SET : ไปต่อหรือรอก่อน1. ณ (1455จุด) กราฟ Day ราคาทดสอบเส้น EMA50 | กราฟ 2ชั่วโมง ราคาทดสอบ EMA200
- ราคาเลือกที่จะยังไม่หลุดลงไป เนื่องจาก
2. กราฟ 30 นาที RSI ทำ Divergence + MACD ตัดขึ้น (1465) ทำให้ รีบาวน์ขึ้นมาจนถึงที่ RSI 70 (1480 จุด)
- รีบาวน์มาแล้วจะลงหรือขึ้นต่อ
3.1 หาก กราฟ 30 นาที ราคากลับไปยืนเหนือเส้น200ได้จะทำให้ภาพรวมในทิศทางขึ้นชัดมาก
3.2 หาก กราฟ 30 นาที ไม่สามารถทำแบบข้อ3.1ได้ และ MACD เลือกที่จะตัดลง ถือว่าเป็นการจบการรีบาวน์ คงต้องกลับมาลุ้นที่แนวรับ ในข้อ1. (EMA50 Day) ต่อไป
มุมมองส่วนตัวเลือกทางขึ้นโดยให้ข้อสังเกตว่าแนวโน้มในกราฟเดย์และวีคยังอยู่ในทิศทางที่ดีอยู่
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "macd"
Gold 20/1/64 เขตอันตรายช่วงราคา 1875-1880 เป็นช่วงที่อันตรายพอสมควร สุ่มเสี่ยงที่จะไปต่อหรือกลับตัวลงมา
ความเห็นส่วนตัวคาดว่าน่าจะไปต่อ แต่อาจกลับตัวลงมาก่อนสักพักเพื่อสะสมแรง เพราะว่า TF1-4 hr. MACD โผล่พ้นน้ำหมดแล้ว อีกทั้งแนวโน้มใหญ่ทองคือขาขึ้น แต่ TF day ทองยังอยู่ในเทรนขาลง โดยที MACD ก็เหมือนเริ่มจะอยากโผล่พ้นน้ำกับเขาบ้าง. ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีเส้น MA 90 วันกดไว้แถวช่วงราคาแนวต้านเดิม คือ 1875 ซึ่งคิดว่าทองน่าจะยังผ่านไปไม่ได้ (ในสัปดาห์นี้) ดังนั้นจึงต้องมองหาช่วงปิดออเดอร์ sell เมื่อทองคำมีการย่อตัว แต่หากมีการเบรกราคา 1880 และยืนเหนือราคาได้จะต้องปล่อย sl
TFEX 15/9/2020จากภาพแผนเทรดตอนนี้มอง Buy signal จาก MACD ใน TF15 เกิดสัญญาน Bullish divergence
จากการไล่คลื่นมองว่าช่วง Swing สุดท้ายเป็นลักษณะของการสวิงแบบ overlap ไปมาบ่งบอกถึงเทรนกำลังอ่อนแรง มีโอกาสเกิดการพักตัวหรือเกิดการเปลี่ยนทิศทาง
สรุปข้อมูล
1. Overlapping of the latest segment
2. Bullish divergence of MACD
ข้อควรระวังในการเทรดครั้งนี้
1. ยังไม่มีสัญญาณของ Completely retracement มายืนยันการจบของแนวโน้มเดิมอย่างชัดเจน
วางเงื่อนไขเอาไว้ตามเส้นประแนวนอน
เป็นบันทึกการเทรดแผนเทรดของแจมเองนะครับกำลังฝึกการนำคลื่นอีเลียตและวางเงื่อนไขการเทรดให้เป็นระบบ มีอะไรอยากติชมแนะนำแลกเปลี่ยนได้ครับแจมยังมือใหม่
SET : RSI มากกว่า 46.8 เตรียมเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ กินเวลา 2-4 ปีจากรูป ถ้าเราลองลากเส้นแนวนอน ตามแนวรับของ RSI ที่ SET เคยย่อลงมาแล้วไม่หลุด
จะเห็นได้ว่า
ค่า RSI ที่เป็นแนวรับ/แนวต้านใหญ่ ของ SET ระดับ TF Weekly ก็คือประมาร 46.8
ซึ่ง จากที่ได้ลองไล่ดูข้อมูลย้อนหลัง พบว่า
เมื่อ RSI ข้ามจากโซนล่าง ( น้อยกว่า 46 ) ข้ามเส้น 46.8 ขึ้นมา = หลังจากนั้นตลาดจะเป็นภาวะกระทิง ( Bullish / ขาขึ้น )
เมื่อ RSI ข้ามจากโซนบน ( มากกว่า 47 ) ข้ามเส้น 46.8 ลงมา = หลังจากนั้นตลาดจะเป็นภาวะหมี ( Bearish / ขาลง )
ซึ่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าเราสังเกตุ RSI จะเห็นได้ว่า
ตอนนี้ มันวิ่งข้ามเส้น 46.8 ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และ confirm อีกชั้น ด้วย เส้น MACD ตัดกันเมื่อหลายอาทิตย์ที่ผ่านมา
ซึ่ง... ถ้าเราลองมองย้อนหลังไป เราจะพบความสัมพันธ์ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1) 15 ก.พ. 16 - 21 พ.ค. 18 ( ประมาณ 2 ปี )
--------------------
- RSI ได้ทะลุแนวต้าน 46.8 ขึ้นไป และวิ่งเป็นขาขึ้นยาว ตลอด 2 ปี
- ถ้าสังเกตุ MACD ก่อนหน้านั้นมีการตัดกันที่โซนล่างด้วย ก็เป็นการ confirm uptrend
- หลังจาก RSI Overbought แรก ตลาดก็มีการ Correction ลงมาแรง ถ้าดูจากกราฟแล้ว ผมว่าก็แรงกันจนเม่าสติแตกแน่ๆ 555 เพราะลงจาก 1550 ไป 1350 ในเวลา 7 สัปดาห์ ( สองเดือน )
- แต่ก็น่าจะเป็นจุดซื้อเพิ่มที่ดี สำหรับคนที่ยังไม่ได้ขึ้นรถ ( แต่ตอนหน้างาน ทุบแรง+นาน แบบนี้ ต้องมีคนสติแตกกันอย่างแน่นอนครับ )
- หลังจากนั้นตลาดก็ค่อยๆ ขึ้นไปต่อเรื่อยๆ แต่ก็มีช่วง sideway นิ่งๆ ไม่ไปไหน ให้คนถอดใจ กันอยู่เกือบปี ( ม.ค. 17-ส.ค. 17 )
- แล้วก็พุ่งพรวดเดียวไป peak ตอน ม.ค. 18 -- ก็สอดคล้องกับราคา BTC ที่พุ่งกระฉูดไปเหมือนกัน
- หลังจากนั้น ราคาก็เจอ bearish divergence weekly แล้วก็ร่วงลงมาหนัก ยาว ตั้งแต่ 2018 ถึงปัจจุบันนี่แหละ
- สิ่งที่เราเรียนรู้ จากการลองไล่พฤติกรรมราคา ในภาพใหญ่ คือ บางช่วง ตลาดมันจะเล่นงานเราด้วยการ correction อย่างรุนแรง แต่เป็นการ correction เพื่อไปต่อ
- ซึ่งเราก็ต้องมีแนวทางการหนีที่ชัดเจน เก็บเอาไว้ดูประกอบด้วย เช่น ถ้าปิด week ต่ำกว่า low ก่อนหน้า ไกลๆ ก็หนี หรือ short TFEX hedge พอร์ตเอาไว้ก่อน เป็นต้น
Pattern นี้ ในช่วงเวลาอื่นๆ
- 3 มี.ค. 14- 11 พ.ค. 15 = ปีกว่าๆ ( แถวนี้ ราคา BTC ก็ sideway )
- 21 พ.ย. 11 - 10 มิ.ย. 13 = เกือบสองปี ( แถวนี้ ราคา BTC ก็วิ่งควาย )
- 16 เม.ย. 09 - 12 ก.ย. 11 = สองปีกว่า
* แถวนี้ กราฟวิ่งขึ้นแบบแทบจะไม่พักอยู่ 2 ปี เปิดตำนานเซียนหุ้นในเมืองไทย
- 4 พ.ค. 04 - 16 มิ.ย. 08 = choppy market 4 ปี
* ช่วงนี้ตลาดวิ่งขึ้นวิ่งลงในกรอบ ไม่ได้พุ่งไปไหนไกลอยู่เป็นหลายปี
* ผมจำได้ว่า ช่วงนั้น หนังสือพ่อรวยสอนลูกฮิตมาก เพราะตลาดเมกาดี คน flip อสังหากันรัวๆ จนเกิดฟองสบู่ sub prime แล้วแตกในปี 2008
- 1998-2004 = ต้มยำกุ้ง Recovery 6 ปี
* ช่วงนี้ตลาดยังซึมๆ เหงาๆ เพราะคนหมดตัวกันไปเยอะ หลังจากวิกฤต ต้มยำกุ้ง
* ช่วงนี้ ใครมีเงิน แล้วช้อนหุ้นราคาถูก ตอนมันทำกรอบสะสมแถวโซน 200-300 แล้วไม่ขาย ตอนนี้ก็รวยกันไปถ้วนหน้า
สรุป
-----
* บทความนี้ก็เป็นข้อสังเกตุ ย้อนหลัง ของพฤติกรรมราคาของตลาดหุ้นไทย กับ RSI
* เอาจริงๆ มันก็มีบางช่วงที่ตรง ใช้ได้ แต่บางช่วงที่เราเจอตลาด choppy กันอยู่หลายปี กลยุทธนี้ก็ไม่เวิร์คเหมือนกัน
* สำหรับหุ้น ผมว่า บางที เราก็ต้องเทรดกันแบบมองภาพยาว และเล่นกันไปอย่างใจเย็นๆ
* อย่าง ถ้าเราดู TF monthly ประกอบ ก็จะเห็นว่า รอบนี้คือ opportunity of the lifetime จริงๆ อย่างลุงโฉลกแกเคยพูดไว้ในคลิป เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย RSI monthly เราลงไปหลุด 30 แค่ 3 ครั้งเท่านั้น
* ถ้าเราตัดสินใจเข้าหุ้น ในรอบนี้ ผมคิดว่า ไม้ที่เข้ารอบนี้ ต้องอย่าออกเด็ดขาด และถือกันไปยาวๆ
* ส่วนเงินสด บางส่วน ก็เก็บเอาไว้ข้างสนาม ไว้รอจังหวะ correction แรงๆ แล้วค่อยเข้าเพิ่ม เป็นต้น
* ก็ลองสังเกตุดูนะครับ เราก็ไม่รู้อนาคตหรอกว่ามันจะไปทางไหน แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ชัวร์ที่สุดคือ
* เม่า จะเข้าที่ยอดดอย ที่ RSI peak ใน TF ใหญ่ แทบจะเสมอครับ
* เพราะเป็นเม่า ตอนที่ต้องเข้า ก็ลังเลๆ แล้วไม่ยอมถือทนรวย ไปเข้าๆ ออกๆ
* สุดท้าย พอไปเข้าไม้สุดท้าย แบบมั่นใจ จัดหนักจัดเต็ม ตอน RSI peak ก็โดนตลาดรับน้องอย่างไม่ต้องสงสัยครับ ( ผมรู้ เพราะผมก็เคยทำแบบนั้นมาก่อน 555 )
* ถ้าไม่อยากเป็นเม่า ก็วางแผนเทรดไม้ระยะยาว เอาไว้บ้างก็ดีนะครับ
ADVANC : TechnicalADVANC มีการเคลื่อนไหวในกรอบของ TF : W ตั้งแต่ ต้นปี 2016
ทุกครั้งที่ลงมาใกล้แนวรับกรอบล่าง จะมีการกลับตัวของหุ้นพร้อมกับสัญญาณของ MACD ที่ตัดขึ้นเสมอ
คำแนะนำ : ติดตามราคาบริเวณแนวรับ
หากหลุดแนวรับ 184.5 downside เปิดกว้างถึง 165
หากไม่หลุดแนวรับ และมีสัญญาณ MACD ตัดขึ้น ราคาอาจไปทดสอบบริเวณ 220
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงขายจากภาวะซื้อมากเกิน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,228.03 จุด เพิ่มขึ้น 17.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.37 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ตลาดยังมีความเสี่ยงที่พักตัวลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่าง (Gap) ที่ 1,184 – 1,249 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,243 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Shooting Star ในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,184 จุด
ภาวะซื้อมากเกินและตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะพักตัวเมื่อปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 969 จุด จากที่ได้วิเคราะห์ไว้คลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) ที่ 942 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นอย่างร้อนแรง เมื่อนำจุดสูงที่ 1,852 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวต้านจะได้ ดังนี้
38.0% Fibonacci Retracement = 1,306 จุด
50.0% Fibonacci Retracement = 1,410 จุด และ
61.8% Fibonacci Retracement = 1,515 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,243 – 1,255 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,210 – 1,192 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
หาจังหวะทยอยเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 940 จุด+/- และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
คำแนะนำ
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว
- ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Shooting Star
แรงขายที่มีในช่วงบ่ายฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าลงมาปิดที่ 1,210.48 จุด เพิ่มขึ้น 4.71 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.36 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (9/4) ปรับตัวเพิ่มขึ้นขานรับเฟดออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สรอ. ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และตัวเลขการว่างงานที่พุ่งขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่าง (Gap) ที่ 1,184 – 1,249 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,243 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Shooting Star ในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,184 จุด
ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะพักตัวเมื่อปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 969 จุด จากที่ได้วิเคราะห์ไว้คลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) ที่ 942 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นอย่างร้อนแรง เมื่อนำจุดสูงที่ 1,852 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวต้านจะได้ ดังนี้
38.0% Fibonacci Retracement = 1,306 จุด
50.0% Fibonacci Retracement = 1,410 จุด และ
61.8% Fibonacci Retracement = 1,515 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,226 – 1,243 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,195 – 1,180 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
หาจังหวะทยอยเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 940 จุด+/- และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
คำแนะนำ
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว
- ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดาวโจนส์ชี้นำในทางบวก
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้นปิดที่ 1,138.84 จุด เพิ่มขึ้น 0.57 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.97 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกและเริ่มปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (6/4) ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,627 จุด นักลงทุนเริ่มกลับเข้าซื้อเพื่อดักข่าวดี หลังยอดการติดเชื้อโควิด-19 มีสัญญาณชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งแคบๆและปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของสามเหลี่ยม Ascending Triangle ที่มีแนวต้านอยู่ที่ 1,130 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,138 จุด ดัชนีตลาดมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,184 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,197 จุด การเกิดสัญญาณ Convergence ของสัญญาณ MACD Histogram แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลงหรือปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 942 จุด ซึ่งเป็นแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 843 จุด
เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้
38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด
50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด
61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,161 – 1,184 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,120 – 1,100 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
หาจังหวะทยอยเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 940 จุด+/- และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
คำแนะนำ
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว
- ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตื่นการระบาดเชื้อโควิด 19
นักลงทุนตื่นการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 หลัง WHO ยกระดับการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 เป็นการแพร่ระบาดระดับโลก นักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขาย ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กวันพุธ (11/2) ทรุดตัวลง ดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 1,400 จุด และเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (Bear Market) เนื่องจากดาวโจนส์ปรับลดลงจากจุดสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,249.89 จุด ลดลง 21.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับจิตวิทยาที่ 1,200 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Gap = 1,272 – 1,364 จุด) เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) และเกิดแท่งเทียนรูป Falling Three Methods ทั้งสองรูปแบบเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อลงต่อหรือเพื่อปรับฐาน เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) อยู่ที่ 1,292 จุด และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด
เมื่อนำจุดต่ำที่ 380 จุด กับจุดสูงที่ 1,852 จุด มาวิเคราะห์แนวรับ จะได้แนวรับดังนี้
38.0% Fibonacci Retracement = 1,290 จุด
50.0% Fibonacci Retracement = 1,116 จุด
61.8% Fibonacci Retracement = 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,200 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,262 – 1,287 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,238 – 1,220 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง
คำแนะนำ
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายวัน ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จากกราฟรายวัน เพื่อการลงทุนระยะสั้น
- ในกรณีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ (ทยอย) โดยพิจารณาจากกราฟรายสัปดาห์ ควรดูพิจารณาสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram จากกราฟรายสัปดาห์ เพื่อการลงทุนระยะกลาง – ยาว
- ในกรณีที่ตลาดเป็น Bear Market มากๆ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence อาจเกิดถึง 3 ยอด (โดยทั่วไปในภาวะที่ตามปกติ สัญญาณ Bullish Divergence ส่วนใหญ่จะเป็นสองยอด)
กรณีศึกษาหุ้น PTT กับระบบ CDC Action Zone TF Weekly ที่แดงมา 2ปีวันนี้ เห็นหุ้นพลังงาน ตระกูล PTT และตัวอื่นๆ ร่วงกันหนัก วันเดียว -30% ตามราคาน้ำมันโลก
ก็เลยลองมาเขียนบทความบันทึกกันไว้หน่อยนึง
ถ้าเราดูกราฟของ PTT ใน TF weekly
และเอา indicator ง่ายๆ อย่าง CDC Action Zone ใส่เข้าไป
( CDC Action Zone ก็คือ MACD มุดหรือตัดศูนย์ขึ้นลง )
เราก็จะเห็นได้ว่า ...
PTT นั้น มีสัญญาณซื้อตั้งแต่วันที่ 4 เมษา 16
และเกิดสัญญาณขายไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. 18
โดยใช้เวลา bull run รอบนี้สองปีครึ่ง และได้กำไรไป 76%
เห็นไหมครับว่า
"PTT มีสัญญาณขาย ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. 18"
และหลังจากนั้นก็ไม่มีสัญญาณซื้ออีกเลย...
ถ้าเราแค่ ทำตามระบบ ง่ายๆ แค่ MACD ตัดศูนย์ ใน TF Weekly
เราก็จะไม่ต้องไปเสี่ยงถือหุ้นตัวที่ทรงเป็นแบบนี้อีกต่อไปแล้ว
แต่หลายๆ คน ไม่สามารถทำได้
..เพราะผมเชื่อเลยว่า คนที่ซื้อ PTT ส่วนใหญ่
ก็น่าจะไปซื้อกันที่ยอดดอย ตอนราคาขึ้นไป peak แล้ว ( ก็เม่านี่นา เธอต้องยอมรับว่าตัวเองเป็นเม่า 555 )
และก็ไปคิดว่า "มันลงมาเยอะแล้ว เดี๋ยวก็คงเด้งแหละน่า"
หุ้นพื้นฐานดีแบบนี้ ซื้อแล้วถือ ถัวๆ ไปล่ะกัน..
เจอท่ากระชากวิญญาณ วันนี้เข้าไป...
เงิบกันถ้วนหน้า..
ก็ฝากไว้นะครับ ว่า หาระบบอะไรมาเทรด ไปซะ อย่าเทรดด้วยอารมณ์
ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือคริปโต
แล้วชีวิตท่านจะง่ายขึ้นมากเลยครับ 555
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พิษ Covid-19
แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงต่อเนื่อง แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,395.08 จุด เพิ่มขึ้น 28.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.45 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (27/2) ดาวโจนส์ดิ่งลง 1,190 จุด (จากจุดสูงดาวโจนส์ปรับลดลง 10%) นักลงทุนกลัวว่า Covid-19 จะระบาดในสหรัฐ ส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,355 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Thrusting pattern (เป็นสัญญาณตัวอ่อนๆ) ในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้ามาจะหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง และการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ยืนยันดัชนีตลาดยังเป็นตลาดขาลง และการเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงหรือปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,343 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และ MACD Histogram ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อหรือปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,415 – 1,435 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,376 – 1,355 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง
BTCUSD ถ้าปิดแท่งต่ำกว่า 7290 อาจจะลงต่ออย่างหนักในเดือน มค.2020จากรูป จะเห็นได้ว่า
วันนี้ BTC โดนกดลงมาจนอยู่แถวๆ โซน 7150
ทำให้ จะปิดแท่งเดือน ธ.ค. 2019 แบบราคา close ต่ำกว่าเส้น EMA 18 ( ค่า EMA 18 Monthly อยู่ประมาณ 7290 )
ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมา เราเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นตอนปี 2018
ที่ราคาแท่ง Month ปิดต่ำกว่าเส้น EMA 18 ในเดือน Sep 2018
แล้วพอเดือน Nov 2018 ราคาก็ทิ้งดิ่งลงไปอีก -40% จนไปหยุดแถวๆ 3200
ยัง..ยังไม่พอ การปิดแท่ง Month แถวๆ นี้จะทำให้
ราคาปิดต่ำกว่า Fibo 0.618 แถวๆ 7250 อีกด้วย
ซึ่งแนวรับ fibo ถัดไปก็จะอยู่ประมาณ 5500 และ 4200 ตามลำดับ
นอกเหนือจากการปิดแท่งต่ำกว่าเส้น EMA 18 Month แล้ว
ยังมี MACD Death Cross เกิดขึ้นอีกด้วย
ซึ่งจากอดีด ที่ผ่านมา พอเกิด death cross หลังจากนั้นราคาก็ลงต่ออีกยาว
ตอนนี้ก็ได้แต่ลุ้นว่า..
1) เหลืออีก 4 ชม. ก่อนปิดแท่ง Monthly ราคาจะโดนดึงกลับขึ้นไปยืนเหนือ EMA 18 ที่มากกว่า 7300 ให้ได้ เพื่อลบล้างมุมมองขาลง สองข้อแรก
2) แต่ปัญหาก็อยู่ที่ MACD death cross นี่แหละครับ เพราะอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยหนีมันได้เลยน่ะ... cross แล้วลงต่ออีกยาว
ตอนนี้ผมก็ได้แต่สวดมนต์ แผ่กุศล ให้สาย long ทั้งหลาย ที่ยังถัว long กันลงมาตั้งแต่ยอด
ให้พอร์ตรอดปลอดภัย ไม่โดนล้าง ตลอดปี 2020 ด้วย เทิญ
เจริญพร
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,650 จุด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,626.00 จุด เพิ่มขึ้น 18.50 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.16 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก สัญญาณ Bullish Divergence แสดงถึงปลายตลาดขาลง ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด สถาบันภายในประเทศกลับมาเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับลดลงเล็กน้อย นักลงทุนชะลอการซื้อขายเพื่อรอดูบทสรุปการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,750 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวต้านที่ 1,625 จุด หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,603 จุดถึงสองครั้ง และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI และ MACD Histogram เสมือนเป็นสัญญาณเตือนในช่วงปลายตลาดขาลง
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง โดยมีเส้นแนวโน้มขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI และ MACD Histogram เป็นเสมือนสัญญาณที่ชี้ว่าดัชนีตลาดกำลังอยู่ในช่วงปลายตลาดขาลง และใช้เป็นจุดเข้าซื้อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,635 – 1,641 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,613 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
BTCUSD และความขลังของ EMA(18)เอาจริงๆ ผมไปเจอค่านี้ จากกูรูฝรั่งท่านนึง เลยลองเอามาใช้ดู ก็พบว่า
โคตรขลัง! เมื่อไหร่ที่ราคาหลุดลงไปใต้ EMA(18) เมื่อไหร่ ใน TF daily
จะพบว่า การขึ้นมายืนเหนือได้นั้น ยากมากๆ
ยิ่งช่วงนี้ ตลาดทุนทั่วโลก เหมือนจะเจอ correction กันหนัก
ผมว่า BTC เองก็ไม่น่ารอด เดี๋ยวก็คงลงต่ออีกเช่นกัน
ตอนนี้ ถ้าดู เวลาเทียบกับปี 2018 ก็พบว่า น่าสนใจ
เพราะการดีดขึ้นมาทดสอบ EMA(18) ครั้งนี้ ในปี 2019
ใช้เวลาเท่ากันกับ ตอนปี 2018 เลย คือ 36 วัน
ซึ่งหลังจากเทสแล้วไม่ผ่าน ก็ร่วงเละ.. และวิ่งลงไปจนถึง 6k โน่นเลย
วีคหน้า ถ้าปิดแท่งแบบย่ำแย่แบบนี้ เราจะเจอ MACD ตัดกันระดับ week ด้วย
ก็ไม่เป็นสัญญาณที่ดีเท่าไหร่
เพราะตอนปี 2018 ก็มีการตัดกันของ MACD week แล้วหลังจากนั้นก็ร่วงเละ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นระวังภาวะซื้อมากเกิน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดหลังจีนและสหรัฐพักรบข้อพิพาททางการค้า หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,747 จุด ก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.85 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิด แรงขายทำกำไรระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสอ่อนตัวลง โดยระยะกลางดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเข้าหาแนวต้านที่ 1,766 จุด และ 1,820 จุด ตามลำดับ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังจีนและสหรัฐพักรบสงครามการค้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำแท่งเทียนลำตัวเล็กสีดำ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,766 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง ขณะที่เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นด้วยความลาดชันที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงดัชนีตลาดระยะกลางขึ้นไปยังเป็นตลาดขาขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดที่พักตัวลงเป็นการปรับตัวลงเพื่อขึ้นต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด และกำลังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด กราฟรายวันแสดงถึงดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเริ่มอ่อนแรง ต่างไปจากกราฟรายสัปดาห์ความลาดชันของ MACD Histogram ยังสะท้อนถึงภาวะตลาดกระทิง (Bull market)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะซึ่งจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง แต่ระยะกลางขึ้นไปดัชนียังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,747 – 1,753 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,735 – 1,729 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
จากกราฟรายวันดัชนีตลาดเริ่มปรากฏสัญญาณ Bearish Divergence ของ MACD Histogram แม้จะมีนัยสำคัญน้อยกว่าสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการไล่ราคา
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยุติสงครามการค้า
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดส่งท้ายเดือนมิถุนายนที่ 1,730.34 จุด ในรอบครึ่งปีแรกของปีดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 166.46 จุด หรือเพิ่มขึ้น 10.64 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.2 หมื่นล้านบาท ต่างชาติมีแนวโน้มซื้อสุทธิต่อเนื่อง ภาวะซื้อมากเกินในระยะสั้นจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดระยะกลางมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,740 จุด และ 1,766 จุด ตามลำดับ สัปดาห์นี้คาดว่าตลาดหุ้นนิวยอร์กจะได้รับแรงหนุนจากข่าวจีนและสหรัฐยุติการขึ้นภาษีรอบใหม่ เพื่อหันหน้าเจรจาการค้ารอบใหม่ และทรัมป์ผ่อนผันให้บริษัทสหรัฐค้าขายกับบริษัทหัวเว่ย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด และกำลังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด กราฟรายวันแสดงถึงดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเริ่มอ่อนแรง ต่างไปจากกราฟรายสัปดาห์ความลาดชันของ MACD Histogram ยังสะท้อนถึงภาวะตลาดกระทิง (Bull market)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านที่ 1,740 จุด แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์ หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่างที่ 1,722 – 1,726 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูงและมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น ช่องว่างที่เกิดจะเป็น Breakaway gap เป็นสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ (Key Reversal Day) ช่องว่างที่เกิดจะเป็น Exhaustion gap ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง
เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นและความลาดชันเพิ่มขึ้น ชี้ถึงภาวะตลาดขาขึ้น (Bull market) ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวลงจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะซึ่งจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง แต่ระยะกลางขึ้นไปดัชนียังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,735 – 1,742 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,725 – 1,720 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
จากกราฟรายวันดัชนีตลาดเริ่มปรากฏสัญญาณ Bearish Divergence ของ MACD Histogram แม้จะมีนัยสำคัญน้อยกว่าสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการไล่ราคา
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
หลีกเลี่ยงการไล่ราคา
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,731.64 จุด เพิ่มขึ้น 9.43 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวแนวต้านที่ 1,740 จุด และ 1,766 จุด ตามลำดับ แม้สัญญาณทางเทคนิคัลจะแสดงถึงการปรับตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น แต่ระยะสั้นควรหลีกเลี่ยงการไล่ราคาหุ้น ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ตลาดหุ้นนิวยอร์กแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง นักลงทุนกังวลว่าการเจรจาการค้าระหว่างสี จิ้นผิงและทรัมป์อาจไม่บรรลุข้อตกลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่างที่ 1,722 – 1,726 จุด ดัชนีตลาดปิดค่อนไปทางสูงทำให้ช่องว่างที่เกิดมีแนวโน้มเป็น Breakaway gap หรือ High Price Gapping Play ซึ่งเป็นสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีตลาดจึงมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อ เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นด้วยความลาดชันที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณยืนยันถึงทิศทางขาขึ้นในระยะกลาง
อย่างไรก็ดี การเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ MACD Histogram เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงในระยะสั้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด และดัชนีตลาดกำลังปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะซึ่งจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง แต่ระยะกลางขึ้นไปดัชนียังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,735 – 1,742 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,726 – 1,720 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
จากกราฟรายวันดัชนีตลาดเริ่มปรากฏสัญญาณ Bearish Divergence ของ MACD Histogram แม้จะมีนัยสำคัญน้อยกว่าสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการไล่ราคา
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เริ่มเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวปิดที่ 1,622.10 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวลง 12.90 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 3.69 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 (นับจากต้นปีเป็นต้นมา ต่างชาติมียอดขายสุทธิกว่า 2.86 แสนล้านบาท) ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงแต่ไม่ต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) ซึ่งจะถูกยืนยันด้วยของสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram
ในกรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด และปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,565 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น 4
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ ซึ่งอาจปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) ดัชนีตลาดต้องยืนเหนือ 1,584 จุด หรือคลื่น 4 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด โดยมีแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,565 จุดเป็นเป้าหมาย
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแบบผันผวนเหนือแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด โดยมีเส้นแนวโน้มขึ้น (ลากระหว่างจุดต่ำที่ 1,584 จุด กับ 1,596 จุด) สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ชี้ว่าดัชนีตลาดกำลังอยู่ในช่วงปลายตลาดขาลง จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะสั้นที่ 1,645 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
สัญญาณทางเทคนิคัลมีความขัดแย้งกัน โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI แสดงว่าดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้น แต่เส้น MMA2 และ DMI กลับชี้ว่าดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงการปรับตัวลงต่อ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณขัดแย้งปลายตลาดขาลง (Bullish Divergence) ซึ่งเป็นเสมือนสัญญาณเตือนถึงช่วงปลายตลาดขาลง อย่างไรก็ดี ในภาวะตลาดหมี (Bear Market) สัญญา RSI อาจเกิด Bullish Divergence แบบสามยอด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,628 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence แต่ยังเน้นถือเงินสดไว้ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวโน้มผันผวน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,670 จุด ดัชนีตลาดจบคลื่น (i) ลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,670 – 1,666 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่น (iii) คลื่น (iv) และคลื่น (v) ตามลำดับ คลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะยาว
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นและลงแบบมีช่องว่าง สะท้อนถึงความผันผวนของดัชนีตลาดที่เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นตัวกระตุ้น ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับ 50.0% Fibonacci retracement ที่ 1,675 จุด และมีแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,666 จุด เป็นแนวรับร่วม
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้นหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ในรอบสัปดาห์นี้ มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,705 – 1,715 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,688 – 1,680 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,670 – 1,666 จุด สลับกับการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลระหว่างวัน
ยังคงแนะนำให้เน้นถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวรับ 1,730 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,766 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือแนวรับของเส้นคอ (Neckline) ที่ 1,735 จุด จะเป็นการยืนยันสัญญาณกลับตัวรูป Double Top ที่เกิดในเขตซื้อมากเกินร่วมกับสัญญาณ Bearish divergence ของ RSI ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดสูงเก่าที่ 1,730 จุด
ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นและมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,700 จุด+/-
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,735 จุด จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) โดยคลื่น v) เป็นคลื่นหดตัว (Truncation wave) ซึ่งจะทำให้การปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) มีโอกาสปรับตัวลงแรงเข้าหาแนวรับที่ 1,730 จุด และ 1,700 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นบวก (สัญญาณ MACD มีโอกาสที่จะเป็นลบสูง) ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,730 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,748 – 1,753 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,735 – 1,730 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI
ECL จะหมดแนวโน้มขาลงแล้วหรือยัง?เราติดตามรูปแบบราคาของกราฟ Ecl พบว่าถึงแม้ตัวกราฟจะเป็นแนวโน้มขาลงมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
แต่สิ่งที่ทำให้เราเริ่มสนใจคือ
1.รูปแบบการขัดแย้งของ Macd ซึ่งเราพบว่ามีความขัดแย้งกัน โดยสังเกตจากการที่ราคาลง แต่ Macd ไม่ยอมลงตาม (ทำให้คาดการณ์ว่ามีแรงขายลดลง มีแรงซื้อเพิ่มขึ้น?)
