ค้นหาในไอเดียสำหรับ "EMA"
หรือ BTC จะทะยานต่อ ไปทดสอบ 14k และ 20k ?ช่วงนี้ หลายๆ คนเริ่มลังเล เพราะเดือนที่ผ่านมาเดือนเดียว ตลาดสะบัดขึ้นลง
ทำให้หลายๆ คนต้องโดนเด้งออกจากการเทรดไปโดยปริยาย
หลายๆ คนก็คืนกำไรที่ได้มาช่วงขาขึ้นไปจนหมด
จริงๆ ผมเคยวิเคราะห์เอาไว้แล้ว ในสามสี่วันก่อนว่า
การขึ้นมาทดสอบ EMA(18) รอบนี้ หรือจะเป็นการขึ้นเพื่อลงต่อ
แต่กลายเป็นว่า... เจ้าแม่งลากขึ้นเช้ยยย
และลากขึ้นมารวมแล้วเป็น สี่วันเป็นที่เรียบร้อย
ทำให้มุมมองผม ต้องเปลี่ยนไปครับ
โดยรอบนี้ เราพบว่า
Action Zone น่าจะเขียวประมาณ พรุ่งนี้ ( MACD โผล่พ้นเส้น 0 = เขียว ) ใน TF Daily
การขึ้นมา 4 วันติด ที่ผ่านมา ทำให้มุมมองขาลง โดนลบล้างไป
ตอนนี้ทุก timeframe ชี้ขึ้นหมด สำหรับ BTC ( 4H, D, W, M )
การย่อ ที่ผ่านมา ย่อเพียงแค่ 0.386 fibo เท่านั้น ยังไม่หลุดลงไปลึกมากนัก
ตอนนี้ผมมองแล้ว เราน่าจะทำคล้ายๆ กับรอบกลางปี 2017 มากกว่า ตามกราฟนี้
นั่นก็คือ มีการย่อจน Action Zone แดง ก็จริง แต่ก็มีการวกกลับขึ้นมาทำ Higher High
และ ไปต่อได้อีกยาว
อนึ่ง เราก็ยังบอกอะไรไม่ได้มาก จนกว่าจะจบแท่ง daily วันนี้
ถ้าโดนทุบจนกลับลงมาใต้ 10k มุมมองทุกอย่างข้างบนก็จะ invalid ทันทีครับ 55555
CBG เบรคเทรนไลน์แล้วอย่าหลุด แนวรับนะจากที่สามารถเบรคเทรนไลน์ระยะยาวได้แล้ว ก็สามารถยืนเหนือ EMA 10 พร้อมทั้ง ADI ตัดกัน จึงเป็นสัญญาณเข้าซื้อไม้แรก
(สามารถรอซื้อหลังเบรคแนวรับเดิมก็ได้)
ซึ่งการเบรคแนวรับเดิมและไม่หลุดลงมาเลยทำให้เป็นการยืนยันว่าเทรนขาลง มีโอกาสหมดรอบแล้ว ขาดเพียงการย่อลงมาโดยไม่ทำนิวโลว์
ทำให้หลังจากนี้หวังว่าจะมีการย่อยกโลว์เพื่อกลับไปทดสอบแนวต้านถัดไปที่ แถว 60 บาทได้
แนวรับ 52-55 บาท
เป้าหมาย แนวต้านแรก 60 บาท
Stop loss 50 บาท
BTCUSD หรือเรากำลังจะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้นรอบใหญ่ เป้า 100,000 USD?การดีดทะลุมายืนเหนือ 7700 เมื่อวาน ทำให้เราปิดแท่งสัปดาห์ได้ค่อนข้างสวย
โดยทำให้แท่งสัปดาห์สามารถยืนเหนือทั้ง EMA 18 / EMA 120 และ EMA 200 ได้ ตามรูป
อีกทั้งถ้าเรามาดูในส่วนของ TF Daily ก็จะเห็นความน่าสนใจตรงที่ว่า
ราคายืนเหนือ EMA 120 ( เส้นแดง )
+ ราคายืนเหนือ EMA 18 ( เส้นเหลือง )
+ Action Zone เขียว
= ราคา "มีแนวโน้ม" ที่จะขึ้น ... โดยลองดูจากอดีตที่ผ่านมาได้ดังนี้
===============
ต้นปี 2020
ราคายืนเหนือ EMA 120 ( เส้นแดง )
+ ราคายืนเหนือ EMA 18 ( เส้นเหลือง )
+ Action Zone เขียว
= หลังจากนั้นราคาขึ้นต่อ
ปี 2019
ราคายืนเหนือ EMA 120 ( เส้นแดง )
+ ยืนเหนือ EMA 18 ( เส้นเหลือง )
+ Action Zone เขียว
= หลังจากนั้นราคาก็ระเบิดทะลุ 4200 ไป 5000
พร้อมทั้ง EMA 18 ตัด EMA 120 ขึ้น
ปี 2018
เราโดนหลอกทุกครั้งที่เข้าเงื่อนไขที่ว่า 555
ปี 2015
ท่าที่เราเป็นอยู่ตอนนี้คล้ายๆ กับปี 2015
คือ ขึ้นหลอกครั้งนึง แล้วลงแรงมาก
หลังจากนั้นก็ขึ้นต่ออีกทีแบบ Parabolic
และวิ่งต่อยาวไปจนถึง 20k ในปี 2017 ( สองปี )
===========
ตอนนี้ก็ได้แต่ลุ้นว่า..
การขึ้นมาปิดแท่งเหนือ EMA 120 Daily ได้ของ BTC ก่อน halving ที่จะเกิดขึ้นนั้น
จะเป็นตัวช่วยส่งราคาให้ขึ้นไปเป็นเทรนขาขึ้นรอบใหญ่ได้อีกหรือเปล่า
แต่ก็นั่นแหละ ถ้ามองกันจริงๆ BTC เองก็มีแนวต้านอยู่เต็มไปหมด
โซน 9k - 10k ที่แข็งมาก เพราะเรา sideway แถวนี้มานานพอสมควร
โซน 12.5k-14k ที่ แข็งพอสมควร
โซน high เดิม 20k ที่ไม่ต้องห่วง เพราะคนที่ดอยอยู่สองปีจะแห่มาขายแน่นอน
ก็ลุ้นกันไป ตามระบบ ใครใคร่จะใช้ระบบไหน ก็ลองตามดู อย่างจริงจังนะครับ
แล้วก็ อย่าลืมคุมความเสี่ยงกันด้วยล่ะ
===========
ปล. เดี๋ยวก็จะมีพวกมาแซะ ว่า เฮ้ย แอด วันก่อนมองลงอยู่เลย
ไมวันนี้มามองขึ้นแล้ววะ โด่ ไม่แน่จริงนี่ว่า
ทำไมไม่มองลงให้ตลอด
พวกนี้ ผมก็ได้แต่ สมเพช เวทนา มันนะครับ ที่จิตใจมันช่างคับแคบ 555
ใครที่รู้ตัวว่าเป็นคนเหล่านี้ รบกวนเม้นด่าผมในคอมเม้นได้เลยครับ
รับรองว่าท่านจะไม่ได้อ่านเพจผมอีกตลอดไป ยินดีด้วยจ้า :D
Emayar
//@version=4
study("Teriyaki Boy", shorttitle="EMA", overlay=true)
// © Tradingwhere
// 95Trader
// Created by 95Trader on Mars 23, 4027.
// Adjustable EMA Period
emaPeriod = input(200, title="EMA Period", minval=1)
// Calculate EMA
ema = ema(close, emaPeriod)
// Buy and Sell Signals based on EMA
Buy = crossover(close, ema)
Sell = crossunder(close, ema)
การวิเคราะห์ราคา EUR/USD: ลดลงสู่จุดบรรจบของการสนับสนุน 1.1380การวิเคราะห์ราคา EUR/USD: ลดลงสู่จุดบรรจบของการสนับสนุน 1.1380
กระทิง EUR/USD มองไปที่ 1.15 ตัวเลขสำหรับสัปดาห์หน้า EMA 50 ชั่วโมงอยู่ในโฟกัส
17 มกราคม 2022, 03:25 น
แนวโน้ม: คาดว่าจะอ่อนตัวลงอีก
•EUR/USD ขยายการดึงกลับของวันก่อนหน้าจากจุดสูงสุดเก้าสัปดาห์
•Doji ด้านล่าง EMA สำคัญนำผู้ขายไปยัง EMA 50 วัน ซึ่งเป็นแนวต้านก่อนหน้า
• Bullish MACD การสนับสนุนหลักเพื่อท้าทายผู้ขายในภายหลัง
EUR/USD ใช้ข้อเสนอเพื่อรีเฟรชราคาต่ำสุดระหว่างวันประมาณ 1.1405 ลดลง 0.08% ต่อวันในช่วงเซสชั่นเอเชียของวันจันทร์
คู่สกุลเงินหลักกลับตัวหลังจากเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนในวันก่อนหน้า การเคลื่อนไหวด้านลบอาจเชื่อมโยงกับการก่อตัวของแท่งเทียน Doji ในวันพฤหัสบดีที่ต่ำกว่า EMA 100 วัน เช่นเดียวกับการถอย RSI
ผลที่ตามมาคือ จุดอ่อนล่าสุดของคู่ EUR/USD มีแนวโน้มที่จะขยายไปสู่การบรรจบกันของ EMA 50 วัน และแนวต้านที่กลับกลายเป็นแนวรับตั้งแต่วันที่ 3 กันยายนที่ประมาณ 1.1380 นอกจากนี้ การเพิ่มความแข็งแกร่งของแนวรับ 1.1380 ยังเป็นจุดสูงสุดหลายจุดนับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน
ในช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงหลังจาก 1.1380 ตัวเลขรอบ 1.1350 และ 1.1300 อาจสร้างความบันเทิงให้ผู้ขายก่อนที่จะนำพวกเขาไปยังแนวรับที่ลาดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน อย่างช้าที่สุดประมาณ 1.1275
อีกทางหนึ่งคือระดับ EMA 100 วันที่ 1.1483 และเกณฑ์ 1.1500 ปกป้องการดีดตัวในระยะสั้นของคู่ EUR/USD
ต่อจากนั้น จุดต่ำสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนและตุลาคมตามลำดับใกล้ 1.1515 และ 1.1525 จะท้าทายผู้ซื้อคู่
การวิเคราะห์ทางเทคนิค EUR/USD
หมียังคงสามารถโผล่ออกมาเพื่อทดสอบการสัมผัสที่ลึกขึ้น ซึ่งอาจไปจนถึงแนวต้านก่อนหน้าดังที่แสดงในแผนภูมิรายวันด้านบน
จากมุมมองรายชั่วโมง หลังจากพักต่ำกว่า EMA 50 ชั่วโมง ราคาอาจหยุดชะงักในการปรับฐาน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ Fibo 38.2% ถูกโจมตีแล้ว แต่ก็ยังมีที่ว่างที่จะบรรเทาความไม่สมดุลของราคาเป็น 1.1424 ในการพลิกกลับเฉลี่ย 50% ของแรงกระตุ้นรายชั่วโมง:
1.1395 สามารถกำหนดเป้าหมายได้ในแรงกระตุ้นรายชั่วโมงขาลงถัดไป
BTCUSD : ถ้า BTC ปิดแท่ง Week แถวๆ 40k จะเป็นแนวโน้มขาลงใหญ่..ถ้าเราถอยออกมาดูโครงสร้างใหญ่ ระดับ TF Weekly ของ Bitcoin เราจะพบว่า
เมื่อไหร่ที่กราฟ Week ของ Bitcoin ได้มีการปิดแท่งตันๆ ต่ำกว่า EMA 18 + EMA 26 ( Action Zone )
เราจะพบว่า หลังจากนั้น มีแนวโน้มที่ตลาดจะเข้าสู่ตลาดหมีครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่ง กินเวลาประมาณ 1 ปี
โดยตลาดหมีแต่ละรอบ จะทำให้กระทิง หมดตัวกันเป็นแถบ
มาลองไล่ย้อนกันดูครับ
1) ปี 2014
- ปีนี้เราเจอการปิดแท่งต่ำกว่า EMA 26 Weekly สองครั้ง โดยครั้งแรก เป็น false signal แต่ครั้งที่สอง เกิดแล้วตามมาด้วยตลาดหมีครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 2014-2015
- โดยรอบนั้น Bitcoin ราคาปิดแท่ง week หลุด EMA 26 ที่ 500 และราคาลงไปเหลือ ที่ประมาณ 200
- โดยคิดเป็นการลงไปจากยอด 1162 ในปี 2013 ถึง -82%
2) ปี 2018
- ปีนี้ หลายๆ คนที่อยู่กะตลาดมานาน น่าจะคุ้นกันดี เพราะตลาดปีนี้เราบูมเพราะ ICO ทั้งหลายแหล่
- โดย Peak ของ BTC อยู่ที่ปี 2017 ที่ราคา 20,000$ และพอราคาหลุด EMA 26 Weekly ในวันที่ 29 ม.ค. 18 ลงมาปิดวีคที่ 8200
- หลังจากนั้น เราก็เข้าสู่ตลาดหมีเต็มตัว โดย Bitcoin ลงไปต่ำสุดถึง 3200 คิดเป็นจากยอด 20k ก็ลงไปประมาณ -84%
- ส่วน ICO หลายๆ ตัวที่ออกกันมารัวๆ ช่วงนั้น ก็ลงกันไปกว่า -99% และหลายๆ ตัว ก็ยังไม่กลับไปที่ยอดเดิม จนถึงทุกวันนี้...
3) ปี 2019
- รอบนี้ ลงเบาๆ โดยมีการลากขึ้นจาก 3200 ไป 14000 แล้วก็โดนตบกลับลงมาใหม่
- โดย BTC หลุด EMA 26 Week เมื่อ 23 ก.ย. 2019 ที่ราคา 8000 และหลังจากนั้นก็ลงต่อไปอีกไกล
- โดยลงไปต่ำสุดที่ 3800 ในปี 2020 คิดเป็น -72%
4) ปี 2021?
- เอาจริงๆ กราฟมันยังไม่เฉลย ผมเองก็ไม่อยากรีบด่วนสรุป แต่ว่า ก็มาเฝ้าระวังไว้ก่อนดีกว่า
- โดยถ้าก่อนปิดวีคนี้ ( เหลืออีก 1 วัน ) ราคาสามารถลากกลับไปยืนเหนือ 50k ได้ เราก็ยังจะพอสบายใจไปได้อีกสัก 1 week แต่ก็ต้องมาลุ้นเดือนหน้าอยู่ดี 555
- ซึ่ง ถ้า ประวัติศาสตร์ ซ้ำรอย และ Bitcoin ปิดแท่งวีค ต่ำกว่า EMA 26 และเราเข้าสู่ตลาดหมีจริง... ถามว่า รอบนี้ มันจะลงไปสุดแถวไหน?
- ก็แน่นอน ถ้าดูจากผลอดีต ก็จะพบว่า Bitcoin มักจะเข้าสู่ Bottom ของมัน แถวๆ -70% ถึง -85% ถ้าเราลากวัดดูก็จะเจอว่า น่าจะอยู่ระหว่างช่วงราคา 10k-20k นั่นเอง
- ซึ่ง ถ้ามันลงไปขนาดนั้นจริง พวก ฟาร์มซิ่ง DeFi ทั้งหลายแหล่ ก็ไม่ต้องห่วงกันนะครับ น่าจะดูไม่จืด
- รวมถึงเหมืองทั้งหลายที่จะแตกกันเละยับด้วย เพราะปั่นราคาทั้งการ์ดจอ ทั้ง SSD/HHD กันไปซะสูงลิบ
สรุป
-----
ที่เขียนบทความนี้ ก็ไม่ใช่การทำนายอนาคตใดๆ นะครับ แค่เป็นการวิเคราะห์กราฟ Bitcoin จากอดีตเท่านั้น และเป็นความเห็นส่วนตัวของผมล้วนๆ
บทความนี้ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนใดๆ นะครับ เพราะการลงทุนมันแนะนำไม่ได้ คุณต้องไปคิด วางแผน และตัดสินใจ ด้วยตัวเอง
สิ่งที่ผมอยากจะบอกมือใหม่ก็คือว่า อย่ามองแต่ด้านบวกอย่างเดียว ให้ถอยกลับมาหนึ่งก้าว และคิดถึง worse case scenario กันไว้บ้าง
ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ขึ้นมาจริงๆ เราจะหนีตอนไหน ด้วยเงื่อนไขอะไร และยอมขาดทุนเท่าไหร่
อย่ามาบอกว่า เงินเย็นๆ ทนขาดทุนได้สบายๆ นะครับ เพราะเวลามันลงไปจริง คุณจะเจอความ panic ของข่าว และคนรอบข้าง
จนทำให้ สติคุณพัง สุดท้าย เงินที่เคยเย็น ก็ไม่เย็นซะแล้ว และสุดท้าย คุณก็จะไปคัทที่ก้น อยู่ดี....หลังจากนั้น มันก็เด้ง ตามระเบียบ 5555
เงินของคุณ คุณต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองนะครับ
Gud Luck
"EUR/USD ยังเป็นขาลง! ฝ่ายกระทิงต้องทะลุ 1.04180 ให้ได้"### การวิเคราะห์ EUR/USD สำหรับเดือนมกราคม 2025
**แนวโน้มยังคงเป็นขาลง เว้นแต่ว่าฝ่ายกระทิงจะสามารถทำสิ่งนี้ได้...**
**การวิเคราะห์ EUR/USD: ระดับสำคัญและแนวโน้มราคา**
ฟิวเจอร์สยูโร (EUR/USD) ซื้อขายอยู่ที่ 1.03280 โดยยังคงมีแนวโน้มขาลง เนื่องจากตัวชี้วัดทางเทคนิคในกราฟรายวันส่งสัญญาณแรงขาย บทวิเคราะห์นี้จะเน้นไปที่ระดับแนวรับและแนวต้านที่สำคัญ รวมถึงสถานการณ์การซื้อขายที่อาจเกิดขึ้นสำหรับผู้ซื้อขาย EUR/USD
---
### แนวโน้มขาลงสำหรับ EUR/USD
**20 EMA ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน**
- เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน (20 EMA) ที่ลาดลงในกราฟรายวันทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญ
- ราคาพยายามทะลุ 20 EMA ในวันที่ 6 และ 7 มกราคม แต่ล้มเหลวทั้งสองครั้ง ตอกย้ำมุมมองขาลง
- ฝ่ายขายยังคงควบคุมตลาด ทำให้ EUR/USD เผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง
**เป้าหมายขาลงสำหรับ EUR/USD**
หากแนวโน้มขาลงยังคงดำเนินต่อไป ให้จับตาระดับแนวรับเหล่านี้สำหรับการเคลื่อนไหวของราคา:
- **Value Area Low (VAL)** วันที่ 3 มกราคม: 1.03150
- **Point of Control (POC)** วันที่ 1 มกราคม: 1.02835
- **Value Area Low (VAL)** วันที่ 1 มกราคม: 1.02565
ระดับเหล่านี้มาจากประวัติของปริมาณและสภาพคล่อง ทำให้เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการติดตามต่อเนื่องในขาลง
---
### แนวโน้มกระทิงสำหรับการกลับตัวของ EUR/USD
แม้ว่าจะมีแนวโน้มขาลงในปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถตัดโอกาสการกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ทั้งหมด ฝ่ายซื้อจะต้องเอาชนะระดับแนวต้านที่สำคัญเพื่อฟื้นโมเมนตัม:
- **Value Area High (VAH)** วันที่ 1 มกราคม: 1.03555
- **Value Area Low (VAL)** วันที่ 7 มกราคม: 1.03800
- **VWAP** วันที่ 7 มกราคม: 1.04180
**กระทิงไม่สามารถสร้างการกลับตัวครั้งใหญ่ได้ หากไม่สามารถรักษาราคาเหนือ VWAP ของวันที่ 7 มกราคมที่ 1.04180 ได้**
หากราคาปิดรายวันเหนือ 20 EMA และเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเหนือระดับเหล่านี้ จะส่งสัญญาณการทะลุขาขึ้นที่อาจเกิดขึ้น จนกว่าจะถึงเวลานั้น การพยายามของฝ่ายกระทิงอาจถูกมองว่าเป็นการปรับฐานในแนวโน้มขาลงใหญ่
---
### ช่วงการซื้อขาย EUR/USD และสถานการณ์ที่เป็นไปได้
EUR/USD อาจแกว่งตัวในช่วง 1.0400–1.0250 ก่อนที่จะเกิดการทะลุในทิศทางที่แน่นอน ผู้ซื้อขายควรจับตาระดับต่อไปนี้เพื่อดูทิศทาง:
- **เหนือ 1.04180:** ฝ่ายกระทิงอาจตั้งเป้าหมายระดับสูงกว่า เช่น 1.05385–1.05630
- **ต่ำกว่า 1.02565:** ฝ่ายขายอาจขยายอิทธิพลต่อราคา ดัน EUR/USD สู่ระดับ parity หรือ 1.0000 แต่สิ่งนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในทันทีภายในสิ้นเดือนมกราคม 2025
---
### กลยุทธ์การซื้อขาย EUR/USD
**การพิจารณาความเสี่ยงและผลตอบแทน**
- การเข้าซื้อขายเร็วอาจมีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มาพร้อมกับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น
- การรอให้ราคาปิดรายวันเหนือหรือต่ำกว่าระดับสำคัญ จะให้การยืนยันที่มากกว่า แต่ลดโอกาสกำไร
**ใช้ระดับสำคัญเป็นแนวทาง**
- **แนวรับ:** 1.03150, 1.02835, 1.02565
- **แนวต้าน:** 1.03555, 1.03800, 1.04180
**ซื้อขายด้วยความระมัดระวัง**
- ใช้การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และพิจารณาตั้งเป้ากำไรบางส่วนเพื่อลดการขาดทุน
---
### ภาพรวมประสิทธิภาพ EUR/USD
ฟิวเจอร์ส EUR/USD แสดงการลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกกรอบเวลา โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ -0.52% และแนวโน้มระยะยาวเผยให้เห็นการลดลงลึกกว่า:
- **1 สัปดาห์:** -0.52%
- **1 เดือน:** -2.13%
- **3 เดือน:** -5.76%
- **6 เดือน:** -5.20%
- **1 ปี:** -5.71%
---
### การวิเคราะห์และจุดเด่นที่สำคัญ
**ความอ่อนแอระยะสั้น**
- การลดลง -0.52% รายสัปดาห์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าฝ่ายขายยังคงควบคุมตลาด โดยไม่มีแรงสนับสนุนที่สำคัญจากฝ่ายซื้อ สิ่งนี้สอดคล้องกับโมเมนตัมขาลงที่เห็นในกราฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความล้มเหลวในการรักษาราคาเหนือระดับแนวต้าน เช่น 20 EMA
**แนวโน้มขาลงอย่างมั่นคง**
- การลดลงในช่วง 3 เดือน (-5.76%) และ 6 เดือน (-5.20%) บ่งชี้ถึงแรงกดดันการขายอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงการขาดความสนใจจากฝ่ายกระทิง แม้จะมีการปรับตัวขึ้นเป็นระยะ
**บริบทที่กว้างขึ้น**
- การลดลง 1 ปีที่ -5.71% ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สาเหตุจากปัจจัยมหภาค เช่น นโยบายการเงินที่แตกต่าง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างระหว่างยูโรโซนและสหรัฐฯ
**ผลกระทบที่สำคัญ**
- การลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงเวลาแสดงให้เห็นว่า EUR/USD ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงที่ชัดเจน โดยไม่มีตัวเร่งสำคัญที่ช่วยฝ่ายกระทิง ระดับแนวรับอาจทำหน้าที่เป็นจุดพักชั่วคราว แทนที่จะเป็นจุดกลับตัว
---
### สรุปการวิเคราะห์ EUR/USD
ฟิวเจอร์ส EUR/USD ยังคงมีแนวโน้มขาลง โดยฝ่ายขายตั้งเป้าระดับ 1.03150 เป็นแนวรับสำคัญ ฝ่ายกระทิงต้องเคลียร์ 20 EMA และทะลุ 1.04180 เพื่อเปลี่ยนโมเมนตัม ในระยะสั้น อาจเกิดการแกว่งตัวในช่วง 1.0400–1.0250 ขณะที่ตลาดค้นหาทิศทาง
ผู้ซื้อขายควรจับตาดูระดับสำคัญเหล่านี้อย่างใกล้ชิดและปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์
---
**ทำไมต้องติดตามการวิเคราะห์ EUR/USD?**
การวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้เกี่ยวกับระดับราคาสำคัญ พลวัตของปริมาณ และโมเมนตัมของตลาด ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อขายรายวันหรือผู้ซื้อขายระยะสั้น การเข้าใจสัญญาณทางเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณรับมือกับการเคลื่อนไหวของราคายูโรได้อย่างมั่นใจ
#EURUSD #วิเคราะห์ตลาด #การซื้อขาย
**"EUR/USD ใกล้โซนวิกฤต ลุ้นทะลุแนวต้านหรือดิ่งลงต่อ"**### **การวิเคราะห์ EUR/USD อย่างละเอียดและรอบด้าน**
---
### **1. การวิเคราะห์ Fibonacci Retracement และแนวโน้มระยะยาว**
- **โซนสำคัญ (Key Levels)**:
- แนวรับ: **1.01475 (Fibonacci 0.786)** และ **1.04515 (Fibonacci 0.618)** เป็นจุดที่ราคามีแนวโน้มดีดกลับจากแรงซื้อ (Demand Zone) หากราคาลงมาทดสอบ.
- แนวต้าน: **1.06803 (Fibonacci 0.382)** และ **1.08465 (Fibonacci 0.236)** เป็นจุดที่ราคามีแนวโน้มเผชิญแรงขาย (Supply Zone) หากราคาฟื้นตัวขึ้น.
- **การตีความ**:
- หากราคาทะลุแนวต้านที่ 1.06803 อาจพุ่งต่อเนื่องไปยังโซน 1.08465.
- หากราคาหลุดแนวรับ 1.05982 อาจปรับตัวลงไปยังระดับ 1.04515 หรือ 1.02478.
---
### **2. การวิเคราะห์แนวโน้มด้วยเส้น EMA**
- **EMA 20/50/100/200**:
- EMA 200 อยู่ด้านบนของกราฟ บ่งบอกว่าแนวโน้มระยะยาวยังเป็นขาลงที่ชัดเจน.
- ราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า EMA 20 และ 50 แสดงถึงโมเมนตัมขาลงที่ยังไม่หมด.
- **กลยุทธ์**:
- หากราคายืนเหนือ EMA 20 ได้อีกครั้ง อาจบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวในระยะสั้น.
- หากราคายังอยู่ต่ำกว่า EMA 50 ให้พิจารณาตามแนวโน้มขาลงต่อไป.
---
### **3. การวิเคราะห์พฤติกรรมตลาด (RSI และ MACD)**
- **RSI (Relative Strength Index)**:
- RSI อยู่ที่ **35.85** ใกล้โซน Oversold แสดงถึงแรงขายที่เริ่มอ่อนแรง.
- หาก RSI ลงไปต่ำกว่า 30 จะเป็นสัญญาณ Oversold ที่ชัดเจน และอาจเกิดการดีดกลับของราคา.
- **MACD (Moving Average Convergence Divergence)**:
- เส้น MACD ยังคงต่ำกว่าเส้น Signal Line และอยู่ในแดนลบ แสดงถึงโมเมนตัมขาลงที่ยังเด่นชัด.
- หากเกิด Bullish Divergence (MACD เริ่มกลับขึ้นขณะที่ราคายังลง) จะเป็นสัญญาณกลับตัวที่น่าเชื่อถือ.
---
### **4. การวิเคราะห์รูปแบบกราฟ (Chart Patterns)**
#### **Descending Triangle**:
- **ลักษณะของกราฟ**:
- ราคาสร้างรูปแบบสามเหลี่ยมลู่ลง (Descending Triangle) โดยมีแนวรับที่ 1.05982 และแนวต้านลาดลง.
- รูปแบบนี้มักเป็นสัญญาณของการ Breakout ขาลง หากราคาหลุดแนวรับ.
- **โอกาส**:
- หากราคาหลุดแนวรับที่ 1.05982 อาจปรับตัวลงต่อไปยังเป้าหมายที่ 1.04515 หรือ 1.02478.
- หากราคาทะลุแนวต้านด้านบนของสามเหลี่ยม อาจฟื้นตัวขึ้นสู่ 1.08465.
#### **Descending Channel**:
- ราคากำลังเคลื่อนที่ใน **Descending Channel**:
- ขอบล่างของ Channel ใกล้ 1.04515 อาจเป็นจุดดีดกลับ (Rebound Zone).
- ขอบบนของ Channel ใกล้ 1.08700 เป็นแนวต้านสำคัญที่ต้องจับตา.
---
### **5. การวิเคราะห์รูปแบบแท่งเทียน (Candlestick Patterns)**
- **Bearish Engulfing**:
- รูปแบบแท่งเทียนขาลงที่กลืนแท่งก่อนหน้า (Bearish Engulfing) บ่งบอกถึงแรงขายเด่นชัดในแนวต้าน.
- **Doji Candlestick**:
- การเกิด Doji ในโซนสำคัญ เช่น Fibonacci 0.618 อาจสะท้อนการลังเลของตลาดและการพักฐาน.
---
### **6. Harmonic Patterns**
- **Gartley Pattern**:
- หากราคาย่อตัวลงไปที่โซน 1.04515 (Fibonacci 78.6%) และเด้งกลับ จะยืนยันการสร้าง Bullish Gartley Pattern.
- หากราคาหลุดต่ำกว่า 1.04515 และแตะ 1.02478 (Fibonacci 88.6%) โอกาสเด้งกลับมีสูง.
---
### **7. การวิเคราะห์โซนอุปสงค์-อุปทาน (Supply and Demand Zones)**
- **Demand Zones**:
- โซน 1.04515 และ 1.02478 เป็นจุดที่ราคามีโอกาสเด้งกลับจากแรงซื้อ.
- **Supply Zones**:
- โซน 1.08773 เป็นพื้นที่ที่แรงขายมีโอกาสเกิดขึ้นมาก หากราคาฟื้นตัวขึ้นมา.
---
### **สรุปแผนการเทรด**
1. **กลยุทธ์ขาลง (Bearish Strategy)**:
- หากราคาหลุดแนว 1.05982:
- Short ที่บริเวณนี้ ตั้งเป้าหมายที่ 1.04515.
- ติดตาม RSI และ MACD เพื่อยืนยันโมเมนตัมขาลง.
2. **กลยุทธ์ขาขึ้น (Bullish Strategy)**:
- หากราคายืนเหนือ 1.06803:
- Buy ที่บริเวณนี้ ตั้งเป้าหมายที่ 1.08465.
- ใช้ RSI และรูปแบบแท่งเทียนเพื่อคอนเฟิร์ม.
3. **เฝ้าดูพฤติกรรมราคา**:
- หากราคาลงมาทดสอบโซน Demand (1.04515 หรือ 1.02478) พร้อมเกิด Bullish Candlestick เช่น Hammer หรือ Bullish Engulfing ให้มองหาจังหวะเข้าซื้อ.
4. **การบริหารความเสี่ยง**:
- ใช้ Stop Loss ที่ต่ำกว่า Demand Zone สำหรับการตั้งสถานะซื้อ และเหนือ Supply Zone สำหรับการตั้งสถานะขาย.
- ใช้ Trailing Stop เพื่อรักษากำไรหากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่คาดหวัง.
---
**หมายเหตุ**: ควรติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ยหรือดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อปรับแผนการเทรดให้สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน. 📊📈📉
EUR/USD ยืนเหนือ 1.0800 ลุ้นกลับเข้าสู่ช่องขาลงต่อเนื่อง**การวิเคราะห์ราคา EUR/USD: ยังคงอยู่เหนือ 1.0800 ที่เส้นขอบบนของช่องแนวโน้มขาลง** 💹📉
* ✨ EUR/USD อาจกลับเข้าสู่รูปแบบช่องแนวโน้มขาลง เนื่องจากแรงกดดันขาลงยังคงมีอยู่
* 📊 เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) 9 วัน อยู่ต่ำกว่า EMA 14 วัน บ่งบอกถึงแนวโน้มขาลงที่ยังคงมีผล
* 🛡️ ราคาคู่นี้พบแนวรับที่ระดับจิตวิทยา 1.0800 ซึ่งตรงกับเส้นขอบบนของช่องแนวโน้มขาลง
---
**แนวโน้ม EUR/USD อ่อนตัวระหว่างการซื้อขายช่วงเอเชีย** 🌏🕰️
EUR/USD ย่อตัวลงจากการปรับตัวขึ้นล่าสุด โดยซื้อขายอยู่ราว ๆ 1.0810 ในช่วงการซื้อขายของเอเชียวันอังคาร จากการดูกราฟรายวันพบว่าคู่นี้กำลังทดสอบเส้นขอบบนเพื่อกลับเข้าสู่ช่องแนวโน้มขาลง ซึ่งอาจเสริมความเป็นขาลงให้กับราคาได้ 📉
ตัวบ่งชี้แรงโมเมนตัม RSI 14 วัน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของแรงซื้อและแรงขาย อยู่สูงกว่าระดับ 30 เล็กน้อย หาก RSI ลดลงต่ำกว่า 30 จะแสดงถึงภาวะขายเกิน ซึ่งบ่งชี้ถึงโอกาสในการปรับตัวขึ้นของราคาในอนาคตอันใกล้ 📈
---
**แนวโน้มขาลงยังคงเด่นชัด พร้อมแรงกดดันต่อราคาในระยะสั้น** 📉🔻
เส้น EMA 9 วัน ยังคงอยู่ต่ำกว่า EMA 14 วัน ซึ่งยืนยันถึงแนวโน้มขาลงในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นยังคงอ่อนตัว ซึ่งบ่งบอกว่าราคาน่าจะยังคงเผชิญแรงกดดันให้ปรับตัวลงต่อไป 🎯
ระดับแนวรับใกล้เคียงอยู่ที่ 1.0800 ซึ่งเป็นระดับจิตวิทยาที่สอดคล้องกับเส้นขอบบนของช่องแนวโน้มขาลง หากราคาลดลงกลับเข้าสู่ช่องนี้ อาจเพิ่มโอกาสในการปรับตัวลงสู่ระดับ 1.0600 📉
หากราคาหลุดจากระดับ 1.0600 จะเพิ่มแรงกดดันการขาย ทำให้ EUR/USD มีโอกาสลดลงต่อไปสู่เส้นขอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงที่ประมาณ 1.0680
---
**ระดับต้านที่ควรจับตาในช่วงขาขึ้น** 🛑📊
ในด้านแนวต้าน คู่นี้อาจเจออุปสรรคใกล้เคียงกับเส้น EMA 9 วันที่ระดับ 1.0826 และตามด้วย EMA 14 วันที่ระดับ 1.0855 หากราคาทะลุแนวต้านนี้ได้ คู่นี้อาจพุ่งไปใกล้ระดับจิตวิทยาที่ 1.0900 🚀
---
#EURUSD #การเงิน #Forex #การลงทุน #เศรษฐกิจ
"ราคา Ripple (XRP) พร้อมพุ่ง หลังทดสอบแนวรับสำคัญ"ราคา Ripple (XRP) เตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นเนื่องจากข้อมูลออนเชนแสดงแนวโน้มที่เป็นบวก 📈
* ราคาของ Ripple (XRP) พบแนวรับที่เส้น EMA 200 วัน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการขึ้นของราคาอาจเกิดขึ้นในไม่ช้า 📊
* ข้อมูลออนเชนแสดงให้เห็นว่า Open Interest ของ XRP กำลังเพิ่มขึ้น และอัตราส่วนระหว่าง long-to-short สูงกว่า 1 ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้นที่กำลังมาถึง 🚀
* หากแท่งเทียนรายวันปิดต่ำกว่า $0.544 แนวโน้มขาขึ้นนี้จะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ❌
Ripple (XRP) ได้ทดสอบเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) 200 วันอีกครั้งและเพิ่มขึ้น 6.7% ในวันจันทร์ ในช่วงเวลาการซื้อขายในเอเชีย ราคาได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1.2% อยู่ที่ $0.606 ในวันอังคาร 📈
ข้อมูลออนเชนแสดงว่า Open Interest ของ XRP กำลังเพิ่มขึ้น และอัตราส่วน long-to-short สูงกว่า 1 ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต 🚀
ราคา Ripple เตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นหลังจากการทดสอบระดับแนวรับสำคัญ 🛡️
ราคาของ Ripple (XRP) ได้ทดสอบเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) 200 วันอีกครั้งที่ประมาณ $0.545 ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาและกระโดดขึ้น 6.7% ในวันจันทร์ เส้น EMA 200 วันนี้ประมาณอยู่ใกล้กับแนวรับรายวันที่ $0.544 ทำให้พื้นที่นี้เป็นระดับแนวรับที่สำคัญ 📉 ณ เวลาที่เขียนในวันจันทร์ ราคากำลังซื้อขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1.2% อยู่ที่ $0.606 📊
หากเส้น EMA 200 วัน ที่ $0.545 ยังคงทำหน้าที่เป็นแนวรับ ราคา XRP อาจขึ้น 6.5% จากระดับการซื้อขายปัจจุบันที่ $0.606 เพื่อทดสอบแนวรับรายวันอีกครั้งที่ $0.643 📈
ดัชนี Relative Strength Index (RSI) บนกราฟรายวันได้เปลี่ยนผ่านระดับกลางที่ 50 และตัวชี้วัด Awesome Oscillator (AO) กำลังจะเข้าสู่การซื้อขายเหนือระดับกลางที่ศูนย์ สำหรับโมเมนตัมขาขึ้นที่จะยังคงอยู่ ตัวชี้วัดเหล่านี้ต้องทำการซื้อขายเหนือระดับกลางของพวกเขาเพื่อสนับสนุนการขึ้นของราคา 🟢
หากผู้ซื้อยังคงกระตือรือร้นและแนวโน้มตลาดคริปโตยังคงเป็นบวก XRP อาจปิดที่ระดับสูงกว่า $0.643 ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นต่อเนื่องอีก 13% เพื่อทดสอบแนวต้านรายวันถัดไปที่ $0.724 🚀
ข้อมูลจาก CoinGlass แสดงให้เห็นว่า Open Interest (OI) ของฟิวเจอร์ส Ripple ที่อยู่ในตลาดแลกเปลี่ยนก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน OI หมายถึงจำนวนรวมของสัญญาอนุพันธ์ที่ยังไม่ได้ชำระ ซึ่งเงินที่ไหลเข้าสู่สัญญากำลังเพิ่มขึ้นหรือลดลง 📊
การเพิ่มขึ้นของ OI แสดงถึงเงินใหม่หรือเงินเพิ่มเติมที่เข้าสู่ตลาดและการซื้อใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณของแนวโน้มขาขึ้น เมื่อ OI ลดลง ปกติแล้วจะแสดงถึงการที่ตลาดกำลังลดลง ผู้ลงทุนจำนวนมากขึ้นกำลังออกจากตลาด และแนวโน้มราคาปัจจุบันกำลังสิ้นสุดลง 📉
กราฟด้านล่างแสดงให้เห็นว่า OI ของ XRP เพิ่มขึ้นจาก $610.95 ล้านในวันอาทิตย์เป็น $693.44 ล้านในวันอังคาร ซึ่งแสดงถึงการที่เงินใหม่หรือเงินเพิ่มเติมกำลังเข้าสู่ตลาดและเกิดการซื้อใหม่ 📈
นอกจากนี้ ตามข้อมูลของ CoinGlass อัตราส่วน long-to-short ของ XRP อยู่ที่ 1.42 อัตราส่วนนี้สะท้อนถึงความรู้สึกเชิงบวกในตลาด เนื่องจากตัวเลขที่สูงกว่า 1 บ่งชี้ว่าการซื้อขายหลายครั้งคาดการณ์ว่าราคาสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มขาขึ้นของ Ripple 🚀
แม้ว่าแนวโน้มขาขึ้นจะได้รับการสนับสนุนโดยข้อมูลออนเชนและการวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่แนวโน้มอาจเปลี่ยนเป็นขาลงได้หากแท่งเทียนรายวันของ Ripple ปิดต่ำกว่าแนวรับรายวันที่ $0.544 ซึ่งอาจนำไปสู่การลดลง 9.6% เพื่อทดสอบระดับต่ำสุดที่ $0.492 ในวันที่ 7 สิงหาคม ❗
#Ripple #XRP #CryptoMarket #Blockchain #CryptoTrading #TechnicalAnalysis #Bullish #EMA #OpenInterest
SET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้งSET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้ง
=================
ตลาด มักจะเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมๆ
ดังนั้น การมองรูปแบบของราคาในอดีต เพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้า order
ก็น่าจะปลอดภัยกว่า..
โดยในวันนี้ผมจะมานั่งวิเคราะห์รูปแบบของ Weekly Price Pattern
ในช่วงวิกฤตใหญ่ของตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมา นั่นก็คือ ช่วงวิกฤต subprime ปี 2008
และวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1998 ครับ
1) วิกฤต sub prime ปี 2008
ถ้าเราดูโดยใช้ MACD เพื่อระบุ trend ขาลง เราจะเห็นได้ว่า จุดที่เริ่ม confirm trend ขาลง คือ MACD < 0 ที่แถวๆ ช่วงวันที่ 23 มิ.ย. 2008 และลากยาวไปจน MACD เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ที่แถวๆ 7 เม.ย. 2009 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 288 วัน ในการสร้างฐานราคา
จากรูป จะเห็นได้ว่า เราเห็นแท่งแดงยาวๆ ใหญ่ๆ จาก 580 ลงมา 446 ในเวลาเพียงแค่อาทิตย์เดียว และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อไปเรื่อยๆ จนทำ double bottom แล้วเด้งกลับ
ในการเด้งกลับ ถ้าวัดแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นจาก 380 ไปสูงสุดที่ 480 หรือชนเส้น EMA 18 แล้วก็ร่วงลงมาต่อ ที่ 400 .. ถ้าว่ากันตามรูปแบบของเวฟ ตรงนี้ก็คือ เวฟ 1-2 แบบ classic เลย เพราะมันเด้งแล้วย่อมาถึงแนว fibo 0.618 โดยไม่ทำ new low
ซึ่ง ตรง 400 นี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มทยอยเข้าหุ้น แบบคุมความเสี่ยง โดยถ้า SET หลุด low 380 weekly ก็หนีต่อ นั่นเอง ( จะเห็นได้ว่า เสี่ยงแค่นิดเดียว )
ถ้ากลัวโดนหลอก เราสามารถรอเข้าตอนปิดวีค แท่งน้ำเงิน เหนือ EMA 18 + Action Zone ก็ได้เช่นกัน
หลังจากนั้น ตลาดหุ้นก็ขึ้นยาว..
2) วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1996-1998
วิกฤตรอบนี้เกิดจากไทยโดยตรง ทำให้กว่าจะฟื้นได้ก็ใช้เวลานานมาก แถมหลังจากนั้นก็เจอ วิกฤตดอตคอม มาซ้ำเติมอีก
รอบนี้ ตลาดหุ้น ลงจาก 1300 จุด ตอน MACD เริ่มวิ่งใต้ 0 และมาจบ เจอ bottom จริงๆ ตรง 200 จุด โดยใช้เวลาทั้งสิ้นถึง 882 วัน ( 2 ปีกว่า )
ถ้าเราสังเกตุกราฟ จะเห็นได้ว่า มีการ "เด้งหลอก" บ่อยมากๆ โดยจุดที่เด้งหลอกแบบรุนแรงมาก มีอยู่สองจุดด้วยกันคือ
2.1) เด้งหลอก ครั้งที่ (1) มิ.ย. 97 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
มีการเด้งมาในโซน EMA 18 +
แล้วหลังจากนั้นก็มีการย่อลงไปที่
0.786-0.887 fib
แต่ทว่า ก็ไม่สามารถไปต่อ
และกราฟปิดวีคด้วย new low
และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อยาว
โดยช่วงหลังจากเด้งหลอกไปจนถึงการทำ new low ใช้เวลาทั้งสิ้น 133 วัน ( สี่เดือนกว่า )
2.2) เด้งหลอก ครั้งที่ (2) ม.ค. 98 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
การเด้งหลอกรอบนี้ น่าจะถือว่าเป็นการเด้งหลอกที่สุดแสบก็ว่าได้ เพราะว่า
- เด้งขึ้นมาจาก จุดต่ำสุดที่ 338 ขึ้นไป 500 ในเวลาเพียง 3 อาทิตย์ หรือขึ้นไปทั้งหมดเกือบ 47%
- ปิดแท่งสวย ด้วยการปิดเหนือ EMA 18 + action zone พร้อม bear div ก่อนหน้า
- จุด buy แรก ถ้าตามระบบ เราก็ต้องเข้า แต่ก็จะเห็นได้ว่า ไม้นี้ ถ้าต้อง Stop ก็จะต้อง stop ถึง -31% ( ยังไม่นับหุ้นรายตัว ) ทำให้ ถ้าเราต้องเข้าจริงๆ ก็ต้องเข้าได้แค่นิดเดียว
- จุด buy ที่สอง ที่ตรง 0.786 จะเห็นได้ว่า วีคถัดไปมันก็ลงต่อยาวเลย จนสุดท้ายก็ไปทำ new low ซึ่งถ้าตามระบบก็ต้อง stop ทุกไม้ออกมาดูลาดเลาก่อน
2.3) เด้งแล้วขึ้นจริง และไม่กลับมาอีกเลย
หลังจากหลอกคนให้หมดตัว หรือขาดทุนหนักกันไปสองรอบ ทำให้การดีดรอบนี้ คนน่าจะระแวง และถอดใจกับหุ้นไทยกันไปเยอะมาก
โดยการดีดรอบนี้ ขึ้นมาจาก bottom ที่ 200 ไปที่สัญญาณ buy แรก ถึง +57% ( สัญญาณ buy แรก คือ แท่งวีค ปิดเหนือ EMA18 + Action zone )
ซึ่งถ้าเราเข้าแบบคุมเสี่ยง 1% สำหรับไม้แรก เราก็จะเข้าได้แค่เพียง 2.7% ของพอร์ตเท่านั้น
และถ้าเรารอให้ Action Zone Weekly เขียว แล้วค่อยเข้า อีก risk 1% เราก็จะเข้าได้อีกแค่ 2.5% ของพอร์ตเท่านั้น
รวมเบ็ดเสร็จแล้วประมาณ 5% ของพอร์ตใหญ่เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เอาจริงๆ ก็เข้าได้ไม่มาก ถ้าต้องคุมความเสี่ยง เพราะถ้าเราเข้าแบบไม่ยอมคุม เราก็จะขาดทุนหนักไปตั้งแต่การดีดหลอกสองครั้งแรกแล้ว
และถ้าเราต้องไปออกตอน Action Zone แดงแรก ตอน ตุ.ค. 99 เราก็จะได้กำไรแค่ +19% เท่านั้น .. และหลังจากนั้นเราก็จะโดนสับขาหลอกอีกรอบ เพราะวิกฤต ดอตคอม..ที่ทำให้ตลาดซึมไปอีกเกือบปี
ซึ่งพอเข้ามาเจอวิกฤตดอตคอม เราก็จะเห็นได้ว่า กราฟก็ทำ pattern เดิมๆ อีกแล้ว นั่นก็คือ ลง แล้วก็เด้งหลอก แล้วก็ลงต่อแล้วก็เด้งหลอกอีกที กว่าจะลงสุดจริงก็ปาเข้าไปเกือบปี แถมหลังจากนั้นก็ sideway ต่ออีกปีกว่า กว่าจะพอเริ่ม take off จริงได้
สรุปสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการนั่งไล่ดูกราฟย้อนหลัง
1) ตอนลง ยังไงก็จะมีเด้งกลับ แต่ก็มักจะเป็นการเด้งหลอก
2) กว่ากราฟจะสร้างฐานเสร็จ มันใช้เวลา ไม่ต้องรีบร้อนเข้าก็ได้ เอาง่ายๆ แค่จากช่วงต่ำสุด มาช่วงยกโลว สัญญาณเข้าซื้อแรก ยังใช้เวลาเป็นเดือนๆ
3) ถ้าตกรถไม่ทันเวฟ 2 ก็จะยังมีจุดเข้าน่าสนใจคือ กราฟวีค ปิดเหนือ EMA 18 + Action zone + break out เหนือ high เดิมได้อีก
4) ในการเข้าซื้อทุกครั้ง ต้องมีแผนคุมความเสี่ยง แหละจุดยอมแพ้เสมอ เพราะอย่างตอนต้มยำกุ้ง จะเห็นได้ว่า พอกราฟมันย่อแล้วทำ new low มันก็ลงต่อแรง
5) เป็นไปได้ควรแบ่งไม้เป็นสองไม้ คือไม้ที่เข้าซื้อตอน week ปิดเหนือ EMA 18 + Action Zone แบบแรงๆ 1 ไม้ และไม้สองเข้าตอนมันย่อลง 0.618-0.786 โดยทั้งสองไม้นี้ จะต้องออกถ้าราคาปิด week new low ห้ามอิดออด และสองไม้นี้ max risk ควรอยู่ประมาณ 3-4%
6) มันก็มีบางจังหวะที่ขึ้นแล้วขึ้นไปเลยเหมือนกัน ดังนั้น จุดสำคัญคือ ไม้สองต้องเป็นไม้ที่ค่อนข้าง flexible และพร้อมเข้าถ้ามีสัญญาณซื้อแบบจริงๆ ( new high หรือ action zone เขียว )
7) ตอนนี้ได้ไอเดียคร่าวๆ เกี่ยวกับการดูกราฟ week แต่สุดท้าย เราก็ต้องไปดูหุ้นรายตัว หรือเทรดใน TF Daily อยู่ดี ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ระบบนี้ จะให้ผลที่ดีได้หรือไม่