[แกะหุ้นเด้ง pt.2] เล่า BizModel+งบ กับ Evolution หุ้น 100 เด้ง Evolution AB ตำนานหุ้น 100 เด้ง และเป็น หุ้น 10 เด้งใน 5 ปี
.
บริษัท Evolution AB เป็นบริษัทสัญชาติสวีเดนที่ประกอบธุรกิจเว็บพนันออนไลน์ที่มีอัตราการเติบโตในระดับที่น่าประทับใจ ผู้เพียบพร้อมทั้งเรื่องการเติบโตของรายได้ ผลกำไร และอัตราส่วนทางการเงิน ที่ไม่ว่าใครมาเห็นต้องอยากได้หุ้นตัวนี้มาประดับพอร์ตการลงทุนอย่างแน่แท้
.
โดยบริษัทเองนอกจากทำอัตรากำไรในระดับที่น่าพึงพอใจแล้ว บริษัทเองก็มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) และกระเงินสดอิสระ (FCF) เป็นบวกมาตลอดระยะเวลาหลายปี และมีเทรนด์ที่เป็นขาขึ้นตลอด จนกลายเป็นหุ้น 10 เด้งในระยะเวลา 5 ปี (และเป็นหุ้น 20 เด้ง เมื่อตอนที่ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ ณ จุดสูงที่สุดตอนช่วงปี 2021)
.
และเราเองก็สามารถเป็นเจ้าของหุ้นนี้ได้ ผ่านการประยุกต์ใช้หลักการของคุณปีเตอร์ ลินซ์ ผ่านเพลย์บุคอย่างเล่ม One Up on Wall Street ด้วยการซื้อหุ้นที่มีค่า PEG ต่ำกว่า 1 ในการลงทุนได้ครับ
.
.
.
ทั้งหลายนี้แสดงให้เราเห็นอะไรบ้าง ก่อนอื่นผมขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับอัตราส่วน PEG ที่จะเป็นผู้ช่วยในการเลือกซื้อหุ้นนี้กันก่อนครับ
.
หุ้นมี PEG ต่ำกว่า 1 เท่า เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่แสดงให้เราเห็นว่า “หุ้นตัวนี้มีโอกาสขึ้น” จากการ “ปรับค่า PE ใหม่ของนายตลาดสู่ระดับที่ควรจะเป็น”
.
สมการของ PEG คือ PE / EPS Growth และสมการของ PE คือ Price / EPS
.
EPS ขึ้น หากราคาเท่าเดิม PE จะต่ำลงตามสมการ , เมื่อนายตลาดเห็น PE ที่ถูกลง นายตลาดก็อาจปรับ PE กลับไปสู่จุดเดิมได้
.
เช่น เมื่อก่อนหุ้นตัวหนึ่งถูกเทรดที่ ราคา 15 บาท ที่ PE 15 เท่า และมีกำไรต่อหุ้นที่ 1 บาท (สมการ Price = PE * EPS) ต่อมาหุ้นนี้มีกำไรเติบโต 30% หรือกำไรต่อหุ้นได้เปลี่ยนเป็น 1.3 บาทต่อหุ้น (EPS ใหม่ = EPS เดิม * อัตราการเติบโต , EPS ใหม่ = 1* = 1.3 บาทต่อหุ้น )
.
ทำให้ค่า PEG ของบริษัทเทรดอยู่ที่ 15/30 = 0.5 เท่า หากหุ้นนี้เทรดอยู่ที่ราคา 15 บาทเท่าเดิม ตอนนี้ PE ของบริษัทก็จะอยู่ที่ 11.53 เท่า
.
.
.
ดังนั้นแล้ว การที่บริษัทจะกลับไปเทรดเท่าเดิมที่ PE 15 เท่าเดิมได้นั้น ราคาหุ้นจะต้องไปอยู่ที่ 19.5 บาท คิดเป็น Upside ในสัดส่วนที่เทียบเท่ากับการเติบโตของกำไร 30%
.
แต่ทั้งนี้สิ่งที่เราต้องพิจารณา คือกำไรที่ได้มานี้ “เป็นกำไรจากการดำเนินงานที่เติบโตตามธรรมชาติบริษัท” หรือไม่ เราต้องพิจารณาผ่านการอ่านรายงานผลประกอบการรายไตรมาสด้วย
.
เพราะหากบริษัทได้กำไรมาจากกิจกรรมพิเศษ (เช่นการขายที่ดินออก การได้เงินประกัน) ความสามารถในการทำซ้ำอีกครั้งก็นับว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลย เช่น ถ้าบริษัทขายที่ดินแปลงนั้นไปแล้ว เราก็คงไม่สามารถเสกที่ดินแปลงเดิมมาขายใหม่ทุกๆ ปีได้ใช่ไหมครับ
.
ต่อมาเมื่อการทำซ้ำไม่มีแล้ว เมื่อปีหน้ามาถึงกำไรส่วนที่ได้จากกิจกรรมก่อนหน้าจะหายไป ตรงนี้จะทำให้นายตลาด “ตีมูลค่าบริษัทให้ต่ำลง” (จากการที่ EPS ลดลง) ในที่สุด
.
.
.
กลับมาที่บริษัท Evolution AB ราคาหุ้นของบริษัทเคยเทรดอยู่ในระดับที่ PEG ต่ำ 1 อยู่หลายช่วงเวลาเหมือนกันครับ โดยช่วงที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคือตอนกลางปี 2017 จนถึงท้ายปี 2018 ต้นปี 2019 หากเราได้ซื้อหุ้นตัวนี้ในช่วงราคา 140 เหรียญ (Swedish Krona) ตอนเดือนกันยายน 2018 ซึ่งเป็นจุดซื้อที่จั่วยอดดอย ณ PEG Ratio 0.9x และทนถือเพื่อรอกำไรและราคาหุ้นบริษัทเบ่งบานตอนเดือนเมษายน 2021 ที่ราคา 1,6xx เหรียญ (Swedish Krona) คุณจะได้ผลตอบแทนกว่า 1,1xx% ทีเดียว
.
ในด้านธุรกิจ Evolution เองมีผลการดำเนินงานที่เป็นบวกและเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ครับ ผ่านการเปิดแพลตฟอร์มไปในประเทศต่างๆ รวมถึงมียอดผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ผสานกับลักษณะบริษัทเป็น Asset Light Model ซึ่งมีต้นทุนการดำเนินงานที่คงที่ ใช้สินทรัพย์ไม่หนักมากทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ มีรายได้เข้ามาไม่จำกัดแต่ต้นทุนคงที่ ทำให้รายได้ของบริษัทลงมาสู่บรรทัดล่างที่เติบโตขึ้นทุกปี ด้วยปัจจัยนี้เองจึงช่วยผลักดันให้มูลค่าของบริษัทสามารถไปได้ไกลนั่นเองครับ
.
และอีกประเด็นที่เลี่ยงไม่ได้ คือ “เทรนด์ธุรกิจ” ผู้เป็นพระเอกที่ช่วยผลักดันให้บริษัทเติบโตเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาดอีกด้วยโดย Evolution เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์นี้ได้มา Disrupt ธุรกิจกาสิโนแบบมีพื้นที่ตั้ง โดยจากข้อมูลบริษัทได้ระบุว่าขนาดตลาดของกาสิโนแบบมีพื้นที่มีอัตราการหดตัวแบบทบต้น (CAGR) กว่า -8.2% ตลอดปี 2017-2021 ในขณะที่ตลาดเกมแบบออนไลน์ที่บริษัทกำลังประกอบการอยู่มีอัตราการเติบโตแบบทบต้น (CAGR) ที่ 31.1%
.
ปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ว่าท่ามกลางความแตกต่างของ 2 เทรนด์บริษัทที่ขาหนึ่งกำลังถอยลง และขาหนึ่งกำลังพุ่งทะยาน นายตลาดจึงมอบรางวัลและความคาดหวังแก่ Evolution ให้เป็นหุ้นเด้งผู้เติบโตด้วยศักดิ์และศรีเพียบพร้อมด้วยตัวเลขการเงินอันเป็นผลประจักษ์และราคาอย่างแท้จริง
.
.
.
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมได้บอกเล่าทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้แม่นยำ 100% ว่าสิ่งที่เขียนจะเป็นเพลย์บุคที่ต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคต สิ่งนี้อาจมีความแม่นยำเพียง 30-40% เพียงเท่านั้นครับเมื่อนำไปประยุกต์ผ่านการลงทุน
.
ทั้งนี้ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ พึงระลึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตามปกติ เพราะว่าไม่มีวิธีการลงทุนใดที่ให้ผลลัพธ์ 100% ได้ และการที่เราจะทำเงินจากตลาดหุ้นได้ไม่ได้อยู่ที่การเลือกวิธีการที่แม่นยำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบอันหลายอย่างซึ่งก่อรูปและร่าง ผ่านบริบทและเวลาของบริษัทนั้นๆ ครับ
.
สิ่งที่เราเล่าทั้งหมด เป็นเพียงการชี้ให้เห็นภาพเท่านั้นว่าคุณสามารถนำความรู้จากหนังสือหุ้นไปทำเงินได้ครับ
การเติบโต
[แกะหุ้นเด้ง pt.2] เล่า BizModel+งบ กับ Rightmove หุ้น 40 เด้ง สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับหุ้นเด้งตัวหนึ่งที่สามารถหาได้ตามตำราแบบฉบับของคุณ Peter Lynch เจ้าของหนังสือ One Up on Wallstreet ที่เราสามารถ ค้นหา-ถือ-ทำกำไรจากหุ้นบริษัทได้ ผ่านการหาสินค้าและบริการรอบตัวที่มีแบรนด์เป็นที่นิยม เป็นที่รักต่อผู้คน
.
โดยในวันนี้ผมอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับบริษัทนายหน้าขายสำหรับขายบ้านบริษัทหนึ่ง ซึ่งมี Market Share ในอุตสาหกรรมนายหน้าขายบ้านสำหรับในเครือจักรภพอังกฤษมากกว่า 80% ตลอดกว่า 10 ปี ที่เข้าตลาดและยังคงเป็นเบอร์ 1 ในปัจจุบัน
.
บริษัทนั้นคือ “Rightmove” ครับ
.
.
.
สิ่งทำให้ที่บริษัทอยู่ในสนามแข่งขันนี้ได้ยาวนานนับตั้งแต่ช่วงดอทคอม ผ่านวิกฤติอสังหา จนถึงปัจจุบัน เกิดมาจากการที่การสร้างความแตกต่างจากการเป็น Agency อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่ต้องอาศัยทีมเซลล์จำนวนมาก
เปลี่ยนมาเป็น Marketplace ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันผ่านหน้าเว็ปเอง
.
ด้วยโมเดลธุรกิจนี้และชื่อเสียงของการเป็นผู้บุกเบิกเว็ปไซต์ครั้นหลังช่วงฟองสบู่ดอทคอม การเป็นผู้บุกเบิกนี้ได้สร้างระยะทางทิ้งห่างคู่แข่งหลายเท่าตัวด้วยขนาด Marketshare มากกว่า 80% ในตอนที่เข้าตลาด
และยังคงความสามารถระดับนี้มากกว่า 1 ทศวรรษ แม้จะครองตลาดได้ระดับนี้แต่ตลาดก็มีเนื้อเค้กที่ขยายขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการบ้านและราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
(คู่แข่งของบริษัทครอง Market Share ในระดับเลขเปอร์เซ็นหลักเดียว และบริษัทอื่นๆ ที่เป็นนายหน้าเหมือนกันเป็นบริษัทระดับเล็กมี Marketcap หลักสิบล้านปอนด์ ในขณะที่ Rightmove มีขนาดหลักหลายพันล้านปอนด์)
.
.
.
ด้วยความเป็นผู้นำและการไม่หยุดนิ่งนี้ทำให้ Rightmove มีกำไรที่เติบโตมาโดยตลอด และหากท่านใดเป็นนักลงทุนสาย Lynch แล้ว
จุดซื้อที่ตรงจุดตรงประเด็นตามตำราคือช่วงกลางปี 2012 จนถึงกลางปี 2013 โดยเป็นจุดที่บริษัทมี PEG Ratio อยู่ที่ 0.6x-0.8x เท่านั้น
(โดยตอนนั้น Rightmove ถูกซื้อขายอยู่ที่ราคา 170 ปอนด์ )
.
.
.
.
และการเติบโตของ Rightmove ในช่วงทศวรรษ 2010 อันเป็นช่วงไม่กี่ปีหลังบริษัทเข้าตลาดนี้ เป็นการสร้างการเติบโตอันห้าวหาญเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งหลายนี้ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทไม่มากลับสู่จุดเดิมอีกต่อไป
.
โดยพัฒนาการนี้เกิดจากการที่บริษัทอยู่รอดมานานรวมถึงใช้แต้มต่อที่ตัวเองมีขยายไปในกิจการที่เกี่ยวเนื่อง
ทั้งการขยับขยายจากกิจการนายหน้าขายบ้านมาสู่ธุรกิจ “ให้การโฆษณาบ้านใหม่” โดยเป็นการเจาะตลาดผู้ที่ต้องการบ้านใหม่แทนบ้านมือสองที่มีอยู่แต่เดิม
การจัดสรรข้อมูลหลังบ้านให้แสดงบ้านแบบเรียลไทม์
การมี House Index เป็นของตัวเอง จากการมีข้อมูลหลังบ้านที่ทรงพลัง
การอาศัยโอกาสจากการมาของ Smart Phone ทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น อันนำมาสู่การสร้าง Ecosystem ในวงการอสังหาริมทรัพย์ อย่างการเกิดนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่ารุ่นใหม่ (Home-Hunter) ที่เป็นอาชีพที่สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนให้แก่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
.
กล่าวไม่ผิดว่า Rightmove จะเป็นบริษัทที่สร้างการเติบโตแก่ตัวบริษัทได้อย่างยั่งยืนทั้งด้านกำไร และด้านผู้มีส่วนได้เสียผู้ช่วยเกื้อกูลให้สภาพแวดล้อมด้านอสังหาริมทรัพย์แห่งยุโรปดีมากยิ่งขึ้นไป
.
และเป็นหุ้นเด้งภายในหนึ่งปี และเป็นหุ่น 10 เด้งใน 10 ปี มอบผลตอบแทนแก่นักลงทุนผู้เสาะแสวงหาการลงทุนจากสิ่งรอบๆ ตัวอย่างแท้จริง
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน BizModel และกราฟ pt.2
- ธุรกิจ Costco เป็นห้างขายส่งคล้ายๆ Makro ของเรา แต่มีสินค้าไซส์ยัก และอาหารราคาถูก
- กำไรแบบ Recurring Income ของบริษัทผ่าน Membership Fees เป็น Keyman ในการที่ทำให้บริาัทเติบโตไปพร้อมกับยอดขาย
- การที่ราคาหุ้นขึ้นเกิดจากหลัก Twin Engine คือ PE ขยายตัวจากความคาดหวังดีจากตลาด และ กำไรสุทธิที่เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
- ราคาหุ้นจะมีค่าเป็นเท่าไรเกิดจากสมการ Price = PE * EPS
(Twin Engine คือหลักการที่ PE ขยายตัว และ EPS เติบโตนั่นเอง)
- ปัจจุบัน Costco มีรายได้จาก Membership ที่ราวๆ 4 billions เทียบเท่ากับหุ้นที่ราคา 9 เหรียญ หากเราถือหุ้นที่ราคา 9 เหรียญจากเมื่อ 30 ปีที่แล้วจนถึงวันนี้ได้ ก็นับว่าคุณได้สินทรัพย์ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 9% มาครองเลย
=================================
ถ้านึกถึงห้างขายส่งบ้านเราต้อง MAKRO แต่ถ้านึกถึงห้างขายส่งระดับโลก COSTCO คือบริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ด้านนี้เลยครับ
COSTCO เป็นห้างค้าส่งสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1986 และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นมานานกว่าครึ่งชีวิตของคนหนึ่งคนเลย
และมักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในหนังสือการลงทุนหลายเล่ม เพราะนี่คือหนึ่งในหุ้นที่มีธุรกิจใช้ได้ ผลกำไรเติบโต ราคาหุ้นจึงสะท้อนมูลค่าที่ซ่อนอยู่นี้ด้วยราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนอื่น ผมขออธิบายก่อนนะครับ ว่า Costco นอกจากธุรกิจจะเป็นธุรกิจห้างค้าหลีกแล้ว รายได้อีกส่วนที่เป็นตัวช่วย Costco มาหลายต่อหลายครั้งเพื่อให้บริษัทยังอยู่ยั่งยืนได้ นั่นคือรายได้จาก membership fee ครับ
โดยบัตร Member นี้เอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสินค้าภายในห้าง ส่วนรถปั๊ม ประกัน ตั๋วเครื่องบิน เสื้อถ้า รถยนต์ อาหารและยา และอื่นๆๆ อีกมากที่อาจกล่าวไม่ถึง
ตรงส่วนนี้เราอาจพิจารณาได้ว่าบัตรเมมเบอร์ของ Costco นั้นมี Networking Effect ที่แข็งแกร่งมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะสเกลการถ้าปลีกของเครือ Costco อยู่แล้ว ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าระดับประเทศ (ที่มีขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของโลก) จนสามารถเจรจาของส่วนลดเพื่อมาจุนเจือชาว Member ได้
โดยสัดส่วน Membership Fee นี้เปรียบได้กับกระแสเงินสดที่ทาง Costco ได้มาไม่ต่างจาก Subscription รายปีเลยครับ โดยแต่ละปี Costco เองมีรายได้จากตรงนี้เติบโตกว่า 9% CAGR ต่อเนื่องกันกว่า 30 ปี
=====================================================
เทียบตั้งแต่ปี 1993
CostCo มี Membership Revenue อยู่ที่ 309 ล้านเหรียญ
และปี 2022 ล่าสุดมีรายได้ส่วนนี้กว่า 4,224 ล้านเหรียญทีเดียว]
โดยปัจจุบัน ณ ราคา 502 เหรียญนี้ Cosco มี Market Cap ที่ 222 Billion
หากท่านใดมีหุ้น Costco ที่ Market Cap 4 billions หรือที่ราคา 9 เหรียญ ท่านอาจได้กระแสเงินสดฟรีๆ จากมูลค่า รายได้ส่วนของ Membership เปล่าๆ (เป็นอีกหนึ่งมุมมองของการถือยาวครับ)
=====================================================
สิ่งที่ช่วยผลักดันให้ราคาของ Costco ไปได้ไกล ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากร้านค้าปลีกที่เติบโตตลอดเวลาตาม GDP ของประเทศนั้นๆ
และ Business Model ของ Costco เองก็เป็นธุรกิจกิน Spread Margin แคบๆ จากการซื้อมาขายไป และเพิ่มลูกลเ่นให้กับสินค้าตัวเองผ่านการออกแบบ "ผลิตภัณฑ์ไซส์ยักษ์" ที่นอกจากประหยัดแล้วยังน่าตื่นตาตื่นใจด้วย
ยังไม่นับว่า Costco เองมีเชนร้านอาหารราคาย่อมเยาว์ถึงขนาดที่ชักจูงให้คนมาทานอาหารในราคาไม่กี่เหรียญ และไม่ขึ้นราคามากว่าทศวรรษอีกด้วย
ทั้งนี้แล้วการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้บริโภคลูกค้านั้นทำให้มีผู้สมัครสมาชิกกับ Costco เพิ่มขึ้นตลอดทุกๆ ที โดยอัตราส่วนของรายได้จาก Membership Fees ต่อด้วย Operating Income นั้นสูงกว่า 50% ทีเดียวครับ กล่าวคือลำพังแค่รายได้จากค่าสมาชิกก็ทำให้ประเมินกำไรคร่าวๆ ของ Costco ได้แล้ว....และนี่แหละที่ทำให้นายตลาดชอบใจอย่างมาก
โดยคุณสมบัติจากการประเมินกำไรขาดทุนได้ง่ายแล้ว การที่บริษัทมีการบริหารงานจนทำให้นะดับ Net Margin ดีได้ยิ่งขึ้นๆ พร้อมด้วยการบริหารโดยมี ROIC ในระดับ 1x% ยิ่งขึ้นไป จะทำให้นายตลาด "มอบตัวคูณ" ให้บริษัทนี้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
โดยราคาหุ้นเองถูกผลักดันด้วย 2 ปัจจัย นั่นคือ Price = PE * EPS
หากบริษัทบริหารจัดการได้ดี ธุรกิจดำเนินไดีดี ตัว EPS จะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น
ส่วนตัว PE หากบริษัทนั้นมีโมเดลที่แข็งแกร่ง มี Moat ที่สมบูรณ์ รายได้เติบโต (กอปรกับการมีค่า Bond Yield ที่ต่ำ) บริษัทนั้นก็จะเทรดที่ค่า PE ที่สูงยิ่งขึ้น
หลักการนี้คือหลักการ Twin Engine ที่ทำให้หุ้นนั้นสามารถกลายเป็นหุ้นเด้งได้นั่นเองครับ
ซึ่ง CostCo เองนับว่าเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน โดยได้ลมส่งจากรายได้ที่โตขึ้นจากการขยายสาขาและ GDP ที่โต กับโมเดลธุรกิจที่ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะ Membership ทำให้ Costco มีกำไรเติบโตตลอด
จากนั้นนายตลาดก็เริ่มเห็นแววในบริษัทนี้ เลยให้ PE หรือแม้กระทั่ง P/S ที่สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวนี้เข้าหุ้นเด้งตามตำรา Twin Engine ในที่สุด
====================================================
หลักการหาจังหวะซื้อขาย หากใช้ Fundamental อาจใช้เส้น Asset Line ในการจับจังหวะเข้าซื้ได้ครับ แต่ต้องมั่นใจว่าหุ้นตัวนี้ตลาดชอบแน่ๆ พื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน รายได้และกำไรมีโอกาสโตได้ อย่างน้อยก็เชิงอนุกรม
ต่อมาคือการซื้อโดยใช้ PE Forward ผ่านเส้น Value Line อันเป็นแนวรับแนวต้านทางพื้นฐาน หากราคามาลงสู่แนวรับนี้ และประกอบกับกราฟทำทรง VCP Cup with Handle พร้อมทั้งมี Risk to Reward ที่ท่ารับไหวก็อาจพิจารณาซื้อได้
ไม่สายเกินไป หากซื้อหุ้นนี้ที่ Market Cap 1xx,xxx Milliion เพราะว่าเขาอาจไปได้ไกลกว่านั้นได้
(พร้อมดูโมเมนตัมจากยอดขายและผลการดำเนินงาน รวมถึงดูกระแสจากผู้บริโภคด้วย ว่าบริษัทยังคงส่งมอบคุณค่าแก่ผู้ถือหุ้นดั่งเดิมไหม)
====================================================
สามารถอ่านไอเดียการลงทุนอื่นๆ ได้นะครับจากหน้า Profile ของผม
[CaseStudy หาหุ้นลงทุน] การเลือกหุ้นปันผลที่มีคุณภาพเหนือกาลเวลาสวัสดีครับ สำหรับหลักการในวันนี้ผมอยากมานำเสนอการหาหุ้นที่เรียกได้ว่าเป็นหุ้นที่อาจเป็นปันผลให้เราประดับพอร์ตในการกระจายความเสี่ยง และหาโอกาสท่ามกลางตลาดลงกันนะครับ
และปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าตอนนี้เป็นช่วงที่ตลาดขาลงและเป็นช่วงที่ลงทนเพื่อ Runtrend ก็นับว่าลำบากพอสมควร
ผมเลยใช้เวลานี้ไปกับการศึกษาขุดหาบริษัทดีๆ ที่ตอนนี้อาจมีตำหนิบ้าง แต่อาจกลับมาได้อาจจะดีกว่าก็ได้ครับ เป็นการใช้เวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
โดยผมจะมีการอ้างอิงหนังสือที่ผมได้ตกตะกอนได้หลักๆ คือ 2 เล่มนี้ครับ นั่นคือเล่ม One Up on Wall Street กับ Warren Buffett Ways
โดยหลักการที่ผมอยากถ่ายทอดจะเป็นเรื่องของ
1) การหาบริษัทจากสิ่งรอบตัว การดูสิ่งแวดล้อมว่าเทรนด์อะไรที่มีอนาคต ซึ่งได้มาจากเล่ม One Up on Wall Street ของคุณปีเตอร์ ลินซ์ ครับ
2) การคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพแบบเล่ม Warren Buffett Ways รวมถึงหยิบหลักการเรื่องของปราการและคูคลองมาใช้ในการเลือก
โดยหลักการนี้ผมจะมาพูดในวีดีโอนี้กันครับ และขอมาแนะนำหุ้นหมวดหนึ่งที่มี Moat ที่อยากจะนำเสนอไม่มีในไทยได้รู้จักด้วยครับ เผื่อเป็นโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุนในต่างประเทศครับผม
ท้ายสุดนี้มี Key Takeaway ที่ผมตกตะกอนได้เกี่ยวกับบริษัทที่ตลาดมองว่ามีคุณภาพ ซึ่งมีหลักๆ ประมาณ 7 ข้อ ดังนี้ครับ
1)เป็นบริษัทมี Profit Margin สูง
2)บริษัทมี Free Cash Flow ตลอด
3)นอกจากมี Free Cash Flow สูงแล้ว มีการลง Capex ในระดับไม่มากนัก (อาจจะไม่เกิน 35% ของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน)
4)บริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนมีอัตราที่สูง
5)พึงระลึกไว้ ว่าหุ้นปันผลดีๆ คือบริษัทที่มี Recurring Income อย่างสม่ำเสมอ
5.5) และจำดีมากหาก Income ส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้นเหนือกว่าอัตราการเพิ่มของ GDP กับ Inflation
6)จากข้อที่ 5 Recurring Income ล้วนมาจากการมี Recurring Revenue ที่มีศักยภาพ กล่าวคือสินค้าหรือการบริการของบริษัทต้องเป็นที่ต้องการตลอด และอาจมีเพิ่มขึ้นบ้าง
7)จากข้อที่ 6 Recurring Revenue จะดีมากที่สุดหากว่าไม่มีคู่แข่งหรือสินค้าสับเปลี่ยนมาตัดกำลัง คงดีไม่น้อยหากเราซื้อหุ้นที่ดูผูกขาด แต่ก็สามารถวางตัวให้ไม่มีข้อครหาได้ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารแล้วครับ ว่าวางตัวและดำเนินนโยบายสร้างภาพลักษณ์อย่างไร
สำหรับสิ่งที่ผมตกตะกอนและอยากฝากฝังทุกคนไว้ก็มีเพียงเท่านี้ หวังว่าวีดีโอและเนื้อหานี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากทุกคนชอบผมก็ดีใจและฝากร้ investing ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกคนด้วยนะครับ ที่นี่เราจะรวมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลนักลงทุนไว้ในที่เดียว เพื่อเสริมศักยภาพสังคมการลงทนต่อๆ ไปครับ
โชคดีรักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy ครับผม
[SAWAD]ภายใต้พื้นฐานกำไรที่เติบโต มีเรื่องน่ากังวลอะไรหรือไม่?!!
สำหรับ SAWAD นับว่าเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่ผมมักอารมณ์องุ่นเปรี้ยวทุกครั้งเลยครับ เวลาเห็นเขาทำราคาที่สูงขึ้น กอปรกับความกลัวเรื่องของ NPL ผมเลยกลัวอย่างบอกไม่ถูกเลยครับ จรพบกับความผิดพลาดที่ไม่ได้ลงทุนในตัวพวกเขา
แต่ตอนนี้ถ้าเราลบอคติฝังตาลง เราพบอะไรบ้างจากอินดิเคเตอร์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิกับราคาหุ้นกัน โดยผ่านอินดิเคเตอรตัวเดิมของผมอย่าง Yield Valuation นี้ครับ
SAWAD นับว่าเป็นหุ้นที่อยู่ในหมวดของ Growth อย่างแท้จริงครับ จากการดูการเติบโตของสินทรัพย์(เส้นส้ม) ของเขา จากหนังสือพ่อรวยสอนลูกก็อย่างที่ว่าครับ สินทรัพย์คือสิ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้เรา การมีสินทรัพย์มากขึ้นก็เสมือนกับการเพิ่มที่มาของรายได้แบบนี้นั่นเองครับ
แต่กระนั้นแล้วสินทรัพย์ที่เพิ่มมขึ้นของ SAWAD นี้ เขาเพิ่มขึ้นในหมวดของหนี้สินนั่นเอง ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องปกติครับ เพราะว่า SAWAD ทำธุรกิจการเงิน หนี้สินของหมวดนี้ก็คือปริมาณเงินที่เราปล่อยสินเชื่อไปแน่นอนครับ
ว่ากันตามตรงในความเห็นของผมเอง ประเทศไทยเรามีระบบการเงินที่ Conservative มากนะครับ จากการที่แบงก์ของเราไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควรจนมาถึงการไม่กล้าปล่อยสินเชื่อจนเรามีทุนสำรองของประเทศเราอยู่สูงมาก การไม่กล้าทำอะไรแบบนี้ทำให้ประเทศเรามี Opportunity Cost สูงมาก สังเกตได้จากการที่นายกพูดเลยครับ ที่ว่าทำไม่เราถึงแพ้เวียดนาม ทั้งที่เรามีทุนสำรอง(งบดุลของประเทศ) ที่แข็งแกร่งมาก พูดง่ายๆ คือเราอาจจะล้มได้ยากนั่นเองครับ
กลับมาที่เรื่องของ SAWAD ด้วยความที่ธุรกิจการธนาคารของเราไม่ค่อยได้ปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย นั่นเลยเป็นช่องทางให้กับธุรกิจ Nonbank อย่างพวก SAWAD และ MTC ได้มาทำหน้าที่นี้แทนพวกเขา เมื่อ Demand(ผู้ต้องการเงินรายย่อย) มีอยู่อย่างมหาศาล การเติบโตก็มหาศาลอีก และ Supply ที่กล้าทำตอนนั้นเองก็มีอยู่ไม่มาก Supply น้อย (MTC SAWAD) ดังนั้นแล้วหุ้นทังสองตัวนี้เลยโตเอาๆ จากความกลัว ความกังวลของหุ้นกลุ่มธนาคารนั่นเอง แต่เอาเถิดท่านอย่าเศร้ากับอุตสาหกรรมการเงินไทยเลย เพราะปัจจุบันนี้ภาครัฐก็ได้ส่งแบงก์ออมสินมาสู้ๆ พวกธุรกิจนี้แล้วครับ
การมาของออมสินเอง ทำให้เราอาจต้องกังวลมากขึ้นกับการลงทุนหุ้น SAWAD ครับ ว่าเขาจะมีโอกาสไปต่อได้หรือไม่ การแข่งขันนั้นดีตรงที่เราอาจจะได้พบนวัตกรรมใหม่ๆ และทางออกให้ผู้บริโภคที่สร้างสรรค์มากขึ้นจากการแย่งชิงตลาด แต่กระนั้นแล้วการลงทุนอย่างนักลงทุนเราคงต้องทำการบ้านหนักขึ้นครับ
แล้ว SAWAD ตอนนี้มีอะไร เรามาดูเส้น Yield Valuation ที่โปรแกรมสังเคราะห์มาครับ ว่าหากอนาคตคน "ให้ค่า" แก่ตัว SAWAD มากกว่าสมัยก่อน การที่เขาจะก้าวไกลเข้าสู่เส้นสีแดงนั้นก็อาจเป็นไปได้นั่นเองครับ เพราะว่ากำไรของเขาเติบโตตลอดเวลาเลย ตรงส่วนนี้ก็อยู่กับความคิดเห็นของรายย่อยอย่างเราแล้วครับ ว่าในฐานะผู้ถือหุ้นท่านจะเป็นลมใต้ปีกให้แก่ผู้บริหาร หรือทางผู้บริหารเขาจะทำอะไรได้บ้าง (ผมก็เพิ่งรู้ว่าที่ต่างประเทศนักลงทุนรายย่อยอย่างเราก็สามารถเสนอแผนธุรกิจให้แก่บริษัทได้เหมือนกันครับ หากเราเห็นศักยภาพของเขา)
ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบผมก็ดีใจนะครับ
[APCO] หุ้น Value จ๋า พร้อมงบอันแข็งแกร่งที่ไม่ยอมลง แม้ราคาแพง?สวัสดีปีใหม่มิตรสหายทาง Trading View ทุกท่านนะครับ
พอดีช่วงปีใหม่นี้ผมเองก็ว่างไม่ได้ออกไปไหนเนื่องจากเรื่องของไวรัสโควิดตามที่ท่านได้พบเจอกัน ผมเลยได้มาสอดส่องดูหุ้นรับปีใหม่ถือเป็นการวางแผนประจำปีไปด้วยนั่นเองครับ
แล้วทีนี้ผมก็เจอหุ้นตัวนึงเข้าที่มีความเป็น Value จ๋าๆ มีงบที่แข็งแกร่งมาก และมีกิจการที่ทำนุบำรุงซ่อมแซมเครื่องจักรทางการเงินของบริษัทได้ดีเสมอ มีอัตราการทำกำไรที่สูงมาก แต่อนิจจาที่เขาอาจหมดสิ้นสภาพความเป็นหุ้นเติบโตไปแล้ว
เป็นภาพสะท้อนกรายๆ ว่าหุ้นที่เคย Growth แล้วเป็นหุ้น Value เดี่ยวๆ มันเป็นแบบนี้นี่เอง
วันนี้ผมเลยอยากทำวีดีโอสั้นๆ มาอธิบายเกี่ยวกับหุ้น Value จ๋าๆ งบการเงินแข็งๆ นั้นเป็นอย่างไรให้ชมกันครับ โดยจะอธิบายอย่างกระชับไม่กินเวลาท่านมาก พอเป็นกระษัย ขนาดท่านจิบกาแฟแก้วหนึ่งแล้วยังอุ่นๆ อยู่ก็ได้สาระพอดี
หวังว่า Case Study ของ APCO นี้ จะช่วยเป็นไอเดียในการเลือกสรรค์หุ้นเข้าพอร์ตในอนาคตของใครไม่มากก็น้อยนะครับ ที่สำคัญคือขอให้ทุกคนมีวิจารณญาณในการลงทุนเสมอนะครับ
หวังว่าทุกท่านจะชอบใจไม่มากก็น้อย สามารถส่ง Feed Back หรือ Comment มาได้เสมอนะครับ ผมตามอ่านและนำมาปรับปรุงเสมอ
สวัสดีปีใหม่ครับ
[CPALL] หุ้นโคตร Defensive ณ ราคาดัชนี 1200 จุด ดีไหม มาดููกันสำหรับ CPALL ผมมองว่าตอนนี้หุ้นตัวนี้เริ่มมี Valuation ที่น่าสนใจไม่เลวเลย
จากการที่ธุรกิจของเขานั้น ล้อตามตัว C ในสมการของ GDP (GDP = "C" +I+G+X-M)
ซึ่งตัว C ที่ว่าก็คือกำลังซื้อของผู้บริโภคนั่นเองครับ กล่างคือ หากว่ากำลังซื้อของคนกลับมาหุ้นตัวนี้ก็อาจได้รับอานิสงฆ์นั้นก็เป็นได้เลย
สำหรับหุ้นตัวนี้ที่อาจมีการเติบโตอื่นๆ เข้ามา จากการมีฐานทุนที่ใหญ่ขึ้น ก็ไม่เลวเลยที่เราจะมาลองทำการบ้านสำหรับตัวนี้ดูกันครับ รายละเอียดเป็นอย่างไร มารับชมกันครับ
PS. รายละเอียดนอกคลิป สำหรับ CPALL หุ้นตัวนี้ มี ROE หรืออัตราการทำกำไรต่อผู้ถือหุ้นอยู่ที่ราวๆ 20%++ ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับ ROE ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีค่าอยู่ที่ราวๆ 9-11% เท่านั้น แล้วแต่ราคาน้ำมัน (ว่ากันมาตรง ตลาดบ้านเราพึ่งพิงอุตสาหกรรมเก่า อย่างน้ำมันมาก ถึงมากเลยครับ)
ซึ่งการมีระดับ ROE เท่านี้ เราเลยไม่แปลกใจเลยที่เขาให้มูลค่าเทรดที่ Market Cap. เหนือกว่า Asset ของบริษัทเสียอีก เราอาจมองได้ว่า หุ้นตัวนี้ถูกหวังกับการเติบโตในอนาคตก็ไม่ผิดเลยครับ
ซึ่งตรงส่วนนี้เราอาจจะเอาจุดที่ Market Cap <= Total Asset เป็นจุด Stop Loss คงอาจจะดูโหดร้ายไป (คนไม่เห็นอนาคต หมดฝันแล้ว)
ดังนั้นแล้วตรงส่วนนี้ท่านอาจจะใช้จุดซื้อแบบ Technical ในการเข้าซื้อก็ได้ครับ แล้วก็เอาไปบอกลูกหลานท่านว่าท่านเป็นเจ้าของ 7-11 คงคูลไม่น้อยเลย ฮาา
ปล. ทั้งหมดก็มีราวๆ นี้นะครับ หากมีอะไรเพิ่มเติมผมจะมาแจ้งครับ ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะ