SET ลงต่อปัจจุบัน set เป็นเทรนขาลง มีแนวโน้มเป็นสถานะคลื่น 3 เนื่องจากมี breakaway gap อ้างอิง มีสัญญาณรีบาวน์สั้นๆ จาก cci แต่เป็นการรีบาวเพื่อลงต่อ ยังไม่ควรแทงสวน ควรหาจังหวะในการ put หรือ short มากกว่า ลดลงโดย Heichou2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย พิษ Covid-19 แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงต่อเนื่อง แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,395.08 จุด เพิ่มขึ้น 28.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.45 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (27/2) ดาวโจนส์ดิ่งลง 1,190 จุด (จากจุดสูงดาวโจนส์ปรับลดลง 10%) นักลงทุนกลัวว่า Covid-19 จะระบาดในสหรัฐ ส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,355 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Thrusting pattern (เป็นสัญญาณตัวอ่อนๆ) ในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้ามาจะหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง และการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ยืนยันดัชนีตลาดยังเป็นตลาดขาลง และการเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงหรือปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,343 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และ MACD Histogram ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อหรือปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,415 – 1,435 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,376 – 1,355 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv3
SET : หลีกช่วงตลาดขาลง ง่ายๆ ด้วย CDC ATR Trailing Stop WeeklyTFสิ่งที่สำคัญของการเทรด จากที่ผมได้เรียนรู้มาก็คือ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ index ของตลาดเป็น "ขาขึ้น" การจะเทรดหุ้นโดยการซื้อหุ้นเข้าพอร์ต จะสามารถทำกำไรได้โดยง่ายมากๆ เพราะในช่วงขาขึ้นนั้น หุ้นกว่า 80% จะขึ้น ถึงแม้เราจะจิ้มหุ้นพลาด อย่างไร โอกาสที่เราจะทำกำไรในตลาดหุ้น ก็สามารถมีสูงกว่าช่วงขาลง ที่จิ้มหุ้นตัวไหน กว่า 80% ก็มักจะลงต่อ.. แต่ปัญหาคือ.. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ว่าช่วงไหนของตลาด เป็นขาขึ้นหรือขาลง? ผมเลยลองเอา strategy ที่ผมได้เคยทำแจกไว้ นั่นก็คือ inwCoin CDC ATR Trailing Stop มาลอง backtest และ optimize กับ SET index โดยสุดท้ายได้ค่าที่น่าสนใจมาดังนี้ * ค่าอื่นๆ ใช้ค่า Default ให้เปลี่ยนค่าเหล่านี้แทน Slow ATR Period = 19 Slow ATR Multiplier = 1.5 Timeframe = Weekly เมื่อเราลอง รัน Backtest เราก็จะพบว่า.. เราควรที่จะทำการ Short TFEX หรือ ขายหุ้นทั้งหมด ออกมาถือเงินสด ตั้งแต่ช่วง วันที่ 30 ก.ค. 2019 แล้ว เพราะหลังจากนั้น เราจะเห็นได้ว่า ตลาด เป็นขาลงมาตลอด และสุดท้ายก็มาระเบิดลงแรง ก็เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง... ทีนี้.. กลยุทธ นี้ มันสามารถหลีกเลี่ยงช่วงวิกฤตได้จริงๆ หรือเปล่า? เราลองมาดูกัน 1) 2015 Yuan Devalue ( 11 Aug 2015 ) จะเห็นได้ว่า ในช่วงนี้ ทั้ง Action Zone และ ATR Trailing Stop ต่างบอกให้ออกมาถือเงินสด และนั่งเฉยๆ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. 2015 แล้ว .. และหลังจากนั้นตลาดก็ร่วงเรื่อยมา โดยร่วงจาก 1510 จุด ลงไปถึง 1226 จุด ในเวลาถึง 280 วัน! แต่ถ้าเราใช้วิธีนี้มา filter เพื่อหนีช่วงดังกล่าว จะเห็นว่า เราก็สามารถนั่งเฉยๆ และรอดตายจากภาวะวิกฤตนี้มาได้แบบสบายๆ 2) 2008 Subprime Crisis หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ฟองสบู่อสังหาอเมริกาแตก.. ช่วงนี้ถ้าเราไล่ดูจะเห็นว่า ATR Trailing Stop ไล่ออกมาให้ถือเงินสด ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2008 แล้ว และก็บอกให้นั่งเฉยๆ 224 วัน! โดยช่วงนี้ SET ร่วงจาก 819 จุด ลงไปเหลือแค่ 382 จุดเท่านั้น! ช่วงนี้ ใครสามารถเข้าหุ้นแข็งแกร่ง ในช่วงจบวิกฤต ก็เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้า เพราะหลังจากนั้นตลาดก็วิ่งควายไปอีก หลายปี 3) 2000 วิกฤตดอทคอม ช่วงนั้น ฟองสบู่ดอทคอม ก็แตกลง ทำให้กระทบไปทั่วโลก แม้แต่หุ้นไทยก็ไม่เว้น ร่วงจาก 400 จุด ลงมาเหลือ 244 จุด ซึ่งจริงๆ ตอนนั้นไทยก็เพิ่งฟื้นมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งได้ไม่นานเอง แต่ถ้าตาม ATR ก็อย่างที่เห็น สามารถหลบช่วงตลาดขาลงได้อีกแล้ว โดยช่วงนี้ เริ่มตั้งแต่ 14 ก.พ. 2000 - 6 พ.ย. 2000 ใช้เวลา 266 วัน 4) 1996-1998 วิกฤตต้มยำกุ้ง น่าจะเป็นวิกฤตเกี่ยวกับการเงินที่รุนแรงที่สุดของไทยแล้วล่ะมั้งครับ โดยช่วงนั้น SET ร่วงจาก 1300 จุด ตอนที่ ATR บอกให้ออก ลงไปเหลือแค่ 200 จุดเท่านั้น! โดยช่วงนี้ใช้เวลานานมากๆ กว่าจะจบ ก็คือตั้งแต่ 26 ก.พ. 1996 - 5 ต.