แนวโน้ม set 10/6/2563 แนวโน้ม set 10/6/2563 สะบัดเพิ่อเก็บหุ้น แล้วขึ้นต่อไปชน แนวต้าน ปรมาณ 1549โดย chaiwichak113
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Evening Star แรงขายทำกำไรที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,408.37 จุด ลดลง 30.29 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.15 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงขายทำกำไรระยะสั้น ฉุดให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,370 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ขณะที่สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (9/6) ปิดแบบไร้ทิศทาง ดาวโจนส์และ S&P 500 ปรับลดลง ขณะที่หุ้นเทคโนโลยีหนุน Nasdaq ปิดบวก นักลงทุนติดตามการประชุมของเฟด ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,454 จุด แรงขายที่มีออกมาทำให้ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Evening Star ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,370 จุด และมีแนวรับของเส้น MMA2 อยู่ที่ 1,310 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลดลงเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่าแนวรับที่ 1,370 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจบคลื่น II,E ที่ 969 จุด (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)) ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) โดยดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนว 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,410 จุด และมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,515 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งจะวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement เมื่อดัชนีตลาดมีสัญญาณการจบคลื่น i) โดยคลื่น ii) ที่ปรับตัวลงจะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นคลื่น i) ที่ 969 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบ แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,370 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,420 – 1,433 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,394 – 1,378 จุด กลยุทธ์การลงทุน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,370 จุดโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย แกว่งตัวขึ้นในเขตซื้อมากเกิน แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน หนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเดินหน้า แต่แรงขายที่มีออกมาในหุ้นแบงก์ สื่อสารและโรงไฟฟ้า ฉุดให้ดัชนีตลาดลดช่วงบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,438.66 จุด เพิ่มขึ้น 2.96 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.05 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย โดยดัชนีตลาดเคลื่อนอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น ต่างชาติกลับมาขายสุทธิครั้งแรกในรอบ 7 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (8/6) กลับร้อนแรงจากตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่าเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น สอดคล้องกับสัญญาณ DMI และเส้น MMA2 ที่ปลายเริ่มเปิดกว้าง ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,454 จุด และปรับตัวลงปิดต่ำ ตามหลังแท่งเทียน Three Advancing White Soldiers ซึ่งเป็นสัญญาณถึงการปรับตัวขึ้นต่อ (Continuation pattern) อย่างไรก็ดี ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย และดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลงก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องจากดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูงและเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจบคลื่น II,E ที่ 969 จุด (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)) ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) โดยดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนว 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,410 จุด และมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,515 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งจะวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement เมื่อดัชนีตลาดมีสัญญาณการจบคลื่น i) โดยคลื่น ii) ที่ปรับตัวลงจะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นคลื่น i) ที่ 969 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,454 – 1,465 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,423 – 1,412 จุด กลยุทธ์การลงทุน ถือ หลีกเลี่ยงการไล่ราคา จับตาผลกระทบหลังมีข่าวว่าแบงก์ชาติจะออกมาตรการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv1
SET Index - มิถุนายน 2020 ยังคง going strong ร่วมกับดัชนีทั่วโลกที่ฟื้นตัว แนวต้านต่อไปอยู่บริเวณ 1512-1540 @ 0.618 fib จาก all time high ผมยังคง Bias ขึ้นต่อครับ แต่ในเร็วๆนี้คงเห็นการย่อตัว แต่ผมคิดว่าคงไม่ลึก มาดู Emerging market index กันบ้าง จากบทวิเคราะห์เดือนที่แล้ว () ที่มองว่า Emerging market โดยรวมจะ sideway ในรูปแบบ 3 เหลี่ยม ตอนนี้มาตามที่คาดครับ ปัจจุบันอยู่ในรูปแบบนี้ หากเป็นแบบนี้ มีโอกาสสูงมากที่ set เราจะมี upside อีกเยอะ ตามโครงสร้างของ EEM มาดู Currency จากบทวิเคราะห์เดือนที่แล้ว Dollar index ได้ทำการ breakdown สอดคล้องกับการทำ QE และการคาดการณ์ว่า อเมริกาจะเข้าสู่ภาวะ เงินเฟ้อ hyperinflation ตอนนี้เรามี 5 wave ลงมา ตอนนี้คงจะเห็นการดีดกลับในระยะสั้นในรูปแบบ 3 wave ก่อนจะลงต่อ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นคือ หุ้นกลุ่มธนาคารอาจจะมีการย่อตัวลง เนื่องจาก dollar ที่แข็ง ทำให้บาทอ่อนค่าแบบ relative ส่งผลลบต่อหุ้นธนาคารไทยในระยะสั้น เมื่อเงิน USD จะอ่อนค่าลง ทำให้การลงทุนใน emerging market รวมถึงตลาดหุ้นไทย มีความน่าสนใจเนื่องจากโอกาสในการทำกำไรจากหุ้น + ค่าเงินบาทที่จะแข็งขึ้น ต่างชาติอาจจะเริ่มเข้ามาลงทุนในไทย ทองคำ หากบทวิเคราะห์ก่อนหน้าของผมถูก (ซึ่งตอนนี้ก้ลงมาตามที่คิดพอสมควร ) ทองจะเจอ "Technical correction" เพราะสุดท้ายแล้วในอนาคตเมื่อเกิด hyperinflation ทองจะมีค่าแน่นอน แต่ใน short term การเจอ technical correction เพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นก่อนในช่วงนี้ เป็นเรื่องปกติ เมื่อทองคำ และ USD ที่เป็น safe haven asset ทั้งคู่ถูกขาย อีกทั้งพันธบัตร เป็นหลักฐานสนับสนุนว่า ตลาดหุ้น ทั่วโลกจะฟื้นตัว สำหรับ SET index เป้าระยะกลางคือ 2700 แต่ก่อนหน้าเราคงต้องมี technical correction ก่อน แนวต้านสำคัญคือ 1500-1600 ต้องรอดูกันต่อไปครับ เพิ่มขึ้นโดย UNRPPที่อัปเดต: 222220
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย เวียนกลุ่มซื้อ แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน (กลุ่มปตท.) และกลุ่มสื่อสาร ขณะที่แรงซื้อกลุ่มแบงก์เริ่มชะลอตัว หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,435.70 เพิ่มขึ้น 24.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.2 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนถึงเงินร้อนที่กลับเข้าเก็งกำไรค่าเงินบาท จับตาแบงก์ชาติจะออกมาตรการเข้าควบคุมค่าเงินบาทที่แข็งค่าสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นเหนือแนว 1,410 จุด และมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,515 จุด (อ่านรายละเอียดจากการนับคลื่น) แท่งเทียนเกิดเป็น Three Advancing White Soldiers ที่มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นสัญญาณถึงการปรับตัวขึ้นต่อ (Continuation pattern) สอดคล้องกับสัญญาณ DMI และเส้น MMA2 ที่แสดงถึงการปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย และดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลงก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องจากดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูงและเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจบคลื่น II,E ที่ 969 จุด (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)) ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) โดยดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนว 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,410 จุด และมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,515 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งจะวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement เมื่อดัชนีตลาดมีสัญญาณการจบคลื่น i) โดยคลื่น ii) ที่ปรับตัวลงจะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นคลื่น i) ที่ 969 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,446 – 1,460 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,420 – 1,410 จุด กลยุทธ์การลงทุน ถือ หลีกเลี่ยงการไล่ราคา จับตาผลกระทบหลังมีข่าวว่าแบงก์ชาติจะออกมาตรการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv3
setset ถึงจุดที่เป็นแนวต้านสำคัญแล้ว วันนี้โอกาศนิ่งทั้งวันและปรับตัวลงทดสอบโลเดิมอีกครั้ง โดย tanum224
SET : RSI มากกว่า 46.8 เตรียมเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ กินเวลา 2-4 ปีจากรูป ถ้าเราลองลากเส้นแนวนอน ตามแนวรับของ RSI ที่ SET เคยย่อลงมาแล้วไม่หลุด จะเห็นได้ว่า ค่า RSI ที่เป็นแนวรับ/แนวต้านใหญ่ ของ SET ระดับ TF Weekly ก็คือประมาร 46.8 ซึ่ง จากที่ได้ลองไล่ดูข้อมูลย้อนหลัง พบว่า เมื่อ RSI ข้ามจากโซนล่าง ( น้อยกว่า 46 ) ข้ามเส้น 46.8 ขึ้นมา = หลังจากนั้นตลาดจะเป็นภาวะกระทิง ( Bullish / ขาขึ้น ) เมื่อ RSI ข้ามจากโซนบน ( มากกว่า 47 ) ข้ามเส้น 46.8 ลงมา = หลังจากนั้นตลาดจะเป็นภาวะหมี ( Bearish / ขาลง ) ซึ่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าเราสังเกตุ RSI จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ มันวิ่งข้ามเส้น 46.8 ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ confirm อีกชั้น ด้วย เส้น MACD ตัดกันเมื่อหลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่ง... ถ้าเราลองมองย้อนหลังไป เราจะพบความสัมพันธ์ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 1) 15 ก.พ. 16 - 21 พ.ค. 18 ( ประมาณ 2 ปี ) -------------------- - RSI ได้ทะลุแนวต้าน 46.8 ขึ้นไป และวิ่งเป็นขาขึ้นยาว ตลอด 2 ปี - ถ้าสังเกตุ MACD ก่อนหน้านั้นมีการตัดกันที่โซนล่างด้วย ก็เป็นการ confirm uptrend - หลังจาก RSI Overbought แรก ตลาดก็มีการ Correction ลงมาแรง ถ้าดูจากกราฟแล้ว ผมว่าก็แรงกันจนเม่าสติแตกแน่ๆ 555 เพราะลงจาก 1550 ไป 1350 ในเวลา 7 สัปดาห์ ( สองเดือน ) - แต่ก็น่าจะเป็นจุดซื้อเพิ่มที่ดี สำหรับคนที่ยังไม่ได้ขึ้นรถ ( แต่ตอนหน้างาน ทุบแรง+นาน แบบนี้ ต้องมีคนสติแตกกันอย่างแน่นอนครับ ) - หลังจากนั้นตลาดก็ค่อยๆ ขึ้นไปต่อเรื่อยๆ แต่ก็มีช่วง sideway นิ่งๆ ไม่ไปไหน ให้คนถอดใจ กันอยู่เกือบปี ( ม.ค. 17-ส.ค. 17 ) - แล้วก็พุ่งพรวดเดียวไป peak ตอน ม.ค. 18 -- ก็สอดคล้องกับราคา BTC ที่พุ่งกระฉูดไปเหมือนกัน - หลังจากนั้น ราคาก็เจอ bearish divergence weekly แล้วก็ร่วงลงมาหนัก ยาว ตั้งแต่ 2018 ถึงปัจจุบันนี่แหละ - สิ่งที่เราเรียนรู้ จากการลองไล่พฤติกรรมราคา ในภาพใหญ่ คือ บางช่วง ตลาดมันจะเล่นงานเราด้วยการ correction อย่างรุนแรง แต่เป็นการ correction เพื่อไปต่อ - ซึ่งเราก็ต้องมีแนวทางการหนีที่ชัดเจน เก็บเอาไว้ดูประกอบด้วย เช่น ถ้าปิด week ต่ำกว่า low ก่อนหน้า ไกลๆ ก็หนี หรือ short TFEX hedge พอร์ตเอาไว้ก่อน เป็นต้น Pattern นี้ ในช่วงเวลาอื่นๆ - 3 มี.ค. 14- 11 พ.ค. 15 = ปีกว่าๆ ( แถวนี้ ราคา BTC ก็ sideway ) - 21 พ.ย. 11 - 10 มิ.ย. 13 = เกือบสองปี ( แถวนี้ ราคา BTC ก็วิ่งควาย ) - 16 เม.ย. 09 - 12 ก.ย. 11 = สองปีกว่า * แถวนี้ กราฟวิ่งขึ้นแบบแทบจะไม่พักอยู่ 2 ปี เปิดตำนานเซียนหุ้นในเมืองไทย - 4 พ.ค. 04 - 16 มิ.ย. 08 = choppy market 4 ปี * ช่วงนี้ตลาดวิ่งขึ้นวิ่งลงในกรอบ ไม่ได้พุ่งไปไหนไกลอยู่เป็นหลายปี * ผมจำได้ว่า ช่วงนั้น หนังสือพ่อรวยสอนลูกฮิตมาก เพราะตลาดเมกาดี คน flip อสังหากันรัวๆ จนเกิดฟองสบู่ sub prime แล้วแตกในปี 2008 - 1998-2004 = ต้มยำกุ้ง Recovery 6 ปี * ช่วงนี้ตลาดยังซึมๆ เหงาๆ เพราะคนหมดตัวกันไปเยอะ หลังจากวิกฤต ต้มยำกุ้ง * ช่วงนี้ ใครมีเงิน แล้วช้อนหุ้นราคาถูก ตอนมันทำกรอบสะสมแถวโซน 200-300 แล้วไม่ขาย ตอนนี้ก็รวยกันไปถ้วนหน้า สรุป ----- * บทความนี้ก็เป็นข้อสังเกตุ ย้อนหลัง ของพฤติกรรมราคาของตลาดหุ้นไทย กับ RSI * เอาจริงๆ มันก็มีบางช่วงที่ตรง ใช้ได้ แต่บางช่วงที่เราเจอตลาด choppy กันอยู่หลายปี กลยุทธนี้ก็ไม่เวิร์คเหมือนกัน * สำหรับหุ้น ผมว่า บางที เราก็ต้องเทรดกันแบบมองภาพยาว และเล่นกันไปอย่างใจเย็นๆ * อย่าง ถ้าเราดู TF monthly ประกอบ ก็จะเห็นว่า รอบนี้คือ opportunity of the lifetime จริงๆ อย่างลุงโฉลกแกเคยพูดไว้ในคลิป เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย RSI monthly เราลงไปหลุด 30 แค่ 3 ครั้งเท่านั้น * ถ้าเราตัดสินใจเข้าหุ้น ในรอบนี้ ผมคิดว่า ไม้ที่เข้ารอบนี้ ต้องอย่าออกเด็ดขาด และถือกันไปยาวๆ * ส่วนเงินสด บางส่วน ก็เก็บเอาไว้ข้างสนาม ไว้รอจังหวะ correction แรงๆ แล้วค่อยเข้าเพิ่ม เป็นต้น * ก็ลองสังเกตุดูนะครับ เราก็ไม่รู้อนาคตหรอกว่ามันจะไปทางไหน แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ชัวร์ที่สุดคือ * เม่า จะเข้าที่ยอดดอย ที่ RSI peak ใน TF ใหญ่ แทบจะเสมอครับ * เพราะเป็นเม่า ตอนที่ต้องเข้า ก็ลังเลๆ แล้วไม่ยอมถือทนรวย ไปเข้าๆ ออกๆ * สุดท้าย พอไปเข้าไม้สุดท้าย แบบมั่นใจ จัดหนักจัดเต็ม ตอน RSI peak ก็โดนตลาดรับน้องอย่างไม่ต้องสงสัยครับ ( ผมรู้ เพราะผมก็เคยทำแบบนั้นมาก่อน 555 ) * ถ้าไม่อยากเป็นเม่า ก็วางแผนเทรดไม้ระยะยาว เอาไว้บ้างก็ดีนะครับเพิ่มขึ้นโดย Real_inwCoin226
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มแบงก์ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,411.01 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 36.83 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.22 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ขณะที่นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (4/6) ตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังตัวเลขการว่างงานลดลงจากการที่ธุรกิจกลับมาดำเนินการและเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,413 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,515 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงถึงการปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ปลายเส้น MMA2 เริ่มเปิดกว้าง แสดงถึงทิศทางการปรับตัวขึ้น แต่ภาวะซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,425 – 1,439 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,396 – 1,380 จุด กลยุทธ์การลงทุน ถือโดย prajobv5
SET : RSI Monthly Reset แล้ว พร้อมทะยานไปสู่ 3300 จุด!จากรูปที่ผมได้ตั้งข้อสังเกตุมา พบว่า เมื่อไหร่ที่ SET ย่อแรง จน RSI ระดับ TF Month Reset แล้วเนี่ย หลังจากนั้น มันมักจะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ครับ ในช่วง 4-5 วันนี้ เราก็เริ่มที่จะเห็นเงินต่างชาติไหลกลับเข้ามาช้อนหุ้นหลายๆ ตัวของไทยแล้วเหมือนกัน ผมว่า.. หลายๆ คนก็น่าจะเห็น fact ข้อนี้ ว่า ตลาดหุ้นไทยเรา มัน bottom ไปแล้ว และหุ้นไทยหลายๆ ตัว พอไปดูผลกำไรย้อนหลัง ก็ไม่ได้ขาดทุนอะไรขี้ริ้วขี้เหร่เลย แต่ว่า ราคาเสือกลง!! ก็ไม่แน่นะ รอบนี้ อาจจะเป็นขาขึ้นใหญ่อย่างลุงโฉลกว่าไว้ก็ได้ครับ มาดูแต่ละช่วงกัน ------------- 1998-2004 ------------- RSI จาก ล่างสุด ( OS ) ไปบนสุด ( OB ) ใช้เวลา 1949 วัน ( 5.3 ปี ) SET ขึ้นไป 293% -------------- 2008-2013 -------------- RSI จาก ล่างสุด ( OS ) ไปบนสุด ( OB ) ใช้เวลา 1579 วัน ( 4.3 ปี ) SET ขึ้นไป 336% * จริงๆ ตรงจุดนี้ มีการทำ เวฟ 5 อีกรอบด้วย ก่อนร่วงยาว -------------- 2020-2024/2025? -------------- RSI จาก ล่างสุด ( OS ) ไปบนสุด ( OB ) ใช้เวลา 4-5 ปี? ก็น่าจะ top ช่วง 2024-2025 โดย SET อาจจะขึ้นไปแถวๆ 3300 จุด ( 1.618 + 4.236 fib level ) ขึ้นไปประมาณ 250% ------ สรุป ------ จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ เรามีความ "เป็นไปได้สูง" มากๆ ครับว่า เงินจากนอก จะไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นไทยเรา กันอย่างจริงๆ จังๆ เป็นเวลาหลายปี อย่าลืมว่า รอบนี้ QE กันล้นโลก เงินแม่ง ล้นสุดๆ นะครับ ถ้าสถานการณ์ virus covid ดีขึ้น เงินที่โยนเข้าหลุมดำ มันก็ต้องออกมาหาที่ลง และมันจะไปไหนได้ นอกจากตลาดหุ้น หรือ Bitcoin(?) 555 ผมว่า แหย่ขาในหุ้นไทย เอาไว้บ้าง ก็ดีนะครับ และให้มองเกมยาวๆ อย่ามองเกมสั้นๆ เล่นเข้าๆ ออกๆ แบบนั้นไม่เวิร์คครับ เพราะคุณจะโดนอารมณ์เล่นงานเวลาตลาดพักตัว หรือใครนึกไม่ออกจริงๆ ไม่มีความรู้เลย ก็ไปดูหุ้น top 10 หรือลองหาหุ้นที่มีกำไรต่อเนื่อง แข็งๆ แล้วก็ทยอย DCA หุ้นไปก็ได้ แต่อย่างน้อย ขอให้ถือทน ถือยาว รอให้ RSI monthly อย่างน้อย peak ไปก่อน แล้วค่อย ทยอยๆ ขายออกก็ได้ ( ควรดูกราฟให้เป็นครับ ) เพิ่มขึ้นโดย Real_inwCoin116
