[แกะหุ้นเด้ง pt.2] เล่า BizModel+งบ กับ Rightmove หุ้น 40 เด้ง สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับหุ้นเด้งตัวหนึ่งที่สามารถหาได้ตามตำราแบบฉบับของคุณ Peter Lynch เจ้าของหนังสือ One Up on Wallstreet ที่เราสามารถ ค้นหา-ถือ-ทำกำไรจากหุ้นบริษัทได้ ผ่านการหาสินค้าและบริการรอบตัวที่มีแบรนด์เป็นที่นิยม เป็นที่รักต่อผู้คน
.
โดยในวันนี้ผมอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับบริษัทนายหน้าขายสำหรับขายบ้านบริษัทหนึ่ง ซึ่งมี Market Share ในอุตสาหกรรมนายหน้าขายบ้านสำหรับในเครือจักรภพอังกฤษมากกว่า 80% ตลอดกว่า 10 ปี ที่เข้าตลาดและยังคงเป็นเบอร์ 1 ในปัจจุบัน
.
บริษัทนั้นคือ “Rightmove” ครับ
.
.
.
สิ่งทำให้ที่บริษัทอยู่ในสนามแข่งขันนี้ได้ยาวนานนับตั้งแต่ช่วงดอทคอม ผ่านวิกฤติอสังหา จนถึงปัจจุบัน เกิดมาจากการที่การสร้างความแตกต่างจากการเป็น Agency อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่ต้องอาศัยทีมเซลล์จำนวนมาก
เปลี่ยนมาเป็น Marketplace ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันผ่านหน้าเว็ปเอง
.
ด้วยโมเดลธุรกิจนี้และชื่อเสียงของการเป็นผู้บุกเบิกเว็ปไซต์ครั้นหลังช่วงฟองสบู่ดอทคอม การเป็นผู้บุกเบิกนี้ได้สร้างระยะทางทิ้งห่างคู่แข่งหลายเท่าตัวด้วยขนาด Marketshare มากกว่า 80% ในตอนที่เข้าตลาด
และยังคงความสามารถระดับนี้มากกว่า 1 ทศวรรษ แม้จะครองตลาดได้ระดับนี้แต่ตลาดก็มีเนื้อเค้กที่ขยายขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการบ้านและราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
(คู่แข่งของบริษัทครอง Market Share ในระดับเลขเปอร์เซ็นหลักเดียว และบริษัทอื่นๆ ที่เป็นนายหน้าเหมือนกันเป็นบริษัทระดับเล็กมี Marketcap หลักสิบล้านปอนด์ ในขณะที่ Rightmove มีขนาดหลักหลายพันล้านปอนด์)
.
.
.
ด้วยความเป็นผู้นำและการไม่หยุดนิ่งนี้ทำให้ Rightmove มีกำไรที่เติบโตมาโดยตลอด และหากท่านใดเป็นนักลงทุนสาย Lynch แล้ว
จุดซื้อที่ตรงจุดตรงประเด็นตามตำราคือช่วงกลางปี 2012 จนถึงกลางปี 2013 โดยเป็นจุดที่บริษัทมี PEG Ratio อยู่ที่ 0.6x-0.8x เท่านั้น
(โดยตอนนั้น Rightmove ถูกซื้อขายอยู่ที่ราคา 170 ปอนด์ )
.
.
.
.
และการเติบโตของ Rightmove ในช่วงทศวรรษ 2010 อันเป็นช่วงไม่กี่ปีหลังบริษัทเข้าตลาดนี้ เป็นการสร้างการเติบโตอันห้าวหาญเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งหลายนี้ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทไม่มากลับสู่จุดเดิมอีกต่อไป
.
โดยพัฒนาการนี้เกิดจากการที่บริษัทอยู่รอดมานานรวมถึงใช้แต้มต่อที่ตัวเองมีขยายไปในกิจการที่เกี่ยวเนื่อง
ทั้งการขยับขยายจากกิจการนายหน้าขายบ้านมาสู่ธุรกิจ “ให้การโฆษณาบ้านใหม่” โดยเป็นการเจาะตลาดผู้ที่ต้องการบ้านใหม่แทนบ้านมือสองที่มีอยู่แต่เดิม
การจัดสรรข้อมูลหลังบ้านให้แสดงบ้านแบบเรียลไทม์
การมี House Index เป็นของตัวเอง จากการมีข้อมูลหลังบ้านที่ทรงพลัง
การอาศัยโอกาสจากการมาของ Smart Phone ทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น อันนำมาสู่การสร้าง Ecosystem ในวงการอสังหาริมทรัพย์ อย่างการเกิดนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่ารุ่นใหม่ (Home-Hunter) ที่เป็นอาชีพที่สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนให้แก่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
.
กล่าวไม่ผิดว่า Rightmove จะเป็นบริษัทที่สร้างการเติบโตแก่ตัวบริษัทได้อย่างยั่งยืนทั้งด้านกำไร และด้านผู้มีส่วนได้เสียผู้ช่วยเกื้อกูลให้สภาพแวดล้อมด้านอสังหาริมทรัพย์แห่งยุโรปดีมากยิ่งขึ้นไป
.
และเป็นหุ้นเด้งภายในหนึ่งปี และเป็นหุ่น 10 เด้งใน 10 ปี มอบผลตอบแทนแก่นักลงทุนผู้เสาะแสวงหาการลงทุนจากสิ่งรอบๆ ตัวอย่างแท้จริง
Z-VALUE
[Hybrid Study:John Neff] แก่นการลงทุนหุ้นวงจร เพือถือรันหลายเด้งสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมาขอ Tribute หลักการลงทุนของคุณ John Neff ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในสายผสมนี้กันนะครับ
และเนื่องในโอกาสที่วันที่ 19 กันยานี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณ John Neff และคุณ John Neff เองก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง นับว่า 1 ในตำนานแห่งโลกการลงทุนของเราได้จากเราแล้วอีกหนึ่งราย แต่ว่าหลักการของคุณ John Neff จะยังคงอยู่ในจิตใจของนักลงทุนสาย Value ทุกท่าน
สำหรับผมแล้ว การระลึกถึงและ"ให้เกียรติ" หลักการของใครก็ตาม คือการใช้หลักการนั้นเป็นพื้นฐานอ้างอิงเพื่อให้หลักการนั้นเป็นที่พูดถึง และขัดเกลาให้ทันต่อโลกมากขึ้น ผมชอบหลักการของคุณ John Neff มาก จึงเป็นเหตุให้เขียนอินดิเคเตอร์ DDM ขึ้นมาด้วย
และสิ่งที่ผมได้ทำในวันนี้ก็คือการทำให้หลักการของคุณ John Neff ยังคงมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยก็ปรับประยุกต์ใช้ในรูปแบบกราฟผ่าน Trading View ซึ่งโค้ดอินดิเคเตอร์นี้ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณ John Neff อย่างแท้จริง
หลักการลงทุนนี้ผมใช้กับการอาศัยซื้อหุ้น(โดยเฉพาะหมวดวงจร : Commodities) ในจุดที่ PE ต่ำอย่างสวนตลาด แต่หลักการที่เราจะได้มาที่ PE ต่ำนั้น ย่อมเกิดจากการปรับ ตัว E หรือ EPS จากสมมการ PE = Price / EPS , โดยผมจะ Predict ค่า EPS ผ่านตัวรายได้ในแบบที่ควรจะเป็น
และนำรายได้นั้นมาจับคุณด้วยอัตราส่วน Net Margin ในระดับ Base Case-Best Case ซึ่งค่าตัวเลขของ Net Margin นี้เราจะได้มาจากการทำ Research หุ้นในหมวด Commodities ย้อนหลังนะครับ
และจะตั้งตัวเลขพวกนี้เสมือนเป็นตุ๊กตาเฉยๆ เพื่อให้เราหาค่า EPS ให้ได้
ในการตั้งค่า Net Margin นี้ ผมจะมีการตั้งเป็นหลายค่ามากๆ และค่าที่ต่ำที่สุดก็คือ 1% มาจากสมมติฐานที่ว่าปกติหุ้น Commodities ตอนจะจบรอบราคาเขาจะลงมาแรงมากๆ จากราคาสินค้าอ้างอิงตกต่ำไม่ว่าจะเหล็ก น้ำมัน เคมี แร่ธาตุต่างๆ
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วส่วนมากบริษัทจะมีผลขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ดี หรือจากรายได้จากการขายสินค้าลดลง จนแบกรับต้นทุนคงที่ไม่ได้ ทั้งหลายนี้เองจึงทำให้ตัว PE ของบริษัท “ติดลบ” หรือก็คือคำนวณไม่ได้ หรือแม้แต่ PE พุ่งสูงขึ้นเป็นหลัก “ร้อยเท่า” จากการที่ EPS นั้นแกร่งนั่นเอง
การที่ผมตั้ง Net Margin ที่ 1% นี้ก็เพื่อเป็น “บาร์อย่างต่ำๆ” ที่บริษัทสมควรทำได้ เมื่อเราได้ NPM ที่ 1% มาได้แล้ว เราก็จับ 1% มาคูณกับตัวเลขรายได้ครับ(ตรงส่วนนี้บางคนอาจใช้รายได้เมื่อปีที่แล้ว หรือว่ารายได้เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง แล้วแต่สไตล์แต่ละคนเลยครับ)
เมื่อนำ Revenue * NPM แล้วเราก็จะได้ “กำไรสุทธิ” จากนั้นก็นำมาหารด้วยจำนวนหุ้น ทีนี้เราก็ได้ EPS อันเป็นพระเอกของเราแล้ว
จากนั้นเราก็นำ EPS มาเพื่อที่จับคูณด้วย PE อย่างที่ควรจะเป็น โดยเคสนี้ผมจะให้ที่ PE = 6-8 ตรงส่วนนี้หากใคร Conservative มากๆ อาจใช้ที่ PE 5 ไปเลยก็ได้ โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า “ใครกันล่ะ จะไม่อยากได้หุ้น PE 5 เท่า หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลหลัก 10% ต่อปี ณ ระดับราคาฐานต่ำนี้”
ในตอนนี้เราก็ได้ราคาหุ้นแล้ว ผมก็ให้แสดงค่าเป็นเหมือนเส้นแนวรับแนวต้านที่จะอัพเดตทุกๆ ปีนะครับ จากการที่ข้อมูลการเงินจะมีอัพเดตใหม่ทุกปี ตรงเส้นแนวรับ/แนวต้าน พวกนี้เสมือนกับเป็น “แนวรับเชิงพื้นฐาน” นั่นเองครับ
หุ้นใดก็ตามที่ลงมาเทสที่เส้นนี้ และมีการทำแท่งเทียนกลับตัว หรือมีการพักตัวตรงนี้เราอาจพิจารณาเอาเขามาใส่ลิสเพื่อรอวันให้เกิด Catalyst ให้ราคาขึ้นไปกันนะครับ จากนั้นก็รับเทรนไปเรื่อยๆ
หรือหากท่านใดเป็นสายHardcore อาจนำหุ้นนั้นไปวางหลักทรัพย์ค้ำประดันในการขอบัญชี Margin มาต่อเงินอีกรอบก็แล้วแต่สไตล์ท่านเลยครับ
หวังว่าแนวทางนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกคนนะครับ โชคดี รักษาสุขภาพ Stay Healthy Stay Wealthy นะครับผม
[Deep Value Scanner] หาหุ้นโคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลายและดักVI แสกนหาหุ้น Deep Value โคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลาย
สำหรับหลักการนี้ต้องขอขอบคุณ คุณเบนจามิน เกรแฮม ผู้เขียนตำรา Security Analysis และหนังสือ The Intelligent Investor และเป็นผู้ริเริ่มการลงทุนแบบ Value Investing แบบ Cigarette Butt ด้วยนะครับ
เทคนิคของ Deep Value กับเทคนิคหุ้นการลงทุนแบบ Cigarette Butt นี้ไม่ต่างกันมากเลย นั่นคือการซื้อหุ้นในมูลค่าที่น้อยกว่าทรัพย์สินส่วนของทุนบริษัท
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเลข 2 ตัวในการแสกนก่อนนะครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจหลักการแสกนนี้ นั่นคือ
1 . Net Debt ซึ่งมีสูตรคือ Cash – (Short Term Debt + Long Term Debt)
2. Enterprise Value มีสูตรคือ (Market Cap + Debt )- Cash
โดยทั้งสองตัวเลขนี้ หากมีค่าติดลบก็หมายความว่าผ่านเกณฑ์แล้วครับ หลักการคือเราจะซื้อบริษัท ณ “ราคา” ที่น้อยกว่าเงินสดสุทธิหักลบหนี้สินของบริษัทนั่นเองครับ
สำหรับข้อดีข้อเสียของหลักการนี้มีดังนี้ครับ
ข้อดี
- เราสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
- สามารถ Unlock Value ได้ ผ่านการเข้าไปถือหุ้น แล้วใช้สิทธิโหวตกดดันให้ผู้บริหารขายทอดกิจการ เพื่อนำเงินสดมาจ่ายสู่ผู้ถือหุ้นได้
- หากมูลค่าทางบัญชีสะท้อนความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับการที่เราซื้อหุ้นโดยมีส่วนลด มีความสมเหตุสมผลในการลงทุนในเชิงทฤษฎี
(มีหลักยึดในการลงทุนชัดเจน)
- สิ่งที่เราต้องทำ มีเพียงอย่างเดียวคือการรอให้มูลค่าปลดล็อค สายกราฟคือหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ
เช่นมีการสะสมพอสมควรแล้ว รวมถึงทำท่า Breakout อาจพิจารณาวางกลยุทธ์ได้
ข้อเสียและจุดอ่อน
- หากบัญชีมีการตกแต่งขึ้น อาจเป็นอุปสรรคได้ในการรับรู้มูลค่าที่แท้จริง
- ราคามักไม่ค่อยมีการขึ้นลงมาก หากไม่มีปัจจัยมาขับมูลค่า
เช่น การ Take Over , การขายสินทรัพย์ , การจ่ายเงินปันผลออกมา (ในกรณีที่บริษัทมีแต่เงินสดพร้อมจ่าย)
- ราคาหุ้นถูก ณ ตอนนี้ ไม่การันตีว่าจะราคาถูกตลอดไป
เช่นกรณีผู้บริหารใช้กลฉ้อฉล อย่างการนำเงินสดไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ ซึ่งบริษัทอื่นๆ ที่ว่านี้อาจเป็น Shell Company ที่ผู้บริหารคนนั้นถือหุ้น
แล้วตั้งใจทำให้เกิดผลขาดทุน จนต้อง Whiteout ธุรกิจออกไปเกิดความสูญเสียทางบัญชีบริษัทเป็นต้น
[CK] ณ ระดับแนวรับที่สำคัญ ภายใต้ราคานี้เขามีอะไรอยู่กันนะ!!???หุ้น CK นับว่าเป็น 1 ในหุ้นที่ทำรับเหมาก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของไทยซึ่งมีรายหลักๆ อยู่ 3 ราย อันได้แก่ STEC ITD CK
โดยหากมองแบบลึกๆ แล้ว หุ้นหมวดนี้เขามีวัฎจักรรายได้ที่ล้อตามการลงทุนของภาครัฐเลยครับ หากภาครัฐมีการลงทุนใหญ่ๆ สำคัญๆ คงไม่พ้นทั้ง 3 ตัวนี้ที่จะได้หน้าเหนือเค๊กเป็นแน่แท้ กอปรกับอาจมีการแข่งขันจากประเทศมหามิตรอย่างจีนในการที่เขามาเข้าประมูลควบคู่กับกลุ่ม CP ด้วยครับ
นอกจาก CK จะทำหน้าที่หลักเป็นรับเหมาก่อสร้างแล้ว เราก็ต้องไม่ลืมเลย ว่า CK ก็ได้ทำหน้าที่เป็นคุณแม่ที่ให้กำเนิดลูกๆ ที่สำคัญทั้งสิ้น 3 คนอันได้แก่ CKP TTW BEM ด้วย ซึ่งทั้ง 3 หุ้นนี้สังกัดอยู่ในหุ้นหมวด SET100 ด้วยกันทั้งสิ้นครับ
ซึ่งก็เข้ามาสู่ประเด็นที่ผมผูกไว้ที่หัวข้อเรื่องกันนะครับ ว่าที่ราคา 15 บาทแนวสำคัญนี้ มันมีอะไรแฝงอยู่กันแน่ นั่นคือเรื่องของเงินลงทุนในบริษัทลูกนั่นเองครับ ซึ่งที่ราคานี้นั้น Market Cap เทียบเท่ากับเงินลงทุนในบริษัทลูกเลย เรียกได้ว่าได้ซื้อธุรกิจรับเหมาที่ใหญ่ที่สุดแล้วก็ได้ของแถมเป็นลูกๆ ที่ทำกิจการเงินสดนั่นเองครับ (ไม่ว่าจะรับเงินค่าไฟจาก กฟผ เอย รับเงินค่าประปาเอย รับเงินจากคนที่สัญจรทางด่วนเอย)
ยาวหน่อยแต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะครับ
[APCO] หุ้น Value จ๋า พร้อมงบอันแข็งแกร่งที่ไม่ยอมลง แม้ราคาแพง?สวัสดีปีใหม่มิตรสหายทาง Trading View ทุกท่านนะครับ
พอดีช่วงปีใหม่นี้ผมเองก็ว่างไม่ได้ออกไปไหนเนื่องจากเรื่องของไวรัสโควิดตามที่ท่านได้พบเจอกัน ผมเลยได้มาสอดส่องดูหุ้นรับปีใหม่ถือเป็นการวางแผนประจำปีไปด้วยนั่นเองครับ
แล้วทีนี้ผมก็เจอหุ้นตัวนึงเข้าที่มีความเป็น Value จ๋าๆ มีงบที่แข็งแกร่งมาก และมีกิจการที่ทำนุบำรุงซ่อมแซมเครื่องจักรทางการเงินของบริษัทได้ดีเสมอ มีอัตราการทำกำไรที่สูงมาก แต่อนิจจาที่เขาอาจหมดสิ้นสภาพความเป็นหุ้นเติบโตไปแล้ว
เป็นภาพสะท้อนกรายๆ ว่าหุ้นที่เคย Growth แล้วเป็นหุ้น Value เดี่ยวๆ มันเป็นแบบนี้นี่เอง
วันนี้ผมเลยอยากทำวีดีโอสั้นๆ มาอธิบายเกี่ยวกับหุ้น Value จ๋าๆ งบการเงินแข็งๆ นั้นเป็นอย่างไรให้ชมกันครับ โดยจะอธิบายอย่างกระชับไม่กินเวลาท่านมาก พอเป็นกระษัย ขนาดท่านจิบกาแฟแก้วหนึ่งแล้วยังอุ่นๆ อยู่ก็ได้สาระพอดี
หวังว่า Case Study ของ APCO นี้ จะช่วยเป็นไอเดียในการเลือกสรรค์หุ้นเข้าพอร์ตในอนาคตของใครไม่มากก็น้อยนะครับ ที่สำคัญคือขอให้ทุกคนมีวิจารณญาณในการลงทุนเสมอนะครับ
หวังว่าทุกท่านจะชอบใจไม่มากก็น้อย สามารถส่ง Feed Back หรือ Comment มาได้เสมอนะครับ ผมตามอ่านและนำมาปรับปรุงเสมอ
สวัสดีปีใหม่ครับ
[CPALL] หุ้นโคตร Defensive ณ ราคาดัชนี 1200 จุด ดีไหม มาดููกันสำหรับ CPALL ผมมองว่าตอนนี้หุ้นตัวนี้เริ่มมี Valuation ที่น่าสนใจไม่เลวเลย
จากการที่ธุรกิจของเขานั้น ล้อตามตัว C ในสมการของ GDP (GDP = "C" +I+G+X-M)
ซึ่งตัว C ที่ว่าก็คือกำลังซื้อของผู้บริโภคนั่นเองครับ กล่างคือ หากว่ากำลังซื้อของคนกลับมาหุ้นตัวนี้ก็อาจได้รับอานิสงฆ์นั้นก็เป็นได้เลย
สำหรับหุ้นตัวนี้ที่อาจมีการเติบโตอื่นๆ เข้ามา จากการมีฐานทุนที่ใหญ่ขึ้น ก็ไม่เลวเลยที่เราจะมาลองทำการบ้านสำหรับตัวนี้ดูกันครับ รายละเอียดเป็นอย่างไร มารับชมกันครับ
PS. รายละเอียดนอกคลิป สำหรับ CPALL หุ้นตัวนี้ มี ROE หรืออัตราการทำกำไรต่อผู้ถือหุ้นอยู่ที่ราวๆ 20%++ ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับ ROE ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีค่าอยู่ที่ราวๆ 9-11% เท่านั้น แล้วแต่ราคาน้ำมัน (ว่ากันมาตรง ตลาดบ้านเราพึ่งพิงอุตสาหกรรมเก่า อย่างน้ำมันมาก ถึงมากเลยครับ)
ซึ่งการมีระดับ ROE เท่านี้ เราเลยไม่แปลกใจเลยที่เขาให้มูลค่าเทรดที่ Market Cap. เหนือกว่า Asset ของบริษัทเสียอีก เราอาจมองได้ว่า หุ้นตัวนี้ถูกหวังกับการเติบโตในอนาคตก็ไม่ผิดเลยครับ
ซึ่งตรงส่วนนี้เราอาจจะเอาจุดที่ Market Cap <= Total Asset เป็นจุด Stop Loss คงอาจจะดูโหดร้ายไป (คนไม่เห็นอนาคต หมดฝันแล้ว)
ดังนั้นแล้วตรงส่วนนี้ท่านอาจจะใช้จุดซื้อแบบ Technical ในการเข้าซื้อก็ได้ครับ แล้วก็เอาไปบอกลูกหลานท่านว่าท่านเป็นเจ้าของ 7-11 คงคูลไม่น้อยเลย ฮาา
ปล. ทั้งหมดก็มีราวๆ นี้นะครับ หากมีอะไรเพิ่มเติมผมจะมาแจ้งครับ ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบ ผมก็ดีใจนะ