ค. 1998 เป็นระยะเวลาถึง 2.6 ปี!! สรุป ในวิกฤต มันก็มีโอกาส เสมอ สำหรับคนที่มีเงินสด อยู่ในมือ.. ผมเคยฟัง กูรูไทย หลายๆ ท่าน ที่ผ่านช่วงนั้นมาได้ ใน youtube ฟังแล้ว โหดร้ายมากจริงๆ ครับ หลายๆ คนถัวแล้วถัวอีก ตลาดหุ้นมันก็ยังลงต่อไปของมันเรื่อยๆ.. จนสุดท้ายก็ขาดทุนหนัก หมดตัวกันเป็นแถว แต่หลายๆ คนก็ไม่ยอมแพ้ และพยายามหาจังหวะเข้าซื้อ หุ้นกันใหม่ได้อีกครั้ง และบางคนก็ถือยาว จากตอนนั้น มาจนถึงตอนนี้ กลายเป็นเศรษฐีหุ้นพันล้านกันไป รอบนี้ Corvid Crisis เราก็ไม่รู้จะใช้เวลาอีกกี่วัน ถึงจะจบ แต่ถ้าลองดูเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา เราจะพบว่า ถ้าไม่ใช่เหตุการณ์ที่เลวร้ายยย จริงๆ เราก็จะใช้เวลา ประมาณ 250-300 วัน ตลาดก็จะเริ่มเข้าสู่จุดต่ำสุด และเริ่มเดินทางต่อ.. แต่สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจของไทย ตอนนี้ มองไปข้างหน้าก็มีแต่ความมืดมน เราก็ไม่รู้รอบนี้ มันจะจบเมื่อไหร่.. แต่ยังไง ก็คอยตาม ATR Trailing Stop ไปก่อนแล้วกันครับ ถ้ามันมาพร้อมกับ Action Zone สีเขียว ก็น่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจ ที่จะเริ่มทยอยกลับเข้าตลาดครับ ระหว่างนี้ก็ไม่ต้องทำไร กอดเงินสดกันไปก่อน รอจังหวะที่ใช่ แล้วค่อยหวดทีเดียวครับ อย่าเพิ่งไปถัวหุ้นเปะปะ.. ( เรื่องถัวเปะปะ หรือดอยจนติดลบหนักนี่ ชาวคริปโต จะรู้จักกันดี 55 แต่ชาวเม่าหุ้นไทย กว่าจะรู้ตัว ก็น่าจะผ่านไปหลายปี ..) จะว่าไป ตอนนี้ เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของกราฟหุ้นได้โดยง่ายมากๆ ผ่านเว็บอย่าง tradingview รวมถึงการใส่ indicator ต่างๆ เข้าไป เพื่อที่จะช่วยเราในการตัดสินใจเลือกหุ้น และหาจังหวะเข้าหุ้นที่สวยๆ ได้อีกด้วย ต่างกับเมื่อหลายปีก่อน ที่เราแทบไม่มีอะไรมาให้ดูเลย ( เอาจริงๆ ข้อมูล SET ก็รู้สึกเพิ่งจะเพิ่มมาใน Tradingview เมื่อประมาณปี 2018 - 2019 ที่ผ่านมานี้เองครับ ) ดังนั้น ถือว่า ปัจจุบันนี้ เรามีความได้เปรียบมากๆ นะครับ สำหรับคนที่สามารถอ่านกราฟเป็น และใช้ indicator พื้นฐานได้บ้าง สู้ๆ ครับทุกคน ก็ลองเขียนวิเคราะห์ดู เผื่อจะมีมุมมองเอาไว้ดูเทรน และภาพรวมตลาดได้ครับ เก็บเงินสดกันไว้ก่อน อย่าเพิ่งไปรีบถัวนะครับ ลดลงโดย Real_inwCoin5
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Technical Rebound การระบาดของเชื้อ Covid-19 ในไทย ทำให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,366.41 จุด ทรุดตัวลง 72.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยง ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (26/2) ดาวโจนส์ปรับตัวลดลง แรงซื้อที่กลับเข้าหนุนดัชนี Nasdaq กลับมาปิดในแดนบวก บรรยากาศการลงทุนยังถูกคุกคามด้วยการแพร่ระบาดของ Covid-19 นอกจีน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงและทำจุดต่ำที่ 1,366 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,395 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,343 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,343 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ การที่สัญญาณ Convergence ของ RSI เป็นการล้างสัญญาณ Bullish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,395 – 1,410 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,356 – 1,343 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุนโดย prajobv3
SET แนวรับแรก 1348.18SET ปัจจุบันทำคลื่นปรับขาลงในรูปแบบ trend คาดว่าเป็นคลื่น C จากการปรับคลื่น 2 อยู่ในรูปแบบ running flat ซึ่งมีโอกาสที่คลื่น 3 จะลงเป็น super 3 extension ด้วย เป้าหมายแรกของคลื่น 3 ขยายคือ 161.8% ของคลื่น 1 (internal) คือ 1348.18 CCI บ่งบอกการชลอตัวของคลื่นภายใน แต่ส่วนตัวคิดว่าจะรับไม่ไหว อาจชลอแล้วลงต่อ หรือทะลุไปต่อได้เลยลดลงโดย Heichou2
SETSET ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง หลังจากผลกระทบจากช่วงสงครามการค้า ที่ทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัว รวมไปถึงการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยที่กดดันราคาเริ่มมาจาก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องยาวมาจนถึง วิกฤตในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นบ่อน้ำเลี้ยงสุดท้าย ได้รับความเสียหายไปด้วย การคาดการณ์ของผลกระทบนี้ มองต่ำๆก็คงกินเวลาไปในช่วงครึ่งปีแรก หรือจรกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องของการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส รวมไปถึงในเรื่องของวัคซีนที่จะนำมารักษา ซึ่งอาจจะต้องมีการประกาศแบบชัดเจนจาก WHO เพื่อคลายความกังวัลของนักลงทุน ในส่วนของปัจเชิงเทคนิค หลังจากที่ราคาได้ Breakdown โซนแนวรับของราคาในช่วง 1592 - 1537 ลงมาและไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือโซนแนวรับนี้ได้ ราคาก็ยังคงปรับตัวลงอยู่ในแนวโน้มขาลงที่เป็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2018 การทิ้งตัวลงมาของราคาในช่วงนี้เป็นผลมาจาก ปัจจัยกดดันที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น จนกว่าจะมีปัจจัยเชิงบวกเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาด ก็ยากที่ราคาจะกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ดังนั้น การรีบาวน์ในระยะสั้นต้องระวัง เนื่องจากมีโอกาสที่จะเป็นการรีบาวเพื่อลงต่อตามแนวโน้มเดิมได้ โซนแนวรับในระยะยาวจะอยู่ในช่วง 1228 - 1192 ซึ่ง ต้องดูประกอบกับปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องด้วย ทั้งนี้ หากพ้นครึ่งปีแรกไปได้แล้ว ยังไม่สามารถเคลียร์ปัจจัยเรื่องการแพร่ระบาดได้ ตลาดอาจจะผันผวนยาวไปจนสิ้นปี เนื่องจาก ยังมีเรื่อง สงครามการค้า เฟส 2 หลังจากการเลือกตั้งในสหรัฐฯ จบไปอีกด้วย ลดลงโดย FinancialBrain4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Filling The Gap แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดกลับมาปิดในแดนบวกที่ 1,439.10 จุด เพิ่มขึ้น 3.54 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง ต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงต่อเนื่องเป็นวันที่ ตลาดถูกคุกคามจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสนอกจีน จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงไปทำจุดต่ำที่ 1,416 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Hammer ในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) อาจเป็นการปรับขึ้นปิดแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Closing the Window) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงต่อ สอดคล้องกับการเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,422 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ การที่สัญญาณ Convergence ของ RSI เป็นการล้างสัญญาณ Bullish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,455 – 1,473 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,416 – 1,397 จุด กลยุทธ์การลงทุน วันก่อนได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุนโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ผวา Covid-19 นักลงทุนผวาการระบาดของเชื้อ Covid-19 ต่างนำหุ้นออกเทขาย ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,435.56 จุด ลดลง 59.33 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ และสัญญาณ RSI เกิดเป็น Convergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (24/2) ทรุดตัวลงแรง หวั่นการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสนอกจีนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงแบบมีช่องว่าง ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,454 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,422 จุด และ 1,410 จุด ตามลำดับ สัญญาณ RSI กลับมาเป็น Convergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,422 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ การที่สัญญาณ RSI สร้างจุดต่ำใหม่ เป็นการล้างสัญญาณ Bullish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,445 – 1,455 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,422 – 1,410 จุด กลยุทธ์การลงทุน เมื่อวานช่วงเช้าได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุนโดย prajobv2
ลงไปเทส 1450.42ถ้าเป้านี้รับไม่อยู่ได้เห็น 13000 สวนทางกับทอง เพราะกังวลไข้หวัดโคโลน่า เป็นการรีเซ็ทตลาดใหม่ทั้งหมด อาจจะลงไปเริ่มต้นใหม่ที่ 800ลดลงโดย NutaponKo2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังอยู่ในช่วงปรับฐาน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงตามแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคาร แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,495.09 จุด เพิ่มขึ้น 3.85 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ สัญญาณ Bullish Divergence จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามา แต่ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติยังเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (21/2) ปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัว บวกกับความกังวลการแพร่ระบาดของ Covid-19 จะกระทบเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,476 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด หนุนดัชนีตลาดปิดสูง แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence สัญญาณปลายตลาดขาลงจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยมีช่องว่างขาลงที่ 1,521 – 1,528 จุดเป็นแนวต้าน และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง เป็นแนวต้านร่วม ระยะสั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,500 – 1,504 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,490 – 1,484 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังมีความเสี่ยง แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,491.24 จุด ปรับลดลง 14.