ตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อเริ่มสะดุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดกำลังพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) โดยคลื่น (ii) จะต้องไม่ต่ำกว่าจุดต่ำที่ 1,584 จุด (ซึ่งเป็นไปตามหลักการนับคลื่นเอลเลียต คลื่น 2 ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มขึ้นของคลื่น 1) โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวทำหน้าที่เป็นแนวรับถัดไป
จากกราฟรายวัน กรณีที่ดัชนีตลาดสามารถยืนเหนือ 1,584 จุด จะนับคลื่น 4,C จบที่ 1,584 จุด คลื่น (i) จบที่ 1,765 จุด และคลื่น (ii) ต้องไม่ต่ำกว่า 1,584 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด จะต้องปรับการนับคลื่นใหม่ โดยคลื่น A จบที่ 1,584 จุด คลื่น B จบที่ 1,765 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเป็นคลื่น 4,C ที่ต่ำกว่า 1,584 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,680 จุด และมีแนวต้าน 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,700 จุดเป็นแนวต้านถัดไป กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น MMA2 หลายครั้งแล้วไม่ผ่าน ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,640 – 1,620 จุด ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,600 – 1,584 จุดเป็นแนวรับถัดไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,680 – 1,700 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,690 – 1,700 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,675 – 1,670 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,584 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะเป็นสัญญาณกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือเข้าซื้อเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher low) และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ
ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่
ข้อกำหนดการใช้งาน