อัพเดท ดัชนีไทย (SET index )#set #index #thailand #tradingviewthailand
ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นไทยเลย ยกเว้นพวกที่ลงทุนระยะยาว กลุ่มปันผลกับตัวที่ราคาลงมาลึกๆก็ทยอยเก็บทีละนิด
พอมีเวลาก็จะมาดูภาพรวมอีกที
หลังจากไม่ได้ดูมาดูอีกที ดัชนีบ้านเราก็ปกติ คือลงตามเหตุและปัจจัยภายในภายนอก(น่าจะภายนอกซะมากกว่า)
คำถามว่าจะลงอีกแค่ไหน
1. แย่สุดๆ ก็ ต่ำกว่า 700 (หากเกิดเหตุเช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้ตามที่คิดทั่วโลก)
2. มองแบบกลางๆ ลงไป วิ่งในกรอบ แถว 1000 - 1200
หากลงไปพักตัวแถว 1078 กำลังดีและทยอยขึ้นกลับมาแบบแข็งแรงก็น่าจะเหมาะ
ด้วยเหตุนี้ผมจึงปิดชาร์ตไทย ไปหาหลักทรัพย์ตัวอื่นๆที่ทำเงินได้เร็วกว่าดีกว่า
และติดตามดูดัชนีทั่วโลกและข่าวสำคัญเกี่ยวกับวัคซีน ก็พอ
ที่สำคัญคือ หากมีวัคซีนสำเร็จแล้วก็ตาม ยังไงบริษัทไทยต่างๆก็คง ไม่ดีขึ้นทันตาเห็นแน่นอน ดังนั้นการเทรดสั้นๆ จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาดู แต่หากคนลงทุนระยะยาว ก็คงเลือกกลุ่ม ดูชาร์ต ตั้งเตือนราคาไว้ ก็ ทยอยแบ่งไม้เข้าไปแทน
*** ลองใช้การตั้งเตือนใน trading view เป็นฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์มากจริงๆ
Set
SET และขาลงอันเนิ่นนาน และขาขึ้นอันแสนสั้น ของเขา..ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่จัดได้ว่า รันทดที่สุด ของตลาดหุ้นไทย
เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ระบบ Trend Following ใดๆ ไม่ว่าจะเป็น MACD > 0 ( Action Zone )
หรือด้วยระบบ ATR
คุณก็จะเจอการ ขาดทุนซ้ำซาก อยู่ร่ำไป
โดยจากกราฟ จะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2019 ที่ ATR เปลี่ยนเป็นสีแดง
และหลังจากนั้น SET ก็ทำท่า Sideway Down ลงมาตลอด
และไปลงหนักที่สุดก็ตอนช่วง Covid ถล่ม ตอนมีนา 2020
ซึ่งตอนช่วง มีนา ที่ SET ถล่ม ก็มีคนบางคน สามารถรับมีดมาได้ ช่วงแถวๆ 900-1000 จุด
โดยคนเหล่านี้ ณ เวลานี้ ก็ยังมีกำไรหุ้นกันพอสมควร .. แต่ก็ลดลงไปเยอะ ถ้าเทียบกับตอนช่วง Peak 1400 จุดตอน มิถุนายน 2020
...
ถ้าจำกันได้ ช่วงเมษา-พฤษภา 2020
เราจะเห็นข่าว คนอวดกำไรหุ้นรายวัน รวมถึง คนแห่กันมาเปิดบัญชีหุ้นกันอย่างล้นหนาฝาคั่ง
ซึ่งแน่นอนว่า.. มือใหม่เหล่านั้น...ที่เข้ามาแบบงงๆ .. ก็น่าจะติดหุ้น(ดอย) กันแทบทั้งหมด
โดยเท่าที่ผมไล่ๆ ดู พบว่า ถ้าเขาเหล่านั้น ไปซื้อที่ยอด ก็น่าจะขาดทุนกันระดับ -20% ถึง -30% แล้วแต่หุ้นแต่ละตัว
ถ้าไปดอยกลุ่มแบงค์ก็หนักหน่อย เพราะลากไปล่อเม่าซะยอด แล้วก็ทุบยาว 555
..ประเด็นที่ผมอยากจะบอก ก็คือว่า
1) ถ้าเทรดแบบไม่มีระบบ ยังไงก็เจ๊ง แต่ยังไงมือใหม่ไม่เข้าใจอยู่แล้วว่า ระบบคืออะไร ดังนั้น ... มือใหม่ = ยังไงก็เจ๊ง 100%
- เพราะอย่างน้อย การมีระบบ มันก็จะช่วยทำให้ เรารู้ว่า ตอนไหน ควรซื้อ ตอนไหน ควรนั่งเฉยๆ
- อย่างเคสระบบ ATR ที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ถ้าเรานั่งเฉยๆ ไม่ซน ตั้งแต่ช่วง ATR แดง ตอน 2 ส.ค. 19 เราก็จะไม่ขาดทุนเลย ตอนที่ราคาถล่มช่วง Covid
- และถึงเราไปเข้าช่วงที่ระบบเขียว ในเดือนเมษา 2020 แล้วค่อยไปออกตอนระบบแดง ตอน ปลาย มิ.ย. 2020 ตอนนี้ เราก็นั่งกอดเงินสดสบายๆ ไม่ต้องเครียดใดๆ เลย
2) การมีระบบ ทำให้เรารู้ว่า ตลาดไหน ควรไปเล่น ตลาดไหน ควรทิ้งให้ห่าง
- ถ้าเราใช้ระบบ จับในหลายๆ ตลาด เราก็จะเห็นว่า ตลาดที่เล่นได้ ก็คือ หุ้นอเมริกา ทอง และ คริปโต/Bitcoin
- โดย แค่ Bitcoin สำหรับปีนี้ เราสามารถเทรดได้ 3 รอบ และได้กำไรทุกรอบ รวมๆ แล้วประมาณ 30-40%
- และเราสามารถ เลิกดู SET ไปก่อนได้ จนกว่า SET จะกลับมาเขียวอีกครั้ง
3) การมีระบบ ทำให้เรารู้ว่า เราตกรถแล้วหรือป่าว และควรนั่งเฉยๆ
- สำหรับหุ้นไทย ถ้าไปส่องดูหุ้นรายตัว ก็จะเห็นว่า มีหลายๆ ตัวที่ระบบเขียวมาน้าานนน มากแล้ว และตอนนี้ก็ยังเขียวอยู่ ( เช่น RS )
- ทำให้ พอเราเห็นว่า เออ กูตกรถแล้วนี่หว่า.. ก็จะทำให้เราไม่คันมือไปเข้าหุ้น ตัวที่วิ่งไปไกลแล้วนั่นเอง
- การไปเข้าหุ้นตัวที่วิ่งไปไกลแล้ว ก็มีแต่ความเสี่ยงเต็มๆ เพราะเราไม่รู้ว่า ตลาดจะถล่มลงมาทับเมื่อไหร่
- โดยเฉพาะการที่ SET ในภาพรวม เป็นขาลง .. การจะเจอหุ้นดีที่เป็นขาขึ้น ก็เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร
4) การมีระบบ ทำให้เราสามารถ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปพึ่งคนอื่น
- สิ่งที่มือใหม่ แทบจะ 100% เป็น ก็คือว่า.. หาหุ้นเองไม่เป็น ต้องคอยไปถามกูรูคนโน้นคนนี่อยู่เสมอ
- เข้าตัวนี้ดีไหมครับ ออกตัวนี้ได้หรือยังคะ หุ้นตัวนี้จะหยุดลงเมื่อไหร่คะ หุ้นตัวนี้จะขึ้นไปถึงไหนครับ คัทหุ้นตัวนี้ดีไหมคะ ฯลฯ
- ซึ่งคำถามข้างบน มันก็เกิดจากการที่มือใหม่ คิดว่า ตลาดมันง่าย แค่ซื้อมั่วๆ ตามกูรู แล้วถือไว้โง่ๆ สักพักฉันก็จะรวยง่ายๆ เหมือนซื้อหวย
- ถ้าช่วงตลาดดีๆ ไอ้การซื้อโง่ๆ มั่วๆ เนี่ย ยังไงก็มีกำไรจริงๆ ครับ แต่ช่วงตลาดไม่ดี หรือเข้าสู่ช่วง sideway down เนี่ย บอกเลย การซื้อมั่ว = หายนะ
แต่ถึงมีระบบแล้ว ก็ใช่ว่าจะเทรดแล้วรวยได้เลย เพราะสุดท้าย คุณก็ต้องไปฝึกวินัย ฝึกจิตของตัวเอง ในสนามรบจริงๆ อีกอยู่ดี
แต่อย่างน้อย เวลาเราลงสนาม เราก็ยังมีความรู้ มีอาวุธ ติดไม้ติดมือไปบ้าง... เพราะถ้าไม่มีระบบอะไรเลย ก็เหมือนการแก้ผ้าวิ่งเข้าสมรภูมิ.. ยังไงก็ตายกับตายครับ
ที่พิมพ์มาทั้งหมด ไม่ใช่แค่เรื่องหุ้นอย่างเดียวนะครับ คริปโต หรือ ทอง หรือตลาดอื่นๆ ก็ใช้ได้
เพราะผมบอกเลยว่า.. ตั้งแต่ผมเฝ้าตลาดมาตลอดหลายปีมานี่
มือใหม่ เขาจะทำสิ่งเดียวกันหมดเสมอคือ..
-----------------------------
ซื้อที่ยอด .... แล้วก็ร่วงทันที เลยรีบคัท.. พอคัท แล้วก็เด้งใส่หน้า... หลังจากนั้นก็เลยบอกกับตัวเองว่า คราวหน้าจะไม่ขายแล้ว..
แล้วก็ไปซื้อที่ยอดใหม่อีกรอบ .. คราวนี้ ติดดอยแต่ไม่ขาย... ราคาลงต่อ ก็ไม่ขาย..ราคาลงต่อไปอีก..ก็เริ่มเครียด
ไล่ถามกูรูว่าเมื่อไหร่จะกลับตัว...กูรูบอก ถือต่อไปก่อน เดี๋ยวก็เด้ง...แล้วก็ถือต่อไม่ขาย...
พอลงหนัก ไป -70% ถึง -80% ถึงค่อยตัดสินใจขาย ... พอขาย มันก็เด้งใส่หน้าอีกรอบ
..แล้วก็ออกจากตลาดไปพร้อมกับคำด่าว่า ตลาดแม่งเหี้ย เจ้ามือแม่งเลว กูรูแม่งกาก
..แต่ไม่เคยโทษตัวเองเลยว่า ทำไม มึงถึงไปซื้อหุ้น (หรือ Bitcoin) โดยไม่มีแผนรับมือตอนมันลงเลยแม้แต่นิดเดียว 555
-----------------------------
ขาลงใน time frame 2 ชั่วโมงเพื่อไปทดสอบ แนวรับในภาพใหญ่แนวโน้มตลาดยังคงเป็นขาลงใน time frame ย่อยๆ อย่าง 2 ชั่วโมง เพื่อไปทดสอบแนวรับในภาพใหญ่
ตามที่ได้เคยโพสต์ไว้
ซึ่งในช่วงนี้แนะนำให้ ถือเงินสด เพื่อรอจังหวะซื้อตามแนวรับภาพใหญ่
โดยหากตลาดจะกลับตัวเป็นขาขึ้น อย่างน้อยควรทะลุเส้นกดสีชมพู แถวๆ ดัชนี 1330 และไปทดสอบแถวๆ 1350 ให้ได้
หากยังทำไม่ได้ยังมองว่าตลาดมีแนวโน้มลงต่อและยังไม่น่าลงทุนครับ
DOW JONES ดิ่ง 1861 จุด SET จะแค่ถอย หรือ ถ่อยเลย?ขณะที่แชร์ Idea นี้ บน TradingView ตลาดเมกาปิดไปแล้ว DJI ล่วงไป 6.91% หรือ -1861จุด ใครที่หลับไปตอน -900 คงหนาวแล้ว ตื่นมาเจอ -1861 หนาวกว่าแน่นอน โดยเฉพาะคนที่ ซื้อหุ้นมาเต็ม หรือ ห่อ Long TFEX มา
ทีนี้มาดูกันครับ ว่า ลบระดับ 6.91% จะฉุดให้ปู่ SET ถอยลงไปได้ถึงไหน ถ้าคิดแบบคณิตศาสตร์ง่ายๆ เลย SET ปิดวันพฤหัสที่ 1396.77 ถ้าลบเท่ากบ DJI คือ 6.91% ก็จะลบได้ถึง 96 จุด หรือกลมๆ กลับไป 1300 จุด เห้ย!!!! วันเดียวจะลบ 100 จุดเลยเหรอ?
ในด้านเทคนิคอล โค้ชลองตี Fibonacci ไว้ 2 ชุด ชุดใหญ่คือ ของรอบใหญ่ใน TF Day และชุดกลาง คือ รอบ ใน TF 60 จาก 1200-1450 โดยประมาณ
- ในชุดกลาง วันพฤหัสถอยมาทำความเคารพที่แนว 23.6%(1392) แล้วเด้งไปปิด 1396.77 พร้อมด้วย MACD อ้าปากลงใน TF60
- แนวถัดไป คือแนว 38.2% ของ Fibo คู่กลาง สีน้ำเงิน ที่ 1355 แน่นอนโอกาสเปิด Gap ข้ามไปในวันที่ DJI -1861 ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่หากโดดข้ามแนวนี้ภาพการขึ้นระยะกลาง-สั้นจะไม่ค่อยงามนัก แต่ยังไม่แย่ซะทีเดียวนะ
- แนว 61.8% หรือแถว 1296 ตรงนี้สิ ที่จะเป็นตัวบอกว่า ภาพระยะกลาง-สั้น จะไม่ไหว แต่ ภาพรวมยังมีแนวรับ 1273 (Fibo 38.2%) ของชุดใหญ่ รอบ TF Day อยู่
- 1273 หลุดเมื่อไหร่ อวสาน V Shape แต่เห็นมั้ย นี่แค่ถอยนะ ย้ำว่า แค่ถอย
สรุป
การตะบี้ตะบันลาก แบบไม่พักเลย ยิ่งลากไปไกลเท่าไหร่ การพัก ก็ลึกมากเท่านั้น 1273 เป็นแนว 38.2% ของชุดใหญ่ แม้ว่า ถ้ายืนแถวนั้นได้ ภาพรวมจะไม่เสียทรง แต่ลองถามใจคุณ การดีด V-Shape ทั้งโลกของตลาดโควิด-19 และ Dow Jones ตัดริบบิ้นการพักตัวด้วยการน๊อคกลางอากาศ -1861 จุดแบบนี้ ว่าก็ว่าเถอะ แค่ถอย พอร์ทของบางคนก็ถ่อยเสียแล้ว
ลองดูต่อไปครับ ถ้าถอยมารับต้องย่ำ ด้วย Volume น้อยลง แต่ถ้าถอยมาพร้อมเร่ง Volume มา อันนี้ ถอยมาทับชัวร์
เทรดด้วยสติ และความเสี่ยง คือเรื่องเดียวที่เราคุมได้ กำไรมาก-น้อยไม่สำคัญ ที่สำคัญ คือการทำให้เงินในพอร์ทยังเหลือ เพื่อให้เราอยู่ในตลาดได้นานพอ
SET : ไม่ทำ new low ก็เป็นแค่การย่อ เพื่อไปต่อ มือใหม่ ที่เพิ่งเข้าตลาดมาช่วงตลาดดีๆ
จะไม่เคยเจอภาวะการ correction ของตลาดที่รุนแรงมาก่อน
ซึ่งอย่าลืมว่า ตอนเราขึ้น เราขึ้นมาแบบ ร้อนแรงเหลือเกิน
บางตัวขึ้นมาเป็น 100%+ ในเวลาแค่ 1-2 สัปดาห์
ก็ไม่น่าแปลกใจ ที่รอบนี้ เราอาจจะได้เห็นการ correction หนักกันบ้าง
ส่วนตัว ผมมองแล้ว การย่อรอบนี้ ก็เป็นสิ่งที่หลายๆ ที่ดูกราฟเป็น รอกันอยู่
เพราะการจะสร้างฐานไปต่อได้นั้น ก็ต้องมีการย่อและยก low เพื่อเตรียมทำกรอบขาขึ้นต่อไปนั่นเอง
ส่วนจะย่อลึกถึงไหนนั้น ก็ไม่มีใครรู้
แต่ที่แน่ๆ สำหรับตลาดไทย ถ้าลูกศิทย์ลุงโฉลกเยอะ
เราก็น่าจะได้เห็นการย่อลงมาทดสอบแถวๆ Action Zone แล้วก็เด้ง
เพราะเราต่างเรียนมาตำราเดียวกัน 555
แต่ถ้าไม่เด้ง ก็โน่นเลย ไปรอแถวๆ 0.786-0.887 fib
แถวๆ 1000 - 1100 จุดอีกรอบ
แต่ถ้าจะลงมาถึงนี่ ก็ต้องถามพี่กองว่า จะยอมให้ลงหรือป่าว
ส่วนเม่าน่ะเหรอ เปิดตลาดพรุ่งนี้คงตกใจขายกันไม่ยั้งแน่นอน 5555
SET : RSI มากกว่า 46.8 เตรียมเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ กินเวลา 2-4 ปีจากรูป ถ้าเราลองลากเส้นแนวนอน ตามแนวรับของ RSI ที่ SET เคยย่อลงมาแล้วไม่หลุด
จะเห็นได้ว่า
ค่า RSI ที่เป็นแนวรับ/แนวต้านใหญ่ ของ SET ระดับ TF Weekly ก็คือประมาร 46.8
ซึ่ง จากที่ได้ลองไล่ดูข้อมูลย้อนหลัง พบว่า
เมื่อ RSI ข้ามจากโซนล่าง ( น้อยกว่า 46 ) ข้ามเส้น 46.8 ขึ้นมา = หลังจากนั้นตลาดจะเป็นภาวะกระทิง ( Bullish / ขาขึ้น )
เมื่อ RSI ข้ามจากโซนบน ( มากกว่า 47 ) ข้ามเส้น 46.8 ลงมา = หลังจากนั้นตลาดจะเป็นภาวะหมี ( Bearish / ขาลง )
ซึ่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าเราสังเกตุ RSI จะเห็นได้ว่า
ตอนนี้ มันวิ่งข้ามเส้น 46.8 ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และ confirm อีกชั้น ด้วย เส้น MACD ตัดกันเมื่อหลายอาทิตย์ที่ผ่านมา
ซึ่ง... ถ้าเราลองมองย้อนหลังไป เราจะพบความสัมพันธ์ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1) 15 ก.พ. 16 - 21 พ.ค. 18 ( ประมาณ 2 ปี )
--------------------
- RSI ได้ทะลุแนวต้าน 46.8 ขึ้นไป และวิ่งเป็นขาขึ้นยาว ตลอด 2 ปี
- ถ้าสังเกตุ MACD ก่อนหน้านั้นมีการตัดกันที่โซนล่างด้วย ก็เป็นการ confirm uptrend
- หลังจาก RSI Overbought แรก ตลาดก็มีการ Correction ลงมาแรง ถ้าดูจากกราฟแล้ว ผมว่าก็แรงกันจนเม่าสติแตกแน่ๆ 555 เพราะลงจาก 1550 ไป 1350 ในเวลา 7 สัปดาห์ ( สองเดือน )
- แต่ก็น่าจะเป็นจุดซื้อเพิ่มที่ดี สำหรับคนที่ยังไม่ได้ขึ้นรถ ( แต่ตอนหน้างาน ทุบแรง+นาน แบบนี้ ต้องมีคนสติแตกกันอย่างแน่นอนครับ )
- หลังจากนั้นตลาดก็ค่อยๆ ขึ้นไปต่อเรื่อยๆ แต่ก็มีช่วง sideway นิ่งๆ ไม่ไปไหน ให้คนถอดใจ กันอยู่เกือบปี ( ม.ค. 17-ส.ค. 17 )
- แล้วก็พุ่งพรวดเดียวไป peak ตอน ม.ค. 18 -- ก็สอดคล้องกับราคา BTC ที่พุ่งกระฉูดไปเหมือนกัน
- หลังจากนั้น ราคาก็เจอ bearish divergence weekly แล้วก็ร่วงลงมาหนัก ยาว ตั้งแต่ 2018 ถึงปัจจุบันนี่แหละ
- สิ่งที่เราเรียนรู้ จากการลองไล่พฤติกรรมราคา ในภาพใหญ่ คือ บางช่วง ตลาดมันจะเล่นงานเราด้วยการ correction อย่างรุนแรง แต่เป็นการ correction เพื่อไปต่อ
- ซึ่งเราก็ต้องมีแนวทางการหนีที่ชัดเจน เก็บเอาไว้ดูประกอบด้วย เช่น ถ้าปิด week ต่ำกว่า low ก่อนหน้า ไกลๆ ก็หนี หรือ short TFEX hedge พอร์ตเอาไว้ก่อน เป็นต้น
Pattern นี้ ในช่วงเวลาอื่นๆ
- 3 มี.ค. 14- 11 พ.ค. 15 = ปีกว่าๆ ( แถวนี้ ราคา BTC ก็ sideway )
- 21 พ.ย. 11 - 10 มิ.ย. 13 = เกือบสองปี ( แถวนี้ ราคา BTC ก็วิ่งควาย )
- 16 เม.ย. 09 - 12 ก.ย. 11 = สองปีกว่า
* แถวนี้ กราฟวิ่งขึ้นแบบแทบจะไม่พักอยู่ 2 ปี เปิดตำนานเซียนหุ้นในเมืองไทย
- 4 พ.ค. 04 - 16 มิ.ย. 08 = choppy market 4 ปี
* ช่วงนี้ตลาดวิ่งขึ้นวิ่งลงในกรอบ ไม่ได้พุ่งไปไหนไกลอยู่เป็นหลายปี
* ผมจำได้ว่า ช่วงนั้น หนังสือพ่อรวยสอนลูกฮิตมาก เพราะตลาดเมกาดี คน flip อสังหากันรัวๆ จนเกิดฟองสบู่ sub prime แล้วแตกในปี 2008
- 1998-2004 = ต้มยำกุ้ง Recovery 6 ปี
* ช่วงนี้ตลาดยังซึมๆ เหงาๆ เพราะคนหมดตัวกันไปเยอะ หลังจากวิกฤต ต้มยำกุ้ง
* ช่วงนี้ ใครมีเงิน แล้วช้อนหุ้นราคาถูก ตอนมันทำกรอบสะสมแถวโซน 200-300 แล้วไม่ขาย ตอนนี้ก็รวยกันไปถ้วนหน้า
สรุป
-----
* บทความนี้ก็เป็นข้อสังเกตุ ย้อนหลัง ของพฤติกรรมราคาของตลาดหุ้นไทย กับ RSI
* เอาจริงๆ มันก็มีบางช่วงที่ตรง ใช้ได้ แต่บางช่วงที่เราเจอตลาด choppy กันอยู่หลายปี กลยุทธนี้ก็ไม่เวิร์คเหมือนกัน
* สำหรับหุ้น ผมว่า บางที เราก็ต้องเทรดกันแบบมองภาพยาว และเล่นกันไปอย่างใจเย็นๆ
* อย่าง ถ้าเราดู TF monthly ประกอบ ก็จะเห็นว่า รอบนี้คือ opportunity of the lifetime จริงๆ อย่างลุงโฉลกแกเคยพูดไว้ในคลิป เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย RSI monthly เราลงไปหลุด 30 แค่ 3 ครั้งเท่านั้น
* ถ้าเราตัดสินใจเข้าหุ้น ในรอบนี้ ผมคิดว่า ไม้ที่เข้ารอบนี้ ต้องอย่าออกเด็ดขาด และถือกันไปยาวๆ
* ส่วนเงินสด บางส่วน ก็เก็บเอาไว้ข้างสนาม ไว้รอจังหวะ correction แรงๆ แล้วค่อยเข้าเพิ่ม เป็นต้น
* ก็ลองสังเกตุดูนะครับ เราก็ไม่รู้อนาคตหรอกว่ามันจะไปทางไหน แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ชัวร์ที่สุดคือ
* เม่า จะเข้าที่ยอดดอย ที่ RSI peak ใน TF ใหญ่ แทบจะเสมอครับ
* เพราะเป็นเม่า ตอนที่ต้องเข้า ก็ลังเลๆ แล้วไม่ยอมถือทนรวย ไปเข้าๆ ออกๆ
* สุดท้าย พอไปเข้าไม้สุดท้าย แบบมั่นใจ จัดหนักจัดเต็ม ตอน RSI peak ก็โดนตลาดรับน้องอย่างไม่ต้องสงสัยครับ ( ผมรู้ เพราะผมก็เคยทำแบบนั้นมาก่อน 555 )
* ถ้าไม่อยากเป็นเม่า ก็วางแผนเทรดไม้ระยะยาว เอาไว้บ้างก็ดีนะครับ
SET : RSI Monthly Reset แล้ว พร้อมทะยานไปสู่ 3300 จุด!จากรูปที่ผมได้ตั้งข้อสังเกตุมา พบว่า
เมื่อไหร่ที่ SET ย่อแรง จน RSI ระดับ TF Month Reset แล้วเนี่ย
หลังจากนั้น มันมักจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ครับ
ในช่วง 4-5 วันนี้ เราก็เริ่มที่จะเห็นเงินต่างชาติไหลกลับเข้ามาช้อนหุ้นหลายๆ ตัวของไทยแล้วเหมือนกัน
ผมว่า.. หลายๆ คนก็น่าจะเห็น fact ข้อนี้ ว่า ตลาดหุ้นไทยเรา มัน bottom ไปแล้ว
และหุ้นไทยหลายๆ ตัว พอไปดูผลกำไรย้อนหลัง ก็ไม่ได้ขาดทุนอะไรขี้ริ้วขี้เหร่เลย แต่ว่า ราคาเสือกลง!!
ก็ไม่แน่นะ รอบนี้ อาจจะเป็นขาขึ้นใหญ่อย่างลุงโฉลกว่าไว้ก็ได้ครับ
มาดูแต่ละช่วงกัน
-------------
1998-2004
-------------
RSI จาก ล่างสุด ( OS ) ไปบนสุด ( OB )
ใช้เวลา 1949 วัน ( 5.3 ปี )
SET ขึ้นไป 293%
--------------
2008-2013
--------------
RSI จาก ล่างสุด ( OS ) ไปบนสุด ( OB )
ใช้เวลา 1579 วัน ( 4.3 ปี )
SET ขึ้นไป 336%
* จริงๆ ตรงจุดนี้ มีการทำ เวฟ 5 อีกรอบด้วย ก่อนร่วงยาว
--------------
2020-2024/2025?
