การวิเคราะห์คลื่น
:F3 :c3 x:c3 :sL3 :L3 :5 :s5 :L5 มันคืออะไร:F3 :L5 มันคือ Position Structure Labels ครับ นำไว้กำหนดลำดับการเกิดของ Structure Labels อย่าง :3 และ :5 โดยเรื่องนี้จะอยู่ในหนังสือ Mastering Elliott Wave แล้วผมบอกเลยนะ แม่งโคตรง่าย ไม่รู้ใครไปกำหนดให้มันวิเศษ วิษงอะไรมากมาย เป็นบทที่กระจอกมาก และไร้ประโยชน์มากที่สุดครับ
- และ ++ คืออะไร - คือเอาไว้ขั้นลำดับของ Position Structure Labels ที่อยู่ใน Degree เดียวกัน เช่น :F3-:c3-:L5 ก็จะเป็นรูปแบบ Flat
:F3
สัญลักษณ์โครงสร้างนี้ เรียกว่า "First Three(3) ". :F3 มันสามารถเป็นคลื่นเริ่มชุดได้ และสามารถเกิดหลัง x:c3 ได้ หรือจะอยู่ระหว่าง :5 ก็ได้เหมือนกัน. ถ้าเราเจอ :F3 อยู่ติดกันนั่นหมายความว่า :F3 อันที่สองจะเป็นคลื่นในดีกรีที่เล็กกว่านั่นเอง. ก็ให้เราวงกลมจุดเริ่มต้นของ :F3 ทั้งสองตัวนั้น แต่ไม่ต้องพยายามไปเชื่อม :F3 ทั้งสองตัว จนกว่า :F3 ตัวที่สอง จะกลายเป็นส่วนนึงของรูปแบบที่เป็น Polywave ซึ่งจะใช้คลื่นก่อนหน้านั่นเอง
:c3
สัญลักษณ์โครงสร้างนี้ เรียกว่า "Center Three(3) ". :c3 จะไม่สามารถเป็นคลื่นเริ่มชุดหรือคลื่นจบชุดได้ และด้วยเหตุผลนี้ทำให้คลื่นหลังจบ :c3 จะไม่ได้รุนแรงมากนัก. ถ้าคลื่นชุดแรกมีสัญลักษณ์โครงสร้างที่มากกว่าหนึ่ง และมี :c3 อยู่ด้วย เช่น {:5/(:F3)/ } ให้เราตัด :c3 ออกไปได้เลย เพราะมันจะเริ่มชุดไม่ได้ เช่นกันถ้ามันอยู่คลื่นสุดท้ายอ่ะนะ.
x:c3
สัญลักษณ์โครงสร้างนี้เรียกว่า "Center Three(3) ". x:c3 มันเอาไว้แทนคลื่น X-Wave นั่นเอง ทั้ง Small/Large เช่นเดียวกันกับ :c3 มันจะไม่สามารถเริ่มชุดได้. และถ้ามันมีการปรับตัวของราคาที่รุนแรงมากๆ(รุนแรงมากเมื่อเทียบกับ Monowave รอบข้าง) เกิดขึ้นหลังจากการจบ x:c3 ตามทฤษฏีบอกไว้ว่า มันอาจจะเป็น Non-Limiting Triangle ได้. แน่นอนว่าไอ x:c3 นี้มันจะเกิดระหว่าง correction สองตัว ซึ่งมันทำให้คลื่นนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้นอย่างมาก. เนื่องจากมันเป็นคลื่นกลางชุด ดังนั้นถ้าคลื่นที่เรากำลังวิเคราะห์มันมี x:c3 เป็นสัญลักษณ์คลื่นอยู่ในนั้น และเป็นคลื่นท้ายหรือเริ่มชุด เราสามารถตัดมันออกไปได้เลย เช่น M(-1) นั้นมีสัญลักษณ์คลื่นหลายตัวเช่น {:F3/(:sL3)/ } ให้เราตัด x:c3 ออกไปได้เลยครับ. แน่นอนว่า x:c3 มันก็คือ x-wave ดังนั้น x:c3 ก็ไม่ควรมี Complexity Level ที่มากกว่า ชุดรูปแบบทั้งก่อนหน้าและหลังจากมัน
:sL3
สัญลักษณ์โครงสร้างนี้เรียกว่า "second to Last three(3) ". :sL3 มันจะไม่สามารถเป็นคลื่นชุดเริ่มต้นหรือคลื่นสิ้นสุดของรูปแบบได้ ซึ่งไอสัญลักษณ์คลื่นนี้จะต้องมี :L3 ตามหลังมันด้วย เพราะว่า :sL3 มันคือคลื่น corrective "ก่อนจบ" ดังนั้นคลื่นจบมันก็จะเป็น :L3 นั่นเอง. ซึ่งถ้ามี :sL3 อยู่นั่นก็แสดงว่าทั้งชุดอาจจะเป็น Terminal หรือ Triangle ได้ หรืออีกความหมายนึงคือ มันจะมี 5 คลื่นแล้วเป็น :3 ทั้งหมดนั่นแหละ
:L3
สัญลักษณ์คลื่นนี้เรียกว่า "Last Three(3) ". :L3 แน่นอนว่าคำว่า Last มันแปลว่าสุดท้าย แสดงว่า :L3 มันก็คือคลื่น :3 คลื่นสุดท้าย. แต่มันไม่เหมือนกับ :sL3 ที่จะต้องมี :L3 ตามท้ายนะ ไอ :L3 จะมี :sL3 อยู่ข้างหน้า หรือไม่ก็ได้. ถ้า :L3 มันเป็นคลื่นที่เล็กที่สุด ดังนั้น :L3 ก็จะต้องถูก Completely Retrace โดยใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ :L3 ใช้ (ต้องบวกระยะเวลาหนึ่งช่วงไปด้วยนะ หมายความว่า ให้เราบวกระยะเวลาที่ข้อมูลจากจุดนึงที่จะไปเชื่อมจากจุดนึงนั้นใช้ เช่น 2.5 ปี เราก็บวกเพิ่มไปในระยะเวลาที่ :L3 นั้นใช้). แน่นอนว่าไอ :sL3 กับ :L3 มันคล้ายๆกัน คือมันจะต้องเป็นส่วนนึงของ Terminal และ Triangle
:5
สัญลักษณ์โครงสร้างนี้เรียกว่า "Five (5) ". :5 มันก็คือคลื่นที่เป็น Impulsive ซึ่งจะไม่ใช่คลื่นจบชุด. โดยมันสามารถเป็นขาแรกของ Zigzag ได้ หรือแม้แต่ขาตรงกลางของ Complex Correction หรือรูปแบบ Impuse. ถ้าเราเจอ :5 คลื่นปรับตัวจะไม่สามารถปรับตัวได้เกิน 61.8% และหลังจากนั้นตลาดก็จะย้อนทะลุไปไฮเดิม และถ้าเราเจอการปรับตัวที่เกิน 61.8% ไปก็ให้ตัดความเป็นไปได้ของ :5 ออกไป
:s5
สัญลักษณ์โครงสร้างนี้เรียกว่า "Special Five(5) ". :s5 จะกำหนดสัดส่วนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับคลื่นในก่อนหน้าและหลัง :s5 ซึ่งไอ :s5 ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ :L5 แต่จะไม่ต้องมีการกลับตัวของราคาเพื่อยืนยันการจบของ :L5 นะ. โดยปกติแล้ว :s5 มักจะเกิดในคลื่นที่มีความซับซ้อนมากๆ เช่นพวก Non-Standard Small-X Wave หรือพวกคลื่น 3 ในชุด Trending Impulse ที่เป็น 5 ล้มเหลว หรือ 5 ขยายก็ได้. และถ้าเราเจอ :s5 คลื่นก่อนหน้าสองคลื่นจะต้องถูกเชื่อมกับ :s5 ด้วย. และลำดับที่จะถูกเชื่อมก็จะเป็น :5-:F3 หรือ :F3-c3
:L5
สัญลักษณ์โครงสร้างเรียกว่า "Last Five(5) ". เจ้าตัว :L5 แน่นอนว่ามันจะต้องเป็นคลื่นที่จบชุด ซึ่งการมีอยู่ของ :L5 นั่นหมายถึงว่า มันก็จะจบคลื่นในดีกรีที่สูงกว่าไปด้วยนั่นเอง. การยืนยันการจบของ :L5 ก็คือเทรนด์ไลน์ที่พาดจาก m(-2) ไป m0 จะต้องถูกเบรกโดยใช้ระยะเวลาที่เท่ากับหรือน้อยกว่าที่ :L5 ใช้. และเพื่อที่จะเชื่อม :L5 เข้ากับคลื่นก่อนหน้าได้นั้น คลื่นก่อนหน้าจะต้องเป็น :F3 หรือ :c3 เท่านั้น.
