Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มแบงก์
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,411.01 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 36.83 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.22 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ขณะที่นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (4/6) ตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังตัวเลขการว่างงานลดลงจากการที่ธุรกิจกลับมาดำเนินการและเศรษฐกิจฟื้นตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,413 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,515 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงถึงการปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ปลายเส้น MMA2 เริ่มเปิดกว้าง แสดงถึงทิศทางการปรับตัวขึ้น แต่ภาวะซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,425 – 1,439 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,396 – 1,380 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือ
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ร้อนแรงเกิน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ตลาดได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,374.18 จุด เพิ่มขึ้น 21.81 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.09 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้เกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัว ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (3/6) ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ขานรับตัวเลขการว่างงานลดลงกว่าที่คาด และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ให้ธุรกิจกลับมาดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,374 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,410 จุด สัญญาณ DMI ยังขาดทิศทาง แต่ภาวะซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,384 – 1,395 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,362 – 1,352 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยิ่งสูงยิ่งหนาว
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และพลังงาน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,352.76 จุด เพิ่มขึ้น 9.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (1/6) ดัชนีปิดตลาดในแดนบวก ท่ามกลางความวุ่นวายจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการประท้วงในประเทศ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,362 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Top ตามหลังแท่งเทียน Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,282 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) และดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวอยู่ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,362 – 1,373 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,342 – 1,333 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
จำหน่ายจ่ายแจก
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ หลังสหรัฐออกมาตรการตอบโต้กฎหมายความมั่นคงที่จีนนำมาใช้กับฮ่องกง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,342.85 จุด เพิ่มขึ้น 5.34 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 5,504 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 20 วัน
ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,358 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,282 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) และดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น i) เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,300 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,350 – 1,358 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,333 – 1,322 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก
ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นลงในแดนบวกและแดนลบ จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มแบงก์ แต่ขายออกมาในหุ้นกลุ่มพลังงานและโรงไฟฟ้า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,337.51 จุด ลดลง 7.60 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.49 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงขายที่มีออกมาจะฉุดดัชนีตลาดให้พักตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 19
ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,358 จุด เปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Engulfing ในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,282 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงจะเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลดลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,345 – 1,356 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,328 – 1,320 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดเริ่มกลับมาคึกคัก
การคลายล็อกดาวน์และความคืบหน้าในการทดลองใช้วัคซีนเพื่อต้านโควิด-19 หนุนบรรยากาศการลงทุนให้กลับมาร้อนแรง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,345.11 จุด เพิ่มขึ้น 9.02 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.86 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเผชิญแรงขาย ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 18
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,345 จุด ตามหลังแท่งเทียนรูป Doji สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงจะเผชิญแรงขาย โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,355 – 1,364 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,336 – 1,326 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Doji + Gap
การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ สร้างความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว แรงซื้อที่มีกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,336.09 จุด เพิ่มขึ้น 15.11 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.38 หมื่นล้านบาท การเกิดโดจิในเขตซื้อมากเกิน เตือนถึงความเสี่ยงในระยะสั้น ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 17 ขณะที่สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก หลังธุรกิจเริ่มกลับมาเปิดดำเนินการและความหวังวัคซีนต้านโควิด-19 เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐรอบใหม่
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,345 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Doji สะท้อนถึงแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงจะเผชิญแรงขาย โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงที่จะถูกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,345 – 1,355 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,326 – 1,317 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
จำหน่ายจ่ายแจก
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ตลาดได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,320.98 จุด เพิ่มขึ้น 17.01 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.38 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 16
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวัน “Memorial Day”
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หลังดัชนีตลาดพักตัวลงทดสอบแนวรับของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,330 จุด ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในลักษณะของการจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลงเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงที่จะถูกขาย
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,330 – 1,340 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,310 – 1,300 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด
BTCUSD : STO RSI มีสัญญาณ "ขาย" กำไร 32%กลยุทธนี้ เป็นการเอา indicator มาใช้ผิดวิธีอย่างรุนแรง
ไม่แนะนำให้ทำเป็นเยี่ยงอย่าง 555
STO RSI คือ oscillator เอาไว้ดูจังหวะสวนเทรน ( OB/OS ) ไม่ใช่เอามาไว้รันเทรน
แต่ว่า พอปรับค่าโน่นค่านี่ กลับกลายเป็นว่า เสือกเอามารันเทรนได้เว้ยเฮ้ย
ผมก็เลยบรรจุมันลงใน list ของ trend following อีกตัวนึงแทน
อย่างรอบนี้ ก็ได้กำไรไม่ขี้เหร่เลย สามารถทำกำไรได้ถึง 32%
มากกว่ากลยุทธ อื่นๆ อีกหลายตัวใน list ของผมด้วยซ้ำ
ซึ่ง... วันนี้ ก็มีสัญญาณ "ขาย" ออกมาแล้วน่ะสิ
ก็เป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับ Bitcoin ในภาพรวมเท่าไหร่
เพราะ ณ ตอนนี้ แทบจะทุก indicator ที่ค่อนข้างเร็ว
ส่งสัญญาณขายออกมาหมดแล้ว ( ขนาด ตัวที่ lag นรก อย่าง 12-in-1 ยังมีสัญญาณขาย )
มือใหม่ ที่ดอยหนัก ก็วางแผน ตั้งสติ กันดีๆ นะครับ
เพราะเวลา Bitcoin มันลงเนี่ย มันลงจนต้องร้องขอชีวิตเลยนา..
แล้วจะหาว่าไม่เตือน 555
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวลง
แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังปรากฏข่าวการขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐรอบใหม่ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,303.97 จุด ปรับลดลง 16.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 15
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (22/5) ตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย นักลงทุนกังวลถึงการขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐ หลังวุฒิสภาผ่านกฎหมายบังคับใช้กับบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ และสภาประชาชนจีนเสนอกฎหมายความมั่นคงเพื่อบังครับใช้กับฮ่องกง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,333 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,277 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวลง หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับที่ 1,277 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นพักตัวก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,277 จุด จะเป็นการยืนยันว่าดัชนีตลาดจบคลื่น i) ที่ 1,333 จุด และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,194 จุด การปรับตัวลงดัชนีจะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด ซึ่งเป็นคลื่น II,E และเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ แรงขายที่มีออกมาจะส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,311 – 1,320 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,292 – 1,280 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่า ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,277 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัล
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,320.69 จุด ลดลง 1.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 14
ดัชนีดาวโจนส์ประจำวันพฤหัสบดี (21/5) ปรับตัวลดลง ตลาดถูกกดดันจากสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มมีสัญญาณปะทุ ท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของฌชื้อโควิด-19 ปัญหาทางเศรษฐกิจ และตัวเลขคนว่างงานทะลุ 38 ล้านคน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,333 จุด ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,306 จุด และมีเส้น MMA1 และ MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ระยะสั้นควรระวังดัชนีเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นยืนเหนือแนวต้านที่ 1,306 จุด หลังจากดิ่งลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น II,E ที่ 969 จุด ระยะสั้นดัชนีจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ และดัชนีตลาดต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,330 – 1,340 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,311 – 1,301 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกแรงขายออกมาเป็นระยะ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขานรับลดดอกเบี้ย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5 เปอร์เซ็นต์ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,322.20 จุด เพิ่มขึ้น 12.25 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.76 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้น 369 จุด ตลาดได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้น Facebook และ Amazon ตลาดคาดหวังการเปิดดำเนินธุรกิจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูงโดยมีแนวต้านที่ 1,306 จุด ทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,335 จุด และมีเส้น MMA1 และ MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวรับ ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ระยะสั้นควรระวังดัชนีเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น II,E ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นเป็นคลื่น i) โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement 1,306 จุด เป็นเป้าหมาย และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ และดัชนีตลาดต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,330 – 1,340 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,314 – 1,304 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกแรงขายออกมาเป็นระยะ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นเสี่ยง
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ขานรับตลาดหุ้นนิวยอร์กที่กลับมาร้อนแรง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,309.95 จุด เพิ่มขึ้น 23.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.88 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (19/5) ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลง 390 จุด หลังข้อมูลการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัท Moderna ยังขาดข้อมูลที่พอเพียง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ทะลุผ่านแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,303 จุด และปิดขึ้นเหนือแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,306 จุด ขึ้นมาทำจุดสูงที่ 1,318 จุด แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีโอกาสพักตัวลง สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ระยะสั้นควรระวังดัชนีเปิดสูงปิดต่ำ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น II,E ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นเป็นคลื่น i) โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement 1,306 จุด เป็นเป้าหมาย และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ และดัชนีตลาดต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นจะเผชิญแรงขาย ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,317 – 1,330 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,301 – 1,290 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงส่งจากตลาดหุ้นนิวยอร์ก
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (18/5) ความหวังจากการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ปลุกความเชื่อมั่นนักลงทุนให้หันเข้าซื้อหุ้น หนุนดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 911 จุด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,286.53 จุด เพิ่มขึ้น 5.18 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.58 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง โดยมีจุดสูงเก่าที่ 1,303 จุดทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Double Top ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,252 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีระยะสั้นอยู่ในช่วงพัก หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,252 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,174 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น II,E ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นเป็นคลื่น i) โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement 1,306 จุด เป็นเป้าหมาย และดัชนีตลาดจะพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ และดัชนีตลาดต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่า 969 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ และสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 867 – 873 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 850 – 842 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณกลับตัว Double Top
แรงขายที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,280.76 จุด ลดลง 0.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (15/5) ปรับตัวขึ้นแคบๆ ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นเล็กน้อยแต่ทั้งสัปดาห์ปรับลดลง จากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มกลับมา
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,303 จุด เกิดสัญญาณกลับตัวรูป Double Top ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,252 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีระยะสั้นอยู่ในช่วงพัก หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,252 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,174 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักจัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) หลังจากดัชนีปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 969 จุด กรณีที่ดัชนีปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ จะมีแนวรับที่เกิดจากนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบ สัญญาณ RSI เกิดเป็น Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มมากขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,290 – 1,300 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,270 – 1,259 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักตัว
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,280.40 จุด ลดลง 14.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.66 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ และเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายและมีโอกาสปรับตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (14/5) ตลาดแกว่งตัวผันผวน ตลาดทรุดตัวลงในช่วงเปิดตลาด แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารหนุนดัชนีดาวโจนส์กลับมาปิดในแดนบวก ปรับเพิ่มขึ้น 377 จุด ดาวโจนส์สวิง 800 จุด ตัวเลขการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,303 จุด ดัชนีตลาดเกิดรูปแบบ Double Top ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงหรือแกว่งตัวออกด้านข้างในทางลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบ สัญญาณ RSI เกิดเป็น Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มมากขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,290 – 1,300 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,270 – 1,257 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Harami ขาขึ้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบจากตลาดเกิดภาวะซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,294.55 จุด ลดลง 5.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขาย ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (13/5) ปรับตัวลดลง หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตือนว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,287 – 1,297 จุด โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,306 จุดเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาขึ้น ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ในเขตซื้อมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI มีสัญญาณของ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มมากขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,306 – 1,317 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,283 – 1,274 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านที่ 1,306 จุด
นักลงทุนกลับเข้าซื้อหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังมีสัญญาณผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ขั้นที่สอง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,299.69 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 12.39 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน และสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (13/5) ปรับตัวลดลง นักลงทุนกังวลถึงการเปิดดำเนินธุรกิจเร็วเกินไป จะส่งผลให้เชื้อโควิด-19 กลับมาระบาดรอบสอง แรงขายที่มีออกมาฉุดดาวโจนส์ปรับตัวลง 457 จุด และ Nasdaq ปรับลดลง 189 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างที่ 1,287 – 1,297 จุด โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,306 จุดเป็นแนวต้านร่วม สัญญาณกลับตัวรูป Isolated Island จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ในเขตซื้อมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI มีสัญญาณของ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มมากขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,306 – 1,317 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,287 – 1,277 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตอบรับมาตรการผ่อนคลาย
แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังมีสัญญาณผ่อนคลายทางเศรษฐกิจรอบสอง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,287.30 จุด เพิ่มขึ้น 21.28 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (11/5) ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลง 109 จุด จากความกังวลว่าเชื้อโควิด-19 จะกลับมาระบาดรอบสอง ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,287 – 1,297 จุด โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,306 จุดเป็นแนวต้านร่วม สัญญาณกลับตัวรูป Isolated Island จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,297 – 1,306 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,277 – 1,266 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Filling the Gap
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นและปิดที่ 1,266.02 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 8.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (8/5) ตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากการที่นักลงทุนตีความว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะกลับมาเปิดดำเนินการ หลังตัวเลขการว่างงานแตะระดับ 30 ล้านคน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) หลังจากดัชนีตลาปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่าง (Gap) ที่ 1,272 – 1,364 จุด และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Isolated Island ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,277 – 1,287 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,254 – 1,245 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด
BTCUSD : inwCoin Stochastic RSI (Modified) มีสัญญาณ "ซื้อ"ระบบ Sto RSI ( modified ) เป็นระบบ ที่ผมลองปรับค่าเล่นๆ แล้วมันดันกลายเป็นกลยุทธรันเทรนได้ซะงั้น
จริงๆ ถือว่า ใช้ผิดจุดประสงค์ของ indicator ตัวนี้นะครับ
เพราะจริงๆ ตัว sto rsi มันเป็น oscillator ที่จะไว้ดูคาบการแกว่งขึ้นลงของราคา
ไม่ใช่เอามาทำท่านี้ 555
แต่วิธีนี้ ผมเอามาใช้ เพราะคิดว่า ถ้าราคามีการแกว่งแรง จนทะลุเส้นบน
แสดงว่า การขึ้นรอบนั้น มันแรงพอสมควร จนทะลุขึ้นข้างบนได้
ระบบนี้บอกให้เข้าซื้อตั้งแต่ 1 เมษา 2020 แล้วครับ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ
สัญญาณทางเทคนิคัลที่กลับมาเป็นลบ กดดันให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,257.98 จุด ลดลง 20.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นพักตัวลง ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (7/5) นักลงทุนตอบรับการเปิดดำเนินการธุรกิจ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หนุนดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก และเป็นการปิดบวกของปี ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 211 จุด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และตัวเลขการว่างงานแตะ 33.5 ล้านคน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่าง (Gap) ที่ 1,272 – 1,364 จุด และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Isolated Island ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,271 – 1,281 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,246 – 1,234 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด