USOIL การวิเคราะห์ประจำวัน 3/5/2022 by TraderTanTrading note:
BUY USOIL : 103.956
TP : 107.076
SL : 101.725
เหตุผลในการเข้าเทรด:
จากกราฟแท่งเทียน มีสัญญาณการกลับตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้ง โดยได้รับการยืนยันเทรน
จากการตัดเส้น EMA เป็นขาขขึ้น จึงทำการเข้า BUY แม้ว่าราคาจะค่อนข้างสูงไปสักหน่อย
แต่ยังสามารถทำกำไรได้ในระดับหนึ่ง โดยเน้นรูปแบบการเทรด Scalping เก็บระยะสั้น
EMA กำลังตัดขึ้นในกรอบ TF1H เล็กและ 4H ทำให้ขาขึ้นค่อนข้างจะได้เปรียบ
เล็กน้อย เน้นเก็บกำไรระยะสั้น เป็นหลัก เนื่องจาก ยังมีแนวต้านด้านบนหลายจุด
เส้น RSI เป็นกลางแต่อยู่ในเทรนที่กำลัังเป็นขาขึ้น เน้นจบปิดกำไรรายวัน โดยมีตั้งกำไร
TP และตั้ง SL ไม่ไกลจากแนวรับแนวต้านเดิม ทั้งใน TF1H และ 4H และจะทำการล๊อค
กำไรจาก TSL ด้วยระดับหนึ่ง
ประสบการณ์: การเทรดแบบเน้นรูปแบบ Scalping day trading อาจจำเป็นต้อง
เข้าออเดอร์บ่อยทุกกวัน และถือออเดอร์ไม่นานโดยปิดจบรายวัน และเน้นเก็บกำไรแบบเป็นรอบสวิง
เพื่อเป็นการเพิ่มกระแสเงินสด แคชโฟร์ ในพอร์ต อาจมีการแบ่งปิดกำไรจากออเดอร์ที่เรามีได้เช่นกัน
เมื่อกำไรในระดับหนึ่งแล้ว อาจมีการตั้ง TSL เพื่อเป็นการล๊อคกำไรได้ในอีกทางหนึ่งด้วย
“หากบทวิเคราะห์นี้ดี…มีประโยชน์กับเพื่อนๆนักเทรดทุกท่าน
กรุณากดติดตามและสนับสนุนพวกเราด้วยนะครับ…ขอบคุณครับผม”
J-OIL
USOIL การวิเคราะห์ประจำวัน 2/5/2022 by TraderTanTrading note:
SELL USOIL : 103.756
TP : 99.802
SL : 105.257
เหตุผลในการเข้าเทรด:
จากกราฟแท่งเทียน มีสัญญาณการกลับตัวเป็นขาลงจากสัปดาห์ที่แล้ว กรอบใหญ่ราคา
ยังวิ่งเป็นไซด์เวย์อยู่ แต่ราคาเริ่มลดระดับต่ำลง โดยวิ่งเป็นสวิงเทรนในรอบเทรนขาลง
จึงทำการเข้า SELL โดยเน้นรูปแบบการเทรด Scalping เก็บระยะสั้น จากเส้น EMA
EMA กำลังตัดลงในกรอบ TF เล็กและเป็นไปได้ว่าจะยังลงต่อได้อีก
เส้น RSI เป็นขาลงซึ่งยังสามารถลงต่อได้อีก เน้นจบปิดกำไรรายวัน
โดยมีตั้งกำไร TP และตั้ง SL ไม่ไกลจากแนวรับแนวต้านเดิม ทั้งใน TF1H และ 4H
และจะทำการล๊อคกำไรจาก TSL ด้วยระดับหนึ่ง
ประสบการณ์: การเทรดแบบเน้นรูปแบบ Scalping อาจจำเป็นต้องเข้าออเดอร์บ่อย
และถือออเดอร์ไม่นานโดยปิดจบรายวัน และเน้นเก็บกำไรแบบเป็นรอบสวิง เพื่อเป็นการ
เพิ่มกระแสเงินสด แคชโฟร์ ในพอร์ต อาจมีการแบ่งปิดกำไรจากออเดอร์ที่เรามีได้เช่นกัน
เมื่อกำไรในระดับหนึ่งแล้ว อาจมีการตั้ง TSL เพื่อเป็นการล๊อคกำไรได้ในอีกทางหนึ่งด้วย
“หากบทวิเคราะห์นี้ดี…มีประโยชน์กับเพื่อนๆนักเทรดทุกท่าน
กรุณากดติดตามและสนับสนุนพวกเราด้วยนะครับ…ขอบคุณครับผม”
สินค้าคงคลังน้ำมันดิบสหรัฐการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐส่งผลหรือ
สิ่งที่จะเกิดขึ้น?
ในช่วงเวลา 21:30 น. จะมีการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริการวมทั้งการประกาศดัชนียอดคงเหลือน้ำมันดิบประจำสัปดาห์จาก EIA ที่อาจจะส่งผลในทิศทางของราคาน้ำมันระยะสั้นดังนั้นควรติดตามอย่างมาก
การคาดหวังในครั้งนี้?
โดยการประกาศในครั้งนี้อาจจะทำให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนซึ่งการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกานักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะประกาศออกมา 0.114M ครั้งก่อนก็คือ 4.345M ประกอบกับการประกาศดัชนียอดคงเหลือน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของ EIA นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะประกาศออกมา -1.386M ครั้งก่อนก็คือ 0.332M จับตาดูว่าจะเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หรือไม่
การวิเคราะห์ของราคา
ปัจจัยนี้อาจจะทำให้ทิศทางของราคาน้ำมันมีความผันผวนระยะสั้นโดยเฉพาะ XTIUSD มีความผันผวนระยะสั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 106.68 แนวรับที่สองก็คือ 104.09 แนวรับสุดท้ายก็คือ 101.27
แต่ถ้ามีการปรับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 110.02 แนวต้านที่สองก็คือ 112.66 แนวต้านสุดท้ายก็คือ 105.04
น้ำมันรัสเซียขายลดราคาสูงสุดน้ำมันรัสเซียขายลดราคาสูงสุดในรอบหลายปีจากความตึงเครียดในยูเครน
สิ่งที่จะเกิดขึ้น?
น้ำมันดิบเรือธงของรัสเซียซื้อขายด้วยส่วนลดที่ลึกที่สุดในรอบหลายปีเนื่องจากผู้ค้ากังวลว่าวิกฤตในยูเครนจะดำเนินต่อไปอย่างไร
Trafigura Group และกลุ่มการค้าของ Lukoil PJSC ต่างก็เสนอ Urals ซึ่งเป็นเกรดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศที่ 6.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน Dated Brent ระดับภูมิภาค นั่นเป็นส่วนลดที่ลึกที่สุดในรอบอย่างน้อย 11 ปีตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg ก่อนหน้านี้ Surgutneftgas PJSC ขายน้ำมันดิบชนิดเดียวกันเพื่อส่งไปยังยุโรปที่ 6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลต่ำกว่าระดับเดียวกัน
นี่เป็นตัวอย่างล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่ามูลค่าน้ำมันของรัสเซียที่ส่งไปยังยุโรปได้ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ค้าต่างจับตามองอย่างระมัดระวังเพื่อดูว่าจะมีมาตรการสำคัญใดที่สหรัฐฯ และพันธมิตรใช้เพื่อขัดขวางกระแสการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย (ถ้ามี)
Biden to Speak สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรเปิดฉากคว่ำบาตร: ยูเครน Update
การคาดหวังในครั้งนี้?
“รัสเซีย-สหรัฐอเมริกา. ความตึงเครียดเหนือยูเครนมีส่วนทำให้เกิดการล่มสลายของความแตกต่างของอูราล” ที่ปรึกษา Facts Global Energy เขียนไว้ในบันทึกย่อ “ดูเหมือนว่าหลังจากที่โรงกลั่นในยุโรปจำนวนมากเริ่มซื้อ Urals ในเดือนธันวาคม/มกราคม ผู้ที่มีทางเลือกก็กำลังหนีจาก Urals”
จุดอ่อนของน้ำมันดิบรัสเซียนั้นสวนทางกับตลาดอื่นๆ ที่เหลือซึ่งชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในระดับสูงสุด
การวิเคราะห์ของราคา
ปัจจัยนี้อาจจะทำให้ทิศทางของราคาน้ำมันมีความผันผวนโดยเฉพาะของ XTIUSD ดังนั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 90.81 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับที่สองก็คือ 89.78 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับสุดท้ายก็คือ 89.22 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
แต่ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญแต่ก็คือ 92.70 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านที่สองก็คือ 93.64 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านสุดท้ายก็คือ 94.30 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
จับตาดูรายงานประจำเดือนของ OPECสิ่งที่สำคัญคือรายงานของ OPEC ในเดือนนี้
สิ่งที่จะเกิดขึ้น?
จะมีรายงานการประชุมของ OPEC ซึ่งจะมีการรายงานในช่วงเวลา 19:00 น. ตามเวลาประเทศไทยอย่างไรก็ตามต้องจับตาดูในรายงานของ OPEC ว่าจะมีการรายงานเกี่ยวเนื่องกับความต้องการของน้ำมันหรือไม่ประกอบกับจำเป็นจะต้องจับตาดูถึงรายงานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพราะอาจจะส่งผลทำให้ทิศทางของราคาน้ำมันมีความผันผวนในระยะสั้น
การคาดหวังในครั้งนี้?
ดูเหมือนว่าทิศทางราคาน้ำมันมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับอัตราเงินเฟ้อดังนั้นจับตาดูว่าการรายงานของ OPEC จะมีทิศทางอย่างไรโดยเฉพาะในส่วนของราคาน้ำมันที่มีการพุ่งสูงขึ้นในตอนนี้อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าทิศทางของราคาน้ำมันอาจจะไปถึง 100 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในสิ้นปีนี้ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด
การวิเคราะห์ของราคา
โดยปัจจัยนี้อาจจะทำให้ทิศทางราคาน้ำมัน XTIUSD มีความผันผวนในระยะสั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 86.01 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านที่สองก็คือ 89.020 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านสุดท้ายก็คือ 91.20 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
แต่ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 83.62 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับที่สองก็คือ 83.09 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับสุดท้ายก็คือ 82.27 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
สินค้าคงคลังน้ำมันดิบกับ CADจับตาการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐ
สิ่งที่จะเกิดขึ้น?
จะมีการประกาศของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลา 22:30 น. ก็คือการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริการวมทั้งการประกาศดัชนียอดคงเหลือน้ำมันดิบของ EIA ประจำสัปดาห์แน่นอนว่าอาจจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนและอาจจะส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีความผันผวน
การคาดหวังในครั้งนี้?
ซึ่งในการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ได้มีการวิเคราะห์ออกมาในมุมมองระยะสั้นว่าในการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลา 22:30 น. จะมีการประกาศออกมา -1.904M ครั้งก่อนก็คือ -2.144M ประกอบกับการประกาศดัชนียอดคงเหลือของน้ำมันดิบประจำสัปดาห์จาก EIA นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะประกาศออกมา 1.757M ครั้งก่อนก็คือ 4.418M จับตาดูว่าจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนและสกุลเงินแคนาดามีความผันผวนอย่างไร
การวิเคราะห์ของราคา
จากปัจจัยนี้อาจจะทำให้ทิศทางราคาน้ำมันมีความผันผวนรวมทั้งสกุลเงินแคนาดามีความผันผวนโดยเฉพาะ EURCAD อาจจะมีความผันผวนในระยะสั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 1.42568 แนวรับที่สองก็คือ 1.42300 แนวรับสุดท้ายก็คือ 1.42120
แต่ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 1.43002 แนวต้านที่สองก็คือ 1.43188 แนวต้านสุดท้ายก็คือ 1.43316
โอเปคจะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมันโอเปกจะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมันเนื่องจากomicron Covid เขย่าตลาด
สิ่งที่จะเกิดขึ้น?
กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกบางส่วนกำลังประชุมกันในวันพุธเพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่ โอไมครอน Covid ใหม่มีแนวโน้มที่จะมีต่อความต้องการพลังงาน
นำโดยซาอุดิอาระเบีย องค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันมีกำหนดประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เวลาลอนดอน. กลุ่มสมาชิก 13 คนจะเข้าร่วมโดยพันธมิตรที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปกเช่นรัสเซียในวันพฤหัสบดี
มีสัญญาณเพียงเล็กน้อยที่กลุ่มที่กว้างขึ้น ซึ่งมักเรียกกันว่า OPEC+ ตั้งใจที่จะเปลี่ยนแนวทางจากแผนการผลิตปัจจุบันที่จะปรับขึ้นเดือนละ 400,000 บาร์เรลต่อวัน
การคาดหวังในครั้งนี้?
รัฐมนตรีโอเปกที่เป็นตัวแทนของซาอุดิอาระเบียและอิรักต่างก็ระบุว่ากลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะรักษานโยบายการส่งออกนี้ ในขณะที่ผู้นำที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปกรัสเซียกล่าวเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่าจะไม่มีความจำเป็นที่จะดำเนินการอย่างเร่งด่วนในตลาดน้ำมัน
นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามว่า OPEC+ อาจถูกล่อลวงให้หยุดชั่วคราวเพื่อประเมินตลาดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความผันผวนของราคาที่เพิ่มขึ้นและความกลัวต่อความต้องการพลังงานที่อาจเกิดขึ้นจากตัวแปรโอไมครอน
ที่จริงแล้ว คิดว่าผู้ผลิต OPEC+ บางรายอาจประสบปัญหาในการบรรลุโควตาในเดือนหน้า หากกลุ่มนี้ไม่ผลักดันให้มีการเพิ่มผลผลิต
การวิเคราะห์ของราคา
ปัตตานีอาจจะทำให้ XTIUSD อาจจะทำให้มีความผันผวนในระยะสั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการปรับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 69.10 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านที่สองก็คือ 70.88 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านสุดท้ายก็คือ 72.28 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
แต่ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 66.080 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับที่สองก็คือ 64.24 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับสุดท้ายก็คือ 62.37 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
Oil edges ร่วงลง หลังสหรัฐฯ ดันโอเปกให้สูบน้ำมากขึ้นOil edges ร่วงลง หลังสหรัฐฯ ดันโอเปกให้สูบน้ำมากขึ้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้น?
น้ำมันร่วงลงในวันอังคารเนื่องจากกลุ่มโอเปกและพันธมิตรเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมในวันพุธท่ามกลางการเรียกร้องจากสหรัฐอเมริกาให้สูบน้ำมันดิบมากขึ้นแม้ว่าเบรนต์ยังคงซื้อขายได้ดีกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคายังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากความกังวลว่าไฟฟ้าดับและน้ำท่วมในรัฐหลุยเซียนาหลังจากพายุเฮอริเคนไอดาจะลดความต้องการน้ำมันดิบจากโรงกลั่น
การคาดหวังในครั้งนี้?
น้ำมันดิบได้รับผลกระทบจากข้อมูลการผลิตที่อ่อนแอลงจากประเทศจีน ซึ่งกิจกรรมของโรงงานขยายตัวในอัตราที่ช้าลงในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
การวิเคราะห์ของราคา
ในส่วนของ WTI ยังคงมีการพักตัวระยะสั้นโดยในรอบวันมีการขยับตัว -1.14% และดูเหมือนมีการปรับตัวย่อตัวลงตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดังนั้นจับตาดูว่าจะมีการปรับตัวร่วงลงของ WTI หรือไม่โดยแนะนำควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 67.90 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับที่สองก็คือ 67.26 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับสุดท้ายก็คือ 66.81 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
แต่ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 68.66 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านที่สองก็คือ 69.23 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านสุดท้ายก็คือ 69.76 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
น้ำมันดิบที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสินค้าคงคลังที่ลดลงสิ่งที่จะเกิดขึ้น?
ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ท่ามกลางสัญญาณของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าคงเหลือในกลุ่มผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลกลดลงอีกครั้ง
ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐฯ ซื้อขายเพิ่มขึ้น 0.4% ที่ 72.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาเบรนท์เพิ่มขึ้น 0.6% เป็น 74.27 ดอลลาร์
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า RBOB น้ำมันเบนซินของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 0.7% ที่ 2.2990 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เผยแพร่เมื่อต้นวันพฤหัสบดีแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐเพิ่มขึ้นในอัตรา 6.5% ต่อปีในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากโปรแกรมการฉีดวัคซีนกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง แม้ว่าจะน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 8.5% แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นจากอัตรา 6.3% ที่แก้ไขในไตรมาสแรก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศในวันอังคารได้เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐเป็น 7.0% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ 6.4% ในเดือนเมษายนซึ่งจะแสดงถึงผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2527
การคาดหวังในครั้งนี้?
อย่างไรก็ดีจากราคาน้ำมันที่มีการฟื้นตัวขึ้นยังคงมีการคาดหวังถึงเศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์และดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ที่มีการขยับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้ราคาน้ำมันมีการขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนั้นในการคาดหวังในครั้งนี้ต้องจับตาดูว่ามาตรการการอัดฉีดเม็ดเงินอย่างต่อเนื่องจะส่งผลทำให้ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการขยับตัวสูงขึ้นหรือไม่ถ้าดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการขยับตัวสูงขึ้นราคาน้ำมันจะมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การวิเคราะห์ของราคา
WTI มีการฟื้นตัวขึ้นในรอบวัน +1.37% และดูเหมือนว่าอาจจะมีการขยับตัวสูงขึ้นโดยปัจจัยหนุนที่มีการฟื้นตัวขึ้นนั้นก็คือดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ที่มีการขยับตัวสูงขึ้นดังนั้นถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 73.68 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวต้านที่สองก็คือ 74.22 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลและแนวต้านสุดท้ายก็คือ 74.86 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
แต่ถ้ามีการปรับตัวลงแนวรับสำคัญแรกก็คือ 72.30 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับที่สองก็คือ 71.63 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแนวรับสุดท้ายก็คือ 71.13 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
น้ำมันฟื้นตัวขึ้นส่งผล CAD แข็งค่าดัชนีน้ำมันมีการขยับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันมีการขยับตัวสูงขึ้นหลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์มีการขยับตัวสูงขึ้นในช่วงรอบวันโดยที่ WTI มีการฟื้นตัวขึ้น +0.60% จากการขยับตัวขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีการปรับตัวสูงขึ้นระยะสั้นดังนั้นจับตาปัจจัยนี้อย่างใกล้ชิดเพราะจะส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดาโดยตรง
โดยที่ CADJPY มีการขยับตัวขึ้นโดยได้แรงหนุนสองแรงหนุนไม่ว่าจะเป็นทั้งดัชนี Nikkei ฟิวเจอร์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้สกุลเงินเยนมีการปรับตัวอ่อนค่าลงประกอบกับทิศทางราคาน้ำมันที่มีการขยับตัวสูงขึ้นส่งผลทำให้สกุลเงินแคนาดามีการขยับตัวสูงขึ้นในระยะสั้นดังนั้นจึงควรติดตามกรอบแนวรับ แนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นกรอบแนวต้านสำคัญได้ก็คือ 88.075 แนวต้านที่สองก็คือ 88.403 แนวต้านสุดท้ายก็คือ 88.661
แต่ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 87.479 แนวรับที่สองก็คือ 87.099 แนวรับสุดท้ายก็คือ 86.797
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของ CADJPY ซึ่งเป็นปัจจัยที่น่าจับตามองในสัปดาห์ถัดไป : ปัจจัยเสี่ยงจากคงต้องจับตาดูดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์เพราะจะส่งผลให้กับทิศทางราคาน้ำมันและจะส่งผลให้กับสกุลเงินแคนาดาโดยตรงประกอบกับในส่วนของสกุลเงินเยนยังคงต้องจับตาดูตลาดหุ้น Nikkei ฟิวเจอร์อย่างใกล้ชิด
ท่านที่เทรดสกุลเงินนี้ นั้นควรให้สังเกตตาม Zone แนวรับแนวต้าน ตรงที่แจ้งไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะมีความผันผวนจนสุด Zone ซึ่งในการเทรดนั้นท่านที่ยังไม่มี Order หรือมีออเดอร์ CAD/JPY ติดอยู่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ
(แนวรับแนวต้าน นั้นก็คือ ZONE ดังนั้นเป้าหมายที่แจ้งไปคือ Zone ดังนั้นไม่ต้องตามเป้าหมายเป๊ะแต่ให้ดูตาม Zone เพื่อจะเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเข้าเทรดหรือตัดสินใจของการเข้าออกออเดอร์หรือการจัดการออเดอร์ที่ดีที่สุด
น้ำมันพุ่งแตะระดับสูงน้ำมันพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบสองปีซึ่งกลุ่มโอเปคและพันธมิตรยืนยันการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป
กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันที่มีอำนาจที่สุดในโลกบางส่วนตกลงกันเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าจะดำเนินการลดการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางความฟื้นตัวของราคาน้ำมัน
โอเปคและพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันท ที่รู้จักกันในชื่อ OPEC+ จะเพิ่มกำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคมตามการตัดสินใจของกลุ่มในเดือนเมษายนที่จะคืน 2.1 ล้านบาร์เรต่อวัน สู่ตลาดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
นโยบายการผลิตที่เกินเดือนกรกฎาคมไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในกลุ่มและจะมีการประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021
โดยราคาน้ำมันฟิวเจอร์ซึ่งเป็นน้ำมันดิบ Brent ตามมาตรฐานสากลที่ซื้อขายอยู่ที่ 71.17 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในวันอังคารเพิ่มขึ้น 2.7% ในขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ West Texas Intermediate อยู่ที่ 68.65 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลซึ่งได้รับมากกว่า 3% และเป็นระดับสูงสุดของสัญญาในรอบระหว่างสองปีซึ่งมีการขยับตัวขึ้นถึง 30% ในปีนี้
ซึ่งในกลุ่มผู้มีธิพลในตะวันออกกลางซึ่งรับผิดชอบในการผลิตน้ำมันมากกว่าหนึ่งในสามของโลกกำลังพยายามสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นที่คาดไว้กับศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตของประเทศอิหร่าน
ซึ่งพันธมิตรได้มีการประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งใหญ่ในปี 2020 เพื่อพยายามพยุงราคาน้ำมันเมื่อการระบาดของไวรัส โควิด-19 ใกล้เคียงกับอุปสงค์ใน ประวัติศาสตร์การผลิตน้ำมัน
โดยปัจจัยนี้ทำให้ทิศทางราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและในรอบหลายชั่วโมงที่ผ่านมามีการขยับตัวสูงขึ้นในการเทรดน้ำมันจึงควรติดตามกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
ถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นในกรอบแนวต้านของราคาน้ำมัน แนวต้านแรกก็คือ 68.15 และแนวต้านสุดท้ายก็คือ 68.75
แต่ถ้ามีปัจจัยทำให้ราคาน้ำมันมีการย่อตัวลงแนวรับสำคัญแรกก็คือ 67.52 แนวรับที่สองก็คือ 66.78 แนวรับสุดท้ายก็คือ 66.39
ปัจจัยเสี่ยงต่อทิศทางราคาน้ำมันที่จำเป็นจะต้องติดตามก็คือ : ทิศทางราคาน้ำมันมักจะมีความ 1000 ผวนไปตามอุปสงค์และอุปทานอย่างไรก็ดีในช่วงนี้ต้องติดตามการประกาศสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกาของการประชุมที่จะมีการประชุมเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 ต้องติดตามว่าการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันนั้นจะมีขึ้นต่อเนื่องหรือไม่
WTI จะขึ้นไปถึง 80 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลหรือไม่GoldMam Sachs คาดว่าราคาน้ำมันขึ้นสูงต่อเนื่อง
นักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มีความมั่นใจเกี่ยวกับอุปสงค์ในตลาดน้ำมันโดยจากข้อมูลเหล่านี้ 75% ของการฟื้นตัวของอุปสงค์ซึ่งมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศจีน ทั้งความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการกระตุ้นให้มีการใช้น้ำมันอย่างมากขึ้น และยังคงเป็นปัจจัยที่เป็นปัจจัยบวกสำหรับราคาน้ำมันโดยเฉพาะการท่องเที่ยวและการเดินทางระหว่างประเทศ
โกลด์แมนแซคส์กล่าวว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดที่พัฒนาแล้วจะชดเชยการบริโภคที่นำโดยโคโรนาไวรัสเมื่อเร็ว ๆ นี้และมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวช้าลงในเอเชียใต้และละตินอเมริกา ความต้องการทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้น 4.6 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปีโดยส่วนใหญ่น่าจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า"การเคลื่อนย้ายกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเนื่องจากการฉีดวัคซีนเร่งและการหยุดชะงักถูกยกขึ้นพร้อมกับการขนส่งสินค้าและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นด้วย" บันทึกกล่าว
ซึ่งถ้ามีการขยับตัวสูงขึ้นแนวต้านสำคัญแรกก็คือ 66.06 ถ้าสามารถทะลุแนวต้านนี้ขึ้นไปได้แนวต้านที่สองก็คือ 66.79 และแนวต้านสุดท้ายก็คือ 67.76
แต่ถ้ามีการปรับตัวร่วงลงแนวรับแรกก็คือ 65.28 แนวรับที่สองก็คือ 64.56 แนวรับสุดท้ายก็คือ 63.93
ปัจจัยเสี่ยงของทิศทางราคาน้ำมัน : WTI ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงถึงดัชนีดาวโจนส์ที่อาจจะยังติดตามความผันผวนของดัชนีดาวโจนส์จะมีความผันผวนจากปัจจัยอะไรโดยเฉพาะปัจจัยที่มี การลดการอัดฉีดเป็นเงินของธนาคารกลางสหรัฐที่อาจจะส่งผลทำให้ดัชนีดาวโจนส์มีการปรับตัวลงและจะทำให้ความต้องการของน้ำมันมีการปรับตัวลงในระยะสั้นจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด
ย้ำว่าปัจจัยที่จะส่งผลทำให้ทิศทางของราคาน้ำมันมีการขยับตัวขึ้นนั้นต้องติดตามดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์อย่างใกล้ชิดในสัปดาห์นี้
WTI Crude Oil ยังมี Upside อยู่ 10-15%WTI Crude Oil ยังมี Upside อยู่ 10-15%
รอบการขึ้นของราคาน้ำมันยังคงมีต่อเนื่อง
แม้จะมีการพักอยู่บ้างในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทาง Elliott Wave หากเบรคกรอบ Corrective คลื่น (4)
น่าไปได้ถึงโซน 58-60 บาท จบคลื่น (5) ชอง 5 วงกลม
เทรดสั้น SL 49$ ครับ
.
ท่านที่เทรดหุ้นอิงราคาน่ำมันดูอันนี้ประกอบได้ครับ
PTTGC - แค่ "ดีด" หรือ "กลับตัว"
ลงมาครบ 5 wave แล้ว
ถ้าแค่ "ดีด" เราอาจจะเห็นการขึ้น 3 wave ในกราฟ สัปดาห์หรือกราฟเดือน
ถ้าแค่ดีด คงเห็นการกลับตัวในกรอบสีเหลือง
แต่ถ้าเป็นการกลับตัว เราจะเห็น new all time high
ปัจจุบัน
คิดว่ากำลังอยู่ในเวฟ 3 ของเวฟ 1 กราฟสัปดาห์
ดูจาก volume profile ตอนนี้เราอยู่เหนือแนวรับข้างล่างหมดแล้ว แนวต้านต่อไปที่แน่นหนาคือบริเวณ 48 บาท
ยังคงเน้น buy เมื่อย่อครับ
USOIL (WTI)น้ำมันดิบปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี หลังจากเกิดความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า
ซึ่งไปกระทบเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์ของน้ำมันที่อ่อนแอ และปริมาณน้ำมันส่วนเกินในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ยังมีการคาดการณ์ว่า กลุ่ม OPEC อาจตัดสินใจปรับลดการผลิตลงอีกในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยปกป้องราคาน้ำมันไม่ให้ร่วงลงต่อไป
หากมองในเชิงเทคนิคแล้ว ในภาพรวมระยะยาวการร่วงลงมาของราคา ได้ลงมาทดสอบบริเวณเส้นแนวรับที่เป็นเส้น Bullish trendline พอดีแถวๆ 49.51 โดยประมาณ
ซึ่งมีโอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปได้ โดยอาจจะมีการผันผวนอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้น ซึ่งมี GAP การสวิงอยู่ที่ 49.51 - 64.00 โดยประมาณและอาจบีบตัวแคบลงไปเรื่อยๆ
ตามราคาเฉลี่ยนของกรอบแนวรับและแนวต้านที่เกิดขึ้น
หากมีการเบรคลงไปต่ำกว่ากรอบสามเหลี่ยมมีโอกาสที่จะลงไปทดสอบโซนแนวรับทดไปที่ 43 - 40 โดยประมาณ
อย่างไรก็ตามในระยะยาว การปรับตัวลงอาจถือเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ เพียงแต่ระยะเวลาที่เกิดนั้นอาจกินเวลาไปมากพอสมควร
แต่หากผ่านพ้นไปได้แล้ว โอกาสที่จะรีบาวกลับขึ้นไปทดสอบ จุดสูงสุดก่อนหน้าที่ 64 และ 74 ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับ
ดังนั้นหากจะมีการทะยอยเก็บ position ในช่วงนี้ก็ยังคงต้องเน้นในเรื่องการคุมความเสี่ยงให้ดี
WTI น้ำมันโลกอัพเดตจากที่เคยดูไว้เมื่อ พฤจิกายนปีที่แล้ว
กาลครั้งนึง ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าโลก ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนมูลค่าเงินตราขึ้นมา
โดยใช้แร่เงิน และ ทองคำ แต่สุดท้ายทองคำได้รับการยอมรับมากกว่า จึงเกิดมาเป็น gold standard
แต่แร่ทองคำก็ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของโลกที่จะใช้การแลกเปลี่ยนมูลค่า
ต่อมาเกิดสงครามโลกทั้งสองครั้ง และสมรภูมิอยู่ที่ยุโรปและเอเซีย จึงไม่ปลอดภัยที่จะเก็บทองในยุโรป
ประเทศต่างๆมาฝากทองที่สหรัฐฯเพราะว่าสหรัฐฯจะไม่เสียหายจากสงครามโลก และน่าจะปลอดภัยที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1944 นายแฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ กับ นายวินสตัน เซอร์ซิลล์
ได้ริเริ่มให้มีการเวทีการหารือระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อสร้างระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลก
ซึ่งในที่สุดผลที่ออกมาคือการลงนามใน Bretton Woods Agreements โดยประเทศต่างๆยินยอม
ที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับ
สกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐโดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และ อเมริกาจะออกตั๋วทองเป็นสกุลเงินดอลล่าห์
โดยสัญญาว่า 1 ดอลล่าห์จะเท่ากับทอง 1 หน่วย bretton woods system
และ IMF กับ world bank ก็ถือกำเนิดจากการประชุมดังกล่าว
จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน สั่งยกเลิกสนธิสัญญาเบรตตันวู๊ด ปฏิเสธไม่ยอมเอาทองคำแท่ง
ไปไถ่ถอนเงินดอลลาร์ที่ธนาคารกลางในต่างประเทศสำรองไว้ ไปเมื่อ ตอนนั้นเงินดอลลาร์ยังเป็นแค่เงินกระดาษ (fiat currency คือกระดาษที่รัฐบาลรับรอง)
ยังผลให้เงินดอลลาร์ เมื่อเทียบค่ากับเงินสกุลหลัก ๆ ลอยตัว ซึ่งก็คือลดลงอย่างมาก จนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันระหว่างปี 1973-74
oil embargo ตอนนั้น โอเปกห้ามส่งออกน้ำมันไปยังอิสราเอลและมิตรของอิสราเอล)
พอน้ำมันวิกฤตถึงขั้น เงินดอลลาร์ก็ถูกปั๊มเข้าไปสู่ประเทศต่าง ๆ ที่ต้องประจัญกับการนำเข้าน้ำมันที่แพงขึ้น 400%
ด้วยกฎบัตรหลังสงครามและความสะดวกอื่น ๆ ตอนนั้นเงินดอลลาร์เป็นเงินสำรองแต่เพียงสกุลเดียว ที่ทั่วโลกถือเอาไว้แทนทองคำ
และ สมาชิกโอเปกทุกประเทศ รับเฉพาะเงินดอลลาร์ในการซื้อขายเท่านั้น petrodollar ซึ่งยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ประเทศต่างๆ
เอนเอียงออกจากการผูกค่าเงินกับดอลล่าร์มาสู่การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
และองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่าง IMF และ World Bank ยังคงมีบทบาทในการเป็นแหล่งเงินเสริมสภาพคล่องและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียในช่วงปี 1997-99 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแถบบ้านเราสะดุดกันไปพักหนึ่ง บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจ
ในรัสเซียและอาร์เจนติน่า ทำให้ IMF และธนาคารโลกต้องกลับมาทำงานหนักขึ้นหลังจากเว้นระยะมานานร่วม 25 ปี นับแต่ช่วง Oil Shock
สรุป ณ ปัจจุบัน ดอลลาห์ = น้ำมัน อเมริกาสามารถปั่นราคาน้ำมันเพื่อจะพิมพ์เงินดอลลลาห์ได้นั้นเอง
OIL Mid-termราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากผลกระทบจากปัจจัยต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ และจากการปรับตัวขึ้นของ Dollar Index ในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงมาทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 57.36 ดอลลาร์ ก่อนจะปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยก่อนปิดสัปดาห์ อยู่ที่ 59 ดอลลาร์
อย่างไรก็ตามราคายังคงอยู่ที่บริเวณโซนแนวรับที่ 58.23 - 55.05 ดอลลาร์ ซึ่งการปรับตัวลงของ Dollar Index และการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อได้อีกในสัปดาห์หน้า โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 60.5 - 62.5 ดอลลาร์ โดยประมาณ
นอกจากนี้ MACD ยังมีโอกาสที่จะเกิด Bullish Divergence ซึ่งบ่งบอกถึงการอ่อนแรงของการปรับตัวลงในครั้งนี้