SET:SET   ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์ไทย

ไร้ทิศทาง
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (17/3) ปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางความไม่แน่ถึงผลกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง หลังผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงขายในช่วงท้ายตลาด เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สร้างความวิตกให้กับประชาชนในวงกว้าง และรัฐบาลขาดมาตรการเด็ดขาดในการความคุมการแพร่ระบาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,035.17 จุด ลดลง 10.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก แต่ระยะกลาง - ยาวเป็นลบ ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 969 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Inverted Hammer ในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence

จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด)
เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้
38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด
50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด
61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็น Convergence ที่แสดงว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,105 – 1,152 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,008 – 942 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง

คำแนะนำ
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว
- ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)
คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ

ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