--------------
RSI จาก ล่างสุด ( OS ) ไปบนสุด ( OB )
ใช้เวลา 4-5 ปี? ก็น่าจะ top ช่วง 2024-2025
โดย SET อาจจะขึ้นไปแถวๆ 3300 จุด
( 1.618 + 4.236 fib level )
ขึ้นไปประมาณ 250%
------
สรุป
------
จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ เรามีความ "เป็นไปได้สูง" มากๆ ครับว่า
เงินจากนอก จะไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นไทยเรา กันอย่างจริงๆ จังๆ เป็นเวลาหลายปี
อย่าลืมว่า รอบนี้ QE กันล้นโลก เงินแม่ง ล้นสุดๆ นะครับ
ถ้าสถานการณ์ virus covid ดีขึ้น เงินที่โยนเข้าหลุมดำ มันก็ต้องออกมาหาที่ลง
และมันจะไปไหนได้ นอกจากตลาดหุ้น หรือ Bitcoin(?) 555
ผมว่า แหย่ขาในหุ้นไทย เอาไว้บ้าง ก็ดีนะครับ
และให้มองเกมยาวๆ อย่ามองเกมสั้นๆ เล่นเข้าๆ ออกๆ แบบนั้นไม่เวิร์คครับ เพราะคุณจะโดนอารมณ์เล่นงานเวลาตลาดพักตัว
หรือใครนึกไม่ออกจริงๆ ไม่มีความรู้เลย
ก็ไปดูหุ้น top 10 หรือลองหาหุ้นที่มีกำไรต่อเนื่อง แข็งๆ
แล้วก็ทยอย DCA หุ้นไปก็ได้ แต่อย่างน้อย ขอให้ถือทน ถือยาว
รอให้ RSI monthly อย่างน้อย peak ไปก่อน แล้วค่อย ทยอยๆ ขายออกก็ได้ ( ควรดูกราฟให้เป็นครับ )
SET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้งSET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้ง
=================
ตลาด มักจะเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมๆ
ดังนั้น การมองรูปแบบของราคาในอดีต เพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้า order
ก็น่าจะปลอดภัยกว่า..
โดยในวันนี้ผมจะมานั่งวิเคราะห์รูปแบบของ Weekly Price Pattern
ในช่วงวิกฤตใหญ่ของตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมา นั่นก็คือ ช่วงวิกฤต subprime ปี 2008
และวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1998 ครับ
1) วิกฤต sub prime ปี 2008
ถ้าเราดูโดยใช้ MACD เพื่อระบุ trend ขาลง เราจะเห็นได้ว่า จุดที่เริ่ม confirm trend ขาลง คือ MACD < 0 ที่แถวๆ ช่วงวันที่ 23 มิ.ย. 2008 และลากยาวไปจน MACD เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ที่แถวๆ 7 เม.ย. 2009 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 288 วัน ในการสร้างฐานราคา
จากรูป จะเห็นได้ว่า เราเห็นแท่งแดงยาวๆ ใหญ่ๆ จาก 580 ลงมา 446 ในเวลาเพียงแค่อาทิตย์เดียว และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อไปเรื่อยๆ จนทำ double bottom แล้วเด้งกลับ
ในการเด้งกลับ ถ้าวัดแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นจาก 380 ไปสูงสุดที่ 480 หรือชนเส้น EMA 18 แล้วก็ร่วงลงมาต่อ ที่ 400 .. ถ้าว่ากันตามรูปแบบของเวฟ ตรงนี้ก็คือ เวฟ 1-2 แบบ classic เลย เพราะมันเด้งแล้วย่อมาถึงแนว fibo 0.618 โดยไม่ทำ new low
ซึ่ง ตรง 400 นี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มทยอยเข้าหุ้น แบบคุมความเสี่ยง โดยถ้า SET หลุด low 380 weekly ก็หนีต่อ นั่นเอง ( จะเห็นได้ว่า เสี่ยงแค่นิดเดียว )
ถ้ากลัวโดนหลอก เราสามารถรอเข้าตอนปิดวีค แท่งน้ำเงิน เหนือ EMA 18 + Action Zone ก็ได้เช่นกัน
หลังจากนั้น ตลาดหุ้นก็ขึ้นยาว..
2) วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1996-1998
วิกฤตรอบนี้เกิดจากไทยโดยตรง ทำให้กว่าจะฟื้นได้ก็ใช้เวลานานมาก แถมหลังจากนั้นก็เจอ วิกฤตดอตคอม มาซ้ำเติมอีก
รอบนี้ ตลาดหุ้น ลงจาก 1300 จุด ตอน MACD เริ่มวิ่งใต้ 0 และมาจบ เจอ bottom จริงๆ ตรง 200 จุด โดยใช้เวลาทั้งสิ้นถึง 882 วัน ( 2 ปีกว่า )
ถ้าเราสังเกตุกราฟ จะเห็นได้ว่า มีการ "เด้งหลอก" บ่อยมากๆ โดยจุดที่เด้งหลอกแบบรุนแรงมาก มีอยู่สองจุดด้วยกันคือ
2.1) เด้งหลอก ครั้งที่ (1) มิ.ย. 97 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
มีการเด้งมาในโซน EMA 18 +
แล้วหลังจากนั้นก็มีการย่อลงไปที่
0.786-0.887 fib
แต่ทว่า ก็ไม่สามารถไปต่อ
และกราฟปิดวีคด้วย new low
และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อยาว
โดยช่วงหลังจากเด้งหลอกไปจนถึงการทำ new low ใช้เวลาทั้งสิ้น 133 วัน ( สี่เดือนกว่า )
2.2) เด้งหลอก ครั้งที่ (2) ม.ค. 98 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
การเด้งหลอกรอบนี้ น่าจะถือว่าเป็นการเด้งหลอกที่สุดแสบก็ว่าได้ เพราะว่า
- เด้งขึ้นมาจาก จุดต่ำสุดที่ 338 ขึ้นไป 500 ในเวลาเพียง 3 อาทิตย์ หรือขึ้นไปทั้งหมดเกือบ 47%
- ปิดแท่งสวย ด้วยการปิดเหนือ EMA 18 + action zone พร้อม bear div ก่อนหน้า
- จุด buy แรก ถ้าตามระบบ เราก็ต้องเข้า แต่ก็จะเห็นได้ว่า ไม้นี้ ถ้าต้อง Stop ก็จะต้อง stop ถึง -31% ( ยังไม่นับหุ้นรายตัว ) ทำให้ ถ้าเราต้องเข้าจริงๆ ก็ต้องเข้าได้แค่นิดเดียว
- จุด buy ที่สอง ที่ตรง 0.786 จะเห็นได้ว่า วีคถัดไปมันก็ลงต่อยาวเลย จนสุดท้ายก็ไปทำ new low ซึ่งถ้าตามระบบก็ต้อง stop ทุกไม้ออกมาดูลาดเลาก่อน
2.3) เด้งแล้วขึ้นจริง และไม่กลับมาอีกเลย
หลังจากหลอกคนให้หมดตัว หรือขาดทุนหนักกันไปสองรอบ ทำให้การดีดรอบนี้ คนน่าจะระแวง และถอดใจกับหุ้นไทยกันไปเยอะมาก
โดยการดีดรอบนี้ ขึ้นมาจาก bottom ที่ 200 ไปที่สัญญาณ buy แรก ถึง +57% ( สัญญาณ buy แรก คือ แท่งวีค ปิดเหนือ EMA18 + Action zone )
ซึ่งถ้าเราเข้าแบบคุมเสี่ยง 1% สำหรับไม้แรก เราก็จะเข้าได้แค่เพียง 2.7% ของพอร์ตเท่านั้น
และถ้าเรารอให้ Action Zone Weekly เขียว แล้วค่อยเข้า อีก risk 1% เราก็จะเข้าได้อีกแค่ 2.5% ของพอร์ตเท่านั้น
รวมเบ็ดเสร็จแล้วประมาณ 5% ของพอร์ตใหญ่เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เอาจริงๆ ก็เข้าได้ไม่มาก ถ้าต้องคุมความเสี่ยง เพราะถ้าเราเข้าแบบไม่ยอมคุม เราก็จะขาดทุนหนักไปตั้งแต่การดีดหลอกสองครั้งแรกแล้ว
และถ้าเราต้องไปออกตอน Action Zone แดงแรก ตอน ตุ.ค. 99 เราก็จะได้กำไรแค่ +19% เท่านั้น .. และหลังจากนั้นเราก็จะโดนสับขาหลอกอีกรอบ เพราะวิกฤต ดอตคอม..ที่ทำให้ตลาดซึมไปอีกเกือบปี
ซึ่งพอเข้ามาเจอวิกฤตดอตคอม เราก็จะเห็นได้ว่า กราฟก็ทำ pattern เดิมๆ อีกแล้ว นั่นก็คือ ลง แล้วก็เด้งหลอก แล้วก็ลงต่อแล้วก็เด้งหลอกอีกที กว่าจะลงสุดจริงก็ปาเข้าไปเกือบปี แถมหลังจากนั้นก็ sideway ต่ออีกปีกว่า กว่าจะพอเริ่ม take off จริงได้
สรุปสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการนั่งไล่ดูกราฟย้อนหลัง
1) ตอนลง ยังไงก็จะมีเด้งกลับ แต่ก็มักจะเป็นการเด้งหลอก
2) กว่ากราฟจะสร้างฐานเสร็จ มันใช้เวลา ไม่ต้องรีบร้อนเข้าก็ได้ เอาง่ายๆ แค่จากช่วงต่ำสุด มาช่วงยกโลว สัญญาณเข้าซื้อแรก ยังใช้เวลาเป็นเดือนๆ
3) ถ้าตกรถไม่ทันเวฟ 2 ก็จะยังมีจุดเข้าน่าสนใจคือ กราฟวีค ปิดเหนือ EMA 18 + Action zone + break out เหนือ high เดิมได้อีก
4) ในการเข้าซื้อทุกครั้ง ต้องมีแผนคุมความเสี่ยง แหละจุดยอมแพ้เสมอ เพราะอย่างตอนต้มยำกุ้ง จะเห็นได้ว่า พอกราฟมันย่อแล้วทำ new low มันก็ลงต่อแรง
5) เป็นไปได้ควรแบ่งไม้เป็นสองไม้ คือไม้ที่เข้าซื้อตอน week ปิดเหนือ EMA 18 + Action Zone แบบแรงๆ 1 ไม้ และไม้สองเข้าตอนมันย่อลง 0.618-0.786 โดยทั้งสองไม้นี้ จะต้องออกถ้าราคาปิด week new low ห้ามอิดออด และสองไม้นี้ max risk ควรอยู่ประมาณ 3-4%
6) มันก็มีบางจังหวะที่ขึ้นแล้วขึ้นไปเลยเหมือนกัน ดังนั้น จุดสำคัญคือ ไม้สองต้องเป็นไม้ที่ค่อนข้าง flexible และพร้อมเข้าถ้ามีสัญญาณซื้อแบบจริงๆ ( new high หรือ action zone เขียว )
7) ตอนนี้ได้ไอเดียคร่าวๆ เกี่ยวกับการดูกราฟ week แต่สุดท้าย เราก็ต้องไปดูหุ้นรายตัว หรือเทรดใน TF Daily อยู่ดี ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ระบบนี้ จะให้ผลที่ดีได้หรือไม่
SETราคามีการรีบาวน์ขึ้นมาตลอดทั้งสัปดาห์ในขณะที่ฝั่ง ดาวน์โจนส์ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องก่อนปิดสัปดาห์ไป
สัปดาห์นี้ราคาเปิดมาทำ swing low ไว้ที่ 1010 จุด และ swing high อยู่ที่ 1133 จุด ก่อนจะปิดสัปดาห์ไว้ที่ 1127 จุด
- ปัจจัยเชิงเทคนิค
การรีบาวน์ยังคงเป็นการรีบาวน์ขึ้นมาในแนวโน้มขาลง ยังคงไม่มีสัญญาณกลับตัวให้เห็นในระยะยาว
การรีบาวน์ขึ้นมา จะมีแนวต้านอยู่ที่ 1224 จุด ดังนั้น หากในสัปดาห์หน้า ราคาไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปเหนือแนวต้านนี้ได้ ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อตามแนวโน้มเดิม
ส่วนภาพรวมในระยะสั้นมีโอกาสที่จะ sideway ในกรอบ 1150 - 1010 โดยประมาณ
เป้าการลงระยะยาวยังคงอยู่ที่ 894 จุด โดยประมาณ อิงจากเป้า retracement
=============================
- ปัจจัยอื่นๆ
ในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดพันธบัตรผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรภาครัฐทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
โดยหากนับตั้งแต่ช่วงการเข้าซื้อตั้งแต่ 13-19 มีนาคม 2563 มียอดรวมกว่า 100,000 ล้านบาท
นอกจากนี้
คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี
โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563 เพื่อ....
- ลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ
- บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน
- ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ทั้งนี้เพื่อช่วยสนับสนุนมาตรการการคลังของรัฐบาลที่ได้ออกมาแล้วและที่กำลังจะออกมาเพิ่มเติม
นอกจากนี้ทางแบงค์ชาติได้กำชับให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด
=============================
ถึงแม้ว่า กนง.จะมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง แต่อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงถือว่าน้อยมาก ซึ่งตลาดกำลังคาดหวังว่า ในการประชุม กนง. นัดปกติวันที่ 25 มี.ค.นี้ กนง. จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อดูแลเศรษฐกิจ
และที่สำคัญ ตลาดคาดหวังว่า กนง. จะมีมาตรการดูแลสภาพคล่องในตลาดการเงินด้วย เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกจึงพากันเทขายสินทรัพย์ต่างๆ ออกมา เพื่อถือเงินสด ทำให้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัว
ดังนั้นสิ่งที่แบงก์ชาติพอจะเข้ามาดูแลเรื่องนี้ได้ คือ การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม ที่สำคัญนอกจากการลดดอกเบี้ยแล้ว แบงก์ชาติ ควรฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบให้มากกว่านี้
ซึ่งนอกจากบอนด์รัฐบาลแล้ว ควรดูไปถึงหุ้นกู้เอกชนด้วย เพราะวันนี้คนพากันเทขาย สะท้อนว่าเขาไม่ต้องการถือสินทรัพย์การลงทุนใดๆ การจะต่ออายุหุ้นกู้ หรือออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อมาทดแทนจึงทำได้ยาก
ถ้าปล่อยไว้ระบบการเงินจะมีปัญหาได้
=============================
ทางด้านของ FED ทีผ่านมา
มีการประกาศการร่วมมือกับธนาคารกลางประเทศอื่น ได้แก่ แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น ยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศเพิ่มความถี่ในการทำธุรกรรม swap ระยะ 7 วัน เป็นรายวัน
จากปกติเป็นรายสัปดาห์ โดยมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 มีนาคมจนถึงสิ้นเดือน เมษายนเป็นอย่างน้อย ขณะที่สัญญาอายุ 84 วันยังคงความถี่เป็นรายสัปดาห์เช่นเดิม
โดย FED หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยรักษาสภาพคล่องให้เพียงพอต่อความต้องการสกุลเงินดอลลาร์ของ ภาคธุรกิจ และครัวเรือนทั้งในและต่างประเทศ
=============================
ความเห็นส่วนตัว
ถึงแม้จะมีการออกมาอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดกันอย่างมากในช่วงนี้ ก็ยังต้องระวังภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมดอยู่ดี จริงอยู่ที่เราอาจจะเห็นตลาดหุ้นมีการรีบาวน์ขึ้นมา แต่อย่าลืมว่า กลุ่มเงินที่อัดฉีดเข้ามามันอยู่แค่ในตลาดทุนเป็นส่วนใหญ่
กระแสเงินสดที่หมุนอยู่ในระบบเศรษฐกิจจริงๆนั้น ยังคงมีปัญหาอยู่
ตราบใดที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่แปรผันตามคือ การหยุดชะงักของกระแสเงินสด เนื่องจากผู้คนไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอยทำให้เงินไม่หมุนในระบบ
สิ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบของภาคธุรกิจต่างๆ ดังนั้น การอัดฉีดสภาพคล่องอาจทำได้แค่พยุงตลาดทุน แต่ อาจไม่ได้ช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวในช่วงนี้
SET:SIMAT หุ้นทรงสวยท้าวิกฤต ลุ้น 3 หญ่ายหลังจากนั่ง scan หุ้นทั่วตลาดมาหลายชั่วโมง
ก็มาเจอเพชรในตม ตัวนี้แหละครับ SIMAT
ลองเข้าเว็บไปอ่านๆ ดูก็พอเข้าใจว่าเป็นบริษัท ที่ทำพวก sticker กับ barcode printer/scanner
แล้วก็เลยมานั่งนึกๆ ว่าทำไมเวิร์ควะ ..ก็ถึงบางอ้อว่า..
ก็เพราะช่วงนี้ ธุรกิจ delivery มันบูมมากๆ นี่เอง
กราฟเลยทรงสวยมากๆ
ตอนนี้ ถ้าสายนับเวฟก็คือทำ 1-2 ใหญ่แล้วและย่อได้ที่
และกำลังจะทำ 3 ใหญ่ สูงงงงง ไปโน่นเลย
ตัวนี้น่าสนใจมากครับ แต่ก็ไม่รู้ว่า ถ้า SET ร่วงหนัก จะฉุดเอาลงไปด้วยหรือป่าวก็ไม่รู้เหมือนกันนะ 555
SET มีโอกาสลงไปถึง 400-500 + หุ้น New Lowลองลาก Fibo แล้วก็แอบสยอง
เพราะดูจากตลาดทั่วโลกที่ถล่มลงมาแล้ว
ผมว่า SET เองก็ไม่น่าจะเอาอยู่
ถ้า Fibo เป็นจริง เราก็น่าจะเตรียมตัวได้เห็นการย่อลงไปถึง 300 -500 กันได้เลยทีเดียว
ซึ่งมีโอกาสสูงด้วย เพราะตรงนั้น เป็นกลุ่มแนว key fibo สำคัญๆ มากองกันเพียบ
.. ก็เตรียมเงินสดกันไว้ให้ดีๆ นะครับ เพราะถ้ามันลงไปจริงๆ เราจะมีโอกาส once in a lifetime ในการ shopping ของถูกเลย
ทีนี้ มาดูกันดีกว่า ว่า หุ้นตัวหลักๆ ตัวไหน ทำ new low ไปแล้ว ก็จะได้เลิกดูกันไป ครับ
เพราะฟังมาจากลุงโหลกว่า ถ้าหุ้นไหน ทำ new low = ไร้อนาคต ก็ปล่อยวางกันไปเลย
( บางส่วนนะครับ เพราะขี้เกียจ scan ทั้งตลาด เหนื่อย )
PTTGC
SPRC
QHHR
PERM
IRCP
ESSO ( ยังไม่หลุดแต่ใกล้ละ )
ERW ( ยังไม่หลุดแต่ใกล้ละ )
CCS
CCP ( ใกล้หลุดแล้ว )
BEAUTY
BAM
PROUD
AU
SEAOIL
MC
PLANB
TSR
DDD
CMC
PORT
IP
TTCL
ACAP
YGG
SETSET ยังคงเปิดลบในเช้าวันนี้ ถึงแม้จะมีการสร้างเซอร์ไพร้ จาก FED ที่ออกมาประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0% จากระดับ 1.00-1.25% สู่ระดับ 0.00-0.25%
ส่วนการความเห็นในการกดอัตราดอกเบี้ยให้ลงไปติดลบนั้น ยังไม่มีสัญญาณจาก FED ในตอนนี้ และทาง FED ได้ยกเลิกการจัดประชุมในวันที่ 17-18 มี.ค.ซึ่งเป็นกำหนดการเดิม หลังจากที่จัดการประชุมฉุกเฉินไปเมื่อวาน
นอกจาก SET ทางฝั่ง Nikkei , Bench,ark ก็ปรับตัวร่วงลงในช่วงควอเตอร์แรกของชั่วโมงการซื้อขาย เช่นกัน
กลายเป็นว่าตลาดจะยังไม่ตอบสนองต่อมาตรการที่ออกมาของ FED สักเท่าไหร่
เนื่องจากความกังวัลในเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสยังคงมีมากอยู่บวกกับภาพรวมเศรษฐกิจ ที่ยังมีแนวโน้มทีจะแย่ลงไปอีก
นอกจากเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว FED ยังออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีการจัดการดังนี้
- ซื้อพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) 5 แสนล้านดอลลาร์
- ซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน 2 แสนล้านดอลลาร์
ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะเริ่มทำการซื้อตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไป
นอกจากนี้ยังมีการขยายระยะเวลาของเงินกู้เป็น 90 วัน เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องและความมั่นคงของระบบการเงินการธนาคาร และให้กระแสเงินสดกับเครดิตทั้งระดับครัวเรือนและภาคธุรกิจ
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ FED ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจนกว่าจะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้
เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำให้การจ้างงานเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพของราคา
ในส่วนของคธนาคารกลางอื่น ๆในอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารแห่งชาติสวิส
ได้จัดวงเงินสำหรับธุรกรรม (Swap) เพื่อให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่สถาบันทางการเงินในประเทศได้ง่ายขึ้นท่ามกลางความตึงตัวในตลาดเงินกู้ พร้อมทั้ง
ออกมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยลงขานรับการประกาศลดดอกเบี้ยของ FED และไฟเขียววงเงินกู้ระยะเวลา 3 เดือนพร้อมข้อเสนออัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำกว่าปกติอีกด้วย
===============================
ในส่วนของ ปัจจัยเชิงเทคนิค
โมเมนตัมของราคายังคงอยู่ในฝั่ง Bearish ภาพรวมระยะกลาง - ระยะยาวยังคงไม่มีสัญญาณกลับตัวใดๆให้เห็น โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงไปตามสัดส่วนของ Fib retracement ที่ 423.2 หรือที่ 894 จุดยังมีอยู่
กรณีรีบาวน์กลับขึ้นไปจะมีแนวต้านอยู่ที่ 1100 - 1200 จุด ตามลำดับ
มุมมองส่วนตัวผมคาดว่า การปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมายังไม่สะท้อน ภาพรวมเศรษฐกิจออกมาทั้งหมด การปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา มันมีส่วนประกอบในเรื่องของ panic sell และ forced sell
ซึ่งคงต้องคอยจับตาดูภาพรวมตลาดหลังจาก ผลประกอบการใน ไตรมาสแรก ออกมาอีกที ทั้งนี้ การอัดฉีดวงเงินอาจช่วงพยุงตลาดได้ในระยะสั้น แต่ถ้าผลกระทบที่เกิด สร้างความเสียหายให้กับภาคธุรกิจต่างๆมาก
โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงต่อก็ยังมีอยู่
SETเมื่อคืนมีการประกาศจาก WHO ประกาศให้ โควิด-19 เป็นการระบาดทั่วโลก (Global Pandemic)
และมีการประกาศจากทรัมป์ ในเรื่องการสั่งระงับการเดินทางจากประเทศยุโรป ยกเว้นอังกฤษ ต้านโควิด-19 ในช่วง 30 วันข้างหน้า และจะใช้มาตรการเชิงรุกในทุกๆด้าน เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งรุนแรงในประวัติศาสตร์ครั้งนี้
จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดลบไป -1464.9 จุด โดยประมาณ ส่งผลให้เช้านี้ SET เปิดตลาดมาร่วงไปมากกว่า -100 จุด โดยประมาณ และมีโอกาสที่จะปรับตัวลงไปต่อเนื่องได้อีกครั้ง
จากภาพรวมเศรษฐกิจทั้งโลกตอนนี้เป็นไปได้ที่จะบอกได้ว่าเราเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ไปแล้ว
ในตอนนี้ถ้าจะถามหาว่าราคาจะลงไปถึงในก็คงตอบได้ยากในช่วงวิกฤตแบบนี้ คำตอบที่ง่ายที่สุดคือ มันจะหยุดลงก็ต่อเมื่อ มีการควบคุม และ คลี่คลาย วิกฤติที่กำลังเกิดตอนนี้ได้แล้ว
ผลกระทบตอนนี้มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของการมีเชื้อไวรัสระบาด อย่างที่รู้กันว่า ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งโลกนั้นกำลังเดินเข้าสู่ช่วงภาวะถดถอย แล้วก็แย่ลงเรื่อยๆตั้งแต่ช่วงสงครามการค้าฯ
จนมามีเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เข้ามาเป็นตัวเร่งการเข้าสู่ช่วงภาวะถดถอย ผลกระทบกระจายไปในทุกภาคส่วนธุรกิจ ดังนั้นแปลว่า ต่อให้มีการจัดการเรื่องการแพร่กระจายของไวรัสได้แล้ว
เศรษฐกิจก็จะยังไม่ฟื้นทันที เพราะฉะนั้น บริหารความเสี่ยงในการลงทุนให้ดี
ในปัจจัยเชิงเทคนิค การร่วงอย่างรุนแรงในครั้งนี้ หากวัดตามสัดส่วนของ Fib retracement แล้วจะเห็นว่าราคาปรับตัวลงไปในลักษณะของ Strong Flat (extension) ซึ่งล่าสุดปรับตัวลงไปมากกว่า 261.8 fib
ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะปรับตัวลงไปต่อที่ระดับ 423.6 fib หรือที่ประมาณ 894.47 จุด
ซึ่งขณะนี้ set ปรับตัวอยู่ที่ 1143 โดยประมาณ ในขณะที่ยังไม่จบไตรมาสแรก ...
SET ถ้าหลุด Triple Bottoms 1200 ก็เจอกันที่ 950เวลาตลาดมันลง มันลงได้แบบโหดมาก
เมื่อก่อน พอเราดูกราฟไม่เป็น เราก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอกว่าตอนเกิดวิกฤต มันลงโหดแค่ไหน
รอบนี้ สำหรับ SET ของชาวไทย
ดูสภาพแล้ว ภาพใหญ่ยังไม่มีแนวโน้มหยุดลงเลยสักนิดครับ
ซึ่งตอนนี้ เรามาแหย่ๆ ทดสอบแนวรับที่ค่อนข้างสำคัญ คือ
แนวรับ Triple Bottoms ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2014 และ 2016
แถวๆ ประมาณ 1200
รวมถึงยังเป็นเป้า 1.618 fib ถ้าลาก fib projection มาจากยอดด้วย..
แต่ดูจากสภาพของแท่งเทียน และความแรงของการลงแล้ว
ผมคิดว่า... แนวรับนี้ น่าจะ "เอาไม่อยู่"
โดยถ้าหลุด 1200 เราก็จะไปวิ่งหาเป้า 2.618 fib ที่แถวๆ 950-900 กันได้เลยทีเดียว
ใครยังถัวหุ้น หรือทยอยเก็บหุ้น ก็ต้องระวัง
เพราะถ้าตลาดมันยังลงไม่สุด
ไม่ว่าหุ้นพื้นฐานจะดีแค่ไหน มันก็ลงตามตลาดไปอยู่ดีล่ะจ้า...