[แกะหุ้นเด้ง pt.2] เล่า BizModel+งบ กับ Evolution หุ้น 100 เด้ง Evolution AB ตำนานหุ้น 100 เด้ง และเป็น หุ้น 10 เด้งใน 5 ปี
.
บริษัท Evolution AB เป็นบริษัทสัญชาติสวีเดนที่ประกอบธุรกิจเว็บพนันออนไลน์ที่มีอัตราการเติบโตในระดับที่น่าประทับใจ ผู้เพียบพร้อมทั้งเรื่องการเติบโตของรายได้ ผลกำไร และอัตราส่วนทางการเงิน ที่ไม่ว่าใครมาเห็นต้องอยากได้หุ้นตัวนี้มาประดับพอร์ตการลงทุนอย่างแน่แท้
.
โดยบริษัทเองนอกจากทำอัตรากำไรในระดับที่น่าพึงพอใจแล้ว บริษัทเองก็มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) และกระเงินสดอิสระ (FCF) เป็นบวกมาตลอดระยะเวลาหลายปี และมีเทรนด์ที่เป็นขาขึ้นตลอด จนกลายเป็นหุ้น 10 เด้งในระยะเวลา 5 ปี (และเป็นหุ้น 20 เด้ง เมื่อตอนที่ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ ณ จุดสูงที่สุดตอนช่วงปี 2021)
.
และเราเองก็สามารถเป็นเจ้าของหุ้นนี้ได้ ผ่านการประยุกต์ใช้หลักการของคุณปีเตอร์ ลินซ์ ผ่านเพลย์บุคอย่างเล่ม One Up on Wall Street ด้วยการซื้อหุ้นที่มีค่า PEG ต่ำกว่า 1 ในการลงทุนได้ครับ
.
.
.
ทั้งหลายนี้แสดงให้เราเห็นอะไรบ้าง ก่อนอื่นผมขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับอัตราส่วน PEG ที่จะเป็นผู้ช่วยในการเลือกซื้อหุ้นนี้กันก่อนครับ
.
หุ้นมี PEG ต่ำกว่า 1 เท่า เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่แสดงให้เราเห็นว่า “หุ้นตัวนี้มีโอกาสขึ้น” จากการ “ปรับค่า PE ใหม่ของนายตลาดสู่ระดับที่ควรจะเป็น”
.
สมการของ PEG คือ PE / EPS Growth และสมการของ PE คือ Price / EPS
.
EPS ขึ้น หากราคาเท่าเดิม PE จะต่ำลงตามสมการ , เมื่อนายตลาดเห็น PE ที่ถูกลง นายตลาดก็อาจปรับ PE กลับไปสู่จุดเดิมได้
.
เช่น เมื่อก่อนหุ้นตัวหนึ่งถูกเทรดที่ ราคา 15 บาท ที่ PE 15 เท่า และมีกำไรต่อหุ้นที่ 1 บาท (สมการ Price = PE * EPS) ต่อมาหุ้นนี้มีกำไรเติบโต 30% หรือกำไรต่อหุ้นได้เปลี่ยนเป็น 1.3 บาทต่อหุ้น (EPS ใหม่ = EPS เดิม * อัตราการเติบโต , EPS ใหม่ = 1* = 1.3 บาทต่อหุ้น )
.
ทำให้ค่า PEG ของบริษัทเทรดอยู่ที่ 15/30 = 0.5 เท่า หากหุ้นนี้เทรดอยู่ที่ราคา 15 บาทเท่าเดิม ตอนนี้ PE ของบริษัทก็จะอยู่ที่ 11.53 เท่า
.
.
.
ดังนั้นแล้ว การที่บริษัทจะกลับไปเทรดเท่าเดิมที่ PE 15 เท่าเดิมได้นั้น ราคาหุ้นจะต้องไปอยู่ที่ 19.5 บาท คิดเป็น Upside ในสัดส่วนที่เทียบเท่ากับการเติบโตของกำไร 30%
.
แต่ทั้งนี้สิ่งที่เราต้องพิจารณา คือกำไรที่ได้มานี้ “เป็นกำไรจากการดำเนินงานที่เติบโตตามธรรมชาติบริษัท” หรือไม่ เราต้องพิจารณาผ่านการอ่านรายงานผลประกอบการรายไตรมาสด้วย
.
เพราะหากบริษัทได้กำไรมาจากกิจกรรมพิเศษ (เช่นการขายที่ดินออก การได้เงินประกัน) ความสามารถในการทำซ้ำอีกครั้งก็นับว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลย เช่น ถ้าบริษัทขายที่ดินแปลงนั้นไปแล้ว เราก็คงไม่สามารถเสกที่ดินแปลงเดิมมาขายใหม่ทุกๆ ปีได้ใช่ไหมครับ
.
ต่อมาเมื่อการทำซ้ำไม่มีแล้ว เมื่อปีหน้ามาถึงกำไรส่วนที่ได้จากกิจกรรมก่อนหน้าจะหายไป ตรงนี้จะทำให้นายตลาด “ตีมูลค่าบริษัทให้ต่ำลง” (จากการที่ EPS ลดลง) ในที่สุด
.
.
.
กลับมาที่บริษัท Evolution AB ราคาหุ้นของบริษัทเคยเทรดอยู่ในระดับที่ PEG ต่ำ 1 อยู่หลายช่วงเวลาเหมือนกันครับ โดยช่วงที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคือตอนกลางปี 2017 จนถึงท้ายปี 2018 ต้นปี 2019 หากเราได้ซื้อหุ้นตัวนี้ในช่วงราคา 140 เหรียญ (Swedish Krona) ตอนเดือนกันยายน 2018 ซึ่งเป็นจุดซื้อที่จั่วยอดดอย ณ PEG Ratio 0.9x และทนถือเพื่อรอกำไรและราคาหุ้นบริษัทเบ่งบานตอนเดือนเมษายน 2021 ที่ราคา 1,6xx เหรียญ (Swedish Krona) คุณจะได้ผลตอบแทนกว่า 1,1xx% ทีเดียว
.
ในด้านธุรกิจ Evolution เองมีผลการดำเนินงานที่เป็นบวกและเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ครับ ผ่านการเปิดแพลตฟอร์มไปในประเทศต่างๆ รวมถึงมียอดผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ผสานกับลักษณะบริษัทเป็น Asset Light Model ซึ่งมีต้นทุนการดำเนินงานที่คงที่ ใช้สินทรัพย์ไม่หนักมากทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ มีรายได้เข้ามาไม่จำกัดแต่ต้นทุนคงที่ ทำให้รายได้ของบริษัทลงมาสู่บรรทัดล่างที่เติบโตขึ้นทุกปี ด้วยปัจจัยนี้เองจึงช่วยผลักดันให้มูลค่าของบริษัทสามารถไปได้ไกลนั่นเองครับ
.
และอีกประเด็นที่เลี่ยงไม่ได้ คือ “เทรนด์ธุรกิจ” ผู้เป็นพระเอกที่ช่วยผลักดันให้บริษัทเติบโตเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาดอีกด้วยโดย Evolution เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์นี้ได้มา Disrupt ธุรกิจกาสิโนแบบมีพื้นที่ตั้ง โดยจากข้อมูลบริษัทได้ระบุว่าขนาดตลาดของกาสิโนแบบมีพื้นที่มีอัตราการหดตัวแบบทบต้น (CAGR) กว่า -8.2% ตลอดปี 2017-2021 ในขณะที่ตลาดเกมแบบออนไลน์ที่บริษัทกำลังประกอบการอยู่มีอัตราการเติบโตแบบทบต้น (CAGR) ที่ 31.1%
.
ปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ว่าท่ามกลางความแตกต่างของ 2 เทรนด์บริษัทที่ขาหนึ่งกำลังถอยลง และขาหนึ่งกำลังพุ่งทะยาน นายตลาดจึงมอบรางวัลและความคาดหวังแก่ Evolution ให้เป็นหุ้นเด้งผู้เติบโตด้วยศักดิ์และศรีเพียบพร้อมด้วยตัวเลขการเงินอันเป็นผลประจักษ์และราคาอย่างแท้จริง
.
.
.
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมได้บอกเล่าทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้แม่นยำ 100% ว่าสิ่งที่เขียนจะเป็นเพลย์บุคที่ต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคต สิ่งนี้อาจมีความแม่นยำเพียง 30-40% เพียงเท่านั้นครับเมื่อนำไปประยุกต์ผ่านการลงทุน
.
ทั้งนี้ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ พึงระลึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตามปกติ เพราะว่าไม่มีวิธีการลงทุนใดที่ให้ผลลัพธ์ 100% ได้ และการที่เราจะทำเงินจากตลาดหุ้นได้ไม่ได้อยู่ที่การเลือกวิธีการที่แม่นยำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบอันหลายอย่างซึ่งก่อรูปและร่าง ผ่านบริบทและเวลาของบริษัทนั้นๆ ครับ
.
สิ่งที่เราเล่าทั้งหมด เป็นเพียงการชี้ให้เห็นภาพเท่านั้นว่าคุณสามารถนำความรู้จากหนังสือหุ้นไปทำเงินได้ครับ
ผลประกอบการ
[แกะหุ้นเด้ง pt.2] เล่า BizModel+งบ กับ Rightmove หุ้น 40 เด้ง สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับหุ้นเด้งตัวหนึ่งที่สามารถหาได้ตามตำราแบบฉบับของคุณ Peter Lynch เจ้าของหนังสือ One Up on Wallstreet ที่เราสามารถ ค้นหา-ถือ-ทำกำไรจากหุ้นบริษัทได้ ผ่านการหาสินค้าและบริการรอบตัวที่มีแบรนด์เป็นที่นิยม เป็นที่รักต่อผู้คน
.
โดยในวันนี้ผมอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับบริษัทนายหน้าขายสำหรับขายบ้านบริษัทหนึ่ง ซึ่งมี Market Share ในอุตสาหกรรมนายหน้าขายบ้านสำหรับในเครือจักรภพอังกฤษมากกว่า 80% ตลอดกว่า 10 ปี ที่เข้าตลาดและยังคงเป็นเบอร์ 1 ในปัจจุบัน
.
บริษัทนั้นคือ “Rightmove” ครับ
.
.
.
สิ่งทำให้ที่บริษัทอยู่ในสนามแข่งขันนี้ได้ยาวนานนับตั้งแต่ช่วงดอทคอม ผ่านวิกฤติอสังหา จนถึงปัจจุบัน เกิดมาจากการที่การสร้างความแตกต่างจากการเป็น Agency อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่ต้องอาศัยทีมเซลล์จำนวนมาก
เปลี่ยนมาเป็น Marketplace ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันผ่านหน้าเว็ปเอง
.
ด้วยโมเดลธุรกิจนี้และชื่อเสียงของการเป็นผู้บุกเบิกเว็ปไซต์ครั้นหลังช่วงฟองสบู่ดอทคอม การเป็นผู้บุกเบิกนี้ได้สร้างระยะทางทิ้งห่างคู่แข่งหลายเท่าตัวด้วยขนาด Marketshare มากกว่า 80% ในตอนที่เข้าตลาด
และยังคงความสามารถระดับนี้มากกว่า 1 ทศวรรษ แม้จะครองตลาดได้ระดับนี้แต่ตลาดก็มีเนื้อเค้กที่ขยายขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการบ้านและราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
(คู่แข่งของบริษัทครอง Market Share ในระดับเลขเปอร์เซ็นหลักเดียว และบริษัทอื่นๆ ที่เป็นนายหน้าเหมือนกันเป็นบริษัทระดับเล็กมี Marketcap หลักสิบล้านปอนด์ ในขณะที่ Rightmove มีขนาดหลักหลายพันล้านปอนด์)
.
.
.
ด้วยความเป็นผู้นำและการไม่หยุดนิ่งนี้ทำให้ Rightmove มีกำไรที่เติบโตมาโดยตลอด และหากท่านใดเป็นนักลงทุนสาย Lynch แล้ว
จุดซื้อที่ตรงจุดตรงประเด็นตามตำราคือช่วงกลางปี 2012 จนถึงกลางปี 2013 โดยเป็นจุดที่บริษัทมี PEG Ratio อยู่ที่ 0.6x-0.8x เท่านั้น
(โดยตอนนั้น Rightmove ถูกซื้อขายอยู่ที่ราคา 170 ปอนด์ )
.
.
.
.
และการเติบโตของ Rightmove ในช่วงทศวรรษ 2010 อันเป็นช่วงไม่กี่ปีหลังบริษัทเข้าตลาดนี้ เป็นการสร้างการเติบโตอันห้าวหาญเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งหลายนี้ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทไม่มากลับสู่จุดเดิมอีกต่อไป
.
โดยพัฒนาการนี้เกิดจากการที่บริษัทอยู่รอดมานานรวมถึงใช้แต้มต่อที่ตัวเองมีขยายไปในกิจการที่เกี่ยวเนื่อง
ทั้งการขยับขยายจากกิจการนายหน้าขายบ้านมาสู่ธุรกิจ “ให้การโฆษณาบ้านใหม่” โดยเป็นการเจาะตลาดผู้ที่ต้องการบ้านใหม่แทนบ้านมือสองที่มีอยู่แต่เดิม
การจัดสรรข้อมูลหลังบ้านให้แสดงบ้านแบบเรียลไทม์
การมี House Index เป็นของตัวเอง จากการมีข้อมูลหลังบ้านที่ทรงพลัง
การอาศัยโอกาสจากการมาของ Smart Phone ทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น อันนำมาสู่การสร้าง Ecosystem ในวงการอสังหาริมทรัพย์ อย่างการเกิดนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่ารุ่นใหม่ (Home-Hunter) ที่เป็นอาชีพที่สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนให้แก่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
.
กล่าวไม่ผิดว่า Rightmove จะเป็นบริษัทที่สร้างการเติบโตแก่ตัวบริษัทได้อย่างยั่งยืนทั้งด้านกำไร และด้านผู้มีส่วนได้เสียผู้ช่วยเกื้อกูลให้สภาพแวดล้อมด้านอสังหาริมทรัพย์แห่งยุโรปดีมากยิ่งขึ้นไป
.
