ภาพประกอบ
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน BizModel และกราฟ pt.2
- ธุรกิจ Costco เป็นห้างขายส่งคล้ายๆ Makro ของเรา แต่มีสินค้าไซส์ยัก และอาหารราคาถูก
- กำไรแบบ Recurring Income ของบริษัทผ่าน Membership Fees เป็น Keyman ในการที่ทำให้บริาัทเติบโตไปพร้อมกับยอดขาย
- การที่ราคาหุ้นขึ้นเกิดจากหลัก Twin Engine คือ PE ขยายตัวจากความคาดหวังดีจากตลาด และ กำไรสุทธิที่เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
- ราคาหุ้นจะมีค่าเป็นเท่าไรเกิดจากสมการ Price = PE * EPS
(Twin Engine คือหลักการที่ PE ขยายตัว และ EPS เติบโตนั่นเอง)
- ปัจจุบัน Costco มีรายได้จาก Membership ที่ราวๆ 4 billions เทียบเท่ากับหุ้นที่ราคา 9 เหรียญ หากเราถือหุ้นที่ราคา 9 เหรียญจากเมื่อ 30 ปีที่แล้วจนถึงวันนี้ได้ ก็นับว่าคุณได้สินทรัพย์ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 9% มาครองเลย
=================================
ถ้านึกถึงห้างขายส่งบ้านเราต้อง MAKRO แต่ถ้านึกถึงห้างขายส่งระดับโลก COSTCO คือบริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ด้านนี้เลยครับ
COSTCO เป็นห้างค้าส่งสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1986 และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นมานานกว่าครึ่งชีวิตของคนหนึ่งคนเลย
และมักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในหนังสือการลงทุนหลายเล่ม เพราะนี่คือหนึ่งในหุ้นที่มีธุรกิจใช้ได้ ผลกำไรเติบโต ราคาหุ้นจึงสะท้อนมูลค่าที่ซ่อนอยู่นี้ด้วยราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนอื่น ผมขออธิบายก่อนนะครับ ว่า Costco นอกจากธุรกิจจะเป็นธุรกิจห้างค้าหลีกแล้ว รายได้อีกส่วนที่เป็นตัวช่วย Costco มาหลายต่อหลายครั้งเพื่อให้บริษัทยังอยู่ยั่งยืนได้ นั่นคือรายได้จาก membership fee ครับ
โดยบัตร Member นี้เอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสินค้าภายในห้าง ส่วนรถปั๊ม ประกัน ตั๋วเครื่องบิน เสื้อถ้า รถยนต์ อาหารและยา และอื่นๆๆ อีกมากที่อาจกล่าวไม่ถึง
ตรงส่วนนี้เราอาจพิจารณาได้ว่าบัตรเมมเบอร์ของ Costco นั้นมี Networking Effect ที่แข็งแกร่งมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะสเกลการถ้าปลีกของเครือ Costco อยู่แล้ว ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าระดับประเทศ (ที่มีขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของโลก) จนสามารถเจรจาของส่วนลดเพื่อมาจุนเจือชาว Member ได้
โดยสัดส่วน Membership Fee นี้เปรียบได้กับกระแสเงินสดที่ทาง Costco ได้มาไม่ต่างจาก Subscription รายปีเลยครับ โดยแต่ละปี Costco เองมีรายได้จากตรงนี้เติบโตกว่า 9% CAGR ต่อเนื่องกันกว่า 30 ปี
=====================================================
เทียบตั้งแต่ปี 1993
CostCo มี Membership Revenue อยู่ที่ 309 ล้านเหรียญ
และปี 2022 ล่าสุดมีรายได้ส่วนนี้กว่า 4,224 ล้านเหรียญทีเดียว]
โดยปัจจุบัน ณ ราคา 502 เหรียญนี้ Cosco มี Market Cap ที่ 222 Billion
หากท่านใดมีหุ้น Costco ที่ Market Cap 4 billions หรือที่ราคา 9 เหรียญ ท่านอาจได้กระแสเงินสดฟรีๆ จากมูลค่า รายได้ส่วนของ Membership เปล่าๆ (เป็นอีกหนึ่งมุมมองของการถือยาวครับ)
=====================================================
สิ่งที่ช่วยผลักดันให้ราคาของ Costco ไปได้ไกล ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากร้านค้าปลีกที่เติบโตตลอดเวลาตาม GDP ของประเทศนั้นๆ
และ Business Model ของ Costco เองก็เป็นธุรกิจกิน Spread Margin แคบๆ จากการซื้อมาขายไป และเพิ่มลูกลเ่นให้กับสินค้าตัวเองผ่านการออกแบบ "ผลิตภัณฑ์ไซส์ยักษ์" ที่นอกจากประหยัดแล้วยังน่าตื่นตาตื่นใจด้วย
ยังไม่นับว่า Costco เองมีเชนร้านอาหารราคาย่อมเยาว์ถึงขนาดที่ชักจูงให้คนมาทานอาหารในราคาไม่กี่เหรียญ และไม่ขึ้นราคามากว่าทศวรรษอีกด้วย
ทั้งนี้แล้วการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้บริโภคลูกค้านั้นทำให้มีผู้สมัครสมาชิกกับ Costco เพิ่มขึ้นตลอดทุกๆ ที โดยอัตราส่วนของรายได้จาก Membership Fees ต่อด้วย Operating Income นั้นสูงกว่า 50% ทีเดียวครับ กล่าวคือลำพังแค่รายได้จากค่าสมาชิกก็ทำให้ประเมินกำไรคร่าวๆ ของ Costco ได้แล้ว....และนี่แหละที่ทำให้นายตลาดชอบใจอย่างมาก
โดยคุณสมบัติจากการประเมินกำไรขาดทุนได้ง่ายแล้ว การที่บริษัทมีการบริหารงานจนทำให้นะดับ Net Margin ดีได้ยิ่งขึ้นๆ พร้อมด้วยการบริหารโดยมี ROIC ในระดับ 1x% ยิ่งขึ้นไป จะทำให้นายตลาด "มอบตัวคูณ" ให้บริษัทนี้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
โดยราคาหุ้นเองถูกผลักดันด้วย 2 ปัจจัย นั่นคือ Price = PE * EPS
หากบริษัทบริหารจัดการได้ดี ธุรกิจดำเนินไดีดี ตัว EPS จะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น
ส่วนตัว PE หากบริษัทนั้นมีโมเดลที่แข็งแกร่ง มี Moat ที่สมบูรณ์ รายได้เติบโต (กอปรกับการมีค่า Bond Yield ที่ต่ำ) บริษัทนั้นก็จะเทรดที่ค่า PE ที่สูงยิ่งขึ้น
หลักการนี้คือหลักการ Twin Engine ที่ทำให้หุ้นนั้นสามารถกลายเป็นหุ้นเด้งได้นั่นเองครับ
ซึ่ง CostCo เองนับว่าเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน โดยได้ลมส่งจากรายได้ที่โตขึ้นจากการขยายสาขาและ GDP ที่โต กับโมเดลธุรกิจที่ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะ Membership ทำให้ Costco มีกำไรเติบโตตลอด
จากนั้นนายตลาดก็เริ่มเห็นแววในบริษัทนี้ เลยให้ PE หรือแม้กระทั่ง P/S ที่สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวนี้เข้าหุ้นเด้งตามตำรา Twin Engine ในที่สุด
====================================================
หลักการหาจังหวะซื้อขาย หากใช้ Fundamental อาจใช้เส้น Asset Line ในการจับจังหวะเข้าซื้ได้ครับ แต่ต้องมั่นใจว่าหุ้นตัวนี้ตลาดชอบแน่ๆ พื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน รายได้และกำไรมีโอกาสโตได้ อย่างน้อยก็เชิงอนุกรม
ต่อมาคือการซื้อโดยใช้ PE Forward ผ่านเส้น Value Line อันเป็นแนวรับแนวต้านทางพื้นฐาน หากราคามาลงสู่แนวรับนี้ และประกอบกับกราฟทำทรง VCP Cup with Handle พร้อมทั้งมี Risk to Reward ที่ท่ารับไหวก็อาจพิจารณาซื้อได้
ไม่สายเกินไป หากซื้อหุ้นนี้ที่ Market Cap 1xx,xxx Milliion เพราะว่าเขาอาจไปได้ไกลกว่านั้นได้
(พร้อมดูโมเมนตัมจากยอดขายและผลการดำเนินงาน รวมถึงดูกระแสจากผู้บริโภคด้วย ว่าบริษัทยังคงส่งมอบคุณค่าแก่ผู้ถือหุ้นดั่งเดิมไหม)
====================================================
สามารถอ่านไอเดียการลงทุนอื่นๆ ได้นะครับจากหน้า Profile ของผม
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน CANSLIM และ VCP pt.1แก่นแท้จากหุ้นเด้งตัวนี้
-การย่อระดับ 1x% เป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ นับเป็นเรื่องที่ปกติ
การย่อลงมาแบบหลักๆ อยู่ที่ราว 3x%
-จุดซื้อที่ทรงประสิทธิภาพจะมาจากจุดที่แข็งกว่าตลาด
หรือ Relative Strength มากกว่า 0
-การย่อลงต่อละครั้งหากไม่หลุดราคาเฉลี่ยนับว่าสามารถรันเทรนด์ต่อได้
-การที่ราคาหุ้นตกหนักๆ โดยหลัก มี 3 ปัจจัย (ซึ่งการตกนี้ไม่ต่ำกว่า 50%)
1. การลงจากเศรษฐกิจเอง เช่น COVID-19 , Subprime
2. การลงจากอุตสาหกรรม เช่น รอบสินค้าโภคภัณฑ์ , การออกกฎบัตรบางอย่างจากภาครัฐที่ทำให้ราคาไม่ไปไหน
3. การลงจากตัวบริษัทเอง เช่น ความสามารถในการแข่งขัน ปราการและคูคลองเริ่มเสื่อมสลาย (แบบนี้อันตรายที่สุด)
.
-การลงจากตัวเศรษฐกิจ หากบริษัทแข็งแกร่งจากการมีปราการและคูคลองแข็งแกร่ง ตลาดย่อมรับรู้ อย่างน้อยก็จากผลประกอบการที่หากไม่ลดลง และรายงานจากฝ่ายบริหารแจ้งออกมาไม่มีรอยฟกช้ำจากเศรษฐกิจ นายตลาดก็ตอบรับอย่างสดใส
-การลงจากอุตสาหกรรม ราคาหุ้นอาจจะไม่ขึ้นมาในทันที อาจต้องให้เวลากับเขา ในการปรับทัพรวมพลสู้ศึก ในเชิงรูปธรรม อาจขยายตลาดไปที่อื่น, คุยกับ Supplier เพื่อปรับราคาให้มี Margin ที่ดีขึ้น และคงคุณภาพสินค้า
หรือในกรณีที่สดใสที่สุด คือรอเมฆหมอกแห่งความโชคร้ายให้ผ่านไปเลย
-การลงจากตัวบริษัทเอง ยากที่สุดในการพิจารณา ต้องติดตามกระบวนการบริหารบริษัทอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูคุณภาพในสินค้าและบริการ
แก่นแท้คือดูว่า Core Value ที่เขมอบให้แก่ลูกค้าและสังคม
กับการทำกำไร ยังพอไปทางเดียวกันได้ไหม
-สิ่งที่ต้องการสื่อคือหุ้นหลายเด้งมักมีการลงแรงๆ เสมอ ไม่ว่าจากตัวเขาเอง ตัวอุตสาหกรรม หรือจากเศรษฐกิจ แก่นแท้คือการถือให้ยาวและมองให้ขาดว่าบริษัทจะผ่านไปได้ไหม เป็นสำคัญ
-การฟอร์มตัวแบบ Cup with Handle จากที่ดูมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 bars week หรือราว 200 วัน ก่อนพุ่งขึ้นไป
การรันเทรนด์เพื่อให้ได้กำไรเด้ง อาจต้องอาศัยเวลา
เราควรมีหลังบ้านที่แข็งแกร่ง มีรายได้หลายทางเพียงพอที่จะคลายกังวลกับการลงทุนในบริษัทนี้ได้
เราอาจใช้อรรถประโยชน์จาก Stock Option ช่วยได้ หากหุ้นนั้นมีบริการ Short Call หรือ Short Put เพื่อหากระแสเงินสดจากช่วง Sideway หากินกับ Volatile
(อาจจะซับซ้อน แต่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้นะครับ)
-จุดกลับตัวของกราฟ บางทีอาจใช้รูปแบบแท่งเทียนพิจารณาได้
เช่นรูปแบบ Hammer ที่ทำหางยาวมาก เสมือนการปฏิเสธการลงของราคา
-จุดกลับตัวอาจใช้ Relative Strength ช่วยได้
หากราคาหุ้นแข็งกว่าตลาด เราอาจเริ่มกลับมามองหุ้นนี้ได้ครับ
[CaseStudy หาหุ้นลงทุน] การเลือกหุ้นปันผลที่มีคุณภาพเหนือกาลเวลาสวัสดีครับ สำหรับหลักการในวันนี้ผมอยากมานำเสนอการหาหุ้นที่เรียกได้ว่าเป็นหุ้นที่อาจเป็นปันผลให้เราประดับพอร์ตในการกระจายความเสี่ยง และหาโอกาสท่ามกลางตลาดลงกันนะครับ
และปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าตอนนี้เป็นช่วงที่ตลาดขาลงและเป็นช่วงที่ลงทนเพื่อ Runtrend ก็นับว่าลำบากพอสมควร
ผมเลยใช้เวลานี้ไปกับการศึกษาขุดหาบริษัทดีๆ ที่ตอนนี้อาจมีตำหนิบ้าง แต่อาจกลับมาได้อาจจะดีกว่าก็ได้ครับ เป็นการใช้เวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
โดยผมจะมีการอ้างอิงหนังสือที่ผมได้ตกตะกอนได้หลักๆ คือ 2 เล่มนี้ครับ นั่นคือเล่ม One Up on Wall Street กับ Warren Buffett Ways
โดยหลักการที่ผมอยากถ่ายทอดจะเป็นเรื่องของ
1) การหาบริษัทจากสิ่งรอบตัว การดูสิ่งแวดล้อมว่าเทรนด์อะไรที่มีอนาคต ซึ่งได้มาจากเล่ม One Up on Wall Street ของคุณปีเตอร์ ลินซ์ ครับ
2) การคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพแบบเล่ม Warren Buffett Ways รวมถึงหยิบหลักการเรื่องของปราการและคูคลองมาใช้ในการเลือก
โดยหลักการนี้ผมจะมาพูดในวีดีโอนี้กันครับ และขอมาแนะนำหุ้นหมวดหนึ่งที่มี Moat ที่อยากจะนำเสนอไม่มีในไทยได้รู้จักด้วยครับ เผื่อเป็นโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุนในต่างประเทศครับผม
ท้ายสุดนี้มี Key Takeaway ที่ผมตกตะกอนได้เกี่ยวกับบริษัทที่ตลาดมองว่ามีคุณภาพ ซึ่งมีหลักๆ ประมาณ 7 ข้อ ดังนี้ครับ
1)เป็นบริษัทมี Profit Margin สูง
2)บริษัทมี Free Cash Flow ตลอด
3)นอกจากมี Free Cash Flow สูงแล้ว มีการลง Capex ในระดับไม่มากนัก (อาจจะไม่เกิน 35% ของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน)
4)บริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนมีอัตราที่สูง
5)พึงระลึกไว้ ว่าหุ้นปันผลดีๆ คือบริษัทที่มี Recurring Income อย่างสม่ำเสมอ
5.5) และจำดีมากหาก Income ส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้นเหนือกว่าอัตราการเพิ่มของ GDP กับ Inflation
6)จากข้อที่ 5 Recurring Income ล้วนมาจากการมี Recurring Revenue ที่มีศักยภาพ กล่าวคือสินค้าหรือการบริการของบริษัทต้องเป็นที่ต้องการตลอด และอาจมีเพิ่มขึ้นบ้าง
7)จากข้อที่ 6 Recurring Revenue จะดีมากที่สุดหากว่าไม่มีคู่แข่งหรือสินค้าสับเปลี่ยนมาตัดกำลัง คงดีไม่น้อยหากเราซื้อหุ้นที่ดูผูกขาด แต่ก็สามารถวางตัวให้ไม่มีข้อครหาได้ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารแล้วครับ ว่าวางตัวและดำเนินนโยบายสร้างภาพลักษณ์อย่างไร
สำหรับสิ่งที่ผมตกตะกอนและอยากฝากฝังทุกคนไว้ก็มีเพียงเท่านี้ หวังว่าวีดีโอและเนื้อหานี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากทุกคนชอบผมก็ดีใจและฝากร้ investing ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกคนด้วยนะครับ ที่นี่เราจะรวมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลนักลงทุนไว้ในที่เดียว เพื่อเสริมศักยภาพสังคมการลงทนต่อๆ ไปครับ
โชคดีรักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy ครับผม
[Hybrid Study:John Neff] แก่นการลงทุนหุ้นวงจร เพือถือรันหลายเด้งสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมาขอ Tribute หลักการลงทุนของคุณ John Neff ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในสายผสมนี้กันนะครับ
และเนื่องในโอกาสที่วันที่ 19 กันยานี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณ John Neff และคุณ John Neff เองก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง นับว่า 1 ในตำนานแห่งโลกการลงทุนของเราได้จากเราแล้วอีกหนึ่งราย แต่ว่าหลักการของคุณ John Neff จะยังคงอยู่ในจิตใจของนักลงทุนสาย Value ทุกท่าน
สำหรับผมแล้ว การระลึกถึงและ"ให้เกียรติ" หลักการของใครก็ตาม คือการใช้หลักการนั้นเป็นพื้นฐานอ้างอิงเพื่อให้หลักการนั้นเป็นที่พูดถึง และขัดเกลาให้ทันต่อโลกมากขึ้น ผมชอบหลักการของคุณ John Neff มาก จึงเป็นเหตุให้เขียนอินดิเคเตอร์ DDM ขึ้นมาด้วย
และสิ่งที่ผมได้ทำในวันนี้ก็คือการทำให้หลักการของคุณ John Neff ยังคงมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยก็ปรับประยุกต์ใช้ในรูปแบบกราฟผ่าน Trading View ซึ่งโค้ดอินดิเคเตอร์นี้ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณ John Neff อย่างแท้จริง
หลักการลงทุนนี้ผมใช้กับการอาศัยซื้อหุ้น(โดยเฉพาะหมวดวงจร : Commodities) ในจุดที่ PE ต่ำอย่างสวนตลาด แต่หลักการที่เราจะได้มาที่ PE ต่ำนั้น ย่อมเกิดจากการปรับ ตัว E หรือ EPS จากสมมการ PE = Price / EPS , โดยผมจะ Predict ค่า EPS ผ่านตัวรายได้ในแบบที่ควรจะเป็น
และนำรายได้นั้นมาจับคุณด้วยอัตราส่วน Net Margin ในระดับ Base Case-Best Case ซึ่งค่าตัวเลขของ Net Margin นี้เราจะได้มาจากการทำ Research หุ้นในหมวด Commodities ย้อนหลังนะครับ
และจะตั้งตัวเลขพวกนี้เสมือนเป็นตุ๊กตาเฉยๆ เพื่อให้เราหาค่า EPS ให้ได้
ในการตั้งค่า Net Margin นี้ ผมจะมีการตั้งเป็นหลายค่ามากๆ และค่าที่ต่ำที่สุดก็คือ 1% มาจากสมมติฐานที่ว่าปกติหุ้น Commodities ตอนจะจบรอบราคาเขาจะลงมาแรงมากๆ จากราคาสินค้าอ้างอิงตกต่ำไม่ว่าจะเหล็ก น้ำมัน เคมี แร่ธาตุต่างๆ
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วส่วนมากบริษัทจะมีผลขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ดี หรือจากรายได้จากการขายสินค้าลดลง จนแบกรับต้นทุนคงที่ไม่ได้ ทั้งหลายนี้เองจึงทำให้ตัว PE ของบริษัท “ติดลบ” หรือก็คือคำนวณไม่ได้ หรือแม้แต่ PE พุ่งสูงขึ้นเป็นหลัก “ร้อยเท่า” จากการที่ EPS นั้นแกร่งนั่นเอง
การที่ผมตั้ง Net Margin ที่ 1% นี้ก็เพื่อเป็น “บาร์อย่างต่ำๆ” ที่บริษัทสมควรทำได้ เมื่อเราได้ NPM ที่ 1% มาได้แล้ว เราก็จับ 1% มาคูณกับตัวเลขรายได้ครับ(ตรงส่วนนี้บางคนอาจใช้รายได้เมื่อปีที่แล้ว หรือว่ารายได้เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง แล้วแต่สไตล์แต่ละคนเลยครับ)
เมื่อนำ Revenue * NPM แล้วเราก็จะได้ “กำไรสุทธิ” จากนั้นก็นำมาหารด้วยจำนวนหุ้น ทีนี้เราก็ได้ EPS อันเป็นพระเอกของเราแล้ว
จากนั้นเราก็นำ EPS มาเพื่อที่จับคูณด้วย PE อย่างที่ควรจะเป็น โดยเคสนี้ผมจะให้ที่ PE = 6-8 ตรงส่วนนี้หากใคร Conservative มากๆ อาจใช้ที่ PE 5 ไปเลยก็ได้ โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า “ใครกันล่ะ จะไม่อยากได้หุ้น PE 5 เท่า หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลหลัก 10% ต่อปี ณ ระดับราคาฐานต่ำนี้”
ในตอนนี้เราก็ได้ราคาหุ้นแล้ว ผมก็ให้แสดงค่าเป็นเหมือนเส้นแนวรับแนวต้านที่จะอัพเดตทุกๆ ปีนะครับ จากการที่ข้อมูลการเงินจะมีอัพเดตใหม่ทุกปี ตรงเส้นแนวรับ/แนวต้าน พวกนี้เสมือนกับเป็น “แนวรับเชิงพื้นฐาน” นั่นเองครับ
หุ้นใดก็ตามที่ลงมาเทสที่เส้นนี้ และมีการทำแท่งเทียนกลับตัว หรือมีการพักตัวตรงนี้เราอาจพิจารณาเอาเขามาใส่ลิสเพื่อรอวันให้เกิด Catalyst ให้ราคาขึ้นไปกันนะครับ จากนั้นก็รับเทรนไปเรื่อยๆ
หรือหากท่านใดเป็นสายHardcore อาจนำหุ้นนั้นไปวางหลักทรัพย์ค้ำประดันในการขอบัญชี Margin มาต่อเงินอีกรอบก็แล้วแต่สไตล์ท่านเลยครับ
หวังว่าแนวทางนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกคนนะครับ โชคดี รักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy นะครับผม
[Deep Value Scanner] หาหุ้นโคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลายและดักVI แสกนหาหุ้น Deep Value โคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลาย
สำหรับหลักการนี้ต้องขอขอบคุณ คุณเบนจามิน เกรแฮม ผู้เขียนตำรา Security Analysis และหนังสือ The Intelligent Investor และเป็นผู้ริเริ่มการลงทุนแบบ Value Investing แบบ Cigarette Butt ด้วยนะครับ
เทคนิคของ Deep Value กับเทคนิคหุ้นการลงทุนแบบ Cigarette Butt นี้ไม่ต่างกันมากเลย นั่นคือการซื้อหุ้นในมูลค่าที่น้อยกว่าทรัพย์สินส่วนของทุนบริษัท
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเลข 2 ตัวในการแสกนก่อนนะครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจหลักการแสกนนี้ นั่นคือ
1 . Net Debt ซึ่งมีสูตรคือ Cash – (Short Term Debt + Long Term Debt)
2. Enterprise Value มีสูตรคือ (Market Cap + Debt )- Cash
โดยทั้งสองตัวเลขนี้ หากมีค่าติดลบก็หมายความว่าผ่านเกณฑ์แล้วครับ หลักการคือเราจะซื้อบริษัท ณ “ราคา” ที่น้อยกว่าเงินสดสุทธิหักลบหนี้สินของบริษัทนั่นเองครับ
สำหรับข้อดีข้อเสียของหลักการนี้มีดังนี้ครับ
ข้อดี
- เราสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
- สามารถ Unlock Value ได้ ผ่านการเข้าไปถือหุ้น แล้วใช้สิทธิโหวตกดดันให้ผู้บริหารขายทอดกิจการ เพื่อนำเงินสดมาจ่ายสู่ผู้ถือหุ้นได้
- หากมูลค่าทางบัญชีสะท้อนความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับการที่เราซื้อหุ้นโดยมีส่วนลด มีความสมเหตุสมผลในการลงทุนในเชิงทฤษฎี
(มีหลักยึดในการลงทุนชัดเจน)
- สิ่งที่เราต้องทำ มีเพียงอย่างเดียวคือการรอให้มูลค่าปลดล็อค สายกราฟคือหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ
เช่นมีการสะสมพอสมควรแล้ว รวมถึงทำท่า Breakout อาจพิจารณาวางกลยุทธ์ได้
ข้อเสียและจุดอ่อน
- หากบัญชีมีการตกแต่งขึ้น อาจเป็นอุปสรรคได้ในการรับรู้มูลค่าที่แท้จริง
- ราคามักไม่ค่อยมีการขึ้นลงมาก หากไม่มีปัจจัยมาขับมูลค่า
เช่น การ Take Over , การขายสินทรัพย์ , การจ่ายเงินปันผลออกมา (ในกรณีที่บริษัทมีแต่เงินสดพร้อมจ่าย)
- ราคาหุ้นถูก ณ ตอนนี้ ไม่การันตีว่าจะราคาถูกตลอดไป
เช่นกรณีผู้บริหารใช้กลฉ้อฉล อย่างการนำเงินสดไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ ซึ่งบริษัทอื่นๆ ที่ว่านี้อาจเป็น Shell Company ที่ผู้บริหารคนนั้นถือหุ้น
แล้วตั้งใจทำให้เกิดผลขาดทุน จนต้อง Whiteout ธุรกิจออกไปเกิดความสูญเสียทางบัญชีบริษัทเป็นต้น
[Case Study] วิเคราะห์หุ้นทุกมิติ และสอนใช้ Relative Strength สำหรับวีดีโอนี้ผมจะมานำเสนอการใช้ Relative Strength ประยุกต์กับทรงกราฟ รวมถึงการดูปัจจัยผลักดันบริษัท รวมถึงการหาเหลี่ยมเพื่อการลงทุนนะครับ
โดยเนื้อหาในครั้งนี้ทุกท่านหากได้อ่านคำประกอบนี้ก็เพียงพอได้รับสารที่ผมต้องการสื่อในวีดีโอนี้แล้วครับผม
แต่ก่อนอื่นเรามาคุยภาษาเดียวกันก่อนนะครับ
- บริษัทที่นำเสนอนี้เป็นเพียง 1 ใน Case Study ที่น่าสนใจ
- ผมปรับราคาบริษัทเป็นหน่วย CHF เพื่อป้องกันการชี้นำราคาหุ้น
- วีดีโอนี้มี Ref ที่สำคัญราวๆ 3 แหล่งนะครับ และทาง Trading View ไม่ให้เราโพสลิงค์ไปด้านนอก ขอให้ทุกท่านโปรดวางใจ ว่าทุกอย่างที่ผมได้นำเสนอไปนี้มีเอกสารตัวเลขอ้างอิงครับ
====================================================
จากกราฟนะครับ เราจะเห็นว่าตัว Relative Strength นี้มีการหดตัวเข้าสู่ 0 อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือเมื่อเทียบหุ้นตัวนี้กับตลาดแล้ว หุ้นตัวนี้มีความแข็งแกร่งกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ และหากมองให้ไกลกว่านั้น เราอาจตั้งคำถามได้ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่หุ้นตัวนี้จะเป็นหุ้นที่แข็งกว่าตลาดสัดวันหนึ่ง" ซึ่งหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั้นก็คือหุ้นที่มีค่า RS > 1 นั่นเองครับ
จากปัจจัยจากกราฟที่แสดงให้เห็นว่าเขาทำ Sideway มาเนิ่นนาน และเริ่มมีการเปลี่ยนไป เรามาดูกันที่ปัจจัยขับเคลื่อนภายในบริษัทอันเป็นต้นสายธารของหุ้นตัวนี้กันครับ
สำหรับบริษัทที่เราพูดถึงนี้ก็คือ BAFS บริษัทผู้จำหน่ายเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องบินนั่นเอง (และขอชี้แจงเพิ่มเติมจาก Oppday บริษัทนี้เปรียบเสมือนกับ "เด็กปั๊ม" นะครับ เขามีหน้าที่บริการบรรจุเชื้อเพลิง ดังนั้นแล้วราคาน้ำมันไม่มีผลจ่อบริษัทเลยครับ)
สิ่งที่ผมได้นำเสนอนี้มีปัจจัยผลักดันคือจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เริ่มบินสะพัดมากยิ่งขึ้น โดยหากเราได้ดูงบกำไรขาดทุนสุทธิแล้ว เราจะพบว่าตัวเลขในส่วนของ EBITDA กับค่าเสื่อมเริ่มมีการหักล้าง และเริ่มเท่าทุนแล้ว
และจากการที่ผมได้ไปฟัง Oppday ย้อนหลังก็ได้ทราบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวตอนนี้เองก็ Breakeven ต่อการทำกำไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งหลายทั้งมวลนี้ นำมาสู่ทรงกราฟครับที่จากแต่ดั้งเดิมบริษัทได้มีการทำ Sideway มากว่า 2 ขวบปี อาจมีแนวโน้มที่บริษัทจะเปลี่ยนแนวโน้มไปก็ได้ ไม่ขึ้นก็ลง
โดยจุดตัดของเทรนนี้จะอยู่ที่ราวๆ เดือนมกราคา จากการตีเส้นเทรนด์ไลน์ขากด และเทรนด์ไลด์ขาขึ้น หลังจากที่พูดถึงเรื่องปัจจัยด้านเวลาที่อัดตัวพร้อมผลักดันหุ้นแล้ว เรามาดูในมิติของมูลค่ากันบ้างดีกว่าครับ
จากเครื่องมือ 2 ตัวนั่นคือ DDM และ Double Dividend Discount Model ได้แสดงให้เราเห็นว่า แต่ก่อนเดิม "ตลาด" เคยให้มูลค่าบริษัทนี้ "มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ของบริษัท" ต่อเนื่องหลายปี
และในปัจจุบัน บริษัทเองกลับมีการเทรดในระดับที่ต่ำกว่าเส้นแนวต้านที่แสดงนี้เสียอีก ดังนั้นหากเราตั้งสมมติฐานว่าราคาหุ้นจะ Mean Reversion ก็เป็นไปได้
ทั้งนี้แล้วจากข้อมูลที่เรามี อาจช่วยให้พี่ๆ เพื่อนๆ ใช้ในการวางแผนการเทรดได้นะครับ ผมว่าการที่เราวิเคราะห์ได้หลากหลายมิตินี้จะช่วยให้เราลงทุนได้อย่างมั่นใจได้มากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องแลกเข้ามาที่สาหัสเช่นกัน นั่นคือ "เราไม่อาจรู้เลย ว่าเรื่องอะไรที่เรารู้นั้นเป็น NOISE" หรือ "สิ่งก่อกวนในการลงทุน" ได้ กล่าวคือหากเรารู้สิ่งใดมากแล้ว สิ่งนั้นอาจบดบังทรรศนวิสัยในระยะยาวของเราก็เป็นได้
แต่กระนั้นแล้ว เราทุกคนในหมวดของเทรดเดอร์ก็ยังโชคดีครับที่เรายังสามารถยอมแพ้ได้ หากแผนที่เราวางไว้ไม่เป็นไปตามที่วาง ผ่านการยอมรับตัวเองและ Cutloss ทิ้งไป
ทั้งหลายนี้ผมวาดหวังว่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนแก้ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ฝากหนังสือและ investing-in-th ไว้ด้วยนะครับผม เราจะรวบรวมหนังสือที่อยู่ในจักรวาลการลงทุนไว้ให้ทุกท่านในที่เดียวเป็นร้านหนังสือเพื่อการลงทุน เพื่อการ Empowerment สังคมการลงทุนอย่างแท้จริง
ขอให้ทุกท่านโชคดี สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยครับผม
[ดักรายใหญ่VI]สร้างแนวรับ/ต้านทางพื้นฐาน ด้วย PE และเงินปันผลวันนี้ผมจะมาพูดถึงที่มาของสูตรที่ได้ใช้ในอินดิเคเตอร์ใน Trading View กันนะครับ
(โดยอินดิเคเตอร์นี้ชื่อว่า DDM เพื่อแสดงแนวรับแนวต้านสำหรับสายพื้นฐานนะครับ สามารถดูสคริปสูตรได้ที่ด้านล่างคำอธิบายนี้ได้เลยครับ)
หลักๆ คือเพื่อต้องการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างง่ายไว้ดูว่าแนวที่ควรซื้อแบบสวนกระแสอย่าง VI ควรซื้อประมาณโซนสะสมบริเวณไหนดี และใช้ประกอบการดูโซนการทำ Price Pattern ด้วย
หลักการคือเราจะใช้การกำหนดค่า PE ผ่านการตั้งค่า Dividend Payout ไว้คงที่(ที่ 40%) และปรับตัวเลข % Dividend Yield ตามที่เราต้องการ (2,3,4,6 เท่าไรก็ได้ตามที่เราอยากตั้งครับ)
ดั่งแนวรับและแนวต้าน โดยจะเป็นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DDM นั่นเองครับ
สูตรมูลฐานที่เราจูดคือ Dividend Yield% = DPS / Price
และจะปรับมาเป็น PE = %Dividend Payout/%dividend Yield กันนะครับ
โดยท่านสามารถฟังการอธิบายเต็มๆ ได้ผ่านทางวีดีโอนี้นะครับ และมีตัวอย่างประกอบด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยสำหรับการลงทุนโดยใช้อินดิเคเตอร์ต้นทางนะครับ
สำหรับวิธีการดักทางรายใหญ่ VI เราก็อาศัยดูเงินปันผลได้เลยครับ ว่าระดับไหนตามแบบ Price Pattern ที่จะจูงใจรายใหญ่ให้ซื้อหุ้นตัวนี้หรือตัวนั้น โดยอาจจะดูแนวโน้มเส้นแนวรับแนวต้านนี้ครั้นอดีตย้อนหลังก็ได้ครับ ว่าเขาเคยมีแนวที่แข็งๆ ตรงไหนเป็นต้นครับ
ทั้งนี้ท่านใดสนใจเกี่ยวกับการลงทุนแบบสวนกระแส สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ ลงทุนหุ้นแบบจอห์น เนฟฟ์ ได้นะครับผม