Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดาวโจนส์ดิ่ง 500 จุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,600 จุดเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,601.48 จุด ลดลง 7.97 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.97 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้นหนุนดัชนีตลาดให้มีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงต่อ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ สงครามการค้าและทิศทางดอกเบี้ยจะยังเป็นตัวแปรกดดันตลาดหุ้นนิวยอร์ก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวลงทำสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และจุดต่ำเก่าที่ 1,596 จุดเป็นแนวรับถัดไป โดยมีกึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 1,626 จุด ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไป
กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำกว่า 1,596 จุด ทำให้คลื่นปรับยังไม่จบคลื่น ii) และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,584 จุด จะเป็นสัญญาดัชนีตลาดยังแกว่งตัวลงเป็นคลื่น 4 เนื่องจากคลื่น (ii) จะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,584 จุด ทำให้คลื่น 4 มีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวที่ 1,570 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรรยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,607 – 1,614 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,590 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับตัวลงจากสงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ ส่งกระทบให้เศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว และการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับการลงทุนใน LTF จะกดดันให้กองทุนในประเทศนำหุ้นออกขายเพื่อสำรองเงินสดเตรียมการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของนักลงทุน จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "CANDLESTICK"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำอย่างต่อเนื่อง ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดลงปิดที่ 1,614.99 จุด ลดลง 19.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.25 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด สถาบันภายในประเทศกลับมาขายสุทธิกว่า 5 พันล้านบาท ขณะที่ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 117 ล้านบาท จับตาผลกระทบหลังยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุน LTF ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง นักลงทุนกำลังติดตามการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐ และผลการประชุมของเฟดในสัปดาห์หน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงแรงหลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,627 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขึ้นที่ 1,600 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,598 จุด
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีรูปแบบของการพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) จากคลื่น i) ลงเป็นคลื่น ii) แบบ a)-b)-c) โดยคลื่น ii),c) มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 จุด ทำให้รูปแบบการพักตัวของดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมแบบสมมาตร (Symmetrical Triangle)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,621 – 1,627 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,607 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เนื่องจากดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัล
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,633.62 จุด ลดลง 16.37 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.29 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางเทคนิคัลและแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทางมีทั้งบวกและลบ นักลงทุนให้ความสนใจต่อดัชนี CPI ที่จะประกาศในคืนนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐถูกคุกคามด้วยตัวเลขเงินเฟ้อ ความเสี่ยงที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงเปิดต่ำ แท่งเทียนเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดปิดลงต่ำกว่าช่องว่าง (Gap) ขาขึ้นที่ 1,646 – 1,662 จุด ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับของช่องหน้าต่างล่างที่ 1,646 จุด เป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดจะเคลื่อนตัวออกด้านข้าง โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,600 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
สัญญาณ DMI ชี้ว่าดัชนีตลาดระยะสั้นจะพักตัวลงและแกว่งตัวออกด้านข้าง (Sideways)
จากกราฟรายวัน การที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,646 จุด ทำให้ดัชนีตลาดมีการแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ a)-b)-c) โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่น ii),c) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,646 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,625 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เนื่องจากดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวออกด้านข้างเป็นคลื่นปรับและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด จึงควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และถือเงินสดอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical AnalysisBrent Crude Oil
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ราคาน้ำมันดิบ Brent ดิ่งลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ การเกิดแท่งเทียน Long Bearish Candlestick สะท้อนถึงข่าวร้ายที่ครอบงำตลาด สัญญา DMI แสดงถึงภาวะตลาดหมี (Bear Market) ขณะที่สัญญาณ RSI แสดงถึงภาวะขายมากเกินและเกิดสัญญาณ Bullish Divergence แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรจะทำให้ราคาปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยราคายังแกว่งตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมัน ขณะที่อุปทานที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำมันดิบล้นตลาด
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ Brent ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 61.70 – 64.45 ดอลลาร์/บาร์เรล และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 57.06 – 56.36 ดอลลาร์/บาร์เรล
สรุป
แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น จะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทางทางเทคนิคัล ราคามีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบ 56.36 – 64.45 เหรียญ
Por : Technical AnalysisGold (XAUUSD)
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟราย 4 ชั่วโมง ราคา Gold แกว่งตัวแคบๆหลังราคาปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง ราคาทำจุดสูงที่ 1,230 เหรียญร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI แท่งเทียน Bearish Candlestick เป็นสัญญาณชี้ถึงการปรับตัวลงระยะสั้น
นโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดจะเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งค่า ซึ่งจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ
ทิศทางราคา Gold ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,228 – 1,230 ดอลลาร์/ออนซ์ และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,216 – 1,208 ดอลลาร์/ออนซ์
สรุป
Enter Short เมื่อราคาปรับตัวขึ้นระหว่างการซื้อขาย เป้าหมายทำกำไร (T/P) อยู่ที่ 1,216 – 1,208 เหรียญ ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปิดเหนือ 1,226 เหรียญ
Por : Technical AnalysisGBPJPY
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟราย 2 ชั่วโมง ราคา GBPJPY ดีดตัวขึ้น หลังราคาแกว่งตัวออกด้านในลักษณะสะสมกำลัง และเกิดสัญญาณปลายตลาดขาลงแบบ Bullish Divergence และ RSI ทำให้ราคาระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่กึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 146.199
ทิศทางราคา GBPJPY ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 145.956 – 146.508 และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 144.894 – 144.268
สรุป
Enter Long เมื่อราคาอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 145.117 เป้าหมายทำกำไร (T/P) อยู่ที่ 145.956 – 146.199 ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปิดต่ำกว่า 144.894
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หลังดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงทดสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,617.33 จุด เพิ่มขึ้น 5.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลก่อนที่จะปรับฐานตามมา นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่กลุ่มที่เหลือเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกเล็กน้อย ตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและพลังงาน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านกึ่งกลางตัวของแท่งเทียน Long Bearish Candlestick ที่ 1,621 จุด แท่งเทียนลำตัวขาวปิดเหนือราคาปิดของแท่งดำแต่ไม่ถึง 50% เกิดเป็น Thrusting pattern (สัญญาณกลับตัวอ่อนๆ) ในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง การปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดเป็นไปตามหลักการของ Granville
เส้น MMA2 เรียงตัวแบบตลาดขาลงและความลาดชันที่เพิ่มขึ้น บวกกับสัญญาณ DMI ล้วนบ่งชี้ถึงตลาดขาลง ระยะสั้นดัชนีตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเป็น 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบแรก ผ่านไปแล้ว คงเหลือ 2 รูปแบบหลัง คือ
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล (Technical Rebound) แต่ดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,622 – 1,630 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,610 – 1,603 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสองรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ดาวโจนส์ดิ่ง 551 จุด
แรงเทขายที่กระจายออกมาเกือบทุกกลุ่ม ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายดิ่งลงปิดที่ 1,612.03 จุด ทรุดลง 24.45 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนรายบุคคลเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งลงตามแรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หุ้นกลุ่ม FAANG ทรุดตัวลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ราคาน้ำมันดิบรูดลงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดรูดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และมีจุดต่ำเก่าที่ 1,596 จุดเป็นแนวรับร่วม แท่งเทียนเป็น Long Bearish Candlestick กึ่งกลางลำตัวที่ 1,621 จุดจะเป็นแนวต้านเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลงด้วยความลาดชันที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับสัญญาณ DMI ที่ชี้ว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเป็น 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบแรก ผ่านไปแล้ว คงเหลือรูปแบบ
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าในเขตขายมากเกิน (Oversold) จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับการปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,617 – 1,623 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,606 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นสลับกับการปรับตัวลง โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด
แนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอดูทิศทางตลาดที่จะเกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในสองรูป จึงจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในระยะกลาง (1 – 3 เดือน)
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ผันผวนในทิศทางลง
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดต่ำที่ 1,638.84 จุด ลดลง 13.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด สถาบันภายในประเทศและต่างชาติเป็นฝ่ายขายสุทธิ (ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกในรอบ 5 วัน หลังสื่อรายงานการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐมีโอกาสบรรลุข้อตกลง ค่าเงินดอลลาร์สรอ.ทรงตัว ขณะที่ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ เกิดแท่งเทียนเป็น Bearish Candlestick และมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,632 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลงสอดคล้องกับสัญญาณ DMI ที่ชี้ถึงทิศทางตลาดขาลง
ดัชนีตลาดมีแนวรับทางจิตวิทยาเป็นแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,600 จุด และจุดต่ำเก่าที่ 1,596 จุดเป็นแนวรับร่วม
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,643 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,632 – 1,627 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,632 จุด
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical AnalysisBrent Crude Oil
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ราคาน้ำมันดิบ Brent ดิ่งลงแรงและหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มขาลง แท่งเทียน Long Bearish Candlestick ซึ่งกึ่งกลางลำตัวจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ราคามีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 62.54 เหรียญ ภาวะขายมากเกินจะจูงใจให้เกิดแรงซื้อเก็งกำไรระยะสั้น แต่ราคาน้ำมันยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มลดลง ขณะที่สหรัฐเร่งการผลิตน้ำมันเป็น 11.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขึ้นเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่แซงรัสเซีย 11.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่กลุ่มโอเปคมียอดผลิต 32.78 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณน้ำมันดิบที่ล้นตลาดทำให้กลุ่มโอเปคกำลังพิจารณาลดการผลิต
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ Brent ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 67.00 – 69.04 ดอลลาร์/บาร์เรล และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 63.46 – 62.54 ดอลลาร์/บาร์เรล
สรุป
สำหรับเทรดเดอร์ที่เปิดสถานะขายไว้ แนะนำให้ปิดสถานะขายเมื่อราคาปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 63.46 – 62.54 ดอลลาร์/บาร์เรล
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดหุ้นทรุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดตัวลงปิดที่ 1,654.85 จุด ลดลง 13.67 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 2.88 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,642 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐถ่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นเทคโนโลยี่ฉุดตลาดหุ้นวอลล์สตรีททรุดตัวลง ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามอุปสงค์น้ำมันที่ลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% และ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,653 จุด และ 1,642 จุด ตามลำดับ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่า แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville
สัญญาณทางเทคนิคัลที่เริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลง แต่มูลค่าการซื้อขายที่ลดลงมาก จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) โดยดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง 3 แบบ คือ
รูปแบบแรก คือ ดัชนีตลาดจบคลื่น (ii) ที่ 1,596 จุด ดัชนีตลาดจึงพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด เพื่อสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สอง คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,600 – 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่น (ii) ก่อนปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น (iii)
แบบที่สาม คือ ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงเป็นคลื่น 4 โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,555 จุด ก่อนที่จะซิกแซกเป็นคลื่น (i)-(ii)-(iii)-(iv)-(v) ตามลำดับ
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,642 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,665 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,648 – 1,642 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณทางเทคนิคัลที่เริ่มกลับมาเป็นลบแต่มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 2.8 หมื่นล้านบาท จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลงต่อ
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Por : Technical AnalysisDollar Index
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน Dollar Index เคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้นและดัชนีกำลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้น แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้เกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีอ่อนตัวลงแต่ดัชนียังคงเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทาง Dollar Index ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 97.87 – 98.13 และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 97.20 – 96.63
สรุป
Dollar Index เคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีอ่อนตัวลงสลับกับการปรับตัวขึ้น
Por : Technical AnalysisBrent Crude Oil
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาหลังราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงทดสอบแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาว จะทำให้ราคาปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่เกิดจากกึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 78.05 เหรียญ แต่ราคาหลุดต่ำกว่า 74.24 เหรียญราคาน้ำมันดิบจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ Brent ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 78.00 – 79.96 ดอลลาร์/บาร์เรล และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 75.14 – 74.24 ดอลลาร์/บาร์เรล
สรุป
สำหรับเทรดเดอร์ที่ถือสถานะซื้อ ควรปิดสถานะซื้อเพื่อทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 78.00 - 78.73 เหรียญ ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปิดต่ำกว่า 74.50 เหรียญ
Enter Short เมื่อราคาปรับตัวลงต่ำกว่า 74.24 เหรียญ เป้าหมายทำกำไร (T/P) อยู่ที่ 72.49 เหรียญ ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปิดเหนือ 78.00 เหรียญ
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ส่งออกสะดุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ดัชนีตลาดสร้างจุดสูงยกลงต่ำ (Lower High) ดัชนีตลาดแกว่งลงไปตามแนวโน้มขาลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci retracement ที่ 1,653 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,647 จุด ซึ่งเป็นแนวรับที่เกิดจาก 100.0% Fibonacci projection ปริมาณการซื้อขายลดลงและปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน
การเกิดแท่งเทียนเป็น Long Bearish Candlestick 4 แท่งต่อเนื่อง สะท้อนถึงข่าวร้ายที่มีเข้ามากระทบตลาด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,653 จุด และ 1,647 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) คลื่น (iv) และคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน กระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,664 – 1,670 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,653 – 1,647 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อ RSI เกิดสัญญาณ Bullish divergence โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,653 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แผ่ว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำแท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 38.2% Fibonacci retracement ที่ 1,696 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,675 จุด ซึ่งเป็นแนวรับของ 50.0% Fibonacci retracement และจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,666 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,675 – 1,653 จุด ก่อนจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) คลื่น (iv) และคลื่น (v) หรือคลื่น 3),5,(v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,890 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นยังอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,702 – 1,708 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,688 – 1,680 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเมื่อ RSI เกิดสัญญาณ Bullish divergence โดยดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะพักตัวอยู่ในกรอบ 1,675 – 1,653 จุด
Por : Technical AnalysisM
วิเคราะห์
จากกราฟรายวัน ราคาหุ้น M แกว่งตัวทะลุผ่านแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงระยะยาว แท่งเทียนเป็น Bullish Candlestick มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละการซื้อขายเพิ่มขึ้น ระยะสั้นราคามีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 77.25 บาท และมีแนวต้าน 38.2 % Fibonacci retracement ที่ 78.50 บาทเป็นแนวต้านถัดไป
สรุป
ซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น เป้าหมายทำกำไร 77.25 – 78.50 บาท
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เป้าหมาย 1,755 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแรงซื้อที่โถมเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดทะลุผ่านแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,730 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ตอกย้ำว่าดัชนีตลาดได้ผ่านพ้นการพักตัวอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม (Rectangular) แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bullish Candlestick และกำลังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาเป้าหมาย 61.8% Fibonacci projection ที่ 1,755 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,775 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ 1,730 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น เป็นสัญญาณยืนยันว่าดัชนีตลาดได้จบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น iv) ที่พักตัวแบบ a)-b)-c) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (i),v)
จากหลักการของคลื่นเอลเลียต คลื่น v) จะยาวเท่ากับ 0.618 เท่าของความยาวของคลื่น iii) ที่วัดจากจุดเริ่มต้นของคลื่น i) คลื่น v) หรือคลื่น (i),v) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,755 จุด ขณะที่ช่องแนวโน้มขาขึ้นแสดงจุดจบของคลื่น v) อยู่ที่ 1,775 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,755 – 1,760 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,737 – 1,730 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ และถือเงินสด 20 เปอร์เซ็นต์ ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,755 – 1,775 จุด ทยอยขายทำกำไรเมื่อเกิดสัญญาณ Bearish divergence ของ RSI (ควรรอให้เส้น RSI ตัดเส้น Signal line ลง)
Por : Technical AnalysisEURUSD
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ราคา EURUSD พักตัวเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1.15981 และเกิดสัญญาณ Bullish divergence ราคาดีดตัวเข้าหาแนวต้านกึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 1.16790 โดยมีเส้นแนวโน้มขาลงระยะกลางเป็นแนวต้านถัดไป
ทิศทางราคา EURUSD ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1.17106 – 1.17441 และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1.16270 – 1.15981
สรุป
เปิดสถานะซื้อ (Open Long) ช่วงราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขายรายกลุ่ม เป้าหมายทำกำไรอยู่ที่ 1.17106 – 1.17441
Por : Technical AnalysisEURUSD
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ราคา EURUSD ผันผวนในกรอบแคบๆออกด้านข้าง และปิดเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1.15102 ระยะสั้นราคามีทิศทางแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านกึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 1.16790 แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงต่อเนื่องจาก ราคายังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง
ทิศทางราคา EURUSD ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1.16335 – 1.16790 และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1.15665 – 1.15394
สรุป
ราคาระยะสั้นจะมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อลงต่อ
เปิดสถานะขาย (Open Short) เมื่อราคาปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1.16790 – 1.17266 เป้าหมายทำกำไรอยู่ที่ 1.15102
Por : Technical AnalysisUSDTHB
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ราคา USDTHB แรลลี่ขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 32.894 แท่งเทียนเกิดเป็นลำตัวขาวมีเงาส่วนบน (Upper shadow) ตามหลังโดจิ สะท้อนถึงอิทธิพลของแนวต้านระยะสั้น กึ่งกลางลำตัวของ Long Bullish Candlestick จะทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อราคาปรับตัวลง
ทิศทางราคา USDTHB ระยะสั้นมีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 32.764 – 32.821 และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 32.672 – 32.606
สรุป
จากคำแนะ เปิดสถานะขาย (Open Short) ที่ 32.685 เป้าหมายทำกำไร (T/P) อยู่ที่ 32.590 ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปิดเหนือ 32.716
เปิดสถานะซื้อ (Open Long) เมื่อราคาปรับลดลงมาที่ 32.606 เป้าหมายทำกำไร (T/P) อยู่ที่ 32.764 ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปิดต่ำกว่า 32.600
Por : Technical AnalysisEURUSD
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ราคา EURUSD เคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ราคาแกว่งตัวแคบๆออกด้านข้างเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1.15102 แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern จะทำให้ราคาระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่เกิดจากกึ่งกลางลำตัวของ Long Bearish Candlestick ที่ 1.15910
ทิศทางราคา EURUSD ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1.16445 – 1.16901 และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1.15427 – 1.15102
สรุป
แนวโน้มสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯอาจสร้างแรงกดดันให้นักลงทุนหันไปถือครองสกุลเงินหลักแทนการถือครองเงินดอลลาร์สรอ.ในระยะสั้น
เปิดสถานะซื้อ (Open Long) เป้าหมายทำกำไร (T/P) อยู่ที่ 1.16336 ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปรับตัวลงต่ำกว่า 1.15505
ปิดสถานะขาย เนื่องจากกำหนดเป้าหมายทำกำไรอยู่ที่ 1.16046 ราคาปรับตัวลงทำราคาต่ำที่ 1.15308 และ เปิดสถานะขาย (Open Short) เมื่อราคาปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1.16445
Por : Technical AnalysisBrent Crude Oil
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ข่าวซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะเร่งการผลิตน้ำมันดิบแข่งกับสหรัฐฯ บวกกับแข็งค่าของเงินดอลลาร์สรอ. ส่งให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ดิ่งลง 3 เปอร์เซ็นต์ ราคามีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงระยะกลาง และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci retracement อยู่ที่ 71.15 ดอลลาร์ กึ่งกลางของ Long Bearish Candlestick จะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ Brent ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 73.84 – 74.50 ดอลลาร์/บาร์เรล และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 72.00 – 71.15 ดอลลาร์/บาร์เรล
สรุป
เปิดสถานะซื้อ (Open Long) เป้าหมายทำกำไรอยู่ที่ 74.00 ดอลลาร์ ตัดขาดทุน (S/L) เมื่อราคาปรับตัวลงต่ำกว่า 72.77 ดอลลาร์
เปิดสถานะขาย (Open Short) เมื่อราคาปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 74.00 – 74.46 ดอลลาร์ เป้าหมายทำกำไรอยู่ที่ 72.41 ดอลลาร์