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.55 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,455 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (20/2) ดิ่งลงแรงระหว่างการซื้อขาย ก่อนที่จะลดช่วงลบในท้ายตลาด สัญญาณทางเทคนิคัลและการเกิด Inverted Yield Curve เตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดตามมา ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงหลุดแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,491 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,455 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,496 – 1,502 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,486 – 1,480 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุดโดย prajobv3
SETSET ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง และมีโอกาสปรับตัวลงไปเรื่อยๆในอีก 3 เดือนข้างหน้า หลังจากทีราคามีการปรับตัวหลุดโซนแนวรับระยะยาวที่ 1600 ~ 1537 จุด โดยประมาณ ก็มีการปรับตัวขึ้นไปทดสอบโซนแนวรับที่เบรคมาในช่วง สองสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือโซนแนวรับได้ ก่อนจะมีการปรับตัวลงอีกครั้งในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้เป็นการคอนเฟิร์มการเปลี่ยนจากโซนแนวรับมาเป็นโซนแนวต้านในระยะยาว ดังนั้นหากไม่มีปัจจัยหนุนเชิงบวกเข้ามา โอกาสที่จะกลับขึ้นไปนั้นก็มีความเป็นไปได้ยากขึ้น ปัจจัยกดดันตอนนี้ยังคงเป็นเรื่องของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ที่ยืดยาวมาตั้งแต่ช่วงสงครามการค้าในเฟสที่ 1 จนมาถึงสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกภาคส่วน ซึ่งในช่วงสงครามการค้านั้น เรายังมีภาคการท่องเที่ยว ที่คอยพยุงเศรษฐกิจไว้อยู่ แต่หลังจากมีเหตุการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเข้ามา ส่งผลให้ ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมาก ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในตอนนี้ เกิดการชะลอตัวในทุกภาคส่วน ดังนั้น คาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะยังกดดันให้ SET มีการปรับตัวลงต่อเนื่องไปได้ ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ จนกว่าจะมีปัจจัยเชิงบวกเข้ามาเปลี่ยนแปลง ปัจจัยต่างๆ ลดลงโดย FinancialBrain2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวรับ 1,495 จุด แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,504.54 จุด ลดลง 8.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.87 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 2,479 ล้านบาท สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนุน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) เป็นสัญญาณปรับตัวขึ้นเพื่อลง ตามสัญญาณ Low Price Gapping Play ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 999.90 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,510 – 1,517 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,500 – 1,495 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุด โดย prajobv3
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปิดช่องว่างก่อนปรับตัวลง แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,513.68 จุด ลดลง 13.57 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กมีสัญญาณพักตัว นักลงทุนหวั่นการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 จะกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงแบบมีช่องว่าง (Low Price Gapping Play) ซึ่งเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ดัชนีจะปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ การเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง สะท้อนถึงดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงตามหลักการของ Granville ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI กลับมาเป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกันจะทำให้ดัชนีแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,518 – 1,523 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,507 – 1,500 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุดโดย prajobv3
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ระยะพักตัว ดัชนีตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวก ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซา ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,527.25 จุด เพิ่มขึ้น 0.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวัน Presidents’ Day การระบาดของเชื้อ Covid-19 เริ่มมีแนวโน้มไปในทางบวก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ภายในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องว่างขาลงที่ 1,546 จุด และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,546 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,546 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,532 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,520 – 1,513 จุด กลยุทธ์การลงทุน ปรับพอร์ตถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,520 จุด จากพอร์ตเดิมอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ระวังหลุดแนวรับที่ 1,522 จุด แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,526 จุด ลดลง 6.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.18 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลแสดงถึงดัชนีแกว่งตัวออกด้านข้าง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,522 จุด ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดวันศุกร์ (14/2) แบบไร้ทิศทาง ตลาดได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นักลงทุนติดตามตัวเลขการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ภายในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องว่างขาลงที่ 1,546 จุด และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,547 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,546 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,532 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,520 – 1,513 จุด กลยุทธ์การลงทุน ปรับพอร์ตถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,520 จุด จากพอร์ตเดิมอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัล ตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวกเข้าหนุนตลาด กดดันให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,532.77 จุด ลดลง 7.07 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,550 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ จับตาทิศทางหุ้นรับเหมาก่อสร้างหลังงบประมาณปี 2563 ผ่านวาระ 3 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,550 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,539 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,523 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shapeโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ระยะสั้นระวังแนวต้านที่ 1,550 จุด แรงซื้อที่กลับมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับขึ้นมาปิดที่ 1,539.84 จุด เพิ่มขึ้น 15.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.48 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,550 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลง ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 12/2 ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงใหม่ตลอดกาล ตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มยาและพลังงาน และตัวเลขผู้ติดเชื่อ Covid-19 ลดลง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,550 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,546 – 1,553 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,533 – 1,527 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shapeโดย prajobv1
วิเคราะห์ SET ตลาดหุ้นไทยกราฟ SET แสดงลักษณะ Cup with Handle แบบกลับหัว พร้อมทั้งค่า RSI ทดสอบแนวรับทะลุ 30 ลงมา และ Stochstatic 100 วันแสดงค่าสถิติที่มีความน่าจะเป็นว่าจะลงมากกว่าขึ้น จึงสรุปได้ว่า ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มลงไปอีกยาวลดลงโดย suchanon456ที่อัปเดต: 2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับฐาน แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังแบงก์ชาติส่งสัญญาณปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียม ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,523.93 จุด ลดลง 11.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.26 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 548 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (11/2) ปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย ประธานเฟดชี้เร็วเกินไปที่จะสรุปว่าโคโรนาไวรัสสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกา ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,541 จุด ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,536 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,517 – 1,511 จุด กลยุทธ์การลงทุน ปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,517 จุด พอร์ตการลงทุนจะเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv1