WTI การวิเคราะห์ประจำวัน 22/9/2020 by TraderTan แนวรับแนวต้านที่สำคัญ
แนวรับ 1.65
แนวรับ 1.81
แนวต้าน 1.97
แนวต้าน 2.02
ความคิดเห็นในเชิงเทคนิค
RSI
- ราคายังคงเป็นกลางและสามารถไต่เข้าสู่โซน overbought ได้
Treandline
- ราคาวิ่งเข้าใกล้แนวต้าน 1.97 มากขึ้น แต่กราฟยังไม่สามารถขึ้นไปชนแนวต้านเก่าที่ 1.97 และยังอยู่กรอบไซด์เวย์กว้าง โซนไซด์เวย์
ทางเลือกในการลงทุน
เล่นในกรอบเทรนไลน์
1.หากราคามีสัญญาณกลับตัวบริเวณ 1.81 เข้าซื้อ(buy ) เป้าหมายกำไรอยู่ที่ราคา 1.97
2. หากราคามีสัญญาณกลับตัวบริเวณ 1.97 เข้าขาย(ssell ) เป้าหมายกำไรอยู่ที่ราคา 1.81
Crude Oil WTI
ราคาน้ำมันติดลบ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก!แปะเอาไว้ดูในอนาคตครับว่า
มีเหตุการณ์บ้าๆ อะไรแบบนี้ด้วย
ราคาน้ำมัน Future วิ่งลงไปติดลบ!!!
...นอกตำราสุดๆ ครับ
วิกฤตรอบนี้ อาจจะหนักที่สุดในประวัติศาสตร์โลกก็ได้
ผลข้อมูลจากอดีต ก็อาจจะไม่สามารถบอกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น
ยังไงก็แบ่งพอร์ตกันดีๆ นะครับ
อย่างน้อยควรมีตังกินข้าวก่อน
อย่าเพิ่งรีบไปลงทุนหมด
USOIL ยังสามารถลงได้อีกจากตรงนี้ น้ำมันนี้ถือว่าลงแรงมากเลย หลุด Low เมื่อ 10 ปีก่อน Support ต่อไปนี้จะอยุ่แถวๆ ปี 2001 ที่ราคาราวๆ 17$ ลงไป
ในมุมมองผม มันยังสามารถที่จะลงไปได้อีกจากตรงนี้ ถ้าเรา MM ดีๆ ก็น่าจะได้ราคาดีพอสมควร
เพราะผมคิดว่ามันน่าจะลากลงไปอีกแล้วกลับขึ้นไป retest จุดที่เบรคลงมาหน่อยน่ะครับ
ถ้ากลัวตกรถก็เข้าบ้างก็ได้ เมื่อคืนมันก็ลงไปถึง 19.xx มาแล้วน่ะ
เราจะได้ใช้น้ำมันราคาถูกไปสักพักใหญ่ๆเลยมั้งเนี่ย " วิกฤตมาพร้อมโอกาส "
USOIL (WTI)น้ำมันดิบปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี หลังจากเกิดความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า
ซึ่งไปกระทบเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์ของน้ำมันที่อ่อนแอ และปริมาณน้ำมันส่วนเกินในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ยังมีการคาดการณ์ว่า กลุ่ม OPEC อาจตัดสินใจปรับลดการผลิตลงอีกในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยปกป้องราคาน้ำมันไม่ให้ร่วงลงต่อไป
หากมองในเชิงเทคนิคแล้ว ในภาพรวมระยะยาวการร่วงลงมาของราคา ได้ลงมาทดสอบบริเวณเส้นแนวรับที่เป็นเส้น Bullish trendline พอดีแถวๆ 49.51 โดยประมาณ
ซึ่งมีโอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปได้ โดยอาจจะมีการผันผวนอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้น ซึ่งมี GAP การสวิงอยู่ที่ 49.51 - 64.00 โดยประมาณและอาจบีบตัวแคบลงไปเรื่อยๆ
ตามราคาเฉลี่ยนของกรอบแนวรับและแนวต้านที่เกิดขึ้น
หากมีการเบรคลงไปต่ำกว่ากรอบสามเหลี่ยมมีโอกาสที่จะลงไปทดสอบโซนแนวรับทดไปที่ 43 - 40 โดยประมาณ
อย่างไรก็ตามในระยะยาว การปรับตัวลงอาจถือเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ เพียงแต่ระยะเวลาที่เกิดนั้นอาจกินเวลาไปมากพอสมควร
แต่หากผ่านพ้นไปได้แล้ว โอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปทดสอบ จุดสูงสุดก่อนหน้าที่ 64 และ 74 ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับ
ดังนั้นหากจะมีการทะยอยเก็บ position ในช่วงนี้ก็ยังคงต้องเน้นในเรื่องการคุมความเสี่ยงให้ดี
WTI น้ำมันโลกอัพเดตจากที่เคยดูไว้เมื่อ พฤจิกายนปีที่แล้ว
กาลครั้งนึง ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าโลก ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนมูลค่าเงินตราขึ้นมา
โดยใช้แร่เงิน และ ทองคำ แต่สุดท้ายทองคำได้รับการยอมรับมากกว่า จึงเกิดมาเป็น gold standard
แต่แร่ทองคำก็ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของโลกที่จะใช้การแลกเปลี่ยนมูลค่า
ต่อมาเกิดสงครามโลกทั้งสองครั้ง และสมรภูมิอยู่ที่ยุโรปและเอเซีย จึงไม่ปลอดภัยที่จะเก็บทองในยุโรป
ประเทศต่างๆมาฝากทองที่สหรัฐฯเพราะว่าสหรัฐฯจะไม่เสียหายจากสงครามโลก และน่าจะปลอดภัยที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1944 นายแฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ กับ นายวินสตัน เซอร์ซิลล์
ได้ริเริ่มให้มีการเวทีการหารือระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อสร้างระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลก
ซึ่งในที่สุดผลที่ออกมาคือการลงนามใน Bretton Woods Agreements โดยประเทศต่างๆยินยอม
ที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับ
สกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐโดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และ อเมริกาจะออกตั๋วทองเป็นสกุลเงินดอลล่าห์
โดยสัญญาว่า 1 ดอลล่าห์จะเท่ากับทอง 1 หน่วย bretton woods system
และ IMF กับ world bank ก็ถือกำเนิดจากการประชุมดังกล่าว
จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน สั่งยกเลิกสนธิสัญญาเบรตตันวู๊ด ปฏิเสธไม่ยอมเอาทองคำแท่ง
ไปไถ่ถอนเงินดอลลาร์ที่ธนาคารกลางในต่างประเทศสำรองไว้ ไปเมื่อ ตอนนั้นเงินดอลลาร์ยังเป็นแค่เงินกระดาษ (fiat currency คือกระดาษที่รัฐบาลรับรอง)
ยังผลให้เงินดอลลาร์ เมื่อเทียบค่ากับเงินสกุลหลัก ๆ ลอยตัว ซึ่งก็คือลดลงอย่างมาก จนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันระหว่างปี 1973-74
oil embargo ตอนนั้น โอเปกห้ามส่งออกน้ำมันไปยังอิสราเอลและมิตรของอิสราเอล)
พอน้ำมันวิกฤตถึงขั้น เงินดอลลาร์ก็ถูกปั๊มเข้าไปสู่ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องประจัญกับการนำเข้าน้ำมันที่แพงขึ้น 400%
ด้วยกฎบัตรหลังสงครามและความสะดวกอื่น ๆ ตอนนั้นเงินดอลลาร์เป็นเงินสำรองแต่เพียงสกุลเดียว ที่ทั่วโลกถือเอาไว้แทนทองคำ
และ สมาชิกโอเปกทุกประเทศ รับเฉพาะเงินดอลลาร์ในการซื้อขายเท่านั้น petrodollar ซึ่งยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ประเทศต่างๆ
เอนเอียงออกจากการผูกค่าเงินกับดอลล่าร์มาสู่การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
และองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่าง IMF และ World Bank ยังคงมีบทบาทในการเป็นแหล่งเงินเสริมสภาพคล่องและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียในช่วงปี 1997-99 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแถบบ้านเราสะดุดกันไปพักหนึ่ง บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจ
ในรัสเซียและอาร์เจนติน่า ทำให้ IMF และธนาคารโลกต้องกลับมาทำงานหนักขึ้นหลังจากเว้นระยะมานานร่วม 25 ปี นับแต่ช่วง Oil Shock
สรุป ณ ปัจจุบัน ดอลลาห์ = น้ำมัน อเมริกาสามารถปั่นราคาน้ำมันเพื่อจะพิมพ์เงินดอลลลาห์ได้นั้นเอง
OIL Mid-termราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากผลกระทบจากปัจจัยต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ และจากการปรับตัวขึ้นของ Dollar Index ในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงมาทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 57.36 ดอลลาร์ ก่อนจะปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยก่อนปิดสัปดาห์ อยู่ที่ 59 ดอลลาร์
อย่างไรก็ตามราคายังคงอยู่ที่บริเวณโซนแนวรับที่ 58.23 - 55.05 ดอลลาร์ ซึ่งการปรับตัวลงของ Dollar Index และการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อได้อีกในสัปดาห์หน้า โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 60.5 - 62.5 ดอลลาร์ โดยประมาณ
นอกจากนี้ MACD ยังมีโอกาสที่จะเกิด Bullish Divergence ซึ่งบ่งบอกถึงการอ่อนแรงของการปรับตัวลงในครั้งนี้
วิเคราะห์ราคาน้ำมัน ช่วงที่ผ่านมาราคาลงมาค่อนข้างแรง ช่วงนี้ก็จะเด้งขึ้นหรือออกแนวข้างสักพัก
จากกราฟผมมองสามทาง คือ
แบบแรก สีดำ เส้นประ (จากรูปแบบเดิม) เด้งไป 57 ใกล้ๆ แล้วลงลึกไป 45 - 48.4 ก็น่าจะนิ่งๆลึกสุดล่ะ
แบบสอง สีน้ำเงิน เด้งไป 59.8 - 61 แล้วค่อยลงมา 50 -51
แบบสาม เด้งขี้นยาวไม่ลง ต้องดูราคาปิด สัปดาห์นี้อีกทีว่า จะยังต่ำกว่า 58-59 รึปล่าว
การเทรด
ใช้Sell limit ในโซน
ไม่ Buy (ถ้าไม่มีเวลาดูไม่ควรเทรดสวน) เพราะแนวโน้มยังลงได้อีก เสี่ยงเกินไป
*** แต่ช่วงนี้ ไม่เทรดดีกว่า รอ ราคาปิดยืนยัน ค่อยดูว่าจะใช้ แผนไหนต่อ ความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นแบบสอง
น้ำมันดิบราคากลับมาคงที่หลังจากขยับตัวสูงขึ้น โดยภาพรวมยังเป็นขาหลังจากที่เกิด Pin bar สัญญาณเข้าซื้อในกราฟราคาน้ำมันดิบ เมื่อ 17 เม.ย.61 ราคาก็ขยับตัวสูงขึ้น จนถึงสัปดาห์ที่แล้วซึ่งราคาเริ่มคงที่ แต่ตลาดโดยภาพรวมยังคงเป็นบวก โดยสำหรับสัปดาห์นี้ควรจับตาดูสัญญาณ Pull back ในช่วงแนวรับที่ประมาณ 64$-67$ เพื่อรอเข้าซื้อ และสังเกตสัญญาณซื้อ (Buy signal) ที่ควรจะสอดคล่องกับทิศทางตลาดซึ่งยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น จาก Pin bar สัญญาณซื้อ (แนวโน้มระหว่าง 23-27 เม.ย.61)
หลายเดือนมานี้ตลาดน้ำมันดิบยังคงเป็นขาขึ้น โดยเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (19 เม.ย.61) มีจุดที่น่าสนใจสำหรับการวิเคราะห์กราฟ คือ แท่ง Pin bar ที่บ่งชี้สัญญาณซื้อในช่วงแนวรับ 60$-65$ และราคาก็สูงขึ้นต่อเนื่องก่อนจะชะลอตัวลงเล็กน้อยตอนปิดตลาดในวันศุกร์ ซึ่งภาพรวมของกราฟก็ยังเห็นได้ว่าเป็นขาขึ้นชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม สัปดาห์นี้จะต้องจับตาดูสัญญาณซื้อที่ราคาแนวรับอย่างใกล้ชิดเมื่อราคามีการแกว่งตัวลง (pullback)