กลับไปเกิดใหม่เมื่อเส้น 1343 รับไม่ไหว บวกกับเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบร่วงแรงมาก ทำให้วันนึ้นเปิดแทบฃ้อค -92 จุด หากแนว 1270 เป็นแนวรับเก่าก่อนเมื่อหลายปี เอาไม่อยู่ มองว่าไปเริ่มต้นต่ำกว่า 1221 ลดลงโดย NutaponKo1
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย พักตัวเพื่อปรับฐาน ตลาดหุ้นทั่วโลกผวาการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 จะสร้างผลกระทบเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง นักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขาย ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,364.57 จุด ลดลง 26.26 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจันศุกร์ (6/3) ปรับลดลงเกือบ 2 เปอร์เซ็นต์ แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 แต่ไม่สามารถทำให้นักลงทุนผ่อนคลายลงได้ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,400 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงระหว่างการซื้อขายที่ 1,408 จุด แท่งเทียนมีลักษณะของ Gravestone Doji แต่ไม่อยู่ในเขตซื้อมากเกิน มีช่องว่างทั้งขาขึ้นขาลง สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดมีแนวต้านกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงอยู่ที่ 1,430 จุด แต่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากการเรียงตัวของเส้น MMA2 แสดงถึงดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) อยู่ที่ 1,292 จุด และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การที่สัญญาณ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Convergence ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,375 – 1,390 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,348 – 1,335 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับฐาน ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวน แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงเช้าหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,400 จุด แรงขายที่มีออกมาในช่วงท้ายตลาดฉุดดัชนีตลาดกลับลงมาปิดที่ 1,390.83 จุด เพิ่มขึ้น 12.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,400 จุด ก่อนที่จะพักตัวตามมา สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กทรุดตัวลงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ นักลงทุนผวาการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คาด ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,400 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,408 จุด แรงขายที่มีออกมา ส่งผลให้เกิดแท่งเทียนรูป Gravestone Doji (แต่ยังไม่เข้าเขตซื้อมากเกิน) สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,430 จุด แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากการเรียงตัวของเส้น MMA2 แสดงถึงดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การที่สัญญาณ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Convergence ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,400 – 1,408 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,378 – 1,369 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวต้าน 1,400 ตลาดทุนเริ่มกลับมาคึกคักหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายนอกรอบลง 0.50 เปอร์เซ็นต์ หนุนแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,378.61 จุด เพิ่มขึ้น 3.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.85 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,400 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 10 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (4/3) กลับมาร้อนแรง ดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้น 1,173 จุด หลัง Joe Biden คว้าชัยชนะศึก “Super Tuesday” ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดช่องว่าง (Gap) ขาขึ้น สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,430 จุด แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากการเรียงตัวของเส้น MMA2 แสดงถึงดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,852 จุด ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II,E ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,300 จุด มีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (คำนวณระหว่าง 380 จุดกับ 1,852 จุด) และมีแนวรับของคลื่น (4) อยู่ที่ 1,220 จุด หมายเหตุ ได้ตัดการนับคลื่นช่วงวันที่ 30 เมษายน 2518 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 76.43 จุด ถึงวันที่ 4 กันยายน 2541 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 204 จุด ในช่วงเวลานี้ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงที่ 1,789 จุด เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2537 เหตุที่ต้องตัดช่วงนี้ออก เนื่องจากการนับคลื่นเอลเลียต นับคลื่น III จบที่ 1,850 จุด คลื่น IV จะซ้อนทับกับคลื่น I ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping และช่วงที่ดัชนีตลาดทำจุดต่ำที่ 204 จุด ราคาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่หลายตัวปรับตัวลงทำจุดใหม่ต่ำกว่าช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อ หุ้นกลุ่มธนาคารจึงไม่สามารถนำมานับคลื่นได้ จึงต้องตัดดัชนีตลาดออก สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การที่สัญญาณ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Convergence ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,385 – 1,397 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,366 – 1,357 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv1
SETSET ราคายังคงปรับตัวอยู่เหนือโซนแนวรับในระยะยาวที่ 1286 - 1156 โดยประมาณ สัปดาห์นี้ ในช่วงต้นสัปดาห์ ราคาได้มีการปรับตัวลงไปทำ swing low อยู่ที่ 1317.45 โดนประมาณ ก่อนที่จะมีการรีบาวน์กลับขึ้นมา ปรับตัวบวกอยู่ที่ 1378.61 โดยประมาณ (ราคาปิดวันนี้) หากเทียบจากการปรับตัวลงมานั้น การรีบาวน์ขึ้นมาในสัปดาห์นี้ถือเป็นสัดส่วนที่เล็กน้อยเท่านั้น โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงไปต่อในระยะยาวยังคงมีมากกว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กับภาพรวมเศรษฐกิจของทั่วทั้งโลก วิกฤตของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นตัวเร่งให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งโลกเดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากที่ระส่ำระส่ายมาจากช่วงของสงครามการค้า เฟสที่ 1 เมื่อวานนี้ FED มีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงฉุกเฉิน 0.5% จากระดับ 1.50-1.75% สู่ระดับ 1.00-1.25% พื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งนี้ จะทำให้ภาพรวมดอลลาร์มีการอ่อนค่าลงอีก จะสังเกตได้ว่าหลังจากการปรับลด ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทันที ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบต่อภาคการส่งออก อีกครั้ง ดังนั้นต้องรอดูว่าทางการไทยจะออกมาตรการอะไรเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ที่กำลังย่ำแย่ในตอนนี้ จากปัจจัยข้างต้นจะยังคงเห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งนอกและในประเทศนั้น ยังคงอยู่ในมุมมองเชิงลบ โอกาสที่ราคาจะฟื้นและกลับตัวขึ้นไปในระยะยาวนั้นยังคงไม่มีให้เห็น หากเหตุการณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดยังไม่สามารถควบคุม และคลี่คลายได้ ในช่วงครึ่งปีแรก ก็เป็นไปได้ที่ภาพรวมเศรษฐกิจจะแย่ติดต่อกันไปจนถึงปลายปี และแน่นอนว่าช่วงปลายปี ยังมีเรื่องของ การเจรจาสงครามการค้าในเฟสที่ 2 อีกด้วย ในระยะใกล้คาดว่าตลาดจะปรับตัวลงอีกครั้งในช่วงการประกาศผลประกอบการในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในวิกฤตจะมีโอกาส แต่ต้องไม่ลืมว่าในการวางแผนการลงทุนต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงเสมอ เพื่อที่จะคว้าโอกาสในวิกฤตเหล่านี้มาได้ลดลงโดย FinancialBrain2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังมีความเสี่ยง แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,375.02 จุด เพิ่มขึ้น 39.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากเส้น MMA2 แสดงถึงทิศทางขาลง สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิ 5,324 ล้านบาท ต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากนักลงทุนมองว่าการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 จะกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,317 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,430 จุด แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากการเรียงตัวของเส้น MMA2 แสดงถึงดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง จากกราฟรายเดือน ดัชนีตลาดจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,850 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II ตามหลักการคลื่น II มีโอกาสพักตัวลง 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น I แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น I หมายเหตุ ได้ตัดการนับคลื่นช่วงวันที่ 30 เมษายน 2518 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 76.43 จุด ถึงวันที่ 4 กันยายน 2541 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 204 จุด ในช่วงเวลานี้ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงที่ 1,789 จุด เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2537 เหตุที่ต้องตัดช่วงนี้ออก เนื่องจากการนับคลื่นเอลเลียต นับคลื่น III จบที่ 1,850 จุด คลื่น IV จะซ้อนทับกับคลื่น I ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping และช่วงที่ดัชนีตลาดทำจุดต่ำที่ 204 จุด ราคาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่หลายตัวปรับตัวลงทำจุดใหม่ต่ำกว่าช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อ หุ้นกลุ่มธนาคารจึงไม่สามารถนำมานับคลื่นได้ จึงต้องตัดดัชนีตลาดออก สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การที่สัญญาณ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Convergence ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,385 – 1,397 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,357 – 1,348 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv3
อย่างที่พูดไว้ในคราวก่อน เราจะเห็น V-Shape กับ Gap Down สลับไปอย่าเพิ่งเชื่อว่ามันจะขึ้น นี่คือการ Rebound ใหญ่ครั้งที่ 2 หลังจากลงมาจาก 1550 หากไม่มีอะไรใหม่ หรือสถานการณ์ไวรัสยังไม่คลี่คลาย ก็ยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป ก่อนจะเก็บอะไร ดูก่อน ภาพใหญ่ยังมีพื้นที่ให้ลงได้อีกเยอะ เทรดด้วยความระมัดระวัง มีสติ อย่ารีบเมาหมัดลดลงโดย cyberpop12
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Technical Rebound แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดหนุนดัชนีตลาดยืนบวกในช่วงเช้า แรงขายที่มีออกในช่วงบ่ายฉุดดัชนีตลาดลงมาปิดที่ 1,337.20 จุด ลดลง 3.32 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ 4,326 ล้านบาท ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาร้อน หลังนักลงทุนตีความว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ โดยดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,358.52 จุด เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล และเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ MACD Histogram ยังเป็นสัญญาณ Convergence ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากกราฟรายเดือน ดัชนีตลาดจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,850 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II ตามหลักการคลื่น II มีโอกาสพักตัวลง 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น I แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น I หมายเหตุ ได้ตัดการนับคลื่นช่วงวันที่ 30 เมษายน 2518 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 76.43 จุด ถึงวันที่ 4 กันยายน 2541 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 204 จุด ในช่วงเวลานี้ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงที่ 1,789 จุด เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2537 เหตุที่ต้องตัดช่วงนี้ออก เนื่องจากการนับคลื่นเอลเลียต นับคลื่น III จบที่ 1,850 จุด คลื่น IV จะซ้อนทับกับคลื่น I ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping และช่วงที่ดัชนีตลาดทำจุดต่ำที่ 204 จุด ราคาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่หลายตัวปรับตัวลงทำจุดใหม่ต่ำกว่าช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อ หุ้นกลุ่มธนาคารจึงไม่สามารถนำมานับคลื่นได้ จึงต้องตัดดัชนีตลาดออก สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ แรงซื้อเก็งกำไรที่กลับเข้ามาจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากสัญญาณ MACD เกิดสัญญาณเป็น Convergence ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,355 – 1,369 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,317 – 1,308 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv5
SET จะลงลึกแค่ไหนหลังจากหลุด low แนวรับสำคัญมา กับสถานการณ์ต่างๆรอบโลก เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในตลาดทั่วโลก คำถามว่า จะลงอีกมั้ย แค่ไหน สองแนวสำคัญคือ 1200 กว่า กับ ลงลึกต่ำกว่า 1000 ไปเลย ดังนั้น ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเข้า หรือ เล่นรอเด้งขึ้นมา ก็ Short or Put ไป ส่วนเทรดระยะยาว ก็ต้องแบ่งไม้เข้า (ไม่แนะนำ จนกว่าสถารการณ์ โรค covid19 ชัดเจนขึ้น)โดย theoris1
SET : วิกฤติ COVID-19มุมมองขาลง ปัจจุบันเป็น 3x แนวดัก sell เส้นแดง โดยให้ความสนใจที่เส้นน้ำเงิน โดยมีเป้าหมายแรกของ 3x บริเวณ 1320-1310ลดลงโดย noon4343ที่อัปเดต: 223
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับฐาน แรงเทขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงทำจุดต่ำที่ 1,337 จุด และปิดที่ 1,340.52 จุด ปรับลดลง 54.56 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้ามาเก็งกำไรจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง ดาวโจนส์ลดลง 357 จุด นักลงทุนผวาเชื้อ Covid-19 อาจแพร่ระบาดในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงแบบมีช่องว่างเป็นครั้งที่ 3 แสดงถึงภาวะขายมากเกิน แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์ตามหลังแท่งเทียนรูป Thrusting pattern ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล สอดคล้องกับหลักการของ Granville ที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนว MMA2 แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อพักตัว เนื่องจากการเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และ MACD Histogram แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลง นักลงทุนควรกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจบคลื่น I,(5),5) ที่ 1,850 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเป็นคลื่น II ตามหลักการคลื่น II มีโอกาสพักตัวลง 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น I แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น I หมายเหตุ ได้ตัดการนับคลื่นช่วงวันที่ 30 เมษายน 2518 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 76.43 จุด ถึงวันที่ 4 กันยายน 2541 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 204 จุด ในช่วงเวลานี้ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงที่ 1,789 จุด เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2537 เหตุที่ต้องตัดช่วงนี้ออก เนื่องจากการนับคลื่นเอลเลียต นับคลื่น III จบที่ 1,850 จุด คลื่น IV จะซ้อนทับกับคลื่น I ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping และช่วงที่ดัชนีตลาดทำจุดต่ำที่ 204 จุด ราคาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่หลายตัวปรับตัวลงทำจุดใหม่ต่ำกว่าช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อ หุ้นกลุ่มธนาคารจึงไม่สามารถนำมานับคลื่นได้ จึงต้องตัดดัชนีตลาดออก สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และ MACD Histogram ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อหรือปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,357 – 1,369 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,324 – 1,308 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv3
ยังเป็นขาลงอาทิตย์หน้าอาจมีเด้งเบาๆ แล้วลงต่อ แนวรับสุดท้ายที่น่าจะแข็งสุดให้ 1291.82 หากรักษาแนวนี้แล้วไหลสะสมออกข้าง ไปหลังเมษา อาจจะเริ่มดูสนุกขึ้น ตอนนี้พุทได้กำไรกว่า แต่กำเงินสดไว้รอหุ้นดีราคาถูกน่าจะจริงสุดลดลงโดย NutaponKo1
SET Index - ยังคง Bullish (ตราบใดที่เหนือ 1340)ความเห็นของผม ผมคิดว่า SET index พร้อมที่จะขึ้นไปข้างบนแล้วครับเพิ่มขึ้น09:52โดย UNRPPที่อัปเดต: 666
SET ลงต่อปัจจุบัน set เป็นเทรนขาลง มีแนวโน้มเป็นสถานะคลื่น 3 เนื่องจากมี breakaway gap อ้างอิง มีสัญญาณรีบาวน์สั้นๆ จาก cci แต่เป็นการรีบาวเพื่อลงต่อ ยังไม่ควรแทงสวน ควรหาจังหวะในการ put หรือ short มากกว่า ลดลงโดย Heichou2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย พิษ Covid-19 แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงต่อเนื่อง แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,395.08 จุด เพิ่มขึ้น 28.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.45 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (27/2) ดาวโจนส์ดิ่งลง 1,190 จุด (จากจุดสูงดาวโจนส์ปรับลดลง 10%) นักลงทุนกลัวว่า Covid-19 จะระบาดในสหรัฐ ส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,355 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Thrusting pattern (เป็นสัญญาณตัวอ่อนๆ) ในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้ามาจะหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง และการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ยืนยันดัชนีตลาดยังเป็นตลาดขาลง และการเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงหรือปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,343 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และ MACD Histogram ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อหรือปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,415 – 1,435 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,376 – 1,355 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุน จะกลับเข้าซื้อเมื่อสัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงโดย prajobv3
SET : หลีกช่วงตลาดขาลง ง่ายๆ ด้วย CDC ATR Trailing Stop WeeklyTFสิ่งที่สำคัญของการเทรด จากที่ผมได้เรียนรู้มาก็คือ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ index ของตลาดเป็น "ขาขึ้น" การจะเทรดหุ้นโดยการซื้อหุ้นเข้าพอร์ต จะสามารถทำกำไรได้โดยง่ายมากๆ เพราะในช่วงขาขึ้นนั้น หุ้นกว่า 80% จะขึ้น ถึงแม้เราจะจิ้มหุ้นพลาด อย่างไร โอกาสที่เราจะทำกำไรในตลาดหุ้น ก็สามารถมีสูงกว่าช่วงขาลง ที่จิ้มหุ้นตัวไหน กว่า 80% ก็มักจะลงต่อ.. แต่ปัญหาคือ.. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ว่าช่วงไหนของตลาด เป็นขาขึ้นหรือขาลง? ผมเลยลองเอา strategy ที่ผมได้เคยทำแจกไว้ นั่นก็คือ inwCoin CDC ATR Trailing Stop มาลอง backtest และ optimize กับ SET index โดยสุดท้ายได้ค่าที่น่าสนใจมาดังนี้ * ค่าอื่นๆ ใช้ค่า Default ให้เปลี่ยนค่าเหล่านี้แทน Slow ATR Period = 19 Slow ATR Multiplier = 1.5 Timeframe = Weekly เมื่อเราลอง รัน Backtest เราก็จะพบว่า.. เราควรที่จะทำการ Short TFEX หรือ ขายหุ้นทั้งหมด ออกมาถือเงินสด ตั้งแต่ช่วง วันที่ 30 ก.ค. 2019 แล้ว เพราะหลังจากนั้น เราจะเห็นได้ว่า ตลาด เป็นขาลงมาตลอด และสุดท้ายก็มาระเบิดลงแรง ก็เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง... ทีนี้.. กลยุทธ นี้ มันสามารถหลีกเลี่ยงช่วงวิกฤตได้จริงๆ หรือเปล่า? เราลองมาดูกัน 1) 2015 Yuan Devalue ( 11 Aug 2015 ) จะเห็นได้ว่า ในช่วงนี้ ทั้ง Action Zone และ ATR Trailing Stop ต่างบอกให้ออกมาถือเงินสด และนั่งเฉยๆ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. 2015 แล้ว .. และหลังจากนั้นตลาดก็ร่วงเรื่อยมา โดยร่วงจาก 1510 จุด ลงไปถึง 1226 จุด ในเวลาถึง 280 วัน! แต่ถ้าเราใช้วิธีนี้มา filter เพื่อหนีช่วงดังกล่าว จะเห็นว่า เราก็สามารถนั่งเฉยๆ และรอดตายจากภาวะวิกฤตนี้มาได้แบบสบายๆ 2) 2008 Subprime Crisis หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ฟองสบู่อสังหาอเมริกาแตก.. ช่วงนี้ถ้าเราไล่ดูจะเห็นว่า ATR Trailing Stop ไล่ออกมาให้ถือเงินสด ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2008 แล้ว และก็บอกให้นั่งเฉยๆ 224 วัน! โดยช่วงนี้ SET ร่วงจาก 819 จุด ลงไปเหลือแค่ 382 จุดเท่านั้น! ช่วงนี้ ใครสามารถเข้าหุ้นแข็งแกร่ง ในช่วงจบวิกฤต ก็เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้า เพราะหลังจากนั้นตลาดก็วิ่งควายไปอีก หลายปี 3) 2000 วิกฤตดอทคอม ช่วงนั้น ฟองสบู่ดอทคอม ก็แตกลง ทำให้กระทบไปทั่วโลก แม้แต่หุ้นไทยก็ไม่เว้น ร่วงจาก 400 จุด ลงมาเหลือ 244 จุด ซึ่งจริงๆ ตอนนั้นไทยก็เพิ่งฟื้นมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งได้ไม่นานเอง แต่ถ้าตาม ATR ก็อย่างที่เห็น สามารถหลบช่วงตลาดขาลงได้อีกแล้ว โดยช่วงนี้ เริ่มตั้งแต่ 14 ก.พ. 2000 - 6 พ.ย. 2000 ใช้เวลา 266 วัน 4) 1996-1998 วิกฤตต้มยำกุ้ง น่าจะเป็นวิกฤตเกี่ยวกับการเงินที่รุนแรงที่สุดของไทยแล้วล่ะมั้งครับ โดยช่วงนั้น SET ร่วงจาก 1300 จุด ตอนที่ ATR บอกให้ออก ลงไปเหลือแค่ 200 จุดเท่านั้น! โดยช่วงนี้ใช้เวลานานมากๆ กว่าจะจบ ก็คือตั้งแต่ 26 ก.พ. 1996 - 5 ต.ค. 1998 เป็นระยะเวลาถึง 2.6 ปี!! สรุป ในวิกฤต มันก็มีโอกาส เสมอ สำหรับคนที่มีเงินสด อยู่ในมือ.. ผมเคยฟัง กูรูไทย หลายๆ ท่าน ที่ผ่านช่วงนั้นมาได้ ใน youtube ฟังแล้ว โหดร้ายมากจริงๆ ครับ หลายๆ คนถัวแล้วถัวอีก ตลาดหุ้นมันก็ยังลงต่อไปของมันเรื่อยๆ.. จนสุดท้ายก็ขาดทุนหนัก หมดตัวกันเป็นแถว แต่หลายๆ คนก็ไม่ยอมแพ้ และพยายามหาจังหวะเข้าซื้อ หุ้นกันใหม่ได้อีกครั้ง และบางคนก็ถือยาว จากตอนนั้น มาจนถึงตอนนี้ กลายเป็นเศรษฐีหุ้นพันล้านกันไป รอบนี้ Corvid Crisis เราก็ไม่รู้จะใช้เวลาอีกกี่วัน ถึงจะจบ แต่ถ้าลองดูเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา เราจะพบว่า ถ้าไม่ใช่เหตุการณ์ที่เลวร้ายยย จริงๆ เราก็จะใช้เวลา ประมาณ 250-300 วัน ตลาดก็จะเริ่มเข้าสู่จุดต่ำสุด และเริ่มเดินทางต่อ.. แต่สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจของไทย ตอนนี้ มองไปข้างหน้าก็มีแต่ความมืดมน เราก็ไม่รู้รอบนี้ มันจะจบเมื่อไหร่.. แต่ยังไง ก็คอยตาม ATR Trailing Stop ไปก่อนแล้วกันครับ ถ้ามันมาพร้อมกับ Action Zone สีเขียว ก็น่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจ ที่จะเริ่มทยอยกลับเข้าตลาดครับ ระหว่างนี้ก็ไม่ต้องทำไร กอดเงินสดกันไปก่อน รอจังหวะที่ใช่ แล้วค่อยหวดทีเดียวครับ อย่าเพิ่งไปถัวหุ้นเปะปะ.. ( เรื่องถัวเปะปะ หรือดอยจนติดลบหนักนี่ ชาวคริปโต จะรู้จักกันดี 55 แต่ชาวเม่าหุ้นไทย กว่าจะรู้ตัว ก็น่าจะผ่านไปหลายปี ..) จะว่าไป ตอนนี้ เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของกราฟหุ้นได้โดยง่ายมากๆ ผ่านเว็บอย่าง tradingview รวมถึงการใส่ indicator ต่างๆ เข้าไป เพื่อที่จะช่วยเราในการตัดสินใจเลือกหุ้น และหาจังหวะเข้าหุ้นที่สวยๆ ได้อีกด้วย ต่างกับเมื่อหลายปีก่อน ที่เราแทบไม่มีอะไรมาให้ดูเลย ( เอาจริงๆ ข้อมูล SET ก็รู้สึกเพิ่งจะเพิ่มมาใน Tradingview เมื่อประมาณปี 2018 - 2019 ที่ผ่านมานี้เองครับ ) ดังนั้น ถือว่า ปัจจุบันนี้ เรามีความได้เปรียบมากๆ นะครับ สำหรับคนที่สามารถอ่านกราฟเป็น และใช้ indicator พื้นฐานได้บ้าง สู้ๆ ครับทุกคน ก็ลองเขียนวิเคราะห์ดู เผื่อจะมีมุมมองเอาไว้ดูเทรน และภาพรวมตลาดได้ครับ เก็บเงินสดกันไว้ก่อน อย่าเพิ่งไปรีบถัวนะครับ ลดลงโดย Real_inwCoin5
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Technical Rebound การระบาดของเชื้อ Covid-19 ในไทย ทำให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,366.41 จุด ทรุดตัวลง 72.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยง ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (26/2) ดาวโจนส์ปรับตัวลดลง แรงซื้อที่กลับเข้าหนุนดัชนี Nasdaq กลับมาปิดในแดนบวก บรรยากาศการลงทุนยังถูกคุกคามด้วยการแพร่ระบาดของ Covid-19 นอกจีน ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงและทำจุดต่ำที่ 1,366 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,395 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,343 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,343 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ การที่สัญญาณ Convergence ของ RSI เป็นการล้างสัญญาณ Bullish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,395 – 1,410 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,356 – 1,343 จุด กลยุทธ์การลงทุน ได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุนโดย prajobv3
SET แนวรับแรก 1348.18SET ปัจจุบันทำคลื่นปรับขาลงในรูปแบบ trend คาดว่าเป็นคลื่น C จากการปรับคลื่น 2 อยู่ในรูปแบบ running flat ซึ่งมีโอกาสที่คลื่น 3 จะลงเป็น super 3 extension ด้วย เป้าหมายแรกของคลื่น 3 ขยายคือ 161.8% ของคลื่น 1 (internal) คือ 1348.18 CCI บ่งบอกการชลอตัวของคลื่นภายใน แต่ส่วนตัวคิดว่าจะรับไม่ไหว อาจชลอแล้วลงต่อ หรือทะลุไปต่อได้เลยลดลงโดย Heichou2
SETSET ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง หลังจากผลกระทบจากช่วงสงครามการค้า ที่ทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัว รวมไปถึงการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยที่กดดันราคาเริ่มมาจาก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องยาวมาจนถึง วิกฤตในเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นบ่อน้ำเลี้ยงสุดท้าย ได้รับความเสียหายไปด้วย การคาดการณ์ของผลกระทบนี้ มองต่ำๆก็คงกินเวลาไปในช่วงครึ่งปีแรก หรือจรกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องของการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส รวมไปถึงในเรื่องของวัคซีนที่จะนำมารักษา ซึ่งอาจจะต้องมีการประกาศแบบชัดเจนจาก WHO เพื่อคลายความกังวัลของนักลงทุน ในส่วนของปัจเชิงเทคนิค หลังจากที่ราคาได้ Breakdown โซนแนวรับของราคาในช่วง 1592 - 1537 ลงมาและไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือโซนแนวรับนี้ได้ ราคาก็ยังคงปรับตัวลงอยู่ในแนวโน้มขาลงที่เป็นแนวโน้มมาตั้งแต่ปี 2018 การทิ้งตัวลงมาของราคาในช่วงนี้เป็นผลมาจาก ปัจจัยกดดันที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น จนกว่าจะมีปัจจัยเชิงบวกเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาด ก็ยากที่ราคาจะกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ดังนั้น การรีบาวน์ในระยะสั้นต้องระวัง เนื่องจากมีโอกาสที่จะเป็นการรีบาวเพื่อลงต่อตามแนวโน้มเดิมได้ โซนแนวรับในระยะยาวจะอยู่ในช่วง 1228 - 1192 ซึ่ง ต้องดูประกอบกับปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องด้วย ทั้งนี้ หากพ้นครึ่งปีแรกไปได้แล้ว ยังไม่สามารถเคลียร์ปัจจัยเรื่องการแพร่ระบาดได้ ตลาดอาจจะผันผวนยาวไปจนสิ้นปี เนื่องจาก ยังมีเรื่อง สงครามการค้า เฟส 2 หลังจากการเลือกตั้งในสหรัฐฯ จบไปอีกด้วย ลดลงโดย FinancialBrain4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย Filling The Gap แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดกลับมาปิดในแดนบวกที่ 1,439.10 จุด เพิ่มขึ้น 3.54 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ การเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง ต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงต่อเนื่องเป็นวันที่ ตลาดถูกคุกคามจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสนอกจีน จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงไปทำจุดต่ำที่ 1,416 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Hammer ในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) อาจเป็นการปรับขึ้นปิดแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Closing the Window) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงต่อ สอดคล้องกับการเกิดสัญญาณ Convergence ของ RSI และการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,422 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E การนับคลื่นเอลเลียตอาจผิดพลาดเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping แต่อย่างไรก็ดี การที่ดัชนีตลาดปรับขึ้นเป็นคลื่น III แบบ Truncation wave จะทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ การที่สัญญาณ Convergence ของ RSI เป็นการล้างสัญญาณ Bullish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,455 – 1,473 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,416 – 1,397 จุด กลยุทธ์การลงทุน วันก่อนได้แนะนำให้ล้างพอร์ตการลงทุนโดย prajobv2