การอัด qe รอบนี้เหมือนเมื่อปี 2008 มองเป็นโอกาสเป็นมุมมองของนักวิเคราะห์ต่างประเทศ เป็นโอกาส แต่!! อย่าลืม ว่า ปัญหาต่างๆ ยังมีไส้ในอีกมาก ทุกอย่างยังไม่เฉลย ฉะนั้น ประคองตัวไว้ให้ดี อย่าเพิ่งเห็นความโลภมากกว่าความเสี่ยง - ชาร์ลี มังเกอร์ -เพิ่มขึ้นโดย MasterTraderist4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย การระบาดโควิด-19 ในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (23/3) ดาวโจนส์ปรับตัวลดลงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ หลังร่างกฏหมายมาตรการเยียวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ผ่านวุฒิสภาครั้งที่ 2 ดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดตัวลงปิดที่ 1,024.46 จุด ลดลง 102.78 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.96 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน แต่มีโอกาสที่จะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 13 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงแบบมีช่องว่าง การปรับตัวขึ้นปิดและปรับตัวลงปิดช่องว่าง เป็นลักษณะของ Common gap ที่เกิดในช่วงที่ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) การเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และการเกิดสัญญาณ Convergence ของสัญญาณ MACD Histogram แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลงหรือปรับฐาน โดยดัชนีตลาดอาจแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 969 – 1,133 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 843 จุด เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,053 – 1,077 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 997 – 969 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv1
SET กับแนวรับ 3หลัก คงปฏิเสธไม่ได้ ให้ภาพมันเล่าเรื่องเป็นการตี Fibo ที่ลำบากใจ เพราะยิ่งตี ยิ่งใจหาย ให้ภาพมันเล่าเรื่องแล้วกัน ว่า เป้าราคาระยะสั้น ย้ำว่า ระยะสั้นๆ แต่ลึก!!!ลดลงโดย cyberpop114
ทดสอบแนวรับ1045.42ลงมาแนวรับพอดี อาจจะย่อมาอีกครั้ง ถ้าไม่หลุดก็จะออกข้าง สะสมไปก่อนและต้องรอเหตุการณ์ทั่วโลกจบลงโดย NutaponKo4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย สัปดาห์ที่บอบช้ำ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐในวงกว้าง นักลงทุนตื่นนำหุ้นออกเทขายฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงแรง ในรอบสัปดาห์ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดิ่งลง 4,011 จุด หรือดิ่งลง 17.3% ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกส่งท้ายสัปดาห์ หลังตลาดออกมาตรการสกัดการขายล่วงหน้า ดัชนีตลาดวันศุกร์ปิดที่ 1,127.24 จุด เพิ่มขึ้น 83.05 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 850 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap = 1,044 – 1,077 จุด) ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville โดยมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,164 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านถัดไป ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 843 จุด เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,164 – 1,223 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,077 – 1,010 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv114
