SMC + AOแนวทางการเทรด
เครื่องมือ
1. โครงสร้างราคา
2. AO
ขาขึ้น
1.จุดกลับตัว จาก ขาลงเป็น ขาขึ้น
1.1 AO อยู่โซนลบ
1.2 โครงสร้างราคาเกิดการทำลายโครงสร้าง
1.3 AO กลับตัวเป็น +
1.4 limit order ตรง Choch
1.5 RR 1:2
2. รันเทรน
2.1 AO +
2.2 รอ Bos
2.3 limit order ตรง Bos
2.4 RR 1:1
3.Scalping
3.1 AO +
3.2 รอ จบแท่ง HTF
3.3 ที่ LTF ใช้หลักการใน ข้อ 1,2 ในการเทรด ตามโครงสร้างที่ทำไว้ใน แท่ง HTF
3.4 RR 1:2
รูปแบบชาร์ต
GBPUSD Day เรียนรู้ แท่งเทียนตัวN netflixGBPUSD Day เรียนรู้ แท่งเทียนตัวN netflix
แท่งเทียน สไตล์น้า ใหญ่ยาว เล็กสั้น เล็กสั้น เล็กสั้น ต่อไปมักจะใหญ่ยาว
เพื่อนำไปเทรดในระบบsmc
ไม่ว่าตลาดจะเลือกทางไหน
ขอให้ทำตามแผนที่วางไว้ และมีวินัย สามารถได้กำไรทุกคนครับ.
ไม่ดื้อ ไม่โลภ ไม่กลัว
เสี่ยงเท่าที่คุณจะสูญเสียมันได้
นิ่งให้พอ รอให้เป็น เย็นให้ได้
เล็กน้อยxสม่ำเสมอ = มหาศาล
ท่านใดเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดติดตาม และShare ให้ด้วยนะ
น้าอ่านทุกคอมเม้นท์และเปิดรับทุกความคิดเห็น
[แกะหุ้นเด้ง pt.1] หาจุดซื้อรันเทรน กับ Rightmove หุ้น 10 เด้ง
- วีดีโอนี้พูดถึง Technical จุดซื้อ/ขาย 75% และพูดเกริ่นถึงบริษัท 25%
- บริษัทนี้คือบริษัทแข็งแกร่ง Market Share สูง 80% อัตราการทำกำไรมากกว่า 30%
- แม้บริษัทจะดูตันๆ ในเรื่องของความสำเร็จ จากประสิทธิภาพแต่ก็เป็นหุ้นหลายเด้งได้ จากสภาพแวดล้อมที่เติบโตได้จนเป็นหุ้น 10 เด้ง
- กำไรที่ได้แต่ละรอบสั้นนั้นได้ราว 1x% และจะนิ่งๆ และก็จะขึ้นใหม่เป็นขั้นบรรได แต่หากถือยาวจะได้กำไรเป็นเด้งได้ไม่ยาก (แต่ก็ขึ้นกับบริบทเวลาด้วย)
- Breakout รับมือได้ดีที่สุดกับบริษัทจำพวกที่กำไรโตตลอดเวลา
-------------------------------
สำหรับเนื้อหาจะมี 2พาร์ทด้วยกัน โดยพาร์ทนี้จะเน้นในเรื่อง Technical อย่างเดียวนะครับ จากนั้นอีกพาร์ทจะเป็นเรื่องของการเงินและธุรกิจล้วนๆ
และโพสนี้ผมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือหลักการเลือกหุ้นลงทุน ตามมาด้วยจุดซื้อที่ได้ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหุ้นนี้/บริษัทนี้
Rightmove เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายบ้าน และมีเว็ปไซต์โปรโมทบ้านเหล่านั้นอยู่ โดยครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% ตามมาด้วยอัตราการทำกำไรที่น่าประทับใจอยู่ระดับมากกว่า 30%
นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีการเติบโตต่อรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยสูงกว่าอัตราการเติบโตของประเทศอย่างอังกฤษกว่าที่ 2.xx% กว่ามาก
ต่อมาคือเรื่องของอัตราการทำกำไรต่อส่วนของเจ้าของ(ROE) ที่ทำได้อยู่ในระดับที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องบอกว่าประทับใจ
ปัจจัยทั้งหลายนี้ ชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนสายไหนก็ย่อมอยากได้บริษัทนี้เป็นเจ้าของแน่นอนครับ ดังนั้นหากบริษัทไม่มีพื้นฐานเปลี่ยนไปมากนัก อย่างไรก็ต้องมีคนซื้อกลับมาไม่ทางมดก็ทางหนึ่งครับ
ในวีดีโอนี้หลักๆ แล้วหลักกรซื้อที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด คือการ "Breakout" ครับ คือราคาเบรคขึ้นไปเมื่อไรหลายครั้งราคาจะไม่ค่อยกลับมาที่เดิมนัก
และการซื้อตอนย่อราคามาที่เส้นค่าเฉลี่ย 20 สัปดาห์ก็สามารถทำได้ และคุณก็สามารถใช้ประกอบกับ Relative Strength ได้เช่นกัน หากบริษัทแข็งกว่าตลาดจุดนั้นก็อาจเป็นจุกซื้อได้ตลอดได้
นอกจากเรื่องของ Breakout แล้ว เราสามารถมาผสานการใช้กับทรง VCP หรือ Cup with Handle ได้เช่นกันครับ โดยช่วงที่เขาจะ Break High ตรงจุดนี้นับเป็นจุกซื้อที่ทำให้เรารู้นิสัยครับว่าได้ผล
แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือบางช่วงมีการพักตัวที่อาจนานเกินไปซึ่งหากท่านไม่ใช่นักลงทุนที่รอรวยนานได้ ตรงนี้อาจทำให้ทุนพี่ๆ เพื่อนๆ จมลงได้ครับ
แต่ก็สามารถแก้ทางได้โดยหาเครื่องไม้เครื่องมืออย่าง Option มาหากระแสเงินสดจากบริษัทนี้ได้เช่นกัน
บริษัทนี้จากที่ผมได้กล่าวแล้วคงไม่พ้นเรื่องหุ้น "แข็งแกร่ง" ตามตำราของคุณปีเตอร์ ลินซ์เลยครับ นั่นคือเป็นหุ้นที่มี Market Share แข็งแกร่ง(เช่นเคสนี้มากกว่า 80%) กอปรด้วยตัวเลขการเงินที่อัศจรรย์ ไม่ว่าใครในตลาดต่างก็อยากเป็นเจ้าของ
ดังนั้นแล้วพอหุ้นขึ้นไป หุ้นมักไปได้ไม่มากครับ นั่นคือขึ้นไปสักราว 1x% แต่แม้จะขึ้นระดับนี้แล้วการจะย่อลงไปจุดต่ำเดิมนั้นไม่ค่อยมีมาก จากการที่กำไรบริษัทแข็งแกร่งไม่มีทีท่าลงมาต่ำกว่าเดิมเลย
แม้ราคาจะเพิ่มขึ้นสั้นๆ แต่หากเราถือนานมากยิ่งขึ้นให้บริษัทได้เฉิดฉายแล้วกำไรที่คุณจะได้ก็สามารถไปได้มากกว่าเด้งได้ไม่ยากเลยครับ
และหากคุณมองว่ากำไรได้น้อยและมีบางช่วงออกข้างนาน การใช้ประโยชน์จาก Option ในการหากระแสเงินสดหรือหาโอกาสจากหุ้นนี้ก็ทำได้เช่นกัน
เนื่องจากบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เพียงพอจะมีเครื่องมือทางการเงินหลากหลาย
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน CANSLIM และ VCP pt.1แก่นแท้จากหุ้นเด้งตัวนี้
-การย่อระดับ 1x% เป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ นับเป็นเรื่องที่ปกติ
การย่อลงมาแบบหลักๆ อยู่ที่ราว 3x%
-จุดซื้อที่ทรงประสิทธิภาพจะมาจากจุดที่แข็งกว่าตลาด
หรือ Relative Strength มากกว่า 0
-การย่อลงต่อละครั้งหากไม่หลุดราคาเฉลี่ยนับว่าสามารถรันเทรนด์ต่อได้
-การที่ราคาหุ้นตกหนักๆ โดยหลัก มี 3 ปัจจัย (ซึ่งการตกนี้ไม่ต่ำกว่า 50%)
1. การลงจากเศรษฐกิจเอง เช่น COVID-19 , Subprime
2. การลงจากอุตสาหกรรม เช่น รอบสินค้าโภคภัณฑ์ , การออกกฎบัตรบางอย่างจากภาครัฐที่ทำให้ราคาไม่ไปไหน
3. การลงจากตัวบริษัทเอง เช่น ความสามารถในการแข่งขัน ปราการและคูคลองเริ่มเสื่อมสลาย (แบบนี้อันตรายที่สุด)
.
-การลงจากตัวเศรษฐกิจ หากบริษัทแข็งแกร่งจากการมีปราการและคูคลองแข็งแกร่ง ตลาดย่อมรับรู้ อย่างน้อยก็จากผลประกอบการที่หากไม่ลดลง และรายงานจากฝ่ายบริหารแจ้งออกมาไม่มีรอยฟกช้ำจากเศรษฐกิจ นายตลาดก็ตอบรับอย่างสดใส
-การลงจากอุตสาหกรรม ราคาหุ้นอาจจะไม่ขึ้นมาในทันที อาจต้องให้เวลากับเขา ในการปรับทัพรวมพลสู้ศึก ในเชิงรูปธรรม อาจขยายตลาดไปที่อื่น, คุยกับ Supplier เพื่อปรับราคาให้มี Margin ที่ดีขึ้น และคงคุณภาพสินค้า
หรือในกรณีที่สดใสที่สุด คือรอเมฆหมอกแห่งความโชคร้ายให้ผ่านไปเลย
-การลงจากตัวบริษัทเอง ยากที่สุดในการพิจารณา ต้องติดตามกระบวนการบริหารบริษัทอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูคุณภาพในสินค้าและบริการ
แก่นแท้คือดูว่า Core Value ที่เขมอบให้แก่ลูกค้าและสังคม
กับการทำกำไร ยังพอไปทางเดียวกันได้ไหม
-สิ่งที่ต้องการสื่อคือหุ้นหลายเด้งมักมีการลงแรงๆ เสมอ ไม่ว่าจากตัวเขาเอง ตัวอุตสาหกรรม หรือจากเศรษฐกิจ แก่นแท้คือการถือให้ยาวและมองให้ขาดว่าบริษัทจะผ่านไปได้ไหม เป็นสำคัญ
-การฟอร์มตัวแบบ Cup with Handle จากที่ดูมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 bars week หรือราว 200 วัน ก่อนพุ่งขึ้นไป
การรันเทรนด์เพื่อให้ได้กำไรเด้ง อาจต้องอาศัยเวลา
เราควรมีหลังบ้านที่แข็งแกร่ง มีรายได้หลายทางเพียงพอที่จะคลายกังวลกับการลงทุนในบริษัทนี้ได้
เราอาจใช้อรรถประโยชน์จาก Stock Option ช่วยได้ หากหุ้นนั้นมีบริการ Short Call หรือ Short Put เพื่อหากระแสเงินสดจากช่วง Sideway หากินกับ Volatile
(อาจจะซับซ้อน แต่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้นะครับ)
-จุดกลับตัวของกราฟ บางทีอาจใช้รูปแบบแท่งเทียนพิจารณาได้
เช่นรูปแบบ Hammer ที่ทำหางยาวมาก เสมือนการปฏิเสธการลงของราคา
-จุดกลับตัวอาจใช้ Relative Strength ช่วยได้
หากราคาหุ้นแข็งกว่าตลาด เราอาจเริ่มกลับมามองหุ้นนี้ได้ครับ
[Hybrid Study:John Neff] แก่นการลงทุนหุ้นวงจร เพือถือรันหลายเด้งสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมาขอ Tribute หลักการลงทุนของคุณ John Neff ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในสายผสมนี้กันนะครับ
และเนื่องในโอกาสที่วันที่ 19 กันยานี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณ John Neff และคุณ John Neff เองก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง นับว่า 1 ในตำนานแห่งโลกการลงทุนของเราได้จากเราแล้วอีกหนึ่งราย แต่ว่าหลักการของคุณ John Neff จะยังคงอยู่ในจิตใจของนักลงทุนสาย Value ทุกท่าน
สำหรับผมแล้ว การระลึกถึงและ"ให้เกียรติ" หลักการของใครก็ตาม คือการใช้หลักการนั้นเป็นพื้นฐานอ้างอิงเพื่อให้หลักการนั้นเป็นที่พูดถึง และขัดเกลาให้ทันต่อโลกมากขึ้น ผมชอบหลักการของคุณ John Neff มาก จึงเป็นเหตุให้เขียนอินดิเคเตอร์ DDM ขึ้นมาด้วย
และสิ่งที่ผมได้ทำในวันนี้ก็คือการทำให้หลักการของคุณ John Neff ยังคงมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยก็ปรับประยุกต์ใช้ในรูปแบบกราฟผ่าน Trading View ซึ่งโค้ดอินดิเคเตอร์นี้ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณ John Neff อย่างแท้จริง
หลักการลงทุนนี้ผมใช้กับการอาศัยซื้อหุ้น(โดยเฉพาะหมวดวงจร : Commodities) ในจุดที่ PE ต่ำอย่างสวนตลาด แต่หลักการที่เราจะได้มาที่ PE ต่ำนั้น ย่อมเกิดจากการปรับ ตัว E หรือ EPS จากสมมการ PE = Price / EPS , โดยผมจะ Predict ค่า EPS ผ่านตัวรายได้ในแบบที่ควรจะเป็น
และนำรายได้นั้นมาจับคุณด้วยอัตราส่วน Net Margin ในระดับ Base Case-Best Case ซึ่งค่าตัวเลขของ Net Margin นี้เราจะได้มาจากการทำ Research หุ้นในหมวด Commodities ย้อนหลังนะครับ
และจะตั้งตัวเลขพวกนี้เสมือนเป็นตุ๊กตาเฉยๆ เพื่อให้เราหาค่า EPS ให้ได้
ในการตั้งค่า Net Margin นี้ ผมจะมีการตั้งเป็นหลายค่ามากๆ และค่าที่ต่ำที่สุดก็คือ 1% มาจากสมมติฐานที่ว่าปกติหุ้น Commodities ตอนจะจบรอบราคาเขาจะลงมาแรงมากๆ จากราคาสินค้าอ้างอิงตกต่ำไม่ว่าจะเหล็ก น้ำมัน เคมี แร่ธาตุต่างๆ
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วส่วนมากบริษัทจะมีผลขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ดี หรือจากรายได้จากการขายสินค้าลดลง จนแบกรับต้นทุนคงที่ไม่ได้ ทั้งหลายนี้เองจึงทำให้ตัว PE ของบริษัท “ติดลบ” หรือก็คือคำนวณไม่ได้ หรือแม้แต่ PE พุ่งสูงขึ้นเป็นหลัก “ร้อยเท่า” จากการที่ EPS นั้นแกร่งนั่นเอง
การที่ผมตั้ง Net Margin ที่ 1% นี้ก็เพื่อเป็น “บาร์อย่างต่ำๆ” ที่บริษัทสมควรทำได้ เมื่อเราได้ NPM ที่ 1% มาได้แล้ว เราก็จับ 1% มาคูณกับตัวเลขรายได้ครับ(ตรงส่วนนี้บางคนอาจใช้รายได้เมื่อปีที่แล้ว หรือว่ารายได้เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง แล้วแต่สไตล์แต่ละคนเลยครับ)
เมื่อนำ Revenue * NPM แล้วเราก็จะได้ “กำไรสุทธิ” จากนั้นก็นำมาหารด้วยจำนวนหุ้น ทีนี้เราก็ได้ EPS อันเป็นพระเอกของเราแล้ว
จากนั้นเราก็นำ EPS มาเพื่อที่จับคูณด้วย PE อย่างที่ควรจะเป็น โดยเคสนี้ผมจะให้ที่ PE = 6-8 ตรงส่วนนี้หากใคร Conservative มากๆ อาจใช้ที่ PE 5 ไปเลยก็ได้ โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า “ใครกันล่ะ จะไม่อยากได้หุ้น PE 5 เท่า หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลหลัก 10% ต่อปี ณ ระดับราคาฐานต่ำนี้”
ในตอนนี้เราก็ได้ราคาหุ้นแล้ว ผมก็ให้แสดงค่าเป็นเหมือนเส้นแนวรับแนวต้านที่จะอัพเดตทุกๆ ปีนะครับ จากการที่ข้อมูลการเงินจะมีอัพเดตใหม่ทุกปี ตรงเส้นแนวรับ/แนวต้าน พวกนี้เสมือนกับเป็น “แนวรับเชิงพื้นฐาน” นั่นเองครับ
หุ้นใดก็ตามที่ลงมาเทสที่เส้นนี้ และมีการทำแท่งเทียนกลับตัว หรือมีการพักตัวตรงนี้เราอาจพิจารณาเอาเขามาใส่ลิสเพื่อรอวันให้เกิด Catalyst ให้ราคาขึ้นไปกันนะครับ จากนั้นก็รับเทรนไปเรื่อยๆ
หรือหากท่านใดเป็นสายHardcore อาจนำหุ้นนั้นไปวางหลักทรัพย์ค้ำประดันในการขอบัญชี Margin มาต่อเงินอีกรอบก็แล้วแต่สไตล์ท่านเลยครับ
หวังว่าแนวทางนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกคนนะครับ โชคดี รักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy นะครับผม
[Case Study] วิเคราะห์หุ้นทุกมิติ และสอนใช้ Relative Strength สำหรับวีดีโอนี้ผมจะมานำเสนอการใช้ Relative Strength ประยุกต์กับทรงกราฟ รวมถึงการดูปัจจัยผลักดันบริษัท รวมถึงการหาเหลี่ยมเพื่อการลงทุนนะครับ
โดยเนื้อหาในครั้งนี้ทุกท่านหากได้อ่านคำประกอบนี้ก็เพียงพอได้รับสารที่ผมต้องการสื่อในวีดีโอนี้แล้วครับผม
แต่ก่อนอื่นเรามาคุยภาษาเดียวกันก่อนนะครับ
- บริษัทที่นำเสนอนี้เป็นเพียง 1 ใน Case Study ที่น่าสนใจ
- ผมปรับราคาบริษัทเป็นหน่วย CHF เพื่อป้องกันการชี้นำราคาหุ้น
- วีดีโอนี้มี Ref ที่สำคัญราวๆ 3 แหล่งนะครับ และทาง Trading View ไม่ให้เราโพสลิงค์ไปด้านนอก ขอให้ทุกท่านโปรดวางใจ ว่าทุกอย่างที่ผมได้นำเสนอไปนี้มีเอกสารตัวเลขอ้างอิงครับ
====================================================
จากกราฟนะครับ เราจะเห็นว่าตัว Relative Strength นี้มีการหดตัวเข้าสู่ 0 อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือเมื่อเทียบหุ้นตัวนี้กับตลาดแล้ว หุ้นตัวนี้มีความแข็งแกร่งกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ และหากมองให้ไกลกว่านั้น เราอาจตั้งคำถามได้ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่หุ้นตัวนี้จะเป็นหุ้นที่แข็งกว่าตลาดสัดวันหนึ่ง" ซึ่งหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั้นก็คือหุ้นที่มีค่า RS > 1 นั่นเองครับ
จากปัจจัยจากกราฟที่แสดงให้เห็นว่าเขาทำ Sideway มาเนิ่นนาน และเริ่มมีการเปลี่ยนไป เรามาดูกันที่ปัจจัยขับเคลื่อนภายในบริษัทอันเป็นต้นสายธารของหุ้นตัวนี้กันครับ
สำหรับบริษัทที่เราพูดถึงนี้ก็คือ BAFS บริษัทผู้จำหน่ายเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องบินนั่นเอง (และขอชี้แจงเพิ่มเติมจาก Oppday บริษัทนี้เปรียบเสมือนกับ "เด็กปั๊ม" นะครับ เขามีหน้าที่บริการบรรจุเชื้อเพลิง ดังนั้นแล้วราคาน้ำมันไม่มีผลจ่อบริษัทเลยครับ)
สิ่งที่ผมได้นำเสนอนี้มีปัจจัยผลักดันคือจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เริ่มบินสะพัดมากยิ่งขึ้น โดยหากเราได้ดูงบกำไรขาดทุนสุทธิแล้ว เราจะพบว่าตัวเลขในส่วนของ EBITDA กับค่าเสื่อมเริ่มมีการหักล้าง และเริ่มเท่าทุนแล้ว
และจากการที่ผมได้ไปฟัง Oppday ย้อนหลังก็ได้ทราบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวตอนนี้เองก็ Breakeven ต่อการทำกำไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งหลายทั้งมวลนี้ นำมาสู่ทรงกราฟครับที่จากแต่ดั้งเดิมบริษัทได้มีการทำ Sideway มากว่า 2 ขวบปี อาจมีแนวโน้มที่บริษัทจะเปลี่ยนแนวโน้มไปก็ได้ ไม่ขึ้นก็ลง
โดยจุดตัดของเทรนนี้จะอยู่ที่ราวๆ เดือนมกราคา จากการตีเส้นเทรนด์ไลน์ขากด และเทรนด์ไลด์ขาขึ้น หลังจากที่พูดถึงเรื่องปัจจัยด้านเวลาที่อัดตัวพร้อมผลักดันหุ้นแล้ว เรามาดูในมิติของมูลค่ากันบ้างดีกว่าครับ
จากเครื่องมือ 2 ตัวนั่นคือ DDM และ Double Dividend Discount Model ได้แสดงให้เราเห็นว่า แต่ก่อนเดิม "ตลาด" เคยให้มูลค่าบริษัทนี้ "มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ของบริษัท" ต่อเนื่องหลายปี
และในปัจจุบัน บริษัทเองกลับมีการเทรดในระดับที่ต่ำกว่าเส้นแนวต้านที่แสดงนี้เสียอีก ดังนั้นหากเราตั้งสมมติฐานว่าราคาหุ้นจะ Mean Reversion ก็เป็นไปได้
ทั้งนี้แล้วจากข้อมูลที่เรามี อาจช่วยให้พี่ๆ เพื่อนๆ ใช้ในการวางแผนการเทรดได้นะครับ ผมว่าการที่เราวิเคราะห์ได้หลากหลายมิตินี้จะช่วยให้เราลงทุนได้อย่างมั่นใจได้มากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องแลกเข้ามาที่สาหัสเช่นกัน นั่นคือ "เราไม่อาจรู้เลย ว่าเรื่องอะไรที่เรารู้นั้นเป็น NOISE" หรือ "สิ่งก่อกวนในการลงทุน" ได้ กล่าวคือหากเรารู้สิ่งใดมากแล้ว สิ่งนั้นอาจบดบังทรรศนวิสัยในระยะยาวของเราก็เป็นได้
แต่กระนั้นแล้ว เราทุกคนในหมวดของเทรดเดอร์ก็ยังโชคดีครับที่เรายังสามารถยอมแพ้ได้ หากแผนที่เราวางไว้ไม่เป็นไปตามที่วาง ผ่านการยอมรับตัวเองและ Cutloss ทิ้งไป
ทั้งหลายนี้ผมวาดหวังว่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนแก้ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ฝากหนังสือและ investing-in-th ไว้ด้วยนะครับผม เราจะรวบรวมหนังสือที่อยู่ในจักรวาลการลงทุนไว้ให้ทุกท่านในที่เดียวเป็นร้านหนังสือเพื่อการลงทุน เพื่อการ Empowerment สังคมการลงทุนอย่างแท้จริง
ขอให้ทุกท่านโชคดี สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยครับผม
อินดิเคเตอร์2ตัว สร้างกำไร120เท่า winrate67% ระยะเวลา 4เดือน วันนี้น้ามาแนะนำระบบ เทรดที่มีผลลัพธ์ 120RR ภายในระยะเวลา 4เดือน
winrate 67% ใครยังไม่มีระบบ ที่ถูกใจมารองดุชุดเทรดนี้กันเลย
คู่เทรดที่ใช้ทดสอบ BTCUSDT timeframe H1
อินดิเคเตอร์ที่ใช้
อินดิเคเตอร์ตัวแรก trendline with Breaks (lux)
อินดิเคเตอร์ตัสอง TRAMA
วิธีการใช้งาน รอจังหวะ สัญญา singal B เขียว เหนือเส้นม่วง
รอจังหวะ สัญญา singal B แดง ใต้เส้นม่วง
วางSL ไว้ที่ปลายแท่งเทียนก่อนหน้า
RR ขั้นต่ำ1.5 เท่า
เงื่อนไขการเทรด 1 รอสัญญา break signal
2 ดูว่าอยู่เหนือเส้นม่วง buy/long
ใต้ม่วง sell/short
3 วางstoploss ไว้ที่ปลายแท่งก่อนหน้า
4. วางTP ขั้นต่ำ1.5เท่า
คำเตือน ไม่เทรด ขัดแย้งกับหน้าเทรด
แท่งเทียนถัดไป ไม่ควรกลับมาเข้ากลับที่Break ไปแล้ว ควรปิดแท่งเป็นสีตามหน้าเทรด
สรุปผลbacktest เทรด43ไม้
win 29 ไม้ winrate 64%
loss 14ไม้
RR 120 เท่า
ระยะเวลาในการbacktest 4เดือน 1มค -30เมษา
BTC - การหา Cluster เพื่อยืนยันแนวโน้มในการกลับตัวเช้านี้มีสภาพที่น่าสนใจ สำหรับการหาแนวโน้มการกลับตัว ด้วย Cluster ที่ประกอบด้วย Tool, Pattern และ Indicator นะครับ
Tool ตัวไหน, Pattern รูปแบบใด พร้อมทั้งสภาพ indicator ลักษณะใดสามารถดูได้จากคลิปเลยนะครับ
โดยผมยกตัวอย่างจาก play ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันในการ trade BTC
Cluster ประกอบด้วย:
1. Fibo. Retracement
2. Fibo Extension
3. Andrew - Pitchfork
4. Hidden Bullish
BTC - การหาแนวโน้มการกลับตัวจาก TD Sequential ต่อเนื่องจาก Idea ที่แล้วนะครับ พี่ผมเคยเกริ่นเอาไว้ในเรื่องการใช้งาน indicator ที่เป็นการบ่งบอกถึง "แนวโน้ม" ในการกลับตัวอย่าง TD Sequential
ซึ่งเป็น Free Indicator ที่ดีและมีประโยชน์มากๆ ตัวนึงในกระดานนี้
ดูเนื้อหาจาก Clip แล้วผมขออนุญาตสรุปเอาไว้ตรงนี้ด้วยนะครับ
- TD Sequential คือการเคลื่อนที่ต่อเนื่องกัน "9" แท่งในทิศทางเดียวกัน
- การเคลื่อนที่ขึ้นต่อเนื่อง เมื่อครบ 9 แท่ง จะบ่งบอกถึงสภาพการอ่อนแรงลงในขาขึ้น ในทางกลับกัน 9 แท่งลงติดกันก็จะบ่งบอกถึงการอ่อนแรงในการลง
- การนับ 9 แท่งต่อเนื่องนี้เราเรียกว่าเป็น phase "Setup" (ซึ่งการ Countdown จะยังไม่อธิบายเพราะ ตลาด react กับการ Setup ดีมากพออยู่แล้ว)
- คำว่าเคลื่อนที่ขึ้น 9 แท่งต่อเนื่อง ให้พิจารณา "ราคาปิด" ที่ต้องเหนือกว่า "ราคาปิด" ของ 4 แท่งก่อนหน้า
- การเกิด Perfect Sell Signal คือการที่ "High Price" ของแท่งที่ 8\9 เหนือกว่า "High Price" ของแท่งที่ 6\7
- การเกิด Sell or Buy signal จาก TD Seq. ไม่ใช่เป็นการบอกจุดกลับตัว แต่เป็นการบอก แนวโน้ม ที่อาจจะเกิดการกลับตัว
- การเข้าซื้อต้องรอให้เกิดการ swing ที่ประกอบไปด้วยแท่งเทียน 2-3 แท่งก่อนเท่านั้น ไม่ใช่ซื้อ ณ แท่งที่ 9
- การเข้าซื้อสามารถพิจารณาสภาพ Bull\Bear จาก TF ย่อยเป็นการประกอบได้
ทั้งนี้ขอบคุณ พี่ม้าเฉียวดูหุ้น ที่เคยแชร์ความรู้ indicator TD Seq. นี้มาในการเทรดหุ้นนะครับ