Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นพักตัวลง
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดที่ 1,601.91 จุด เพิ่มขึ้น 1.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.1 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและสถาบันกลับมาเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายที่เกิดจาก Measuring gap อยู่ที่ 1,624 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม ตลาดปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมาเพื่อลดความเสี่ยง หลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น และนักลงทุนเฝ่ารอผลการประชุมประจำปีของเฟดในวันนี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆหลังปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,603 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Doji ในเขตซื้อมากเกิน สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ดัชนีตลาดปิดเหนือแนวรับที่ 1,592 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับนี้ได้ ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับของช่องว่างที่ 1,586 – 1,582 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางการปรับตัวขึ้น สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ ดัชนีตลาดมีเป้าหมายของ Measuring gap อยู่ที่ 1,624 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,582 จุด ปิดเหนือแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,580 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,642 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,586 – 1,582 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ โดย Measuring gap มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,624 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,610 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,591 – 1580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เพิ่มพอร์ตการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,580 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เป้าหมายของ Measuring Gap อยู่ที่ 1,624 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,600.49 จุด เพิ่มขึ้น 13.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ค่าเงินบาทแข็งค่าแตะ 32.71 บาท/ดอลลาร์สรอ. ดัชนีตลาดมีเป้าหมายของ Measuring gap อยู่ที่ 1,624 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 25 สิงหาคม ตลาดปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ดัชนี S&P 500 และดัชนีแนสแดคปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล แต่สัญญาณทางเทคนิคัลเตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับตัวลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Breakaway gap ที่ 1,586 – 1,582 จุด ดัชนีตลาดปิดเหนือแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,592 จุด ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางการปรับตัวขึ้น สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน กรณีที่ช่องว่างที่เกิดเป็น Measuring gap ดัชนีตลาดจะมีเป้าหมายขึ้นไปที่ 1,624 จุด และมีจุดสูงเก่าที่ 1,642 จุดเป็นแนวต้านสำคัญ ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้น (Filling the gap ที่ 1,586 – 1,582 จุด) และมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,560 – 1,556 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,582 จุด ปิดเหนือแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,580 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,642 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,586 – 1,582 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ โดย Measuring gap มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,624 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,610 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,591 – 1,580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เพิ่มพอร์ตการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,580 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวเพื่อเดินหน้า
แรงขายทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปิดที่ 1,586.98 จุด เพิ่มขึ้น 4.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1 แสนล้านบาท นักลงทั่วไปยังเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ขณะที่ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,600 จุด ก่อนที่จะพักตัวเพื่อเดินหน้าต่อ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะ 32.88 บาท/ดอลลาร์สรอ.
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 24 สิงหาคม ตลาดปิดตลาดในกรอบแคบๆ นักลงทุนมีมุมมองในทางบวกขานรับการอนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ให้ใช้แบบเต็มรูปแบบ ขณะที่นักลงทุนเฝ้าติดตามผลการประชุมประชุมประจำปีของเฟด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,592 จุด และมีแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,600 จุด ถือเป็นแนวต้านทางเทคนิคัลและแนวต้านทางจิตวิทยา แท่งเทียนเกิดเป็น Star ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางการปรับตัวขึ้น ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้น (Filling the gap ที่ 1,553 – 1,566 จุด) และมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมที่ 1,558 – 1,553 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,582 จุด ปิดเหนือแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,580 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,642 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,566 – 1,553 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,597 – 1,605 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,576 – 1,566 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เพิ่มพอร์ตการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,566 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ร้อนแรง
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นสถาบันการเงิน ดันดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,582.07 จุด เพิ่มขึ้น 28.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.14 แสนล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางเทคนิคัล และเป็นแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม ตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงขับเคลื่อนในหุ้นกลุ่มวัคซีนป้องกันโควิด-19 และตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนเฝ้าติดตามผลการประชุมประจำปีของเฟดในสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Breakaway gap ที่ 1,566 – 1,553 จุด ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นการยืนยันสัญญาณกลับตัวรูปท้องกระทะ (Frypan Bottom) ตามหลังการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,600 จุด และ 1,642 จุด ตามลำดับ ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้น (Filling the gap) และมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมที่ 1,566 – 1,553 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,582 จุด ปิดเหนือแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,580 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,642 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,566 – 1,553 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,594 – 1,604 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,572 – 1,560 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เพิ่มพอร์ตการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,566 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นยืนเหนือ 1,557 จุด
แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาหลังดัชนีตลาดส่งสัญญาณปลายตลาดขาลง หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,553.18 จุด เพิ่มขึ้น 8.90 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.18 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะมีสัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก เมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม ตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ตามแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นักลงทุนให้ความสนใจการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงและทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,549 – 1,556 จุด โดยมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,557 จุด ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,512 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางขาลงที่ชะลอตัว สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,580 จุด และดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,642 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,563 – 1,574 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,544 – 1,536 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณปลายตลาดขาลง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นนิวยอร์ก หลังเฟดส่งสัญญาณลดวงเงินที่จะเข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,544.28 จุด ลดลง 7.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.79 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีเอสแอนด์ 500 และดัชนีแนสแดคปรับตัวขึ้นเล็กน้อย นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดลงวงเงินที่จะเข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเร็วกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีปรับตัวเข้าหาเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงและทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,548 จุด และมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,551 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางขาลงที่ชะลอตัว สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,557 จุด ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,512 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,553 – 1,563 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,533 – 1,525 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นยืนเหนือ 1,557 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปิดที่ 1,551.87 จุด เพิ่มขึ้น 7.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.17 หมื่นล้านบาท สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียว สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 18 สิงหาคม ตลาดปรับตัวลดลงหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานว่าเฟดอาจปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐฯ หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดบวกแบบมีช่องว่าง (Gap) เป็นครั้งที่สอง ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,551 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,549 - 1,557 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางขาลงที่ชะลอตัว สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,561 – 1,569 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,544 – 1,536 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
MAKROVol Buy เข้าสูง กว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา โดยค่า MCDX เจ้าใหญ่เข้าซื้อ อยู่ที่ 51.471
ตั้ง TP/SL ใช้ RR ที่ 1:3
ราคาเข้า 38.75
TP : 42.25
SL : 36.50
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,544.22 จุด เพิ่มขึ้น 12.98 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.3 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 17 สิงหาคม ตลาดปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลถึงตัวเลขการค้าปลีกเดือนกรกฎาคมที่ลดลง จะส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Breakaway gap) ถือเป็นสัญญาณบวกของปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,551 จุด และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,548 – 1,557 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,557 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,557 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,554 – 1,563 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,533 – 1,525 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รูปท้องกระทะ
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ผู้ประกอบการมองว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ดัชนีตลาดปิดที่ 1,532.24 จุด เพิ่มขึ้น 2.92 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.7 หมื่นล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับเพื่อสะสมกำลัง
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงใหม่ตลอดกาล ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นเทคโนโลยี นักลงทุนบางส่วนเข้าซื้อหุ้นเพื่อดักผลประกอบการที่คาดว่าจะออกมาดี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปิดตัวในแดนบวก แท่งเทียนเกิดเป็น Hammer หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดแกว่งตัวในลักษณะสะสมกำลัง (Consolidation) และแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,551 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,549 – 1,558 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,558 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานเพื่อสะสมกำลัง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,558 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,541 – 1,551 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,521 – 1,513 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
วิเคราะห์แนวโน้ม THB 05/08/2021วันนี้ THB ได้ทำการ Breakout ราคา 33.188 บาทต่อดอลล่าสหรัฐ ถ้ามองเรื่องปัจจัยพื้นฐานเกิดจากการที่เงินออกจากประเทศค่อนข้างสูงเนื่องจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มที่ไม่ดีในสถานการณ์โควิด
ส่วนในมุมมองด้านเทคนิคแล้วการ Breakout ราคานี้เป็นสัญญาณที่จะเกิดการอ่อนค่าของเงินบาทต่อเนื่องซึ่งนักเกร็งกำไรได้เข้ามาค่อนข้างเยอะจะเห็นได้จากที่ Indicator RSI เข้าสูงโซน Overbought อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสูงถึงระดับ 81.24
โดยแนวต้านสำคัญอยู่ที่ ราคาประมาณ 33.50 - 33.70 บาทต่อดอลล่าสหรัฐ และแนวรับสำคัญอยู่ที่ 32.16 ซึ่งเป็นกรอบที่กว้างพอสมควร ดังนั้นขอให้ระมัดระวังกับการเข้าลงทุนแบบสวนเทรนด้วยนะครับ ซึ่งแนวโน้มยังเป็นขาขึ้นหรือ Up Trend ต่อไปในมุมมองของผม
***ซึ่งมุมมองทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้เป็นการชี้นำและแนะนำควรพิจารณาก่อนการลงทุนอย่างมาก ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนครับ***
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สะสมกำลัง
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลานานที่จะฟื้นตัว แรงขาย แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,532.71 จุด ลดลง 9.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.97 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบบวก ดัชนีตลาดมีลักษณะพักตัวเพื่อสะสมกำลัง ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่หก
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นทั้งสามดัชนี ตลาดแรงงานในสหรัฐฯฟื้นตัวต่อเนื่อง นักลงทุนคลายความวิตกว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังดัชนีปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,554 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,551 -1,560 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดมีแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,513 จุด ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะสะสมกำลัง (Consolidation) ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,560 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือ 1,560 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,551 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,523 – 1,513 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,540.19 จุด เพิ่มขึ้น 18.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.98 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างเพื่อปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พีปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตลาดปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังยูเอ็นเรียกร้องให้นานชาติยุติการใช้พลังงานฟอสซิลและถ่านหิน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูงหลังดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,513 จุด และมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,548 จุด และ 1,554 จุด ตามลำดับ สัญญาณ DMI แสดงถึงการปรับตัวลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,554 – 1,562 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,562 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นกลับมาเป็นบวก หลังสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ที่แสดงถึงปลายตลาดขาลง แรงซื้อที่มีเข้ามาหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,551 – 1,561 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,530 – 1,521 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
กังวลเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า
ยอดการติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ที่ล่าช้า ทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ นักลงทุนบางส่วนจึงนำหุ้นออกเทขาย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,521.72 จุด ลดลง 5.94 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.27 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม ตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล ขานรับตัวเลขการจ้างงานเดือนกรกฎาคมที่สดใส จับตาตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งอาจส่งผลกระทบให้เฟดปรับลดวงเงินที่จะซื้อพันธบัตรเร็วกว่ากำหนด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,501 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สัญญาณ DMI แสดงถึงการปรับตัวลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,554 – 1,562 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,501 จุด และอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,540 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,513 – 1,504 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ต่างชาติเทหุ้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,527.66 จุด ลดลง 18.20 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.1 หมื่นล้านบาท ต่างชาตินำหุ้นออกเทขาย หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยเพิ่มขึ้น นักลงทุนผวาเศรษฐกิจไทยอาจถดถอย สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นขานรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลง นักลงทุนเฝ้าติดตามตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,513 จุด และมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,548 จุด เส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,557 – 1,564 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,513 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางขาลงที่ชะลอตัว ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับลดลงหลุดแนวรับที่ 1,530 จุด ลงมาปิดที่ 1,521 จุด ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงควรรอการจบคลื่นปรับ (Collective wave) ก่อนที่จะปรับการนับคลื่นใหม่
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD กลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,537 – 1,547 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,516 – 1,508 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขึ้นเพื่อปรับฐาน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานทดแทน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,545.86 จุด เพิ่มขึ้น 5.35 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 4 สิงหาคม ตลาดปรับตัวลดลงหลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนกรกฎาคมต่ำกว่าคาดการณ์ และผลประกอบการของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์น่าผิดหวัง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สาม หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด กราฟแท่งเทียนและสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,554 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,559 – 1,565 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับลดลงหลุดแนวรับที่ 1,530 จุด ลงมาปิดที่ 1,521 จุด ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงควรรอการจบคลื่นปรับ (Collective wave) ก่อนที่จะปรับการนับคลื่นใหม่
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,554 จุด เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,554 – 1,563 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,533 – 1,525 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Technical Rebound
แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,540.51 จุด เพิ่มขึ้น 15.40 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.96 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันอังคารที่ 3 สิงหาคม ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่สดใสดีเกินคาด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่กลายพันธุ์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami and Hammer ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ในเขตขายมากเกิน สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางปรับตัวลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะสั้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับลดลงหลุดแนวรับที่ 1,530 จุด ลงมาปิดที่ 1,521 จุด ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงควรรอการจบคลื่นปรับ (Collective wave) ก่อนที่จะปรับการนับคลื่นใหม่
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,550 – 1,560 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,530 – 1,521 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยอดติดโควิดกดดันตลาด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลแสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง แต่ดัชนีตลาดยังคงปรับตัวลงเนื่องจากยอดติดเชื้อโควิด-19 ยังพุ่ง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,525.11 จุด เพิ่มขึ้น 3.19 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดาวโจนส์และเอสแอนด์พีปรับตัวลดลง ขณะที่แนสปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แรงขายทำกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีอยู่ในช่วงพักตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง ดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami and Hammer ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางปรับตัวลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,510 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,554 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับลดลงหลุดแนวรับที่ 1,530 จุด ลงมาปิดที่ 1,521 จุด ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงควรรอการจบคลื่นปรับ (Collective wave) ก่อนที่จะปรับการนับคลื่นใหม่
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,536 – 1,545 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,513 – 1,503 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,535 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณขัดแย้งปลายตลาดขาลง
ยอดการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจทั้งปี ขณะที่วัคซีนป้องกันโควิด-19 การส่งมอบล่าช้า สร้างผลกระทบต่อยอดผู้ได้รับวัคซีน ซึ่งถือเป็นอาวุธสำคัญที่ชะลอการแพร่ระบาดของวิด-19 ดัชนีตลาดปิดที่ 1,521.92 จุด ลดลง 15.86 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.77 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน สถาบันภายในประเทศและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม ตลาดปรับตัวลดลงหลังผลประกอบการของหุ้นขนาดใหญ่ต่ำกว่าประมาณการ แม้เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.00 – 0.25 เปอร์เซ็นต์ และยังคงวงเงินที่จะซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้าน ดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,516 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI และการเรียงตัวของเส้น MMA2 สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,510 จุด และ 1,501 จุด ตามลำดับ สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,554 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับลดลงหลุดแนวรับที่ 1,530 จุด ลงมาปิดที่ 1,521 จุด ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงควรรอการจบคลื่นปรับ (Collective wave) ก่อนที่จะปรับการนับคลื่นใหม่
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence (ยอดที่สอง) ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,510 – 1,500 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity