ReutersReuters

รายงานวิจัยชี้โลกหลีกเลี่ยงวัฏจักรการพุ่งขึ้นของค่าจ้าง-ราคาได้

  • นายเบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายโอลิเวียร์ บลองชาร์ด อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในรายงานวิจัยฉบับใหม่ว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจนถึงขณะนี้สามารถหลีกเลี่ยงวัฏจักรการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและราคาที่เป็นวงจรต่อเนื่องกันจากการเกิดภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นหลังโรคระบาดได้ โดยไม่ได้รับความเสียหายพอสมควรจากวงจรดังกล่าวในบางประเทศ แต่ก็ยังไม่มีการรับประกัน

  • สำหรับสหรัฐโดยเฉพาะ ประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น และการลดลงของเงินเฟ้อจนถึงขณะนี้ "อาจจะต้องการอัตราว่างงานที่ไม่เพิ่มขึ้น" เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาที่เป้าหมาย 2% ของเฟด

  • สำหรับประเทศอื่นๆที่ตลาดจ้างงานกำลังปรับตัวในแนวทางที่แตกต่างมากกว่าสหรัฐนั้น การสำรวจหลักไมล์สุดท้ายของการควบคุมเงินเฟ้ออาจจะต้องการการยอมรับการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยก็สักระยะหนึ่ง ส่วนในประเทศอื่นๆ อัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่าที่โมเดลของพวกเขาคาดไว้

  • รายงานยังพบว่า การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มขึ้นในปี 2021 หลังการเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนใหญ่ได้ฝังรากลงในการขาดแคลนด้านอุปทาน และผลกระทบด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วเขตยูโร, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และแคนาดา แต่ในทางตรงกันข้าม "ตลาดแรงงานก็มีบทบาทที่จำกัดในการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ" แม้ภาวะตลาดจ้างงานตึงตัวขึ้นเกือบทั้งหมดก็ตาม

  • นายเบอร์นันเก้ และนายบลองชาร์ดระบุว่า "แทบไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า ในประเทศใดๆ วัฏจักรการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง-ราคา หรือราคา-ค่าจ้างเกิดขึ้นแล้ว" และนั่นเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่อธิบายว่า การจัดการกับเงินเฟ้อในครั้งนี้ง่ายกว่าในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งค่าจ้างและราคาพุ่งสูงกว่าอีกฝ่าย และธนาคารกลางประเทศต่างๆได้รับความเชื่อถือน้อยลงในการทำให้ราคามีเสถียรภาพ--จบ--

Eikon source text

เข้าสู่ระบบหรือสร้างบัญชีฟรีถาวรเพื่ออ่านข่าวนี้