Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย แกว่งตัวลงเพื่อปรับฐาน แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงและเกิดสัญญาณขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,247.59 จุด เพิ่มขึ้น 10.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.98 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (1/10) ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นโดยตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ตัวเลขการว่างงานที่ดีกว่าคาด สภาคองเกรสยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,232 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลง ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาลง เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และมีกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,272 จุด ดัชนีตลาดยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,212 จุด และมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,269 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic เริ่มปรากฏรูปแบบ W-shape ในเขตขายมาเกิน สัญญาณ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,259 – 1,269 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,237 – 1,226 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv5
SET - เหตุผลที่มองว่า SET ย่อรอบนี้จบแล้ว (Video) เหตุผลที่ผมมองว่า SET index ย่อจบแล้วครับ หรืออาจจะมียังมี low เล็กๆอีกนิดหน่อย การศึกษา09:04โดย UNRPP21
SET - The low is in ตรงนี้คิดว่าเป็น Low ของ SET index แล้ว แถวๆ 50% fib อาจจะ sideway ขึ้นสักพัก ก่อนขึ้นต่อ เพิ่มขึ้นโดย UNRPP4
set 1/10/63set ยังอยู่ในแนวกรอบขาลง จะมีเส้นแนวรับใหญ่ที่ 1194 เส้นแนวต้านที่ 1270 จะมีเส้นแนวรับตามลำดับที่ 1239 1234 1212 ก่อนถึงแนวรับใหญ่ จะเส้นแนวต้านตามลำดับที่ 1248 1256 1270 ลดลงโดย nattaponvespa4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ต่างชาติขายต่อเนื่อง แรงขายต่างชาติที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,237.04 จุด ลดลง 20.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.85 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,212 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (30/9) ปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกหลังทรุดตัวลงในช่วงเปิดตลาด ตลาดขานรับตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง และนักลงทุนคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จะผ่านสภาคองเกรสในเร็วๆนี้ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,248 จุด ดัชนีตลาดหลุดแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,241 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาลง เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดมีกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,274 จุด และมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,269 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานหรือเพื่อปรับตัวลงต่อ ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,248 – 1,259 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,226 – 1,213 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ขาดปัจจัยหนุน บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปอย่างซบเซา แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,257.34 จุด ลดลง 5.68 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3.75 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (29/9) ตลาดปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น 3 วันต่อเนื่อง นักลงทุนเฝ้าติดตามการโต้วาทีระหว่างไบเดนกับทรัมป์รอบแรก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,269 จุด ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างในทิศทางลง เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,241 จุด โดยมีกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,276 จุด และมีช่องว่างขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,271 – 1,275 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน สัญญาณ MACD ยังเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,270 – 1,280 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,248 – 1,237 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv5
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวต้าน 1,279 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,263.02 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 18.08 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,279 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (28/9) กลับมาร้อนแรงจากปัจจัยบวกที่หตุนเข้ามา หุ้นกลุุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มธนาคารกลับมาปิดในแดนบวก และการฟื้นตัวของหุ้นค้าปลีก สายการบิน และทรัมป์ยืนยันว่าจะไม่การล็อกดาวน์รอบที่ 2 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,241 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาหนุนดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,279 จุด โดยมีช่องว่างขาลง (Gap) เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,271 – 1,275 จุด และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,241 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน สัญญาณ MACD ยังเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,275 – 1,287 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,251 – 1,241 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย แกว่งตัวลงในเขตขายมากเกิน แรงขายที่กระจายตัวออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ตลาดขาดปัจจัยบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,244.94 จุด ลดลง 2.52 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.56 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเดินหน้าขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (25/9) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นำโดยหุ้น Apple แต่นักลงทุนยังติดตามความขัดแย้งของสภาคองเกรสที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆในทิศทางลง ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,212 จุด และมีช่องว่างขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,255 – 1,264 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือเพื่อปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือเพื่อปรับฐาน ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,255 – 1,264 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,233 – 1,220 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv7
จุดที่ข้าพเจ้าจะเข้าซื้อกรณีกำลังจะรีบาวน์หรือขึ้นต่อเป็น B / 4 / 3 * ปล.เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น มิใช่การชี้นำใดๆเพิ่มขึ้นโดย noon43431
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย แกว่งตัวลงสลับการปรับฐาน ดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดลงจากแรงกดดันการเมืองภายในประเทศ และตลาดขาดปัจจัยบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,247.46 จุด ลดลง 16.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงหรือเพื่อปรับฐาน ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (24/9) ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ช่วงเปิดตลาดดัชนีปรับตัวลดลงเนื่องจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการสูงกว่าที่คาด แต่แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและยอดขายบ้านใหม่สูงกว่าคาด หนุนดัชนีกลับมาปิดในแดนบวก ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงแบบมีช่องว่าง (Gap) เส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,212 จุด และมีช่องว่างขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 793 – 801 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือเพื่อปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 1,212 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,260 – 1,271 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,237 – 1,227 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv2
อัพเดท ดัชนีไทย (SET index )#set #index #thailand #tradingviewthailand ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นไทยเลย ยกเว้นพวกที่ลงทุนระยะยาว กลุ่มปันผลกับตัวที่ราคาลงมาลึกๆก็ทยอยเก็บทีละนิด พอมีเวลาก็จะมาดูภาพรวมอีกที หลังจากไม่ได้ดูมาดูอีกที ดัชนีบ้านเราก็ปกติ คือลงตามเหตุและปัจจัยภายในภายนอก(น่าจะภายนอกซะมากกว่า) คำถามว่าจะลงอีกแค่ไหน 1. แย่สุดๆ ก็ ต่ำกว่า 700 (หากเกิดเหตุเช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้ตามที่คิดทั่วโลก) 2. มองแบบกลางๆ ลงไป วิ่งในกรอบ แถว 1000 - 1200 หากลงไปพักตัวแถว 1078 กำลังดีและทยอยขึ้นกลับมาแบบแข็งแรงก็น่าจะเหมาะ ด้วยเหตุนี้ผมจึงปิดชาร์ตไทย ไปหาหลักทรัพย์ตัวอื่นๆที่ทำเงินได้เร็วกว่าดีกว่า และติดตามดูดัชนีทั่วโลกและข่าวสำคัญเกี่ยวกับวัคซีน ก็พอ ที่สำคัญคือ หากมีวัคซีนสำเร็จแล้วก็ตาม ยังไงบริษัทไทยต่างๆก็คง ไม่ดีขึ้นทันตาเห็นแน่นอน ดังนั้นการเทรดสั้นๆ จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาดู แต่หากคนลงทุนระยะยาว ก็คงเลือกกลุ่ม ดูชาร์ต ตั้งเตือนราคาไว้ ก็ ทยอยแบ่งไม้เข้าไปแทน *** ลองใช้การตั้งเตือนใน trading view เป็นฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์มากจริงๆ ลดลงโดย theoris3
2020/09/23 Analysis SET index2020/09/23 Analysis SET index SET กำลังอยู่ในจุดวัดใจ ถ้าหลุดกรอบที่ตีไว้ ก็น่าจะไหลลงมาถึงเส้นสีชมพู ที่ประมาณ 1202 "Wait to see"โดย atosuwan2
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย พักตัวลง แรงขายที่กระจายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดและตลาดขาดปัจจัยบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,267.63 จุด ลดลง 7.53 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.25 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (22/9) ตลาดปิดในบวกทั้ง 3 ดัชนีหลัก โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี มีหุ้น Amazon เป็นตัวนำ นักลงทุนยังกังวลว่ามาตรการเยียวโควิดของสภาคองเกรสอาจล่าช้า ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงแบบมีช่องว่าง (Gap) หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,293 จุด ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวหลุดแนวรับของ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,269 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,303 – 1,314 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,269 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 1,269 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,277 – 1,286 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,257 – 1,245 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv5
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ขาดปัจจัยบวก ตลาดเผชิญแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด แม้ปัญหาการเมืองในประเทศดำเนินไปอย่างสงบ ความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสอง ผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,275.16 จุด ลดลง 13.25 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลง สถาบันภายในประเทศและต่างชาติเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (21/9) ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวลดลง นักลงทุนหวั่นการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสองจะกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเฟดไม่มีความชัดเจนที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,269 จุด และมีจุดสูงที่ 1,295 จุดเป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดมีทิศทางเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง เนื่องจากเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,305 – 1,315 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,269 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,317 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii),v ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 1,269 จุด ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,287 – 1,298 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,265 – 1,256 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv5
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย พักตัว แรงขายที่กระจายออกมาให้หุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,284.40 จุด ลดลง 9.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน เนื่องจากตลาดขาดมูลค่าการซื้อขาย ต่างชาติขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (17/9) แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ฉุดดัชนีตลาดหลักทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวลดลง นักลงทุนผิดหวังที่เฟดไม่ได้เปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ นอกจากส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงปี 2566 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,270 จุด และมีกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,295 จุด โดยมีจุดสูงเก่าทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,295 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง เนื่องจากการเรียงตัวของเส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลง และเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,308 – 1,318 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,269 จุด และมีเป้าหมายถัดไป 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,333 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้น โดยดัชนีตลาดยังแกว่งตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,295 – 1,305 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,272 – 1,261 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv2
SET ขาขึ้น ใครๆ ก็ทำกำไรได้ จิ้มโง่ๆ มั่วๆ ยังไงก็ได้ตัง จากการที่ผมทำห้อง VIP และได้ใส่การวิเคราะห์ กราฟ SET และหุ้นรายตัวใน SET โดยได้ทำวีดีโอ สรุปทุกวันธรรมดา + ทุกวันอาทิตย์ ( ดูกราฟรายวีค ) ทำให้ผมได้ศึกษาพฤติกรรมราคา ของหุ้นแต่ละตัวในตลาด และความสัมพันธ์ของแนวโน้มทิศทางของ SET และพอสรุปออกมาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ 1) ช่วงขาขึ้น ใครๆ ก็ทำกำไรได้ง่ายๆ แม้แต่มือใหม่ที่หลับตาจิ้มตัวไหน ก็มักจะมีกำไร ------------------------ - ถามว่า แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าช่วงไหนขาขึ้น? ก็ใช้ระบบ Trend Following มาจับ สิครับ เช่น Action Zone ( MACD > 0 ) หรือพวก ATR Channel ก็ได้ - เอาง่ายๆ ก็คือไอ้ช่วงที่มันทุบลงไปจนถึง 1000 หลัง covid ในเดือนมีนาคม 2020 แล้วหลังจากนั้นก็เด้งตลอด และเด้งยาว ไปจนถึงเดือน มิ.ย. 2020 ที่ peak ที่ 1400 - ช่วงนั้น ถ้าจำกันได้ มีคนเปิดบัญชีหุ้น "เยอะมาก" เยอะจนสื่อหลายๆ สำนักต้องเอาไปลง - ทำไมถึงเปิดกันเยอะ? ง่ายนิดเดียว เพราะตลาดมันง่ายไง! ตาสีตาสา เปิดบัญชีแล้วจิ้มหุ้นไปมั่วๆ ไรก็ได้ ยังไงก็มีกำไร เล่นเข้าๆ ออกๆ ทุกวันได้กำไรทุกวัน - พอได้กำไรง่ายๆ ก็แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องอวดลงเฟส เพราะที่ผ่านมา บอกเลยว่า SET แม่ง "แทบทำกำไรไม่ได้เลย" มาตลอดเป็นปีๆ ..แล้วจะมัวเหนียมทำไม ก็ต้องเรียกแขกเข้าเพจกันหน่อย - พออวดลงเฟส ก็จะมีคนที่เห็น ก็จะถามว่า ทำไง สอนหน่อยสิเพื่อน ... ทำไงครับแอดอยากได้บ้าง.. ก็เลยเฮโลกันไปเปิด บช. กันจนเยอะเป็นประวัติการณ์ - เปิดเสร็จ ก็ไปเทรดมั่วๆ เลือกหุ้นตามห้องแชท ตามโพย pantip จิ้มมั่วๆ ก็มีกำไร ..พอร์ตใครใหญ่ก็อวดกำไรได้วันละเป็นแสนเป็นล้าน เข้าๆ ออกๆ ได้ทุกวัน ทั้งวัน - ซึ่ง.. นี่แหละคือจุดตายของมือใหม่ เพราะเทรดกันแบบมั่วๆ ไม่มีระบบ ใครบอกตัวไหนก็เฮโลกันไปเข้าซื้อ แล้วก็ไม่ยอมถือทน ไปเข้าๆ ออกๆ พอได้กำไรเยอะๆ ก็จัดหนักจัดเต็ม ที่ตรงยอด เพราะคิดว่า ตลาดมีแต่การขึ้นอย่างเดียว - พอเข้าที่ยอด 1400 ปุ๊บ มันก็ทุบลงมาเลยจ้า ....ก็ทุบหลังจากวันที่ผมอวดกำไรลงเพจเหมือนกันแหละ 5555 สรุป ออกไม่ทัน เพราะ streaming ตั้ง SL break even ไม่ได้ และอยากออกตามระบบ ก็เลยต้องออกมาแบบขาดทุน 555 - เคสผม สุดท้ายผมก็ยอมคัทออกมา เพราะดูทรงแล้ว เสียทรงขาขึ้นไปทั้งหมด รวมถึง SET Action Zone แดงด้วย ก็เลยยอมตัดใจหนีมาถือเงินสดหมด เพื่อลดความเสี่ยง - ส่วนเคสของมือใหม่ ที่เข้ามาตอนตลาดดีๆ ... ก็เข้า อีหรอบเดิมคือ... ไปต่อกันไม่เป็น!!! ส่วนใหญ่ ก็กลับไปตั้งคำถามในห้องแชท หรือ inbox ถามกูรูที่เคยแนะนำหุ้นกันว่า... - "ตัวนี้จะลงไปอีกเยอะไหมครับ?" -- "ตัวนี้มันจะเด้งกลับเมื่อไหร่คะ?" -- "ทำไมหุ้นตัวนี้มันถึงลงแรงจังคับแล้วเราจะทำยังไงต่อดี คัทดีไหมครับ?" ฯลฯ - ซึ่งคำถามพวกนี้ ถ้าให้ผมตอบ ก็คงตอบได้ตรงๆ ว่า "ถ้ากูรู้อนาคต กูก็คงรวยไปนานแล้วล่ะจ่ะ.. ใครจะไปตอบได้วะ ไอ้บ้า!" - แต่ถ้าให้กูรูสาย Fan Service ก็คงจะนั่งดูกราฟ นับเวฟ ให้ความหวังและกำลังใจ เม่าที่ดอย กันต่อไปเรื่อยๆ ว่า... "ใกล้เด้งแล้วล่ะครับ ทนถือต่ออีกนิด ไม่ขายไม่ขาดทุน" 2) ช่วงขาลง หรือ sideway down ... ใครไปขยัน ยิ่งเจ๊ง -------------------------- - ความนรกของช่วง sideway down ของ SET ที่ผมเจอมากะตัวก็คือว่า... - หุ้นส่วนใหญ่ จะเป็นการเด้งขึ้นๆ ลงๆ ออกข้างไปเรื่อยๆ มั่วๆ ซั่วๆ ไม่มีหลัก - และเม่าที่เทรดด้วยอารมณ์ ก็จะเจอภาวะ เข้าปุ๊บ ร่วงปั๊บ คัทปุ๊บ เด้งป๊าบ อยู่ร่ำไป - จนสุดท้าย เจอบ่อยๆ ก็จะถอยไปใช้กลยุทธ "ไม่คัทแล้วโว้ย เดี๋ยวคัทแล้วเด้ง ไม่ขายไม่ขาดทุน" - สุดท้าย คนที่ไปเข้าที่ยอดแถวๆ 1400 ตอนนี้ก็ยังไม่ยอมคัทกัน และถือรอกันอย่างมีความหวังว่า .. "เดี๋ยวก็คงเด้งน่า" .. "ถือไปเรื่อยๆ กินปันผลน่า" .. "กูรูบอกว่า ตลาดถึงจุดต่ำสุดแล้ว เดี๋ยวก็เด้งน่า"... "กูรูบอกหุ้นไทยจะไป 1800 ถือต่อล่ะกัน เดี๋ยวตกรถ"... - และสารพัดข้ออ้างที่จะเอามาทำให้เราติดกับดัก ความ bias ของการกลัวการขาดทุนนั่นเอง... - ส่วนคนที่พยายามจะเล่น day trade ในวัน ก็อาจจะเจออารม์กราฟเด้งไปเด้งมา เดาทางยาก ไม่รู้มันจะเอาไงกันแน่ ถ้าไม่มีแผน เทรดมั่ว ก็เตรียมยับ - และความอันตรายของมือใหม่ อีกอย่างคือ.. เสียแล้วไม่หยุด .. เสียแล้วจะต้องเทรดเอาคืนให้ได้.. และนี่แหละ คือจุดที่จะทำให้พอร์ตพังเกินเยียวยา.. - เพราะ ช่วง sideway down ผมบอกเลยว่า ยิ่งเล่น ยิ่งเจ๊ง เพราะหุ้นส่วนใหญ่ในตลาด มันก็เป็นขาลง ไม่ก็ออกข้าง ไปเรื่อยๆ - ซึ่งหนทางเดียว ที่จะเอาตัวรอด และรักษากำไรที่ได้มาจากช่วงตลาดง่าย ในข้อข้างบน ก็คือ "การหยุดเทรด แล้วนั่งดูมันเฉยๆ" หรือ "ไปเทรดตลาดอื่น ที่เป็นทรงขาขึ้น" - เพราะถ้ายังตะบี้ตะบันจะยื้อต่อ ระยะยาว ยังไงก็พัง เพราะตลาดอาจจะลงต่อไปอีกก็ได้ ไม่มีใครรู้.. ก็ฝากกันไว้นะครับ คงจบแค่นี้แหละ บ่นต่อไม่ค่อยถูกละ ง่วง 555 หวังว่าคงจะมีประโยชน์กันนะครับการศึกษาโดย Real_inwCoin116
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวต้านที่ 1,310 จุด แรงซื้อกระจายตัวเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หุ้นกลุ่มการท่องเที่ยวกลับมาได้รับความสนใจ หลังรัฐบาลเตรียมเปิดการท่องเที่ยว “วีซ่าพิเศษ” ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,293.48 จุด เพิ่มขึ้น 7.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.24 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,310 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (16/9) ปิดตลาดมีทั้งบวกและลบ ดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับตัวลดลง หลังเฟดส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยต่ำไปจนถึงปี 2566 ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านกรอบบนของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,297 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,310 – 1,319 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลที่กลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้น แต่ดัชนีตลาดยังมีทิศทางเคลื่อนตัวลง ซึ่งมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,270 จุด และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,269 จุด จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,269 จุด และมีเป้าหมายถัดไป 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,333 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้น โดยดัชนีตลาดยังแกว่งตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,305 – 1,316 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,282 – 1,270 จุด กลยุทธ์การลงทุน ทยอยเข้าซื้อบางส่วน หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,270 จุด และจะทยอยเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv4
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย มูลค่าการซื้อขายชะลอตัว แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดแบบกระจายตัว หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,286.18 จุด เพิ่มขึ้น 13.84 จุด มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวลงเหลือ 4.36 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลง เนื่องจากขาดแรงขับเคลื่อนจากมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (15/9) ตลาดปิดในแดนบวกโดยแรงขับเคลื่อนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังจากดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,269 จุด โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,300 จุด การเรียงตัวของเส้น MMA2 สะท้อนว่าดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,269 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือเพื่อปรับฐาน จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ซึ่งมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement เป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,269 จุด และมีเป้าหมายถัดไป 1,212 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,333 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นแต่ขาดมูลค่าการซื้อขาย ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,296 – 1,305 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,274 – 1,265 จุด กลยุทธ์การลงทุน ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน กลับเข้าตลาดเพื่อทยอยซื้อหุ้นเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,269 จุด #ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodityโดย prajobv4
set หลุด 1300 ขาลงใน time frame dayหาก set ยังไม่กลับไปยืน 1300 จะเป็น ขาลงใน time frame day แนวรับสำคัญอยู่ 1250 1220 1170 โดยต้องสังเกตุการฟอร์มตัวของ time frame ย่อยๆ เมื่อชนแนวรับดังกล่าว หากมีจังหวะซื้อหุ้นจะมาอัพเดทอีกทีครับ ลดลงโดย plant092ที่อัปเดต: 13