SPDR S&P 500 ETF (SPY)
ZIRP และ QE 2020 กับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
คร่าวๆสั้นๆสำหรับ Zero interest rate policy และ Quantitative easing
เมื่อคืนวันที่ 15 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ นั่นคือการที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศนโยบาย ZIRP (Zero interest rate policy) รวมถึงประกาศทำ Quantitative easing (QE) เพื่อสู้กับวิกฤตทางตลาดหุ้นของสหรัฐฯ
- Zero Interest Rate Policy-
คือการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยระยะสั้นหรือ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีจุดหมายให้บริษัทห้างร้านรวมถึงคนทั่วไปสามารถกู้ยืมเงินเพื่อไปประกอบธุรกิจง่ายขึ้น
โดยปกติ การลดดอกเบี้ยเป็นวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจที่ง่ายที่สุดที่ธนาคารกลางสามารถใช้ได้ แต่เมื่อดอกเบี้ยเป็น 0% หรือติดลบ แล้วยังไม่สามารถแก้วิกฤต ได้ สิ่งที่ธนาคารกลางสามารถทำเป็นสิ่งต่อไปคือ Quantitative Easing
- Quantitative Easing -
คือการที่ธนาคารกลางออกมาซื้อสินทรัพย์ของรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่นเพื่อเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ
ล่าสุด คืนวันที่ 15 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ประกาศ QE program โดยมีงบประมาณ 700 Billion USD
จุดอ่อนของ QE คือการที่มีจำนวนเงินในตลาดเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ รวมไปถึงการเสื่อมค่าของสกุลเงิน (ในที่นี้คือ US Dollar) ซึ่งในแง่ของผู้ผลิต อาจเป็นผลดี เพราะทำให้สินค้าของตนมีราคาถูกลงในตลาดโลก แต่ก็จะทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้น
****************************************
การทำ QE ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤต Subprime กว่าจะทำให้ตลาดกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ ใช้เวลาเกือบ 6 เดือน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับ QE ก็คือ ทองคำและน้ำมันมีการ Rally (ในภาพ สีเหลืองคือราคาทองคำ สีน้ำเงินคือSP500)
โดยทองคำได้ขึ้นสู่ All time high ในช่วงของการทำ QE นี้
ในเมื่อมีการทำ ZIRP และ QE อีกครั้ง คงต้องรอดูว่าราคาหุ้น ทองคำ และน้ำมันจะเป็นอย่างไร
สำหรับตลาดหุ้น จะระยะเวลานานแค่ไหนกว่าจะกลับตัว และราคาทองคำจะทำ new high อีกครั้งหรือไม่ คงต้องรอดูต่อไปครับ
ทองคำ และ S&P500 - วันนี้เรากำลังอยู่ตรงจุดไหนของ cycle?
ถึงแม้ช่วงหลังๆจะมีความไม่แน่นอนของข่าวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หากมองทางด้านเทคนิคอย่างเดียว
จากกราฟจะเห็นว่าเราได้มาถึง target 2.618 fibonacci extension ของ bear market ช่วงปี 2000 ในอเมริกาที่เกิดจากภาวะเงินฝืดจากผลกระทบจากเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง
ตลาดหุ้นอเมริกาได้ผ่าน the great bull run ในประวัติศาสตร์กินระยะเวลายาวนาน 10 ปี
ตอนนี้ด้วยข้อมูลเศรษฐกิจของอเมริกาที่ออกมาดีมากๆ sector ส่วนใหญ่ breakout อยู่ในขาขึ้น
เมื่อมองจากกราฟด้วยทฤษฎี Elliot wave ผมคิดว่าเราเพิ่งจบการย่อของเวฟ 4 และตลาดอเมริกากำลังมุ่งหน้าไปสู่เวฟที่ 5
สำหรับ near term หลังจากที่เริ่มปีด้วยการวิ่งขึ้นมา 20 กว่า% ตอนนี้คงไม่น่าแปลกใจหากจะมีการ take profit และย่อตัวเกิดขึ้น
หากนำ classic chart pattern มาจับ จะเห็นว่าราคาทำ pattern diamond top ที่มีการ break out ขึ้นด้านบน แต่ตอนนี้เราคงเห็นการย่อตัวมาทดสอบแนวรับตาม trend line
ก่อนที่จะขึ้นไปทำเวฟ 5
นี่คือ price objective แรกของเวฟ 5 สำหรับ S&P500 แต่หากเวฟที่ 5 มีการยืดออก target จะเลื่อนออกไปเรื่อยๆครับ
ทั้งหมดนี้สัมพันธ์กับทองอย่างไร?
ทองเป็นสินทรัพย์ที่มีนักลงทุนมักซื้อเมื่อตลาดหุ้นอยู่ใน bear market หรือย่อตัวลง ซึ่งเป็นภาวะ risk-off
แต่หากตลาดหุ้นกำลังอยู่ในขาขึ้น ตลาดจะอยู่ภาวะ risk-on
หมายความว่า นักลงทุนจะเลือกลงทุนในหุ้นที่เป็นขาขึ้นมากกว่าเนื่องจากได้กำไรและปันผล
แต่ทองไม่มีการปันผลใดๆ
เพราะฉะนั้น หากนักลงทุนมีความมั่นใจในตลาดหุ้น จะไม่มีคนเลือกซื้อทอง ทำให้ราคาทองตกลง
ตอนนี้ ในขณะที่ S&P500 กำลังย่อตัว ทองคงขึ้นมา correct ได้ระดับนึง
(ได้วิเคราะห์ไว้ในการวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ ติดตามอ่านได้ที่ )
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ภายในสัปดาห์นี้ ทองคงจะถูกเทขายเมื่อตลาดหุ้นได้ย่อตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะเห็นว่าทองได้จบ price objective ที่ 4.236 fibonacci level แล้วครับ
ทอง และหุ้น ไม่ได้ top และ bottom พร้อมกันครับ จะมีเหลื่อมกันบ้างในด้านเวลา เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นว่าหุ้นขึ้นหรือลง ทองจะต้องวิ่งด้านตรงข้ามทันทีนะครับ
ความสัมพันธ์เหล่านี้ ต้องดูบริบทของตลาดในขณะนั้นด้วย
ผมคิดว่า ทองคำสามารถทำราคาได้ถึง 1296-1302 ในขณะที่ S&P500 กำลังย่อตัว ครับ
รอขายทองคำทุกครั้งที่ราคาดีดขึ้น
ขายไปจนกว่า S&P500 จะจบเวฟ 5 ครับ จากนั้นค่อยเริ่มซื้อทองคำได้อีกครั้ง