ตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยลบรุมเร้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงแบบมีช่องว่าง (Gap) หลุดแนวรับ 61.8% Fibonacci retracement ที่ 1,653 จุด และปรับตัวลงต่ำกว่าเป้าหมาย 100.0% Fibonacci projection ที่ 1,647 จุด และกำลังปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,616 จุด และมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci projection อยู่ที่ 1,602 จุด
การเกิดช่องว่าง (Gap) ขาลงร่วมกับการเกิดภาวะขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปิดช่องว่างขาลง ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ การที่ดัชนีตลาดทรุดตัวลงและห่างจากเส้น MMA2 จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงเข้าหาเป้าหมาย 161.8% Fibonacci projection ที่ 1,602 จุด ตามหลักการของคลื่นเอลเลียต คลื่น (c) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น (a) คลื่น (c) หรือคลื่น (ii),(c) จึงมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,602 จุด
ตามหลักการคลื่น (ii) จะต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,584 จุด หากดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,584 จุด จะต้องนับคลื่นใหม่ โดยจุดต่ำที่ 1,584 จุดเป็นคลื่น A จุดสูงที่ 1,765 จุดเป็นคลื่น B และดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเป็นคลื่น 4,C
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,636 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,616 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ยังคงแนะนำให้ถือเงินสดอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ และจะกลับเข้าตลาดเพื่อทยอยซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish divergence ของ RSI บนกราฟรายวัน
คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ
ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่
ข้อกำหนดการใช้งาน