Pareto Principle กฎ 80/20 ทำน้อยแต่ได้มากPareto Principle
กฎ 80/20 ทำน้อยแต่ได้มาก
👏👏👏 สวัสดีครับ กลับมาพบเจอกันในบทความรอบโลกกันอีกเช่นเคย วันนี้แอดพาทุกท่านไปรู้จักกับ กฎ 80/20 ที่ช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญและการบริหารเงิน บริหารเวลาได้แบบคุ้มค่าที่สุด มันเป็นอย่างไร แล้วใช้อย่างไร ตามมาอ่านบทความด้านล่างได้เลยครับ
กฎ 80:20 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กฎพาเรโต” (Pareto principle) หมายถึงผลลัพธ์ในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น 80 % โดยมาจากตัวแปร 20 %
หลักการพาเรโตเป็นเครื่องมือทางสถิติที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากการสังเกตการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี นามว่า Vilfredo Pareto เมื่อปี 1906 ว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในอิตาลีมาจากประชากรจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปรากฏว่าอัตราส่วน 80:20 นี้เป็นสามารถใช้ได้จริงและเกิดขึ้นจริงในวงการอื่นๆด้วยเช่นกัน และยังสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
แต่หลักการพาเรโตนั้นมักถูกเข้าใจผิดว่า หมายถึง การทำงานน้อยๆ ผลิตน้อยๆ และใช้เวลาน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มาก
จริงๆแล้วหลักการพาเรโต หมายถึง ทำงานอย่างฉลาดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้เหลือเวลาไว้ไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์
สิ่งที่สำคัญที่สุดของหลักการ 80/20 ก็คือ ความสามารถในการวางเป้าหมายและทำให้ได้ แต่ขั้นตอนในการทำอาจไม่ต้องทำถึง 100 % หรือ 80 % แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นได้มากถึง 80-100 % ซึ่งวิธีการที่ว่าก็คือ 20% ของการทำงานนั่นเอง
“การวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับหลักการ 80/20 “
👉👉👉 หรือจะให้พูดง่ายๆก็คือการลงแรงด้วยทุน เพียงน้อยนิด 20 % แต่ได้ผลลัพธ์หรือ กำไร มากถึง 80 % และที่สำคัญ ไอ่เจ้า กฎ 80 /20 ที่ว่านี้ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกๆสถานการณ์จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “กฎครอบจักรวาล” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการงาน ความสัมพันธ์และการติดต่อกับผู้คน หรือแม้แต่ในเรื่องการดูแลตัวเอง เช่น การกิน การนอน การออกกำลังกาย เป็นต้น
6 วิธีในการนำหลักการพาเรโต ไปใช้
1. ระบุงานที่สำคัญจริงๆที่ควรทำก่อนเป็นอันดับแรก เพราะในชีวิตจริงงานด่วนงานรีบ แต่ไม่สำคัญก็มีเยอะและแทรกงานสำคัญไปหมดเลย ทำให้เราสับสนได้ง่ายๆ
2. หาให้เจอว่ามีความสัมพันธ์ทางธุรกิจใด ที่ส่งผลให้องค์กรของคุณไปข้างหน้าได้ไกลกว่าเดิม และงานไหนที่ให้ผลตอบแทนและผลลัพธ์ที่คุ่มค่ามากที่สุด เพราะเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้การดำเนินงานง่ายและสะดวกขึ้นและเจริญขึ้นได้ง่าย