SET ไม่หลุด 1200 ก็ไม่ลงSET ไม่หลุด 1200 ก็ไม่ลง ต้องยืนเหนือ 1300 ถ้าไม่อยากเห็น New low ที่ต่ำกว่า 970 โดย KittipongKeana1ce1c7629d54c54ที่อัปเดต: 1
SET ทะลุกรอบเรียบร้อย เข้าสู่ตลาดกระทิงหลังจากวิ่งตามกรอบขาขึ้นมานาน ในที่สุดก็ทะลุเรียบร้อย เข้าสู่ภาวะกระทิง เป็นจังหวะที่ดีต่อการเทรดเก็งกำไรระยะสั้น เพิ่มขึ้นโดย Uttaya0
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ร้อนแรงเกิน แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ตลาดได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,374.18 จุด เพิ่มขึ้น 21.81 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.09 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้เกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัว ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (3/6) ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ขานรับตัวเลขการว่างงานลดลงกว่าที่คาด และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ให้ธุรกิจกลับมาดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,374 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,410 จุด สัญญาณ DMI ยังขาดทิศทาง แต่ภาวะซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,384 – 1,395 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,362 – 1,352 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution)โดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ยิ่งสูงยิ่งหนาว แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และพลังงาน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,352.76 จุด เพิ่มขึ้น 9.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (1/6) ดัชนีปิดตลาดในแดนบวก ท่ามกลางความวุ่นวายจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการประท้วงในประเทศ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,362 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Top ตามหลังแท่งเทียน Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,282 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) และดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,362 – 1,373 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,342 – 1,333 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution)โดย prajobv4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย จำหน่ายจ่ายแจก ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ หลังสหรัฐออกมาตรการตอบโต้กฎหมายความมั่นคงที่จีนนำมาใช้กับฮ่องกง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,342.85 จุด เพิ่มขึ้น 5.34 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 5,504 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 20 วัน ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,358 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,282 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) และดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,350 – 1,358 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,333 – 1,322 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution)โดย prajobv5
นับคลื่น SET นั่งหน้าจอ นั่งนับคลื่นset TFWeek ดูกันยาวๆ ไม่มีถูกผิด นับพลาดก็นับใหม่ กราฟด้านขวาไม่มีใครทราบ สิ่งรู้คือ วิธีมองกราฟ เทรดอย่างไร ให้ได้ตังค์ ----วันนี้เราอยู่ในจบคลื่นA ไปคลื่นB ใหญ่ ---- สิ่งที่ยากเกินคาดเดา คลื่นB สามารถแปลงกลายได้หลายรูปแบบ ----1 .แปลง เป็นflat ----2.แปลงเป็น triangle ----3.