น้ำมันดิบที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสินค้าคงคลังที่ลดลงสิ่งที่จะเกิดขึ้น?
ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ท่ามกลางสัญญาณของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าคงเหลือในกลุ่มผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลกลดลงอีกครั้ง
ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐฯ ซื้อขายเพิ่มขึ้น 0.4% ที่ 72.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาเบรนท์เพิ่มขึ้น 0.6% เป็น 74.27 ดอลลาร์
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า RBOB น้ำมันเบนซินของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 0.7% ที่ 2.2990 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เผยแพร่เมื่อต้นวันพฤหัสบดีแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐเพิ่มขึ้นในอัตรา 6.5% ต่อปีในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากโปรแกรมการฉีดวัคซีนกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง แม้ว่าจะน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 8.5% แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นจากอัตรา 6.3% ที่แก้ไขในไตรมาสแรก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศในวันอังคารได้เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐเป็น 7.0% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ 6.4% ในเดือนเมษายนซึ่งจะแสดงถึงผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2527
การคาดหวังในครั้งนี้?
อย่างไรก็ดีจากราคาน้ำมันที่มีการฟื้นตัวขึ้นยังคงมีการคาดหวังถึงเศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์และดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ที่มีการขยับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้ราคาน้ำมันมีการขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนั้นในการคาดหวังในครั้งนี้ต้องจับตาดูว่ามาตรการการอัดฉีดเม็ดเงินอย่างต่อเนื่องจะส่งผลทำให้ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการขยับตัวสูงขึ้นหรือไม่ถ้าดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการขยับตัวสูงขึ้นราคาน้ำมันจะมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การวิเคราะห์ของราคา
WTI มีการฟื้นตัวขึ้นในรอบวัน +1.37% และดูเหมือนว่าอาจจะมีการขยับตัวสูงขึ้นโดยปัจจัยหนุนที่มีการฟื้นตัวขึ้นนั้นก็คือดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ที่มีการขยับตัวสูงขึ้นดังนั้นถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 73.68 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านที่สองก็คือ 74.22 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลและแนวต้านสุดท้ายก็คือ 74.86 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
แต่ถ้ามีการปรับตัวลงแนวรับสำคัญแรกก็คือ 72.30 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับที่สองก็คือ 71.63 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับสุดท้ายก็คือ 71.13 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
WTI
น้ำมันฟื้นตัวขึ้นส่งผล CAD แข็งค่าดัชนีน้ำมันมีการขยับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันมีการขยับตัวสูงขึ้นหลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการขยับตัวสูงขึ้นในช่วงรอบวันโดยที่ WTI มีการฟื้นตัวขึ้น +0.60% จากการขยับตัวขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีการปรับตัวสูงขึ้นระยะสั้นดังนั้นจับตาปัจจัยนี้อย่างใกล้ชิดเพราะจะส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดาโดยตรง
โดยที่ CADJPY มีการขยับตัวขึ้นโดยได้แรงหนุนสองแรงหนุนไม่ว่าจะเป็นทั้งดัชนี Nikkei ฟิวเจอร์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้สกุลเงินเยนมีการปรับตัวอ่อนค่าลงประกอบกับทิศทางราคาน้ำมันที่มีการขยับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีการขยับตัวสูงขึ้นในระยะสั้นดังนั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับ แนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญได้ก็คือ 88.075 แนวต้านที่สองก็คือ 88.403 แนวต้านสุดท้ายก็คือ 88.661
แต่ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 87.479 แนวรับที่สองก็คือ 87.099 แนวรับสุดท้ายก็คือ 86.797
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของ CADJPY ซึ่งเป็นปัจจัยที่น่าจับตามองในสัปดาห์ถัดไป : ปัจจัยเสี่ยงจากคงต้องจับตาดูดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์เพราะจะส่งผลให้กับทิศทางราคาน้ำมันและจะส่งผลให้กับสกุลเงินแคนาดาโดยตรงประกอบกับในส่วนของสกุลเงินเยนยังคงต้องจับตาดูตลาดหุ้น Nikkei ฟิวเจอร์อย่างใกล้ชิด
ท่านที่เทรดสกุลเงินนี้ นั้นควรให้สังเกตตาม Zone แนวรับแนวต้าน ตรงที่แจ้งไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะมีความผันผวนจนสุด Zone ซึ่งในการเทรดนั้นท่านที่ยังไม่มี Order หรือมีออเดอร์ CAD/JPY ติดอยู่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ
(แนวรับแนวต้าน นั้นก็คือ ZONE ดังนั้นเป้าหมายที่แจ้งไปคือ Zone ดังนั้นไม่ต้องตามเป้าหมายเป๊ะแต่ให้ดูตาม Zone เพื่อจะเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเข้าเทรดหรือตัดสินใจของการเข้าออกออเดอร์หรือการจัดการออเดอร์ที่ดีที่สุด
CAD จับตาการเคลื่อนไวราคาน้ำมันการเคลื่อนไหวของทิศทางราคาน้ำมันในค่ำคืนนี้ส่งผลให้กับ CAD
ในค่ำคืนนี้การเคลื่อนไหวของทิศทางราคาน้ำมันยังคงส่งผลให้กับสกุลเงินแคนาดาในช่วงระยะสั้นประกอบกับในส่วนของห้ามดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการปรับตัวย่อตัวลงในช่วงนี้ดังนั้นในค่ำคืนนี้ยังคงต้องจับตามองในส่วนของการขึ้นไหวของทิศทางราคาน้ำมัน
โดยในส่วนของคู่เงิน USDCAD ยังคงมีการปรับตัวย่อตัวลงหลังจากที่สกุลเงินแคนาดามีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยและยังคงมีการพักตัวแต่ในส่วนของสกุลเงินดอลล่าร์มีการปรับตัวอ่อนค่าลงในช่วงระยะสั้นดังนั้นทำให้คู่เงินนี้มีการปรับตัวร่วงลงระยะสั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 1.22883 แนวรับที่สองก็คือ 1.22597 แนวรับสุดท้ายก็คือ 1.22352
แต่ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 1.23387 แนวต้านที่สองก็คือ 1.23646 แนวต้านสุดท้ายก็คือ 1.23987
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของคู่เงิน USDCAD ที่สำคัญในวันนี้ : ยังคงต้องจับตามองในส่วนของการประกาศเลขที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาก็คือการประกาศดัชนีการใช้จ่ายผู้บริโภคส่วนบุคคลรวมทั้งทิศทางของราคาน้ำมันที่จะคอยทั้งเป็นแรงหนุนและแรงกดดันให้กับคู่เงินนี้ในช่วงระยะสั้นต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
ท่านที่เทรดสกุลเงินนี้ นั้นควรให้สังเกตตาม Zone แนวรับแนวต้าน ตรงที่แจ้งไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะมีความผันผวนจนสุด Zone ซึ่งในการเทรดนั้นท่านที่ยังไม่มี Order หรือมีออเดอร์ USD/CAD ติดอยู่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ
(แนวรับแนวต้าน นั้นก็คือ ZONE ดังนั้นเป้าหมายที่แจ้งไปคือ Zone ดังนั้นไม่ต้องตามเป้าหมายเป๊ะแต่ให้ดูตาม Zone เพื่อจะเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเข้าเทรดหรือตัดสินใจของการเข้าออกออเดอร์หรือการจัดการออเดอร์ที่ดีที่สุด
น้ำมันพุ่งแตะระดับสูงน้ำมันพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบสองปีซึ่งกลุ่มโอเปคและพันธมิตรยืนยันการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป
กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันที่มีอำนาจที่สุดในโลกบางส่วนตกลงกันเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าจะดำเนินการลดการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางความฟื้นตัวของราคาน้ำมัน
โอเปคและพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันท ที่รู้จักกันในชื่อ OPEC+ จะเพิ่มกำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคมตามการตัดสินใจของกลุ่มในเดือนเมษายนที่จะคืน 2.1 ล้านบาร์เรต่อวัน สู่ตลาดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
นโยบายการผลิตที่เกินเดือนกรกฎาคมไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในกลุ่มและจะมีการประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021
โดยราคาน้ำมันฟิวเจอร์ซึ่งเป็นน้ำมันดิบ Brent ตามมาตรฐานสากลที่ซื้อขายอยู่ที่ 71.17 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในวันอังคารเพิ่มขึ้น 2.7% ในขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ West Texas Intermediate อยู่ที่ 68.65 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลซึ่งได้รับมากกว่า 3% และเป็นระดับสูงสุดของสัญญาในรอบระหว่างสองปีซึ่งมีการขยับตัวขึ้นถึง 30% ในปีนี้
ซึ่งในกลุ่มผู้มีธิพลในตะวันออกกลางซึ่งรับผิดชอบในการผลิตน้ำมันมากกว่าหนึ่งในสามของโลกกำลังพยายามสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นที่คาดไว้กับศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตของประเทศอิหร่าน
ซึ่งพันธมิตรได้มีการประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งใหญ่ในปี 2020 เพื่อพยายามพยุงราคาน้ำมันเมื่อการระบาดของไวรัส โควิด-19 ใกล้เคียงกับอุปสงค์ใน ประวัติศาสตร์การผลิตน้ำมัน
โดยปัจจัยนี้ทำให้ทิศทางราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและในรอบหลายชั่วโมงที่ผ่านมามีการขยับตัวสูงขึ้นในการเทรดน้ำมันจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นในกรอบแนวต้านของราคาน้ำมัน แนวต้านแรกก็คือ 68.15 และแนวต้านสุดท้ายก็คือ 68.75
แต่ถ้ามีปัจจัยทำให้ราคาน้ำมันมีการย่อตัวลงแนวรับสำคัญแรกก็คือ 67.52 แนวรับที่สองก็คือ 66.78 แนวรับสุดท้ายก็คือ 66.39
ปัจจัยเสี่ยงต่อทิศทางราคาน้ำมันที่จำเป็นจะต้องติดตามก็คือ : ทิศทางราคาน้ำมันมักจะมีความ 1000 ผวนไปตามอุปสงค์และอุปทานอย่างไรก็ดีในช่วงนี้ต้องติดตามการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกาของการประชุมที่จะมีการประชุมเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 ต้องติดตามว่าการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันนั้นจะมีขึ้นต่อเนื่องหรือไม่
WTI จะขึ้นไปถึง 80 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลหรือไม่GoldMam Sachs คาดว่าราคาน้ำมันขึ้นสูงต่อเนื่อง
นักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มีความมั่นใจเกี่ยวกับอุปสงค์ในตลาดน้ำมันโดยจากข้อมูลเหล่านี้ 75% ของการฟื้นตัวของอุปสงค์ซึ่งมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศจีน ทั้งความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการกระตุ้นให้มีการใช้น้ำมันอย่างมากขึ้น และยังคงเป็นปัจจัยที่เป็นปัจจัยบวกสำหรับราคาน้ำมันโดยเฉพาะการท่องเที่ยวและการเดินทางระหว่างประเทศ
โกลด์แมนแซคส์กล่าวว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดที่พัฒนาแล้วจะชดเชยการบริโภคที่นำโดยโคโรนาไวรัสเมื่อเร็ว ๆ นี้และมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวช้าลงในเอเชียใต้และละตินอเมริกา ความต้องการทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้น 4.6 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปีโดยส่วนใหญ่น่าจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า"การเคลื่อนย้ายกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเนื่องจากการฉีดวัคซีนเร่งและการหยุดชะงักถูกยกขึ้นพร้อมกับการขนส่งสินค้าและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นด้วย" บันทึกกล่าว
ซึ่งถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 66.06 ถ้าสามารถทะลุแนวต้านนี้ขึ้นไปได้แนวต้านที่สองก็คือ 66.79 และแนวต้านสุดท้ายก็คือ 67.76
แต่ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 65.28 แนวรับที่สองก็คือ 64.56 แนวรับสุดท้ายก็คือ 63.93
ปัจจัยเสี่ยงของทิศทางราคาน้ำมัน : WTI ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงถึงดัชนีดาวโจนส์ที่อาจจะยังติดตามความผันผวนของดัชนีดาวโจนส์จะมีความผันผวนจากปัจจัยอะไรโดยเฉพาะปัจจัยที่มี การลดการอัดฉีดเป็นเงินของธนาคารกลางสหรัฐที่อาจจะส่งผลทำให้ดัชนีดาวโจนส์มีการปรับตัวลงและจะทำให้ความต้องการของน้ำมันมีการปรับตัวลงในระยะสั้นจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด
ย้ำว่าปัจจัยที่จะส่งผลทำให้ทิศทางของราคาน้ำมันมีการขยับตัวขึ้นนั้นต้องติดตามดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์อย่างใกล้ชิดในสัปดาห์นี้
WTI การวิเคราะห์ประจำวัน 22/9/2020 by TraderTan แนวรับแนวต้านที่สำคัญ
แนวรับ 1.65
แนวรับ 1.81
แนวต้าน 1.97
แนวต้าน 2.02
ความคิดเห็นในเชิงเทคนิค
RSI
- ราคายังคงเป็นกลางและสามารถไต่เข้าสู่โซน overbought ได้
Treandline
- ราคาวิ่งเข้าใกล้แนวต้าน 1.97 มากขึ้น แต่กราฟยังไม่สามารถขึ้นไปชนแนวต้านเก่าที่ 1.97 และยังอยู่กรอบไซด์เวย์กว้าง โซนไซด์เวย์
ทางเลือกในการลงทุน
เล่นในกรอบเทรนไลน์
1.หากราคามีสัญญาณกลับตัวบริเวณ 1.81 เข้าซื้อ(buy ) เป้าหมายกำไรอยู่ที่ราคา 1.97
2. หากราคามีสัญญาณกลับตัวบริเวณ 1.97 เข้าขาย(ssell ) เป้าหมายกำไรอยู่ที่ราคา 1.81
USOIL (WTI)น้ำมันดิบปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี หลังจากเกิดความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า
ซึ่งไปกระทบเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์ของน้ำมันที่อ่อนแอ และปริมาณน้ำมันส่วนเกินในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ยังมีการคาดการณ์ว่า กลุ่ม OPEC อาจตัดสินใจปรับลดการผลิตลงอีกในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยปกป้องราคาน้ำมันไม่ให้ร่วงลงต่อไป
หากมองในเชิงเทคนิคแล้ว ในภาพรวมระยะยาวการร่วงลงมาของราคา ได้ลงมาทดสอบบริเวณเส้นแนวรับที่เป็นเส้น Bullish trendline พอดีแถวๆ 49.51 โดยประมาณ
ซึ่งมีโอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปได้ โดยอาจจะมีการผันผวนอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้น ซึ่งมี GAP การสวิงอยู่ที่ 49.51 - 64.00 โดยประมาณและอาจบีบตัวแคบลงไปเรื่อยๆ
ตามราคาเฉลี่ยนของกรอบแนวรับและแนวต้านที่เกิดขึ้น
หากมีการเบรคลงไปต่ำกว่ากรอบสามเหลี่ยมมีโอกาสที่จะลงไปทดสอบโซนแนวรับทดไปที่ 43 - 40 โดยประมาณ
อย่างไรก็ตามในระยะยาว การปรับตัวลงอาจถือเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ เพียงแต่ระยะเวลาที่เกิดนั้นอาจกินเวลาไปมากพอสมควร
แต่หากผ่านพ้นไปได้แล้ว โอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปทดสอบ จุดสูงสุดก่อนหน้าที่ 64 และ 74 ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับ
ดังนั้นหากจะมีการทะยอยเก็บ position ในช่วงนี้ก็ยังคงต้องเน้นในเรื่องการคุมความเสี่ยงให้ดี
WTI น้ำมันโลกอัพเดตจากที่เคยดูไว้เมื่อ พฤจิกายนปีที่แล้ว
กาลครั้งนึง ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าโลก ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนมูลค่าเงินตราขึ้นมา
โดยใช้แร่เงิน และ ทองคำ แต่สุดท้ายทองคำได้รับการยอมรับมากกว่า จึงเกิดมาเป็น gold standard
แต่แร่ทองคำก็ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของโลกที่จะใช้การแลกเปลี่ยนมูลค่า
ต่อมาเกิดสงครามโลกทั้งสองครั้ง และสมรภูมิอยู่ที่ยุโรปและเอเซีย จึงไม่ปลอดภัยที่จะเก็บทองในยุโรป
ประเทศต่างๆมาฝากทองที่สหรัฐฯเพราะว่าสหรัฐฯจะไม่เสียหายจากสงครามโลก และน่าจะปลอดภัยที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1944 นายแฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ กับ นายวินสตัน เซอร์ซิลล์
ได้ริเริ่มให้มีการเวทีการหารือระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อสร้างระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลก
ซึ่งในที่สุดผลที่ออกมาคือการลงนามใน Bretton Woods Agreements โดยประเทศต่างๆยินยอม
ที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับ
สกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐโดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และ อเมริกาจะออกตั๋วทองเป็นสกุลเงินดอลล่าห์
โดยสัญญาว่า 1 ดอลล่าห์จะเท่ากับทอง 1 หน่วย bretton woods system
และ IMF กับ world bank ก็ถือกำเนิดจากการประชุมดังกล่าว
จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน สั่งยกเลิกสนธิสัญญาเบรตตันวู๊ด ปฏิเสธไม่ยอมเอาทองคำแท่ง
ไปไถ่ถอนเงินดอลลาร์ที่ธนาคารกลางในต่างประเทศสำรองไว้ ไปเมื่อ ตอนนั้นเงินดอลลาร์ยังเป็นแค่เงินกระดาษ (fiat currency คือกระดาษที่รัฐบาลรับรอง)
ยังผลให้เงินดอลลาร์ เมื่อเทียบค่ากับเงินสกุลหลัก ๆ ลอยตัว ซึ่งก็คือลดลงอย่างมาก จนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันระหว่างปี 1973-74
oil embargo ตอนนั้น โอเปกห้ามส่งออกน้ำมันไปยังอิสราเอลและมิตรของอิสราเอล)
พอน้ำมันวิกฤตถึงขั้น เงินดอลลาร์ก็ถูกปั๊มเข้าไปสู่ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องประจัญกับการนำเข้าน้ำมันที่แพงขึ้น 400%
ด้วยกฎบัตรหลังสงครามและความสะดวกอื่น ๆ ตอนนั้นเงินดอลลาร์เป็นเงินสำรองแต่เพียงสกุลเดียว ที่ทั่วโลกถือเอาไว้แทนทองคำ
และ สมาชิกโอเปกทุกประเทศ รับเฉพาะเงินดอลลาร์ในการซื้อขายเท่านั้น petrodollar ซึ่งยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ประเทศต่างๆ
เอนเอียงออกจากการผูกค่าเงินกับดอลล่าร์มาสู่การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
และองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่าง IMF และ World Bank ยังคงมีบทบาทในการเป็นแหล่งเงินเสริมสภาพคล่องและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียในช่วงปี 1997-99 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแถบบ้านเราสะดุดกันไปพักหนึ่ง บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจ
ในรัสเซียและอาร์เจนติน่า ทำให้ IMF และธนาคารโลกต้องกลับมาทำงานหนักขึ้นหลังจากเว้นระยะมานานร่วม 25 ปี นับแต่ช่วง Oil Shock
สรุป ณ ปัจจุบัน ดอลลาห์ = น้ำมัน อเมริกาสามารถปั่นราคาน้ำมันเพื่อจะพิมพ์เงินดอลลลาห์ได้นั้นเอง
วิเคราะห์ราคาน้ำมัน ช่วงที่ผ่านมาราคาลงมาค่อนข้างแรง ช่วงนี้ก็จะเด้งขึ้นหรือออกแนวข้างสักพัก
จากกราฟผมมองสามทาง คือ
แบบแรก สีดำ เส้นประ (จากรูปแบบเดิม) เด้งไป 57 ใกล้ๆ แล้วลงลึกไป 45 - 48.4 ก็น่าจะนิ่งๆลึกสุดล่ะ
แบบสอง สีน้ำเงิน เด้งไป 59.8 - 61 แล้วค่อยลงมา 50 -51
แบบสาม เด้งขี้นยาวไม่ลง ต้องดูราคาปิด สัปดาห์นี้อีกทีว่า จะยังต่ำกว่า 58-59 รึปล่าว
การเทรด
ใช้Sell limit ในโซน
ไม่ Buy (ถ้าไม่มีเวลาดูไม่ควรเทรดสวน) เพราะแนวโน้มยังลงได้อีก เสี่ยงเกินไป
*** แต่ช่วงนี้ ไม่เทรดดีกว่า รอ ราคาปิดยืนยัน ค่อยดูว่าจะใช้ แผนไหนต่อ ความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นแบบสอง
น้ำมันดิบราคากลับมาคงที่หลังจากขยับตัวสูงขึ้น โดยภาพรวมยังเป็นขาหลังจากที่เกิด Pin bar สัญญาณเข้าซื้อในกราฟราคาน้ำมันดิบ เมื่อ 17 เม.ย.61 ราคาก็ขยับตัวสูงขึ้น จนถึงสัปดาห์ที่แล้วซึ่งราคาเริ่มคงที่ แต่ตลาดโดยภาพรวมยังคงเป็นบวก โดยสำหรับสัปดาห์นี้ควรจับตาดูสัญญาณ Pull back ในช่วงแนวรับที่ประมาณ 64$-67$ เพื่อรอเข้าซื้อ และสังเกตสัญญาณซื้อ (Buy signal) ที่ควรจะสอดคล่องกับทิศทางตลาดซึ่งยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง