Inves_money

วิเคราะห์ทองคำศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2565

FX:XAUUSD   ทองคำ / ดอลลาร์สหรัฐ
ทองคำนิวยอร์กยังปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี เหตุเดิมดอลลาร์แข็งค่า

ทองคำนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ยังปรับร่วงลงจากการแข็งค่าของดอลลาร์ โดยหลักๆ ก็คงเป็นความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เห็นได้ว่า FedWatch tool ได้ชี้ว่านักลงทุนเชื่อมั่น 100% ว่าเฟดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง ในเดือนมิ.ย. และ ก.ค. ทำให้ดัชนีดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องสลับช่วงปรับฐานสั้น ทำให้ทองคำเจอแรงกดดันตลอดเวลา แม้ระหว่างวันอาจมีการปรับขึ้นได้บ้างของราคาทองคำ แต่ก็ไม่อาจปรับขึ้นจากแรงซื้อระยะยาว เพียงมีแต่การกทำกำไรระยะสั้นๆ ตามการทดสอบแนวรับและแนวต้านสำคัญๆ

สัญญาตลาดทองคำ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลง 29.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 1.57% ปิดที่ระดับ 1,824.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM
ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้พิจารณาในกรอบรายวันกันก่อน กรอบรายวันตอนนี้ทางเทคนิคเราได้เห็นรูปแบบของ Gartley Pattern เกิดขึ้นมาโดยหากพิจารณาตามหลักการของรูปแบบดังกล่าวช่วงโอกาสในการเข้าซื้อประเมินไว้ที่ระดับ 1800-1809 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเป้าหมายราคาระดับช่วงแนวต้านบริเวณที่ 1 ระหว่าง 1977-1998 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวต้านบริเวณที่ 2 ระหว่าง 2048-2071 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองคำจะกลับไปเหนือระดับ 1900 แล้วทดสอบบริเวณ 2000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้หรือไม่นั้น หากพิจารณาตามเหตุการณ์ ณ ปัจจุบัน โอกาสที่จะเป็นก็มีความเป็นไปได้ ไม่ว่าความไม่แน่นอนจากสงครามที่อาจส่อเค้าขยายวงกว้างขึ้น และเหตุการแพร่ระบาดโควิดที่พบเป็นรายแรกที่เกาหลีเหนือ และที่จะไม่กล่าวถึงเลยไม่ได้คือภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงทั่วโลกขณะนี้ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่จะมีการเร่งปรับอัตราดอกเบี้ยรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าจะปรับที่ระดับ 0.50% ในอีกสองครั้งที่จะมีการประชุมต่อจากนี้ จึงคงเป็นเหตุผลให้เกิดความผันผวนต่อราคาทองคำตลอดเวลา ปกติแล้วผมจะเป็นคนที่ชอบหารูปแบบของ Harmonic ในการตัดสินใจวางแผนการเทรดในกรอบรายวันเป็นหลัก ซึ่งจากรูปแบบนี้ถ้าประเมินกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผมมีความเชื่อลึกๆ ว่าเรื่องการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลไกระยะสั้น ผมไม่เชื่อว่าดอลลาร์จะแข็งค่าสูงสุดที่เป็นอยู่ขณะนี้ได้ยาวเกินไป เพราะก็จะไม่ส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ค้าส่งออกของสหรัฐฯ โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่มีเรื่องพลังงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเรื่องต้นๆ ชาติยุโรปก็คงตัดสินใจซื้อพลังงานราคาแพงจากสหรัฐฯ ได้ลำบากมากขึ้น ยิ่งค่าดอลลาร์แข็งค่าเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อราคาพลังงานที่จะนำเข้าจากสหรัฐฯ โดยตรงอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงเป็นเหตุให้ติดตามได้ตลอดเวลาจริงๆ ประเมินสำหรับกรอบรายวันนั้น ถ้าหากรูปของ Harmonic (Gartley) ที่เปิดขึ้นไม่เสียทรง คาดว่าถ้าไม่หลุด 1800-1809 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไปได้อีกครั้ง แต่ทั้งนี้ถ้าพิจารณาส่วนย่อยนั้นเรายังคงเห็นอุปสรรคจากแรงซื้อที่ยังไม่สูงพอเท่าไหร่นัก เมื่อพิจารณาจากเส้น SMA50 ที่บริเวณ 1900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จะเป็นอุปสรรคพอสมควรที่จะทำให้ราคาทองคำฟื้นคืนตัวกลับไปได้อีกอย่างมั่นคงเหนือระดับ 1900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็ต้องเฝ้าติดตามหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปได้จริง และเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว

=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================

Short Position : หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1829-1834 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจเสี่ยงเปิด “ขาย” ได้จากแนวบริเวณดังกล่าว โดยคงเน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาปิดทำกำไรในกรอบแนวรับตั้งแต่ 1822-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1834 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

Long Position : หากราคาทองคำทรงตัวเหนือแนวรับบริเวณ 1822-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิด “ซื้อ” ได้จากแนวบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเป็นหลัก ให้พิจารณาปิดทำกำไรในกรอบแนวต้านบริเวณ 1840-1835 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์)



แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง)
-------------------------------------------
Resistance :1842 / 1891 / 1925
-------------------------------------------
Support : 1842 / 1813 / 1780
-------------------------------------------

แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1829 / 1834 / 1840
-------------------------------------------
Support : 1822 / 1810 / 1799
-------------------------------------------

แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Down trend
Time Frame H4 = Down trend
Time Frame Day = Down trend
Time Frame Week = Up trend
Time Frame Month = Up trend

-------------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (เมษายน)
-------------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ล่าสุดลดลง -5.80
คงถือสุทธิ = 1,060.82 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,821.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 8
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -33.73 ตัน
-------------------------------------------------




*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ

ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