3. วางแผนการทำงาน อะไรที่ทำให้งานไม่เดิน กำจัดสิ่งรบกวน 20% เพื่อโฟกัสกับงาน 80 % หาวิธีหรือกระบวนการทำงานที่สามารถลดบางขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป
4. ไม่ต้องมีเป้าหมายเยอะ มีแค่เป้าหมายเดียวแล้วบรรลุเป้าหมายนั้นให้ได้ เพราะการมีเป้าหมายเยอะทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือเป้าหมายที่สำคัญจริงๆ เพราะทุกอย่างดูเหมือนจะสำคัญไปหมด ไม่รู้จะโฟกัสอะไรก่อน
5. เวลาในการทำงานก็สำคัญ หาให้เจอว่างานอะไรที่ใช้เวลาไปกับมันเยอะ แต่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เช่นการตอบอีเมลล์ลูกค้าเยอะๆหลายฉบับ แทนที่จะใช้เวลาเพียง 20 นาทีในการเจรจาหารือกับลูกค้าหรือที่ปรึกษา เพื่อจบในครั้งเดียว
6. งานที่ไม่ถนัด อย่าลังเลที่จะมองหาความช่วยเหลือ เป็นไปไม่ได้ที่คนเพียงคนเดียวจะถนัดทุกอย่าง และเป็นไปไม่ได้เช่นกันที่งานหนึ่งงานจะสำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว โดยเฉพาะหากเป็นงานเร่งด่วนจะยิ่งส่งผลให้งานนั้นเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้นด้วย ฉะนั้นอย่าลังเลที่จะมองหาความช่วยเหลือจากคนที่ถนัดหรือมีเวลามากกว่าเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
👽👽👽เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับกฎ 80/20 ของพาเรโต ที่สามารถนำไปใช้และปฎิบัติได้จริง เพราะมันเป็นค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงๆในหลายๆองค์กรและชีวิตประจำวัน ซึ่งเราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเทรดได้ด้วยเช่นกันนะฮะ เราเอาไปใช้กันดูนะฮะ จัดระเบียบงานและความสำคัญให้ดี รับรอง่าชีวีสุขสันต์แน่นอนครับผม
สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม
การบริหารจัดการความเสี่ยง
[CASE STUDY หาหุ้นปันผล] กอง REIT กับผลตอบแทนไม่ธรรมดาสวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับสินทรัพย์การเงินชนิดหนึ่งนะครับ ที่สร้างผลตอบแทนได้จากทั้งเงินปันผลที่จ่ายอย่างสม่ำเสมอ และส่วนต่างราคาซึ่งราคาเหมือนกับหุ้น แต่ไม่ผันผวนมากเท่าหุ้นกันครับ
สินทรัพย์นี้คือกอง REIT นั่นเองครับ ซึ่งกอง REIT จะมี Business Model เป็นการรับค่าเช่าจากผู้เช่า และเอาค่าเช่านั้นมาจ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเราๆ นั่นเอง
โดยทั่วไปแล้วกอง REIT ส่วนมากจะเป็นกองของ "ห้างสรรพสินค้า" . "คลังสินค้า" , "โรงแรม" , "อาคารสำนักงาน"
ทั้งนี้เองเจ้าของจะเป็นคนที่ไปเก็บค่าเช่าจากคนที่มาใช้บริการครับ เช่นหากกอง REIT เป็นห้างสรรพสินค้า รายได้ก็ได้มาจากค่าเช่ารายเดือนของห้างร้านในนั้น
กอง REIT เองมี 2 แบบ คือแบบซื้อสิทธิ์ขายอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นของตัวเอง(Freehold) กับซื้อกรรมสิทธิ์ระยะยาว (Leasehold)
ในเคสนี้ผมจะพูดถึงเรื่องกอง Reit ที่สามารถเป็นหุ้นเด้งได้ยาวๆ และจ่ายเงินปันผลให้เราได้ตลอด นอกจากนี้ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงไปที่สินทรัพย์อื่นๆ ได้ด้วย
คุณสมบัติหลักๆ คือ
- กองนั้นต้องมีความสามารถในการดึงดูดผู้เช่าให้มาใช้บริการเขาได้ตลอด
- สามารถปรับค่าเช่าตามเงินเฟ้อได้
- ความสามารถที่โดดเด่นคือการ "ฆ่าเงินเฟ้อ" ได้ครับ จากการปรับค่าเช่า และมูลค่าที่ดินที่ปรับสูงขึ้นได้เสมอ
- หากกองเป็นแบบ Leasehold ความขยันของเจ้าของเป็นสิ่งสำคัญ หากกองมีการขาย Asset เข้ากอง Reit ตลอด การที่กองนั้นราคาจะขึ้นไปตามความคาดหวังของอนาคตก็มี สามารถทำกำไรแบบส่วนต่างราคาหรือ Capital Gain ได้ไม่ยากนัก
ข้อเสียที่ร้ายแรงของกอง REIT ก็มีครับ นั่นคือ
- สภาพคล่องของกองอาจจะมีน้อยมากจนอาจเข้าออกได้ยาก
- การที่ราคาไม่ไปไหนอาจมีความเสี่ยง หากราคาเปิด Gap ลงมาจนทำให้เราเสียเงินทางบัญชี
- เงินปันผลอาจไม่การันตีจ่ายได้ตลอดได้ จากการที่มีปัญหาเฉพาะที่ครับ เช่นกองนั้นอาจเกิดไฟไหม้ทำให้ไม่สามารถเก็บค่าเช่าได้ หรือแม้แต่ COVID ที่อาจทำให้ผู้เช่าไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้จากการต้อง Lock Down
ผมหวังว่าไอเดียนี้จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนได้ และได้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์นี้ที่ดีนะครัย
ทำไมเราต้องตั้ง Stop Loss ทุกครั้งStop Loss คืออะไร
Stop Loss คือ คำสั่งขายสินทรัพย์ทางการเงินเมื่อถึงราคาหรือเงื่อนไขที่กำหนด วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขาดทุนอย่างหนักจากการเทรด โดยเฉพาะการเทรดบนตราสารอนุพันธ์อย่าง CFD (Contract for Differences) ที่เทรดเดอร์สามารถใช้ Leverage ที่สูง ๆ ได้
การตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss จะเปรียบเสมือนคุณออกคำสั่งล่วงหน้าไว้กับโบรกเกอร์ที่คุณใช้บบริการ หลังจากนั้นโบรกเกอร์จะทำตามคำสั่ง Stop Loss ที่คุณวางไว้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดคอมพิวเตอร์หรือเชื่อมต่อบัญชีเทรดของคุณอยู่ก็ตาม ซึ่งถ้าหากคุณไม่มีเวลาติดตามสถานะการซื้อขายของคุณตลอด การตั้งค่า Stop Loss เอาไว้จะปกป้องเงินทุนของคุณจากการกระชากอย่างรุนแรงของราคา โดยเฉพาะในตลาด Forex ได้
เหตุผลที่ต้องตั้ง Stop Loss .
- เพื่อหยุดการขาดทุนอย่างหนัก เพราะไม่มีใครรู้อนาคตของตลาด
- การเทรด CFD ไม่สามารถคิดแบบ "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" ได้ เพราะหากคุณใช้ Leverage ที่เกินขนาด การที่คุณไม่ขายจะทำให้มีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดของพอร์ตได้
- การตั้งค่า Stop Loss ทำให้เทรดเดอร์ต้องวางแผนการเทรดมาก่อน ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากในการเทรดระยะยาว เทรดเดอร์ต้องรู้ตั้งแต่ก่อนเข้าเทรดว่า ถ้าโดน Stop Loss จะเสียเงินเท่าไหร่ และต้องยอมรับการเสียเงินให้ได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าเทรด
- Stop Loss จะทำให้คุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น การโดน Stop Loss คือสัญญาณให้คุณพักหรือหยุดเทรด
- Stop Loss ทำให้คุณโฟกัสแต่ละการเทรด ซึ่งทำให้คุณพัฒนาความแม่นยำในการเข้าเทรดได้ เช่น สมมติคุณเทรดด้วยกลยุทธิ์การเทรด Forex แบบ Breakout แล้วคุณโดน Stop Loss บ่อยมาก นั่นอาจหมายความว่า คุณตั้ง Stop Loss แคบเกินไป หรือคุณอาจจะเข้าเทรดในจุดที่ไม่เหมาะสม (ราคาไปไกลแล้ว) ในจุดนี้ Stop Loss จะเป็นตัวช่วยเตือนสติและระลึกถึงจุดที่คุณเข้าเทรด
หวังว่าคุณจะรู้จักตนเองในตลาด ไม่มีใครรู้อนาคตว่าตลาดจะเคลื่อนที่ไปทิศทางไหน เราไม่สามารถควบคุมตลาดได้ เเต่คุณสามาถรควบคุมความเสี่ยงได้
[Deep Value Scanner] หาหุ้นโคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลายและดักVI แสกนหาหุ้น Deep Value โคตรปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้มละลาย
สำหรับหลักการนี้ต้องขอขอบคุณ คุณเบนจามิน เกรแฮม ผู้เขียนตำรา Security Analysis และหนังสือ The Intelligent Investor และเป็นผู้ริเริ่มการลงทุนแบบ Value Investing แบบ Cigarette Butt ด้วยนะครับ
เทคนิคของ Deep Value กับเทคนิคหุ้นการลงทุนแบบ Cigarette Butt นี้ไม่ต่างกันมากเลย นั่นคือการซื้อหุ้นในมูลค่าที่น้อยกว่าทรัพย์สินส่วนของทุนบริษัท
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเลข 2 ตัวในการแสกนก่อนนะครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจหลักการแสกนนี้ นั่นคือ
1 . Net Debt ซึ่งมีสูตรคือ Cash – (Short Term Debt + Long Term Debt)
2. Enterprise Value มีสูตรคือ (Market Cap + Debt )- Cash
โดยทั้งสองตัวเลขนี้ หากมีค่าติดลบก็หมายความว่าผ่านเกณฑ์แล้วครับ หลักการคือเราจะซื้อบริษัท ณ “ราคา” ที่น้อยกว่าเงินสดสุทธิหักลบหนี้สินของบริษัทนั่นเองครับ
สำหรับข้อดีข้อเสียของหลักการนี้มีดังนี้ครับ
ข้อดี
- เราสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
- สามารถ Unlock Value ได้ ผ่านการเข้าไปถือหุ้น แล้วใช้สิทธิโหวตกดดันให้ผู้บริหารขายทอดกิจการ เพื่อนำเงินสดมาจ่ายสู่ผู้ถือหุ้นได้
- หากมูลค่าทางบัญชีสะท้อนความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับการที่เราซื้อหุ้นโดยมีส่วนลด มีความสมเหตุสมผลในการลงทุนในเชิงทฤษฎี
(มีหลักยึดในการลงทุนชัดเจน)
- สิ่งที่เราต้องทำ มีเพียงอย่างเดียวคือการรอให้มูลค่าปลดล็อค สายกราฟคือหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ
เช่นมีการสะสมพอสมควรแล้ว รวมถึงทำท่า Breakout อาจพิจารณาวางกลยุทธ์ได้
ข้อเสียและจุดอ่อน
- หากบัญชีมีการตกแต่งขึ้น อาจเป็นอุปสรรคได้ในการรับรู้มูลค่าที่แท้จริง
- ราคามักไม่ค่อยมีการขึ้นลงมาก หากไม่มีปัจจัยมาขับมูลค่า
เช่น การ Take Over , การขายสินทรัพย์ , การจ่ายเงินปันผลออกมา (ในกรณีที่บริษัทมีแต่เงินสดพร้อมจ่าย)
- ราคาหุ้นถูก ณ ตอนนี้ ไม่การันตีว่าจะราคาถูกตลอดไป
เช่นกรณีผู้บริหารใช้กลฉ้อฉล อย่างการนำเงินสดไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ ซึ่งบริษัทอื่นๆ ที่ว่านี้อาจเป็น Shell Company ที่ผู้บริหารคนนั้นถือหุ้น
แล้วตั้งใจทำให้เกิดผลขาดทุน จนต้อง Whiteout ธุรกิจออกไปเกิดความสูญเสียทางบัญชีบริษัทเป็นต้น