การหาจุด Entry Buyหลังจากราคาเข้า POI Zone การหาจุด entry โดยใช้ TF ที่เล็กลงมา
จุดที่ 1 ไม่ใช่จุด entry เพราะไม่มี LQ ( Liquidity )
จุดที่ 2 ไม่ใช่ เพราะ หลังจากเบรกทำ H แล้วลงมากิน LQ แต่ไม่เบรก H ขึ้นไป แต่เบรก Low ลงมาแทน
จุดที่ 3 ราคามีโอกาสขึ้นมากที่สุด เพราะ หลังจากเบรกทำ H แล้วลงมากิน LQ และเบรก H ขึ้นไป
Internal และ External คืออะไร หลักการของมันคือ?ตามนี้ครับ สรุปมาให้แล้ว หลักการของมันประมาณนี้แค่นี้เลยครับ วัด Internal และ External หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่ผ่านมาเห็นครับ
ปล.รอทองมันวิ่ง ไม่มีไรทำมาแชร์ความรู้ดีกว่า ยิ่งเราแชร์มากเรายิ่งได้รับมากครับ ยิ่งเราพูดถึงเรื่องใดเรื่องนึงมาก เราก็จะยิ่งเก่งเรื่องนั้นครับ ดังนั้นมีความรู้อย่าเก็บไว้คนเดียวครับ แชร์ให้คนอื่นๆรู้ด้วย จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ครับ :)
@Kunnaphatz รูปแบบ Flat ประเภทต่างๆFlat = 3-3-5
1. Normal B มี 3 ประเภท คือ
1.1 Common Flat
1.2 Elongated Flat
1.3 C-Failure Flat
.
2. Strong B มี 3 ประเภทคือ
2.1 Irregular Flat
2.2 Irregular Failure Flat
2.3 Running Flat
.
3. Weak B มี 3 ประเภท คือ
3.1 B-Failure C=A
3.2 B-Failure C>A
3.3 Double Failure
รูปแบบ Flat ใน NEoWaveในรูปแบบ Flat คลื่น B ยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ
คลื่น a จะยิ่งทำให้คลื่น c รีเทรซคลื่น b น้อยเท่านั้น และ
คลื่น a กับคลื่น c ก็จะมีความคล้ายคลึงกันเท่านั้น และถ้า
ยิ่ง b รีเทรซคลื่น a น้อยเท่าไหร่ ก็จะทำให้คลื่น c ใหญ่กว่าเท่านั้น
ให้ทุกท่านดูเป็นแนวทางพอนะครับไม่ต้องไปซีเรียสกับว่า
มันจะต้องเท่าตามนี้เป๊ะๆ ไม่ต้องนะครับ เพราะหากเราใช้
มันในการเทรดจริงๆ เราก็ไม่ได้นำทุกรูปแบบมาประมวล
ผลครับ สมองมนุษย์เราไม่ได้ทำงานแบบนั้น สมองคนเรา
รับข้อมูลได้มากสุดในการประมวลผลหนึ่งครั้งแค่ 7 อย่าง
เท่านั้นครับ เวลาเราไปใช้จริง เราจะดูแค่ความเป็นไปได้
บางรูปแบบเท่านั้น แล้วสมองเราก็จะตัดความเป็นไปได้
อย่างอื่นออกไป เหลือแค่ไม่กี่ความเป็นไปได้เท่านั้นครับ
สมองมนุษย์เราเน้นที่การจดจำรูปแบบว่า ถ้าไม่ใช่แบบนี้
ก็จะเป็นแบบอื่น
Case Study ; MPL & QM Pattern & FakeoutCase Study ; MPL & QM Pattern & Fakeout
📊 รูปแบบ Type : SELL SETUP
****************************
⛔️ คำเตือน : เป็นเพียงเนื้อหาสำหรับกรณีศึกษาเท่านั้น ทั้งหมดล้วนต้องใช้เวลาและประสบการณ์จริงของแต่ละท่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่าสูงสุด โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล
****************************
● MPL หรือชื่อเต็ม Maximum Pain Level
● MPL ตามตัวอย่างหรือโครงสร้างในภาพนั้น จริงๆ แล้วก็เป็นหนึ่งในรูปแบบของ Supply and Demand Zone ( SND ) ซึ่งรูปแบบของ MPL ในภาพนั้น ก็เป็นรูปแบบที่ก่อเกิดขึ้นในโครงสร้างของ QM Pattern(QML) ด้วยเช่นกัน จึงทำให้น่าสนใจ
● ทั้ง QML และ MPL ก็นับว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของ SND เช่นกัน และมักจะมีรูปแบบเส้น SNR (QML) หรือ SND ZONE ที่เกิดการทับซ้อนกันอยู่ จึงมีนัยะและความน่าสนใจที่มากขึ้น
● MPL ที่ผมมองว่าเป็น RBD ตามในภาพ เนื่องจากว่า การเคลื่อนที่ของกลุ่ม Base Balance Zone หรือ Sideway เล็กๆ นั้น อาจจะก่อเกิดแนวต้านเล็กๆ หรือ Resistance Fakeout หรือเกิดเป็น Mini QM เล็กๆ ก่อนก็เป็นได้ และหลังจากนั้นราคาอาจจะตีทะลุกรอบขึ้นไป เหนือระดับ QML ซึ่งช่วงนี้จะเกิดการพุ่งของ IMB ขึ้นไปเล็กน้อยคือ Rally(R) และพักฐาน Base(B) และจากนั้นเกิดแรงขาย Drop(D) ลงมา ซึ่งหลังจากการ Drop ลงมานี้ จะเกิดแท่งเทียนกลืนกิน Bearish Engulfing ก็เป็นได้
● ณ โซน MPL ( RBD ) ในโซนนี้นั่นเองที่จิตวิทยานักเทรดส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่ามีโอกาสเข้า Sell ได้ จึงนับเป็นโซนที่ใช้ตัดสินใจเข้าที่ MPL & QML (Decision Point = DP)
***************************
✅ วิธีการเข้าออเดอร์
● เมื่อตลาดเกิดโครงสร้าง QM Pattern แสดงถึงการอ่อนกำลังขาขึ้น Loss Momentum Up กำลังส่งจะเริ่มลดลง และมีโอกาสเกิด Momentum กลับทิศลง ดังนั้นเมื่อเจอโครงสร้างนี้ ให้สังเกตุหาเส้น SNR Key Level ก็คือ QML (Left Shoulder)
● ตีกรอบครอบโซนของ QML ด้วยก็ได้/หรือจะละไว้ในฐานที่เข้าใจก็ได้ เพราะเรามอง QML เป็นเส้นหลักแล้ว และจากนั้นจะต้องมองหา Base ที่เกิดตรงข้ามกับ QML ZONE นั่นก็คือ MPL เนื่องจากตรงนี้ หากว่าตลาดเกิดแรง Drop ลงมาจริงๆ ตามภาพตัวอย่าง จะเป็น MPL Supply Zone ที่น่าสนใจมาก เนื่องจากกลืนกินแรงซื้อ Clean up Significant Demand ได้และหากราคาทำ Lower Low ด้วยการทำลายโครงสร้าง BMS (Break Market Structure) ได้อีก จะยิ่งมีนัยะและบ่งบอกถึง Momentum Down ที่แข็งแกร่ง ในด้านกลับทิศลง ก็ให้ตีกรอบครอบ SND ZONE ของ MPL ได้เลย
● ตั้งออเดอร์ Sell Limit (Pending Order) ที่ระดับ MPL Supply Zone
● SL ตั้งเหนือ Swing Higher High(HH)
● TP แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ TP1 ตั้งที่ระดับ Swing Low ของไหล่ซ้าย หรือแนวรับไหล่ซ้ายของ QML และ TP2 ตั้งที่ระดับ Swing Lower Low ของโครงสร้างหลัก QM Pattern ซึ่งเป็นขา Swing Under (HL -> LL) ของรูปแบบ QM
*******************************
⚠️ MM บริหารเงินทุนต่อแผนยอมแพ้ไม่เกิน DD 2-5% และทุกแผนต้องทำ Position Sizing เสมอ
THE MARKET STRUCTURETHE MARKET STRUCTURE (ขั้นพื้นฐาน เบื้องต้น) 📊 Sell Setup 📊 เป็นกรณีศึกษา Case Study Only
● ที่ต้องบอกว่าเบื้องต้น ก็เพราะว่าโครงสร้างตลาดนี้เป็นไปในแบบฉบับที่ผมปรับจูนนิดหน่อย อาจจะไม่เปะ ไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100%
.
แต่คิดว่า สำหรับคนที่ต้องการศึกษาไว้ น่าจะเป็นไกด์นำทิศทาง ในการมองภาพรวมของตลาดได้
.
และทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาพฤติกรรมพื้นฐาน ทั้งคลื่นและโครงสร้าง ให้แตกฉาน จนเกิดเป็น ปสก. และทักษะส่วนตัว ถึงขั้นชำนาญ แตกฉานแล้วเท่านั้น ถึงจะเข้าใจว่า โครงสร้างทั้งหมด ก็เป็นเพียงไกด์นำทางเท่านั้น เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว นักเทรดจะเริ่มปรับประยุกต์ใช้ และยืดหยุ่นเทคนิค เป็นการปรับมุมมองตามอารมณ์ของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ
.
เพื่อให้รู้จังหวะในช่วงเวลานั้นๆ ว่าจะหลีกเลี่ยง จะฟอลโล่ตาม หรือเข้าปะทะร่างกาย
.
จากแผนภาพ เป็นการวางแผน 2 ชั้น ในระดับ Supply Zone ทั้ง 2 โซนนะครับ การเทรดควรวางแผนมากกว่า 1 แผนเสมอและควรทำ Position Sizing คำนวณล็อตและ MM ทุกๆ แผนนะครับ
#อย่าได้จดจำหรือยึดติดกับคำย่อมากมายนัก
#เน้นศึกษาและนำส่วนจำเป็นมาใช้ก็พอ
#เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางกรณีศึกษาเท่านั้น
กฏและแนวทางการนับคลื่น Zigzag(5-3-5)Zigzag(5-3-5)
ซิกแซกมี สาม รูปแบบได้แก่ Single Zigzag,Double Zigzag,Triple Zigzag
Single Zigzag คือการลดลงสามคลื่นที่มีลำดับคลื่นย่อยภายในเป็น 5-3-5 และคลื่น B ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น A อย่างชัดเจน ในบางกรณี Zigzag อาจเกิดขึ้น สองครั้งหรือมากสุดสามครั้งติดต่อกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ Zigzag แต่ละอันจะถูกคั่นกลางด้วยรูปแบบสามคลื่น(Corrective wave) ทำให้เกิด Double หรือ Triple Zigzag โดยที่ Zigzag มักจะเกิดขึ้นในคลื่นสองของ Motive wave มากกว่าคลื่นสี่ และอยู่ในคลื่นย่อยของสามเหลี่ยม และคลื่น X ในชุดคลื่นผสม
Rules
ซิกแซกแบ่งออกเป็นสามคลื่นเสมอ
คลื่น A แบ่งย่อยออกเป็น impulse หรือ leading diagonal.
คลื่น C แบ่งย่อย impulse หรือ ending diagonal.
คลื่น B แบ่งย่อยออกเป็น zigzag, flat, triangle หรือ combination เสมอ
คลื่น B ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดเริ่มต้นของคลื่น A
Guidelines
คลื่น A แบ่งย่อยออกเป็น impulse.กือบทุกครั้ง
Wave C แบ่งย่อยเป็น impulse เสมอ
คลื่น C มักจะมีความยาวเท่ากับคลื่น A
คลื่น C มักจะสิ้นสุดเกินกว่าจุดสิ้นสุดของคลื่น A
คลื่น B มักจะย้อนกลับ 38 ถึง 79 เปอร์เซ็นต์ของคลื่น A
ถ้าคลื่น B เป็น running triangle โดยทั่วไปจะย้อนกลับระหว่าง 10 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของคลื่น A
หากคลื่น B เป็นคลื่นซิกแซก โดยทั่วไปจะถอยกลับ 50 ถึง 79 เปอร์เซ็นต์ของคลื่น A
หากคลื่น B เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยทั่วไปจะย้อนกลับ 38 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของคลื่น A
เส้นที่เชื่อมปลายคลื่น A และ C มักจะขนานกับเส้นที่เชื่อมปลายคลื่น B กับจุดเริ่มต้นของคลื่น A (แนวทางคาดการณ์ คลื่น C มักจะสิ้นสุดเมื่อถึงเส้นที่ลากจากปลายคลื่น A นั่นคือ ขนานกับเส้นที่เชื่อมจุดเริ่มต้นของคลื่น A และจุดสิ้นสุดของคลื่น B)
#Elliottwave กฎ และ แนวทางการนับคลื่น Diagonal Triangle Diagonal Triangle
Diagonal Triangle(สามเหลี่ยมมุมทแยง) จัดเป็นหนึ่งในรูปแบบคลื่น Motive wave แต่ไม่ใช่ Impulse wave เนื่องจากคลื่นลูกที่สี่ของ Diagonal มีจุดสิ้นสุดภายในคลื่นลูกที่หนึ่ง รูปแบบ Diagonal นั้นมีตำแหน่งการเกิดขึ้นของรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมักจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเทรนของแนวโน้มใหญ่ และช่วงปลาย ของการสิ้นสุดของแนวโน้ม ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้ในคลื่น A ของ Zigzag และ C ของ Corrective wave
Diagonal Triangle แบ่งได้ 2 ประเภทตามของตำแหน่งที่ ปรากฏ ของคลื่น ได้แก่ Leading Diagonal และ Ending Diagonal
Rules
diagonal แบ่งออกเป็นห้าคลื่นเสมอ
ending diagonal จะปรากฏเป็นคลื่น 5 ของแรงกระตุ้นหรือคลื่น C ของ zigzag หรือ flat.
leading diagonal จะปรากฏเป็นคลื่น 1 ของแรงกระตุ้นหรือคลื่น A ของซิกแซกเสมอ
คลื่น 1, 2, 3, 4 และ 5 ของ ending diagonal, และคลื่นที่ 2 และ 4 ของ leading diagonal, แบ่งออกเป็นซิกแซกเสมอ
คลื่น 2 ไม่เคยไปไกลกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น 1
คลื่น 3 มักจะไปไกลกว่าจุดสิ้นสุดของคลื่น 1
คลื่น 4 ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 2
คลื่น 4 จะสิ้นสุดภายในอาณาเขตราคาของคลื่น 1 เสมอ*
จาก เส้นที่เชื่อมปลายคลื่น 2 และ 4 จะบรรจบกันเข้าหา (ใน contracting ) หรือแยกจาก (ใน expandingจะขยายออก) เส้นที่เชื่อมต่อปลายคลื่นที่ 1 และ 3
ใน leading diagonal,คลื่น 5 จะสิ้นสุดหลังสิ้นสุดคลื่น 3 เสมอ
ใน contracting คลื่น 3 จะสั้นกว่าคลื่น 1 เสมอ คลื่น 4 สั้นกว่าคลื่น 2 เสมอ และคลื่น 5 สั้นกว่าคลื่น 3 เสมอ
ใน expanding คลื่น 3 มักจะยาวกว่าคลื่น 1 เสมอ คลื่น 4 มักจะยาวกว่าคลื่น 2 เสมอ และคลื่น 5 มักจะยาวกว่าคลื่น 3 เสมอ
ใน expanding คลื่น 5 จะสิ้นสุดหลังจากสิ้นสุดคลื่น 3 เสมอ
Guidelines
คลื่นที่ 2 และ 4 แต่ละคลื่นมักจะย้อนกลับ .618 ถึง .786 ของคลื่นก่อนหน้า
คลื่นที่ 1, 3 และ 5 ของ leading diagonal มักจะแบ่งออกเป็นซิกแซก แต่บางครั้งก็ดูเหมือนจะเป็น impulses.
ภายใน impulse ถ้าคลื่น 1 เป็น diagonal คลื่น 3 มีแนวโน้มที่จะขยายออกไป
ภายใน impulse คลื่น 5 ไม่น่าจะเป็น diagonal หากคลื่น 3ไม่ขยาย
ใน contracting คลื่น 5 มักจะสิ้นสุดหลังจุดสิ้นสุดคลื่น 3 (บ้างครังอาจเกิดความล้มเหลวในการทำเช่นนั้นเรียกว่า truncation )
ใน contracting คลื่น 5 มักจะสิ้นสุดที่หรือเกินเส้นที่เชื่อมปลายคลื่นที่ 1 และ 3 เล็กน้อย (การสิ้นสุดเหนือเส้นนั้นเรียกว่าการ throw-over)
ใน expanding คลื่น 5 มักจะจบลงเล็กน้อยก่อนถึงเส้นที่เชื่อมปลายคลื่นที่ 1 และ 3
#Elliottwave กฎ และ แนวทางการนับคลื่น ImpulsiveImpulse wave(5-3-5-3-5)
คลื่น Impulse คือคลื่น Motive ที่พบเจอได้บ่อยที่สุด ในบรรดา คลื่น Motive ด้วยกัน ลักษณะอันเด่นชัดนอกจากกฎโครงสร้างพื้นฐาน คือ คลื่น 4 จะไม่เข้าสู่อาณาเขตของคลื่น 1 แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม นอกจากนั้นคลื่น 3 ต้องเป็น Impulse wave เสมอ กฎโครงสร้างของ Impulse wave ได้แก่
Rules
Impulse แบ่งออกเป็นห้าคลื่นเสมอ
คลื่น 1 แบ่งย่อยเป็น impulse หรือ (ไม่บ่อย) ที่จะเป็น leading diagonal.
คลื่น 3 แบ่งย่อยเป็น impulse เสมอ
คลื่น 5 แบ่งย่อยเป็น impulse หรือ ending diagonal เสมอ
คลื่น 2 แบ่งย่อยออกเป็น zigzag, flat หรือ combination.เสมอ*2
คลื่น 4 แบ่งย่อยออกเป็น zigzag, flat, triangle หรือ combination.*2
คลื่น 2 ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดเริ่มต้นของคลื่น 1
คลื่น 3 จะเคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 1 เสมอ
คลื่น 3 ไม่เคยเป็นคลื่นที่สั้นที่สุด
คลื่น 4 ไม่เคยเคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 1
คลื่น 1, 3 และ 5 ไม่เคยขยายพร้อมกันทั้งหมด*1
Note *1 ดูเนื้อหาในส่วนคลื่นขยาย
*2 ดูเนื้อหาใน Corrective wave
Guidelines
คลื่น 4 มักจะเป็นรูปแบบการแก้ไขที่แตกต่างจากคลื่น 2 เกือบทุกครั้ง หมายถึงการสลับ Sharp และ Side way
คลื่น 2 มักจะเป็น zigzag หรือ zigzag combination.
คลื่น 4 มักจะเป็น flat, triangle or flat combination.
บางครั้งคลื่น 5 จะไม่เคลื่อนที่เกินจุดสิ้นสุดของคลื่น 3 ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่าการตัดปลาย(truncation).
