ตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตอบรับมาตรการผ่อนคลาย
แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังมีสัญญาณผ่อนคลายทางเศรษฐกิจรอบสอง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,287.30 จุด เพิ่มขึ้น 21.28 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (11/5) ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลง 109 จุด จากความกังวลว่าเชื้อโควิด-19 จะกลับมาระบาดรอบสอง ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,287 – 1,297 จุด โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,306 จุดเป็นแนวต้านร่วม สัญญาณกลับตัวรูป Isolated Island จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขาย สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง
เมื่อนำจุดสูงที่ 1,301 จุด กับจุดต่ำที่ 969 จุด มาวิเคราะห์แนวรับด้วย Fibonacci Retracement จะได้แนวรับที่ 1,174 จุด, 1,135 จุด และ 1,096 จุด ตามลำดับ
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,300 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 969 จุด ดัชนีจะจบคลื่น II ที่ 969 จุด ดัชนีตลาดจะต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า 942 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,297 – 1,306 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,277 – 1,266 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว (เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์) เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,083 จุด