แปลงเป็น zigzag และใน3สิ่งนี้ มีอีกหลากแบบ ส่วนตัวเชียร์ให้กลายเป็นstrong B เพราะมีโอกาสกลับไป1650-1730 ขยี้ตาแปป ไม่ได้เขียนผิด หากกลายจะแปลงร่าง แบบนั้นรับรองเม่าเผาทั้งเป็นแน่ จินตภาพสำคัญกว่าความคิด รู้งี้ ทำไปนานแล้สสส 31-5-63โดย Roongee1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ตลาดถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นลงในแดนบวกและแดนลบ จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มแบงก์ แต่ขายออกมาในหุ้นกลุ่มพลังงานและโรงไฟฟ้า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,337.51 จุด ลดลง 7.60 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.49 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงขายที่มีออกมาจะฉุดดัชนีตลาดให้พักตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 19 ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,358 จุด เปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,282 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงจะเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,345 – 1,356 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,328 – 1,320 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุดโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ตลาดเริ่มกลับมาคึกคัก การคลายล็อกดาวน์และความคืบหน้าในการทดลองใช้วัคซีนเพื่อต้านโควิด-19 หนุนบรรยากาศการลงทุนให้กลับมาร้อนแรง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,345.11 จุด เพิ่มขึ้น 9.02 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.86 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเผชิญแรงขาย ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 18 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,345 จุด ตามหลังแท่งเทียนรูป Doji สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงจะเผชิญแรงขาย โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,355 – 1,364 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,336 – 1,326 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุดโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Doji + Gap การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ สร้างความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว แรงซื้อที่มีกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,336.09 จุด เพิ่มขึ้น 15.11 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.38 หมื่นล้านบาท การเกิดโดจิในเขตซื้อมากเกิน เตือนถึงความเสี่ยงในระยะสั้น ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 17 ขณะที่สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก หลังธุรกิจเริ่มกลับมาเปิดดำเนินการและความหวังวัคซีนต้านโควิด-19 เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐรอบใหม่ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,345 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Doji สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงจะเผชิญแรงขาย โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงที่จะถูกขาย ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,345 – 1,355 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,326 – 1,317 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุดโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย จำหน่ายจ่ายแจก ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ตลาดได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,320.98 จุด เพิ่มขึ้น 17.01 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.38 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 16 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวัน “Memorial Day” ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หลังดัชนีตลาดพักตัวลงทดสอบแนวรับของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,330 จุด ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงที่จะถูกขาย ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,330 – 1,340 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,310 – 1,300 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุดโดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย พักตัวลง แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังปรากฏข่าวการขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐรอบใหม่ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,303.97 จุด ปรับลดลง 16.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 15 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (22/5) ตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย นักลงทุนกังวลถึงการขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐ หลังวุฒิสภาผ่านกฎหมายบังคับใช้กับบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ และสภาประชาชนจีนเสนอกฎหมายความมั่นคงเพื่อบังครับใช้กับฮ่องกง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,333 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,277 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลง หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับที่ 1,277 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นพักตัวก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i) สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ แรงขายที่มีออกมาจะส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,311 – 1,320 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,292 – 1,280 จุด กลยุทธ์การลงทุน สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุดโดย prajobv2
กลับมา 1300 ทำไม แล้ว การหลุด 1302 บอกอะไร? ไปต่อไหวไหม? ต่อจาก ไอเดียก่อนหน้า ที่ขีดแนว 1302 ไว้ เป็นแนวสำคัญ หากยืนได้ มีโอกาสไปต่ สุดท้าย พี่กอง ก็พาไปกระแทกด่าน Fibo 161.8% บริเวณ 1333 จุด ได้สำเร็จ ด่านแตกปั๊บ ปู่ SET หมดแรง ร่วงหลุด 1300 ลงมาเลยทีเดียว จากการที่หลุดแนว 1302 ที่เคยเป็นแนวต้านสำคัญ ผลของมันทำให้เรามองว่า ความแข็งแรงของ SET นั้นดูอ่อนด้อยลงไปมาก หากกลับไปยืนเหนื่อ 1302 แบบมั่นๆ อีกครั้งนึงไม่ได้ จะมองเป็นการพักฐานได้เลย ประกอบกับการที่ โค้ชทำการบ้านพร้อมลูกเพจ "โค้ชพี่ป๊อบ" ในจิบกาแฟส่องหุ้น สัปดาห์นี้ จะเห็นว่า หุ้น Big Cap ใน SET50 ต่างพากันอ่อนระโหย โรยแรง มีแต่หุ้นปลาซิวปลาสร้อย พากันกระดี้กระด๊า น่าจะเป็น Week ปลุกผีหุ้นเล็ก หุ้นปั่นกลับมาได้อีกครั้ง ก็ยืนยันกับไอเดียที่ว่า SET อาจมีการพักตัว ในสัปดาห์นี้ แนวพักสำคัญ ก็ไม่ควรจะหลุด 1277 หากหลุด 1277 ไปอันนี้ ไม่เรียกพัก อาจถึงขั้นพับ เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกกระแทก ลงไปจนหลุดแนว 1252 แถวๆ นั้น เอาเป็นว่า พวกเรา "ถอดแว่น" แล้วจับตากันให้ดี แนวสำคัญ 1302 ยืนไม่ได้ก็นั่ง แนว 1277 นั่งไม่ได้ ก็นอน แนว 1252 นี่ถ้าไปนอนกองแถวนั้นแล้วไม่ฟื้น นิมนต์พระเลยแล้วกัน เทรดด้วยความระมัดระวัง อ้อ แล้ว ทุกอาทิตย์ 10 โมงเช้า มาเจอกันใน "จิบกาแฟ ส่องหุ้น" กับโค้ชพี่ป๊อบ ทำการบ้านพร้อมๆ กัน เต็มอิ่ม 2 ชั่วโมงจ้ะ วีคนี้ เทรดด้วยความระมัดระวัง อยากจะรับ รอพักฐานให้มั่นๆ ก่อนนะครับ สวัสดีลดลงโดย cyberpop17
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัล แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,320.69 จุด ลดลง 1.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 ดัชนีดาวโจนส์ประจำวันพฤหัสบดี (21/5) ปรับตัวลดลง ตลาดถูกกดดันจากสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มมีสัญญาณปะทุ ท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของฌชื้อโควิด-19 ปัญหาทางเศรษฐกิจ และตัวเลขคนว่างงานทะลุ 38 ล้านคน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,333 จุด ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,306 จุด และมีเส้น MMA1 และ MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ระยะสั้นควรระวังดัชนีเปิดสูงปิดต่ำ จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นยืนเหนือแนวต้านที่ 1,306 จุด หลังจากดิ่งลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น II,E ที่ 969 จุด ระยะสั้นดัชนีจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ และดัชนีตลาดต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,330 – 1,340 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,311 – 1,301 จุด กลยุทธ์การลงทุน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกแรงขายออกมาเป็นระยะโดย prajobv1