S&P 500: การเติบโตหลังการปรับฐานในตลาดตราสารหนี้ราคาดัชนีมีการซื้อขายในแนวโน้มขาขึ้นในพื้นที่ โดยเอาชนะเส้นแนวต้านของช่องขาลงเมื่อวันก่อน ตัวชี้วัดทางเทคนิคได้กลับตัวและออกสัญญาณซื้อใหม่: EMA ที่รวดเร็วบนตัวบ่งชี้ Alligator ข้ามเส้นสัญญาณจากด้านล่างและ AO oscillator histogram เคลื่อนเข้าสู่โซนซื้อต่อเนื่องในรูปแบบแท่งขึ้นเหนือระดับศูนย์
แนวรับ: 4510.0, 4278.0
แนวต้าน: 4630.0, 4800.0
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
USD/CHF: ธนาคารสวิตเซอร์แลนด์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสูงตลอดทั้งปีบนกราฟทั่วโลกของสินทรัพย์ ราคากำลังเคลื่อนไหวภายในช่องขาขึ้นทั่วโลก เข้าใกล้เส้นแนวต้าน ตัวชี้วัดทางเทคนิคยังคงอยู่ในสถานะสัญญาณซื้อที่เสถียรภาพ: EMA ที่รวดเร็วบนตัวบ่งชี้ Alligator อยู่เหนือเส้นสัญญาณและ AO oscillator histogram กำลังซื้อขายในเขตซื้อ
ระดับแนวต้าน: 0.9360, 0.9460
ระดับแนวรับ: 0.9294, 0.9157
Bank of America Corp. ธนาคารและหน่วยงานวิเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดของในกราฟรายวันตราสารจะเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นแนวรับของช่องขาขึ้นกว้าง ซึ่งออกก่อนหน้านี้ เมื่อวานราคาแตะแนวรับที่ 44.60 และทดสอบแล้วกลับตัวเล็กน้อย บนกราฟสี่ชั่วโมงของสินทรัพย์ การเติบโตเข้าสู่ขั้นตอนของการปรับฐานเต็มรูปแบบ และอัตราสร้างฐานเหนือระดับ Fibonacci 38.2% ที่ระดับ 42.70 อย่างมั่นใจ ตามที่ตัวชี้วัดทางเทคนิคแสดง การเปลี่ยนแปลงขาขึ้นเพิ่มเติมอาจดำเนินต่อไปจนกว่าจะถึงและเอาชนะการปรับฐานที่สมบูรณ์ของ 61.8% Fibonacci รอบ 45.50: ช่วงความผันผวนของ EMA บนตัวบ่งชี้ Alligator แคบลงเกือบสมบูรณ์และ histogram ของ AO oscillator ยังคงเข้าใกล้ระดับการเปลี่ยนแปลง สร้างแท่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เทสล่าปรับฐาน
ในกราฟรายวัน ตราสารออกจากช่องขาลงที่กว้างซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคม 2021 ราคาทะลุแนวต้านที่ประมาณ 981.00 ทำให้เกิดช่องว่างราคา หากเราย้อนดูประวัติของกราฟนี้ ช่องที่ขาดน่าจะเป็นรูปแบบการต่อเนื่องของแนวโน้มธง ตามทฤษฎีของการนำไปใช้ การเคลื่อนไหวของราคาเริ่มต้นสามารถมีความกว้างได้ถึง 100% (สูงสุด 2K จุด)
ในกราฟสี่ชั่วโมง อัตราได้แตะระดับสูงสุดก่อนหน้านี้ที่ 1100.00 และพร้อมที่จะทำลายมัน การอ่านตัวชี้วัดทางเทคนิคยังยืนยันแนวโน้มความต่อเนื่องของการเติบโต: EMA ที่รวดเร็วบนตัวบ่งชี้ Alligator ข้ามเส้นสัญญาณขึ้นและ AO oscillator histogram เคลื่อนเข้าสู่โซนซื้อเกิดแท่งเพิ่มขึ้น
GJS บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน)กราฟราคาเป็น Pattern Cup With Handle
โดย MCDX Plus แท่งแดงและ Vol ซื้อ มาพร้อมรอ Break High เดิม
** ทั้งนี้ กำไร ไตรมาส 3 / ปี 64 ทำกำไรกว่า 2,219 ลบ. และ มูลค่าทาง บัญชีอยู่ที่ 0.58
Entry : 0.58
SL : 0.52 -0.50 ( หลุดกรอบ Handle )
TP1 : 0.65 ( fibonacci extension ที่ 0.618 )
TP2 : 0.70 ( fibonacci extension ที่ 0.786 )
TP3 : 0.76 ( fibonacci extension ที่ 1.00 )
* TP พิจารณา ตาม Vol ซื้อขาย และ ระยะเวลาถือ
MODERN ( Modernform Group PLC )MCDX Plus มีเจ้าใหญ่สะสมมาระยะนึงแล้วประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา
ลักษณะกราฟ เป็นแบบ สามเหลี่ยม ( Symmetrical Tringle )
* ผ่านวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) : 04 ต.ค. 2564 แล้ว
โดยจ่ายปันผลเป็นเงินสด (บาทต่อหุ้น) : 0.05
Modernform group มีการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง “ชีวามิตรา” และ ลงทุนสตาร์อัพ
ผ่านกองทุน SeaX Ventures เน้นทางด้าน Deep Technology ซึ่งถือเป็น New S-Curve ที่น่าสนใจ
ราคาเข้า 3.84
SL : 3.72 หลุดกรอบสามเหลี่ยม
TP : 4.20 ( RR ที่ 1:3 )
NZDCAD (H4) - SHORT SET UP ความคิดเห็นในเชิงเทคนิค💬💬
NZDCAD ราคาขึ้นไปทดสอบแนวต้านของ Ascending Channel และ STOCH และมีแนวโน้มขาลง ทำให้ราคามีโอกาสที่จะยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่อง
ทางเลือกในการลงทุน💭💭
ENTRY - ราคาต่ำกว่า 0.86300 ให้เข้า SELL
โดยกำหนดเป้าหมายราคา
TP1 - 0.86051✅
TP2 - 0.85491 ✅✅
STOPLOSS - 0.87009 💢
💢ปล.เมือราคาถึงแนว 0.86051
เลื่อนเส้น Stoploss -ขึ้นมาตำแหน่งที่เปิด เพื่อป้องกันการขาดทุน
❗❗Disclaimer : GOLINKFX ขอเตือนคุณว่าข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลตามเวลาจริงหรือถูกต้องเสมอไป CFDs (หุ้น ดัชนี ฟิวเจอร์ส) และราคา Forex ทั้งหมดไม่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนแต่มาจากผู้ดูแลสภาพคล่อง และราคาจึงอาจไม่ถูกต้องและอาจแตกต่างจากราคาตลาดจริง ซึ่งหมายความว่าราคาเป็นสิ่งบ่งชี้และไม่เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์ในการซื้อขาย ดังนั้น GOLINKFX จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในการซื้อขายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลนี้
golinkfx หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ golinkfx จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายอันเป็นผลมาจากการพึ่งพาข้อมูลรวมถึงข้อมูล ใบเสนอราคา แผนภูมิ และสัญญาณซื้อ/ขายที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดรับทราบอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่เสี่ยงที่สุด
BTCUSD - H4 แนวโน้มขาลง ยังไม่ผ่านแนวต้าน H4 และ DAY BTCUSD แนะนำ SHORT
BTC ราคาไม่สามารถผ่าน Descending parallel channel ของ TIMEFRAME H4 และ DAY
ในส่วนของ STOCHASTIC นั้นอยู่ในช่วงของ OB ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อที่มีมาก ทำให้แนวโน้มอาจจะเปลี่ยนเป็นขาลงได้
จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้า SELL โดยวางเป้าหมายไว้ที่ แนวรับที่ผ่านมา
แต่ถ้าราคา BTC สามารถหลุดแนวต้านนี้ไปได้ให้เราออกเทรดและรอจังหวะเข้าใหม่ครับ
Disclaimer : GOLINKFX ขอเตือนคุณว่าข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลตามเวลาจริงหรือถูกต้องเสมอไป CFDs (หุ้น ดัชนี ฟิวเจอร์ส) และราคา Forex ทั้งหมดไม่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนแต่มาจากผู้ดูแลสภาพคล่อง และราคาจึงอาจไม่ถูกต้องและอาจแตกต่างจากราคาตลาดจริง ซึ่งหมายความว่าราคาเป็นสิ่งบ่งชี้และไม่เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์ในการซื้อขาย ดังนั้น GOLINKFX จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในการซื้อขายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลนี้
golinkfx หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ golinkfx จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายอันเป็นผลมาจากการพึ่งพาข้อมูลรวมถึงข้อมูล ใบเสนอราคา แผนภูมิ และสัญญาณซื้อ/ขายที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดรับทราบอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่เสี่ยงที่สุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เปิดประเทศ
การส่งสัญญาณเปิดประเทศเพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวเดินหน้า หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,643.64 จุด เพิ่มขึ้น 10.20 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิกว่า 5 พันล้านบาท ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,658 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 13 ตุลาคม ดาวโจนส์ปรับตัวลงเล็กน้อย ขณะที่เอสแอนด์พี 500 และแนสแดคปิดบวก ตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอาจสร้างแรงกดดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นคอ (Neck line) ที่ 1,639 จุด เป็นสัญญาณยืนยันการกลับตัวรูป Double Bottom ที่มีเป้าประสงค์ (Measuring Target) ที่ 1,678 จุด ดัชนีตลาดมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นและทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,618 – 1,606 จุด และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นสลับกับการพักตัว เนื่องจากดัชนีตลาดระยะสั้นเริ่มเข้าเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นจึงเสี่ยงจะเผชิญแรงขายทำกำไรระยะสั้น
(ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI เคยปรับลดลงแตะ 46.3 เปอร์เซ็นต์))
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะจบการพักตัวเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ที่ 1,591 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,658 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,828 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) โดยมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,973 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านที่ 1,639 จุด ทำให้สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,658 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,652 – 1,658 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,635 – 1,627 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
มีลุ้น
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,639.41 จุด เพิ่มขึ้น 5.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,658 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม ตลาดปรับตัวลงเล็กน้อย หลังตัวเลขการจ้างงานต่ำกว่าที่คาด บวกกับความกังวลว่าเฟดจะปรับลดวงเงินที่จะเข้าซื้อพันธบัตร
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,639 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันสัญญาณกลับตัวรูป Double Bottom เมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,639 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางปรับตัวขึ้น หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมรูป Descending Triangle เส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,615 – 1,604 จุด และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด โดยมีจุดสูงเก่าทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,658 จุด
(ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI เคยปรับลดลงแตะ 46.3 เปอร์เซ็นต์))
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,658 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด เป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,973 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,639 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,647 – 1,658 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,621 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,658 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานและสถาบันการเงิน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,633.72 จุด เพิ่มขึ้น 14.24 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1 แสนล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 3,133 ล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,658 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับวุฒิสภาสหรัฐฯบรรลุข้อตกลงขยายเพดานหนี้จนถึงเดือนธันวาคม
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,628 จุด หลังจากดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมรูป Descending Triangle สัญญาณ DMI ขาดความชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,639 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,613 – 1,602 จุด และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มแสดงทิศทางการปรับตัวขึ้น โดยมีจุดสูงเก่าทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,658 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI เคยปรับลดลงแตะ 46.3 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นหลังดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านที่ 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,625 – 1,617 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,630 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,619.48 จุด ลดลง 4.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.7 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพุธที่ 6 ตุลาคม ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปิดในแดนบวก หลังการเจรจาขยายเพดานหนี้ไปในทางบวก รวมไปถึงตัวเลขการจ้างงานเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้น นักลงทุนยังกังวลว่าเฟดจะปรับลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร และตัวเลขเงินเฟ้อจะเป็นตัวเร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังดัชนีปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,630 จุด สัญญาณ DMI และสัญญาณทางเทคนิคัลขาดความชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบสามเหลี่ยมแบบ Descending Triangle โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,612 – 1,601 จุด และแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือ 1,630 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI เคยปรับลดลงแตะ 46.3 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,628 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,610 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากกำหนดจุดเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,593 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นยืนเหนือ 1,630 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคารรวมไปถึงหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,624.24 จุด เพิ่มขึ้น 9.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.86 หมื่นล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 600 ล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,630 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 5 ตุลาคม ดัชนีหลัก 3 ดัชนีปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงซื้อเก็งกำไรที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และหุ้นที่รับประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ โดยตลาดหุ้นนิวยอร์กยังมีความเสี่ยงจากการปรับลดวงเงินที่จะเข้าซื้อพันธบัตร และเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับ และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,612 – 1,600 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือ 1,630 จุด ดัชนีตลาดมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,639 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI อยู่ที่ 50.8 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,630 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,632 – 1,640 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,609 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากกำหนดจุดเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,593 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดปิดบวกจากแรงซื้อเก็งกำไร
แรงซื้อเก็งกำไรที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคาร หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกที่ 1,614.48 จุด เพิ่มขึ้น 9.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.8 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ 1,035 ล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างภายในสามเหลี่ยมแบบ Descending Triangle
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวลดลง จากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้น และนักลงทุนวิตกว่ารัฐบาลสหรัฐฯอาจผิดนัดชำระหนี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,611 – 1,600 จุด ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้น สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างตามรูปแบบของ “Common Gap” ภายในกรอบสามเหลี่ยมรูป Descending Triangle มีจุดต่ำเก่าที่ 1,591 จุดเป็นแนวรับ และมีเส้นแนวโน้มขาลงเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,630 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านนี้ได้
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI อยู่ที่ 50.8 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็น ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) ตามรูปแบบของ Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,625 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,605 – 1,595 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,591 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยประจำวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม ดัชนีตลาดปรับลดลงในช่วงเปิดตลาด แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานทดแทนและธนาคารพาณิชย์ หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,605.17 จุด ลดลง 0.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.56 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใส และการร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบสามเหลี่ยมแบบ Descending Triangle ที่มีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,591 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,585 จุด โดยมีเส้นแนวโน้มขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,630 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างตามรูปแบบของ “Common Gap” สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,591 จุด และดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,630 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI อยู่ที่ 46.3 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็น ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) ตามรูปแบบของ Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,614 – 1,623 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,595 – 1,586 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นยืนเหนือ 1,591 จุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ธนาคารและพลังงาน ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,605.58 จุด ลดลง 11.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,591 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน ตลาดปรับตัวลดลงทั้ง 3 ดัชนีหลัก นักลงทุนนำหุ้นออกเทขาย จากความวิตกว่าเฟดจะปรับลดวงเงินที่เข้าซื้อพันธบัตร และตัวเลขเงินเฟ้อจะกดดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด (ทำจุดต่ำที่ 1,601 จุด) โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,611 – 1,599 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างตามรูปแบบของ “Common Gap” มีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,591 จุด และมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,639 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI อยู่ที่ 46.5 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็น ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) ตามรูปแบบของ Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,616 – 1,626 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,595 – 1,585 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัวออกด้านข้าง
แรงซื้อเก็งกำไรและการข้าวของต่างชาติเพื่อทำ Cover Short หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,616.98 จุด เพิ่มขึ้น 0.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.28 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิกว่า 1 พันล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้างตามรูปแบบของ “Common Gap”
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 29 กันยายน ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากแรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไร ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวลดลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นเทคโนโลยี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด (ทำจุดต่ำที่ 1,604 จุด) โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,611 – 1,599 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างตามรูปแบบของ “Common Gap” ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีสามารถยืนปิดเหนือ 1,639 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI อยู่ที่ 51 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็น ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) ตามรูปแบบของ Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,626 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,606 – 1,595 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดหุ้นสหรัฐฯผวาเงินเฟ้อ
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,616.50 จุด ลดลง 3.52 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.86 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมานำซื้อสุทธิ ขณะที่สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลมีทิศทางไปในทางลบ ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,602 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 28 กันยายน ดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีทรุดตัวลง 2 เปอร์เซ็นต์ จากการตื่นขายของนักลงทุน หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เตือนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถูกคุกคามจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปรับตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,631 – 1,619 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง ตามรูปแบบของการเกิด “Common Gap” โดยมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,6023 จุด และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,611 – 1,598 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI อยู่ที่ 51 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) ตามรูปแบบของ Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,626 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,606 – 1,595 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
KCE ( KCE ELECTRONICS PUBLIC COMPANY LIMITED ) ปริมาณซื้อเพิ่มมากขึ้้น กว่าค่าเฉลี่ยถึงช่วงต้นปี อย่างชัดเจน มาพร้อม
สัญญาณ MCDX รายใหญ่เข้าซื้อ ที่ระดับ 23.148
* ผลกำไรแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2563 เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา สิ้นปี อยู่ที่ 1,126.79 ลบ
ส่วนไตรมาสที่ 2 2564 ผลกำไร อยู่ที่ 1,121.16 ลบ. ผลกำไร เกือบจะเท่าทั้งปี 2563 ที่ผ่านมา
ราคาเข้า 82.50
SL : 79.75 ( ราคาปิด Gap วันที่ผ่านมา และ เผื่อ buffer เล็กน้อย )
TP1 : 89.50 ( High เดิม ระดับ RR ที่ 1 ต่อ 2.55 )
TP2 : 94.75 ( Fibo 138.20 ระดับ RR ที่ 1 ต่อ 4.45 )
TP1 : 98.00 ( Fibo 161.80 ระดับ RR ที่ 1 ต่อ 5.64 )
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,602 จุด
แรงเทขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,620.02 จุด ลดลง 11.13 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.34 แสนล้านบาท ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,602 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 27 กันยายน ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงหนุนในหุ้นกลุ่มที่รับประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ ขณะที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 และแนสแดคปรับตัวลดลงจากการปรับตัวลดลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่อ่อนไหวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ดัชนีฟิวเจอร์สเกิดช่องว่างขาลงและขาขึ้น และปิดช่องว่างโดยสมบูรณ์ (Complete Filling the Gap) ช่องที่เกิดขึ้นเป็นช่องว่างแบบ “Common Gap” ซึ่งจะเกิดในช่วงที่ดัชนีตลาดกำลังเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) ดัชนีมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,610 – 1,597 จุด
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI รอบนี้ปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 46 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) เนื่องจากเกิด Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,631 – 1,639 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,611 – 1,601 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ไล่ซื้อแบงก์เพื่อทำ Cover Short
ธนาคารไทยพาณิชย์ส่งสัญญาณปรับโครงสร้างธุรกิจ กระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคาร แรงซื้อส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากการที่ต่างชาติกลับเข้าซื้อหุ้นแบงก์เพื่อทำ Cover Short เนื่องจากขายล่วงหน้า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,631.15 จุด เพิ่มขึ้น 11.56 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.4 แสนล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิกว่า 3 พันล้านบาท รูปแบบ Common Gap ชี้ว่าดัชนีตลาดมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้าง
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวัศุกร์ที่ 24 กันยายน ดัชนีดาวโจน์และดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวลดลง ตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นเทสล่าและเฟซบุ๊คที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่หุ้นไนกี้ปรับตัวลดลง ระยะสั้นตลาดหุ้นนิวยอร์กมีความเสี่ยง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (1,619 – 1,631 จุด) การเกิดช่องว่างทั้งขาลง - ขาขึ้น และปิดช่องว่างโดยสมบูรณ์ (Complete Filling the Gap) ช่องที่เกิดขึ้นเป็นช่องว่างแบบ “Common Gap” ซึ่งจะเกิดในช่วงที่ดัชนีตลาดกำลังเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นก่อนที่จะพักตัวเพื่อปรับฐาน หรือแกว่งตัวออกด้านข้างตามรูปแบบ Common Gap
ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI รอบนี้ปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 46 เปอร์เซ็นต์)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,673 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ดัชนีตลาดดีดขึ้นปิดช่องว่างขาลงที่ 1,617 – 1,625 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways) เนื่องจากเกิด Common Gap
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,639 – 1,647 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,623 – 1,614 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตั้งจุดซื้อไว้ที่ 1,621 จุด และเพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity