Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เริ่มกลับมาร้อนแรง
หลังจากการเมืองในประเทศเริ่มนิ่ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหันกลับเข้าลงทุนในตลาดหุ้น แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,705.98 จุด เพิ่มขึ้น 22.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.07 แสนล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,722 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนบวกหลังเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ย และพร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (High Price Gapping Play) ซึ่งเป็นสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,701 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,715 จุด และมีจุดสูงที่ 1,722 จุดเป็นแนวต้านถัดไป การเรียงตัวของเส้น MMA2 และความลาดชันที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงทิศทางตลาดขาขึ้น
ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection ที่ 1,740 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด เสมือนเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขายจากภาวะซื้อมากเกิน ซึ่งจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้นต่อ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,715 – 1,722 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,701 – 1,693 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตอบรับการเมืองนิ่ง
ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิกว่า 4 พันล้านบาท หลังการเมืองในประเทศมีสัญญาณนิ่ง แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,683.60 จุด เพิ่มขึ้น 16.37 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน แรงขายทำกำไรระยะสั้นจะมีออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวสลับกับการปรับตัวขึ้นต่อ ดัชนีตลาดมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,720 จุด และ 1,820 จุด ตามลำดับ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังผู้นำจีนและสหรัฐมีสัญญาณว่าจะกลับเข้าโต๊ะเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า และเฟดส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงิน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,663 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม การเรียงตัวของเส้น MMA2 และความลาดชันที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงทิศทางตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,720 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด เสมือนเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขายจากภาวะซื้อมากเกิน ซึ่งจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้นต่อ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,688 – 1,694 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,674 – 1,668 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Key Reversal Day
แรงขายทำกำไรระยะสั้นฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,667.23 จุด ลดลง 5.10 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,652 จุด ต่างชาติเริ่มกลับมาขายสุทธิกว่า 3 พันล้านบาท สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยังเป็นปัจจัยคุกคามตลาดทุน ตลาดหุ้นนิวยอร์กแกว่งตัวแคบๆ นักลงทุนเฝ้ารอสัญญาณจากเฟดที่จะประชุมสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,678 จุด เกิดเป็น Key Reversal Pattern ตามหลังการเกิดแท่งเทียนรูป Harami ขาขึ้น สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,650 จุด
ระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น แต่ระยะสั้นดัชนีตลาดอยู่ในพักตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด เสมือนเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดอาจปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,652 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,672 – 1,677 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,661 – 1,656 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวก่อนเดินหน้า
แรงขายทำกำไรระยะสั้นเริ่มมีออกมา หลังตลาดตอบรับการเมืองในประเทศที่ชัดเจนขึ้น (Sell on Fact) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,672.33 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น 18.83 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 4.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน แรงขายทำกำไรระยะสั้น จะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,652 จุด ก่อนปรับตัวขึ้นต่อ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการต่ำกว่าคาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด เสมือนเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดอาจปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,652 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด (จากเดิมทำหน้าที่เป็นแนวต้านเปลี่ยนมาเป็นแนวรับ) แท่งเทียนเกิดเป็น Harami และ Spinning Top ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้เกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้น ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลดลงในระยะสั้นก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ
ระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น แต่ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวและจำนวนหุ้นลบมากกว่าจำนวนหุ้นบวก
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,677 – 1,684 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,667 – 1,660 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัลเพิ่ม
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ท้ายตลาด ดันดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นมาปิดที่ 1,674.14 จุด เพิ่มขึ้น 3.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน การที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวและจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวก จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มขึ้น ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกโดยมีหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นตัวหนุน หลังมีการโจมตเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำในอ่าวโอมาน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,684 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวถึงลดลง และจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวก สะท้อนว่าดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นด้วยหุ้นขนาดใหญ่ แต่ส่วนใหญ่กลับปรับลดลง ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นในระยะสั้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มขึ้น
ระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น แต่ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,679 – 1,684 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,669 – 1,663 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นมีโอกาสพักตัว
แม้ตลาดจะตอบรับการเมืองในประเทศในทางบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นปิดที่ 1,671.11 จุด เพิ่มขึ้น 0.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ แต่การที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายและจำนวนหุ้นบวกลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีโอกาสปรับตัวลง ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐกลับมาตึงเครียด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆหลังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดปิดเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงที่กลับมาทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,664 จุด (เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับ) ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,684 จุด
ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายและจำนวนหุ้นบวกลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวลงเพื่อขึ้นต่อ เนื่องจากระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้น (เป็นไปตามหลักการทฤษฎีดาว)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,675 – 1,682 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,665 – 1,660 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นร้อนแรงเกิน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดบวกขานรับความชัดเจนทางการเมืองในประเทศ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,670.41 จุด เพิ่มขึ้น 5.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะ 31.249 บาท/ดอลลาร์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐกลับกดดันตลาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีตลาดสามารถทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายทรงตัว จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,684 จุด มีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล โดยมีเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางกลับมาทำหน้าที่เป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นต่อ มูลค่าการซื้อขายต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลดลงสลับกับการปรับตัวขึ้น สำหรับนักลงทุนต้องการขายเพื่อทำกำไรเป็นรอบ ควรสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,675 – 1,682 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,665 – 1,658 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ระยะสั้นดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตอบรับการเมืองในประเทศ
สัญญาณการจัดตั้งรัฐบาลที่เริ่มลงตัว กระตุ้นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อหุ้นสุทธิ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,664.73 จุด เพิ่มขึ้น 11.23 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.76 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก จากนี้ไปหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,664 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันทิศทางขาขึ้นของตลาด สหรัฐส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโก หนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) หลังดัชนีพักตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้นที่ 1,637 – 1,647 จุด (Filling the gap) โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,664 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านนี้ได้ และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันทิศทางขาขึ้นของตลาด
แต่การที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มูลค่าการซื้อขายลดลง จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงทางเทคนิคัลเพิ่มขึ้น และดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงในระยะสั้น โดยระยะกลางดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการขายทำกำไรเป็นรอบ ควรให้สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขายทำกำไร
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,670 – 1,676 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,658 – 1,650 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอความชัดเจนทางการเมือง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นขานรับการเมืองในประเทศที่ชัดเจน แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,653.50 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 33.26 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.15 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง 7 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ขานรับเฟดส่งสัญญาณผ่อนคลายด้านนโยบายการเงินและดอกเบี้ย และตัวเลขการจ้างงานที่ลดลงทำให้ตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางที่ 1,664 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดช่องว่างขาขึ้น (Filling the gap) ที่ 1,637 – 1,647 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) จะทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,640 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,662 – 1,669 จุด และมีจุดสูงเก่าที่ 1,684 จุด เป็นแนวต้านถัดไป
ดัชนีตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายลดลง จะทำให้เกิดความเสี่ยงทางเทคนิคัลในระยะสั้น
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการขายทำกำไรเป็นรอบ ควรให้สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขายทำกำไร
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,664 – 1,670 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปิดช่องว่างก่อนเดินหน้า
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,653.41 จุด เพิ่มขึ้น 4.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.98 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ตลาดระยะสั้นมีสัญญาณซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเพื่อปิดช่องว่างก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ตลาดได้รับแรงหนุนหลังเฟดส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ย และการขึ้นภาษีเม็กซิโกเลื่อนออกไป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,651 จุด แบบมีช่องว่าง ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสอ่อนตัวลงเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,640 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่เกิดจากช่องว่างขาลงที่ 1,662 – 1,669 จุด และมีจุดสูงเก่าที่ 1,684 จุด เป็นแนวต้านถัดไป
ดัชนีตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด จะเป็นสัญญาณยืนยันว่าดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการขายทำกำไรเป็นรอบ ควรให้สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence จึงนำหุ้นออกขายทำกำไร
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,659 – 1,663 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,648 – 1,642 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังแรงขายระยะสั้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นจากแรงซื้อที่เข้าเก็งกำไรดักข่าวการเลือกนายกรัฐมนตรีและการเมืองที่ชัดเจน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,648.46 จุด เพิ่มขึ้น 10.77 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายเพื่อทำกำไรออกมาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 สัญญาณปรับลดดอกเบี้ยของเฟด ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,651 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,640 จุด ดัชนีตลาดเริ่มมีทิศทางเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น และการที่ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด เป็นสัญญาณถือพอร์ตการลงทุนจนกว่าจะเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด จะเป็นสัญญาณยืนยันว่าดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้น ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ สำหรับพอร์ตการลงทุนแนะนำให้ถือต่อ หากต้องการขายทำกำไรควรรอสัญญาณ Bearish Divergence
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,654 – 1,660 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,641 – 1,636 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นพื้นฐาน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณบวกเริ่มกลับมา
ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิ (5.8 พันล้านบาท) หลังทิศทางการเมืองเริ่มชัดเจน ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,637.69 จุด เพิ่มขึ้น 17.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,651 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นปิดในบวกขานรับสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มกลับมาเจรจารอบใหม่ ขณะที่ประธานเฟดสาขา St. Louis สงสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) โดยมีแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,641 จุดเป็นแนวต้านร่วม สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,651 จุด ซึ่งเป็นแนวต้านของ 61.8% Fibonacci Retracement
Doji สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน แท่งเทียนที่เกิดตามมาจะเป็นตัวบอกทิศทางของตลาด หากดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลง แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด จะเป็นสัญญาณยืนยันว่าดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,599 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,651 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,645 – 1,651 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,638 – 1,625 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นพื้นฐาน พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดปัจจัยหนุน
บรรยากาศการซื้อขายในช่วงปลายสัปดาห์เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ปัญหาการเมืองในประเทศขาดความชัดเจน ขณะที่สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดทุน ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,620.22 จุด ปรับลดลง 1.35 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.7 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ โดยที่สถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กแกว่งตัวโดยดัชนีแนสแดคดิ่งลง 114.57 จุด ดัชนีปรับลดลงมาอยู่ที่ 7,453.15 จุด จากแรงกดดันของสงครามการค้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,662 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ แท่งเทียนเกิดเป็น Doji ใกล้แนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,631 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไป ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,640 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
Doji สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน แท่งเทียนที่เกิดตามมาจะเป็นตัวบอกทิศทางของตลาด หากดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลง แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้น
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทางเทคนิคัลขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง (Trendless)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,626 – 1,632 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,612 – 1,605 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด+/-
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดถูกกดดันจากสงครามการค้า
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงถูกกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่ส่อเค้าบานปลาย เม็ดเงินลงทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตรและทองคำ (สินทรัพย์ปลอดภัย) ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนและปิดลงที่ 1,621.57 จุด เพิ่มขึ้น 2.21 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท สถาบันในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐส่อเค้าบานปลาย เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกกดดัน ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,631 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,641 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง และมีแนวรับทางจิตวิทยาเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,600 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านที่ 1,641 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายของคลื่น (iii) อยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก โดยสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,641 จุด แต่ระยะยาวดัชนีตลาดยังขาดทิศทางที่ชัดเจน เนื่องจากสัญญาณ MACD เป็นลบ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,627 – 1,632 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,616 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
การเมืองและสงครามการค้า
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญคลื่นลมจากปัญหาการเมืองในประเทศ และสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่สอเค้าบานปลาย หลังจีนส่งสัญญาณตอบโต้สหรัฐด้วยการจำกัดการขายสินแร่หายากให้กับสหรัฐ เม็ดเงินลงทุนไหลกลับเข้าตลาดพันธบัตรซึ่งถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,619.36 จุด ลดลง 12.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,625 จุด หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,631 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,641 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,599 จุด สัญญาณ Bullish Divergence จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านที่ 1,641 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายของคลื่น (iii) อยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก โดยสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,641 จุด แต่ระยะยาวดัชนีตลาดยังขาดทิศทางที่ชัดเจน เนื่องจากสัญญาณ MACD เป็นลบ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,625 – 1,632 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,613 – 1,605 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐานเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
หวั่นพิษสงครามการค้า
การเมืองในประเทศที่เริ่มชัดเจน กระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,632.04 จุด เพิ่มขึ้น 7.20 จุด มูลค่าการซื้อขายกว่า 2 แสนล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 1.25 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลที่เริ่มกลับมาเป็นบวก หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลง นักลงทุนกังวลสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่บานปลาย จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกต่อเนื่องเป็นวันที่สาม หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,600 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,641 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะเป็นบวกเพิ่มมากขึ้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,641 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านที่ 1,641 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายของคลื่น (iii) อยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก โดยสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,641 จุด แต่ระยะยาวดัชนีตลาดยังขาดทิศทางที่ชัดเจน เนื่องจากสัญญาณ MACD เป็นลบ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,638 – 1,645 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,625 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัล
แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังการเมืองในประเทศเริ่มชัดเจน ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,624.84 จุด เพิ่มขึ้น 10.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 – 1,640 จุด สถาบันในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะมีสัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกเมื่อดัชนีสามารถยืนเหนือ 1,628 จุด เพื่อยืนยันสัญญาณ Bullish Divergence ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,640 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางขาขึ้นดัชนีตลาดจะต้องสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงจากแรงขายระยะสั้น ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านที่ 1,640 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายของคลื่น (iii) อยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก โดยสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,619 – 1,614 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด และมีแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,640 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สงครามการค้าตัวแปรการลงทุน
ท่ามกลางปัญหาการเมืองในประเทศที่ขาดความชัดเจนและสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่ยืดเยื้อ ล้วนเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นในตลาดทุน แรงซื้อที่มีเข้าในช่วงปลายสัปดาห์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,614.12 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.01 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5 หมื่นล้านบาท ต่างชาติแม้จะเริ่มกลับมาซื้อสุทธิแต่ทิศทางยังไม่แน่นอน ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดบวกด้วยความหวังว่าการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะได้ข้อยุติ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์และรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,597 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,667 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายของคลื่น (iii) อยู่ที่ 1,820 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,599 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,642 จุด ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญในระยะสั้น ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนวต้านนี้
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ระยะสั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบ 1,597 – 1,667 จุด สัญญาณ Bullish Divergence อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าดัชนีตลาดก้าวเข้าสู่ช่วงปลายตลาดขาลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,622 – 1,628 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,608 – 1,599 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณ Bullish Divergence เตือนถึงช่วงปลายตลาดขาลง นักลงทุนควรมีพอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน 80 เปอร์เซ็นต์ และถือเงินสด 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สงครามการค้าบานปลาย
ปัญหาการเมืองในประเทศและสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐมีแนวโน้มบานปลาย สร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุน แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,609.79 จุด ลดลง 17.12 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตขายมากเกิน ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัว สร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังจากดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,628 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไป ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,599 จุด
ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) หรือเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้น MMA2
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (i) ที่ 1,684 จุด และกำลังปรับลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 – 1,590 จุด คลื่นปรับจะจบเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence เป็นสัญญาณยืนยัน
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,616 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,602 – 1,595 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มความระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากสงครามการค้าจีนและสหรัฐมีแนวโน้มบานปลาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
การเมืองเริ่มนิ่ง
การเมืองภายในประเทศที่เริ่มนิ่ง กระตุ้นให้ต่างชาติและสถาบันในประเทศกลับเข้าซื้อหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,626.91จุด เพิ่มขึ้น 16.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด ก่อนที่จะปรับฐานตามมา สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้ตลาดทุนระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดการไถ่ถอนเงินลงทุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลงและ Spinning Bottom ตามด้วย Bullish Belt-hold สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไป ระยะดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่างขาขึ้น (Filling the Gap)
ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดควรยืนปิดเหนือเส้น MMA2
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (i) ที่ 1,684 จุด และกำลังปรับลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 – 1,590 จุด คลื่นปรับจะจบเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence เป็นสัญญาณยืนยัน
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,630 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,633 – 1,640 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,615 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กลับเข้าซื้อหุ้นพื้นฐานเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด
แรงซื้อที่เริ่มกลับเข้ามาหลังดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,610.49 จุด เพิ่มขึ้น 2.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ การเมืองในประเทศยังเป็นตัวแปรต่อบรรยากาศการลงทุน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกหลังรัฐบาลสหรัฐผ่อนคลายการแบนหัวเว่ยเป็นการชั่วคราว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,599 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลงร่วมกับ Spinning Bottom ในเขตขายมากเกิน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก จะหนุนแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,622 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) จะทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น
(เมื่อนำจุดต่ำที่ 1,546 จุด กับจุดสูงที่ 1,684 จุด มาวิเคราะห์หาแนวรับด้วย Fibonacci Ratio จะได้แนวรับดังนี้ 38.2% = 1,631 จุด, 50.0% = 1,615 จุด และ 61.8% = 1,599 จุด)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (i) ที่ 1,684 จุด และกำลังปรับลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 – 1,590 จุด คลื่นปรับจะจบเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence เป็นสัญญาณยืนยัน
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ โดยสัญญาณ RSI และ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,616 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,605 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รอสัญญาณ Bullish Divergence ก่อนกลับเข้าตลาด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Wait and See
ข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ กดดันให้เกิดการตื่นขายออกมาในตลาดหุ้น ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,608.11 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดดิ่งลง 40.58 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ระยะสั้นดัชนีตลาดเข้าสู่ภาวะขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,590 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิ จับตาสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่บานปลายจะเป็นปัจจัยคุกคามต่อตลาดทุนและตลาดเงินตามมา
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์และรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (i) ที่ 1,684 จุด และกำลังปรับลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 – 1,590 จุด คลื่นปรับจะจบเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence เป็นสัญญาณยืนยัน
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับลดลงต่อเนื่อง ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำต่อเนื่องเป็นวันที่สาม แท่งเทียนเกิดเป็น Dark Three Crows สะท้อนถึงข่าวร้ายที่มีเข้ามาในตลาด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,599 จุด
(เมื่อนำจุดต่ำที่ 1,546 จุด กับจุดสูงที่ 1,684 จุด มาวิเคราะห์หาแนวรับด้วย Fibonacci Ratio จะได้แนวรับดังนี้ 38.2% = 1,631 จุด, 50.0% = 1,615 จุด และ 61.8% = 1,599 จุด)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI แสดงถึงภาวะขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,615 – 1,625 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,600 – 1,590 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รอสัญญาณ Bullish Divergence ก่อนกลับเข้าตลาด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงบ่าย ช่วยลดช่วงลบของดัชนีตลาดในช่วงเช้า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,614.75 จุด ลดลง 6.52 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล สลับกับการปรับตัวลงหรือปรับฐานเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ผลประกอบการและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง หนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 3
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำต่อเนื่องเป็นวันที่สอง แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,615 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,599 จุด แท่งเทียนเริ่มปรากฏเงาส่วนล่าง (Lower shadow) สะท้อนถึงแรงซื้อเริ่มกลับเข้ามา ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล สลับกับการปรับตัวลง
(เมื่อนำจุดต่ำที่ 1,546 จุด กับจุดสูงที่ 1,684 จุด มาวิเคราะห์หาแนวรับด้วย Fibonacci Ratio จะได้แนวรับดังนี้ 38.2% = 1,631 จุด, 50.0% = 1,615 จุด และ 61.8% = 1,599 จุด)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,684 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสจบคลื่น i) ที่ 1,684 จุด และกำลังพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ดัชนีตลาดมีแนวรับทางเทคนิคัลอยู่ที่ 1,631 จุด, 1,615 จุด และ 1,599 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI แสดงถึงภาวะขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,620 – 1,630 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,605 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รอสัญญาณ Bullish Divergence ก่อนกลับเข้าตลาด