คลื่น 5 มักจะสิ้นสุดลงเมื่อบรรจบกันหรือเกินเส้นที่ลากจากปลายคลื่น 3 เล็กน้อยซึ่งขนานกับเส้นที่เชื่อมปลายคลื่น 2 และ 4 เล็กน้อย
จุดศูนย์กลางของคลื่น 3 มักจะมีความลาดชันที่สุดของช่วงเวลาที่เท่ากันภายในแรงกระตุ้นหลัก ยกเว้นว่าบางครั้งช่วงต้นของคลื่น 1 ("การเริ่มต้น") จะชันกว่า
คลื่น 1, 3 หรือ 5 มักจะถูกขยายออกไป (ส่วนขยายอาจปรากฏว่า "ยืดออก" เนื่องจากคลื่นแก้ไขมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับคลื่นแรงกระตุ้น มันอาจยาวกว่าอย่างมากและมีการแบ่งย่อยที่ใหญ่กว่าคลื่นที่ไม่ขยาย)
บ่อยครั้ง คลื่นย่อยที่ขยายออกมาจะเป็นตัวเลขเดียวกัน (1, 3 หรือ 5) ตัวอย่างเช่นหากคลื่น 3 ขยาย หากมีการขยายภายในอีกก็มักจะเป็นคลื่นย่อยลูกที่สามของ คลื่น 3
ไม่บ่อยนักที่คลื่นย่อยสองคลื่นจะขยาย แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคลื่น 3 และ 5 ทั้งคู่ที่จะขยายเมื่อคลื่นย่อยเป็นระดับ Cycle หรือระดับ Supercycle และภายในคลื่นลูกที่ห้าที่สูงกว่าหนึ่งองศา
คลื่น 1 เป็นคลื่นที่มีโอกาสขยายน้อยที่สุด
เมื่อคลื่น 3 ถูกขยาย คลื่นที่ 1 และ 5 มักจะความเท่ากันหรือตามอัตราส่วน Fibonacci
เมื่อคลื่น 5 ถูกขยาย มักจะเป็นสัดส่วนฟีโบนักชีกับการเดินทางสุทธิของคลื่น 1 ถึง 3
เมื่อคลื่น 1 ถูกขยายออกไป มันมักจะอยู่ในสัดส่วนฟีโบนักชีกับการเดินทางสุทธิของคลื่น 3 ถึง 5
โดยทั่วไป Wave 4 จะสิ้นสุดเมื่ออยู่ในช่วงราคาของ subwave iv ของ Wave 3
คลื่น 4 มักจะแบ่ง Impulse ทั้งหมดออกเป็นสัดส่วนฟีโบนักชีในเวลาแและราคา
#Elliottwave #พื้นฐาน #Basicการรู้ว่าเมื่อไรที่เราผิด สำคัญกว่าการรู้ว่าเมื่อไรที่เราถูก
ในการเคลื่อนที่ของแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ราคาจะไม่เกิดการทับซ้อนกัน และจะไม่ย้อนกลับเกินจุดเริ่มต้นของคลื่นก่อนหน้าในระดับเดียวกัน ก่อให้เกิดกฎสำคัญของ Elliott wave ในการนับคลื่นที่เป็นแนวโน้มในรูปแบบ Impulse ที่ไม่สามารถละเมิดได้ หากละเมิดกฎเหล่านี้การนับคลื่นเราจะผิดทันที
1 คลื่นสองไม่สามารถย้อนกลับได้มากกว่า 100% ของคลื่นหนึ่ง
2 เทียบระหว่างคลื่นหนึ่ง คลื่นสาม คลื่นห้า คลื่นสามต้องไม่ใช่คลื่นที่สั้นที่สุด
3 คลื่นสี่จะไม่มีจุดสิ้นสุดภายในอาณาเขตของคลื่นหนึ่ง
PoB ตัวอย่าง Truncate Fifthตัวอย่าง Truncate Fifth หรือ 5th Wave Failure จากหนังสือ Elliott wave principle ของ Frost and Prechter
Dow Jone ในช่าง 1960-1963 เกิดการพักตัวลงขา C ลง 5 คลื่นในรูปแบบ Bearish Truncate Fifth หรือเวฟ 5 สั้น สั้นระดับที่ไม่สามารถผ่านปลายเวฟ 3 ไปได้ ทำให้บางตำรารูปแบบนี้ถูกเรียกว่า 5th Wave Failure
Bearish Truncate Fifth คือพฤติกรรมของราคาที่เวฟ 5 ไม่สามารถทำ New Low ได้ บงบอก Supply ของปลายชุดคลื่นนี้อ่อนแรงมากแล้ว อาการหลังการจบชุดคลื่น Truncate Fifth หรือ 5th Wave Failure จึงเป็นลักษณะของการดีดตัวอย่างรุนแรง เพราะแทบไม่มีแรงต้านจาก Supply เหลืออยู่แล้ว
มนุษย์กราฟ | Humangraphy