ราคาน้ำมันติดลบ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก!แปะเอาไว้ดูในอนาคตครับว่า
มีเหตุการณ์บ้าๆ อะไรแบบนี้ด้วย
ราคาน้ำมัน Future วิ่งลงไปติดลบ!!!
...นอกตำราสุดๆ ครับ
วิกฤตรอบนี้ อาจจะหนักที่สุดในประวัติศาสตร์โลกก็ได้
ผลข้อมูลจากอดีต ก็อาจจะไม่สามารถบอกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น
ยังไงก็แบ่งพอร์ตกันดีๆ นะครับ
อย่างน้อยควรมีตังกินข้าวก่อน
อย่าเพิ่งรีบไปลงทุนหมด
น้ำมัน
PTTGC - แค่ "ดีด" หรือ "กลับตัว"
ลงมาครบ 5 wave แล้ว
ถ้าแค่ "ดีด" เราอาจจะเห็นการขึ้น 3 wave ในกราฟ สัปดาห์หรือกราฟเดือน
ถ้าแค่ดีด คงเห็นการกลับตัวในกรอบสีเหลือง
แต่ถ้าเป็นการกลับตัว เราจะเห็น new all time high
ปัจจุบัน
คิดว่ากำลังอยู่ในเวฟ 3 ของเวฟ 1 กราฟสัปดาห์
ดูจาก volume profile ตอนนี้เราอยู่เหนือแนวรับข้างล่างหมดแล้ว แนวต้านต่อไปที่แน่นหนาคือบริเวณ 48 บาท
ยังคงเน้น buy เมื่อย่อครับ
USOIL ยังสามารถลงได้อีกจากตรงนี้ น้ำมันนี้ถือว่าลงแรงมากเลย หลุด Low เมื่อ 10 ปีก่อน Support ต่อไปนี้จะอยุ่แถวๆ ปี 2001 ที่ราคาราวๆ 17$ ลงไป
ในมุมมองผม มันยังสามารถที่จะลงไปได้อีกจากตรงนี้ ถ้าเรา MM ดีๆ ก็น่าจะได้ราคาดีพอสมควร
เพราะผมคิดว่ามันน่าจะลากลงไปอีกแล้วกลับขึ้นไป retest จุดที่เบรคลงมาหน่อยน่ะครับ
ถ้ากลัวตกรถก็เข้าบ้างก็ได้ เมื่อคืนมันก็ลงไปถึง 19.xx มาแล้วน่ะ
เราจะได้ใช้น้ำมันราคาถูกไปสักพักใหญ่ๆเลยมั้งเนี่ย " วิกฤตมาพร้อมโอกาส "
USOIL (WTI)น้ำมันดิบปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี หลังจากเกิดความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า
ซึ่งไปกระทบเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์ของน้ำมันที่อ่อนแอ และปริมาณน้ำมันส่วนเกินในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ยังมีการคาดการณ์ว่า กลุ่ม OPEC อาจตัดสินใจปรับลดการผลิตลงอีกในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยปกป้องราคาน้ำมันไม่ให้ร่วงลงต่อไป
หากมองในเชิงเทคนิคแล้ว ในภาพรวมระยะยาวการร่วงลงมาของราคา ได้ลงมาทดสอบบริเวณเส้นแนวรับที่เป็นเส้น Bullish trendline พอดีแถวๆ 49.51 โดยประมาณ
ซึ่งมีโอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปได้ โดยอาจจะมีการผันผวนอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้น ซึ่งมี GAP การสวิงอยู่ที่ 49.51 - 64.00 โดยประมาณและอาจบีบตัวแคบลงไปเรื่อยๆ
ตามราคาเฉลี่ยนของกรอบแนวรับและแนวต้านที่เกิดขึ้น
หากมีการเบรคลงไปต่ำกว่ากรอบสามเหลี่ยมมีโอกาสที่จะลงไปทดสอบโซนแนวรับทดไปที่ 43 - 40 โดยประมาณ
อย่างไรก็ตามในระยะยาว การปรับตัวลงอาจถือเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ เพียงแต่ระยะเวลาที่เกิดนั้นอาจกินเวลาไปมากพอสมควร
แต่หากผ่านพ้นไปได้แล้ว โอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปทดสอบ จุดสูงสุดก่อนหน้าที่ 64 และ 74 ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับ
ดังนั้นหากจะมีการทะยอยเก็บ position ในช่วงนี้ก็ยังคงต้องเน้นในเรื่องการคุมความเสี่ยงให้ดี
WTI น้ำมันโลกอัพเดตจากที่เคยดูไว้เมื่อ พฤจิกายนปีที่แล้ว
กาลครั้งนึง ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าโลก ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนมูลค่าเงินตราขึ้นมา
โดยใช้แร่เงิน และ ทองคำ แต่สุดท้ายทองคำได้รับการยอมรับมากกว่า จึงเกิดมาเป็น gold standard
แต่แร่ทองคำก็ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของโลกที่จะใช้การแลกเปลี่ยนมูลค่า
ต่อมาเกิดสงครามโลกทั้งสองครั้ง และสมรภูมิอยู่ที่ยุโรปและเอเซีย จึงไม่ปลอดภัยที่จะเก็บทองในยุโรป
ประเทศต่างๆมาฝากทองที่สหรัฐฯเพราะว่าสหรัฐฯจะไม่เสียหายจากสงครามโลก และน่าจะปลอดภัยที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1944 นายแฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ กับ นายวินสตัน เซอร์ซิลล์
ได้ริเริ่มให้มีการเวทีการหารือระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อสร้างระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลก
ซึ่งในที่สุดผลที่ออกมาคือการลงนามใน Bretton Woods Agreements โดยประเทศต่างๆยินยอม
ที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับ
สกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐโดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และ อเมริกาจะออกตั๋วทองเป็นสกุลเงินดอลล่าห์
โดยสัญญาว่า 1 ดอลล่าห์จะเท่ากับทอง 1 หน่วย bretton woods system
และ IMF กับ world bank ก็ถือกำเนิดจากการประชุมดังกล่าว
จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน สั่งยกเลิกสนธิสัญญาเบรตตันวู๊ด ปฏิเสธไม่ยอมเอาทองคำแท่ง
ไปไถ่ถอนเงินดอลลาร์ที่ธนาคารกลางในต่างประเทศสำรองไว้ ไปเมื่อ ตอนนั้นเงินดอลลาร์ยังเป็นแค่เงินกระดาษ (fiat currency คือกระดาษที่รัฐบาลรับรอง)
ยังผลให้เงินดอลลาร์ เมื่อเทียบค่ากับเงินสกุลหลัก ๆ ลอยตัว ซึ่งก็คือลดลงอย่างมาก จนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันระหว่างปี 1973-74
oil embargo ตอนนั้น โอเปกห้ามส่งออกน้ำมันไปยังอิสราเอลและมิตรของอิสราเอล)
พอน้ำมันวิกฤตถึงขั้น เงินดอลลาร์ก็ถูกปั๊มเข้าไปสู่ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องประจัญกับการนำเข้าน้ำมันที่แพงขึ้น 400%
ด้วยกฎบัตรหลังสงครามและความสะดวกอื่น ๆ ตอนนั้นเงินดอลลาร์เป็นเงินสำรองแต่เพียงสกุลเดียว ที่ทั่วโลกถือเอาไว้แทนทองคำ
และ สมาชิกโอเปกทุกประเทศ รับเฉพาะเงินดอลลาร์ในการซื้อขายเท่านั้น petrodollar ซึ่งยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ประเทศต่างๆ
เอนเอียงออกจากการผูกค่าเงินกับดอลล่าร์มาสู่การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
และองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่าง IMF และ World Bank ยังคงมีบทบาทในการเป็นแหล่งเงินเสริมสภาพคล่องและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียในช่วงปี 1997-99 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแถบบ้านเราสะดุดกันไปพักหนึ่ง บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจ
ในรัสเซียและอาร์เจนติน่า ทำให้ IMF และธนาคารโลกต้องกลับมาทำงานหนักขึ้นหลังจากเว้นระยะมานานร่วม 25 ปี นับแต่ช่วง Oil Shock
สรุป ณ ปัจจุบัน ดอลลาห์ = น้ำมัน อเมริกาสามารถปั่นราคาน้ำมันเพื่อจะพิมพ์เงินดอลลลาห์ได้นั้นเอง
OIL Mid-termราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากผลกระทบจากปัจจัยต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ และจากการปรับตัวขึ้นของ Dollar Index ในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงมาทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 57.36 ดอลลาร์ ก่อนจะปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยก่อนปิดสัปดาห์ อยู่ที่ 59 ดอลลาร์
อย่างไรก็ตามราคายังคงอยู่ที่บริเวณโซนแนวรับที่ 58.23 - 55.05 ดอลลาร์ ซึ่งการปรับตัวลงของ Dollar Index และการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อได้อีกในสัปดาห์หน้า โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 60.5 - 62.5 ดอลลาร์ โดยประมาณ
นอกจากนี้ MACD ยังมีโอกาสที่จะเกิด Bullish Divergence ซึ่งบ่งบอกถึงการอ่อนแรงของการปรับตัวลงในครั้งนี้
วิเคราะห์ราคาน้ำมัน ช่วงที่ผ่านมาราคาลงมาค่อนข้างแรง ช่วงนี้ก็จะเด้งขึ้นหรือออกแนวข้างสักพัก
จากกราฟผมมองสามทาง คือ
แบบแรก สีดำ เส้นประ (จากรูปแบบเดิม) เด้งไป 57 ใกล้ๆ แล้วลงลึกไป 45 - 48.4 ก็น่าจะนิ่งๆลึกสุดล่ะ
แบบสอง สีน้ำเงิน เด้งไป 59.8 - 61 แล้วค่อยลงมา 50 -51
แบบสาม เด้งขี้นยาวไม่ลง ต้องดูราคาปิด สัปดาห์นี้อีกทีว่า จะยังต่ำกว่า 58-59 รึปล่าว
การเทรด
ใช้Sell limit ในโซน
ไม่ Buy (ถ้าไม่มีเวลาดูไม่ควรเทรดสวน) เพราะแนวโน้มยังลงได้อีก เสี่ยงเกินไป
*** แต่ช่วงนี้ ไม่เทรดดีกว่า รอ ราคาปิดยืนยัน ค่อยดูว่าจะใช้ แผนไหนต่อ ความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นแบบสอง
ราคาน้ำมันแกว่งตัวลง แต่ยังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นราคาน้ำมันแกว่งตัวลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังจากเป็นขาขึ้นต่อเนื่องมาหลายเดือน อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้วยังไม่ถือว่าเกิดการกลับตัวเป็นขาลง ดังนั้นการสวิงลงของราคาครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะเข้าซื้อในช่วงแนวรับที่ 67$-65$ ตาม price action ในกราฟ 1hr หรือ 4hr ซึ่งนักลงทุนมือเก๋าอาจใช้เทคนิค Blind Entry (เข้าเทรดโดยไม่รอ price action ที่ชัดเจน) เข้าซื้อในช่วงแนวรับดังกล่าวก็ได้ เพราะแนวโน้มกราฟยังเป็นขาขึ้นชัดเจน
น้ำมันดิบราคากลับมาคงที่หลังจากขยับตัวสูงขึ้น โดยภาพรวมยังเป็นขาหลังจากที่เกิด Pin bar สัญญาณเข้าซื้อในกราฟราคาน้ำมันดิบ เมื่อ 17 เม.ย.61 ราคาก็ขยับตัวสูงขึ้น จนถึงสัปดาห์ที่แล้วซึ่งราคาเริ่มคงที่ แต่ตลาดโดยภาพรวมยังคงเป็นบวก โดยสำหรับสัปดาห์นี้ควรจับตาดูสัญญาณ Pull back ในช่วงแนวรับที่ประมาณ 64$-67$ เพื่อรอเข้าซื้อ และสังเกตสัญญาณซื้อ (Buy signal) ที่ควรจะสอดคล่องกับทิศทางตลาดซึ่งยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น จาก Pin bar สัญญาณซื้อ (แนวโน้มระหว่าง 23-27 เม.ย.61)
หลายเดือนมานี้ตลาดน้ำมันดิบยังคงเป็นขาขึ้น โดยเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (19 เม.ย.61) มีจุดที่น่าสนใจสำหรับการวิเคราะห์กราฟ คือ แท่ง Pin bar ที่บ่งชี้สัญญาณซื้อในช่วงแนวรับ 60$-65$ และราคาก็สูงขึ้นต่อเนื่องก่อนจะชะลอตัวลงเล็กน้อยตอนปิดตลาดในวันศุกร์ ซึ่งภาพรวมของกราฟก็ยังเห็นได้ว่าเป็นขาขึ้นชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม สัปดาห์นี้จะต้องจับตาดูสัญญาณซื้อที่ราคาแนวรับอย่างใกล้ชิดเมื่อราคามีการแกว่งตัวลง (pullback)