Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดหุ้นนำตลาด
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นเป็นไปอย่างไรทิศทาง ตลาดถูกกดดันด้วยวันหยุดยาว นักลงทุนบางส่วนจึงนำหุ้นออกขายเพื่อลดความเสี่ยง และการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบสามในประเทศ จะกดดันการเปิดเศรษฐกิจไทย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,583.13 จุด ลดลง 7.33 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในทิศทางลง ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันอังคารที่ 4/5 ดาวโจนส์บวกเล็กน้อยขณะที่ดัชนีแนสแดคและเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง จากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและสื่อสาร เม็ดเงินบางส่วนไหลเข้าลงทุนในหุ้นการเงินและพลังงาน จับตาสัญญาณการปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังเยลเลนส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดับความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,565 – 1,546 จุด เส้น MMA2 ความลาดชัน (Slope) ลดลง หากมีค่าติดลบจะเป็นสัญญาณว่า ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,544 จุด และ 1,529 จุด ตามลำดับ และมีแนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,507 จุด และดัชนีตลาดมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,606 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านนี้และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (อาจสูงระดับ 1 แสนล้านบาท ขึ้นไป) สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างในทิศทางลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,507 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,672 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัว
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,593 – 1,603 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,574 – 1,565 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,606 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาหุ้นปูนใหญ่ พลังงานและธนาคารพาณิชย์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,590.46 จุด เพิ่มขึ้น 13.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,606 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มนำขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพฤหัสบดีที่ 29/4 ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นขานรับผลประกอบการไตรมาสแรกที่สดใส และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ความลาดชันลดลง ทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะปรับตัวลง สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,529 จุด และมีแนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,507 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,507 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,672 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,606 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,599 – 1,606 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,580 – 1,568 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อระยะสั้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาล-เอกชนร่วมกันจัดตั้งทีมไทยแลนด์ เพื่อเร่งและกระจายการฉีดวัคซีน ปลุกความหวังให้ตลาดหุ้น ดัชนีตลาดปิดที่ 1,576.79 จุด เพิ่มขึ้น 17.56 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ 28/4 ปรับตัวลดลง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้ศูนย์ และคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ขณะที่หุ้นสายการบินปรับลดลง ฉุดดัชนีตลาดอ่อนตัวลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,561 – 1,543 จุด ความลาดชันของเส้น MMA2 ลดลง ทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะปรับตัวลง ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด และมีแนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,507 จุด
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,529 จุด ดัชนีตลาดจะสร้างจุดสูงยกลงต่ำ (Lower high) ซึ่งเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจะมีทิศทางเคลื่อนตัวลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,507 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,672 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ แสดงถึงการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังมีความเสี่ยง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,585 – 1,596 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,565 – 1,555 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กดดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดที่ 1,559.23 จุด ลดลง 0.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลง ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 27/4 ดัชนีดาวโจนส์ เอสแอนด์พี 500 และแนสแดคเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย นักลงทุนชะลอการซื้อขายเพื่อรอดูผลประกอบการไตรมาสแรกของปี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,560 – 1,542 จุด ความลาดชันของเส้น MMA2 ลดลง ทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด และมีแนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,507 จุด
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,529 จุด ดัชนีตลาดจะสร้างจุดสูงยกลงต่ำ (Lower high) ซึ่งเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจะมีทิศทางเคลื่อนตัวลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,507 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,672 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,544 จุด และ 1,529 จุด ตามลำดับ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,570 – 1,580 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,550 – 1,541 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
โควิดกดดันตลาด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,553.59 จุด ลดลง 14.62 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 23 ดัชนีหลักทั้ง 3 ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง และตลาดเชื่อว่าสภาคองเกรสจะปรับขึ้นภาษีกำไรจากการลงทุน (Capital gains tax) ต่ำกว่าที่โจ ไบเดนต้องการ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,561 – 1,541 จุด มีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,529 จุด และมีแนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,507 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัด ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,507 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,672 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,563 – 1,574 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,543 – 1,534 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดหุ้นกลุ่มนำตลาด
แรงเทขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ฉุดให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,568.21 จุด ลดลง 11.50 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,529 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 22 ดัชนีหลักปรับตัวลดลง หลังมีรายงานว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนเตรียมปรับเพิ่มภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุน (Capital gain tax)
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงระหว่างซื้อขายไว้ที่ 1,587 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,561 – 1,540 จุด โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,529 จุดเป็นแนวรับถัดไป สัญญาณทางเทคนิคัลที่เริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง ดัชนีตลาดมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,507 จุด (เป็นแนวรับของ 23.6% Fibonacci Retracement) ดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,588 จุด ทำให้คลื่น (iii) จบลงที่ 1,606 จุด กรณีที่คลื่น (iii) มีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของคลื่น (i) หรือสั้นกว่า (ปกติจะไม่เกิด) คลื่น (v) จะเป็นคลื่นยืด (Extended wave)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,576 – 1,585 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,558 – 1,548 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณบวกเล็กๆ
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด บวกกับตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 16 ที่สดใส หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,574.91 จุด เพิ่มขึ้น 25.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่กลับลำขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเผชิญแรงขายทำกำไรที่มีออกมาในหุ้นเทคโนโลยีและธนาคารพานิชย์ ส่งผลให้ดัชนีหลักทั้งสามดัชนีปรับตัวลดลง ภาวะตลาดที่ร้อนแรงทำให้ดัชนีระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีหลักมีโอกาสพักตัวลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลงที่ 1,566 – 1,579 จุด แท่งเทียนมีลำตัวขาวและปิดเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีจุดสูงเก่าเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,606 จุด ดัชนีตลาดจะเดินหน้าดัชนีตลาดต้องปิดเหนือ 1,606 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างเพื่อปรับฐาน และดัชนีตลาดมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,507 จุด (เป็นแนวรับของ 23.6% Fibonacci Retracement)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,588 จุด ทำให้คลื่น (iii) จบลงที่ 1,606 จุด กรณีที่คลื่น (iii) มีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของคลื่น (i) หรือสั้นกว่า (ปกติจะไม่เกิด) คลื่น (v) จะเป็นคลื่นยืด (Extended wave)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,584 – 1,593 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,566 – 1,555 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
โควิดเขย่าตลาดหุ้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยประจำวันศุกร์ที่ 16 ยอดติดเชื้อโควิดที่ทะลุพันรายในประเทศ กดดันดัชนีตลาดให้อ่อนตัวลงในช่วงเช้า แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงบ่ายหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,548.96 จุด เพิ่มขึ้น 7.84 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมาเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ต่างชาติกลับมาเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันศุกร์ที่ 16 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง และผลประกอบการภาคธนาคารสหรัฐฯที่สดใส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,535 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement ที่ 1,507 จุด หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,579 – 1,566 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณการปรับตัวลงต่อ สัญญาณ DMI เริ่มชี้ไปในทิศทางการปรับตัวลง (แต่ยังไม่สมบูรณ์) แรงซื้อที่มีเข้ามาจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับบตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,588 จุด ทำให้คลื่น (iii) จบลงที่ 1,606 จุด กรณีที่คลื่น (iii) มีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของคลื่น (i) หรือสั้นกว่า (ปกติจะไม่เกิด) คลื่น (v) จะเป็นคลื่นยืด (Extended wave)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ซึ่งจะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,558 – 1,566 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,540 – 1,531 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Filling the Gap
บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ประจำวันสุดท้ายของสัปดาห์เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง หุ้นโรงพยาบาลเริ่มกลับมาโดดเด่น ดัชนีตลาดปิดที่ 1,566.34 จุด เพิ่มขึ้น 7.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.29 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศกลับมาซื้อสุทธิในทางเดียวกัน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (9/4) ตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พีสร้างจุดสูงใหม่ตลอดกาล ดัชนีแนสแดคปิดบวกจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,572 จุด เป็นการปรับขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,579 – 1,566 จุด เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลง ดัชนีตลาดพักตัวอยู่เหนือแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,558 – 1,532 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเป็นการปรับขึ้นปิดช่องว่าง ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อเข้าหาแนวรับที่ 1,507 จุด (แนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,588 จุด ทำให้คลื่น (iii) จบลงที่ 1,606 จุด กรณีที่คลื่น (iii) มีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของคลื่น (i) หรือสั้นกว่า (ปกติจะไม่เกิด) คลื่น (v) จะเป็นคลื่นยืด (Extended wave)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดเริ่มเข้าเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเป้าหมายที่ 1,507 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,575 – 1,584 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,556 – 1,547 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดปัจจัยบวก
บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปแบบไร้ทิศทาง ตลาดขาดหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,558.83 จุด เพิ่มขึ้น 2.27 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.36 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับเป้าหมายที่ 1,507 จุด ต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพฤหัสบดี (8/4) ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หลังเฟดส่งสัญญาณยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสูงกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,558 – 1,532 จุด ดัชนีตลาดยืนเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,558 – 1,532 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นเป็นการปรับขึ้นปิดช่องว่าง ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อเข้าหาแนวรับที่ 1,507 จุด (แนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement)
จากกราฟรายสัปดาห์ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,588 จุด อาจการจบคลื่น (iii) ที่ 1,606 จุด กรณีที่คลื่น (iii) มีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของคลื่น (i) หรือสั้นกว่า (ปกติจะไม่เกิด) คลื่น (v) จะเป็นคลื่นยืด (Extended wave)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดเริ่มเข้าเขตขายมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเป้าหมายที่ 1,507 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,566 – 1,575 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,547 – 1,537 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ
แรงซื้อขายหลักทรัพย์กระจายแบบไร้ทิศทาง หุ้นกลุ่มนำตลาดเผชิญแรงของออกมาอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,579.66 จุด ลดลง 16.61 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,588 จุด ทำให้ดัชนีตลาดเริ่มเบนทิศทางปรับตัวลง นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันอังคาร (6/4) ตลาดปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น หลังดัชนีปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล ขานรับสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,606 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ปรับตัวลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,588 จุด ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางลง เข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขึ้นที่ 1,558 – 1,531 จุด ภาวะซื้อมากเกินทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
จากกราฟรายสัปดาห์ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,588 จุด อาจการจบคลื่น (iii) ที่ 1,606 จุด กรณีที่คลื่น (iii) มีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของคลื่น (i) หรือสั้นกว่า (ปกติจะไม่เกิด) คลื่น (v) จะเป็นคลื่นยืด (Extended wave)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,507 จุด (แนวรับ 23.6% Fibonacci Retracement)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,589 – 1,599 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,570 – 1,559 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
1,600 จุด ผ่านหรือไม่ผ่าน
การซื้อขายหลักทรัพย์ปลายสัปดาห์ยังไร้ทิศทาง ตลาดขาดหุ้นกลุ่มนำตลาดที่แท้จริง แรงขายในช่วงปลายตลาด ฉุดดัชนีตลาดลดช่วงบวกลงมาปิดที่ 1,596.27 จุด เพิ่มขึ้น 1.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเข้าเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันศุกร์ (2/4) ปิดทำการเนื่องในวัน “Good Friday”
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,606 จุด แรงขายในช่วงท้ายตลาดส่งผลให้ดัชนีตลาดลดช่วงบวกลงมาปิดที่ 1,596 จุด แท่งเทียนเกิดเป็นลำตัวเล็กสีดำ ดัชนีตลาดแกว่งตัวเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,585 จุด ดัชนีตลาดต้องปิดไม่ต่ำกว่าแนวรับนี้ เพราะจะเป็นสัญญาณที่แสดงถึงการปรับตัวลง โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,557 – 1,529 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาเป้าหมายที่ 1,629 จุด (เป้าหมายของ 100.0% Fibonacci Projection)
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,585 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,604 – 1,614 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,587 – 1,577 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวต้านทางจิตวิทยา 1,600 จุด
บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ยังขาดทิศทาง แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกที่ 1,595.12 จุด เพิ่มขึ้น 7.91 จุด มูลค่าการซื้อขายทรงตัวอยู่ที่ 7.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพฤหีสบดี (1/4) ดัชนีหลักทั้งสามดัชนีปิดตลาดในแดนบวก ขานรับแผนกระตุ้นทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดี ที่ใช้เงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์สรอ.เพื่อสร้างโครงสร้างสาธารณะ บวกเม็ดเงินบางส่วนกลับเข้าซื้อหุ้นเทคโนโลยี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯเริ่มอ่อนตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่ปิดต่ำกว่า 1,584 จุด เพราะจะทำให้ดัชนีตลาดเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลงในระยะสั้น เส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,584 – 1,527 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาเป้าหมายที่ 1,629 จุด (เป้าหมายของ 100.0% Fibonacci Projection)
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,564 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,604 – 1,614 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,587 – 1,577 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ความเสี่ยงในระยะสั้น
การปรับพอร์ตของสถาบันในประเทศและต่างชาติหลังทำราคาปิดประจำไตรมาสแรก ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,587.21 จุด ลดลง 2.32 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 7.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัว สถาบันในประเทศและต่างชาติกลับมาขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพุธ (31/3) ปิดตลาดมีทั้งบวกและลบ ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคาร
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังจากเผชิญแรงขายทำกำไรระยะสั้น ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางเป็นแนวรับ และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับถัดไป ดัชนีตลาดระยะสั้นจะพักตัวลงหากไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,576 จุด ภาวะซื้อมากเกินถือเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะสั้น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาเป้าหมายที่ 1,629 จุด (เป้าหมายของ 100.0% Fibonacci Projection)
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,564 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,595 – 1,604 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,576 – 1,566 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แท่งเทียน Doji ในเขตซื้อมากเกิน
การซื้อขายหลักทรัพย์ยังเป็นไปแบบไร้ทิศทาง การทำราคาปิดประจำไตรมาสแรกหนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,589.53 จุด เพิ่มขึ้น 8.64 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.07 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ (อาจเป็นการซื้อเพื่อทำราคาปิด)
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันอังคาร (30/3) ดัชนีหลักทั้งสามดัชนีปรับตัวลดลง จากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นเทคโนโลยี นักลงทุนยังกังวลถึงทิศทางการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวทะลุผ่านแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,584 จุด แบบมีช่องว่าง (Breakaway gap) เส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางทำหน้าที่เป็นแนวรับ และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับถัดไป ดัชนีมีทิศทางปรับตัวเข้าหาเป้าหมายที่ 1,629 จุด (เป้าหมายของ 100.0% Fibonacci Projection) แต่สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ระยะสั้นดัชนีตลาดต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,564 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,564 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,600 – 1,608 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,579 – 1,568 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Window Dressing
แรงขายที่มีออกมาในช่วงบ่าย ส่งผลให้ดัชนีตลาดลดช่วงบวก ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,592 จุด ก่อนอ่อนตัวลงปิดที่ 1,583.89 จุด เพิ่มขึ้น 9.03 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 7.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดกำลังทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,584 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศกลับมาซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันจันทร์ (29/3) ดัชนีหลักปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง หลังราคาหุ้นกลุ่มธนาคารและพลังงานปรับตัวลดลง จับตากองทุนปรับพอร์ตประจำไตรมาสแรก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,584 จุด แบบมีช่องว่าง (Breakaway gap) เส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางทำหน้าที่เป็นแนวรับ และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับถัดไป ดัชนีมีทิศทางปรับตัวเข้าหาเป้าหมายที่ 1,629 จุด (เป้าหมายของ 100.0% Fibonacci Projection) แต่สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ระยะสั้นดัชนีตลาดต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,564 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,564 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,584 จุด และหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านนี้ได้ จะเป็นสัญญาณปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,592 – 1,600 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,574 – 1,566 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สองทางเลือก
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยยังเป็นไปอย่างไรทิศทาง แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงบ่ายหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,570.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.58 จุด ต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,550 จุด
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพุธ (24/3) ดัชนีแนสแดคปรับตัวลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ จากแรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดบวก หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นดัชนีตลาดต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,550 จุด สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดยังแกว่งตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,550 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกันจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,579 – 1,89 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,560 – 1,550 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงเพิ่ม
บรรยาการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,564.25 จุด ลดลง 2.11 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,550 จุด ดัชนีตลาดไม่ควรหลุดแนวรับนี้ ต่างชาติขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันอังคาร (23/3) ตลาดปรับตัวลดลง หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจล่าช้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) เหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,550 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,550 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงเข้าแนวรับที่ 1,505 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางขาขึ้นที่ชะลอตัว และสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดยังแกว่งตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,550 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,550 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,575 – 1,584 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,554 – 1,544 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
อย่าหลุด 1,550 จุด
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นเป็นไปอย่างไรทิศทาง ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,566.36 จุด เพิ่มขึ้น 2.40 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 7.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,550 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันจันทร์ (22/3) ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอ่อนตัวลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) เหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,550 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,550 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงเข้าแนวรับที่ 1,505 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางขาขึ้นที่ชะลอตัว และสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดยังแกว่งตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแบบ Simple ไม่มีการพักตัวลงของคลื่นปรับคลื่น (ii) แบบ (a)-(b)-(c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) และมีเป้าหมาย 100.0% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,629 จุด โดยที่ดัชนีตลาดระยะสั้นต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,550 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,575 – 1,584 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,554 – 1,544 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ต้องไม่หลุด 1,547 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,568.06 จุด เพิ่มขึ้น 2.06 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ต่างชาติยังคงเดินหน้าขายสุทธิ ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดต้องไม่หลุดแนวรับที่ 1,547 จุด
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพฤหัสบดี (18/3) ดัชนีหลักปรับตัวลดลง ดัชนีแนสแดคดิ่งลงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ จากแรงเทขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นักลงทุนให้ความสนใจในหุ้น Value Stocks ตลาดถูกกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,584 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงในช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,547 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับนี้ได้ ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลง
จากการทำ Fibonacci Projection ชี้ว่าดัชนีตลาดมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,584 จุด, 1,650 จุด และ 1,757 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ เมื่อนำจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,388 จุด จุดจบของคลื่น (i) ที่ 1,561 จุด และจุดจบของคลื่น (ii) ที่ 1,476 จุด มาวิเคราะห์เป้าหมายของคลื่น (iii) ด้วยหลักการ Fibonacci Projection จะได้เป้าหมาย 61.8% = 1,584 จุด, 100.0% = 1,650 จุด และ 161.8% = 1,757 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขายในระยะสั้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,579 – 1,589 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,559 – 1,550 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยืนบวกได้ไปต่อ
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มตลาดรายตัว หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,566.76 จุด เพิ่มขึ้น 2.73 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดปิดเหนือ 1,573 จุด ต่างชาติเป็นกลุ่มนำขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพุธ (17/3) ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ แม้เศรษฐกิจจะมีสัญญาณถูกคุกคามด้วยภาวะเงินเฟ้อ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางการปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง เป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากการทำ Fibonacci Projection ชี้ว่าดัชนีตลาดมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,584 จุด, 1,650 จุด และ 1,757 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ เมื่อนำจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,388 จุด จุดจบของคลื่น (i) ที่ 1,561 จุด และจุดจบของคลื่น (ii) ที่ 1,476 จุด มาวิเคราะห์เป้าหมายของคลื่น (iii) ด้วยหลักการ Fibonacci Projection จะได้เป้าหมาย 61.8% = 1,584 จุด, 100.0% = 1,650 จุด และ 161.8% = 1,757 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,575 – 1,584 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,555 – 1,544 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอปัจจัยชี้นำ
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยเป็นไปอย่างซบเซา แรงซื้อขายที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,564.03 จุด ลดลง 1.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัว ต่างชาติเป็นกลุ่มนำขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันอังคาร (16/3) ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น นักลงทุนกังวลถึงภาวะเงินเฟ้อจะกดดันให้เฟดปรับขึ้นเร็วกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆในทิศทางลง ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางการปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง เป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากการทำ Fibonacci Projection ชี้ว่าดัชนีตลาดมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,584 จุด, 1,650 จุด และ 1,757 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ เมื่อนำจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,388 จุด จุดจบของคลื่น (i) ที่ 1,561 จุด และจุดจบของคลื่น (ii) ที่ 1,476 จุด มาวิเคราะห์เป้าหมายของคลื่น (iii) ด้วยหลักการ Fibonacci Projection จะได้เป้าหมาย 61.8% = 1,584 จุด, 100.0% = 1,650 จุด และ 161.8% = 1,757 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,575 – 1,584 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,553 – 1,543 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดหุ้นตัวนำตลาด
แรงขายที่ทยอยออกมากดดัชนีตลาดหุ้นไทยพักตัวลงปิดที่ 1,565.73 จุด ปรับลดลง 2.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบ ทำให้ดัชนีระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,545 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันจันทร์ (15/3) ดัชนีหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมุมมองที่เป็นบวก วัคซีนโควิดจะทำให้การเปิดธุรกิจฟื้นตัว โดยมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สรอ.เป็นปัจจัยหนุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆในทิศทางลง ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง และมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นเป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,525 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงทิศทางปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงพักตัวก่อนที่จะเป็นการปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องจากดัชนีเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากการทำ Fibonacci Projection ชี้ว่าดัชนีตลาดมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,584 จุด, 1,650 จุด และ 1,757 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ เมื่อนำจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,388 จุด จุดจบของคลื่น (i) ที่ 1,561 จุด และจุดจบของคลื่น (ii) ที่ 1,476 จุด มาวิเคราะห์เป้าหมายของคลื่น (iii) ด้วยหลักการ Fibonacci Projection จะได้เป้าหมาย 61.8% = 1,584 จุด, 100.0% = 1,650 จุด และ 161.8% = 1,757 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,575 – 1,584 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,554 – 1,545 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 70 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity