ลงไปเทส 1450.42ถ้าเป้านี้รับไม่อยู่ได้เห็น 13000 สวนทางกับทอง เพราะกังวลไข้หวัดโคโลน่า เป็นการรีเซ็ทตลาดใหม่ทั้งหมด อาจจะลงไปเริ่มต้นใหม่ที่ 800ลดลงโดย NutaponKo2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังอยู่ในช่วงปรับฐาน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงตามแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคาร แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,495.09 จุด เพิ่มขึ้น 3.85 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ สัญญาณ Bullish Divergence จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามา แต่ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติยังเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (21/2) ปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัว บวกกับความกังวลการแพร่ระบาดของ Covid-19 จะกระทบเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,476 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด หนุนดัชนีตลาดปิดสูง แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence สัญญาณปลายตลาดขาลงจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยมีช่องว่างขาลงที่ 1,521 – 1,528 จุดเป็นแนวต้าน และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง เป็นแนวต้านร่วม ระยะสั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,500 – 1,504 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,490 – 1,484 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังมีความเสี่ยง แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,491.24 จุด ปรับลดลง 14.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.55 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,455 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (20/2) ดิ่งลงแรงระหว่างการซื้อขาย ก่อนที่จะลดช่วงลบในท้ายตลาด สัญญาณทางเทคนิคัลและการเกิด Inverted Yield Curve เตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดตามมา ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงหลุดแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,491 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,455 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,496 – 1,502 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,486 – 1,480 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุดโดย prajobv3
SETSET ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง และมีโอกาสปรับตัวลงไปเรื่อยๆในอีก 3 เดือนข้างหน้า หลังจากทีราคามีการปรับตัวหลุดโซนแนวรับระยะยาวที่ 1600 ~ 1537 จุด โดยประมาณ ก็มีการปรับตัวขึ้นไปทดสอบโซนแนวรับที่เบรคมาในช่วง สองสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือโซนแนวรับได้ ก่อนจะมีการปรับตัวลงอีกครั้งในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้เป็นการคอนเฟิร์มการเปลี่ยนจากโซนแนวรับมาเป็นโซนแนวต้านในระยะยาว ดังนั้นหากไม่มีปัจจัยหนุนเชิงบวกเข้ามา โอกาสที่จะกลับขึ้นไปนั้นก็มีความเป็นไปได้ยากขึ้น ปัจจัยกดดันตอนนี้ยังคงเป็นเรื่องของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ที่ยืดยาวมาตั้งแต่ช่วงสงครามการค้าในเฟสที่ 1 จนมาถึงสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกภาคส่วน ซึ่งในช่วงสงครามการค้านั้น เรายังมีภาคการท่องเที่ยว ที่คอยพยุงเศรษฐกิจไว้อยู่ แต่หลังจากมีเหตุการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเข้ามา ส่งผลให้ ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมาก ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในตอนนี้ เกิดการชะลอตัวในทุกภาคส่วน ดังนั้น คาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะยังกดดันให้ SET มีการปรับตัวลงต่อเนื่องไปได้ ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ จนกว่าจะมีปัจจัยเชิงบวกเข้ามาเปลี่ยนแปลง ปัจจัยต่างๆ ลดลงโดย FinancialBrain2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวรับ 1,495 จุด แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,504.54 จุด ลดลง 8.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.87 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 2,479 ล้านบาท สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนุน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) เป็นสัญญาณปรับตัวขึ้นเพื่อลง ตามสัญญาณ Low Price Gapping Play ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 999.90 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,510 – 1,517 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,500 – 1,495 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุด โดย prajobv3
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปิดช่องว่างก่อนปรับตัวลง แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,513.68 จุด ลดลง 13.57 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กมีสัญญาณพักตัว นักลงทุนหวั่นการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 จะกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงแบบมีช่องว่าง (Low Price Gapping Play) ซึ่งเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ดัชนีจะปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ การเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง สะท้อนถึงดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงตามหลักการของ Granville ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI กลับมาเป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกันจะทำให้ดัชนีแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,518 – 1,523 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,507 – 1,500 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุดโดย prajobv3
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ระยะพักตัว ดัชนีตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวก ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซา ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,527.25 จุด เพิ่มขึ้น 0.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวัน Presidents’ Day การระบาดของเชื้อ Covid-19 เริ่มมีแนวโน้มไปในทางบวก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ภายในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องว่างขาลงที่ 1,546 จุด และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,546 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,546 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,532 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,520 – 1,513 จุด กลยุทธ์การลงทุน ปรับพอร์ตถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,520 จุด จากพอร์ตเดิมอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ระวังหลุดแนวรับที่ 1,522 จุด แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,526 จุด ลดลง 6.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.18 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลแสดงถึงดัชนีแกว่งตัวออกด้านข้าง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,522 จุด ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดวันศุกร์ (14/2) แบบไร้ทิศทาง ตลาดได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นักลงทุนติดตามตัวเลขการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ภายในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องว่างขาลงที่ 1,546 จุด และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,547 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,546 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,532 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,520 – 1,513 จุด กลยุทธ์การลงทุน ปรับพอร์ตถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,520 จุด จากพอร์ตเดิมอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัล ตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวกเข้าหนุนตลาด กดดันให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,532.77 จุด ลดลง 7.07 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,550 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ จับตาทิศทางหุ้นรับเหมาก่อสร้างหลังงบประมาณปี 2563 ผ่านวาระ 3 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,550 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,539 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,523 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shapeโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ระยะสั้นระวังแนวต้านที่ 1,550 จุด แรงซื้อที่กลับมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับขึ้นมาปิดที่ 1,539.84 จุด เพิ่มขึ้น 15.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.48 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,550 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลง ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 12/2 ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงใหม่ตลอดกาล ตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มยาและพลังงาน และตัวเลขผู้ติดเชื่อ Covid-19 ลดลง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,550 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,546 – 1,553 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,533 – 1,527 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shapeโดย prajobv1
วิเคราะห์ SET ตลาดหุ้นไทยกราฟ SET แสดงลักษณะ Cup with Handle แบบกลับหัว พร้อมทั้งค่า RSI ทดสอบแนวรับทะลุ 30 ลงมา และ Stochstatic 100 วันแสดงค่าสถิติที่มีความน่าจะเป็นว่าจะลงมากกว่าขึ้น จึงสรุปได้ว่า ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มลงไปอีกยาวลดลงโดย suchanon456ที่อัปเดต: 2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับฐาน แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังแบงก์ชาติส่งสัญญาณปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียม ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,523.93 จุด ลดลง 11.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.26 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 548 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (11/2) ปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย ประธานเฟดชี้เร็วเกินไปที่จะสรุปว่าโคโรนาไวรัสสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกา ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,541 จุด ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,536 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,517 – 1,511 จุด กลยุทธ์การลงทุน ปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,517 จุด พอร์ตการลงทุนจะเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์โดย prajobv1
SET Case Study ทำไมถึงควรเข้ามาเทรดในช่วงภาพรวมตลาดเป็นขาขึ้น? ผมเคยนั่งสังเกตุมาพักนึง กับตลาดคริปโตละ ว่า ถ้าช่วงไหนที่ BTC มันทำตัวเป็นขาลงจ๋าๆ นะ การนั่งเฉยๆ กอดคอ งอเข่า ถือเงินสดเฉยๆ เอาไว้ก่อน .. ก็เป็นการดี เพราะถ้าช่วงตลาดที่ BTC เป็นขาลง ไม่ว่าคุณจะไปพยายามเข้าซื้อ altcoin หรือ BTC เองก็ตามแต่ โอกาสที่คุณจะเจอการทุบของราคาก็มีสูงมาก โดยในช่วงต้นปี 2020 ผมได้ลองไปเทรดหุ้นใน SET อยู่ได้เดือนนึง ก็พบว่า ... SET เทรดยาก ถึงยากมากๆ เพราะไม่ว่าคุณจะไปเข้าตัวไหน ตามระบบอะไรก็ตามแต่ ที่ Backtest แล้วเคยได้กำไร แต่โอกาสที่หุ้นที่จะร่วงต่อ กลับมีสูงมากๆ ผมก็เลยมานั่งคิดไปคิดมา เทียบกับ BTC ช่วงขาลง.. ก็ถึงบางอ้อว่า.. เออ ว่ะ... ถ้าตลาดโดยรวม มันเป็นขาลง ไม่ว่าอะไรก็ตามแต่ แล้วเราจะไปทู่ซี้เทรดมันทำไมให้เมื่อยวะ เพราะโอกาสที่ หุ้นจะลงต่อ ก็มีสูง เอาง่ายๆ อย่างช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. 2020 ที่เราอยู่กันเนี้ย เห็นมั้ยว่า ตลาดคริปโตโดยรวมนั้น เป็นทรง "ขาขึ้น" นำทีมโดย BTC เอาแค่ใช้กลยุทธ CDC Action Zone คุณก็จะเห็นว่า มันเขียวมานานละ และถ้าคุณไปดู altcoin ทั้งหลาย คุณก็จะเห็นได้ว่า ดีดกันตู้มต้ามๆ เต็มไปหมด ประมาณว่า หลับตาจิ้มตัวไหน ก็มีโอกาสได้กำไรกันไปง่ายๆ อ่ะ ผมเลย เกิดสมมุติฐานข้อนี้ขึ้นมา และจะมาลองไล่หุ้นไทย หลายๆ ตัว ในช่วงตลาดกระทิง เพื่อดูว่า "โดยรวมๆ แล้ว เราจะทำกำไรได้ง่ายๆ ถ้าตลาดเป็นกระทิง จริงหรือเปล่า?" ช่วงตลาดกระทิงของ SET ล่าสุด = 11 Apr 2016 - 18 Jun 18 เราจะใช้หลักการที่ว่า 1) จะเริ่มซื้อหุ้น ถ้า Action Zone เปลี่ยนเป็นสีเขียว ในช่วงกระทิงที่ว่ามา 2) จะขายหุ้น ถ้า Action Zone เปลี่ยนเป็นสีแดง ลองมาดูหุ้นรายตัวกัน 1) BEAUTY : กำไร 190% จะเห็นได้ว่า.. ถ้าเราเข้าช่วงตลาดกระทิงที่ว่ามา เราจะได้กำไรถึง +186% แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องทำไรเลย! แต่ถ้าเรายังดื้อไม่ยอมออก ก็อย่างที่เห็น ขาดทุนยับจ้า 2) KCE : กำไร 37% 3) CPF : กำไร 12% 4) WORK : กำไร 44% 5) SIRI : ขาดทุน -6% และกำไร 12% 6) SUPER : ขาดทุน -14% และ -17% 7) AMATA : กำไร 30% 8) CPALL : กำไร 66% 9) ESSO : กำไร 75% และ 23% 10) DTAC : กำไร 15% 11) ADVANC : กำไร 8% 12) BBL : กำไร 10% 13) RS: ขาดทุน -21% และได้กำไร 100% สรุป ----- โดยรวมๆ จะเห็นได้ว่า จิ้มมั่วๆ มา 13 ตัว ส่วนใหญ่ ถ้าเอาระบบง่ายๆ อย่าง CDC Action Zone เขียวซื้อแดงขายมาคุม เราก็สามารถทำกำไรได้ไม่ยาก ในช่วงที่ตลาดดีๆ แต่ ใช่ ก็มีหุ้นบางตัวที่ก็ไม่ perform เหมือนกัน ในช่วงตลาดดีๆ เช่น SUPER เป็นต้น ซึ่ง ถ้าเรามองในมุมของ "ความน่าจะเป็น" เราจะเห็นได้ว่า.. ในช่วงตลาดดีๆ นั้น "ความน่าจะเป็น" ที่หุ้นส่วนใหญ่ "ราคาจะขึ้นต่อ หลังมีสัญญาณเข้า" จะสูงกว่าช่วงที่ตลาดแย่ๆ หรือ SET เป็นขาลง หลายเท่านัก ซึ่งก็สอดคล้องกับตลาดคริปโต ที่ถ้า BTC ทำทรงขาลง ยังไงก็ยังไม่ควรเข้าไปเทรด เพราะโอกาสขาดทุน จะมีสูงมาก จากสมมุติฐานนี้ ถ้าเราหันไปมองตลาดหุ้นอเมริกา อย่าง Dow Jones ก็ยิ่งมาสนับสนุนแนวคิดนี้เข้าไปอีก เพราะตอนนี้ หุ้นเมกา ดีด รัวๆ เพราะ Dow Jones มันเป็นขาขึ้นนั่นเอง ( จริงๆ มันเป็นขาขึ้นมานานมากๆ แล้วล่ะ ) จึงสรุป ได้ว่า.. "ถ้า Index ของ ตลาดเป็นขาลง ก็เก็บเงินสดไว้ก่อน หรือไปเทรดตลาดอื่น ที่เป็นขาขึ้น จะดีกว่า" "ถ้า Index ของ ตลาดเป็นขาขึ้น ก็เข้ามาซื้อหุ้นไปเถอะ หลับตาจิ้ม ก็ยังมีโอกาสได้กำไรง่ายๆ" ทั้งหมดนี้ คือเกมของ "ความน่าจะเป็น" ล้วนๆ ครับ โดย Real_inwCoin2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ขาดแรงหนุน ท่ามกลางภาวะตลาดที่ขาดปัจจัยบวก ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ และปิดลงที่ 1,535.24 จุด ลดลง 0.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.0 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ก่อนที่จะปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (11/2) ปิดตลาดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้น Amazon และ Microsoft หนุนดัชนีกลับมาปิดในแดนบวก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,546 – 1,569 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,522 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shapeโดย prajobv1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Stalled Pattern แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดเริ่มชะลอตัว แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ามีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,535.79 จุด เพิ่มขึ้น 1.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ขานรับข่าวจีนสดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ และการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสอยู่ในวงจำกัด ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,546 – 1,569 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,522 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shapeโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวต้าน 1,546 – 1,569 จุด ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ ลงเหลือ 1 เปอร์เซ็นต์ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,534.14 จุด เพิ่มขึ้น 14.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นก่อนที่จะปรับฐาน ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังมีข่าวว่าจีนสามารถพัฒนายาต้านโคโรนาไวรัส ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,505 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นในกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,546 – 1,569 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,522 จุด กลยุทธ์การลงทุน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape โดย prajobv1
SET แนวต้าน 1537,1550,1562 ห้ามหลุด 1517SET แนวต้าน 1537,1550,1562 ห้ามหลุด 1517โดย KittipongKeana1ce1c7629d54c541
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย สัญญาณบวกเริ่มกลับมา หลังจากที่นักลงทุนเริ่มผ่อนคลายการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส นักลงทุนเริ่มกลับเข้าตลาดทุน แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,519.38 จุด เพิ่มขึ้น 23.32 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.86 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก จากแรงหนุนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,505 จุด ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง โดยมีช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด เป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดระยะสั้นแม้จะมีทิศทางปรับตัวขึ้น แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง สัญญาณ Modified Stochastic มีแนวโน้มที่จะเกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,525 – 1,532 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,513 – 1,507 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape หรือสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergenceโดย prajobv1
setindexวันเก็บของ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสครับ เชื่อผม !!!!!!!!!!!!!!!!!เพิ่มขึ้นโดย TumTum40d894843f074ecc1
SET มาถึงแนวที่มีโอกาสเด้งได้ ลงมาอย่างหนักหน่วง ตั้งแต่สัปดาก่อน สัปดาห์นี้เปิดมายังคงลงต่อเนื่อง ไม่ว่าปัจจัยเรื่อง โคโรน่าไวรัส จะเป็นอย่างไร ณ จุดนี้ 1597 เป็นแนว ที่ SET มีโอกาสเด้งได้ด้วยเทคนิคอล เพราะเป็นแนว 127.2 ของ Fibo ชุดใหญ่ก็คงต้องเด้งให้เกียรติมันบ้าง ส่วนแนวต่างๆ เช่นแนว ฟื้นตัว แนว มีหวัง และแนว ปลอดภัยนั้น โค้ชวัดจาก ชุด Fibo คู่เล็ก ซึ่งทั้งหมด จะเป็นการฟื้นตัวระยะสั้น จนกว่าจะกลับไปยืนเหนือ 1550 ได้อย่างมั่นคง เราก็จะได้พักหายใจหายคอกันบ้าง เอาละ น่าจะพอเห็น Technical Rebound กันได้บ้าง แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า Momentum ของภาพใหญ่ ยังคงให้น้ำหนักไปในทางลง เทรดด้วยความระมัดระวังครับโดย cyberpopที่อัปเดต: 4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย หลุดแนวรับ 1,500 จุด แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงหลุดแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,500 จุด ลงมาปิดที่ 1,496.06 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมาเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กฟื้นตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ท่ามกลางความวิตกถึงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสในประเทศจีน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มที่ 1,505 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีภระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลระหว่างการซื้อขาย แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่องหรือเพื่อปรับฐานออกไปอีกระยะหนึ่ง จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,006 – 1,011 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 995 – 990 จุด กลยุทธ์การลงทุน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape หรือสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergenceโดย prajobv1
SET 4-2-2563แนวรับ SET 1503,1479,1465,1441 เลือกเอา แนวต้าน 1530 ถ้าข้ามได้ จะเป็นทิศทางที่ดีขึ้น โดย KittipongKeana1ce1c7629d54c542