USDTHBหลังจากที่ค่าเงินบาท แข็งค่าลงไปอยู่ที่ 29.716 บาท โดยประมาณ ซึ่งถือเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 7 ปี ที่ผ่านมา
นับตั้งแต่มีการอ่อนค่ามาในช่วงปลายปี 2013 จนมีข่าวออกมาในช่วงปลายๆเดือนมกราคม ถ้าผมจำไม่ผิด
ว่าน่าจะมีการแทรกแซงเงินบาท จนทำให้มีการอ่อนค่ามาอยู่ในช่วง 31.221 บาท ซึ่งเป็นราคาปิดของเดือน มกราคม 63 ที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนก็ยังคงเป็นกังวล เนื่องจากค่าเงินบาทนั้นยังคงอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ยาก
ล่าสุดในวันนี้ ทางแบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1% เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
โดย มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 1.25% เหลือ 1.00% ซึ่งยังไม่เคยมีครั้งไหนที่มีดอกเบี้ยต่ำเท่านี้มาก่อน
ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหตุผลไว้ว่า เป็นเพราะ เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำกว่าคาด จากผลกระทบต่างๆดังนี้
- ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
- การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
- ความล่าช้าของ พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563
- ภัยแล้งภายในประเทศ
นอกจากนี้เสถียรภาพระบบการเงินมีความเปราะบางมากขึ้น จากแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจรวมถึงเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเกณฑ์
ดังนั้น การลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาภาระดอกเบี้ยแก่ภาคธุรกิจและครัวเรือน และทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต
=================================
ในส่วนปัจจัยเชิงเทคนิค
การปรับตัวขึ้นในช่วงเดือน มกราคา 2563 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ในภาพรวมระยะยาว
ซึ่งบ่งบอกว่า การแข็งค่าของเงินบาทนั้นมีแนวโน้มที่จะพักตัว และกลับไปอ่อนค่ามากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาได้มีการปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 78.6 retracement
ซึ่งการกลับขึ้นไปนั้นมีความเป็นไปได้น้อย ที่จะขึ้นไปทำ จุดสูงสุดใหม่ เมื่อเทียบกับ จุดสูงสุดก่อนหน้าในช่วงเดือน ตุลาคม 2558
ดังนั้นสัดส่วนในการกลับขึ้นไปจะอยู่ที่ 61.8 - 100 Fib retracement หรือที่ 34.013 - 36.668 โดยประมาณ
ซึ่งทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเชิงเทคนิค นั้นมีความสอดคล้องกัน โดยในระกลาง เงินบาทน่าจะมีโอกาสกลับไปอ่อนค่าที่ประมาณ 34 บาท ต่อ ดอลลาร์ได้ เพื่อช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจ และ ภาคการลงทุน ให้ดีขึ้นจากนี้
Longtunhub
BTC Short-TermBitcoin
ภาพรวมระยะสั้นราคายังคงผันผวนอยู่กรอบ 9,550 - 9,240 ดอลลาร์
โดยล่าสุดราคามีการพักตัวในรูปแบบของ Sideway Down โดยมีการเบรคกรอบลงไปทำ Swing low ไว้ที่ 9,112 ดอลลาร์ โดยประมาณ ก่อนจะกลับเข้ามาในกรอบพักตัวอีกครั้ง
การเบรคกรอบลงไปในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแรงของราคา ดังนั้นโอกาสที่จะเบรคลงไปต่อเริ่มมีให้เห็นมา่กกว่าในระยะสั้นนี้
กรณีเบรคลงไปมีโอกาสที่จะปรับตัวลงไปที่บริเวณ 8,500 - 8,000 ดอลลาร์ ซึ่งไม่ควรลงไปต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้มีโอกาสลงไปวิ่งในแนวโน้มขาลงตามเดิมได้มากขึ้น
หากจะปรับตัวขึ้นไปต่อในระยะกลาง - ระยะยาว ราคาจะต้องเบรคขึ้นไปยืนเหนือ 9,500 - 9,800 ดอลลาร์ให้ได้
XAUUSDทองคำปรับตัวลงติดต่อกันสองวัน หลังจากที่แบงก์ชาติจีนประกาศอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดการเงินผ่านทางข้อตกลง reverse repo
นอกจากนี้ยังมีการเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
โดยมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี (LPR) ในวันที่ 20 ก.พ. และจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของสถาบันการเงิน (RRR) ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
นอกจากนี้ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้เปลี่ยนมุมมองของเขาที่มีต่อนโยบายการเงิน และภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ
ในส่วนของดอลลาร์ ยังคงมีความแข็งค่าขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น จึงทำให้เป็นปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำมีการปรับตัวลง
ซึ่งความผันผวนนี้จะยังคงอยู่ไปจนกว่าจะผ่านช่วงการประกาศ NFP ในวันศุกร์นี้
ทางด้านปัจจัยเชิงเทคนิค
ราคามีการปรับตัวลงมาอยู่บริเวนโซนแนวรับ โดยในส่วนของ Indicator มีสัญญาณ Bearish Divergence จาก RSI บ่งบอกว่า ในระยะใกล้ราคาอาจจะ พักตัวอยู่ที่บริเวณแนวรับ
ในส่วนของการรีบาวน์นั้น อาจจะไปได้ไม่ไกลนักเนื่องจาก โมเมนตัมในฝั่งขาขึ้นนั้น ได้ลดลงไป และมีโอกาสที่จะปรับตัวลงต่อหากมีการเบรคโซนแนวรับนี้ลงไป
GBPUSDปอนด์ปรับตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ BoE มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.75% ซึ่งเป็นมติ 7 ใน 2 เสียง
ในแถลงการณ์มีการระบุว่า เศรษฐกิจอังกฤษได้ฟื้นตัวขึ้น หลังการเลือกตั้งในเดือนธ.ค. ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพ
โดยจากการแถลงนั้นยังสื่อได้ว่า BoE จะยังไม่มีแนวโน้มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะนี้
อย่างไรก็ตามในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว เศรษฐกิจอังกฤษยังไม่มีการขยายตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองในขณะนั้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป
และการเลือกตั้งที่มีขึ้นในเดือน ธ.ค. 62
ส่วนในปีนี้ทาง BoE คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะมีการขยายตัวเพียง 0.8% ในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงิน แต่จะฟื้นตัวในช่วงท้ายปี แตะระดับ 1.2% ในไตรมาส 4
นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางการค้าในช่วงหลัง Brexit จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว
หากพูดถึง Brexit นั้นในเวลา 05.00 น. ตามเวลาในไทย ในอังกฤษจะมีการฉลองเนื่องในโอกาสการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป หลังจากที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป มานานถึง 47 ปี
ในช่วง 11 เดือนต่อจากนี้ เรายังคงต้องคอยจับตาดูในเรื่องของการเปลี่ยนผ่าน ระหว่างอังกฤษ กับ สหภาพยุโรป พอสมควร
เนื่องจาก อังกฤษจะยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายของ EU เหมือนกับประเทศสมาชิกอื่นๆของ EU แต่จะไม่มีสิทธิส่งตัวแทนเข้าไปนั่งในองค์กรของ EU
และ อังกฤษกับอียูต้องเจรจากันในทุกประเด็น ตั้งแต่การค้าไปจนถึงความมั่นคงเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่
นอกจากนี้เศรษฐกิจอังกฤษในระยะสั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์สำคัญด้วย เช่น การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน
และความเสียหายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
============
ในส่วนของปัจจัยเชิงเทคนิค ในระยะสั้น การเบรคกรอบสามเหลี่ยมขึ้นมาส่งผลให้ ปอนด์ มีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบโซนแนวต้านอีกครั้ง ที่ 1.325 - 1.336 โดยประมาณ
หากยังไม่สามารถเบรคไปได้ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงมาอีกครั้ง เนื่องจากยังมีในหลายๆปัจจัยที่ยังเป็นแรงกดดันต่อภาพรวมของอังกฤษอยู่
XAUUSD Short-termFED ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75%
ข้อมูลตามรายงานที่ออกมามีดังนี้
- ทางด้านตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง
- รายได้ของงานโดยเฉลี่ยค่อนข้างคงที่
- อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ
- การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง
- การลงทุนของภาคธุรกิจคงที่
- ภาคการส่งออกยังคงอ่อนแอ
- อัตราเงินเฟ้อโดยรวมและอัตราเงินเฟ้อสำหรับรายการอื่นที่ไม่ใช่อาหารและพลังงานนั้นต่ำกว่าร้อยละ 2
- มาตรการชดเชยเงินเฟ้อตามตลาดยังอยู่ในระดับต่ำ
- มาตรการตามการสำรวจความคาดหวังเงินเฟ้อในระยะยาวมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
คณะกรรมการตัดสินว่าจุดยืนของนโยบายการเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสมที่จะสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้สภาวะตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับไปสู่เป้าหมายที่สมมาตรร้อยละ 2
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการจะยังคงติดตามผลกระทบของข้อมูลสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจรวมถึงการพัฒนาทั่วโลกและความกดดันด้านเงินเฟ้อเพื่อประเมินเส้นทางที่เหมาะสม
GBPUSDปอนด์ถูกกดดันอีกครั้ง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นขานรับ ปัจจัยหนุนจาก ความเชื่อมั่นในภาคการผลิตของอังกฤษพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปีในช่วงเดือนพ.ย.2562-ม.ค.2563
โดยล่าสุดราคามีการปรับตัวลงหลังจากที่ กระบวนการเจรจากันในการออกจากสหภาพยุโรปได้เริ่มมีการลงนามเรียบร้อยแล้ว
แต่ อย่างไรก็ดี ยังต้องรอให้รัฐสภายุโรป (EU) เปิดโหวตรับรองข้อตกลงดังกล่าวด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. นี้
นอกจากนี้นักลงทุนยังคาดการณ์ว่า BoE อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จึงเป็นปัจจัยทำให้ราคามีการปรับตัวลง
ระยะสั้นมีแนวรับอยู่ที่ 1.3000 และแนวรับถัดไปที่ 1.280 - 1.273 โดยประมาณ
SETราคายังคงปรับตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยในช่วงวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมาราคามีการรีบาวน์ขึ้นมาทดสอบบริเวณเส้น Bearish Trendline ที่เป็นเส้นแนวต้านของแนวโน้มขาลง
ซึ่งราคายังไม่สามารถเบรคขึ้นไปได้และถูกกดกลับลงมาอีกครั้ง บ่งบอกได้ว่าราคายังคงมีโอกาสปรับตัวลงไปต่อได้มากกว่า
โซนแนวรับระยะยาว เฉลี่ยอยู่ที่ 1596 - 1537 โดยประมาณ
GBPUSDในช่วงก่อนหน้าปอนด์มีการปรับตัวลงจากบริเวณโซนแนวต้านด้านบน และพักตัวในกรอบสามเหลี่ยม และมีโอกาสปรับตัวลงจาก
การเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ และ ปัจจัยการคาดการณ์ว่า ทางธนาคารกลางมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ล่าสุดราคาได้ปรับตัวเบรคกรอบสามเหลี่ยมขึ้นมาหลังจากได้ปัจจัยหนุนจาก
ความเชื่อมั่นในภาคการผลิตของอังกฤษพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปีในช่วงเดือนพ.ย.2562-ม.ค.2563
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตพุ่งแตะระดับ +23 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2557 จากระดับ -44 ในเดือนต.ค.2562
ซึ่งการเบรคขึ้นมาทำให้ในระยะใกล้ ราคามีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบโซนแนวต้านสำคัญอีกครั้งที่บริเวณ 1.325-1.336 โดยประมาณ
DJIดัชนีดาวโจนส์ ยังคงปรับตัวทำ ATH อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา
โดยปัจจัยหนุนนั้นมาจาก
- ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และผลประกอบการที่ดีเกินคาดของภาคธนาคาร
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการที่วุฒิสภาสหรัฐให้การอนุมัติข้อตกลงการค้าสหรัฐ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA) รวมทั้งมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐและจีน
- ข้อมูลเศรษฐกิจของจีนที่ดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามยังมีความเป็นห่วงว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพ.ย. อาจกลายทำให้ตลาดผันผวนอีกครั้ง
XAUUSDทองคำหลังจากขึ้นไปทำ ATH ที่ 1611 ของปีนี้ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ก็มีการพักตัวแคบๆอยู่แถวๆ 1550 โดยประมาณ
ซึ่งการขึ้นไปทำ ATH ที่ผ่านมานั้นยังเป็นการขึ้นไปทดสอบโซนแนวต้านของภาพรวมในระยะยาวอีกด้วย
การปรับตัวเบรคกรอบแนวโน้มขาลงในช่วงปลายเดือน ธันวาคม 2019 ในช่วงที่ผ่านมานั้นได้รับปัจจัยหนุนมาจาก
ความขัดแย้งระหว่าง สหรัฐฯ กับ อิหร่าน รวมไปถึงความกังวัลในเรื่องของสงครามการค้า ระหว่าง สหรัฐ กับ จีน
ทำให้เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาทำ ATH
หลังจากทำ ATH ราคามีการพักตัวและปรับตัวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนคลายกังวน ในเรื่องของ Trade war ที่ทาง สหรัฐ กับ จีน ได้มีการเซ็นสัญญาลงนามกันในเฟส 1 เรียบร้อยแล้ว
(แอบเสียวตกที่พี่ สีจิ้นผิง ไม่ได้มาด้วยตัวเอง 55) โดยในส่วนของเฟส 2 อาจจะมีการพูดคุยกันหลังจากมีการเลือกตั้งของสหรัฐ ผ่านไปแล้ว
นอกจากนี้การไม่ตอบโต้กลับอิหร่าน แต่จะใช้มารตการคว่ำบาตรแทนนั้น ทำให้นักลงทุนหลายคน คลายกังวัลในเรื่องเหตุบานปลายที่อาจทำให้เกิดสงครามขึ้น
ปัจจัยในข้างต้นนี้จึงทำให้ ราคาทองคำพักตัวในช่วงที่ผ่านมา และนอกจากนี้ราคาทองคำยังคงถูกกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐและจีน
แต่ในขณะเดียวกัน นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนนี้
** Bias **
จากปัจจัยทั้งหมด อาจบอกได้ว่า ในระยะสั้น - ระยะกลาง อาจเห็นการปรับตัวลงเล็กน้อย หรือ อาจเห็นการพักตัวออกข้างไปก่อน
ส่วนในระยะยาวคาดว่ายังมีโอกาสที่ทองคำจะปรับตัวขึ้นไปต่อได้อีก
GBPUSD ปอนด์ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อ หลังจากที่โครงสร้างของแนวโน้มขาขึ้นได้เปลี่ยนไปหลังจากราคาทำ Lower High ให้เห็นช่วงสิ้นปี 2019 ที่ผ่านมา
ในช่วงครึ่งเดือนแรกของ เดือน มกราคม 2020 ที่ผ่านมานี้ ราคามีการปรับตัวลงมาและเริ่มพักตัวเล็กน้อยในสัปดาห์นี้
การพักตัวของราคาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เกิดกรอบสามเหลี่ยมแบบ symmetrical triangle โดยมีแนวรับอยู่ที 1.296 และมีแนวต้านอยู่ที่ 1.310 โดยประมาณ
นอกจากนี้ยังมีโซนแนวต้านสำคัญที่กดให้ราคาปรับตัวลงมาตั้งแต่ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.325 - 1.336 โดยประมาณ ซึ่งเป็นแนวโซนแนวต้านของภาพรวมระยะยาวตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย. 2018 - ปัจจุบัน
หากราคาเบรคกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปได้ ก็มีโอกาสที่จะขึ้นไปทดสอบโซนแนวต้านในระยะยาวที่ 1.325 - 1.336 ได้อีกครั้ง
แต่ถ้าหากราคาเบรคกรอบสามเหลี่ยมลงไป ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงไปต่อได้ที่บริเวณ 1.250 โดยประมาณ ซึ่งเป็นโซนแนวรับในระยะกลาง
ในส่วนของ Indicator
MACD ยังคงมีโมเมนตัมอยู่ด้านล่าง และ RSI ก็ปรับตัวลงมาต่ำกว่า 50 บ่งบอกว่าโมเมนตัมของราคานั้นยังอยู่ในฝั่งของ Bearish
ดังนั้นภาพรวมยังคงมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงไปต่อได้มากกว่า จากปัจจัยเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้น
ในส่วนของปัจจัยพื้นฐานนั้น หลังจากที่ก่อนหน้ามีรายงานว่า
สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ ส่งสัญญาณว่า เขาจะลงมติสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากตัวเลขเศรษฐกิจไม่ได้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษได้ฟื้นตัวขึ้น
ซึ่งถือเป็นการขานรับท่าทีของนายมาร์ก คาร์นีย์ ผู้ว่าการ BoE ซึ่งได้ส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอังกฤษ
ซึ่งที่ผ่านมา BoE ยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่ปี 2559 และเป็นธนาคารกลางขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่ได้คงอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2562
นอกจากนี้การประกาศตังเลขทางเศรษฐกิจที่ผ่านมายังออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจมีผลมาจาก ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธ.ค.
ดังนั้น นักลงทุนจึงคาดหวังว่าทาง BoE อาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยได้ จึงทำให้ภาพรวมทั้งหมดจากทั้ง ปัจจัยเชิงเทคนิค และปัจจัยพื้นฐาน ชี้ไปในทางที่ว่า GBP มีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้ต่อในระยะกลาง - ระยะยาว
XAUUSD LONG-TERM BASED Fibonacci Analysisทองคำในภาพรวมระยะยาว อิงจากการปรับตัวตามสัดส่วนของ Fibonacci
โดยหากเราดูจากการปรับตัวในครั้งก่อนช่วงเดือน สิงหาคม 18 - พฤษภาคม 19 ราคามีสัดส่วนในการพักตัวอยู่ที่ระดับ 38.2 Fib retracement
ก่อนจะมีการปรับตัวขึ้นไปต่อที่ 161.8 Fib projection โดยเป็นการทำ ATH ในปี 19 และพักตัวอีกครั้ง
ซึ่งในช่วงการพักตัวหลังจากทำ ATH ในปี 19 ที่ผ่านมา ราคาพักตัวอยู่ในสัดส่วน 38.2 Fib retracement โดยอิงจากการปรับตัวขึ้นมา หลังจากพักตัวในช่วงเดือน พฤษภาคม 19
ดังนั้นเราจะเห็นว่า การพักตัวในช่วงที่ผ่านมานั้น ยังคงอยู่ในสัดส่วนของ Golden raito ( 38.2 - 61.8 retracement ) ทำให้รอบนี้เราสามารถวัด Projection ได้เหมือนรอบก่อน ซึ่งคาดหวังสัดส่วนการปรับตัวขึ้นไปที่
100-161.8 FIb projection หรือที่ประมาณ 1736 - 1916 โดยประมาณ ซึ่งจะเป็นโซนแนวต้านสำคัญในระยะยาวของราคาพอดี โดยเป็นแนวต้าน และจุด ATH ของปี 11-12
อย่างไรก็ตามตอนนี้ราคายังคงอยู่ในโซนแนวต้านที่เคยเป็นโซนแนวรับในช่วง ปี 11 - 12 เช่นกัน ฉะนั้นถ้าเบรคขึ้นไปยืนเหนือโซนนี้ได้จะทำให้มี Potential พอสมควรที่จะไปต่อตามเป้าคาดการณ์จาก Fib projection
ในส่วนของ Indicator
ทาง MACD โมเมนตัมกลับขึ้นมาในฝั่ง Bullish แต่ยังคงเกาะอยู่บริเวณ 0
ส่วน RSI โมเมนตัมส่วนใหญ่ยังอยู่ในฝั่ง Bullish
NZDUSD หลังจากมีการปรับตัวขึ้นมาทดสอบบริเวณโซนแนวต้านในภาพรวมระยะกลาง - ระยะยาวนั้น ที่บริเวณ 0.67 - 0.675 โดยราคายังไม่สามารถเบรคขึ้นไปต่อได้
ส่งผลทำให้ราคามีโอกาสที่จะกลับลงไปทดสอบโซนแนวรับอีกครั้งที่บริเวณ 0.649 - 0.643
จากภาพรวมหากราคายังไม่สามารถเบรคโซนแนวต้านด้านบนได้ การหาจังหวะเล่น Sell ในระยะสั้น - ระยะกลาง จะมีความได้เปรียบกว่า
GBPUSDค่าเงินปอนด์ นั้นหลังจากมีการปรับตัวขึ้นมาทดสอบบริเวณโซนแนวต้านในภาพรวมระยะกลาง - ระยะยาวแล้วนั้น
ราคายังไม่สามารถเบรคขึ้นไปต่อได้ โดยมีการ Reject ราคาลงมาในรอบแรก ก่อนจะมีการรีบาวน์กลับขึ้นไป สร้าง Lower High ให้เห็น
ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในแนวโน้มภาพรวมระยะกลาง ที่มีโอกาสกลับไปเป็นแนวโน้มขาลง
ทั้งนี้ถ้าลองมองประกอบกับ Fib projection จากการปรับตัวในสัดส่วนของ ABC : D แล้วนั้น จะเห็นว่าการปรับตัวขึ้นมาของราคาอยู่ในสัดส่วนของ 200 Fib projection
ซึ่งถือว่ารอบการขึ้นนั้นมีโอกาสที่จะจบรอบ หรือพักตัวอีกครั้ง โดยการพักตัวตรงนี้จะแบ่งออกเป็นสองกรณีดังนี้
กรณีที่ 1 คือ ราคาพักตัวออกข้างอยู่บริเวณแนวรับระยะสั้นที่ 1.28 - 1.30 โดยประมาณ ซึ่งถ้าไม่หลุดแนวรับนี้จะถือเป็นการพักตัวเพื่อไปต่อตามแนวโน้มเดิม
กรณีที่ 2 คือ ราคาพักตัวและเบรคแนวรับบริเวณ 1.28 - 1.30 ลงไป ซึ่งการเบรคลงไปนั้นจะทำให้เกิดการทำ Lower low ซึ่งจะเป็นการคอนเฟิร์มการเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลง
ซึ่งการพักตัวและเบรคลงไปทำ Low ใหม่แบบนี้ จะเรียกว่าเป็นการพักตัวเพื่อเปลี่ยนแนวโน้ม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ราคาทำ Lower high มาให้เห็นก่อนแล้วนั้นจะทำให้การเล่นในฝั่ง Sell ได้เปรียบกว่า
หากลองในมุมปัจจัยหนุน จะเห็นว่าในฝั่งของดอลลาร์เห็น ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆนั้นออกมาในเชิงบวก รวมทั้งการแถลงของ FED ที่ผ่านมายังคงยืนยันว่า เศรษฐกิจของอเมริกาฯ นั้นยังแข็งแกร่ง
ส่วนทางด้านปอนด์เองยังมีปัญหาภายใน ในเรื่องของ Brexit ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ ทั้งปัจจัยเชิงเทคนิค และปัจจัยหนุนจะสอดคล้องกัน และบ่งชี้ให้เห็นว่า สกุลเงินปอนด์นั้นยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับ ดอลลาร์นั้นเอง
XAUUSDราคาทองคำยังคงปรับตัวในกรอบขาขึ้น ในภาพรวมระยะยาว หลังจากมีการเบรคแนวต้านในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ขึ้นมาทำ ATH ในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน 2019
อย่างไรก็ตามการปรับตัวขึ้นมาในครั้งนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนต่างๆ ทั้งในแง่ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 3 ครั้งในปี 19 และมีการคงดอกเบี้ย ในครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำอยู่
รวมถึงยังมีปัจจัยหนุนเสริมมาจากในเรื่องของ การเจรจาการค้า ที่ระส่ำระส่ายในช่วงแรก ถึงแม้ในช่วงหลังการเจรจาจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ก็ยังคงมีปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนยังกังวลกันในเรื่องของ ปัญหาระหว่าง
อเมริกาฯ กับ อิหร่าน ที่กำลังเป็นที่จำตาดูในขณะนี้ ซึ่งส่งผลให้ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2020 นี้ Fed อาจจะมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำนี้ต่อเนื่องไปในปี 2020 นี้ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้
ยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้ทองคำยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นไปต่อได้อีก
แต่อย่างไรก็ตาม ใน เชิง TA การปรับตัวขึ้นมาในครั้งนี้อยู่ใกล้กับ โซนแนวต้าน ที่เป็น ATH ในปี 2019 และมีโซนแนวต้านที่เคยเป็นแนวรับมาในช่วงปี 2011 - 2012 ดังนั้นการเข้าซื้อไล่ราคาในช่วงนี้ยังคงต้องระวัง
ในเรื่องของโอกาสการปรับตัวย่อลงมา ซึ่งมีโซนแนวรับที่เป็นจุด Higher Low อยู่ที่ประมาณ 1452 ซึ่งอาจจะเป็นโซนให้พิจารณาเข้าซื้อได้ หากมีการปรับตัวย่อลงมา
หรือ Follow Buy ในกรณีที่ราคามีการเบรค High ก่อนหน้าไปอีกครั้ง
SET ( MID-TERM )ภาพรวม SET ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลงต่อ ตามกรอบแนวโน้มขาลงในภาพรวมระยะกลาง ถึงแม้ว่าช่วงเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมาจะมีความพยายามเบรคกรอบแนวโน้มขาลงขึ้นไป
แต่ก็ไม่สามารถที่จะฟอร์มตัวทำโครงสร้างแนวโน้มขาขึ้นได้ก่อนจะเบรคกลับลงมา ทดสอบจุดต่ำสุดเดิมของเดือน พฤษภาคม ก่อนที่จะเบรคขึ้นไปในเดือน กรกฎาคม
นอกจากนี้การปรับตัวลงราคายังทำรูปแบบ Head & Shoulder ซึ่งในที่นี้จะทำหน้าที่เป็น Continue pattern หลังจาก ที่มีการพักตัวออกข้างตั้งแต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา (Sideway in Downtrend)
การคอร์นเฟิร์มรูปแบบ H&S ที่เกิดจะคอนเฟิร์มเมื่อราคาเบรค NECKLINE SUPPORT ลงไปซึ่งจะอยู่ในช่วง 1600 - 1584 จุด
ส่วนทางด้าน indicator ก่อนหน้านี้มีสัญญาณ Bullish divergence จากทั้ง MACD และ RSI ให้เห็น แต่การรีบาวน์ขึ้นมาของราคายังคงทำ Lower High ดังนั้นโอกาสที่จะกลับตัวขึ้นไปตอนนี้ค่อนข้างน้อยมาก
คาดการณ์ว่าจะเป็นเพียงการพักตัวออกข้างเพื่อลงต่อมากกว่า
GBPUSD [long-term]ปอนด์มีการปรับตัวขึ้นเมื่อวานนี้หลังจากที่ การเจรจา Brexit มีทิศทางที่ดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามการปรับตัวขึ้นมานั้นยังคงอยู่ในกรอบ Descending Channel ซึ่งบ่งบอกว่าราคายังคงปรับตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
หากมองในภาพรวมระยะยาวจะเห็นว่าราคาได้เริ่มมีการปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมาซึ่งเป็นการรีบาวน์บริเวณโซนแนวรับระยะยาว ที่ 1.20 - 1.19
โดยมีสัญญาณ Bullish Divergence เกิดนำมาก่อน จาก MACD และ RSI ซึ่งบ่งบอกถึงความอ่อนแรงของโมเมนตัมฝั่งแรงขาย
ดังนั้นจากการเกิด Divergence และราคามีการรีบาวน์จากโซนแนวรับระยะยาวซึ่งเป็นโซนแนวรับที่มีการกลับตัวเปลี่ยนแนวโน้มในช่วงเดือน มกราคม 2017
ส่งผลให้การปรับตัวขึ้นมาในช่วงนี้ค่อนข้างมีนัยสำคัญและมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแนวโน้มได้ในระยะยาว
หากลองดูในมุมของ Fibonacci สัดส่วนการปรับตัวลงมาในแนวโน้มขาลงจากจุด BC เทียบ AB นั้นมีสัดส่วนที่ 100 Fib retracement ซึ่งเป็นสัดส่วนการปรับตัวแบบ Flat
ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแนวโน้ม การปรับตัวขึ้นไปในช่วงแรกจะยังไปได้ไม่ไกลนัก โดยสัดส่วนที่คาดว่าราคาจะปรับตัวขึ้นไปได้นั้นอยู่ที่ 61.8 Fib หรือ 1.34529 โดยประมาณ
เงื่อนไขการเปลี่ยนแนวโน้ม : ราคาจะต้องเบรคกรอบ Descending Channel ขึ้นไปให้ได้เพื่อคอร์นเฟิร์มการกลับตัว โดนแนวต้านของเชเนลอยู่ที่ 1.275 - 1.277 โดยประมาณ
XAUUSD [mid-term]ทองคำยังคงปรับตัวลงตามกรอบ Descending Chnanel หลังจากที่มีการรีบบาวน์ขึ้นมาในสัปดาห์ที่แล้ว
แต่การรีบาวน์กลับขึ้นมานั้นเป็นเพียงการสร้าง Lower High ซึ่งเป็นการคอนเฟิร์มการปรับตัวลงตามแนวโน้มขาลงอย่างชัดเจน
หากมองในมุมมองเชิงเทคนิคแล้ว ราคายังมีโอกาสที่จะปรับตัวต่อไปได้เองตามแนวโน้มที่เกิดขึ้น โดยมีสัดส่วน retracement ที่มีนัยสำคัญอยู่สองจุด คือที่
38.2 Fib retracement และ 61.8 Fib retracement หรือบริเวณ 1405 และ 1311 ซึ่งทั้งสองนี้จะเป็นจุดที่มีการย่ำของราคาในช่วงก่อนหน้าซึ่งอาจทำให้
การปรับตัวลงมาของราคานั้นมีโอกาสที่จะหยุดพักตัวที่จุด retracement ทั้งสองจุดข้างต้น
ส่วนปัจจัยทางด้าน ศก ตลาดยังคงมีความผันผวนในเรื่องความไม่แน่นอนของทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน
รวมไปถึงยังต้องเฝ้าติดตามในเรื่องของ กำหนดการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่จะมีอีก 2 ครั้งถัดไปในวันที่ 29-30 ต.ค. และ วันที่ 10-11 ธ.ค.
NZDUSD [short-term]การปรับตัวขึ้นมาของราคาทำให้เกิดรูปแบบ Inverted Head and Shoulder ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้สัญญาณกลับตัว
โดยมี Neckline resistance อยู่ที่บริเวณ 0.632 - 0.634 ซึ่งถ้าราคาสามารถเบรคไปได้จะมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปบริเวณ 0.636 - 0.641 ตามสัดส่วน 61.8 และ 100 Fib projection ตามลำดับ
ทางด้าน Indicator ในส่วนของ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence นำมาก่อนหน้าแล้วบ่งบอกถึงความอ่อนแรงของโมเมนตัมในฝั่งของแรงขาย และมีโอกาสที่ราคาจะสามารถเบรคโซนแนวต้านขึ้นไปได้
อย่างไรก็ตามหากราคาปรับตัวลงต่ำกว่า 0.628 จะถือเป็นการเคลียร์รูปแบบกลับตัวที่เกิดขึ้น และมีโอกาสที่จะกลับลงไปทดสอบจุดต่ำสุดก่อนหน้าที่ 0.620
BTCUSD [ Fibonacci Analysis]**Bullish Bias** หมายถึงมุมมองฝั่ง Buliish ไม่ได้มาบอกว่ามันจะ Boom Bull นะ
_______________________
ตามหลักทั่วไปของ Fibonacci เราใช้เหมือนมันเป็นไม้บรรทัดเพื่อวัดสัดส่วนการเคลื่อนที่ของราคา ไม่ได้ใช้เพื่อบอกแนวรับแนวต้าน
**นอกเสียจากว่า มีแนวรับหรือแนวต้านมาตรงกับ สัดส่วนที่มีนัยสำคัญ เราจึงจะให้ความสำคัญกับแนวรับแนวต้านบริเวณนั้น
(ในส่วนนี้ถ้าใครเห็นต่างก็ไม่เป็นไรครับ แล้วแต่ความรู้ของแต่ละท่าน)
กำหนุดจุดต่ำสุดของปี 2018 ที่ 3,215.2 ดอลลาร์ เป็นจุด A
กำหนดจุดสูงสุดของปี 2019 ที่ 13,764 ดอลลาร์ เป็นจุด B
ทีนี้เพื่อดูสัดส่วนการย่อพักตัวของราคาที่กำลังเกิดขึ้นหลังจากทำจุดสูงสุดไปนั้น
จึงทำการวัด Retracement โดยอิงจากจุด A และ B จะพบตอนนี้ราคาปรับตัวลงมาอยู่ที่ 50 Fib retracement
ซึ่งตามหลักแล้วหากราคามีการย่อพักตัวอยู่ในสัดส่วน 38.2 / 50 / 61.8 Fib retracement จะถือว่าการพักตัวยังอยู่ในสัดส่วนที่มี Potential ในการปรับตัวขึ้นไปต่อตามแนวโน้มเดิม
ซึ่งการปรับตัวลงมาในรอบนี้อยู่ที่ระดับ 50 Fib retracement ก็ยังถือว่ายังไม่เสีย Potential ในการกลับตัวขึ้นต่อในระยะยาว
_______________________
ในส่วนของการคาดการณ์การจบรอบการพักตัวในระยะสั้นนั้นจะอิงจากการจบรอบ projection AB :CD ที่ 100 Fib
ซึ่งจุด ab:c จะต้องเด้งไม่เกินสัดส่วน 61.8 fib retracement เพื่อที่จะวัด projection ab:cd
จากในภาพ สัดส่วนของ a:b อยู่ที่ 61.8 fib retracement พอดี ทำให้เข้าเงื่อนไขการวัด projection
ที่นี้พอวัด projection ab:cd จะเห็นว่า ตอนนี้ราคาปรับตัวลงมามีสัดส่วนใกล้เคียงระดับ 100 fib projection พอดี
ซึ่งจากสัดส่วนการปรับตัวของชุดพักตัว projection ab:cd นั้น
มีความเป็นไปได้ที่ราคาจะจบรอบพักตัวบริเวณนี้ ซึ่งจะจบที่ สัดส่วน Reracement A:B ที่ 50 Fib retracement พอดี
______________________
*** ทีนี้เป็น Bias วางเป้า Projection ถ้าราคาจบการพักตัวบริเวณนี้ ก็จะได้ target ที่ 61.8 - 100 Fib projection ตามลำดับ
ส่วน 161.8 Fib นั้น ต้องโคตร Fomo จริงๆ เพราะมันต้องเบรค ATH ปี 2017 ไปด้วย 555
**** กรณีถ้าราคาจะลงไปต่อจากปัจจุบัน และไม่ให้เสีย Potential ในการกลับตัวในระยะยาว ก็หยวนเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 61.8 Fib หรือที่ 7,200 โดยประมาณ อันนี้คือหยวนสุดแล้ว
####################
ถ้าราคามีสัดส่วน Retracement A:B ต่ำกว่า 61.8 fib retracement
ก็ไม่ต้องหวังเรื่องการกลับตัวไปทำ High ใหม่แล้ว
เพราะแค่กลับไปทดสอบ High เดิมที่ 13,764 ดอลลาร์ ก็คงหืดขึ้นคอ
จะให้น้ำหนักไปทาง กลับตัวลง และ SW ออกข้างไปยาวๆมากกว่า
ทั้งหมดนี้วิเคราะห์ตามหลัก Fibonacci อย่างเดียวไม่ได้อิงจากปัจจัยอื่นๆนะครับ
ส่วนการใช้ Fibo ของใครจะแตกต่างออกไป อันนี้ก็ต้องใช้วิจารณญาณในการเก็บข้อมูลเอานะครับ ไม่ได้ชวนให้ปักใจเชื่อในบทวิเคราะห์นะ เอาไว้เป็นข้อมูลพอ
SET [long-term]ภาพรวมระยะยาวตลาด SET ยังคงน่าเป็นห่วง หลังจากที่เริ่มพักตัวตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม 2018 และปรับตัวทำ Higher low ลงมาเรื่อยๆ
จากการปรับตัวลงมาทำให้เกิดเป็นกรอบสามเหลี่ยมแบบ Descending triangle ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามที่จะเบรคขึ้นไปสองครั้งในช่วงเดือน มิถุนายน และ กันยายน ที่ผ่านมาน
แต่ก็ถูกกดลงมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามการปรับตัวลงมายังมีโซนแนวรับที่คอยพยุงราคาไว้อยู่ที่ 1590 - 1530 จุด โดยประมาณ
และหากราคายังปรับตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมแคบลงไปเรื่อยๆ โอกาสที่จะ Breakdown และเปลี่ยนแนวโน้มจะมีมากขึ้น
DJI [long-tem]เมื่อวานนี้ดาวโจนส์ปรับตัวลงมา -494 จุด ก่อนจะมีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ประมาณ +122.4 จุด
ซึ่งภาพรวมในสัปดาห์ยังคงเป็นการปรับตัวลงมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์อยู่ราวๆ -619.2 จุด
ภาพรวมระยะยาวยังคงอยู่ในช่วงพักตัวหลังจากที่ปรับตัวเป็นขาขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2016 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีการพักตัวตั้งแต่ปี 2014 - 2015
โดยการพักตัวในครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 87 สัปดาห์ หรือเกือบๆ 2ปี นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มกราคม 2018
การพักตัวในช่วงที่ผ่านมายังคงมีการแกว่งตัวให้เห็นเป็นระยะ จากจุด False Break ที่มาร์คลูกศรไว้
โดยช่วงที่ผัวผวนที่สุดจะเป็นช่วงเดือน ธันวาคม 2018 ซึ่งมีการปรับตัวลงมา -1943.5 จุด โดยประมาณ ก่อนที่จะมีการรีบาวน์กลับขึ้นไปในช่วงปลายเดือน ธันวาคม'18 - กลางเดือน มกราคม'19 ถือว่าเป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างเร็วพอสมควร
ภาพรวมในช่วงนี้ถึงแม้จะยังอยู่ในช่วงพักตัวในกรอบสามเหลี่ยม และมีจังหวะ False Break ให้เห็นบ้างแต่ก็ยังถือเป็นการพักตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
โดยมีช่วงแนวต้านของกรอบสามเหลี่ยมอยู่ที่ 26637 จุด และมีแนวรับของกรอบอยู่ที่ 25000 จุด โดยประมาณ
ในระยะใกล้ราคายังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่อไปอีกสักระยะ
AUDUSD (Long-term)ภาพรวมระยะยาว ราคายังคงปรับตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยมีการปรับตัวลงมาบริเวณโซนแนวรับระยะยาวที่ 0.692 - 0.634 ดอลาร์
ถึงแม้ว่าจะมีการปรับตัวลงมาบริเวณโซนแนวรับ แต่จากการปรับลด Cash rate ลงมาเมื่อวานจาก 1.00% เหลือ 0.75% จะทำให้ค่าเงิน AUD ยังคงอ่อนค่าอยู่ ดังนั้นภาพรวมราคาจะยังมีแนวโน้มทีอาจเป็น Sideway in downtrend ไปอีกสักระยะ
การกลับตัวเพื่อเปลี่ยนแนวโน้ม ราคาจะต้องเบรคกรอบ Descending channel ขึ้นไปให้ได้เพื่อที่จะกลับตัวในระยะยาว