Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณเฟดปลุกตลาดกลับมาร้อนแรง
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ดัชนีตลาดปิดที่ 1,640.63 จุด เพิ่มขึ้น 6.36 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3.17 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก มูลค่าการซื้อขายที่เบาบางจะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,645 จุด มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง สถาบันภายในประเทศในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวด้วยความร้อนแรง หลังประธานเฟดชี้ว่านโยบายดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับกลาง ตลาดจึงมองว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ และกำลังปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง (ความลาดชันเริ่มลดลง) เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,645 จุด ดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม ดัชนีจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง หากดัชนีตลาดไม่สามารถผ่านแนวต้านนี้ขึ้นไปดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,600 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมและจะยืนยันการจบคลื่นปรับ เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,600 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,645 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,645 – 1,652 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,634 – 1,627 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน หลังจากสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence แต่ยังเน้นถือเงินสดไว้ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ และจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวต้าน 1,645 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,634.27 จุด เพิ่มขึ้น 3.50 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นและกลางเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,645 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก นักลงทุนคาดหวังว่าจีนและสหรัฐจะบรรลุข้อตกลงทางการค้าในการประชุมช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,645 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ที่ชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม มูลค่าการซื้อขายชะลอตัว ชี้ว่าตลาดยังขาดความเชื่อมั่นในทิศทางตลาดขาขึ้น
สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ชี้ว่าดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปลายตลาดขาลง อย่างไรก็ดี บางครั้งสัญญาณ RSI จะเกิดสัญญาณ Bullish Divergence แบบสามยอด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมและจะยืนยันการจบคลื่นปรับ เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,600 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,645 จุด ดัชนีตลาดระยะยาวยังขาดทิศทางที่ชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,646 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,627 – 1,622 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน หลังจากสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence แต่ยังเน้นถือเงินสดไว้ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ และจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เริ่มเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวปิดที่ 1,622.10 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวลง 12.90 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 3.69 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 (นับจากต้นปีเป็นต้นมา ต่างชาติมียอดขายสุทธิกว่า 2.86 แสนล้านบาท) ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงแต่ไม่ต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) ซึ่งจะถูกยืนยันด้วยของสัญญาณ Bullish Divergence ของ MACD Histogram
ในกรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด และปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,565 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น 4
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ ซึ่งอาจปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) ดัชนีตลาดต้องยืนเหนือ 1,584 จุด หรือคลื่น 4 ที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด โดยมีแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,565 จุดเป็นเป้าหมาย
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแบบผันผวนเหนือแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด โดยมีเส้นแนวโน้มขึ้น (ลากระหว่างจุดต่ำที่ 1,584 จุด กับ 1,596 จุด) สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ชี้ว่าดัชนีตลาดกำลังอยู่ในช่วงปลายตลาดขาลง จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะสั้นที่ 1,645 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
สัญญาณทางเทคนิคัลมีความขัดแย้งกัน โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI แสดงว่าดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้น แต่เส้น MMA2 และ DMI กลับชี้ว่าดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงการปรับตัวลงต่อ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณขัดแย้งปลายตลาดขาลง (Bullish Divergence) ซึ่งเป็นเสมือนสัญญาณเตือนถึงช่วงปลายตลาดขาลง อย่างไรก็ดี ในภาวะตลาดหมี (Bear Market) สัญญา RSI อาจเกิด Bullish Divergence แบบสามยอด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,628 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence แต่ยังเน้นถือเงินสดไว้ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด
แรงขายที่กระจายออกมาเกือบทุกกลุ่ม ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,604.40 จุด ลดลง 12.93 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,596 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวัน “ขอบคุณพระเจ้า” ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นขานรับอังกฤษและอียูสามารถบรรลุข้อตกลงเบื้องต้น หลังอังกฤษออกจากสมาชิกกลุ่มยูโร
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำและกำลังปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,596 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงและความลาดชันเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ที่ชี้ว่าดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงแต่ไม่ต่ำกว่า 1,584 จุด จะเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่น (ii) แต่ถ้าดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 มีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด
การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณยืนถึงการจบคลื่นปรับ ซึ่งจะใช้เป็นสัญญาณเข้าทยอยซื้อหุ้นเข้าพอร์ต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น จะส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,596 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,610 – 1,616 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,598 – 1,590 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสองรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หลังดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงทดสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,617.33 จุด เพิ่มขึ้น 5.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลก่อนที่จะปรับฐานตามมา นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่กลุ่มที่เหลือเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกเล็กน้อย ตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและพลังงาน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านกึ่งกลางตัวของแท่งเทียน Long Bearish Candlestick ที่ 1,621 จุด แท่งเทียนลำตัวขาวปิดเหนือราคาปิดของแท่งดำแต่ไม่ถึง 50% เกิดเป็น Thrusting pattern (สัญญาณกลับตัวอ่อนๆ) ในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง การปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดเป็นไปตามหลักการของ Granville
เส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลงและความลาดชันที่เพิ่มขึ้น บวกกับสัญญาณ DMI ล้วนบ่งชี้ถึงตลาดขาลง ระยะสั้นดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเป็น 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบแรก ผ่านไปแล้ว คงเหลือ 2 รูปแบบหลัง คือ
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล (Technical Rebound) แต่ดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,622 – 1,630 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,610 – 1,603 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสองรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Rebound
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,730 จุด หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,700 จุด และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci retracement ที่ 1,696 จุดเป็นแนวรับร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ในเขตขายมากเกิน
ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายชะลอตัว จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นแต่ไม่มั่นคง ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,696 จุดและ 1,675 จุด ตามลำดับ ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii), (iv) และ (v) หรือคลื่น 5,(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้นหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,730 – 1,435 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,715 – 1,707 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ระยะสั้นดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดาวโจนส์ดิ่ง 551 จุด
แรงเทขายที่กระจายออกมาเกือบทุกกลุ่ม ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายดิ่งลงปิดที่ 1,612.03 จุด ทรุดลง 24.45 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนรายบุคคลเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งลงตามแรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หุ้นกลุ่ม FAANG ทรุดตัวลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ราคาน้ำมันดิบรูดลงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดรูดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และมีจุดต่ำเก่าที่ 1,596 จุดเป็นแนวรับร่วม แท่งเทียนเป็น Long Bearish Candlestick กึ่งกลางลำตัวที่ 1,621 จุดจะเป็นแนวต้านเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลงด้วยความลาดชันที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ที่ชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเป็น 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบแรก ผ่านไปแล้ว คงเหลือรูปแบบ
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าในเขตขายมากเกิน (Oversold) จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับการปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,617 – 1,623 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,606 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสองรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดปัจจัยหนุน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับทางเทคนิคัลที่ 1,632 จุด การซื้อขายเป็นไปอย่างไรทิศทาง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,636.48 จุด เพิ่มขึ้น 1.48 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 2.99 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีฉุดดัชนี Nasdaq ดิ่งลงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนตัวลง ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1,223 เหรียญ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,632 จุด การเรียงตัวและความลาดชัน (ขาลง) ของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงของดัชนีตลาด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับเข้าในเขตขายมากเกิน (Oversold) ซึ่งจะหนุนแรงซื้อกลับเก็งกำไร ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล (Technical Rebound)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,642 – 1,646 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,625 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสามรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
บรรยากาศซบเซา
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดและมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง สะท้อนถึงภาวะตลาดที่ซบเซา แรงขายที่มีออกมาทั้งสัปดาห์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดตลาดในวันศุกร์ที่ 1,635.00 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 33.52 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4.0 หมื่นล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่หก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,620 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับข่าวจีนและสหรัฐกำลังเจรจาเพื่อหาข้อยุติสงครามการค้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด เพื่อจบคลื่น (ii) โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมแบบ Descending Triangle โดยที่ดัชนีตลาดต้องปรับตัวลดลงไม่ต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวหลุดลงต่ำกว่าแนวรับนี้ จะเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดกำลังปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 ไม่ใช่ปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,632 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลง เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลงที่ความชันขาลงเริ่มเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ตลาดมีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,600 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,620 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,642 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,628 – 1,623 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางแกว่งตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,620 – 1,600 จุด
จึงยังคงแนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสามรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ผันผวนในทิศทางลง
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดต่ำที่ 1,638.84 จุด ลดลง 13.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด สถาบันภายในประเทศและต่างชาติเป็นฝ่ายขายสุทธิ (ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกในรอบ 5 วัน หลังสื่อรายงานการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐมีโอกาสบรรลุข้อตกลง ค่าเงินดอลลาร์สรอ.ทรงตัว ขณะที่ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ เกิดแท่งเทียนเป็น Bearish Candlestick และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,632 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลงสอดคล้องกับสัญญาณ DMI ที่ชี้ถึงทิศทางตลาดขาลง
ดัชนีตลาดมีแนวรับทางจิตวิทยาเป็นแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,600 จุด และจุดต่ำเก่าที่ 1,596 จุดเป็นแนวรับร่วม
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,643 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,632 – 1,627 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
กนง.คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนในกรอบแคบๆ แรงซื้อขายที่มีเข้ามาอย่างไร้ทิศทาง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,652.30 จุด ลดลง 7.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.48 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นและระยะกลางเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,642 – 1,632 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลง ราคาหุ้น APPLE ดิ่งลง 2.82% (ราคาหุ้นแอ๊ปเปิ้ลจากต้นเดือนตุลาคมปรับลดลง 19.51% เริ่มเข้าสู่ภาวะตลาดหมี) ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์กซบเซา
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดผันผวนแคบๆ เหนือแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,642 จุด การเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ดัชนีตลาดมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,632 จุดเป็นแนวรับถัดไป มูลค่าการซื้อขายที่ลดลงทำให้สัญญาณลบทางเทคนิคัลลดลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,646 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวผันผวนในทิศทางปรับตัวลง
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พิษเศรษฐกิจโลก
แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้นที่มีเข้ามาหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดตัวลงแตะแนวรับทางเทคนิคัลที่ 1,642 จุด หนุนดัชนีตลาดกลับขึ้นมาปิดในแดนบวกที่ 1,659.78 จุด เพิ่มขึ้น 4.93 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.67 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นและกลางที่เป็นลบ ชี้ว่าดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดผสมมีทั้งลบและบวก ราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง 7 เปอร์เซ็นต์ฉุดตลาดหุ้นทรุดตัวลงตาม
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังดัชนีตลาดทรุดตัวลงทดสอบแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,642 จุด แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย และดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลง
ดัชนีตลาดมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,632 จุด (คำนวณระหว่างจุดต่ำที่ 1,596 จุด กับจุดสูงที่ 1,688 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวผันผวนลงเข้าหาแนวรับที่ 1,642 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,665 – 1,670 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,653 – 1,648 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวผันผวนในทิศทางปรับตัวลง
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดหุ้นทรุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดตัวลงปิดที่ 1,654.85 จุด ลดลง 13.67 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 2.88 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,642 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐถ่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นเทคโนโลยี่ฉุดตลาดหุ้นวอลล์สตรีททรุดตัวลง ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามอุปสงค์น้ำมันที่ลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% และ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,653 จุด และ 1,642 จุด ตามลำดับ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่า แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville
สัญญาณทางเทคนิคัลที่เริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง แต่มูลค่าการซื้อขายที่ลดลงมาก จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,642 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,648 – 1,642 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลที่เริ่มกลับมาเป็นลบแต่มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 2.8 หมื่นล้านบาท จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงต่อ
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังเปิดสูงปิดต่ำ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดตลาดช่วงเช้าในแดนบวก แต่ตลาดกลับเผชิญแรงขายหุ้นกลุ่มนำตลาดในช่วงบ่าย ฉุดดัชนีตลาดดิ่งลงปิดในแดนลบที่ 1,669.33 จุด ลดลง 1.25 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นกำลังทดสอบแนวต้านที่ 1,680 จุด จึงควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก นักลงทุนเฝ้าติดตามผลการเลือกตั้งกลางเทอม ค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนตัวลงเล็กน้อย ขณะที่ราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำปรับตัวลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,680 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัลเป็นครั้งที่สอง แท่งเทียนเปิดสูงปิดต่ำและมีเงาส่วนบน สะท้อนถึงแรงขายระยะสั้น ดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville ระยะสั้นจึงควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
เมื่อจุดต่ำที่ 1,596 จุด กับจุดสูงที่ 1,687 จุดมาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Ratio จะได้แนวรับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,652 จุด, 1,642 จุด และ 1,631 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,675 – 1,680 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,664 – 1,658 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
1,680 จุดวัดใจ
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,670.58 จุด ลดลง 11.26 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.78 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นกำลังทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,680 จุด ระยะสั้นควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 23 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดมีทั้งบวกและลบ ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปิดตลาดในแดนบวก ขณะที่หุ้นเทคโนฯและอินเตอร์เน็ทฉุดแนสแดคลงปิดในแดนลบ นักลงทุนให้ความสนใจผลการเลือกตั้งกลางเทอมในวันที่ 6 นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงแบบมีช่องว่าง (Gap) หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,680 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Doji สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน หากดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น (MMA2) แต่ถ้าเปิดสูงปิดต่ำจะเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงของการเกิดคลื่นปรับ (Corrective wave) ซึ่งมีโอกาสจะพักตัว 3 รูปแบบ รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,676 – 1,681 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,665 – 1,660 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อเริ่มสะดุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) โดยคลื่น (ii) จะต้องไม่ต่ำกว่าจุดต่ำที่ 1,584 จุด (ซึ่งเป็นไปตามหลักการนับคลื่นเอลเลียต คลื่น 2 ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มขึ้นของคลื่น 1) โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวรับถัดไป
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,584 จุด จะนับคลื่น 4,C จบที่ 1,584 จุด คลื่น (i) จบที่ 1,765 จุด และคลื่น (ii) ต้องไม่ต่ำกว่า 1,584 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด จะต้องปรับการนับคลื่นใหม่ โดยคลื่น A จบที่ 1,584 จุด คลื่น B จบที่ 1,765 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเป็นคลื่น 4,C ที่ต่ำกว่า 1,584 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,680 จุด และมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,700 จุดเป็นแนวต้านถัดไป กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น MMA2 หลายครั้งแล้วไม่ผ่าน ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,600 – 1,584 จุดเป็นแนวรับถัดไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,680 – 1,700 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,690 – 1,700 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,675 – 1,670 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,680 – 1,700 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,680 จุด และมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,700 จุดเป็นแนวต้านถัดไป ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,680 - 1,700 จุด หากดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ดัชนีตลาดจะปรับลดลงซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville ระยะสั้นจึงควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงดัชนีตลาดจะมีแนวรับสำคัญสองแนว คือ แนวรับแรกอยู่ที่ 1,640 – 1,620 จุด แนวรับที่สองอยู่ที่ 1,600 – 1,584 จุด กรณีนี้ดัชนีตลาดต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 – 1,584 จุด กรณีนี้ดัชนีตลาดต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด หากดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดจะแกว่งตัวลงแบบ ABC โดยคลื่น A จบที่ 1,584 จุด และดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่น C หรือ คลื่น 4,C โดยคลื่น C ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,680 – 1,700 จุด ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ชี้ว่าดัชนีตลาดระยะกลางขึ้นไปยังขาดทิศทางที่ชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,674 – 1,680 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,660 – 1,655 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Technical Rebound
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลงที่ 1,641 – 1,658 จุด หลังจากดัชนีตลาดดิ่งลงทดสอบเป้าหมาย 161.8% Fibonacci projection ที่ 1,602 จุด แรงซื้อเก็งกำไรที่มีเข้ามาหนุนดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดสูงที่ 1,644 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville หลังจากดัชนีตลาดทรุดตัวลงห่างจากเส้น MMA2
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,765 จุดกับจุดต่ำที่ 1,596 จุด มาวิเคราะห์แนวต้านด้วย Fibonacci Ratio จะได้แนวต้าน 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci retracement อยู่ที่ 1,661 จุด, 1,680 จุด และ 1,700 จุด ตามลำดับ
คลื่นเอลเลียตแบบที่ 1
จากกราฟรายวัน สามารถมองและนับคลื่นเอลเลียตได้สองแบบ แบบแรกดัชนีตลาดสามารถจบคลื่น (ii),(c) และดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,584 จุด ซึ่งเป็นจุดจบของคลื่น 4,C
คลื่นเอลเลียตแบบที่ 2
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,584 จุด แสดงว่าดัชนีตลาดยังไม่จบคลื่น 4 ที่จุด 1,584 จุดเป็นการปรับตัวลงเป็นคลื่น A) คลื่น B) จบที่ 1,765 จุด และดัชนีตลาดที่ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด กำลังปรับตัวลงเป็นคลื่น 4,C)
ทั้งสองแบบจะยืนยันการจบคลื่นด้วยสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกินเป็นรูป W-shape (เป็นสัญญาณซื้อสำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น) ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,651 – 1,658 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,633 – 1,625 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กลับเข้าตลาดเพื่อทยอยซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI บนกราฟรายวัน
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยลบรุมเร้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงแบบมีช่องว่าง (Gap) หลุดแนวรับ 61.8% Fibonacci retracement ที่ 1,653 จุด และปรับตัวลงต่ำกว่าเป้าหมาย 100.0% Fibonacci projection ที่ 1,647 จุด และกำลังปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,616 จุด และมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci projection อยู่ที่ 1,602 จุด
การเกิดช่องว่าง (Gap) ขาลงร่วมกับการเกิดภาวะขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ การที่ดัชนีตลาดทรุดตัวลงและห่างจากเส้น MMA2 จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงเข้าหาเป้าหมาย 161.8% Fibonacci projection ที่ 1,602 จุด ตามหลักการของคลื่นเอลเลียต คลื่น (c) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น (a) คลื่น (c) หรือคลื่น (ii),(c) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,602 จุด
ตามหลักการคลื่น (ii) จะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,584 จุด หากดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด จะต้องนับคลื่นใหม่ โดยจุดต่ำที่ 1,584 จุดเป็นคลื่น A จุดสูงที่ 1,765 จุดเป็นคลื่น B และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น 4,C
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,636 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,616 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ และจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI บนกราฟรายวัน
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ส่งออกสะดุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ดัชนีตลาดสร้างจุดสูงยกลงต่ำ (Lower High) ดัชนีตลาดแกว่งลงไปตามแนวโน้มขาลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci retracement ที่ 1,653 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,647 จุด ซึ่งเป็นแนวรับที่เกิดจาก 100.0% Fibonacci projection ปริมาณการซื้อขายลดลงและปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน
การเกิดแท่งเทียนเป็น Long Bearish Candlestick 4 แท่งต่อเนื่อง สะท้อนถึงข่าวร้ายที่มีเข้ามากระทบตลาด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,653 จุด และ 1,647 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) คลื่น (iv) และคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน กระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,664 – 1,670 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,653 – 1,647 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อ RSI เกิดสัญญาณ Bullish divergence โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,653 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ภาวะตลาดหมี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปรับตัวลงตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดระยะสั้นกำลังปรับตัวเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci retracement ที่ 1,675 จุด และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,666 จุด
ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,675 – 1,653 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดจะมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,675 – 1,653 จุด ก่อนจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) คลื่น (iv) และคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,675 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,688 – 1,696 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,675 – 1,670 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อ RSI เกิดสัญญาณ Bullish divergence โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวอยู่ในกรอบ 1,675 – 1,653 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แผ่ว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำแท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 38.2% Fibonacci retracement ที่ 1,696 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,675 จุด ซึ่งเป็นแนวรับของ 50.0% Fibonacci retracement และจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,666 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,675 – 1,653 จุด ก่อนจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) คลื่น (iv) และคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,702 – 1,708 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,688 – 1,680 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อ RSI เกิดสัญญาณ Bullish divergence โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวอยู่ในกรอบ 1,675 – 1,653 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci retracement ที่ 1,696 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงขณะที่มูลค่าการซื้อขายลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล (Technical Rebound) สลับกับการปรับตัว
ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,675 จุด และ 1,653 จุด (เป็นแนวรับของ 50.0% และ 61.8% Fibonacci retracement ตามลำดับ) และมีแนวรับของจุดต่ำเก่าอยู่ที่ 1,666 จุด ดังนั้น จากนี้ไปดัชนีตลาดจะมีแนวรับอยู่ที่ 1,675 จุด, 1,666 จุด และ 1,653 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,375 จุด, 1,666 จุด และ 1,653 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นด้วยสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii), คลื่น (iv) และคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,705 – 1,710 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,688 – 1,680 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อ RSI เกิดสัญญาณ Bullish divergence โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวอยู่ในกรอบ 1,653 – 1,675 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Redemption
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงแบบมีช่องว่าง (Gap) และดัชนีตลาดกำลังปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 50.0% Fibonacci retracement ที่ 1,675 จุด และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,666 จุด เส้นแนวโน้มขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,705 จุด+/-
แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Bottom ในเขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ซึ่งจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลงต่อ โดยดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,666 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,675 จุด, 1,666 จุด และ 1,653 จุด ตามลำดับ สัญญาณปลายตลาดของคลื่น (ii) จะดูจากการเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)-(iv)-(v) โดยคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ยังมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้นหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,690 – 1,696 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,673 – 1,666 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,666 จุด สลับกับการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลระหว่างวัน
ยังคงแนะนำให้เน้นถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI