ตลาดหลักทรัพย์ไทย
มีลุ้น
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,639.41 จุด เพิ่มขึ้น 5.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,658 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม ตลาดปรับตัวลงเล็กน้อย หลังตัวเลขการจ้างงานต่ำกว่าที่คาด บวกกับความกังวลว่าเฟดจะปรับลดวงเงินที่จะเข้าซื้อพันธบัตร
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,639 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันสัญญาณกลับตัวรูป Double Bottom เมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,639 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางปรับตัวขึ้น หลังดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมรูป Descending Triangle เส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,615 – 1,604 จุด และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,602 จุด โดยมีจุดสูงเก่าทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,658 จุด
(ควรเข้าซื้อเพิ่มเมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,611 – 1,602 จุด หรือเมื่อสัญญาณ RSI ปรับลดลงไปที่ 50 – 40 เปอร์เซ็นต์ (สัญญาณ RSI เคยปรับลดลงแตะ 46.3 เปอร์เซ็นต์))
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ก่อนที่จะแกว่งตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ซึ่งจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,658 จุด ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 ที่ 1,512 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3 และคลื่น 3) ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด เป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection อยู่ที่ 1,973 จุด
ในกรณีที่คลื่น 3) ยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวคลื่น 1) คลื่น 3) จะมีเป้าหมายอยู่ที่ 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,639 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,647 – 1,658 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,621 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity