ไอเดียชุมชน
แชร์ไอเดีย การวางแผนเทรดการวางแผนการเทรดเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ
นักลงทุนควรวางแผนการเทรดโดย
การใช้อินดิเคเตอร์ที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญในการการมากำหนดจุดซื้อและจุดขาย
ไม่ว่าจะเป็น MACD RSI Fibo เส้น Trend Line และอื่นๆ โดยที่
1. กำหนดจุดเข้าซื้อ
อาจจะแบ่งไม้ซื้อ 2-4 ไม้ก็ได้ เช่น
Buy 1: บาท
Buy 2: บาท
2. กำหนด "จุดขาย" ทำกำไร (แบ่งไม้ขายได้เช่นกัน)
Sell 1: บาท
Sell 2: บาท
3. กำหนดจุด "Stop Loss" (แบ่งไม้ได้เช่นกัน) เช่น
Cut 1: บาท
Cut 2: บาท
สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าการวางแผนการเทรด คื อ "การทำตามแผนการเทรด"
คุณไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ "ทุกครั้ง" ในบางครั้ง "ผิดทาง" ต้องรู้จัก "ยอมแพ้" บ้าง
การยอมแพ้หรือการ Stop Loss เป็นการรักษา "เงินต้น" เพื่อให้คุณนำมาเป็นทุนกับการลงทุนครั้งใหม่
อย่าปล่อยให้การขาดทุน "5-10%" ผิดทางจนกลายเป็น "20-50%" จนคุณต้องสูญเสียเงินต้นไปมากกว่าที่ควรจะเป็น
การใช้งานอินดิเคเตอร์ Visible Range หรือ Volume Profileการใช้งานอินดิเคเตอร์ Visible Range หรือ Volume Profile
อินดี้ตัวนี้ใช้ในการดูว่านักลงทุนส่วนใหญ่ "ติดหุ้น" ในราคาไหนกันบ้าง
ซึ่งอาจนำมาตีความว่าเป็น "แนวต้าน" ของหุ้นก็ได้
หมายเหตุ การตีความเป็นไปตามทฤษฏีเท่านั้น ไม่ได้ชี้นำเพื่อซื้อหรือขายหุ้นตัวใดตัวนึงแต่อย่างใด
การใช้อินดิเคเตอร์ Trend Ribbon คู่กับ EMA 50 จับจังหวะ ซื้อ ขายหากแท่งเทียนอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ EMA 50 วัน (แนวโน้มขาลง)
จุดที่แท่งเทียนเริ่มหลุด "ต่ำกว่า" เส้น EMA 50 >> บ่งบอกถึง "จุดขาย"
หากแท่งเทียนอยู่ "เหนือ" เส้นค่าเฉลี่ยนเคลื่อนที่ EMA 50 วัน (แนวโน้มขาขึ้น)
จุดที่แท่งเทียนเริ่มยืน "เหนือ" เส้น EMA 50 >> บ่งบอก "จุดซื้อ"
แถบ Ribbon จะช่วยยืนยัน "จุดซื้อ" เมื่อมีสัญญาณ "Long" เกิดขึ้น
และ "จุดขาย" คือจุดที่มีสัญญาณ "Short" เกิดขึ้น
EP1: รู้จักกับแท่งเทียน Candle Stick (สำหรับมือใหม่)การใช้งานโปรแกรม TradingView
EP1: รู้จักกับแท่งเทียน Candle Stick (สำหรับมือใหม่)
แท่งเทียนแบ่งเป็น
1. เนื้อเทียน
2. ไส้เทียน
แท่งสีแดง: ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด หมายถึง แรงขายมากกว่าแรงซื้อ
แท่งสีเขียว: ราคาเปิดสูงกว่าราคาปิด หมายถึง แรงซื้อมากกว่าแรงขาย
ไส้เทียนเป็นราคาที่ถูกซื้อหรือขายในระหว่างวัน
เอาไงดีกับหุ้นขนาดกลาง อาทิ JMT Jmart CBG เมื่อดัชนี 1350 จุด กลยุทธ์การลงทุนเมื่อดัชนีขยับจาก 1330 ไป 1350 จุด แล้วสัปดาห์จะเป็นอย่างไร
สัปดาห์นี้ 10 - 14 สค 63 รายใหญ่ (กองทุน) มีการ "โยกย้ายเงิน" จากกลุ่มหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กไปยัง "หุ้นขนาดใหญ่
ทำให้หุ้นขนาดกลางและเล็กหลายตัว "ราคาซึม" ลงเช่น JMT Jmart Dohome CBG Tipco TASCO และอื่น
ซึ่งผมมองเป็น 2 เคสคือ
1. หาดัชนีขึ้นจาก 1350 ไป 1360-1380 จุด: หุ้นขนาดใหญ่ทุกตัวจะ "ราคาเพิ่มขึ้น" เพราะเป็นกลุ่มนำตลาด
หากมองเช่นนี้ และจะเข้าลงทุนในกลุ่ม AOT ท่องเที่ยวและโรงแรม MINT ERW CENTEL ธนาคาร BBL Kbank SCG และอื่นๆ
กลยุทธ์ "ซื้อเมื่อย่อ" เท่านั้น ห้าม "ไล่ราคา" เพราะมีโอกาส "ติดดอย" สูง
2. หากดัชนี้ "ลดลง" จาก 1350 ไป 1320-1340 จุด: หุ้นขนาดกลางและเล็กจะ "ปรับตัวเพิ่มขึ้น" มีการโยกเงินจากหุ้นกลุ่มขนาดใหญ่เข้ามา
กลยุทธ์คือ "ซื้อเมื่อย่อ" ซึ่งในเวลานี้ 13 สค 63 หุ้นหลายตัวก็ "ย่อตัว" มาให้นักลงทุนได้เก็บแล้ว จากนั้นรอเวลาที่ตลาดเฉลยว่า ดัชนีจะไปในทิศทางใด
หมายเหตุ: เป็นแนวคิดส่วนตัว ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นแต่อย่างใดครับ
หรือถึงคราวหมุนเวียนมาเล่น "กลุ่มแบงก์" 12 สค 63หากมือใหม่ต้องการทราบ "จุดเข้าซื้อ" หรือ "จุดขาย" ก็สามารถใช้อินดิเคเตอร์ MACD ได้
และกลุ่มธนาคารเมื่อวานนี้มีสัญญาณ MACD เกิด Golden Cross แท่งสีแดงได้เปลี่ยนเป็น "แท่งสีเขียว" แล้ว
นักลงทุนสามารถ "แบ่งไม้" เข้าซื้อได้ อาทิ ต้องการสะสมหุ้น KBank 1000 หุ้น ก็อาจทยอยเข้าซื้อที่ละ 500 + 500
หรือ 250+250+250+250 ก็ได้ เพื่อทำการเฉลี่ยต้นทุน และป้องกันกรณีผิดทางหรือเกิดการผันผวนเนื่องจากปัจจัยภายนอกต่างๆ
หมายเหตุ: Indicator ทุกตัวมีความแม่นยำประมาณ 50-70% เท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
ตัวอย่างการวางแผนเทรดหุ้น ESSO 10 สค 63ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นแต่อย่างใด เพียงแต่แชร์วิธีการวางแผนในการเทรดหุ้น
การลงทุน มีทั้งกำไรและโอกาสที่จะขาดทุน การวางแผนเทรดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
ไอเดียการลงทุนหุ้นกลุ่ม PTT (สวิงเทรด) For Beginnersไอเดียการลงทุนหุ้นกลุ่ม PTT (สวิงเทรด)
ตลาดหุ้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง มีการลากดัชนีจาก 1320 ไป 1350 - 1390 แล้วก็ทุบลงมา เหลือ 1300-1340 จุด
ดังนั้น ใครที่ยังไม่มีหุ้นกลุ่ม PTT อยู่ในมือมาก่อนหน้านี้ หากต้องการลงทุนควรลงทุนในรูปแบบของการ Swing Trade
ตามกรอบราคา แนวรับ-แนวต้าน โดยที่
Buy ที่แนวรับ
Sell ที่แนวต้าน
ไม่เน้นถือยาวเพื่อกินปันผล
หมายเหตุ: เป็นแนวคิดส่วนตัว ไม่ได้ชี้นำในการลงทุนแต่อย่างใด (กำไรขาดทุน เป็นผลการตัดสินใจของแต่ละคนเอง)
การใช้้ EMA เส้นค่าเฉลี่ยในการหา จุดซื้อ/จุดขาย Level: Beginnerเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)
เราสามารถใช้เส้น MA (ผมเลือกใช้ EMA: Moving Average Exponential) เพียง 2 เส้น นั้นคือ EMA5 (เส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน) และ EMA25 (เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน) ในหาจุดซื้อจุดขายได้ดังนี้
หาก EMA5 ตัดขึ้น เส้น EMA25 (แท่งเทียนอยู่ เหนือเส้น EMA25 ) เป็นแนวโน้ม "ขาขึ้น" จุดตัดที่เกิดขึ้นอาจพิจารณาว่าเป็น "จุดเข้าซื้อ"
หาก EMA5 ตัดลงเส้น EMA25 (แท่งเทียนอยู่ ใต้เส้น EMA25 ) เป็นแนวโน้ม "ขาลง" จุดตัดที่เกิดขึ้นอาจพิจารณาว่าเป็น "จุดขาย" ก็ได้