Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
การเมืองขาดความชัดเจน
แรงซื้อเก็งกำไรที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดในแดนบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,632.32 จุด เพิ่มขึ้น 6.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ (669 ล้านบาท) ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก นักลงทุนบางส่วนกลับเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น แม้เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวและการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐยังไร้ข้อสรุป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) หลังดัชนีตลาดพักตัวลงทดสอบแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทางภายในกรอบ 1,612 – 1,643 จุด
ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (ระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) อย่างต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะเดือนหน้าปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากหุ้นกลุ่มนำตลาดอย่างน้อย 3 กลุ่ม (พลังงาน แบงก์และสื่อสาร) ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคลื่น (iii) มีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,093 – 1,100 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,082 – 1,077 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
การเมืองในประเทศ
ปัญหาการเมืองในประเทศที่ขาดความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล กดดันให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,625.91 จุด ลดลง 20.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลขัดแย้งกันจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นผันผวนและขาดทิศทาง นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย หลังเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดดิ่งลงหลุดแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,610 จุด
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ระยะสั้นดัชนีตลาดจะแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง (Trendless) ภายในกรอบ 1,612 – 1,646 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะเดือนหน้าปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากหุ้นกลุ่มนำตลาดอย่างน้อย 3 กลุ่ม (พลังงาน แบงก์และสื่อสาร) ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคลื่น (iii) มีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดขาดทิศทางที่ชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,632 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,613 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทิศทางตลาดหลังเลือกตั้ง
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดในช่วงปลายสัปดาห์เพื่อดักข่าวดีหลังเลือกตั้ง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,646.29 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.72 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 3.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิช่วงปลายสัปดาห์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและอียูชะลอตัว บวกกับการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐไม่สามารถบรรลุข้อตกลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะเดือนหน้าปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากหุ้นกลุ่มนำตลาดอย่างน้อย 3 กลุ่ม (พลังงาน แบงก์และสื่อสาร) ด้วยมูลค่าการซื้อขายระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคลื่น (iii) มีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,820 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,643 จุด หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,612 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing ดัชนีตลาดกลับขึ้นปิดเหนือเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลง ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,674 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านนี้ได้ จะเป็นสัญญาณยืนยันถึงทิศทางตลาดกระทิง (Bull Market)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นจะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,674 จุด แต่สัญญาณระยะยาวยังขาดความชัด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,653 – 1,660 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,640 – 1,634 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
1,641 จุดวัดใจ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบๆ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดไม่ต่อเนื่องและมูลค่าการซื้อขายทรงตัว ดัชนีตลาดปิดที่ 1,634.00 จุด เพิ่มขึ้น 6.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.96 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,641 จุดและมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ อานิสงส์จากนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยของเฟด ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดในแดนบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) โดยมีจุดสูงเก่าที่ 1,641 จุดเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดพักอยู่เหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นดัชนีตลาดควรยืนปิดเหนือแนวต้านที่ 1,641 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (ระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) แต่ถ้าดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,625 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,612 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุดเป็นแนวรับถัดไป
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลงแบบฟันปลา (Zigzag) แบบ :a-:b-:c ลงเป็นคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมาย 100% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,592 จุด และ 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,560 จุด
ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,817 จุด (กรณีที่คลื่น (ii) จบที่ 1,612 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้น แต่ระยะยาวดัชนีตลาดยังขาดทิศทางที่ชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,645 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,629 – 1,623 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ไร้สัญญาณบวก
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง แม้จะเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาเพื่อเก็งกำไรผลการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดที่ 1,627.62 จุด ลดลง 2.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.64 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก มูลค่าการซื้อขายที่เบาบางจะทำให้ดัชนีตลาดเดินหน้าต่อได้น้อย ต่างชาติกลับมาเป็นฝ่ายขายสุทธิ ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงแรงหลังเฟดส่งสัญญาณจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ส่งผลให้ดาวโจนส์และแนสแดคปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนหวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดแกว่งตัวเหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด แรงซื้อที่ไม่ต่อเนื่องจะส่งผลให้ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และในกรณีที่ Worst case ดัชนีอาจปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,595 จุด
ดัชนีตลาดช่วงปลายสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้า อาจแกว่งตัวผันผวนจากแรงซื้อที่มีเข้ามาเพื่อดักข่าวการเลือกตั้ง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลงแบบฟันปลา (Zigzag) แบบ :a-:b-:c ลงเป็นคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมาย 100% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,592 จุด และ 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,560 จุด
ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,817 จุด (กรณีที่คลื่น (ii) จบที่ 1,612 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน ระยะสั้นอาจมีแรงซื้อเข้าเก็งกำไรเพื่อดักข่าวเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 24 นี้
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,633 – 1,640 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,621 – 1,614 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดักข่าวดี
บรรยากาศการซื้อขายเริ่มกลับมาคึกคัก นักลงทุนบางส่วนเริ่มกลับเข้าซื้อหุ้นดักข่าวหลังการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 24 นี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,630.09 จุด เพิ่มขึ้น 12.52 จุด มูลค่าการซื้อขายมีเข้ามาเพียง 3.64 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อมูลค่าการซื้อขายต้องหนาแน่นและต่อเนื่อง ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย นักลงทุนกังวลผลการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐไม่คืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด และกำลังทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Engulfing ในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (ระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงต่อหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,617 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลงแบบฟันปลา (Zigzag) แบบ :a-:b-:c ลงเป็นคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมาย 100% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,592 จุด และ 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,560 จุด
ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,817 จุด (กรณีที่คลื่น (ii) จบที่ 1,612 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI เริ่มกลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกันจะทำให้ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นแบบขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,636 – 1,643 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,624 – 1,618 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
มูลค่าการซื้อขายหด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงเล็กน้อยหลังจากดีดตัวขึ้นในวันพุธ มูลค่าการซื้อขายที่ชะลอตัวสะท้อนถึงความเชื่อมั่นยังไม่กลับมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,635.88 จุด ลดลง 3.79 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยงทางเทคนิคัล ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ 1,963 ล้านบาท ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย หลังการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐไม่คืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือ 1,637 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงด้านปัจจัยทางเทคนิคัล ดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่เหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด
ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นดัชนีตลาดต้องยืนปิดเหนือ 1,637 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 5 หมื่นล้านบาท (สะท้อนถึงความเชื่อในทิศทางขาขึ้น) แต่ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,623 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) หลังดัชนีตลาดจบคลื่น (i) ที่ 1,674 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ ตามหลักการ คลื่น (ii) มีโอกาสจบลงที่ 1,595 จุด แต่ต้องปรับตัวไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด อย่างไรก็ดี ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางและจบคลื่น (ii) หากดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,637 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสแกว่งตัวขึ้น แต่ระยะยาวดัชนีตลาดยังขาดความชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,642 – 1,647 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,625 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
นักเก็งกำไรควรกลับเข้าซื้อหุ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนเหนือ 1,637 จุด แต่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นได้ดีต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (ระดับ 5 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน
และสำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณเริ่มกลับมาเป็นบวก
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกที่ 1,639.67 จุด เพิ่มขึ้น 12.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,637 จุด (แต่มูลค่าต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท) ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 290 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 13 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังตัวเลขการสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น ท่ามกลางราคาหุ้นโบอิ้งที่ผันผวน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ซึ่งเดิมทำหน้าที่เป็นแนวต้าน หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด ดัชนีตลาดเริ่มกลับมาเป็นบวกหลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,637 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายที่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล
ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อ จากนี้ไปดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงต่ำกว่า 1,625 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) หลังดัชนีตลาดจบคลื่น (i) ที่ 1,674 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ ตามหลักการ คลื่น (ii) มีโอกาสจบลงที่ 1,595 จุด แต่ต้องปรับตัวไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด อย่างไรก็ดี ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางและจบคลื่น (ii) หากดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,637 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่มูลค่าการซื้อขายที่ต่ำจะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นไปได้ไม่ไกล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,645 – 1,653 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,634 – 1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
นักเก็งกำไรควรกลับเข้าซื้อหุ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนเหนือ 1,637 จุด แต่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นได้ดีต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน
และสำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักตัว
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีทิศทางแกว่งตัวลงปิดที่ 1,627.59 จุด เพิ่มขึ้น 0.16 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรอาจหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง (แต่ควรกำหนดจุด Buy Stop ไว้ที่ 1,637 จุด) ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ราคาหุ้นโบอิ้งปรับลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ฉุดดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงสวนทางกับดัชนี S&P500 และ Nasdaq ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงต่อหากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,623 จุด โดยมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุดเป็นแนวรับถัดไป อย่างไรก็ดี ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,637 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น (5 หมื่นล้านบาท)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) หลังดัชนีตลาดจบคลื่น (i) ที่ 1,674 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ ตามหลักการ คลื่น (ii) มีโอกาสจบลงที่ 1,595 จุด แต่ต้องปรับตัวไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด อย่างไรก็ดี ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางและจบคลื่น (ii) หากดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,637 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง ดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง แต่ควรกำหนดจุด Buy Stop ไว้ที่ 1,637 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,633 – 1,639 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,622 – 1,616 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ระยะสั้นควรระวังแรงขายที่แนวต้าน 1,644 จุด+/- นักเก็งกำไรควรกลับเข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณเป็นรูป W-shape หรือเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,637 จุดและมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
และสำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ภาวะขายมากเกินหนุนแรงซื้อ
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,627.43 จุด ลดลง 2.69 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก หนุนให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่ดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาเป็นในแดนบวก จากแรงหนุนในหุ้นเทคโนโลยี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,624 จุด ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด โดยมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,595 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) หลังดัชนีตลาดจบคลื่น (i) ที่ 1,674 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ ตามหลักการ คลื่น (ii) มีโอกาสจบลงที่ 1,595 จุด แต่ต้องปรับตัวไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่ดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,633 – 1,639 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,623 – 1,616 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ระยะสั้นควรระวังแรงขายที่แนวต้าน 1,644 จุด+/- นักเก็งกำไรควรกลับเข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณเป็นรูป W-shape หรือเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,641 จุดและมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
และสำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดปัจจัยบวก
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆในทิศทางลง แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,630.12 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 11.32 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลง หลังตัวเลขการจ้างงานต่ำกว่าที่คาดและนักลงทุนกังวลถึงเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น (ii) หลังดัชนีตลาดจบคลื่น (i) ที่ 1,674 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ ตามหลักการ คลื่น (ii) มีโอกาสจบลงที่ 1,595 จุด แต่ต้องปรับตัวไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning ตามหลังแท่งเทียนรูป Piercing pattern ในเขตขายมากเกิน เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
ระยะสั้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,640 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้น และดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,623 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวลงเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล สลับกับการปรับตัวลง นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,636 – 1,642 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,625 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ระยะสั้นควรระวังแรงขายที่แนวต้าน 1,644 จุด+/- นักเก็งกำไรควรกลับเข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณเป็นรูป W-shape หรือเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,641 จุดและมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
และสำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดผวาเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว
แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังการเมืองในประเทศเริ่มชัดเจน ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวปิดที่ 1,633.21 จุด เพิ่มขึ้น 7.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.86 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงเนื่องจากปริมาณการซื้อขายลดลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง ผลพวงจากเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูงหลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,623 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Piercing pattern ในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,641 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีทิศทางปรับตัวลงต่อ
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,625 จุด และแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,610 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,651 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น (i),v) ที่ 1,674 จุด ทำให้คลื่น v) มีลักษณะเป็นคลื่นหดตัว (Truncation wave) ตามหลักการคลื่นเอลเลียตจะทำให้คลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา โดยคลื่น (ii) มีแนวรับที่คำนวณระหว่างจุดต่ำที่ 1,545 จุด กับจุดสูงที่ 1,674 จุดจะได้ 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,625 จุด, 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่การปรับตัวขึ้นด้วยปริมาณการซื้อขายที่ลดลง จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,639 – 1,644 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,627 – 1,623 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ระยะสั้นควรระวังแรงขายที่แนวต้าน 1,644 จุด+/- นักเก็งกำไรควรกลับเข้าซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรเมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณเป็นรูป W-shape
และสำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยลบรุมเร้า
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,625.51 จุด ลดลง 13.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบและเริ่มเข้าเขตขายมากเกิน จะทำให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรเป็นระยะ นักเก็งกำไรระยะสั้นควรสัญญาณซื้อ Modified Stochastic รูป W-shape ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับลดลงหลังเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลุดแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,630.5 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,625 จุด ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด และในกรณที่มีข่าวร้าย (Worst case) ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,595 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,651 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น (i),v) ที่ 1,674 จุด ทำให้คลื่น v) มีลักษณะเป็นคลื่นหดตัว (Truncation wave) ตามหลักการคลื่นเอลเลียตจะทำให้คลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา โดยคลื่น (ii) มีแนวรับที่คำนวณระหว่างจุดต่ำที่ 1,545 จุด กับจุดสูงที่ 1,674 จุดจะได้ 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,625 จุด, 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลง ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,632 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,619 – 1,613 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สำหรับนักเก็งกำไรจะกลับเข้าซื้อหุ้น เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape สำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะปรับฐาน
แรงซื้อที่เริ่มกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดในแดนบวกที่ 1,639.00 จุด เพิ่มขึ้น 3.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ สัญญาณระยะสั้นเริ่มเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่ดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลงเล็กน้อย หลังบริษัทจดทะเบียนออกมาปรับลดประมาณการ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 5
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,629 จุด ปริมาณการซื้อขายลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือแนวรับที่ 1,625 จุด ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,651 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น (i),v) ที่ 1,674 จุด ทำให้คลื่น v) มีลักษณะเป็นคลื่นหดตัว (Truncation wave) ตามหลักการคลื่นเอลเลียตจะทำให้คลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา โดยคลื่น (ii) มีแนวรับที่คำนวณระหว่างจุดต่ำที่ 1,545 จุด กับจุดสูงที่ 1,674 จุดจะได้ 38.2%, 50.0% และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,625 จุด, 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,625 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,645 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,633 – 1,628 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สำหรับนักเก็งกำไรจะกลับเข้าซื้อหุ้น เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape สำหรับนักลงทุนควรซื้อหุ้นพื้นฐานไว้ในพอร์ตไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เงินสด 30 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณข่าวร้ายเริ่มปรากฏ
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดจากปัจจัยลบที่มีเข้ามา ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ดัชนีตลาดปิดที่ 1,635.30 จุด ลดลง 6.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,625 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง นักลงทุนวิตกถึงตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่ลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งทดสอบแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แท่งเทียนเกิดเป็น Dark Three Crows ที่สะท้อนถึงข่าวร้ายที่มีเข้ามา ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,625 จุด และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,610 จุดเป็นแนวรับถัดไป
ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงหลังหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,651 จุด กรณีที่เลวร้ายดัชนีตลาดอาจปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,595 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,651 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น (i),v) ที่ 1,674 จุด ทำให้คลื่น v) มีลักษณะเป็นคลื่นหดตัว (Truncation wave) ตามหลักการคลื่นเอลเลียตจะทำให้คลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรงตามมา โดยคลื่น (ii) มีแนวรับที่คำนวณระหว่างจุดต่ำที่ 1,545 จุด กับจุดสูงที่ 1,674 จุดจะได้ 38.2%, 50.0%และ 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,625 จุด, 1,610 จุด และ 1,595 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,625 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,641 – 1,645 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,635 – 1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
นักเก็งกำไรควรปรับพอร์ตถือเงินเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1,651 จุด สำหรับพอร์ตการลงทุน 70 เปอร์เซ็นต์ แนะนำถือไว้ก่อน
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดผิดหวังการเจรจา “ทรัมป์ – คิม” ล่ม
ทันทีที่ปรากฏข่าวผลการเจรจา “ทรัมป์ - คิม” ไร้ข้อสรุป กดดันให้เกิดแรงเทขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,653.48 จุด ลดลง 11.79 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,651 จุด ต่างชาติขายสุทธิกว่า 4 พันล้านบาท (เป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ) ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลงจากแรงกดดันจากผลประกอบการและการเจรจาระหว่าง “ทรัมป์ - คิม” ไร้ข้อสรุป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ซึ่งมีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,660.5 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้น และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,651 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,645 จุด
จากกราฟรายวัน ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,651 จุด จะเป็นสัญญาณว่าคลื่น v) หรือคลื่น (i),v) จบลงที่ 1,674 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) โดยดัชนีตลาดระยะสั้นจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,634 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,651 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,659 – 1,666 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดยืนเหนือ 1,667 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท และควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,668 – 1,665 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยภายนอกกระทบตลาด
การเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยังไร้ข้อสรุป บวกกับข้อพิพาทระหว่างอินเดียกับปากีสถาน ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,665.27 จุด เพิ่มขึ้น 1.71 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.25 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ จับตาผลกระทบจากปัจจัยนอกประเทศอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดช่องว่าง (Closing the window) ที่ 1,659 – 1,665 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,652 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เริ่มเรียงตัวแบบตลาดขาขึ้น ระยะสั้นดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัว แต่ระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น และมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,681 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น iv) ที่ 1,634 จุด และกำลังปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) จากหลักการ Wave Equality คลื่น v) จะยาวเท่ากับ 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น iii) ที่วัดจากจุดเริ่มต้นของคลื่น i) คลื่น v) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,709 จุด โดยมีเส้นแนวขาลงระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,700 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,670 – 1,675 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,659 – 1,654 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดยืนเหนือ 1,667 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท และควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,668 – 1,665 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวต้านระยะสั้น 1,681 จุด
แรงขายทำกำไรระยะสั้นที่มีออกมา กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,663.56 จุด ลดลง 8.19 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศขายสุทธิเล็กน้อย ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง นักลงทุนผิดหวังผลประกอบการที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่เฟดส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดช่องว่าง (Closing the window) ที่ 1,659 – 1,665 จุด หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,681 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,674 จุด ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,650 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น iv) ที่ 1,634 จุด และกำลังปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) จากหลักการ Wave Equality คลื่น v) จะยาวเท่ากับ 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น iii) ที่วัดจากจุดเริ่มต้นของคลื่น i) คลื่น v) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,709 จุด โดยมีเส้นแนวขาลงระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,700 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,656 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,670 – 1,675 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,656 – 1,650 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดยืนเหนือ 1,667 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท และควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,668 – 1,665 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านที่ 1,681 จุด
แรงซื้อที่โถมเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กระตุ้นบรรยากาศการลงทุนให้กลับมาคึกคัก ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,671.75 จุด เพิ่มขึ้น 12.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย ขณะที่สถาบันในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังทรัมป์เลื่อนเส้นตายการเจรจาการค้ากับจีน ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ดิ่งลงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ หลังทรัมป์ออกมาวิจารณ์ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเร็งเกินไป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Breakaway Gap) หลังจากดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,651 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่าง (Closing the window) แต่จะเป็นการพักตัวลงเพื่อขึ้นต่อ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,681 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยระยะกลางขึ้นไปดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ระยะสั้นดัชนีตลาดมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,700 – 1,709 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่น iv) ที่ 1,634 จุด และกำลังปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) จากหลักการ Wave Equality คลื่น v) จะยาวเท่ากับ 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น iii) ที่วัดจากจุดเริ่มต้นของคลื่น i) คลื่น v) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,709 จุด โดยมีเส้นแนวขาลงระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,700 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,681 – 1,687 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,665 – 1,660 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต หลังดัชนีตลาดยืนเหนือ 1,667 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท และควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,668 – 1,665 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,709 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,659.20 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับเพิ่มขึ้น 22.26 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,700 – 1,709 จุด ต่างชาติส่งสัญญาณเข้าซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 9 ขานรับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐคืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวจบคลื่น iv) ที่ 1,634 จุด และกำลังปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) จากหลักการ Wave Equality คลื่น v) จะยาวเท่ากับ 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น iii) ที่วัดจากจุดเริ่มต้นของคลื่น i) คลื่น v) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,709 จุด โดยมีเส้นแนวขาลงระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,700 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,651 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดพักตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมแบบ Descending Triangle ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด (คำนวณระหว่าง 1,765/1,546) และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางเป็นแนวต้านถัดไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,681 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,667 – 1,677 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,652 – 1,645 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 60 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,667 จุดและมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อไม่ต่อเนื่อง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,651 จุด เนื่องจากขาดแรงซื้อในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดจึงอ่อนตัวลงปิดที่ 1,647.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.94 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลยังเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นยังมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิเล็กน้อย จากวันก่อนที่ซื้อสุทธิเกือบ 8 พันล้านบาท ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังตลาดผิดหวังตัวเลขเศรษฐกิจมีสัญญาณชะลอตัว แรงขายทำกำไรที่มีออกมาในทองคำกดราคาปรับตัวลงแตะ 1,323 เหรียญ/ออนซ์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,651 จุด หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม ระยะสั้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,651 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,667 จุด และสัญญาณทางเทคนิคัลจะเปลี่ยนกลับมาเป็นบวก
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวซิกแซกลงเป็นคลื่น iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,616 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,651 จุด จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น iv) ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,707 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด แต่สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,651 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,652 – 1,659 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,640 – 1,635 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด หรือเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,651 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ต่างชาติปลุกตลาดหุ้นไทย
แรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่โถมเข้าซื้อหุ้นไทยสุทธิ 7.989 พันล้านบาท หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,645.38 จุด เพิ่มขึ้น 9.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.8 หมื่นล้านบาท แต่สัญญาณทางเทคนิคัลยังเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,651 จุด นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปลี่ยนแปลงขึ้นเล็กน้อย หลัง FOMC ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนรอผลการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐในสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม ระยะสั้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,651 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,667 จุด และสัญญาณทางเทคนิคัลจะเปลี่ยนกลับมาเป็นบวก
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวซิกแซกลงเป็นคลื่น iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,628 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,616 จุด แต่ถ้าดัชนีตลาดสามารถกลับขึ้นยืนปิดเหนือ 1,651 จุด จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น iv) ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,707 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,651 – 1,658 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,639 – 1,632 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด หรือเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,651 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักตัว
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,635.71 จุด ลดลง 1.23 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด ในกรณีที่เป็นลบมากดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะ 31.127 บาท/ดอลลาร์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กแกว่งตัวแคบๆ จากแรงขายทำกำไรระยะสั้นหลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม แนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,616 จุดเป็นแนวรับถัดไป ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลง โดยระยะกลางขึ้นไปดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่ 1,667 จุด และกำลังปรับตัวลงแบบซิกแซกเป็นคลื่น iv) ต่างไปจากคลื่น i) ที่ปรับตัวลงเป็นคลื่น ii) แบบ Simple ซึ่งเป็นไปตามหลักการ Alternation คลื่น iv) มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาเป้าหมายที่ 1,628 จุด และ 1,616 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,628 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,642 – 1,647 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,628 – 1,623 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,616 จุด