[Hybrid Study:John Neff] แก่นการลงทุนหุ้นวงจร เพือถือรันหลายเด้งสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมาขอ Tribute หลักการลงทุนของคุณ John Neff ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในสายผสมนี้กันนะครับ
และเนื่องในโอกาสที่วันที่ 19 กันยานี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณ John Neff และคุณ John Neff เองก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง นับว่า 1 ในตำนานแห่งโลกการลงทุนของเราได้จากเราแล้วอีกหนึ่งราย แต่ว่าหลักการของคุณ John Neff จะยังคงอยู่ในจิตใจของนักลงทุนสาย Value ทุกท่าน
สำหรับผมแล้ว การระลึกถึงและ"ให้เกียรติ" หลักการของใครก็ตาม คือการใช้หลักการนั้นเป็นพื้นฐานอ้างอิงเพื่อให้หลักการนั้นเป็นที่พูดถึง และขัดเกลาให้ทันต่อโลกมากขึ้น ผมชอบหลักการของคุณ John Neff มาก จึงเป็นเหตุให้เขียนอินดิเคเตอร์ DDM ขึ้นมาด้วย
และสิ่งที่ผมได้ทำในวันนี้ก็คือการทำให้หลักการของคุณ John Neff ยังคงมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยก็ปรับประยุกต์ใช้ในรูปแบบกราฟผ่าน Trading View ซึ่งโค้ดอินดิเคเตอร์นี้ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณ John Neff อย่างแท้จริง
หลักการลงทุนนี้ผมใช้กับการอาศัยซื้อหุ้น(โดยเฉพาะหมวดวงจร : Commodities) ในจุดที่ PE ต่ำอย่างสวนตลาด แต่หลักการที่เราจะได้มาที่ PE ต่ำนั้น ย่อมเกิดจากการปรับ ตัว E หรือ EPS จากสมมการ PE = Price / EPS , โดยผมจะ Predict ค่า EPS ผ่านตัวรายได้ในแบบที่ควรจะเป็น
และนำรายได้นั้นมาจับคุณด้วยอัตราส่วน Net Margin ในระดับ Base Case-Best Case ซึ่งค่าตัวเลขของ Net Margin นี้เราจะได้มาจากการทำ Research หุ้นในหมวด Commodities ย้อนหลังนะครับ
และจะตั้งตัวเลขพวกนี้เสมือนเป็นตุ๊กตาเฉยๆ เพื่อให้เราหาค่า EPS ให้ได้
ในการตั้งค่า Net Margin นี้ ผมจะมีการตั้งเป็นหลายค่ามากๆ และค่าที่ต่ำที่สุดก็คือ 1% มาจากสมมติฐานที่ว่าปกติหุ้น Commodities ตอนจะจบรอบราคาเขาจะลงมาแรงมากๆ จากราคาสินค้าอ้างอิงตกต่ำไม่ว่าจะเหล็ก น้ำมัน เคมี แร่ธาตุต่างๆ
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วส่วนมากบริษัทจะมีผลขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ดี หรือจากรายได้จากการขายสินค้าลดลง จนแบกรับต้นทุนคงที่ไม่ได้ ทั้งหลายนี้เองจึงทำให้ตัว PE ของบริษัท “ติดลบ” หรือก็คือคำนวณไม่ได้ หรือแม้แต่ PE พุ่งสูงขึ้นเป็นหลัก “ร้อยเท่า” จากการที่ EPS นั้นแกร่งนั่นเอง
การที่ผมตั้ง Net Margin ที่ 1% นี้ก็เพื่อเป็น “บาร์อย่างต่ำๆ” ที่บริษัทสมควรทำได้ เมื่อเราได้ NPM ที่ 1% มาได้แล้ว เราก็จับ 1% มาคูณกับตัวเลขรายได้ครับ(ตรงส่วนนี้บางคนอาจใช้รายได้เมื่อปีที่แล้ว หรือว่ารายได้เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง แล้วแต่สไตล์แต่ละคนเลยครับ)
เมื่อนำ Revenue * NPM แล้วเราก็จะได้ “กำไรสุทธิ” จากนั้นก็นำมาหารด้วยจำนวนหุ้น ทีนี้เราก็ได้ EPS อันเป็นพระเอกของเราแล้ว
จากนั้นเราก็นำ EPS มาเพื่อที่จับคูณด้วย PE อย่างที่ควรจะเป็น โดยเคสนี้ผมจะให้ที่ PE = 6-8 ตรงส่วนนี้หากใคร Conservative มากๆ อาจใช้ที่ PE 5 ไปเลยก็ได้ โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า “ใครกันล่ะ จะไม่อยากได้หุ้น PE 5 เท่า หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลหลัก 10% ต่อปี ณ ระดับราคาฐานต่ำนี้”
ในตอนนี้เราก็ได้ราคาหุ้นแล้ว ผมก็ให้แสดงค่าเป็นเหมือนเส้นแนวรับแนวต้านที่จะอัพเดตทุกๆ ปีนะครับ จากการที่ข้อมูลการเงินจะมีอัพเดตใหม่ทุกปี ตรงเส้นแนวรับ/แนวต้าน พวกนี้เสมือนกับเป็น “แนวรับเชิงพื้นฐาน” นั่นเองครับ
หุ้นใดก็ตามที่ลงมาเทสที่เส้นนี้ และมีการทำแท่งเทียนกลับตัว หรือมีการพักตัวตรงนี้เราอาจพิจารณาเอาเขามาใส่ลิสเพื่อรอวันให้เกิด Catalyst ให้ราคาขึ้นไปกันนะครับ จากนั้นก็รับเทรนไปเรื่อยๆ
หรือหากท่านใดเป็นสายHardcore อาจนำหุ้นนั้นไปวางหลักทรัพย์ค้ำประดันในการขอบัญชี Margin มาต่อเงินอีกรอบก็แล้วแต่สไตล์ท่านเลยครับ
หวังว่าแนวทางนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกคนนะครับ โชคดี รักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy นะครับผม