Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยังมีแนวโน้มผันผวน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบๆ เนื่องจากแรงซื้อในหุ้นกลุ่มนำตลาดขาดความต่อเนื่อง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,587.63 จุด ลดลง 2.87 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.35 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลบวก ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลงหากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านที่ 1,612 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ต่างชาติกลับซื้อสุทธิเล็กน้อย ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดในแดนบวก หลังจากถูกกดดันจากผลประกอบการจากหุ้นสายการบินและค้าปลีกในช่วงเปิดตลาด ปัญหาการเมืองในประเทศสหรัฐและการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะเป็นตัวแปรต่อตลาดหุ้นนิวยอร์กในระยะสั้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้น (Closing the window) ที่ 1,575 – 1,584 จุด หลังดัชนีตลาดดีตัวเข้าหาแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,612 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเกิดแท่งเทียนเป็น Spinning ที่สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน แท่งเทียนที่เกิดตามมาจะเป็นตัวบอกทิศทางของดัชนีตลาด หสกดัชนีเปิดต่ำปิดสูงดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้น แต่ถ้าเปิดสูงปิดต่ำดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลง
สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นบวกจะทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง เนื่องจากดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นมาปิดเหนือ 1,584 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด, 1,612 จุด และ 1,627 จุด ตามลำดับ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น 4,C โดยสมบูรณ์เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,594 – 1,600 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,580 – 1,575 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,612 จุด สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรตามสัญญาณซื้อของ Modified Stochastic รูป W-Shape ควรใช้เป็นจุดขายเพื่อทำกำไร หรือปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านที่ 1,612 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดในช่วงบ่าย ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดสูงปิดต่ำที่ 1,590.50 จุด ลดลง 3.50 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.65 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงทดสอบแนวต้านที่ 1,612 จุด โดยดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 เนื่องจากตลาดคาดว่าจีนและสหรัฐจะบรรลุข้อตกลงทางการค้า หลังเจรจามา 3 วัน ขณะที่เฟดส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,612 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,609 จุด แรงขายที่มีออกมาในช่วงบ่าย ทำให้ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างที่ 1,575 – 1,584 จุด
สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นบวกจะทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง เนื่องจากดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นมาปิดเหนือ 1,584 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด, 1,612 จุด และ 1,627 จุด ตามลำดับ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น 4,C โดยสมบูรณ์เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,612 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,597 – 1,604 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,584 – 1,575 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,612 จุด สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรตามสัญญาณซื้อของ Modified Stochastic รูป W-Shape ควรใช้เป็นจุดขายเพื่อทำกำไร หรือปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,610 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดที่ 1,594.00 จุด เพิ่มขึ้น 1.28 จุด มูลค่าการซื้อขายมีเข้ามาเพียง 3.56 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลงระยะกลาง ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ตลาดมองว่าจีนและสหรัฐจะบรรลุข้อตกลงทางการค้า แม้จะขยายเวลาการเจรจาออกไปอีก 1 วัน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Doji สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ราคาในวันถัดไปจะบอกถึงทิศทางตลาด ถ้าดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,575 – 1,584 จุด
ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง เนื่องจากดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง
สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้น เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5.5 หมื่นล้านบาท และมีหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี สื่อสารและแบงก์เป็นตัวนำตลาด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นมาปิดเหนือ 1,584 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด, 1,612 จุด และ 1,627 จุด ตามลำดับ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น 4,C โดยสมบูรณ์เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,600 – 1,610 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,585 – 1,580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรตามสัญญาณซื้อของ Modified Stochastic รูป W-Shape ควรใช้เป็นจุดขายเพื่อทำกำไร หรือปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมีและค้าปลีก หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,592.72 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 17.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.49 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก หนุนดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติกลับมาขายสุทธิหลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทกลับมาปิดในแดนบวก (เปิดตลาดในแดนลบ) ตลาดคาดหวังว่าจีนและสหรัฐจะบรรลุข้อตกลงทางการค้า บวกกับตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกลับมาปิดในแดนบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Breakaway gap) หลังจากพักตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,546 จุด เกิดสัญญาณปลายตลาดขาลง หนุนดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2% และ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด และ 1,612 จุด ตามลำดับ โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้น เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5.5 หมื่นล้านบาท และมีหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี สื่อสารและแบงก์เป็นตัวนำตลาด โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่น 4,C ที่ 1,546 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นมาปิดเหนือ 1,584 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุด, 1,612 จุด และ 1,627 จุด ตามลำดับ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น 4,C โดยสมบูรณ์เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,600 – 1,610 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,585 – 1,580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,600 – 1,610 จุด สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรตามสัญญาณซื้อของ Modified Stochastic รูป W-Shape ควรใช้เป็นจุดขายเพื่อทำกำไร หรือปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยืนเหนือ 1,570 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมีและค้าปลีก หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,570 จุด ดัชนีตลาดปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,575.13 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.25 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,597 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ และต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 593 ล้านบาท ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องแตะ 31.982 บาท/ดอลลาร์ สะท้อนถึงเม็ดเงินลงทุนนอกเริ่มไหลกลับ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทกลับมาร้อนแรงขานรับตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง บวกกับเฟดส่งสัญญาณพร้อมปรับนโยบายการขึ้นดอกเบี้ย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นมาปิดเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด ทำให้การพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4,C ยังอยู่ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต (ดูจากราคาปิด) สัญญาณทางทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด และจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) เมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,700 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายการปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น 3),5 อยู่ที่ 1,890 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing ตามหลัง Harami ขาลงในเขตขายมากเกิน ร่วมกับสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ระยะสั้นดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,584 จุด และมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,597 จุดเป็นแนวต้านถัดไป
ดัชนีตลาดระยะกลางยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-Shape) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,597 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,584 – 1,590 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,567 – 1,560 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,597 – 1,600 จุด สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรตามสัญญาณซื้อของ Modified Stochastic รูป W-Shape ควรใช้เป็นจุดขายเพื่อทำกำไร หรือปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พิษสงครามการค้า
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงขายออกมาในช่วงท้ายตลาด ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,560.03 จุด ปรับลดลง 5.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.98 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก แต่ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง สถาบันภายในประเทศและนักลงทุนรายบุคคลเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กทรุดตัวลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังแอปเปิ้ลปรับลดประมาณการรายได้ปี 2562 และดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐเดือนธันวาคมออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านขอจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ทำให้ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง ดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,546 จุด
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4 ที่แกว่งตัวลงแบบ A-B-C ตามหลักการ Overlapping คลื่น 4 ไม่ควรปิดต่ำกว่า 1,570 จุด และการปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,570 จุด จะทำให้ดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลง ซึ่งเป็นไปตามหลักการทฤษฎีดาว (Dow Theory) และดัชนีตลาดมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,630 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอาจปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,565 – 1,570 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,553 – 1,547 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นระหว่างการซื้อขาย ควรใช้จังหวะนี้เป็นจุดปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่ม ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดที่ 1,65.94 จุด เพิ่มขึ้น 2.06 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.16 หมื่นล้านบาท บรรยากาศการซื้อขายซบเซาแม้สัญญาณทางทางเทคนิคัลระยะสั้นจะกลับมาเป็นบวก หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,584 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลง สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะกลาง ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวกเล็กน้อย จับตาผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ ฉุดเศรษฐกิจโลกไม่สดใส เม็ดเงินลงทุนไหลกลับเข้าตลาดทองคำ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านที่ 1,584 จุด (จุดต่ำเก่า) หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,546 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami Cross และ Harami ขาลงในเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,584 จุด และมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,596 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
ระยะกลางดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง และจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4 ที่แกว่งตัวลงแบบ A-B-C ตามหลักการ Overlapping คลื่น 4 ไม่ควรปิดต่ำกว่า 1,570 จุด และการปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,570 จุด จะทำให้ดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลง ซึ่งเป็นไปตามหลักการทฤษฎีดาว (Dow Theory) และดัชนีตลาดมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,630 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ จะทำให้ดัชนีฟิวเจอร์สปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยระยะกลางดัชนีฟิวเจอร์สยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,572 – 1,578 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,560 – 1,555 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,584 จุด ควรใช้แนวต้านนี้เป็นจุดปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่ม ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สวัสดีปีกุน
แรงซื้อที่มีเข้ามาเพื่อทำราคาปิด (Window Dressing) ลดช่วงลบของดัชนีตลาดที่กลับมาปิดที่ 1,563.88 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 31.45 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 3.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรซึ่งจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกส่งท้ายปีเก่า ท่ามกลางสงครามการค้าและดอกเบี้ยขาขึ้น ตลาดหุ้นปี 2562 มีแนวโน้มวุ่นวายและสับสนอันเกิดจากอารมณ์ที่แปรปรวนของทรัมป์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4 ที่แกว่งตัวลงแบบ A-B-C ตามหลักการ Overlapping คลื่น 4 ไม่ควรปิดต่ำกว่า 1,570 จุด และการปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,570 จุด จะทำให้ดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลง ซึ่งเป็นไปตามหลักการทฤษฎีดาว (Dow Theory) และดัชนีตลาดมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,640 จุด และ 1,700 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดบวก (อาจเกิดจากการทำราคาปิดประจำไตรมาส) ทำให้แท่งเทียนเกิดเป็น Harami Cross และ Harami ขาลงในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านถัดไป
ภาวะขายมากเกินอาจหนุนดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นจากแรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้น แต่ระยะกลางดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง ดัชนีจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,640 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ จะทำให้ดัชนีฟิวเจอร์สปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยระยะกลางดัชนีฟิวเจอร์สยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,570 – 1,580 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,557 – 1,550 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,584 – 1,590 จุด ควรใช้แนวต้านนี้เป็นจุดปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่ม ควรถือเงินสดอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ภาวะขายมากเกิน
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยที่เปิดสูงลงมาปิดต่ำในช่วงบ่าย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,548.37 จุด ลดลง 8.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.95 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัลแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง กรณีที่ต้องการเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร ควรรอสัญญาณซื้อของ Modified Stochastic เป็นรูป W-shape สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดบวกในช่วงท้ายตลาดหลังจากดิ่งลงในช่วงเช้า จากแรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Closing the window) ที่ 1,576 – 1,589 จุด ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำแท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick กึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,565 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดเป็นขาลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,520 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับคลื่น 4 แบบ A-B-C การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,570 จุด จะทำให้คลื่น 4 ซ้อนทับกับคลื่น 1 ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัลแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง กรณีที่ต้องการซื้อเพื่อเก็งกำไร ควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,556 – 1565 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,540 – 1,532 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,520 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น นักลงทุนควรเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape
และการปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลงเมื่อวานคือโอกาสปรับพอร์ตเพื่อเงินสดเพิ่มอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยอดค้าปลีกหนุนดาวโจนส์
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีตลาดหลุดแนวรับสำคัญที่ 1,570 จุด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,556.93 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.28 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมาเกิน ดัชนีตลาดจะเกิดสัญญาณเพื่อเก็งกำไร เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดเป็น W-shape จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,620 จุด สถาบันภายในประเทศและนักลงทุนรายบุคคลเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิกว่า 2 พันล้านบาท
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังเป็นตลาดขาลง แท่งเทียนเกิดเป็น Doji สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน หากดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้น หากดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,585 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,620 จุด ในกรณีที่ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,540 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับคลื่น 4 แบบ A-B-C การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,570 จุด จะทำให้คลื่น 4 ซ้อนทับกับคลื่น 1 ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,540 จุด สลับกับการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลระหว่างการซื้อขาย จะเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,564 – 1,570 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,545 – 1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,585 จุด และสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape ควรเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น เป้าหมายทำกำไรอยู่ที่ 1,620 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,540 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Low Price Gapping Play
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงตามตลาดหุ้นชั้นนำที่พร้อมใจทรุดตัว หลังสงครามการค้าระหว่างจีน – สหรัฐ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนและสหรัฐ แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดดิ่งลงปิดที่ 1,552.65 จุด ลดลง 34.64 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะทำให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัลแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวันคริสต์มาส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงแบบมีช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่กึ่งกลางลำตัวจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,566 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Closing the window) จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงต่อ สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และสัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับคลื่น 4 แบบ A-B-C การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,570 จุด จะทำให้คลื่น 4 ซ้อนทับกับคลื่น 1 ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,540 จุด สลับกับการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลระหว่างการซื้อขาย จะเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,564 – 1,570 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,545 – 1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,570 จุด ตามหลักการทฤษฎีดาว แสดงว่าดัชนีตลาดได้เปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลง จึงควรหาจังหวะปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดให้มากสุด และหาจังหวะปรับพอร์ตกรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
หมีคุกคามตลาดนิวยอร์ก
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง แรงขายที่มีออกมาในช่วงท้ายตลาดกดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,591.29 จุด ลดลง 4.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 2.76 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ จะทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,580 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่กลุ่มที่เหลือเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงทำจุดต่ำในรอบ 18 เดือนเข้าสู่ภาวะตลาดหมี สงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจชะลอตัว ตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งกว่า 6 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้างเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,578 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing, Hammer และตามด้วย Inverted Hammer ในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงต่อ เนื่องจากเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI
กรณีที่ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,601 จุด จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นโดยมูลค่าการซื้อขายไม่หนาแน่น ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นจะเป็นการปรับขึ้นเพื่อขาย ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,640 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5 หมื่นล้านบาท
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับแบบ A-B-C ลงเป็นคลื่น 4 โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด และคลื่น 4 ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1 ซึ่งเป็นไปตามหลักการ Overlapping และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือแนวรับที่ 1,570 จุด ตามหลักการทฤษฎีดาว ชี้ว่าดัชนีตลาดกำลังเปลี่ยนทิศทางจากตลาดขาขึ้นเป็นตลาดขาลง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,596 – 1,601 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,585 – 1,580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ควรปรับพอร์ตเพื่อเงินสด (ควรถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต) และควรระวังดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลง หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับที่ 1,570 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยังมีความเสี่ยง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด ดัชนีตลาดปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,595.33 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 14.12 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4.18 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก แต่ระยะกลางและยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิในช่วงปลายสัปดาห์ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลง ดาวโจนส์ปรับตัวลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ตลาดถูกกดดันจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นและปัญหาการเมืองในประเทศสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับแบบ A-B-C ลงเป็นคลื่น 4 โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด และคลื่น 4 ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1 ซึ่งเป็นไปตามหลักการ Overlapping และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือแนวรับที่ 1,570 จุด ตามหลักการทฤษฎีดาว ชี้ว่าดัชนีตลาดกำลังเปลี่ยนทิศทางจากตลาดขาขึ้นเป็นตลาดขาลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้างเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับที่ 1,584 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,570 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง จะทำหน้าที่เป็นแนวต้านเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,640 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,678 จุด กับจุดต่ำที่ 1,578 จุด มาวิเคราะห์หากแนวต้านด้วย Fibonacci ratio จะได้แนวต้าน 23.6%, 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด, 1,616 จุด, 1,628 จุด และ 1,640 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิค แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,601 – 1,610 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,589 – 1,584 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ควรปรับพอร์ตเพื่อเงินสด (ควรถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต) และควรระวังดัชนีตลาดเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลง หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับที่ 1,570 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขึ้นเพื่อขาย
แรงซื้อที่กลับเข้ามาช่วงท้ายตลาดช่วยลดช่วงลบของดัชนีตลาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,596.10 จุด ลดลง 0.02 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.49 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยที่ดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,640 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ดาวโจนส์ปรับตัวลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 14 เดือน ท่ามกลางดอกเบี้ยขาขึ้นและสัญญาณเศรษฐกิจสหรับที่ชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing ตามด้วย Hammer ในเขตขายมาเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2% และ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,616 จุด และ 1,628 จุด ตามลำดับ (คำนวณระหว่างจุดสูงที่ 1,678 จุดกับจุดต่ำที่ 1,578 จุด) โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐานและแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม หากดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อขาย
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับแบบ (a)-(b)-(c)-(d)-(e) และจบคลื่น 4,(e) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,640 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง (มูลค่าการซื้อขายมากว่า 5 หมื่นล้านบาท)
แต่ถ้าดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายทรงตัวต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นจะเป็นการปรับขึ้นเพื่อขาย และคลื่น 4 จะมีลักษณะพักตัวแบบ (a)-(b)-(c)-(x)-(a)-(b)-(c)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังคงแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมที่มีแนวต้านอยู่ที่ 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,061 – 1,608 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,590 – 1,585 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ควรปรับพอร์ตเพื่อเงินสด (ควรถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดอกเบี้ยขาขึ้น
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นสถาบันการเงิน หลังคณะกรรมการนโยบายการเงินลงมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี ส่งผลให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,601.12 จุด เพิ่มขึ้น 17.93 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลงหลังเฟดลงมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25 เปอร์เซ็นต์ เฟดส่งสัญญาณจะลดความถี่ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าจาก 3 ครั้งลงเหลือ 2 ครั้ง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นหลังจากปรับตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด (ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,578 จุด) แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing ในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นช่องหน้าต่างขาลงที่ 1,594 – 1,601 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,616 จุด
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางแกว่งตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4,(e) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่แนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด ในกรณีที่ตลาดถูกครอบงำจากปัจจัยลบ คลื่นปรับอาจจะพักตัวแบบ (a)-(b)-(c)-(x)-(a)-(b)-(c) จากที่พักตัวแบบ (a)-(b)-(c)-(d)-(e) และจะยืนยันการเป็นทิศทางเป็นคลื่นส่งเมื่อดัชนีตลาดสามารถทะลุแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,700 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,607 – 1,615 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,591 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,628 – 1,640 จุด เป็นถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
สัญญาณเศรษฐกิจจีนและสหรัฐเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวหลังสงครามการค้ายืดเยื้อ แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,583.19 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล แต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ดิ่งลงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ จะกดดันราคาหุ้นในกลุ่มปตท. สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวขายสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ตลาดกำลังติดตามผลการประชุมของ FOMC ในวันพุธนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดิ่งลงต่อเนื่อง หวั่นเศรษฐกิจที่ซบเซาจะส่งต่อความต้องการใช้น้ำมัน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีตลาดรูดลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลงที่ 1,594 – 1,601 จุด
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในตลาดขาลง การปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลจึงเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด
จากกราฟรายวัน จากรูปที่ 1 ดัชนีตลาดเคยนับคลื่นปรับคลื่น 4 จบที่ 1,584 จุด ก่อนที่ปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่งคลื่น (i) ที่ 1,765 จุด แต่ดัชนีตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,582 จุด ต่ำกว่า 1,584 จุด จึงไม่สามารถนับเป็นคลื่น (ii) เนื่องจากหลักการนับคลื่นเอลเลียต คลื่น (ii) จะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,584 จุด จึงต้องเปลี่ยนการนับคลื่นปรับใหม่
รูปที่ 2 ดัชนีตลาดที่ปรับตัวลงมาทำจุดต่ำที่ 1,582 จุด จึงต้องนับเป็นคลื่นปรับคลื่น 4 แทน
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,590 – 1,595 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,577 – 1,570 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ (เท่ากับถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลงที่ 1,594 – 1,601 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดาวโจนส์ดิ่ง 500 จุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,600 จุดเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,601.48 จุด ลดลง 7.97 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.97 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้นหนุนดัชนีตลาดให้มีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงต่อ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ สงครามการค้าและทิศทางดอกเบี้ยจะยังเป็นตัวแปรกดดันตลาดหุ้นนิวยอร์ก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวลงทำสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และจุดต่ำเก่าที่ 1,596 จุดเป็นแนวรับถัดไป โดยมีกึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 1,626 จุด ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไป
กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำกว่า 1,596 จุด ทำให้คลื่นปรับยังไม่จบคลื่น ii) และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,584 จุด จะเป็นสัญญาดัชนีตลาดยังแกว่งตัวลงเป็นคลื่น 4 เนื่องจากคลื่น (ii) จะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,584 จุด ทำให้คลื่น 4 มีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรรยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,607 – 1,614 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,590 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับตัวลงจากสงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ ส่งกระทบให้เศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว และการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับการลงทุนใน LTF จะกดดันให้กองทุนในประเทศนำหุ้นออกขายเพื่อสำรองเงินสดเตรียมการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของนักลงทุน จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำอย่างต่อเนื่อง ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดลงปิดที่ 1,614.99 จุด ลดลง 19.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.25 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด สถาบันภายในประเทศกลับมาขายสุทธิกว่า 5 พันล้านบาท ขณะที่ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 117 ล้านบาท จับตาผลกระทบหลังยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุน LTF ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง นักลงทุนกำลังติดตามการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ และผลการประชุมของเฟดในสัปดาห์หน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงแรงหลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,627 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขึ้นที่ 1,600 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,598 จุด
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีรูปแบบของการพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) จากคลื่น i) ลงเป็นคลื่น ii) แบบ a)-b)-c) โดยคลื่น ii),c) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 จุด ทำให้รูปแบบการพักตัวของดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมแบบสมมาตร (Symmetrical Triangle)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,621 – 1,627 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,607 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เนื่องจากดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
การเจรจาการค้าเริ่มเป็นบวก
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรยากาศการซื้อขายหุ้นซบเซา ดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,634.88 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 1.26 จุด มูลค่าการซื้อขายหดลงเหลือ 3.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นและระยะกลางเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,622 – 1,600 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทกลับมาปิดในแดนบวก หลังการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐมีสัญญาณคืบหน้า แต่ตลาดยังคงติดตามผลการประชุมของเฟดในสัปดาห์หน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,622 จุด และมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,600 จุด มูลค่าการซื้อขายที่ลดลงสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ลดลง
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นจะพักตัวลงและแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีรูปแบบของการพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) จากคลื่น i) ลงเป็นคลื่น ii) แบบ a)-b)-c) โดยคลื่น ii),c) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 จุด ทำให้รูปแบบการพักตัวของดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมแบบสมมาตร (Symmetrical Triangle)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,647 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,629 – 1,624 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เนื่องจากดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัล
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,633.62 จุด ลดลง 16.37 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.29 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางเทคนิคัลและแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทางมีทั้งบวกและลบ นักลงทุนให้ความสนใจต่อดัชนี CPI ที่จะประกาศในคืนนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐถูกคุกคามด้วยตัวเลขเงินเฟ้อ ความเสี่ยงที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงเปิดต่ำ แท่งเทียนเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดปิดลงต่ำกว่าช่องว่าง (Gap) ขาขึ้นที่ 1,646 – 1,662 จุด ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับของช่องหน้าต่างล่างที่ 1,646 จุด เป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจะเคลื่อนตัวออกด้านข้าง โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,600 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นจะพักตัวลงและแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways)
จากกราฟรายวัน การที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,646 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีการแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ a)-b)-c) โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น ii),c) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,646 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,625 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เนื่องจากดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สะดุดข่าวร้าย
สงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐส่อเค้าบานปลาย หลังแคนาดาจับกุมผู้บริหารหัวเว่ยเตรียมส่งให้สหรัฐ ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดการตื่นขาย ตลาดหุ้นนิวยอร์กทรุดตัวลงกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ตามแรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง ทำให้นักลงทุนโยกเม็ดเงินลงทุนกลับเข้าตลาดทองคำ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นหลังโอเปกและรัสเซียมีมติลดกำลังผลิตต้นปี 2562 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,649.99 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับเพิ่มขึ้น 8.19 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 3.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น และมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,570 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,688 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นระดับ 5.5 หมื่นล้านบาท และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด โดยดัชนีตลาดจะต้องปรับไม่ลงต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,598 จุด
ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้นและมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,570 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่งและมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,748 จุด โดยทิศทางของคลื่นส่งนี้จะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,598 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดพักตัวลงปิดช่องว่าง (Closing the window) ที่ 1,646 – 1,662 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดปรับตัวลงด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) ดัชนีตลาดจึงมีทิศทางแกว่งตัวขึ้นเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,692 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,656 – 1,662 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,642 – 1,636 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน 10 เปอร์เซ็นต์ช่วงที่ราคาปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ และถือเงินสด 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ผลกระทบจากกรณีหัวเว่ย
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังบรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วโลกเป็นไปในทางลบ จากกรณีที่แคนนาดาจับผู้บริหารหัวเว่ยให้ทางสหรัฐ ตลาดหวั่นสงครามการค้าอาจบานปลาย ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,653.73 จุด ลดลง 18.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.86 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดช่องว่างที่ 1,646 – 1,662 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง ขณะที่แนสแด็คปิดตัวในแดนบวก ทิศทางสงครามการค้าจะสร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,646 – 1,662 จุด มีเส้น MMA2 เป็นแนวรับร่วม หลังดัชนีตลาดดีดตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,688 จุด โดยมีช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) ดัชนีตลาดทะลุผ่านแนวต้านของสามเหลี่ยม ทำให้ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น มูลค่าการซื้อขายลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวลงมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดพักตัวลงปิดช่องว่างก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ที่มีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,746 จุด ซึ่งเป็นเป้าหมายของคลื่น iii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v)
ดัชนีตลาดยังมีเป้าหมายของคลื่น 3),5,v) อยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,646 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน 10 เปอร์เซ็นต์ และถือเงินสด 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
จีน - สหรัฐชะลอเก็บภาษีการค้า
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดในช่วงบ่าย ดันดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับตัวขึ้นปิดที่ 1,641.80 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 19.70 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 3.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,655 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 10 วัน โดยมีสถาบันในประเทศซื้อสุทธิต่อเนื่อง ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดบวก นักลงทุนกลับเข้าซื้อหุ้นเพื่อดักข่าวดีจากการเจรจาทางการค้าระหว่างจีน - สหรัฐที่ชะลอการเก็บภาษีทางการค้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางเทคนิคัลที่ 1,600 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,655 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป จะเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจบคลื่นปรับและกำลังปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีโอกาสแกว่งตัว 2 รูปแบบ แบบแรก คือ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,655 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น จะเป็นการยืนยันการจบคลื่นปรับและเปลี่ยนทิศทางขึ้นเป็นคลื่นส่ง
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับเข้าหาแนวรับทางเทคนิคัล ที่ 1,600 จุด (จัดเป็นแนวรับทางจิตวิทยา) เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณยืนยันปลายตลาดขาลง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,655 จุดเป็นแนวต้านถัดไป แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Top ร่วมกับแท่งเทียน Harami ขาขึ้น สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน แท่งเทียนที่เกิดตามมาจะบอกถึงทิศทางของดัชนีตลาด
หากดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,655 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางทางเทคนิคัลที่ 1,655 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,647 – 1,655 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,633 – 1,625 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5 หมื่นล้านบาท ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นพื้นฐาน 10 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ถือเงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นพื้นฐาน 10 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ถือเงินสด 30 เปอร์เซ็นต์