และเป็นหุ้นเด้งภายในหนึ่งปี และเป็นหุ่น 10 เด้งใน 10 ปี มอบผลตอบแทนแก่นักลงทุนผู้เสาะแสวงหาการลงทุนจากสิ่งรอบๆ ตัวอย่างแท้จริง
[แกะหุ้นเด้ง pt.1] หาจุดซื้อรันเทรน กับ Rightmove หุ้น 10 เด้ง
- วีดีโอนี้พูดถึง Technical จุดซื้อ/ขาย 75% และพูดเกริ่นถึงบริษัท 25%
- บริษัทนี้คือบริษัทแข็งแกร่ง Market Share สูง 80% อัตราการทำกำไรมากกว่า 30%
- แม้บริษัทจะดูตันๆ ในเรื่องของความสำเร็จ จากประสิทธิภาพแต่ก็เป็นหุ้นหลายเด้งได้ จากสภาพแวดล้อมที่เติบโตได้จนเป็นหุ้น 10 เด้ง
- กำไรที่ได้แต่ละรอบสั้นนั้นได้ราว 1x% และจะนิ่งๆ และก็จะขึ้นใหม่เป็นขั้นบรรได แต่หากถือยาวจะได้กำไรเป็นเด้งได้ไม่ยาก (แต่ก็ขึ้นกับบริบทเวลาด้วย)
- Breakout รับมือได้ดีที่สุดกับบริษัทจำพวกที่กำไรโตตลอดเวลา
-------------------------------
สำหรับเนื้อหาจะมี 2พาร์ทด้วยกัน โดยพาร์ทนี้จะเน้นในเรื่อง Technical อย่างเดียวนะครับ จากนั้นอีกพาร์ทจะเป็นเรื่องของการเงินและธุรกิจล้วนๆ
และโพสนี้ผมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือหลักการเลือกหุ้นลงทุน ตามมาด้วยจุดซื้อที่ได้ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหุ้นนี้/บริษัทนี้
Rightmove เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายบ้าน และมีเว็ปไซต์โปรโมทบ้านเหล่านั้นอยู่ โดยครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% ตามมาด้วยอัตราการทำกำไรที่น่าประทับใจอยู่ระดับมากกว่า 30%
นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีการเติบโตต่อรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยสูงกว่าอัตราการเติบโตของประเทศอย่างอังกฤษกว่าที่ 2.xx% กว่ามาก
ต่อมาคือเรื่องของอัตราการทำกำไรต่อส่วนของเจ้าของ(ROE) ที่ทำได้อยู่ในระดับที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องบอกว่าประทับใจ
ปัจจัยทั้งหลายนี้ ชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนสายไหนก็ย่อมอยากได้บริษัทนี้เป็นเจ้าของแน่นอนครับ ดังนั้นหากบริษัทไม่มีพื้นฐานเปลี่ยนไปมากนัก อย่างไรก็ต้องมีคนซื้อกลับมาไม่ทางมดก็ทางหนึ่งครับ
ในวีดีโอนี้หลักๆ แล้วหลักกรซื้อที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด คือการ "Breakout" ครับ คือราคาเบรคขึ้นไปเมื่อไรหลายครั้งราคาจะไม่ค่อยกลับมาที่เดิมนัก
และการซื้อตอนย่อราคามาที่เส้นค่าเฉลี่ย 20 สัปดาห์ก็สามารถทำได้ และคุณก็สามารถใช้ประกอบกับ Relative Strength ได้เช่นกัน หากบริษัทแข็งกว่าตลาดจุดนั้นก็อาจเป็นจุกซื้อได้ตลอดได้
นอกจากเรื่องของ Breakout แล้ว เราสามารถมาผสานการใช้กับทรง VCP หรือ Cup with Handle ได้เช่นกันครับ โดยช่วงที่เขาจะ Break High ตรงจุดนี้นับเป็นจุกซื้อที่ทำให้เรารู้นิสัยครับว่าได้ผล
แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือบางช่วงมีการพักตัวที่อาจนานเกินไปซึ่งหากท่านไม่ใช่นักลงทุนที่รอรวยนานได้ ตรงนี้อาจทำให้ทุนพี่ๆ เพื่อนๆ จมลงได้ครับ
แต่ก็สามารถแก้ทางได้โดยหาเครื่องไม้เครื่องมืออย่าง Option มาหากระแสเงินสดจากบริษัทนี้ได้เช่นกัน
บริษัทนี้จากที่ผมได้กล่าวแล้วคงไม่พ้นเรื่องหุ้น "แข็งแกร่ง" ตามตำราของคุณปีเตอร์ ลินซ์เลยครับ นั่นคือเป็นหุ้นที่มี Market Share แข็งแกร่ง(เช่นเคสนี้มากกว่า 80%) กอปรด้วยตัวเลขการเงินที่อัศจรรย์ ไม่ว่าใครในตลาดต่างก็อยากเป็นเจ้าของ
ดังนั้นแล้วพอหุ้นขึ้นไป หุ้นมักไปได้ไม่มากครับ นั่นคือขึ้นไปสักราว 1x% แต่แม้จะขึ้นระดับนี้แล้วการจะย่อลงไปจุดต่ำเดิมนั้นไม่ค่อยมีมาก จากการที่กำไรบริษัทแข็งแกร่งไม่มีทีท่าลงมาต่ำกว่าเดิมเลย
แม้ราคาจะเพิ่มขึ้นสั้นๆ แต่หากเราถือนานมากยิ่งขึ้นให้บริษัทได้เฉิดฉายแล้วกำไรที่คุณจะได้ก็สามารถไปได้มากกว่าเด้งได้ไม่ยากเลยครับ
และหากคุณมองว่ากำไรได้น้อยและมีบางช่วงออกข้างนาน การใช้ประโยชน์จาก Option ในการหากระแสเงินสดหรือหาโอกาสจากหุ้นนี้ก็ทำได้เช่นกัน
เนื่องจากบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เพียงพอจะมีเครื่องมือทางการเงินหลากหลาย
[แกะหุ้นเด้ง]ดู COSTCO หุ้น 100 เด้ง ผ่าน CANSLIM และ VCP pt.1แก่นแท้จากหุ้นเด้งตัวนี้
-การย่อระดับ 1x% เป็นเรื่องที่ธรรมชาติมากๆ นับเป็นเรื่องที่ปกติ
การย่อลงมาแบบหลักๆ อยู่ที่ราว 3x%
-จุดซื้อที่ทรงประสิทธิภาพจะมาจากจุดที่แข็งกว่าตลาด
หรือ Relative Strength มากกว่า 0
-การย่อลงต่อละครั้งหากไม่หลุดราคาเฉลี่ยนับว่าสามารถรันเทรนด์ต่อได้
-การที่ราคาหุ้นตกหนักๆ โดยหลัก มี 3 ปัจจัย (ซึ่งการตกนี้ไม่ต่ำกว่า 50%)
1. การลงจากเศรษฐกิจเอง เช่น COVID-19 , Subprime
2. การลงจากอุตสาหกรรม เช่น รอบสินค้าโภคภัณฑ์ , การออกกฎบัตรบางอย่างจากภาครัฐที่ทำให้ราคาไม่ไปไหน
3. การลงจากตัวบริษัทเอง เช่น ความสามารถในการแข่งขัน ปราการและคูคลองเริ่มเสื่อมสลาย (แบบนี้อันตรายที่สุด)
.
-การลงจากตัวเศรษฐกิจ หากบริษัทแข็งแกร่งจากการมีปราการและคูคลองแข็งแกร่ง ตลาดย่อมรับรู้ อย่างน้อยก็จากผลประกอบการที่หากไม่ลดลง และรายงานจากฝ่ายบริหารแจ้งออกมาไม่มีรอยฟกช้ำจากเศรษฐกิจ นายตลาดก็ตอบรับอย่างสดใส
-การลงจากอุตสาหกรรม ราคาหุ้นอาจจะไม่ขึ้นมาในทันที อาจต้องให้เวลากับเขา ในการปรับทัพรวมพลสู้ศึก ในเชิงรูปธรรม อาจขยายตลาดไปที่อื่น, คุยกับ Supplier เพื่อปรับราคาให้มี Margin ที่ดีขึ้น และคงคุณภาพสินค้า
หรือในกรณีที่สดใสที่สุด คือรอเมฆหมอกแห่งความโชคร้ายให้ผ่านไปเลย
-การลงจากตัวบริษัทเอง ยากที่สุดในการพิจารณา ต้องติดตามกระบวนการบริหารบริษัทอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูคุณภาพในสินค้าและบริการ
แก่นแท้คือดูว่า Core Value ที่เขมอบให้แก่ลูกค้าและสังคม
กับการทำกำไร ยังพอไปทางเดียวกันได้ไหม
-สิ่งที่ต้องการสื่อคือหุ้นหลายเด้งมักมีการลงแรงๆ เสมอ ไม่ว่าจากตัวเขาเอง ตัวอุตสาหกรรม หรือจากเศรษฐกิจ แก่นแท้คือการถือให้ยาวและมองให้ขาดว่าบริษัทจะผ่านไปได้ไหม เป็นสำคัญ
-การฟอร์มตัวแบบ Cup with Handle จากที่ดูมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 bars week หรือราว 200 วัน ก่อนพุ่งขึ้นไป
การรันเทรนด์เพื่อให้ได้กำไรเด้ง อาจต้องอาศัยเวลา
เราควรมีหลังบ้านที่แข็งแกร่ง มีรายได้หลายทางเพียงพอที่จะคลายกังวลกับการลงทุนในบริษัทนี้ได้
เราอาจใช้อรรถประโยชน์จาก Stock Option ช่วยได้ หากหุ้นนั้นมีบริการ Short Call หรือ Short Put เพื่อหากระแสเงินสดจากช่วง Sideway หากินกับ Volatile
(อาจจะซับซ้อน แต่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้นะครับ)
-จุดกลับตัวของกราฟ บางทีอาจใช้รูปแบบแท่งเทียนพิจารณาได้
เช่นรูปแบบ Hammer ที่ทำหางยาวมาก เสมือนการปฏิเสธการลงของราคา
-จุดกลับตัวอาจใช้ Relative Strength ช่วยได้
หากราคาหุ้นแข็งกว่าตลาด เราอาจเริ่มกลับมามองหุ้นนี้ได้ครับ
[Case Study] วิเคราะห์หุ้นทุกมิติ และสอนใช้ Relative Strength สำหรับวีดีโอนี้ผมจะมานำเสนอการใช้ Relative Strength ประยุกต์กับทรงกราฟ รวมถึงการดูปัจจัยผลักดันบริษัท รวมถึงการหาเหลี่ยมเพื่อการลงทุนนะครับ
โดยเนื้อหาในครั้งนี้ทุกท่านหากได้อ่านคำประกอบนี้ก็เพียงพอได้รับสารที่ผมต้องการสื่อในวีดีโอนี้แล้วครับผม
แต่ก่อนอื่นเรามาคุยภาษาเดียวกันก่อนนะครับ
- บริษัทที่นำเสนอนี้เป็นเพียง 1 ใน Case Study ที่น่าสนใจ
- ผมปรับราคาบริษัทเป็นหน่วย CHF เพื่อป้องกันการชี้นำราคาหุ้น
- วีดีโอนี้มี Ref ที่สำคัญราวๆ 3 แหล่งนะครับ และทาง Trading View ไม่ให้เราโพสลิงค์ไปด้านนอก ขอให้ทุกท่านโปรดวางใจ ว่าทุกอย่างที่ผมได้นำเสนอไปนี้มีเอกสารตัวเลขอ้างอิงครับ
====================================================
จากกราฟนะครับ เราจะเห็นว่าตัว Relative Strength นี้มีการหดตัวเข้าสู่ 0 อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือเมื่อเทียบหุ้นตัวนี้กับตลาดแล้ว หุ้นตัวนี้มีความแข็งแกร่งกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ และหากมองให้ไกลกว่านั้น เราอาจตั้งคำถามได้ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่หุ้นตัวนี้จะเป็นหุ้นที่แข็งกว่าตลาดสัดวันหนึ่ง" ซึ่งหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั้นก็คือหุ้นที่มีค่า RS > 1 นั่นเองครับ
จากปัจจัยจากกราฟที่แสดงให้เห็นว่าเขาทำ Sideway มาเนิ่นนาน และเริ่มมีการเปลี่ยนไป เรามาดูกันที่ปัจจัยขับเคลื่อนภายในบริษัทอันเป็นต้นสายธารของหุ้นตัวนี้กันครับ
สำหรับบริษัทที่เราพูดถึงนี้ก็คือ BAFS บริษัทผู้จำหน่ายเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องบินนั่นเอง (และขอชี้แจงเพิ่มเติมจาก Oppday บริษัทนี้เปรียบเสมือนกับ "เด็กปั๊ม" นะครับ เขามีหน้าที่บริการบรรจุเชื้อเพลิง ดังนั้นแล้วราคาน้ำมันไม่มีผลจ่อบริษัทเลยครับ)
สิ่งที่ผมได้นำเสนอนี้มีปัจจัยผลักดันคือจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เริ่มบินสะพัดมากยิ่งขึ้น โดยหากเราได้ดูงบกำไรขาดทุนสุทธิแล้ว เราจะพบว่าตัวเลขในส่วนของ EBITDA กับค่าเสื่อมเริ่มมีการหักล้าง และเริ่มเท่าทุนแล้ว
และจากการที่ผมได้ไปฟัง Oppday ย้อนหลังก็ได้ทราบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวตอนนี้เองก็ Breakeven ต่อการทำกำไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งหลายทั้งมวลนี้ นำมาสู่ทรงกราฟครับที่จากแต่ดั้งเดิมบริษัทได้มีการทำ Sideway มากว่า 2 ขวบปี อาจมีแนวโน้มที่บริษัทจะเปลี่ยนแนวโน้มไปก็ได้ ไม่ขึ้นก็ลง
โดยจุดตัดของเทรนนี้จะอยู่ที่ราวๆ เดือนมกราคา จากการตีเส้นเทรนด์ไลน์ขากด และเทรนด์ไลด์ขาขึ้น หลังจากที่พูดถึงเรื่องปัจจัยด้านเวลาที่อัดตัวพร้อมผลักดันหุ้นแล้ว เรามาดูในมิติของมูลค่ากันบ้างดีกว่าครับ
จากเครื่องมือ 2 ตัวนั่นคือ DDM และ Double Dividend Discount Model ได้แสดงให้เราเห็นว่า แต่ก่อนเดิม "ตลาด" เคยให้มูลค่าบริษัทนี้ "มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ของบริษัท" ต่อเนื่องหลายปี
และในปัจจุบัน บริษัทเองกลับมีการเทรดในระดับที่ต่ำกว่าเส้นแนวต้านที่แสดงนี้เสียอีก ดังนั้นหากเราตั้งสมมติฐานว่าราคาหุ้นจะ Mean Reversion ก็เป็นไปได้
ทั้งนี้แล้วจากข้อมูลที่เรามี อาจช่วยให้พี่ๆ เพื่อนๆ ใช้ในการวางแผนการเทรดได้นะครับ ผมว่าการที่เราวิเคราะห์ได้หลากหลายมิตินี้จะช่วยให้เราลงทุนได้อย่างมั่นใจได้มากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องแลกเข้ามาที่สาหัสเช่นกัน นั่นคือ "เราไม่อาจรู้เลย ว่าเรื่องอะไรที่เรารู้นั้นเป็น NOISE" หรือ "สิ่งก่อกวนในการลงทุน" ได้ กล่าวคือหากเรารู้สิ่งใดมากแล้ว สิ่งนั้นอาจบดบังทรรศนวิสัยในระยะยาวของเราก็เป็นได้
แต่กระนั้นแล้ว เราทุกคนในหมวดของเทรดเดอร์ก็ยังโชคดีครับที่เรายังสามารถยอมแพ้ได้ หากแผนที่เราวางไว้ไม่เป็นไปตามที่วาง ผ่านการยอมรับตัวเองและ Cutloss ทิ้งไป
ทั้งหลายนี้ผมวาดหวังว่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนแก้ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ฝากหนังสือและ investing-in-th ไว้ด้วยนะครับผม เราจะรวบรวมหนังสือที่อยู่ในจักรวาลการลงทุนไว้ให้ทุกท่านในที่เดียวเป็นร้านหนังสือเพื่อการลงทุน เพื่อการ Empowerment สังคมการลงทุนอย่างแท้จริง
ขอให้ทุกท่านโชคดี สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยครับผม
[ดักรายใหญ่VI]สร้างแนวรับ/ต้านทางพื้นฐาน ด้วย PE และเงินปันผลวันนี้ผมจะมาพูดถึงที่มาของสูตรที่ได้ใช้ในอินดิเคเตอร์ใน Trading View กันนะครับ
(โดยอินดิเคเตอร์นี้ชื่อว่า DDM เพื่อแสดงแนวรับแนวต้านสำหรับสายพื้นฐานนะครับ สามารถดูสคริปสูตรได้ที่ด้านล่างคำอธิบายนี้ได้เลยครับ)
หลักๆ คือเพื่อต้องการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างง่ายไว้ดูว่าแนวที่ควรซื้อแบบสวนกระแสอย่าง VI ควรซื้อประมาณโซนสะสมบริเวณไหนดี และใช้ประกอบการดูโซนการทำ Price Pattern ด้วย
หลักการคือเราจะใช้การกำหนดค่า PE ผ่านการตั้งค่า Dividend Payout ไว้คงที่(ที่ 40%) และปรับตัวเลข % Dividend Yield ตามที่เราต้องการ (2,3,4,6 เท่าไรก็ได้ตามที่เราอยากตั้งครับ)
ดั่งแนวรับและแนวต้าน โดยจะเป็นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DDM นั่นเองครับ
สูตรมูลฐานที่เราจูดคือ Dividend Yield% = DPS / Price
และจะปรับมาเป็น PE = %Dividend Payout/%dividend Yield กันนะครับ
โดยท่านสามารถฟังการอธิบายเต็มๆ ได้ผ่านทางวีดีโอนี้นะครับ และมีตัวอย่างประกอบด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยสำหรับการลงทุนโดยใช้อินดิเคเตอร์ต้นทางนะครับ
สำหรับวิธีการดักทางรายใหญ่ VI เราก็อาศัยดูเงินปันผลได้เลยครับ ว่าระดับไหนตามแบบ Price Pattern ที่จะจูงใจรายใหญ่ให้ซื้อหุ้นตัวนี้หรือตัวนั้น โดยอาจจะดูแนวโน้มเส้นแนวรับแนวต้านนี้ครั้นอดีตย้อนหลังก็ได้ครับ ว่าเขาเคยมีแนวที่แข็งๆ ตรงไหนเป็นต้นครับ
ทั้งนี้ท่านใดสนใจเกี่ยวกับการลงทุนแบบสวนกระแส สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ ลงทุนหุ้นแบบจอห์น เนฟฟ์ ได้นะครับผม
[SAWAD]ภายใต้พื้นฐานกำไรที่เติบโต มีเรื่องน่ากังวลอะไรหรือไม่?!!
สำหรับ SAWAD นับว่าเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่ผมมักอารมณ์องุ่นเปรี้ยวทุกครั้งเลยครับ เวลาเห็นเขาทำราคาที่สูงขึ้น กอปรกับความกลัวเรื่องของ NPL ผมเลยกลัวอย่างบอกไม่ถูกเลยครับ จรพบกับความผิดพลาดที่ไม่ได้ลงทุนในตัวพวกเขา
แต่ตอนนี้ถ้าเราลบอคติฝังตาลง เราพบอะไรบ้างจากอินดิเคเตอร์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิกับราคาหุ้นกัน โดยผ่านอินดิเคเตอรตัวเดิมของผมอย่าง Yield Valuation นี้ครับ
SAWAD นับว่าเป็นหุ้นที่อยู่ในหมวดของ Growth อย่างแท้จริงครับ จากการดูการเติบโตของสินทรัพย์(เส้นส้ม) ของเขา จากหนังสือพ่อรวยสอนลูกก็อย่างที่ว่าครับ สินทรัพย์คือสิ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้เรา การมีสินทรัพย์มากขึ้นก็เสมือนกับการเพิ่มที่มาของรายได้แบบนี้นั่นเองครับ
แต่กระนั้นแล้วสินทรัพย์ที่เพิ่มมขึ้นของ SAWAD นี้ เขาเพิ่มขึ้นในหมวดของหนี้สินนั่นเอง ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องปกติครับ เพราะว่า SAWAD ทำธุรกิจการเงิน หนี้สินของหมวดนี้ก็คือปริมาณเงินที่เราปล่อยสินเชื่อไปแน่นอนครับ
ว่ากันตามตรงในความเห็นของผมเอง ประเทศไทยเรามีระบบการเงินที่ Conservative มากนะครับ จากการที่แบงก์ของเราไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควรจนมาถึงการไม่กล้าปล่อยสินเชื่อจนเรามีทุนสำรองของประเทศเราอยู่สูงมาก การไม่กล้าทำอะไรแบบนี้ทำให้ประเทศเรามี Opportunity Cost สูงมาก สังเกตได้จากการที่นายกพูดเลยครับ ที่ว่าทำไม่เราถึงแพ้เวียดนาม ทั้งที่เรามีทุนสำรอง(งบดุลของประเทศ) ที่แข็งแกร่งมาก พูดง่ายๆ คือเราอาจจะล้มได้ยากนั่นเองครับ
กลับมาที่เรื่องของ SAWAD ด้วยความที่ธุรกิจการธนาคารของเราไม่ค่อยได้ปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย นั่นเลยเป็นช่องทางให้กับธุรกิจ Nonbank อย่างพวก SAWAD และ MTC ได้มาทำหน้าที่นี้แทนพวกเขา เมื่อ Demand(ผู้ต้องการเงินรายย่อย) มีอยู่อย่างมหาศาล การเติบโตก็มหาศาลอีก และ Supply ที่กล้าทำตอนนั้นเองก็มีอยู่ไม่มาก Supply น้อย (MTC SAWAD) ดังนั้นแล้วหุ้นทังสองตัวนี้เลยโตเอาๆ จากความกลัว ความกังวลของหุ้นกลุ่มธนาคารนั่นเอง แต่เอาเถิดท่านอย่าเศร้ากับอุตสาหกรรมการเงินไทยเลย เพราะปัจจุบันนี้ภาครัฐก็ได้ส่งแบงก์ออมสินมาสู้ๆ พวกธุรกิจนี้แล้วครับ
การมาของออมสินเอง ทำให้เราอาจต้องกังวลมากขึ้นกับการลงทุนหุ้น SAWAD ครับ ว่าเขาจะมีโอกาสไปต่อได้หรือไม่ การแข่งขันนั้นดีตรงที่เราอาจจะได้พบนวัตกรรมใหม่ๆ และทางออกให้ผู้บริโภคที่สร้างสรรค์มากขึ้นจากการแย่งชิงตลาด แต่กระนั้นแล้วการลงทุนอย่างนักลงทุนเราคงต้องทำการบ้านหนักขึ้นครับ
แล้ว SAWAD ตอนนี้มีอะไร เรามาดูเส้น Yield Valuation ที่โปรแกรมสังเคราะห์มาครับ ว่าหากอนาคตคน "ให้ค่า" แก่ตัว SAWAD มากกว่าสมัยก่อน การที่เขาจะก้าวไกลเข้าสู่เส้นสีแดงนั้นก็อาจเป็นไปได้นั่นเองครับ เพราะว่ากำไรของเขาเติบโตตลอดเวลาเลย ตรงส่วนนี้ก็อยู่กับความคิดเห็นของรายย่อยอย่างเราแล้วครับ ว่าในฐานะผู้ถือหุ้นท่านจะเป็นลมใต้ปีกให้แก่ผู้บริหาร หรือทางผู้บริหารเขาจะทำอะไรได้บ้าง (ผมก็เพิ่งรู้ว่าที่ต่างประเทศนักลงทุนรายย่อยอย่างเราก็สามารถเสนอแผนธุรกิจให้แก่บริษัทได้เหมือนกันครับ หากเราเห็นศักยภาพของเขา)
ยาวหน่อย แต่ถ้าคุณชอบผมก็ดีใจนะครับ