WTI น้ำมันโลกอัพเดตจากที่เคยดูไว้เมื่อ พฤจิกายนปีที่แล้ว
กาลครั้งนึง ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าโลก ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนมูลค่าเงินตราขึ้นมา
โดยใช้แร่เงิน และ ทองคำ แต่สุดท้ายทองคำได้รับการยอมรับมากกว่า จึงเกิดมาเป็น gold standard
แต่แร่ทองคำก็ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของโลกที่จะใช้การแลกเปลี่ยนมูลค่า
ต่อมาเกิดสงครามโลกทั้งสองครั้ง และสมรภูมิอยู่ที่ยุโรปและเอเซีย จึงไม่ปลอดภัยที่จะเก็บทองในยุโรป
ประเทศต่างๆมาฝากทองที่สหรัฐฯเพราะว่าสหรัฐฯจะไม่เสียหายจากสงครามโลก และน่าจะปลอดภัยที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1944 นายแฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ กับ นายวินสตัน เซอร์ซิลล์
ได้ริเริ่มให้มีการเวทีการหารือระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อสร้างระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลก
ซึ่งในที่สุดผลที่ออกมาคือการลงนามใน Bretton Woods Agreements โดยประเทศต่างๆยินยอม
ที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับ
สกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐโดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และ อเมริกาจะออกตั๋วทองเป็นสกุลเงินดอลล่าห์
โดยสัญญาว่า 1 ดอลล่าห์จะเท่ากับทอง 1 หน่วย bretton woods system
และ IMF กับ world bank ก็ถือกำเนิดจากการประชุมดังกล่าว
จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน สั่งยกเลิกสนธิสัญญาเบรตตันวู๊ด ปฏิเสธไม่ยอมเอาทองคำแท่ง
ไปไถ่ถอนเงินดอลลาร์ที่ธนาคารกลางในต่างประเทศสำรองไว้ ไปเมื่อ ตอนนั้นเงินดอลลาร์ยังเป็นแค่เงินกระดาษ (fiat currency คือกระดาษที่รัฐบาลรับรอง)
ยังผลให้เงินดอลลาร์ เมื่อเทียบค่ากับเงินสกุลหลัก ๆ ลอยตัว ซึ่งก็คือลดลงอย่างมาก จนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันระหว่างปี 1973-74
oil embargo ตอนนั้น โอเปกห้ามส่งออกน้ำมันไปยังอิสราเอลและมิตรของอิสราเอล)
พอน้ำมันวิกฤตถึงขั้น เงินดอลลาร์ก็ถูกปั๊มเข้าไปสู่ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องประจัญกับการนำเข้าน้ำมันที่แพงขึ้น 400%
ด้วยกฎบัตรหลังสงครามและความสะดวกอื่น ๆ ตอนนั้นเงินดอลลาร์เป็นเงินสำรองแต่เพียงสกุลเดียว ที่ทั่วโลกถือเอาไว้แทนทองคำ
และ สมาชิกโอเปกทุกประเทศ รับเฉพาะเงินดอลลาร์ในการซื้อขายเท่านั้น petrodollar ซึ่งยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ประเทศต่างๆ
เอนเอียงออกจากการผูกค่าเงินกับดอลล่าร์มาสู่การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
และองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่าง IMF และ World Bank ยังคงมีบทบาทในการเป็นแหล่งเงินเสริมสภาพคล่องและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียในช่วงปี 1997-99 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแถบบ้านเราสะดุดกันไปพักหนึ่ง บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจ
ในรัสเซียและอาร์เจนติน่า ทำให้ IMF และธนาคารโลกต้องกลับมาทำงานหนักขึ้นหลังจากเว้นระยะมานานร่วม 25 ปี นับแต่ช่วง Oil Shock
สรุป ณ ปัจจุบัน ดอลลาห์ = น้ำมัน อเมริกาสามารถปั่นราคาน้ำมันเพื่อจะพิมพ์เงินดอลลลาห์ได้นั้นเอง