วิธีใช้ Sentiment Indicator อารมณ์ในตลาด วิธีใช้ Sentiment Indicator อารมณ์ในตลาด
👰กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับการเทรดวิเคราะห์กราฟและการแชร์เทคนิคคอลแจ่มๆที่ใช้ดีและบอกต่อ วันนี้แอดมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอารมณ์การเทรดในตลาด อารมณ์ที่เป็นอารมณ์ร่วมจริงๆนะ เอ๊ะแล้วมันดียังไง มันเริ่มจากตรงไหน มาครับ บทความนี้มีคำตอบ
หลังจากที่เราๆเทรดเดอร์มือใหม่ทั้งหลายเริ่มเข้าสู่วงการเทรดแบบเต็มตัวแล้ว หลายๆคนน่าจะเริ่มรู้จัก รูปแบบในการวิเคราะห์ข้อมูลของตลาดมาบ้าง ไม่มากก็น้อย แต่ที่งงๆเยอะหน่อย น่าจะเป็นอารมณ์ในตลาด Sentimental Analysis หรือความอ่อนไหวของตลาดว่ามันคืออะไร ทำไมขึ้นๆลงๆ เดาทางไม่ถูกเลย
Market Sentiment คืออะไร
Sentiment หมายถึงแนวทางความคิด และความรู้สึกของนักลงทุนในตลาด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหรือขายสินทรัพย์ทางการเงิน โดยใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์โดยรวมที่นักลงทุนและเทรดเดอร์มีต่อตลาดนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละตลาดการลงทุนก็จะมีมุมมองที่แตกต่างออกไป
Market Sentiment แบ่งมุมมองของตลาดออกเป็น 3 เทรนด์
1. ตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น (Uptrend)
2. ตลาดอยู่ในสภาวะขาลง (Downtrend)
3. ตลาดยังหาทิศทางไม่ได้ (Sideway)
การวิเคราะห์อารมณ์ของตลาด (Sentiment Analysis) คืออะไร?
ระบบเทรด Sentiment Analysis (การวิเคราะห์ความรู้สึก) เป็นระบบที่อาศัยการประเมินความรู้สึกหรืออารมณ์ของตลาดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
เช่น ข่าวสาร, โซเชียลมีเดีย, ฟอรัม, หรือความคิดเห็นของผู้คน เพื่อทำนายทิศทางราคาของสินทรัพย์ (เช่น หุ้น, สกุลเงิน, หรือคริปโตเคอร์เรนซี)
โดยหากข้อมูลข่าวสารในตลาดส่อแววเป็นปัจจัยบวก (Positive Sentiment)
ก็ถือเป็นสัญญาณขาขึ้น ให้ BUY
ในขณะเดียวกัน หากมีข่าวสารที่เป็นปัจจัยลบ (Negative Sentiment)
ก็จะถือเป็นสัญญาณขาลงนั่นเอง ให้ SELL
อย่างไรก็ตาม บางครั้งข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาก็อาจไม่ได้บอกสัญญาณเทรดที่ถูกต้องเสมอไป เทรดเดอร์ก็ควรพิจารณาข้อมูลข่าวสารทางการเงินทั้งที่เป็นปัจจัยบวกและลบร่วมด้วยในระหว่างการเทรด ซึ่งมีโอกาสสูงที่ข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ที่เรากำลังเทรดอยู่ แต่หากรารู้จักใช้ sentiment indicator ให้เป็นประโยชน์ ก็หมดห่วงได้เลย! มันจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
อินดิเคเตอร์ Sentiment กำลังบอกอะไร?
การตีความหมายของ sentiment indicator !
1. การอ่านตัวชี้วัดตามตัวเลขจริง (เหมาะสำหรับเทรดระยะยาว)
- หากตัวเลขอยู่ในระดับสูงๆ หมายความว่าผู้บริโภคกำลังมองตลาดอยู่ในเกณฑ์บวก และเราก็เดิมพันในทิศทางตลาดตามความเป็นจริง โดยมองฝั่ง BUY และคิดว่าราคาจะขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
- หากตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำๆ หมายความว่าผู้บริโภคกำลังได้รับแรงกดดันจากสภาวะเชิงลบของตลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดมีการปรับตัวลงไปอีก โดยมองฝั่ง SELL
2. การอ่านตัวชี้วัดแล้วมองในทิศทางตรงกันข้าม(เหมาะสำหรับเทรดระยะสั้น)
- หากตัวเลขอยู่ในระดับต่ำๆ หมายความว่าผู้บริโภคกำลังได้รับแรงกดดันจากสภาวะเชิงลบของตลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดมีการปรับตัวบวก และราคาก็อาจกลับตัวขึ้นหลังจากนั้น
- ในขณะเดียวกัน หากอินดิเคเตอร์ดังกล่าวอยู่ในระดับสูงๆ ก็หมายความว่าผู้บริโภคกำลังมองตลาดอยู่ในเกณฑ์บวก ซึ่งเทรดเดอร์มืออาชีพโดยส่วนใหญ่จะมองว่า indicator นั้นอาจปรับตัวลงพร้อมๆ กับตลาดในไม่ช้า
อินดิเคเตอร์ Sentiment ของตลาด vs. อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค
Indicator บางตัวอาจใช้วิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงเทคนิคและสภาวะอารมณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม อินดิเคเตอร์ทั้ง 2 ประเภทก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนี้:
1. อินดิเคเตอร์ Sentiment ใช้บอกพฤติกรรมของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาดดังกล่าว
2.อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค บ่งบอกภาพรวมของตลาด ไม่ว่าจะเป็นราคา (Price), ปริมาณการซื้อขาย (Volume), และข้อมูลอื่นๆ ในเชิงเทคนิคที่ปรากฎใน กราฟเทรด
👽👽👽เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรขนาดนั้น ถ้าเราอ่านแบบง่ายๆเข้าใจง่ายๆ ทุกอย่างจะดูง่ายเอง แค่อย่าไปคิดเยอะครับ ไม่ต้องไปคิดแทนเขา เราคิดแค่ว่ามันบอกขึ้นลง แค่นั้นก็พอ เห็นมั้ยครับ ง่ายนิดเดียว และที่สำคัญต้องหมั่นฝึกฝนและทดสอบระบบเทรดและกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดในการเทรดเสมอ แล้วเราจะเก่งและกำไรเรื่อยๆครับ