Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ออกอาการแกว่ง
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,652.64 จุด ลดลง 3.09 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.59 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง จากตัวเลขค้าปลีกและการจ้างงานที่อ่อนแอ บวกกับเฟดออกมาเตือนถึงสัญญาณขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงตามแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้น (Closing the window) ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม และยังมีกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม ทำให้แนวรับที่ 1,628 จุด เป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงของพักตัวลงเป็นคลื่น iv) หลังจากจบคลื่น iii) ที่ 1,667 จุด ตามหลักการ Alternation ของคลื่นเอลเลียต คลื่น iv) มีแนวโน้มที่พักตัวแบบซับซ้อน (Complex) หรือปรับตัวลงลึก (Sharp) คลื่น iv) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด หรือ 1,616 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI กลับมาเป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดแกว่งตัวแบบขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,658 – 1,663 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,645 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดยังขาดมูลค่าการซื้อขาย
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด พลังงาน แบงก์และสื่อสาร หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,655.73 จุด เพิ่มขึ้น 13.84 จุด มูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายลดลง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัล ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐคืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นและมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,667 จุด หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้นและมีกรอบบนช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,680 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายชะลอตัว จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงของพักตัวลงเป็นคลื่น iv) หลังจากจบคลื่น iii) ที่ 1,667 จุด ตามหลักการ Alternation ของคลื่นเอลเลียต คลื่น iv) มีแนวโน้มที่พักตัวแบบซับซ้อน (Complex) หรือปรับตัวลงลึก (Sharp) คลื่น iv) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด หรือ 1,616 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI กลับมาเป็นบวกเช่นเดียวกับสัญญาณ MACD ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic ยังเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นยังมีโอกาสที่ปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมา
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,667 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,649 – 1,644 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Closing the window
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และหุ้นขนาดกลาง หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,642.49 จุด เพิ่มขึ้น 4.49 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นและระยะกลางเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 สวนทางกับสถาบันในประเทศ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับสัญญาณการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ และสภาคองเกรสสามารถเลี่ยงการชัตดาวน์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Closing the window) ที่ 1,644 – 1,647 จุด หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด (1565/1667) ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,632 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม กรณีที่บรรยากาศการลงทุนเป็นลบ ดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,624 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,616 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่ 1,667 จุด กำลังพักตัวลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Wave Equality คลื่น iv) จะยาวเท่ากับ 0.382 เท่าของความยาวของคลื่น iii) คลื่น iv) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,616 จุด ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) ไม่ควรซ้อนทับกับคลื่น i) คลื่น iv) จึงไม่ควรปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,610 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,647 – 1,653 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,637 – 1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,628 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด (สื่อสาร พลังงานและแบงก์) ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,638.00 จุด ลดลง 13.60 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,632 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นและระยะกลางเป็นลบ ส่งให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด (กรณีที่เป็นลบ ดัชนีตลาดอาจปรับตัวลงไปที่แนวรับ 1,616 จุด) ต่างชาติกลับมาขายสุทธิในทิศทางเดียวกับสถาบันในประเทศ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง เนื่องจากการเจรจาการค้าไร้ข้อสรุปและตลาดกังวลการชัตดาวน์รอบสอง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สาม หลังดัชนีตลาดดีดตัวเข้าหาเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ที่ 1,666 จุด (ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,667 จุด) ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด (คำนวณระหว่าง 1565/1667) โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม และมีแนวรับ 50.0 % Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,616 จุดเป็นแนวรับถัดไป
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่ 1,667 จุด กำลังพักตัวลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Wave Equality คลื่น iv) จะยาวเท่ากับ 0.382 เท่าของความยาวของคลื่น iii) คลื่น iv) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,616 จุด ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) ไม่ควรซ้อนทับกับคลื่น i) คลื่น iv) จึงไม่ควรปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,610 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,645 – 1,651 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,628 – 1,622 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงระยะสั้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเริ่มแกว่งตัวแบบผันผวนตามแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,651.68 จุด เปลี่ยนแปลงขึ้นเล็กน้อย 0.28 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นลบ ต่างชาติมีแนวโน้มเข้าซื้อสุทธิ ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง คลื่น iii) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (i),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,700 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวผันผวนหลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,656 จุดเป็นครั้งที่หก และมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,666 จุดเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Top ตามหลัง Stars ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,628 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,657 – 1,666 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,645 – 1,637 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ รอขายเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI หรือเมื่อดัชนีตลาดปิดต่ำกว่าแนวรับที่ 1,645 จุด
สำหรับนักลงทุนรอสัญญาณซื้อ ควรรอซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังหลุดแนวรับ 1,650 จุด
แรงขายที่มีออกมาหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,666 จุด ส่งผลให้ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดที่ 1,653.11 จุด ลดลง 5.60 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นลบ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลง จากความกังวลหลังไร้สัญญาณเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ที่ 1,666 จุด แท่งเทียนเกิดสัญญาณ Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม โดยระยะกลางดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,650 จุด จะเป็นสัญญาณการจบคลื่นส่ง คลื่น iii) จากหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น iii) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น i) ทำให้คลื่น iii) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,666 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น iv) (จากการคำนวณ ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงไปที่ 1,627 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงขายที่มีออกมากดดัชนีตลาดให้อ่อนตัวลง ระยะสั้นดัชนีตลาดจะมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,666 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ รอขายเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI หรือเมื่อดัชนีตลาดปิดต่ำกว่าแนวรับที่ 1,650 จุด
สำหรับนักลงทุนรอสัญญาณเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,666 จุด
แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาหลังนักลงทุนบางส่วนพักการซื้อขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,658.71 จุด เพิ่มขึ้น 5.62 จุด มูลค่าการซื้อขายขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.85 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น นักลงทุนยังเฝ้าติดตามการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะได้ข้อสรุปเช่นไร
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดเหนือแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,656 จุด โดยดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้นและกำลังปรับตัวเข้าหาเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ที่ 1,666 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายชะลอตัว จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มขึ้น และภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,645 จุด จะเป็นสัญญาณการจบคลื่นส่ง คลื่น iii) จากหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น iii) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น i) ทำให้คลื่น iii) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,666 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น iv) (จากการคำนวณ ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงไปที่ 1,627 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,666 – 1,670 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,653 – 1,647 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ รอขายเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI หรือเมื่อดัชนีตลาดปิดต่ำกว่าแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,645 จุด
สำหรับนักลงทุนรอสัญญาณเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นเสี่ยง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,645 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาดหนุนดัชนีตลาดกลับขึ้นมาปิดที่ 1,653.09 จุด ลดลง 0.53 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 2.5 หมื่นล้านบาท (ช่วงเทศกาลตรุษจีน) สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมาเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด ต่างชาติกลับมาเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกขานรับผลประกอบการที่สดใส นักลงทุนเฝ้าติดตามคำแถลงนโยบายประจำปีของทรัมป์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆใกล้แนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,656 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Shooting Star, Star และ Doji สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ราคาปิดวันถัดไปจะบ่งบอกถึงทิศทางดัชนีตลาด หากดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำกว่า 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลดลง แต่ระยะกลางดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,645 จุด จะเป็นสัญญาณการจบคลื่นส่ง คลื่น iii) จากหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น iii) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น i) ทำให้คลื่น iii) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,666 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น iv) (จากการคำนวณ ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงไปที่ 1,627 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ รอขายเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI หรือเมื่อดัชนีตลาดปิดต่ำกว่าแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,645 จุด
สำหรับนักลงทุนรอสัญญาณเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,627 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณเสี่ยงระยะสั้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัลด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดเริ่มชะลอตัว (เทศกาลตรุษจีน) ดัชนีตลาดปิดที่ 1,653.62 จุด เพิ่มขึ้น 2.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.17 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่สถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก จากแรงขับเคลื่อนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นักลงทุนมองการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐไปในทางบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) (การที่ดัชนีตลาดเปิดกระโดดขึ้นแบบมีช่องว่างถึง 4 ครั้ง สะท้อนถึงภาวะซื้อมากเกิน) ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,656 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Star ที่มีลำตัวสีดำ สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ราคาปิดวันถัดไปจะบอกถึงทิศทางดัชนีตลาด หากดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูงดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 จุด
ระยะสั้นหากดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,645 จุด จะเป็นสัญญาณถึงการปรับตัวลดลง
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,645 จุด จะเป็นสัญญาณการจบคลื่นส่ง คลื่น iii) จากหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น iii) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น i) ทำให้คลื่น iii) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,666 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น iv) (จากการคำนวณ ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงไปที่ 1,627 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ รอขายเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI หรือเมื่อดัชนีตลาดปิดต่ำกว่าแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,645 จุด
สำหรับนักลงทุนรอสัญญาณเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,612 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ต้อนรับปีหมู
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดส่งท้ายเดือนแรกของหมูที่ 1,641.73 จุด ดัชนีตลาดเดือนมกราคมปรับเพิ่มขึ้น 77.85 จุด เพิ่มขึ้น 4.98 เปอร์เซ็นต์ ในรอบสัปดาห์ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 27.78 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวัน 5 หมื่นล้านบาท (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่อยากเห็น 5.5 หมื่นล้านบาท) สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทางต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ท่ามกลางตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และความหวังที่จะเห็นจีนและสหรัฐบรรลุข้อตกลงทางการค้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,546 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น 4 ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,612 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 5 หรือ คลื่น 3),5 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด โดยระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,700 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นและกำลังปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 50.0 % Fibonacci Retracement ที่ 1,681 จุด ด้วยเส้น Speedline ที่เปิดกว้างขึ้น สะท้อนถึงการปรับตัวขึ้นที่ร้อนแรงและเข้าสู่เขตซื้อมากเกิน ดัชนีมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,678 จุด โดยมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,681 จุดเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับฐานระยะสั้นเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,656 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,644 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ รอขายเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI หรือเมื่อดัชนีตลาดปิดต่ำกว่าแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,640 จุด
สำหรับนักลงทุนรอสัญญาณเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 – 1,612 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังเปิดสูงปิดต่ำ
อานิสงส์จากเฟดคงอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยร้อนแรงช่วงเช้า แรงขายที่มีออกมาในช่วงท้ายตลาดทำให้ดัชนีตลาดลดช่วงบวกลงเหลือ 9.13 จุด ปิดที่ 1,641.73 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน แรงขายทำกำไรระยะสั้นจะฉุดให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น สถาบันภายในประเทศในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ต่างชาติกลับมาขายสุทธิครั้งแรกใน 6 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดมีทั้งบวกและลบ หลังดีดตัวขึ้นร้อนแรงขานรับเฟดคงอัตราดอกเบี้ยและผลประกอบการที่สดใส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นที่ 1,640 จุด ดัชนีตลาดเปิดกระโดดแบบมีช่องว่าง (Gap) แท่งเทียนเกิดเป็น Shooting Star ในเขตซื้อมากเกิน จึงควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ (Long Bearish Candlestick) จะเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจะปรับตัวลง แต่ถ้าเปิดต่ำปิดสูงจะเป็นสัญญาณปรับตัวขึ้น
ดัชนีตลาดมีแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,656 จุด ซึ่งคำนวณระหว่างจุดสูงที่ 1,765 จุด กับจุดต่ำที่ 1,546 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) โดยดัชนีตลาดจะปรับตัวซิกแซกขึ้นเป็นเลขอนุกรมแบบ 5+4+4+4...... และจะยืนยันการจบคลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,628 จุด และจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,612 – 1,590 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้เกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงแต่จะเป็นการปรับตัวลงเพื่อขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,648 – 1,654 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,635 – 1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สำหรับการซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ควรระวังแรงขายเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 – 1,656 จุด
สำหรับนักลงทุนระยะกลาง - ยาว ควรรอเพิ่มน้ำหนักการลงทุนจาก 50 เปอร์เซ็นต์ เป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 – 1,590 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขานรับเฟดคงดอกเบี้ย
แรงซื้อกระจายตัวหนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก แม้จะขาดแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,632.60 จุด เพิ่มขึ้น 8.55 จุด มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวอยู่ที่ 4.87 หมื่นล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อยเป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับเฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,627 จุด หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,612 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นที่ 1,640 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวลงเพื่อขึ้นต่อ เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดจบคลื่น i),v ที่ 1,634 จุด เราสามารถหาแนวรับที่เป็นเป้าหมายของคลื่น ii) ด้วยสัดส่วนตัวเลขฟิโบนาชี
นำจุดต่ำที่ 1,546 จุด กับจุดสูงที่ 1,634 จุด จะได้แนวรับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,601 จุด, 1,590 จุด และ 1,580 จุด ตามลำดับ โดยดัชนีตลาดมีแนวรับที่เกิดจากช่องแนวโน้มขาขึ้นอยู่ที่ 1,590 จุด ทำให้คลื่น ii) มีแนวโน้มปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,590 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้เกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดอ่อนตัว แต่จะเป็นการปรับตัวลงเพื่อขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,638 – 1,644 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,626 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สำหรับการซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ควรระวังแรงขายเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด
สำหรับนักลงทุนระยะกลาง - ยาว ควรรอเพิ่มน้ำหนักการลงทุนจาก 50 เปอร์เซ็นต์ เป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 – 1,590 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มตลาดกดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,624.05 จุด ลดลง 0.98 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.15 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 – 1,590 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ขณะที่ต่างชาติเข้าซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ ตลาดหุ้นนิวยอร์กแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางมีทั้งบวกและลบ นักลงทุนเฝ้ารอดูผลการประชุมของเฟดและการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆหลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,627 จุด โดยมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,638 จุด ดัชนีตลาดเกิดแท่งเทียนเป็น Hanging Man ตามหลัง Shooting Star โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลง มูลค่าการซื้อขายชะลอตัว
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดจบคลื่น i),v ที่ 1,634 จุด เราสามารถหาแนวรับที่เป็นเป้าหมายของคลื่น ii) ด้วยสัดส่วนตัวเลขฟิโบนาชี
นำจุดต่ำที่ 1,546 จุด กับจุดสูงที่ 1,634 จุด จะได้แนวรับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,601 จุด, 1,590 จุด และ 1,580 จุด ตามลำดับ โดยดัชนีตลาดมีแนวรับที่เกิดจากช่องแนวโน้มขาขึ้นอยู่ที่ 1,590 จุด ทำให้คลื่น ii) มีแนวโน้มปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,590 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 – 1,590 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,638 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 - 1,590 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,630 จุด
แรงซื้อในหุ้นกลุ่มนำตลาดขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดแรงขายจากภาวะซื้อมากเกินตามออกมา กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,625.03 จุด เพิ่มขึ้น 1.41 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดขึ้นไปทำจุดสูงที่ 1,634.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 จุด ต่างชาติกลับมาเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ต่ำกว่าคาด หวั่นสงครามการค้าฉุดเศรษฐกิจโลก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังจากดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,627 จุดเป็นครั้งที่สาม และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,634 จุด แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์และ Shooting Star ตามหลัง Stalled pattern ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบวนไปวนมา และจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงที่ 1,612 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 5 หรือคลื่น 3),5 โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
จากหลักการของคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของคลื่น 1) เท่ากับ 1,890 จุด ระยะกลางดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,700 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงขายที่เริ่มมีออกมาฉุดดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,612 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวระยะสั้น ระยะกลางแนวโน้มบวก
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับมาร้อนแรง แรงขายที่มีออกมาในช่วงสัปดาห์ กดดัชนีตลาดปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,623.62 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 39.85 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.56 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวกหลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้เกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดบวกหลังทรัมป์และสภาคองเกรสสามารถยุติการชัตดาวน์หน่วยงานรัฐชั่วคราว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 5 หรือคลื่น 3),5 โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
จากหลักการของคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของคลื่น 1) เท่ากับ 1,890 จุด ระยะกลางดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,700 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,627 จุดเป็นครั้งที่สอง แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์ตามหลัง Stalled pattern ซึ่งเป็นสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง (Continuation pattern) แต่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นแบบวนๆไปได้ไม่ไกล ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงจะทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อดัชนีตลาดปรับตัว ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ขณะที่สัญญาณ MACD ชี้ว่าดัชนีกำลังเริ่มปรับขึ้นเป็นตลาดขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Stalled Pattern
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดเริ่มชะลอตัว ภาวะซื้อมากเกินกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,620.53 จุด เพิ่มขึ้น 3.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายให้ออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศกลับมาซื้อสุทธิในทางเดียวกัน ขณะที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง ตลาดได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่ง แต่การเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐไร้ข้อยุติ และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวกำลังคุกคามตลาดทุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,627 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,631 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงจะทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลง
แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern แม้จะเป็นสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง (Continuation pattern) แต่ดัชนีตลาดจะขึ้นแบบวนๆไปได้ไม่ไกล
สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก โดยเฉพาะความลาดชัน (Slope) ของ MACD ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความร้อนแรงของตลาดในระยะสั้น ภาวะซื้อมากเกินเตือนให้ระวังถึงแรงขายทำกำไรที่จะออกมาเป็นระยะ โดยเฉพาะเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,631 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น i),v เนื่องจากดัชนีตลาดมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,627 จุด มีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,628 จุด และมีแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,630 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,625 – 1,631 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,614 – 1,609 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,630 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,617.38 จุด เพิ่มขึ้น 15.61 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.78 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด สถาบันภายในประเทศยังเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 (686 ล้านบาท) ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่สดใสหนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนบวก ท่ามกลางการเจรจาการค้าที่ตึงเครียดและสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,612 จุด และกำลังปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,627 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,630 จุด ดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้นหลังดัชนีตลาดสามารถทะลุผ่านแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (6.78 หมื่นล้านบาท) เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นแนวรับ
ภาวะซื้อมากเกินเตือนให้ระวังถึงแรงขายทำกำไรที่จะออกมาเป็นระยะ โดยเฉพาะเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางและปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น i),v เนื่องจากดัชนีตลาดมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,627 จุด มีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,628 จุด และมีแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,630 จุด
ทำให้คลื่น i),v มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,627 – 1,630 จุด ก่อนที่จะพักตัวลงเป็นคลื่น ii) และปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น iii)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,623 – 1,630 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,610 – 1,604 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,612 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
มูลค่าการซื้อขายหด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลและพลังงาน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดเหนือแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,601.77 จุด เพิ่มขึ้น 13.39 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาทและขาดแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มสื่อสารและแบงก์ จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยง ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลงจากความกังวลถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,609 จุด และมีแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,612 จุดเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
ดัชนีตลาดที่ปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด หากมูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท และขาดแรงขับเคลื่อนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยง จึงควรนำหุ้นออกขายเพื่อทำกำไรหรือถือเงินสดเพิ่ม
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4,C เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,612 จุด และเป็นการยืนยันการสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) โดยคลื่น 3),5 มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,607 – 1,612 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,594 – 1,587 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตเพื่อทำกำไรหากดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด หากมูลค่าการซื้อขายน้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ยกเว้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเหนือ 1,612 จุด ตลาดขับเคลื่อนด้วยหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ มูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท จะเป็นสัญญาณเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อไม่ต่อเนื่อง
แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงเช้าหนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,595 จุด แต่แรงขายที่มีออกมาในช่วงบ่ายฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,588.38 จุด เพิ่มขึ้น 4.61 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,597 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ต่างชาติกลับมาขายสุทธิครั้งแรกในรอบ 8 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด หลังดัชนีตลาดพักตัวลงปิดช่องว่าง (Closing the window) ขาขึ้นที่ 1,575 – 1,584 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลงระยะกลาง และจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (ระดับ 5.5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) และต่อเนื่อง
ดัชนีตลาดควรถูกขับเคลื่อนด้วยหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมันของนักลงทุน
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4,C เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,612 จุด และเป็นการยืนยันการสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) โดยคลื่น 3),5 มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,597 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,595 – 1,600 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,580 – 1,575 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตเพื่อทำกำไรหากดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายน้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ยกเว้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเหนือ 1,612 จุด ตลาดขับเคลื่อนด้วยหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ มูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท จะเป็นสัญญาณเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,612 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด (พลังงาน สื่อสารและแบงก์) ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ และปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,583.77 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 13.27 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4.39 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,597 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาร้อนแรงและปิดในแดนบวก ตลาดได้รับแรงขับเคลื่อนจากจีนและสหรัฐสามารถเดินหน้าเจรจาการค้ากันได้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวยืนปิดเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาว หลังจากปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,546 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกและยืนยันการจบคลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง จากนั้นดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3),5 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
จากหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1) เท่ากับ 1,890 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม หลังดัชนีตลาดพักตัวลงปิดช่องว่าง (Closing the window) ขาลงที่ 1,575 – 1,584 จุด ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลงระยะกลาง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,597 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,590 – 1,597 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,577 – 1,570 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตเพื่อทำกำไรหากดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายน้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ยกเว้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเหนือ 1,612 จุด ตลาดขับเคลื่อนด้วยหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ มูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท จะเป็นสัญญาณเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยืน 1,612 จุดได้ ซื้อ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆหลังพักตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,575 – 1,584 จุด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,580.30 จุด เพิ่มขึ้น 2.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.17 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบ และจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,600 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้นเมื่อยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก ขานรับหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สดใสและการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยังดำเนินต่อไป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้น (Closing the window) ที่ 1,575 – 1,584 จุด หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,612 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดไม่สามารถผ่านแนวต้านขึ้นไปได้ ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลงระยะกลาง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบ 1,565 – 1,609 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดัชนีตลาดจะเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Inverted Head and Shoulders และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) เพื่อปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น 3),5 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
จากหลักการของคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1) จะเท่ากับ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางทางเทคนิคัล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,587 – 1,594 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,574 – 1,567 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต แต่ถ้าดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,612 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท ให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์