจากนี้คุณสามารถวางเมาส์เหนือไอคอน E แล้วคลิกเพื่อดูว่าบริษัททำได้ตามเป้าหรือไม่ถึงเป้าหมายในรายงานเหล่านั้น
เคล็ดลับ: สร้างการแจ้งเตือนสำหรับรายงานรายได้ ที่ส่งก่อน, ระหว่าง หรือหลังรายงานรายได้ เพียงเปิดตัวจัดการการแจ้งเตือนและเริ่มสร้างการแจ้งเตือนใหม่
แม้ว่าตัวเลขกำไรบรรทัดแรกและตัวเลขบรรทัดสุดท้ายจะมีความสำคัญ แต่ก็มักจะไม่บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมด มีสิ่งอื่นๆ ที่ควรพิจารณา เช่นคำแนะนำ, ความเห็นด้านการบริหารจัดการ และการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เมื่อบริษัทรายงานผลประกอบการ การติดตามข่าวสารของบริษัท นั้นๆ อาจเป็นประโยชน์ คุณสามารถทำได้โดยคลิกไอคอนหนังสือพิมพ์ที่เมนูด้านขวา นี่คือวิธีที่คุณเข้าถึงข่าวด่วนก่อนและหลังรายงานของบริษัท เพื่อรับข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลเพิ่มเติม
คำแนะนำสุดท้าย คือหน้า รายได้ ใหม่ของเราโดยเฉพาะ ที่นี่คุณสามารถค้นหาไอเดียที่เผยแพร่และติดแท็กโดยเทรดเดอร์และนักลงทุนท่านอื่นๅ ที่เน้นเหตุการณ์ตลาดที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับรายได้ คุณสามารถใช้หน้านี้เพื่อค้นหาไอเดีย, ผู้เขียน, สคริปต์ และแนวคิดด้านการศึกษาใหม่ๆ ที่ถูกแท็กเป็นไอเดียที่เกี่ยวข้องกับรายได้
ขอขอบคุณที่อ่าน และเราหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยให้คุณรับทราบข้อมูลมากขึ้นเมื่อฤดูกาลแห่งการรายงานรายได้เริ่มขึ้น รวมถึงรายงานของบริษัทอื่นๆ หากท่านมีคำถามหรือข้อเสนอแนะโปรดเขียนไว้ในความคิดเห็นด้านล่าง ขอบคุณที่เป็นสมาชิกของ TradingView!
[CPALL] หุ้นโคตร Defensive ณ ราคาดัชนี 1200 จุด ดีไหม มาดููกันสำหรับ CPALL ผมมองว่าตอนนี้หุ้นตัวนี้เริ่มมี Valuation ที่น่าสนใจไม่เลวเลย
จากการที่ธุรกิจของเขานั้น ล้อตามตัว C ในสมการของ GDP (GDP = "C" +I+G+X-M)
ซึ่งตัว C ที่ว่าก็คือกำลังซื้อของผู้บริโภคนั่นเองครับ กล่างคือ หากว่ากำลังซื้อของคนกลับมาหุ้นตัวนี้ก็อาจได้รับอานิสงฆ์นั้นก็เป็นได้เลย
สำหรับหุ้นตัวนี้ที่อาจมีการเติบโตอื่นๆ เข้ามา จากการมีฐานทุนที่ใหญ่ขึ้น ก็ไม่เลวเลยที่เราจะมาลองทำการบ้านสำหรับตัวนี้ดูกันครับ รายละเอียดเป็นอย่างไร มารับชมกันครับ
PS. รายละเอียดนอกคลิป สำหรับ CPALL หุ้นตัวนี้ มี ROE หรืออัตราการทำกำไรต่อผู้ถือหุ้นอยู่ที่ราวๆ 20%++ ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับ ROE ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีค่าอยู่ที่ราวๆ 9-11% เท่านั้น แล้วแต่ราคาน้ำมัน (ว่ากันมาตรง ตลาดบ้านเราพึ่งพิงอุตสาหกรรมเก่า อย่างน้ำมันมาก ถึงมากเลยครับ)
ซึ่งการมีระดับ ROE เท่านี้ เราเลยไม่แปลกใจเลยที่เขาให้มูลค่าเทรดที่ Market Cap. เหนือกว่า Asset ของบริษัทเสียอีก เราอาจมองได้ว่า หุ้นตัวนี้ถูกหวังกับการเติบโตในอนาคตก็ไม่ผิดเลยครับ
ซึ่งตรงส่วนนี้เราอาจจะเอาจุดที่ Market Cap <= Total Asset เป็นจุด Stop Loss คงอาจจะดูโหดร้ายไป (คนไม่เห็นอนาคต หมดฝันแล้ว)
ดังนั้นแล้วตรงส่วนนี้ท่านอาจจะใช้จุดซื้อแบบ Technical ในการเข้าซื้อก็ได้ครับ แล้วก็เอาไปบอกลูกหลานท่านว่าท่านเป็นเจ้าของ 7-11 คงคูลไม่น้อยเลย ฮาา
ปล. ทั้งหมดก็มีราวๆ นี้นะครับ หากมีอะไรเพิ่มเติมผมจะมาแจ้งครับ ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะ
CPALL vs. EPS Surpriseเมื่อตลาดตอบรับกับสิ่งที่เรียกว่า EPS Surprise
จาก กราฟ EPS Surprise จะเห็นว่า เมื่อ Earning ต่ำกว่า คาด ทำให้ตลาดตอบรับ โดยการ Discount
เมื่อ EPS กลับมาสู่สภาวะปกติ หรือ มากกว่าคาด ก็จะทำให้ราคากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง
ในระยะยาว ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม และเฝ้าติดตามทุกๆ ระยะ
CPALL vs. EPS Surpriseเมื่อตลาดตอบรับกับสิ่งที่เรียกว่า EPS Surprise
จาก กราฟ EPS Surprise จะเห็นว่า เมื่อ Earning ต่ำกว่า คาด ทำให้ตลาดตอบรับ โดยการ Discount
เมื่อ EPS กลับมาสู่สภาวะปกติ หรือ มากกว่าคาด ก็จะทำให้ราคากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง
ในระยะยาว ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม และเฝ้าติดตามทุกๆ ระยะ