SETราคามีการรีบาวน์ขึ้นมาตลอดทั้งสัปดาห์ในขณะที่ฝั่ง ดาวน์โจนส์ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องก่อนปิดสัปดาห์ไป สัปดาห์นี้ราคาเปิดมาทำ swing low ไว้ที่ 1010 จุด และ swing high อยู่ที่ 1133 จุด ก่อนจะปิดสัปดาห์ไว้ที่ 1127 จุด - ปัจจัยเชิงเทคนิค การรีบาวน์ยังคงเป็นการรีบาวน์ขึ้นมาในแนวโน้มขาลง ยังคงไม่มีสัญญาณกลับตัวให้เห็นในระยะยาว การรีบาวน์ขึ้นมา จะมีแนวต้านอยู่ที่ 1224 จุด ดังนั้น หากในสัปดาห์หน้า ราคาไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปเหนือแนวต้านนี้ได้ ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อตามแนวโน้มเดิม ส่วนภาพรวมในระยะสั้นมีโอกาสที่จะ sideway ในกรอบ 1150 - 1010 โดยประมาณ เป้าการลงระยะยาวยังคงอยู่ที่ 894 จุด โดยประมาณ อิงจากเป้า retracement ============================= - ปัจจัยอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดพันธบัตรผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรภาครัฐทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยหากนับตั้งแต่ช่วงการเข้าซื้อตั้งแต่ 13-19 มีนาคม 2563 มียอดรวมกว่า 100,000 ล้านบาท นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563 เพื่อ.... - ลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ - บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน - ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้เพื่อช่วยสนับสนุนมาตรการการคลังของรัฐบาลที่ได้ออกมาแล้วและที่กำลังจะออกมาเพิ่มเติม นอกจากนี้ทางแบงค์ชาติได้กำชับให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด ============================= ถึงแม้ว่า กนง.จะมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง แต่อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงถือว่าน้อยมาก ซึ่งตลาดกำลังคาดหวังว่า ในการประชุม กนง. นัดปกติวันที่ 25 มี.ค.นี้ กนง. จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อดูแลเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ตลาดคาดหวังว่า กนง. จะมีมาตรการดูแลสภาพคล่องในตลาดการเงินด้วย เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกจึงพากันเทขายสินทรัพย์ต่างๆ ออกมา เพื่อถือเงินสด ทำให้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัว ดังนั้นสิ่งที่แบงก์ชาติพอจะเข้ามาดูแลเรื่องนี้ได้ คือ การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม ที่สำคัญนอกจากการลดดอกเบี้ยแล้ว แบงก์ชาติ ควรฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบให้มากกว่านี้ ซึ่งนอกจากบอนด์รัฐบาลแล้ว ควรดูไปถึงหุ้นกู้เอกชนด้วย เพราะวันนี้คนพากันเทขาย สะท้อนว่าเขาไม่ต้องการถือสินทรัพย์การลงทุนใดๆ การจะต่ออายุหุ้นกู้ หรือออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อมาทดแทนจึงทำได้ยาก ถ้าปล่อยไว้ระบบการเงินจะมีปัญหาได้ ============================= ทางด้านของ FED ทีผ่านมา มีการประกาศการร่วมมือกับธนาคารกลางประเทศอื่น ได้แก่ แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น ยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศเพิ่มความถี่ในการทำธุรกรรม swap ระยะ 7 วัน เป็นรายวัน จากปกติเป็นรายสัปดาห์ โดยมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 มีนาคมจนถึงสิ้นเดือน เมษายนเป็นอย่างน้อย ขณะที่สัญญาอายุ 84 วันยังคงความถี่เป็นรายสัปดาห์เช่นเดิม โดย FED หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยรักษาสภาพคล่องให้เพียงพอต่อความต้องการสกุลเงินดอลลาร์ของ ภาคธุรกิจ และครัวเรือนทั้งในและต่างประเทศ ============================= ความเห็นส่วนตัว ถึงแม้จะมีการออกมาอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดกันอย่างมากในช่วงนี้ ก็ยังต้องระวังภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมดอยู่ดี จริงอยู่ที่เราอาจจะเห็นตลาดหุ้นมีการรีบาวน์ขึ้นมา แต่อย่าลืมว่า กลุ่มเงินที่อัดฉีดเข้ามามันอยู่แค่ในตลาดทุนเป็นส่วนใหญ่ กระแสเงินสดที่หมุนอยู่ในระบบเศรษฐกิจจริงๆนั้น ยังคงมีปัญหาอยู่ ตราบใดที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่แปรผันตามคือ การหยุดชะงักของกระแสเงินสด เนื่องจากผู้คนไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอยทำให้เงินไม่หมุนในระบบ สิ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบของภาคธุรกิจต่างๆ ดังนั้น การอัดฉีดสภาพคล่องอาจทำได้แค่พยุงตลาดทุน แต่ อาจไม่ได้ช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวในช่วงนี้ ลดลงโดย FinancialBrain7
SETต้องการขา2SETที่ลงมาทั้งหมดถือว่าเป็นแค่แรงกระแทกรอบที่1 การเด้งที่รุนแรงตอนนี้เป็นแค่เทคนิคอลรีบาวด์ การรอเพื่อดูdemand supplyของsetน่าจะเป็นตัวยืนยันที่ดีกว่าว่าSETปลอดภัยรึยัง ในเชิงfundamental อาจจะมีหุ้นบางตัวที่เข้าเขตราคาถูก แต่ก็ยังไม่ได้มีmargin of safetyมาก คือต้องโตได้ตามแผนเท่านั้น ห้ามผิดพลาด ถึงจะถูกจริง (เกณฑ์ของผมคืออยากให้growthมากกว่าPE เช่น growth 20% PE 15เท่า) ซึ่งสถานการณ์นี้ต่างจากตอน2008มากที่่หุ้นถูกสุดๆ และมีlong-term growthที่เห็นได้ชัด มีmargin of safetyมากสุดๆ ตอนนี้GDPไทยแทบไม่โต เผลอๆอาจมีติดลบ การที่SETลงมาแค่นี้ถือว่าปกติ การลงอีกรอบจะเป็นตัวทดสอบว่าคนมีมุมมองต่ออนาคตยังไง การลงขา2จะช่วยให้เรามองเห็นdemandของหุ้นรายตัวมากขึ้นด้วยนอกจากleaderที่มีตอนนี้อย่างSFLEX MONO SIMAT โดย MNXXX1
SET มีโอกาสลงไปถึง 400-500 + หุ้น New Lowลองลาก Fibo แล้วก็แอบสยอง เพราะดูจากตลาดทั่วโลกที่ถล่มลงมาแล้ว ผมว่า SET เองก็ไม่น่าจะเอาอยู่ ถ้า Fibo เป็นจริง เราก็น่าจะเตรียมตัวได้เห็นการย่อลงไปถึง 300 -500 กันได้เลยทีเดียว ซึ่งมีโอกาสสูงด้วย เพราะตรงนั้น เป็นกลุ่มแนว key fibo สำคัญๆ มากองกันเพียบ .. ก็เตรียมเงินสดกันไว้ให้ดีๆ นะครับ เพราะถ้ามันลงไปจริงๆ เราจะมีโอกาส once in a lifetime ในการ shopping ของถูกเลย ทีนี้ มาดูกันดีกว่า ว่า หุ้นตัวหลักๆ ตัวไหน ทำ new low ไปแล้ว ก็จะได้เลิกดูกันไป ครับ เพราะฟังมาจากลุงโหลกว่า ถ้าหุ้นไหน ทำ new low = ไร้อนาคต ก็ปล่อยวางกันไปเลย ( บางส่วนนะครับ เพราะขี้เกียจ scan ทั้งตลาด เหนื่อย ) PTTGC SPRC QHHR PERM IRCP ESSO ( ยังไม่หลุดแต่ใกล้ละ ) ERW ( ยังไม่หลุดแต่ใกล้ละ ) CCS CCP ( ใกล้หลุดแล้ว ) BEAUTY BAM PROUD AU SEAOIL MC PLANB TSR DDD CMC PORT IP TTCL ACAP YGG ลดลงโดย Real_inwCoinที่อัปเดต: 4412
มอง set 600 แบบแย่สุดๆ ซึ่งไม่อยากให้เกิดจริงๆจากไอเดีย เราใช้เส้น ema 1 เส้นเพื่อมาวิเคราะห์เทรนด์ จะพบว่า สถานการณ์รอบนี้เหมือน ปี 2008 สุดๆ เมื่อลงแล้วลึกจริงๆ และสัญญานซื้อที่ดีที่สุดคือกลับมายืนเส้น ema ซึ่งอาจจะอีกนานจริงๆลดลงโดย MasterTraderist5
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ไร้ทิศทาง ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (17/3) ปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางความไม่แน่ถึงผลกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง หลังผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงขายในช่วงท้ายตลาด เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สร้างความวิตกให้กับประชาชนในวงกว้าง และรัฐบาลขาดมาตรการเด็ดขาดในการความคุมการแพร่ระบาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,035.17 จุด ลดลง 10.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก แต่ระยะกลาง - ยาวเป็นลบ ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 969 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Inverted Hammer ในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,105 – 1,152 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,008 – 942 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv3
set indexถึงเวลา ช็อปปิ้ง กันแล้วครับ ของดี ราคา ถูก ลุย ๆๆ วัน เก็บของเตรียมเพิ่มขึ้นโดย TumTum40d894843f074ecc1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย โควิด-19 ทุบตลาดหุ้น การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐสร้างความวิตกกังวลให้กับนักลงทุนย่านตลาดหุ้นวอลล์สตรีทนำหุ้นออกเทขาย ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (17/3) ดิ่งลง 12 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างการซื้อขายตลาดติด Circuit Breaker นักลงทุนเมินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0.00 – 0.25% และการเพิ่มเม็ดเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ของเฟด ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดทรุดตัวลงปิดที่ 1,046.08 จุด ลดลง 82.83 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.8 หมื่น ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 969 จุด แรงซื้อที่กลับเข้ามาหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง Gap = 1,184 จุด – 1,249 จุด (Filling the gap) แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern ในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไน หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,116 – 1,164 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,008 – 942 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv114
SETSET ยังคงเปิดลบในเช้าวันนี้ ถึงแม้จะมีการสร้างเซอร์ไพร้ จาก FED ที่ออกมาประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0% จากระดับ 1.00-1.25% สู่ระดับ 0.00-0.25% ส่วนการความเห็นในการกดอัตราดอกเบี้ยให้ลงไปติดลบนั้น ยังไม่มีสัญญาณจาก FED ในตอนนี้ และทาง FED ได้ยกเลิกการจัดประชุมในวันที่ 17-18 มี.ค.ซึ่งเป็นกำหนดการเดิม หลังจากที่จัดการประชุมฉุกเฉินไปเมื่อวาน นอกจาก SET ทางฝั่ง Nikkei , Bench,ark ก็ปรับตัวร่วงลงในช่วงควอเตอร์แรกของชั่วโมงการซื้อขาย เช่นกัน กลายเป็นว่าตลาดจะยังไม่ตอบสนองต่อมาตรการที่ออกมาของ FED สักเท่าไหร่ เนื่องจากความกังวัลในเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสยังคงมีมากอยู่บวกกับภาพรวมเศรษฐกิจ ที่ยังมีแนวโน้มทีจะแย่ลงไปอีก นอกจากเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว FED ยังออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีการจัดการดังนี้ - ซื้อพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) 5 แสนล้านดอลลาร์ - ซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน 2 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะเริ่มทำการซื้อตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีการขยายระยะเวลาของเงินกู้เป็น 90 วัน เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องและความมั่นคงของระบบการเงินการธนาคาร และให้กระแสเงินสดกับเครดิตทั้งระดับครัวเรือนและภาคธุรกิจ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ FED ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจนกว่าจะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำให้การจ้างงานเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพของราคา ในส่วนของคธนาคารกลางอื่น ๆในอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารแห่งชาติสวิส ได้จัดวงเงินสำหรับธุรกรรม (Swap) เพื่อให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่สถาบันทางการเงินในประเทศได้ง่ายขึ้นท่ามกลางความตึงตัวในตลาดเงินกู้ พร้อมทั้ง ออกมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยลงขานรับการประกาศลดดอกเบี้ยของ FED และไฟเขียววงเงินกู้ระยะเวลา 3 เดือนพร้อมข้อเสนออัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำกว่าปกติอีกด้วย =============================== ในส่วนของ ปัจจัยเชิงเทคนิค โมเมนตัมของราคายังคงอยู่ในฝั่ง Bearish ภาพรวมระยะกลาง - ระยะยาวยังคงไม่มีสัญญาณกลับตัวใดๆให้เห็น โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงไปตามสัดส่วนของ Fib retracement ที่ 423.2 หรือที่ 894 จุดยังมีอยู่ กรณีรีบาวน์กลับขึ้นไปจะมีแนวต้านอยู่ที่ 1100 - 1200 จุด ตามลำดับ มุมมองส่วนตัวผมคาดว่า การปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมายังไม่สะท้อน ภาพรวมเศรษฐกิจออกมาทั้งหมด การปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา มันมีส่วนประกอบในเรื่องของ panic sell และ forced sell ซึ่งคงต้องคอยจับตาดูภาพรวมตลาดหลังจาก ผลประกอบการใน ไตรมาสแรก ออกมาอีกที ทั้งนี้ การอัดฉีดวงเงินอาจช่วงพยุงตลาดได้ในระยะสั้น แต่ถ้าผลกระทบที่เกิด สร้างความเสียหายให้กับภาคธุรกิจต่างๆมาก โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงต่อก็ยังมีอยู่ ลดลงโดย FinancialBrain1
SET DAYในกราฟระยะสั้น DAY วิเคราะห์จาก Price pattern ในกราฟ DAY มีPrice pattern H&S ตั้งแต่ช่วง ต้นปี ที่ผ่านมา และ ได้เบรคไหล่ขวา ในเดือน มีนาคมนี้ ซึ่ง ปกติ ในPrice pattern H&S จะลงแรง และเร็ว ไม่เกิน423.6% ซึ่งราคาในตอนนี้ ได้มาถึงเรียบร้อย ซึ่งในราคานี้ เป็นทางเลือกอีกทาง ที่จะเข้าออเดอได้ ในไม้แรก ถ้าเทรดในระยะสั้น อาศัยจังหวะในกราฟ set 1100-900 เล่นเด้งไปแถว 1300 ได้ในะระยะสั้นๆได้ โดย AunZzZ1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ฟื้นตัว นักลงทุนย่านวอลล์สตรีทกลับเข้าซื้อหุ้น หลังทรัมป์ออกมาตรการเข้มเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด 19 ดาวโจนส์ทะยานขึ้นเกือบ 2,000 จุด และแรงซื้อบางส่วนกลับมาเพื่อดักมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ช่วงวันที่ 16 – 17 นี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,128.91 จุด เพิ่มขึ้น 14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.19 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,200 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงหรือปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 969 จุด แรงซื้อที่กลับเข้ามาหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง Gap = 1,184 จุด – 1,249 จุด (Filling the gap) แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern ในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไน หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,164 – 1,200 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,068 – 1,008 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ลุ้นทดสอบแนวรับที่ 1,000 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กติด Circuit Breaker เป็นครั้งที่สองในรอบสัปดาห์ หลังตลาดทรุดตัวลง 10 เปอร์เซ็นต์ ภัยคุกคามจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน ต่างนำหุ้นออกเทขาย ส่งผลให้ดาวโจนส์ดิ่งลง 2,352 จุด หวั่นเศรษฐกิจสหรัฐทรุดตัวลงหนัก ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,114.91 จุด ลดลง 134.95 จุด มูลค่าการซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,000 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,095 จุด ดัชนีตลาดเปิดลงแบบมีช่องว่างขาลง (Gap = 1,184 จุด – 1,249 จุด) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram เป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง เป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,000 จุด มีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) อยู่ที่ 1,116 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 942 จุด เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,000 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,159 – 1,204 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,070 – 1,045 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv1
SETเมื่อคืนมีการประกาศจาก WHO ประกาศให้ โควิด-19 เป็นการระบาดทั่วโลก (Global Pandemic) และมีการประกาศจากทรัมป์ ในเรื่องการสั่งระงับการเดินทางจากประเทศยุโรป ยกเว้นอังกฤษ ต้านโควิด-19 ในช่วง 30 วันข้างหน้า และจะใช้มาตรการเชิงรุกในทุกๆด้าน เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งรุนแรงในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดลบไป -1464.9 จุด โดยประมาณ ส่งผลให้เช้านี้ SET เปิดตลาดมาร่วงไปมากกว่า -100 จุด โดยประมาณ และมีโอกาสที่จะปรับตัวลงไปต่อเนื่องได้อีกครั้ง จากภาพรวมเศรษฐกิจทั้งโลกตอนนี้เป็นไปได้ที่จะบอกได้ว่าเราเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ไปแล้ว ในตอนนี้ถ้าจะถามหาว่าราคาจะลงไปถึงในก็คงตอบได้ยากในช่วงวิกฤตแบบนี้ คำตอบที่ง่ายที่สุดคือ มันจะหยุดลงก็ต่อเมื่อ มีการควบคุม และ คลี่คลาย วิกฤติที่กำลังเกิดตอนนี้ได้แล้ว ผลกระทบตอนนี้มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของการมีเชื้อไวรัสระบาด อย่างที่รู้กันว่า ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งโลกนั้นกำลังเดินเข้าสู่ช่วงภาวะถดถอย แล้วก็แย่ลงเรื่อยๆตั้งแต่ช่วงสงครามการค้าฯ จนมามีเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เข้ามาเป็นตัวเร่งการเข้าสู่ช่วงภาวะถดถอย ผลกระทบกระจายไปในทุกภาคส่วนธุรกิจ ดังนั้นแปลว่า ต่อให้มีการจัดการเรื่องการแพร่กระจายของไวรัสได้แล้ว เศรษฐกิจก็จะยังไม่ฟื้นทันที เพราะฉะนั้น บริหารความเสี่ยงในการลงทุนให้ดี ในปัจจัยเชิงเทคนิค การร่วงอย่างรุนแรงในครั้งนี้ หากวัดตามสัดส่วนของ Fib retracement แล้วจะเห็นว่าราคาปรับตัวลงไปในลักษณะของ Strong Flat (extension) ซึ่งล่าสุดปรับตัวลงไปมากกว่า 261.8 fib ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะปรับตัวลงไปต่อที่ระดับ 423.6 fib หรือที่ประมาณ 894.47 จุด ซึ่งขณะนี้ set ปรับตัวอยู่ที่ 1143 โดยประมาณ ในขณะที่ยังไม่จบไตรมาสแรก ...ลดลงโดย FinancialBrain2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ตื่นการระบาดเชื้อโควิด 19 นักลงทุนตื่นการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 หลัง WHO ยกระดับการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 เป็นการแพร่ระบาดระดับโลก นักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขาย ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กวันพุธ (11/2) ทรุดตัวลง ดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 1,400 จุด และเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (Bear Market) เนื่องจากดาวโจนส์ปรับลดลงจากจุดสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,249.89 จุด ลดลง 21.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับจิตวิทยาที่ 1,200 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Gap = 1,272 – 1,364 จุด) เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) และเกิดแท่งเทียนรูป Falling Three Methods ทั้งสองรูปแบบเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อลงต่อหรือเพื่อปรับฐาน เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) อยู่ที่ 1,292 จุด และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,200 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,262 – 1,287 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,238 – 1,220 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง คำแนะนำ - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น - ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว - ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)โดย prajobv5
SET ถ้าหลุด Triple Bottoms 1200 ก็เจอกันที่ 950เวลาตลาดมันลง มันลงได้แบบโหดมาก เมื่อก่อน พอเราดูกราฟไม่เป็น เราก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอกว่าตอนเกิดวิกฤต มันลงโหดแค่ไหน รอบนี้ สำหรับ SET ของชาวไทย ดูสภาพแล้ว ภาพใหญ่ยังไม่มีแนวโน้มหยุดลงเลยสักนิดครับ ซึ่งตอนนี้ เรามาแหย่ๆ ทดสอบแนวรับที่ค่อนข้างสำคัญ คือ แนวรับ Triple Bottoms ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2014 และ 2016 แถวๆ ประมาณ 1200 รวมถึงยังเป็นเป้า 1.618 fib ถ้าลาก fib projection มาจากยอดด้วย.. แต่ดูจากสภาพของแท่งเทียน และความแรงของการลงแล้ว ผมคิดว่า... แนวรับนี้ น่าจะ "เอาไม่อยู่" โดยถ้าหลุด 1200 เราก็จะไปวิ่งหาเป้า 2.618 fib ที่แถวๆ 950-900 กันได้เลยทีเดียว ใครยังถัวหุ้น หรือทยอยเก็บหุ้น ก็ต้องระวัง เพราะถ้าตลาดมันยังลงไม่สุด ไม่ว่าหุ้นพื้นฐานจะดีแค่ไหน มันก็ลงตามตลาดไปอยู่ดีล่ะจ้า... ลดลงโดย Real_inwCoin335
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย แนวโน้มปรับฐาน ตลาดหุ้นนิวยอร์กเริ่มกลับมาฟื้นตัวในแดนบวก จากแรงซื้อเก็งกำไรและการคาดหวังว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งเพื่อรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์ หลังจากทรุดตัวลงในวันจันทร์กว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นปิดที่ 1,271.25 จุด ลดลง 15.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.4 หมื่นล้านบาท จากแรงซื้อเก็งกำไรที่กลับเข้ามา สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง ต่างชาติยังเดินหน้าไถ่ถอนเงินลงทุนจากตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Gap = 1,272 – 1,364 จุด) หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,249 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างเพื่อลงต่อหรือเพื่อปรับฐาน เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) อยู่ที่ 1,292 จุด และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,200 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,290 – 1,299 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,258 – 1,249 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Black Monday วิกฤติโคโรนาไวรัสและสงครามราคาน้ำมัน สร้างความแตกตื่นให้กับนักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขาย ตลาดหุ้นนิวยอร์กทรุดตัวลงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดนับจากปี 2551 ราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลงเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,255.94 จุด ลดลง 105.63 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,200 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ดัชนีตลาดระยะสั้นยังมีแนวโน้มผันผวนในทิศทางลง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดดิ่งลงแบบมีช่องว่างขาลง (Gap = 1,272 – 1,364 จุด) สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างเพื่อลงต่อหรือเพื่อปรับฐาน เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) อยู่ที่ 1,292 จุด และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้ 38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด 50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด 61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,200 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,272 – 1,289 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,220 – 1,200 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv1
SET 09/03/2020EPS SETที่ระดับ80-85บาท กับอนาคตที่GDPน่าจะโต1%ไปอีกนาน ผมคิดไม่ออกเลยว่าอะไรจะมาเป็นตัวผลักดันกำไรให้set ราคาน้ำมันฉุดกำไรกลุ่มพลังงาน tescoฉุดกำไรcpall ที่ผ่านมาsetถูกtradeที่PEระดับ15เท่าด้วยเหตุผลว่าดอกเบี้ยต่ำ และสภาพคล่องล้นโลก แต่ผมสงสัยว่าทั้งหมดนี้มันเป็นเหตุเป็นผลกันเหรอเมื่อต้องเทียบผลตอบเทนที่ไม่แน่นอนกับPEระดับนั้น ลึกๆแล้วผมคิดว่าsetควรกลับไปtradeที่PE8-10เท่าน่าจะเหมาะสมกว่า แต่การลงระดับนั้นก็น่าจะต้องใช้เวลาหลายเดือน ระหว่างนั้นเงินสดคือตัวเลือกที่ดีที่สุดลดลงโดย MNXXX1
กลับไปเกิดใหม่เมื่อเส้น 1343 รับไม่ไหว บวกกับเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบร่วงแรงมาก ทำให้วันนึ้นเปิดแทบฃ้อค -92 จุด หากแนว 1270 เป็นแนวรับเก่าก่อนเมื่อหลายปี เอาไม่อยู่ มองว่าไปเริ่มต้นต่ำกว่า 1221 ลดลงโดย NutaponKo1