2.ตัวกราฟ Ecl ไม่ทำ นิวโลว์แล้ว
และ 3.จ่อเบรคเส้นเทรนไลน์ระยะยาว ซึ่่งหากเบรคเส้นเทรนไลน์ระยะยาวนี้ได้โอกาสที่กราฟ Ecl จะหมดแนวโน้มขาลงจะมีสูงมาก (เทรนไลน์ยิ่งไกลยิ่งมีนัยสำคัญ)
สิ่งที่คาดหวัง
1.อันดับแรก เบรคเทรนไลน์ระยะยาวให้ได้ซะก่อน ซึ่งราคาจะต้องไม่หลุดลงมาต่ำกว่าเส้นแนวโน้มนี้อีก เพื่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มจากขาลง ซึ่งอาจจะเปลี่ยนไปเป็นแนวโน้มขาขึ้นหรือ Sideway ต่อก็ได้
2.การเบรคแนวต้านเดิมที่ 2.14 บาท นั่นคือจะทำให้กราฟกลายเป็นรูปแบบขาขึ้นโดยสมบูรณ์ (มีการยกไฮยกโลว์ไปเรื่อยๆ)
สิ่งที่ต้องระวัง
หากราคาเด้งขึ้นมาชนเส้นเทรนไลน์เทรนไลน์แล้วไม่ผ่าน ก็ยังถือว่ายังคงเป็นแนวโน้มขาลงอยู่
กลยุทธ์
ซื้อ
1.ซื้อเมื่อสามารถเบรคเทรนไลน์ได้
2.ซื้อเมื่อสามารถเบรคแนวต้านที่ 2.14 บาทได้
ขาย
1.ขายเมื่อราคาไม่สามารถเบรคแนวต้านที่ 2.14 บาทได้
2.หากซื้อเมื่อเบรคแนวต้าน แผนการขายคือเมื่อแนวต้านกลายเป็นแนวรับแล้วรับไม่อยู่
ฺBTC ใกล้สิ้นสุดตลาดหมีแล้วหรือยัง *ในวันที่ 7 กุมภา และ 7 เมษา ในภาวะตลาดหมี MACD-Histogram ทำจุดตํ่าที่ตื้นกว่าเดิมมาก แสดงถึง Bullish Divergence (ภาวะกระทิง) นี่เป็นสัญญาณซื้อเมื่อ MACD-H ทำจุดตํ่าครั้งที่สองที่เป็นลบน้อยกว่า (ลูกศรสีเหลือง)
- เมื่อวานนี้ การตัดกันของเส้น EMA 26, 13 กำลังสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนเทรนในระยะสั้น ราคามีโอกาสไปถึง $11,000
- จากการเก็บของในโซนสีเหลืองครั้งที่แล้วในช่วงราคา 6,800-6,000 ผมได้ขายไปแล้ว 50% และอีก 50% เมื่อราคาวิืงชนเส้น MA200 ผมยังคงบอกคำเดิมว่าถ้าราคายังไม่พ้น $12,000 ก็บอกไม่ได้ว่าตลาดได้เปลี่ยนเทรนอย่างสมบูรณ์แล้ว
* หลังจากนี้ให้ระวังการทำ Double Top ของราคาใน Time frame 4 H
เก่งก่อนกราฟ XAUUSD 11-11-2024เเผนสัปดาห์นี้ครับ
1. มองขึ้น
2. มุมมอง-ราคาทองคำร่วงจากนโยบายที่จะเกิดขึ้นของทรัมป์ ที่ส่งเสริมเศษฐกิจภายในประเทศและสนับสนุน bitcoin ทำให้มีการเทขายทำกำไรขากทองคำไปลงในทรัพทย์สินอื่นเช่น หุ้นหรือคริปโต เพื่อทำกำไรระยะสั้น ปัจจุบีนมองว่าทองคำยังมีโอกาศไปได้ต่อหากราคายังไม่หลุด DM ล่างสุด (2605-2615)
3. ซื้อขาย ด้วย S&R + DM & SP +Fibo + Volume Profile + MACD
4. อย่าลืม SL จุด เเละกันหน้าทุนเสมอครับ
5. คลิปเต็มติดตามย้อนหลังได้ที่ช่อง Youtube
#นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเพื่อพัฒนาการเทรดไม่ใช่การเเนะนำในการทุนตาม ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจครับ (moon big smile)