วิเคราะห์ทองคำพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 สัญญาณจากเฟดบ่งชี้ถึงเงินเฟ้อที่ยังรุนแรงหนุนทองคำกลับมายืนบวกอีกครั้ง
ตลาดทองคำเช้ามืดวันนี้ปิดตลาดบวกพุ่ง 19 ดอลลาร์ หลังเฟดประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยคงมีเป้าหมายหลักคือการเข้าควบคุมระดับภาวะเงินเฟ้อ โดยเมื่อช่วงเช้ามืดวันนี้คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ เฟด ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้แล้วก่อนหน้า โดยทางเฟดได้ออกมาระบุว่าสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโควิดและสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังคงสร้างความไม่แน่นอนต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวมและการจ้างงานของสหรัฐในระยะนี้ ทั้งยังคงเป็นตัวเร่งให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น เป็นเหตุให้เป็นปัจจัยถ่วงความเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในระยะนี้
การปรับขึ้นของดอกเบี้ยครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปตามนักวิเคราะห์บางส่วนว่าเฟดอาจปรับขึ้นทีเดียว 0.50% จึงให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวผันผวนรุนแรงในช่วงที่มีการออกรายงานดังกล่าว โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐปิดที่ระดับ 98.404 ลดลง -0.610 หรือ -0.62% เมื่อเทียบกับเงินตราสกุลหลักในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
ในส่วนของสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนก็ยังไม่มีท่าผลการเจรจาที่จะยุติสงครามดังกล่าวได้ในเวลานี้ โดยรัสเซียยังคงโจมตีทางการทหารและพลเรือนของยูเครนอย่างต่อเนื่องและหนักหน่วงขึ้น
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commondity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับขึ้น 19 ดอลลาร์ หรือ 1% ปิดที่ 1,928.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM
ทองคำเช้านี้ยังกลับมายืนอยู่ในกรอบแนวต้านซึ่งเป็นแนวรับเดิมบริเวณ 1927-1939 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยหากราคาทองคำยังสามารถผ่านแนวดัวกล่าวขึ้นไปได้นั้น อาจจะเห็นทองคำปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1950 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง ทั้งนี้ในระดับ 1940 ดอลลาร์ต่อออนซ์เราอาจเห็นช่วงปรับฐานราคาระยะสั้นในบริเวณดังกล่าวได้ จึงควรติดตามจังหวะที่ราคาทองคำปรับฐานจาการเข้าทำกำไรระยะสั้นนั้น หากราคายังไม่หลุดแนวรับ 1927 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตรงนี้จะเป็นจังหวะที่เราจะสามารถเข้าทำกำไรโดยเสี่ยงเปิดคำสั่งซื้อได้อีกครั้ง
================
Indicator (TF H1)
================
True RSI (14) เส้น RSI ปรับตัวสูงขึ้นเข้าใกล้ระดับ 70 (Overbought) ส่วน SMA20 ก็ยังระดับสูงและเริ่มเข้าสู่แดนบวกอีกครั้ง
เส้น SMA200 เริ่มปรับลดระดับลงเล็กน้อย ตามแรงซื้อที่ปรับตัวลดลงก่อนหน้า
เส้น SMA 50 ปรับลดระดับการปรับตัวลง และเริ่มทรงตัวในแนวระนาบ หลังแรงซื้อกลับมาอีกครั้ง
=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================
Short Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1939-1948 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิด “ขาย” ในบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรที่บริเวณ 1923-1915 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 1948 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
Long Position : หากราคาทองคำย่อตัวลงมาทรงตัวเหนือบริเวณ 1923-1915 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิดคำสั่ง “ซื้อ” โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรแนวต้านบริเวณ 1939-1948 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1915 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance :1974 / 2020 / 2048
-------------------------------------------
Support : 1900 / 19877 / 1854
-------------------------------------------
แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1939 / 1948 / 1958
-------------------------------------------
Support : 1926 / 1907 / 1887
-------------------------------------------
แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Downtrend
Time Frame H4 = Uptrend
Time Frame Day = Uptrend
Time Frame Week = UPTREND
Time Frame Month = UPTREND
-------------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (มีนาคม)
-------------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ซื้อเพิ่มทองคำ 8.70 ตัน
คงถือสุทธิ = 1,070.53 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1926.55 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 11
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = +43.54 ตัน
-------------------------------------------
*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต